
คำสัญญาขายฝันของกลุ่มอาชญากรรัสเซีย (Vory v zakone) แท้จริงแล้วคือคำลวงล่อหลอกหญิงสาว ลักพามาขายบริการ ตกเป็นทาสยาเสพติด จนไร้หนทางดิ้นหลบหนี ทำไมโลกปัจจุบันนี้มันช่างมีความกลับกลอกปอกลอกยิ่งนัก!
คำสัญญาขายฝันของกลุ่มอาชญากรรัสเซีย (Vory v zakone) แท้จริงแล้วคือคำลวงล่อหลอกหญิงสาว ลักพามาขายบริการ ตกเป็นทาสยาเสพติด จนไร้หนทางดิ้นหลบหนี ทำไมโลกปัจจุบันนี้มันช่างมีความกลับกลอกปอกลอกยิ่งนัก!
ทุกสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ล้วนมีประวัติความรุนแรงฝังรากลึกอยู่ใน DNA ซึ่งถือเป็นสันชาติญาณสำหรับดำเนินชีวิต ธำรงชีพรอดปลอดภัย นำพาความสงบสันติสุขสู่สังคม ครอบครัว และตัวเราเอง
ฉันก็แค่ทหารตัวเล็กๆ (Le petit soldat แปลว่า The Little Soldier) ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียงในการครุ่นคิดตัดสินใจ เมื่อได้รับคำสั่งเข่นฆ่าผู้ใด ต่อให้พยายามปฏิเสธหัวชนฝาก็มิอาจดิ้นรนหลบหนี, ภาพยนตร์เรื่องที่สองของ Jean-Luc Godard แต่ถูกแบนสามปีเพราะมีลักษณะต่อต้านสงครามแอลจีเรีย (1954-62)
ผลงานรองสุดท้ายของ Alfred Hitchcock ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น (Suspense) ลุ้นระทึก (Thriller) จับแพะชนแกะ พระเอกถูกใส่ร้าย ฆาตกรตัวจริงยังลอยนวล มีทั้งฉากเปลือยกาย ข่มขืน ฆ่ารัดคอ น่าจะเป็นภาพยนตร์รุนแรงที่สุดในสไตล์ Hitchcockian
ตาบอดคลำช้าง คือแนวคิดที่ผู้กำกับ Gus Van Sant ใช้นำเสนอเหตุการณ์สังหารหมู่ ณ โรงเรียนมัธยมปลาย Columbine High School เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1999 ด้วยการร้อยเรียงเรื่องราววัยรุ่น ทั้งมีส่วนร่วม พบเห็น เป็น-ตาย แต่ไม่มีใครล่วงรับรู้ว่าบังเกิดห่าเหวอะไรขึ้น, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ยุคสมัยนั้นใครๆต่างรับรู้ว่า Scarface คือฉายาของ Al Capone แต่เพราะภาพยนตร์มิอาจนำเสนอชีวประวัติอาชญากรออกมาตรงๆ จึงใช้การหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ท้าชนกองเซนเซอร์อยู่เกือบปีจน Howard Hawks บอกช่างแม้ง นำออกฉายทั้งๆไม่ผ่านการอนุมัติ ดิบ เถื่อน รุนแรงสุดเท่าที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้ (ขณะนั้น)
แทนที่จะนำเสนอชีวประวัติอาชญากรแบบตรงไปตรงมา The Public Enemy (1931) สรรค์สร้างข้ออ้างการศึกษาสภาพสังคม ‘social study’ ร้อยเรียงวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน พานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ช่วงเวลา Great Depression และยุคสมัย Prohibition ใครกันแน่คือศัตรูของสาธารณะ?
