
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
แสร้งว่าคือ Musical? ภาพยนตร์เฉลิมฉลองการตั้งครรภ์ระหว่าง Jean-Luc Godard และ Anna Karina แต่ชีวิตจริงหาได้สวยหรูดั่งเทพนิยาย เพราะเขาไม่เคยอยู่เคียงชิดใกล้ แม้กระทั่งตอนแท้งลูกก็หาได้ใคร่สนใจ
เมื่อมนุษย์ (ไม่ใช่แค่วัยรุ่น) ถูกกดขี่ข่มเหง ควบคุมครอบงำ ได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกาย-จิตใจ จักเริ่มมองหาสถานที่พักผ่อนคลาย ท้องทุ่งแห่งความสงบสันติ หรือใครสักคน Lily Chou-Chou สำหรับพึ่งพักพิง (Escapist) แต่ถ้าโลกส่วนตัวใบนั้นยังถูกคุกคาม ความเกรี้ยวกราดจะปะทุระเบิดออกอย่างคลุ้มบ้าคลั่ง
อนาคตอันใกล้ ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นได้กลายเป็นสกุลเงินเข้มแข็งที่สุดในโลก นำพาผู้อพยพลักลอบเข้ามาทำงานผิดกฎหมายมากมาย พวกเขาตั้งชื่อเล่นเมืองแห่งนี้ว่า Yentown (円都, en to) แต่ชาวญี่ปุ่นกลับเรียกหัวขโมยเหล่านี้ว่า Yen Thieves หรือ Yentowns (円盗, en tou), นี่คือผลงาน Masterpiece ของผู้กำกับ Shuji Iwai
ข้าวฟ่างถูกนำมาทำไวน์แดง แล้วกลายเป็นเลือดไหลนองท่วมทุ่ง ระหว่างการสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับจางอี้โหมว คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin จัดจ้านด้วยแสงสีสัน คลุ้มคลั่งด้วยอารมณ์ ชวนเชื่อค่านิยมรักชาติ ไม่ยินยอมให้ใครอื่นมากอบโกยผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินแดนบ้านเรา
มาสเตอร์พีซที่ถูกหลงลืมของ Jacques Demy นำเสนอด้วยวิธีเดียวกับ The Umbrellas of Cherbourg (1964) แต่มีลักษณะอุปรากรแห่งโศกนาฎกรรม (Tragic Opera) หวนกลับไปเมืองท่าบ้านเกิด Nantes เพื่อเผชิญหน้าช่วงเวลามืดหมองหม่นที่สุดในชีวิต
Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้
จดหมายรักของผู้กำกับ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation เปรียบตนเองเหมือนนกสีฟ้า (Blue Bird) สักวันก็ต้องโบยบินจากไป ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราจักไม่มีวันเสื่อมสลาย ฉันจะรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้นานที่สุด
เด็กสาวเงือก Lu มาพร้อมรอยยิ้มและภยันตราย เมื่อได้ยินเสียงจังหวะดนตรี ครีบหางของเธอสามารถสลับสับเปลี่ยนเป็นขาสองข้าง (Merfolk) พอถูกมนุษย์พบเห็นเลยกลายเป็นศูนย์กลางความสนใจ ถูกใช้กอบโกยผลประโยชน์โดยไม่สนอะไร และเมื่อเกิดเหตุร้ายๆก็พร้อมขับไล่ผลักไสส่งอย่างไร้เยื่อใย … ทำไมพล็อตเรื่องมันเฉิ่มเชยขนาดนี้!
Limelight (1952) : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♡
ผลงานเรื่องสุดท้ายใน Hollywood ของ Charlie Chaplin รับบทตัวตลกสูงวัย อดีตเคยยิ่งใหญ่ ปัจจุบันไม่มีใครหัวเราะกับมุกตลกตกยุคสมัย ผู้ชมเช่นกันอาจขำไม่ออกสักเท่าไหร่ เต็มไปด้วยความสงสารเห็นใจ แจ้งเกิด Claire Bloom และได้ประชันเล็กๆกับ Buster Keaton, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Walk the Line (2005) : James Mangold ♥♥♥♡
แค่คำพูดประโยคเดียวของพ่อ ทำให้ชีวิตของนักดนตรีคันทรี่ Johnny Cash ราวกับเดินอยู่บนเส้นด้าย (Walk the Line) รายล้อมด้วงกงจักรไฟ (Ring of Fire) ทอดทิ้งภรรยาและลูก เกี้ยวพาหญิงสาวแต่งงานอยู่แล้ว เสพยาก่อนขึ้นแสดงคอนเสิร์ต นี่ถ้าไม่เพราะเธอฉุดเขาขึ้นจากขุมนรก คงไม่มีวันพานพบหนทางแห่งความหวัง
I’m Not There (2007) : Todd Haynes ♥♥♥♥
วิธีการจะอธิบาย ‘อารมณ์ศิลปิน’ ของ Bob Dylan ให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด คือคัดเลือกหกนักแสดง ชาย-หญิง เด็ก-แก่ คนขาว-ผิวสี ดำเนินเรื่องอดีต-ปัจจุบัน ในโลกความจริง-เพ้อฝัน เพื่อสะท้อนตัวตนของเขาในแต่ละช่วงเวลาออกมา
South Park: Bigger, Longer & Uncut (1999) : Trey Parker ♥♥♡
Guinness World Records เมื่อปี 2001 ได้จดบันทึกไว้ว่า South Park: Bigger, Longer & Uncut เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นใช้คำหยาบคายมากที่สุด 399 ครั้ง เป็น f-word ถึง 146 แค่บทเพลง Uncle Fucka ก็ฟักไป 31 ครั้งแล้ว!
