
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
เพื่อโต้ตอบกับ Dishonored (1931) สตูดิโอ M-G-M จึงรีบเร่งสรรค์สร้าง Mata Hari (1931) นำแสดงโดย Greta Garbo ในบทสายลับนักเต้น โดดเด่นในการใช้มารยาหญิง เย้ายวน ยั่วราคะ ล้วงความลับจากบรรดาบุรุษทั้งหลาย แม้หนังจะประสบความสำเร็จทำเงินถล่มทลาย แต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำสักเท่าไหร่
ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กำกับ Josef von Sternberg ที่จะตีตราสายลับว่าเป็นอาชีพไร้เกียรติ ‘Dishonored’ แต่มันคือมุมมองคนยุคสมัยนั้น (รวมถึงสตูดิโอภาพยนตร์) ยินยอมรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมบุคคลสองหน้า ใช้มารยาลวงล่อหลอก ล้วงความลับผู้อื่น ไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา ทั้งๆพวกเขาและเธอต่างทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติบ้านเมือง
Paul Muni รับบทชายที่โดนหลอกให้เป็นโจร ปล้นเงินเพียง 5 ดอลลาร์ แต่กลับได้รับตัดสินโทษใช้แรงงานหนัก 10 ปี ถูกล่ามโซ่ตรวน (Chain Gang) ต้องเดินก้มหน้าก้มตา จะเช็ดหน้ายังต้องขออนุญาตผู้คุม สภาพชีวิตไม่ต่างจากนรกบนดิน นี่มันใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ?
ยุคสมัยนั้นใครๆต่างรับรู้ว่า Scarface คือฉายาของ Al Capone แต่เพราะภาพยนตร์มิอาจนำเสนอชีวประวัติอาชญากรออกมาตรงๆ จึงใช้การหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ท้าชนกองเซนเซอร์อยู่เกือบปีจน Howard Hawks บอกช่างแม้ง นำออกฉายทั้งๆไม่ผ่านการอนุมัติ ดิบ เถื่อน รุนแรงสุดเท่าที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้ (ขณะนั้น)
แทนที่จะนำเสนอชีวประวัติอาชญากรแบบตรงไปตรงมา The Public Enemy (1931) สรรค์สร้างข้ออ้างการศึกษาสภาพสังคม ‘social study’ ร้อยเรียงวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน พานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ช่วงเวลา Great Depression และยุคสมัย Prohibition ใครกันแน่คือศัตรูของสาธารณะ?
จากโจรกระจอกสู่เจ้าพ่อมาเฟีย (rags-to-richs) แจ้งเกิดโด่งดัง Edward G. Robinson ทั้งยังจุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์แนว Gangster ในยุคสมัย pre-code จนทำให้สตูดิโอ Warner Bros. ช่วงทศวรรษ 30s ได้รับฉายา ‘The King of the Gangster Film’
Queen Christina (1933) : Rouben Mamoulian ♥♥♥♥♡
หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมสุดของ Greta Garbo รับบท Christina, Queen of Sweden ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชันษา 6 พรรษา คว้าชัยชนะสงครามสามสิบปี จากนั้นเรียกร้องให้มีความสงบสุขสันติภาพ ต้องการเปิดประเทศสานสัมพันธ์ต่างชาติ แต่แล้วตกหลุมรักหนุ่มชาวสเปน (รับบทโดย John Gilbert) นั่นทำให้พระองค์เกือบจะกลายเป็นกบฎต่อผืนแผ่นดิน เลยตัดสินใจสละราชบังลังก์ เพื่อเติมเต็มเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ
Blonde Venus (1932) : Josef von Sternberg ♥♥♥
แม้เป็นภาพยนตร์ที่มักถูกหลงลืม แต่ก็มีหลายสิ่งน่าจดจำ, Marlene Dietrich เต้นกอริลลา Hot Voodoo เสื่อมได้ใจ, บทบาทแรกๆของ Cary Grant เป็นมหาเศรษฐีจ่ายไม่อั้นแม้เพียงความสุขแสนสั้นกับเธอ
Duck Soup (1933) : Leo McCarey ♥♥♥♥
Groucho Marx ให้คำอธิบายชื่อหนังแบบจับไปกระเดียดว่า “นำเอาไก่งวงสองตัว ห่านอีกหนึ่ง กะหล่ำปลีสี่หัว แต่ไม่มีเป็ด ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน หลังจากนั้นลิ้มชิมรสชาติ แล้วคุณจะ ‘Duck Soup’ ตลอดชั่วชีวิต” เอาจริงๆทำให้ผมนึกถึงสแลง “Once you go black, you never go back”
Animal Crackers (1930) : Victor Heerman ♥♥♥♡
“เช้าวันหนึ่ง ฉันยิงช้างในกางเกงนอน มันเข้ามาอยู่ได้ยังไงก็ไม่รู้ ต่อมาพยายามดึงงวงมันออก แต่ทำอย่างไรก็ไม่ขยับเขยื้อน…” ใครสามารถทำความเข้าใจมุกตลกเสื่อมๆของ Marx Brothers ก็อาจรับชมผลงานเรื่องที่สอง Animal Crackers ได้ด้วยสันชาตญาณสัตว์
The Cocoanuts (1929) : Robert Florey, Joseph Santley ♥♥♥♡
ภาพยนตร์เรื่องแรกของ Marx Brothers สร้างโดยหนึ่งผู้กำกับไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ อีกหนึ่งผู้กำกับไม่เข้าใจวิถีตลก ผลลัพท์ออกมาสี่พี่น้องก็ไม่ค่อยชื่นชอบพอใจสักเท่าไหร่ ต้องการซื้อลิขสิทธิ์กลับคืนเพื่อเผาทำลาย แต่ Paramount กลับนำออกฉายประสบความสำเร็จถล่มทลาย!
