
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
หญิงสาวผู้ดีอังกฤษ Sarah Miles ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) จากการสูญเสียสามี ว่าจ้างคนขับรถ Robert Shaw ชักชวนพูดคุยสนทนา ทำให้ค่อยๆสามารถปรับตัวเข้าหาผู้อื่น แต่ฝ่ายชายกลับเกิดความเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าเธอแอบชื่นชอบตกหลุมรัก, ภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ที่ไม่สมควรค่าสักเท่าไหร่!
เด็กชายวัย 12 ขวบ อาสารับส่งจดหมาย ‘Go-Between’ ไปมาระหว่างพี่สาวเพื่อน Lady Trimingham (รับบทโดย Julie Christie) กับหนุ่มบ้านนอกคอกนา Ted Burgess (รับบทโดย Alan Bates) แต่ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ชายหนุ่มนาม Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า นั่นคือสิ่งที่สังคมผู้ดีอังกฤษช่วงศตวรรษ 18 ยังไม่ให้การยินยอมรับ แต่การกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London กลับสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture และทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ
The Marquise of O… สูญเสียสามีไปหลายปี จู่ๆตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ แม้พยายามอ้างความบริสุทธิ์ใจ แต่ถูกครอบครัวขับไล่ ผลักไส ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อน ก่อนค้นพบว่าบุคคลข่มขืนเธอนั้นคือ … มนุษย์ทุกคนล้วนมีดี-ชั่วในตัวเอง, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ขณะที่ Emma Thompson (ในบทคว้ารางวัล Oscar: Best Actress) สามารถให้อภัยชายคนรักจากความผิดพลาดทุกสิ่งอย่างในอดีต แต่ Anthony Hopkins กลับปฏิเสธยกโทษน้องสะใภ้ Helena Bonham Carter เพียงเพราะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ใครเป็นพ่อของเด็ก, วรรณกรรมชิ้นเอกของ E. M. Forster สู่ภาพยนตร์มาสเตอร์พีซของ James Ivory
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
นี่คือภาพยนตร์ที่มีความรุนแรงเหี้ยมโหดร้ายที่สุดของ Martin Scorsese ทั้งๆไม่มีฉากต่อสู้ เข่นฆ่า ทาสีบ้าน แต่ในยุคสมัยทองชุบ Gilded Age (1865–1914) ภายนอกดูสวยหรูระยิบระยับ จิตใจมนุษย์กลับมีเพียงความเลือดเย็นชา
Sense คือสัมผัสทางจิตวิญญาณ, Sensible คือความอ่อนไหวในการแสดงออก สองสิ่งขั้วตรงข้ามเหตุผล-อารมณ์ เรื่องราวความรักของสองพี่น้อง Emma Thompson vs. Kate Winslet ใครจะได้ครองคู่แต่งงานกับใคร ด้วยความละเมียดไมจากผู้กำกับ Ang Lee คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
ความรักของผู้กำกับ Céline Sciamma ต่ออดีตแฟนสาว Adèle Haenel (ที่ยินยอมมาเล่นเป็นตนเอง) แม้หลงเหลือเพียงภาพวาดแห่งความทรงจำ แต่ยังคงลุกไหม้คุกรุ่นแม้กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน นั่นคือความโหยหาอาลัยที่จักคงอยู่ภายในจิตใจชั่วกัลปาวสาน
มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
จากสาวขายหมวก ไต่เต้าสู่สนมเอก King Louis XV (ครองราชย์ 1715 – 1774) แต่การมาถึงของการปฏิวัติฝรั่งเศส (1788 – 99) ถูกตัดสินโทษประหารตัดคอด้วย Guillotine, นี่คือภาพยนตร์สัญชาติเยอรมันเรื่องแรกได้เข้าฉายสหรัฐอเมริกา ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สร้างชื่อให้ผู้กำกับ Ernst Lubitsch การันตีตั๋วเดินทางสู่ Hollywood ไม่กี่ปีถัดมา
