การมาถึงของยุคสมัยโลกาภิวัตน์ (Globalization) อินเตอร์เน็ตทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลก แต่มันทำให้เราคลายความเหงาได้จริงๆหรือ? นั่งอยู่ในห้องมืดๆ หน้าจอสว่างๆ แตกต่างอะไรจากวิญญาณคนตาย?
ป้ายกำกับ: Mystery
Otoshiana (1962)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara, คนงานเหมืองถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นวิญญาณล่องลอย พยายามออกติดตามหาเบื้องหลังความจริง แต่รู้คำตอบแล้วจะสามารถทำอะไร? เพียงว่ายเวียนวนอยู่บนโลกหลังความตาย
ความทรงจำไม่ใช่สัจนิรันดร์ คือสิ่งสามารถบิดเบือน ลบเลือน ผันแปรเปลี่ยน อย่างผู้ป่วยภาวะสูญเสียความจำส่วนอนาคต (Anterograde Amnesia) เพราะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ จึงถูกคนรอบข้างฉกฉวยโอกาส เดี๋ยวมาดี เดี๋ยวมาร้าย ปลอมตัวเป็นใครก็ได้ จนท้ายที่สุดแม้แต่ตัวตนเองยังพยายามล่อหลอกตัวตนเอง
Céline et Julie vont en bateau (1974)
ภาษาฝรั่งเศส vont en bateau (Go Boating) มีคำไวพจน์ที่ความหมายเดียวกัน aller en bateau แต่คำหลังยังคือศัพท์แสลงของการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่กำลังรับฟัง ฟังดูงงๆ แต่เอาเป็นว่า Juliet Berto (Céline) และ Dominique Labourier (Julie) เมื่ออมลูกอมวิเศษ ออกเดินทางล่องเรือสู่โลกแฟนตาซี
หญิงสาวคนหนึ่งบังเกิดความฉงนสงสัย ลุ่มหลงใหล จนกลายเป็นหมกมุ่นกับองค์กรลึกลับ ทั้งๆก็ไม่รู้ว่าคืออะไร? มีอยู่จริงหรือไม่? แต่ทฤษฎีสมคบคิดของคนรอบข้าง สร้างความหวาดระแวง วิตกจริต เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าต้องมีอยู่จริง! … สะท้อนบรรยากาศสงครามเย็น (Cold War) ได้อย่างหนาวเหน็บ
ปมบางอย่างในวัยเด็กของ Tippi Hedren ทำให้มีความรังเกียจผู้ชาย ปลอมตัวเข้าทำงานเลขานุการ รอคอยจังหวะไขตู้เซฟ ลักขโมยเงินนายจ้าง ก่อนถูกจับได้โดย Sean Connery บีบบังคับให้แต่งงาน แล้วทำการข่มขืนกระทำชำเรา
Gaslight (1944)
จุดเริ่มต้นของศัพท์แสลง ‘Gaslighting’ นำเสนอเรื่องราวของ Ingrid Bergman ถูกสามี Charles Boyer ควบคุมครอบงำ ทำการด้อยค่า หลอกปั่นหัว ให้ครุ่นคิดว่าตัวเองเป็นคนบ้า แต่แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์อะไรซ่อนเร้น?
The Lady Vanishes (1938)
ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
In the Heat of the Night (1967)
“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
Le Procès (1962)
ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
Monsieur Klein (1976)
พื้นหลัง Vichy France ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Monsieur Klein (รับบทโดย Alain Delon) ถูกตำรวจเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าเป็นอีก Monsieur Klein พยายามพิสูจน์ตนเอง ออกค้นหารากเหง้า ฉันไม่ใช่ชาวยิว แต่จนแล้วจนรอดปลายทางของเขาก็ยังคือ Auschwitz
Rouge (1987)
โศกนาฎกรรมในชีวิตจริงของเหมยเยี่ยนฟาง และเลสลี จาง เมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จะยิ่งขนหัวลุกพอง เพราะทั้งสองรับบทคู่รักจากอดีต เกาะฮ่องกงเมื่อทศวรรษ 30s ครอบครัวไม่ยินยอมรับเลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย กลายมาเป็นวิญญาณล่องลอย ติดตามหากันจนมาถึง ค.ศ. 1987
Three Colours: Red (1994)
แม้คนเราชอบแสดงออกอย่างเป็นมิตรกับคนที่ไม่รู้จัก แต่จิตใจมักเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ครุ่นคิดว่าเขาจะมาร้าย จนกว่าจะได้พูดคุย สานสัมพันธ์ ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน ภารดรภาพที่แท้จริงถึงบังเกิดขึ้น
สันชาติญาณพื้นฐานของทุกสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ นั่นคือสิ่งที่ตัวละครของ Sharon Stone พยายามชี้นำทาง ชักจูงจมูก Michael Douglas จนท้ายสุดยินยอมละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วตอบสนองกามตัณหาของตนเอง
Penguin Highway (2018)
โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
Kaijū no Kodomo (2019)
ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามอภิปรัชญา เปรียบเทียบชีวิตก็คือจักรวาล! มนุษย์สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งสรรพสิ่งอย่าง ได้จากความเข้าใจในตัวเราเอง, ตราตรึงไปกับความงดงามของฝูงสรรพสัตว์ใต้ท้องทะเล และเพลงประกอบโดย Joe Hisaishi
การปฏิวัติรัสเซีย Russian Revolution (1917-23) ทำให้เกิดภาวะสมองไหล หนึ่งในนั้นคือนักแสดง/ผู้กำกับ Ivan Mosjoukine อพยพเดินทางมาถึงยังกรุง Paris สรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้กลายเป็นอิทธิพลให้ Jean Renoir ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อก้าวสู่วงการภาพยนตร์
Dr. Mabuse, der Spieler (1922)
Dr. Mabuse กระทำการฉ้อฉล โกงกลไพ่ ปลอมตัวก่ออาชญากรรมมากมาย สะกดจิตให้ผู้อื่นยินยอมคล้อยตามคำสั่ง พฤติกรรมดังกล่าวราวกับพยากรณ์การมาถึงของ Adolf Hiter กลายเป็นผลงานแจ้งเกิดผู้กำกับ Fritz Lang ความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมงครี่ง ไม่มีความน่าเบื่อเลยสักนิด!
Orlacs Hände (1924)
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้