
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Béla Tarr นำเสนอหกวันสุดท้ายแห่งความสิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศกำลังมาถึง แต่ชีวิตยังคงเวียนวน ตื่น-กิน-นอน ดำเนินต่อไป เพียงเฝ้ารอคอยความตาย และทอดถอนหายใจ
การมาถึงของปลาวาฬยักษ์ สัตว์ประหลาดขนาดมหึมา (Leviathan) ทั้งๆเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กลับนำพาหายนะ ความวุ่นวาย กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าทำลายชีวิต-ทรัพย์สิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย (Natural Order vs. Social Order) เพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ สันติสุขของคนในชาติ และสมดุลแห่งจักรวาล
ชีวิตก็เหมือนทอยลูกเต๋า มีความเป็นไปได้เกิดขึ้นไม่รู้จบ! ผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ทดลองนำเสนอสามสถานการณ์แห่งโชคชะตา เมื่อตัวละครสามารถวิ่งขึ้นรถไฟ, พุ่งชนเจ้าหน้าที่สถานี และหยุดยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ไม่ว่าจะไทม์ไลน์ไหน ล้วนประสบผลลัพท์ไม่น่าอภิรมณ์ทั้งนั้น
จากการถ่ายทำ Live-Action นำมาวาดภาพ Animation ที่อาจดูปวดเศียรเวียนเกล้า แต่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม สนทนาอภิปรัชญา ทุกวันนี้เรากำลังหลับหรือตื่น มีชีวิตหรือจมอยู่ความฝัน อะไรคืออิสรภาพ-โชคชะตากรรม ทำอย่างไรถึงสามารถดิ้นหลุดพ้นจากวัฎฎะสังสาร แล้วมนุษย์เกิดมาทำไมกัน?
Kaspar Hauser ตั้งแต่เกิดถูกควบคุมขัง ล่ามโซ่ตรวนอยู่ในห้อง จนได้รับการปล่อยตัวเมื่ออายุ 17 เดินแทบไม่ได้ พูด-อ่าน-เขียนไม่เป็น ค่อยๆเรียนรู้วิถีโลก ปรับตัวเข้าสังคม ตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตมากมาย กระทั่งถูกแทงเสียชีวิตขณะอายุเพียง 21 ปี … สรุปแล้วชายคนนี้เกิดมาเพื่ออะไร?
คณะพันธมิตร(แห่งแหวน) จาริกแสวงบุญมุ่งสู่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คาดหวังจะโจรกรรมองค์ความรู้ที่ทำให้กลายเป็นอมตะ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมีลักษณะชวนเชื่อ (Propaganda) ชี้นำเข้าสู่ลัทธินอกรีต (Cults) ก่อนทรยศหักหลังผู้ชมให้ต้องหวนกลับสู่โลกความจริง
ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามอภิปรัชญา เปรียบเทียบชีวิตก็คือจักรวาล! มนุษย์สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งสรรพสิ่งอย่าง ได้จากความเข้าใจในตัวเราเอง, ตราตรึงไปกับความงดงามของฝูงสรรพสัตว์ใต้ท้องทะเล และเพลงประกอบโดย Joe Hisaishi
สันติสุขไม่มีทางจะบังเกิดขึ้นหากปราศจากการสงคราม! แต่โลกยุคสมัยปัจจุบันเหินห่างความขัดแย้งมายาวนาน มันจึงแปรสภาพสู่ความบันเทิงรูปแบบหนึ่ง ผ่านการนำเสนอของสื่อภาพยนตร์ อนิเมชั่น ล้วนสอดไส้ความรุนแรง ปรุงปั้นแต่งการต่อสู้ ชีวิต-ความตายกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ เราควรครุ่นคิด/รู้สึกเช่นนั้นจริงๆนะหรือ?
