Wendy Hiller รับรู้ตัวว่ากำลังจะไปไหนจริงๆนะหรือ? บางครั้งฟากฝั่งฝันอาจไม่ใช่เป้าหมายปลายทางแท้จริง ทุกสิ่งอย่างล้วนขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ป้ายกำกับ: Michael Powell
49th Parallel (1941)
ภาพยนตร์ชวนเชื่อรวมดารา ผลงานลำดับที่สามของ Powell & Pressburger, ถ่ายภาพโดย Freddie Young, ตัดต่อโดย David Lean, เมื่อกลุ่มทหารนาซีเยอรมันถูกปล่อยเกาะบนผืนแผ่นดินแคนาดา อุดมการณ์ที่ไม่ยอมแปรเปลี่ยน เมื่อต้องเผชิญหน้าแนวคิดเสรีภาพ มันช่างเป็นความคู่ขนานกันโดยสิ้นเชิง
A Matter of Life and Death (1946)
A Matter of Life and Death (1946) : Michael Powell & Emeric Pressburger ♥♥♥♡
ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย สิ่งสามารถตัดสินโชคชะตาชีวิต สัมพันธ์หนุ่ม-สาว พันธมิตรใหม่ระหว่างสหราชอาณาจักร-สหรัฐอเมริกา (ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) คือความรักบริสุทธิ์ใจที่มีให้ต่อกัน งดงามตระการตา อลังการกับบันไดเลื่อนสู่สวรรค์ และจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล
The Life and Death of Colonel Blimp (1943)
The Life and Death of Colonel Blimp (1943) : Michael Powell & Emeric Pressburger ♥♥♥♥
ก่อนมาถึงปัจจุบันย่อมมีอดีต ก่อนจะแก่ต้องเคยหนุ่ม ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คือครั้งที่หนึ่งและก่อนหน้า ประวัติศาสตร์ไม่เคยเสี้ยมสั่งสอนอะไรมนุษย์เลย รังแต่ทำให้ทุกสิ่งอย่างเสื่อมทรามเลวร้ายลง ว่าไปมันก็เป็นแบบนี้มานมนากาเล, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Canterbury Tale (1944)
A Canterbury Tale (1944) : Michael Powell & Emeric Pressburger ♥♥♥♥♡
ตำนานแคนเตอร์บรี (The Canterbury Tales) เล่าถึงนักแสวงบุญเดินทางจาก London มุ่งสู่ Canterbury Cathedral แต่เปลี่ยนพื้นหลังจากยุคกลาง (Middle Ages) มาเป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจ่าทหารอเมริกัน, จ่าทหารอังกฤษ และหญิงสาวคนหนึ่ง จับพลัดพลูพบเจอกันระหว่างทางที่เมืองสมมติ Chillingbourne, Kent ร่วมกันไขปริศนาบางอย่าง และร่วมเดินทางมุ่งสู่ Canterbury เพื่อเติมเต็มหน้าที่/ความใฝ่ฝันของตนเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Tales of Hoffmann (1951)
The Tales of Hoffmann (1951) : Michael Powell, Emeric Pressburger ♥♥♥♥♡
จากคำแนะนำของวาทยากร Sir Thomas Beecham ชักชวนให้ Michael Powell สร้างภาพยนตร์ที่เป็นบันทึกการแสดง Ballet Opera ตัดสินใจเลือกผลงานแนว Fantastique ของคีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส Jacques Offenbach เรื่อง Les contes d’Hoffmann (1881) ดัดแปลงจากสามสั้นเรื่องของ E. T. A. Hoffmann และยังให้เขากลายเป็นตัวละครหลักของทั้งสามเรื่องราวอีกด้วย
The Thief of Bagdad (1940)
The Thief of Bagdad (1940) British : Michael Powell, Ludwig Berger, Tim Whelan ♥♥♥♡
จากนิทานอาหรับราตรี สู่ภาพยนตร์ Technicolor สีสันสวยสดใส “ครั้งแรกของโลกกับการใช้เทคนิค Blue-Screen” ตระการตาไปกับจินนี่ขนาดใหญ่ยักษ์ เหาะได้ (เหมือน Superman) คนขี่ม้าบิน พระแม่กาลี 6 แขนขยับได้ ฯ หนังอาจไม่ได้สนุกสมบูรณ์แบบ แต่ก็สามารถเพลิดเพลินไปกับหลายๆอย่าง รวมถึงบทเพลงสุดอลังการของ Miklós Rózsa (Ben-Hur)
Peeping Tom (1960)
Peeping Tom (1960) British : Michael Powell ♥♥♥
กับผลงานที่ทำให้เส้นทางในวงการภาพยนตร์ของ Michael Powell แทบจะจบสิ้นลง แม้ความยอดเยี่ยมจะไม่แพ้เท่า Psycho (1960) ที่เข้าฉายหลังเพียง 2 เดือน แต่ผลตอบรับกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง, ภายหลังเมื่อกระแส Cult เริ่มได้รับความนิยม นี่จึงกลายเป็นหนึ่งในหนังกระแส Cult ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
Black Narcissus (1947)
กลิ่นน้ำหอม Narcisse Noir มันช่างตลบอบอวลในความ Erotic และ Exotic ทุกช็อตฉากสร้างขึ้นในสตูดิโอ แต่อาจมีความงดงามกว่าสถานที่จริง! ทำการสำรวจจิตใต้สำนึกของมนุษย์ งดงามและอัปลักษณ์อย่างที่สุด
The Red Shoes (1948)
เกือบสิบปีที่ Powell & Pressburger สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย มาวันนี้สงครามได้สิ้นสุดลง ถึงเวลาสรรค์สร้างผลงานสะท้อนอุดมการณ์ส่วนบุคคล เป้าหมายสูงสุดของศิลปินนั้นคือ ‘ตายเพื่อศิลปะ’