Sir Arne’s Treasure นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ‘โลภะ โทสะ โมหะ’ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมด้วยสติ มักถูกแสดงออกด้วยความวิปลาส เข่นฆ่าแก่งแย่งชิงทรัพย์สิน โต้ตอบกลับด้วยความรุนแรง พร้อมฉกแย่งชิงเธอมาครอบครองเป็นเจ้าของ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
สองสาวกำพร้า (รับบทโดยสองพี่น้อง Lillian และ Dorothy Gish) ในช่วงเวลาแห่งมรสุม French Revolution (1789-99) เป็นความพยายามแสดงทัศนะในเชิงเปรียบเทียบของผู้กำกับ D. W. Griffith ต่อชัยชนะของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (Bolsheviks)
นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒) : นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
ในยุคที่หนังไทยราวกับได้ตายท้องกลม แต่ความรักของผู้สร้างยังคงอยู่นิรันดร์ พยายามรังสรรค์นำเสนอมุมมองสิ่งแปลกใหม่ คาดหวังแค่ปลุกแม่นากให้ฟื้นตื่น แต่ความสำเร็จกว่า ๑๕๐ ล้านบาท สามารถคืนชีพวงการภาพยนตร์ไทย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Queen Christina (1933) : Rouben Mamoulian ♥♥♥♥♡
หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมสุดของ Greta Garbo รับบท Christina, Queen of Sweden ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชันษา 6 พรรษา คว้าชัยชนะสงครามสามสิบปี จากนั้นเรียกร้องให้มีความสงบสุขสันติภาพ ต้องการเปิดประเทศสานสัมพันธ์ต่างชาติ แต่แล้วตกหลุมรักหนุ่มชาวสเปน (รับบทโดย John Gilbert) นั่นทำให้พระองค์เกือบจะกลายเป็นกบฎต่อผืนแผ่นดิน เลยตัดสินใจสละราชบังลังก์ เพื่อเติมเต็มเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ
Harakiri (1962) : Masaki Kobayashi ♥♥♥♥♡
Seppuku หรือ Harakiri คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งของซามูไร เมื่อมีเหตุให้ต้องสูญเสียเกียรติ ศักดิ์ศรี หรือไม่สามารถอดรนทนต่อบางสิ่งอย่างได้ จึงกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการคว้านท้องไส้ แต่นั่นสมควรได้รับยกย่องเชิดชูสูงสุดจริงๆนะหรือ?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Private Life of Henry VIII (1933) : Alexander Korda ♥♥♡
Charles Laughton ในบทบาทคว้า Oscar: Best Actor สวมวิญญาณเป็น King Henry VIII of England (1491-1547, ครองราชย์ 1509 – 1547) เลืองลือนามจากการสมรสถึงหกครั้ง แต่กาลเวลาไม่ทำให้เรื่องดังกล่าวน่าหัวร่อสักเท่าไหร่
A Man for All Seasons (1966) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
เรื่องราวของ Sir Thomas More ผู้ซึ่งไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงยึดถือเชื่อมั่นในศรัทธาคำสอนพระเจ้า แม้ต้องกลายเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง King Henry VIII (1509 – 1547) ที่ต้องการหย่าร้างราชินี และต่อมาสมรสใหม่ถึง 6 ครั้งครา, คว้า 6 รางวัล Oscar และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Once Upon a Time in America (1984) : Sergio Leone ♥♥♥♥
หนังอาจจะเยิ่นยาวและเชื่องช้าเกินไป แต่คือ Swan Song เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Sergio Leone, เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านแล้วมองย้อนกลับสู่อดีต ความทรงจำอันเลวร้ายจักค่อยๆเลือนลางจางหาย เคยโกรธเกลียดเคียดแค้นใครย่อมสามารถยกโทษให้อภัย เนิ่นนานเกินไปจึงหลงเหลือเพียงความเพ้อฝัน กาลครั้งหนึ่ง…