ต้นฉบับนวนิยาย Lost Horizon (1933) ให้กำเนิดสถานที่แห่งอุดมคติ แชงกรีล่า (Shangri-La) ดินแดนลึกลับสุดปลายขอบฟ้า หลบซ่อนท่ามกลางขุนเขาหิมาลัย ใครๆต่างใช้ชีวิตอย่างสุขสงบร่มเย็น มีความเพียงพอดี พึงพอใจในสิ่งที่มี มิต้องต่อสู้ดิ้นรนแข่งกับใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะอยากอยู่อาศัยยังสรวงสวรรค์แห่งนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Samsara (2001) : Pan Nalin ♥♥♥
การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินใจทอดทิ้งพระนางยโสธารา เพื่อออกค้นหาหนทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ในมุมคนนอกศาสนาช่างเป็นความเห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบ ไร้ซึ่งสามัญสำนึก แต่นั่นเพราะพวกเขามองไม่เห็นความล้ำค่าของสัจธรรมความจริงเหนือสิ่งอื่นใด ก็เหมือนผู้กำกับ Pan Nalin พยายามนำมุมมองตะวันตกเข้ามาเพื่อความสากล แต่กลับคลุกเคล้าเข้ากันได้ไม่ทั้งหมด
Mandala (1981) : Im Kwon-taek ♥♥♥♡
Mandala ภาษาเกาหลีแปลว่า ภาพพระพุทธ, ไม่ได้สื่อถึงรูป วัตถุหล่อปั้น หรือเจตสิกที่ปรุงแต่ง แต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง แก้วน้ำ ไม้เท้า หรือแม้แต่ก้อนขี้ก็สามารถแทนด้วยพุทธองค์ นี่ไม่ใช่การลบหลู่ดูหมิ่นแคลน แต่คือปริศนาธรรมสุดลึกล้ำ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003) : Kim Ki-duk ♥♥♥♥♥
เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย วงเวียนวัฏจักรชีวิตก็เหมือนฤดูกาลเคลื่อนพานผ่าน ตราบใดยังว่ายวนอยู่ในวัฏฏะสังสาร ย่อมมิอาจดิ้นหลุดพ้นบ่วงกิเลสกรรม เคยกระทำอะไรกับใครไว้สักวันย่อมต้องได้รับผลนั้นคืนตอบสนอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Through the Olive Trees (1994) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
มนุษย์โหยหาสิ่งที่คือสัจนิรันดร์ เฉกเช่นเดียวกับชายหนุ่มเดินติดตามหญิงสาวผ่านต้นมะกอก (Olive Trees) รอรับฟังคำตอบขอแต่งงาน แต่ไม่ว่าเธอจะบอกกล่าวเขาเช่นไร ชีวิตยังคงต้องก้าวเดินต่อไป
Stalker (1979) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥
Stalker ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือผู้นำทางนักวิทยาศาสตร์ และนักเขียนนวนิยาย (ค้นหาความจริง vs. จินตนาการเพ้อฝัน) มุ่งสู่ Zone ดินแดนอันตรายที่บุคคลทั่วไปไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวข้องแว้ง โดยมีเป้าหมายคือ Room ห้องเล็กๆที่สามารถดลบันดาลได้ทุกสิ่งอย่าง
หัวเข่าของหญิงสาวชื่อ Claire สร้างความลุ่มหลงใหลให้ผู้กำกับ Éric Rohmer ครุ่นคิดแผนการเพื่อให้ได้สัมผัสลูบไล้ ไม่ได้ด้วยกิเลสตัณหา แค่ปรารถนาเติมเต็มความสุขเล็กๆของหัวใจ
Baraka (1992) : Ron Fricke ♥♥♥♥
สารคดีไร้ซึ่งคำพูดบรรยาย ร้องเรียงภาพสถานที่ เหตุการณ์ วิถีชีวิต ผู้คนจาก 23 ประเทศ Cross-Cutting, Slow-Motion, Time-Lapse กลายเป็นผลงานโคตรปรัชญา โคตร Poetic โคตรตราตรึงอย่างถึงที่สุด
The Ballad of Narayama (1958) : Keisuke Kinoshita ♥♥♥♥♡
ณ ชนบทห่างไกลของญี่ปุ่นสมัยก่อนมีประเพณีความเชื่อที่ว่า ผู้สูงวัยอายุเกิน 70 ปี จักต้องออกเดินทางมุ่งสู่เทือกเขา Narayama เพื่อมิให้เป็นภาระลูกหลาน ความใฝ่ฝันหญิงชรารับบทโดย Kinuyo Tanaka สถานที่แห่งนั้นมีอะไรเฝ้ารอคอยเธออยู่? นำเสนอด้วยไดเรคชั่นคล้ายๆ Kabuki (มีชื่อเรียกว่า Jōruri) งดงาม เชื่องช้า แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Moon (2009) : Duncan Jones ♥♥♥♥
ถึงมนุษย์จะเคยย่างเหยียบบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ก็มีอะไรอีกมากที่ยังไม่ล่วงรับรู้ จิตใจ/ด้านมืดของคนเราก็เช่นกัน, ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Duncan Jones เคารพคารวะโคตรหนัง Sci-Fi จากอดีต ใช้นักแสดงเพียง Sam Rockwell และหุ่นยนต์ HAL 9000 GERTY พากย์เสียงโดย Kevin Spacey
Léon Morin, Priest (1961) : Jean-Pierre Melville ♥♥♥♥
ผู้กำกับ Jean-Pierre Melville เป็นคนที่ไม่นับถือศาสนาหรือพระเจ้าองค์ใด แต่สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับบาทหลวงคาทอลิกเนี่ยนะ! รับชมไปสักพักคุณจะรู้ซึ้งถึงความชั่วร้าย เมื่อ Emmanuelle Riva แม่หม่ายผู้มีความเก็บกดทางเพศสูง ใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างพยายามเกี้ยวพาราสี Jean-Paul Belmondo บาทหลวงผู้ปฏิญาณถือครองความโสด แต่เธอจะกระทำการนี้ได้สำเร็จหรือไม่