Pink Floyd – The Wall (1982) : Alan Parker ♥♥♡
มนุษย์สร้างบ้าน รั้วลวดหนาม ผนังกำแพง สำหรับปกป้องตนเองจากภยันตรายภายนอก แต่ขณะเดียวกันนั่นคือการแบ่งแยก กีดกัน กักขังตนเองอยู่ภายใน ค่อยๆก่อรากความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจของผู้อื่นอีกต่อไป, ภาพยนตร์แนว Rock Opera เรต NC-17 นำเสนอรูปแบบ Surrealist รับชมปัจจุบันยังพบเห็นข้อเท็จจริงเหนือกาลเวลา
Across the Universe (2007) : Julie Taymor ♥♥♥♡
The Beatles คือวงดนตรีชายล้วน จึงมักนำเสนอบทเพลงแห่ง ‘ความรัก’ ในมุมมองบุรุษ แต่ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Julie Taymor (Frida) เธอพยายามก้าวข้ามผ่านขอบเขตจำกัดนั้น ไม่สนเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว หรือแม้แต่โลกความจริง-เพ้อฝัน ข้ามจักรวาลเพียงความจริงหนึ่งเดียวเท่านั้น
Let It Be (1970) : Michael Lindsay-Hogg ♥♥♥♡
กัญชายังหมดฤทธิ์ ชีวิตหมดลมหายใจ งานเลี้ยงครั้งไหนๆย่อมมีวันเลิกรา The Beatles ก็เฉกเช่นกัน!, ภาพยนตร์สารคดีบันทึกการตระเตรียมตัว ซักซ้อม แสดงสดครั้งสุดท้ายของวง ยังดาดฟ้าสตูดิโอ Apple building, London โดยไม่มีใครล่วงรับรู้มาก่อน
Yellow Submarine (1968) : George Dunning ♥♥♥♥♡
คุณอาจต้องสูบมาลีฮวนน่า (กัญชา) ถึงสามารถทำความเข้าใจโคตรภาพยนตร์อนิเมชั่นระดับ Masterpiece เรื่องนี้! ที่สะท้อนชื่อเสียงความสำเร็จของ The Beatles ทำให้พวกเขาราวกับต้องอาศัยจมอยู่ในเรือดำน้ำ รายล้อมด้วยแรงกดดันรอบทิศทาง ไม่สามารถหลบลี้หนีไปไหน ล่องลอยอย่างไร้อิสรภาพเสรี
Help! (1965) : Richard Lester ♥♥♥♡
สี่เต่าทองใช้เวลาช่วงเช้าก่อนถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ สูบมาลีฮวนน่า (กัญชา) อาการมึนๆเมาๆ คาดว่าพวกเขาคงสนุกสนานกันน่าดู แต่ผู้ชมคงได้เกาหัว อะไรของมันว่ะ ใครก็ได้ช่วยฉันทำความเข้าใจที!
A Hard Day’s Night (1964) : Richard Lester ♥♥♥♥
ในยุคสมัยที่นักร้องต้องคอยสร้างภาพ มารยาทดีต่อสื่อ ถูกควบคุมโดยผู้จัดการ (Elvis Presley ก็เช่นกันนะ) แต่ไอ้เด็กเวรสี่คน The Beatles เรื่องของกรูจะทำไม! สบโอกาสเมื่อไหร่พยายามดิ้นพร่านให้หลุดจากพันธการกรงขัง นี่คือสิ่งทำให้วงนี้กลายเป็น ‘ปรากฎการณ์’ แห่งศตวรรษ
A Night at the Opera (1935) : Sam Wood ♥♥♥♥
แม้หลงเหลือเพียงสามพี่น้อง Marx Brothers แต่ความตลกค่าตัวคูณสองเท่า! ยังคงไว้ด้วยคาแรคเตอร์ดั้งเดิม แต่ปรับลดช่วงเวลาไร้สาระ เสริมแต่งเรื่องราวให้มีเนื้อหนัง กลายเป็นจุดเริ่มต้นทิศทางใหม่ Giuseppe Verdi คงเกิดความภาคภูมิใจ