จากโจรกระจอกสู่เจ้าพ่อมาเฟีย (rags-to-richs) แจ้งเกิดโด่งดัง Edward G. Robinson ทั้งยังจุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์แนว Gangster ในยุคสมัย pre-code จนทำให้สตูดิโอ Warner Bros. ช่วงทศวรรษ 30s ได้รับฉายา ‘The King of the Gangster Film’
Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้
ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
สันชาติญาณพื้นฐานของทุกสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ นั่นคือสิ่งที่ตัวละครของ Sharon Stone พยายามชี้นำทาง ชักจูงจมูก Michael Douglas จนท้ายสุดยินยอมละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วตอบสนองกามตัณหาของตนเอง
แม้ว่าตอนจบของ Dr. Mabuse, der Spieler (1922) อาชญากร/จิตแพทย์/นักสะกดจิต Dr. Mabuse จะคลุ้มคลั่งเข้าโรงพยาบาลบ้าไปแล้ว แต่ภาคต่อเรื่องนี้จักหวนกลับมาสร้างความหลอกหลอนในลักษณะสืบสาน ส่งต่อแนวคิด อุดมการณ์ จิตวิญญาณ เพื่อสรรค์สร้างจักรวรรดิแห่งอาชญากรรม สื่อตรงๆถึงพรรคนาซีและว่าที่ท่านผู้นำ Adolf Hitler
Dr. Mabuse กระทำการฉ้อฉล โกงกลไพ่ ปลอมตัวก่ออาชญากรรมมากมาย สะกดจิตให้ผู้อื่นยินยอมคล้อยตามคำสั่ง พฤติกรรมดังกล่าวราวกับพยากรณ์การมาถึงของ Adolf Hiter กลายเป็นผลงานแจ้งเกิดผู้กำกับ Fritz Lang ความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมงครี่ง ไม่มีความน่าเบื่อเลยสักนิด!
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้
หนังเงียบรายเดือนเรื่องนี้ (Serial Film) ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผีดิบ/ค้างคาว/แวมไพร์ คือชื่อองค์กรชั่วร้ายก่อการปล้น/ฆ่า กำลังถูกไล่ล่าติดตามโดยยอดนักข่าว Philippe Guérande (รับบทโดย Édouard Mathé) สุดท้ายจะถูกจับกุมตัวได้หรือไม่
Mildred Pierce (1945) : Michael Curtiz ♥♥♥♡
Joan Crawford คว้า Oscar: Best Actress จากบทบาทแม่ Mildred Pierce ผู้พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออนาคตของลูกสาว Veda (รับบทโดย Ann Blyth) แต่เธอกลับพยายามทำทุกสิ่งอย่างเช่นกันเพื่อปฏิเสธ ต่อต้าน ไม่ยินยอมรับความปรารถนาดีดังกล่าว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Thin Blue Line (1988) : Errol Morris ♥♥♥♥
ชายคนหนึ่งถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ทั้งๆไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ค้นพบโดยผู้กำกับ Errol Morris ออกสืบสวนสอบสวนจนได้ข้อสรุปใหม่ ตีแผ่ออกมาในรูปแบบสารคดี พร้อมจำลองภาพเหตุการณ์คดีฆาตกรรม เพลงประกอบโดย Philip Glass สร้างความสั่นสะเทือนเลือนลั่นให้กับระบบยุติธรรม และกลายเป็นอิทธิพลทรงคุณค่ายิ่งต่อวงการภาพยนตร์
Memories of Murder (2003) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
ความทรงจำต่อเหตุการณ์ฆาตกรรมต่อเนื่อง ไม่เพียงตราฝังตรึงในความทรงจำตัวละคร ผู้กำกับ Bong Joon-ho แต่ยังชาวเกาหลีใต้ทั้งประเทศ สามารถสะท้อนได้ถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนของรัฐบาลเมื่อไม่กี่ปีก่อน ใครกันจะไปหลงลืมเลือน
Kind Hearts and Coronets (1949) : Robert Hamer ♥♥♥♥
เรื่องราวชวนหัวจาก Ealing Studios เมื่อทายาทลำดับที่ 9 ของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ต้องการฮุบมรดกตระกูล เลยวางแผนเข่นฆาตกรรม Alec Guinness รับบท 8 ตัวละครนั้น ทั้งคนหนุ่ม-แก่ ชาย-หญิง บาทหลวง-นายพล ที่สุดจะสำเร็จสมหวังหรือไม่
Funny Games (1997) : Michael Haneke ♥♥♡
ผู้กำกับ Michael Haneke เขียนบทความ ‘Violence and the Media’ เพื่ออธิบายจุดประสงค์การสร้าง Funny Games ฉบับ 1997 และรีเมค 2007 โคลนมาเหมือนเปะเปลี่ยนแค่ภาษาและนักแสดง เพราะต้องการให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อ ที่ได้ปลูกฝังหยั่งรากลึกความรุนแรงเข้ามาในชีวิตประจำวันเรียบร้อยแล้ว