The Private Life of Henry VIII (1933) : Alexander Korda ♥♥♡
Charles Laughton ในบทบาทคว้า Oscar: Best Actor สวมวิญญาณเป็น King Henry VIII of England (1491-1547, ครองราชย์ 1509 – 1547) เลืองลือนามจากการสมรสถึงหกครั้ง แต่กาลเวลาไม่ทำให้เรื่องดังกล่าวน่าหัวร่อสักเท่าไหร่
Cavalcade (1933) : Frank Lloyd ♥♥♥
อีกหนึ่ง Worse Oscar: Best Picture นำเสนอครอบครัวชาวอังกฤษ มีชีวิตพานผ่านวันสิ้นปี 1899 จนถึงปีใหม่ 1933, พบเห็นสงคราม Second Boer War (1899-1902), การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (22 มกราคม 1901), เรือไททานิคล่ม (14 เมษายน 1912) และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18)
Cimarron (1931) : Wesley Ruggles ♥♥♥
ถึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่การได้พบเห็นประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการรัฐ Oklahoma ตั้งแต่เริ่มต้นบุกเบิก 1889 จนถึงปี 1929 ช่างอลังการงานสร้างยิ่งนัก
What Price Hollywood? (1932) : George Cukor ♥♥♥♡
ความเพ้อฝันอยากเป็นดาวดารา ทำให้หญิงสาวมุ่งหน้าสู่วงการมายา Hollywood แต่มีบางสิ่งที่เธอยังไม่รับรู้ นั่นคือมูลค่าราคาแห่งความสำเร็จ เตรียมตัวกายใจไว้พร้อมหรือเปล่าจักต้องสูญเสีย, นี่คือต้นฉบับ A Star is Born แม้มิได้หวานซึ้งโรแมนติกรวดร้าวเท่า แต่คุณภาพเทียบยุคสมัยนั้นถือว่าไม่ธรรมดาทีเดียว
Trouble in Paradise (1932) : Ernst Lubitsch ♥♥♥♥
อยู่บนสรวงสวรรค์มันยังจะมีปัญหาอีกรึ? ภาพช็อตแรกของหนังขึ้นข้อความ Trouble in … พื้นหลังคือเตียงนอน ค้างไว้สักพักก่อนปรากฎคำว่า Paradise นั่นสินะที่คือปัญหา! เรื่องราววุ่นๆของรักสามเส้าชวนหัว ระหว่างจอมโจรหนุ่มกับนางแมวสีสวาด ปลอมตัวเข้าไปตีสนิทเศรษฐินีสาวหวังขโมยลาภลอยก้อนใหญ่ แต่พลาดพลั้งเผลอตกหลุมรักใคร่ สุดท้ายแล้วเขาจะเลือกใครเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย
Shanghai Express (1932) : Josef von Sternberg ♥♥♥♥♡
ขึ้นรถไฟสาย Shanghai Express ผ่านสมรภูมิสงครามกลางเมืองจีน (1927 – 1936) เพื่อพิสูจน์หาคุณค่าความรักของ Marlene Dietrich ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อคนที่ตนหลงใหล อาบฉาบหน้าด้วยการจัดแสง Butterfly Lighting งดงามที่สุดแล้วในภาพยนตร์ของ Josef von Sternberg
Morocco (1930) : Josef von Sternberg ♥♥♥♡
Marlene Dietrich ทิ้งทุกสิ่งอย่างจากบ้านเกิด ออกเดินทางเริ่มต้นชีวิตใหม่ยังประเทศ Morocco แม้จะได้รับสิ่งปรนเปรอเลิศหรูสุขสบายจาก Adolphe Menjou แต่เพราะตกหลุมรักนายทหารหนุ่มสุดหล่อ Gary Cooper สุดท้ายเลือกติดตามเขามุ่งสู่ทะเลทราย Sahara อันเวิ้งว้างว่างเปล่า
It Happened One Night (1934) : Frank Capra ♥♥♥♥
ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างประวัติศาสตร์ให้บังเกิดขึ้นในค่ำคืนประกาศผลรางวัล Oscar กวาดเรียบห้ารางวัลใหญ่ ‘Big Five’ ที่ได้เข้าชิง (Best Picture, Best Director, Best Actor, Best Actress, Best Writing) ส่งผลให้ Clark Gable และ Claudette Colbert กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ข้ามคืนโดยพลัน