ครั้งแรกของผู้กำกับ Alfred Hitchcock นำเสนอเรื่องราวในพื้นที่จำกัด (Limited Setting) ถ่ายทำบนเรือชูชีพ หลังถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat แต่เมื่อมีทหารเยอรมันคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะทำอะไรยังไงกับชายคนนี้ดี?
ป้ายกำกับ: Propaganda
49th Parallel (1941)
ภาพยนตร์ชวนเชื่อรวมดารา ผลงานลำดับที่สามของ Powell & Pressburger, ถ่ายภาพโดย Freddie Young, ตัดต่อโดย David Lean, เมื่อกลุ่มทหารนาซีเยอรมันถูกปล่อยเกาะบนผืนแผ่นดินแคนาดา อุดมการณ์ที่ไม่ยอมแปรเปลี่ยน เมื่อต้องเผชิญหน้าแนวคิดเสรีภาพ มันช่างเป็นความคู่ขนานกันโดยสิ้นเชิง
โดยปกติแล้วภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) มักพยายามโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) กลับทำออกมาในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ งดงามวิจิตรศิลป์
หลังสหรัฐอเมริกาถูกโจมตี Pearl Harbor เสนาธิการทหารบก George C. Marshall ติดต่อขอให้ผู้กำกับ Frank Capra สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda Film) เพื่อโต้ตอบกลับ Triumph of the Will (1935) กลายมาเป็นหนังซีรีย์จำนวน 7 ภาคละ 40-83 นาที
Red Sorghum (1988)
ข้าวฟ่างถูกนำมาทำไวน์แดง แล้วกลายเป็นเลือดไหลนองท่วมทุ่ง ระหว่างการสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับจางอี้โหมว คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin จัดจ้านด้วยแสงสีสัน คลุ้มคลั่งด้วยอารมณ์ ชวนเชื่อค่านิยมรักชาติ ไม่ยินยอมให้ใครอื่นมากอบโกยผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินแดนบ้านเรา
Ninotchka (1939)
Ninotchka (1939) : Ernst Lubitsch ♥♥♥♥
วินาทีที่ตัวละครของ Greta Garbo หลุดหัวเราะออกมาครั้งแรก มันช่างเป็นภาพประวัติศาสตร์ของเจ้าหญิงน้ำแข็ง หลอมละลายจิตใจผู้ชม และด้วยสัมผัสของ Lubitsch แช่แข็งความทรงจำนั้นไว้ชั่วนิรันดร์
Potomok Chingiskhana (1928)
Potomok Chingiskhana (1928) : Vsevolod Pudovkin ♥♥♡
เจงกีสข่าน แม้จะล่วงลับไปหลายศตวรรษ แต่แค่ชื่อก็ยังทรงอิทธิพลต่อชาวมองโกล เป็นเหตุให้ผู้นำกองทัพแห่งสหราชอาณาจักร นำชายผู้หนึ่งซึ่งเกิดความเข้าใจ(ผิดๆ)ว่าสืบเชื้อสาย ทายาทรุ่นปัจจุบัน มาปลุกปั้น ขยับเขยื้อน กลายเป็นหุ่นเชิดชัก เพื่อหวังครอบครองผืนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่านี้
Konets Sankt-Peterburga (1927) : Vsevolod Pudovkin, Mikhail Doller ♥♥♥
เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบสิบปีการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (Central Committee of the Communist Party) มอบหมายสองผู้กำกับให้สร้างภาพยนตร์สองเรื่อง กลายมาเป็น The End of St. Petersburg (1927) ของ Vsevolod Pudovkin และ October (1928) ของ Sergei Eisenstein
Shestaya Chast Mira (1926) : Dziga Vertov ♥♥♡
ถึงภาพจากทั่วทุกสารทิศของสหภาพโซเวียตจะมีความตื่นตระการตา แต่ใจความชักชวนเชื่อว่า ‘คุณ’ คือผู้สามารถเปลี่ยนแปลงโลก เน้นย้ำเสียจนสร้างความรำคาญโดยง่าย
Kino-glaz (1924)
Kino-glaz (1924) : Dziga Vertov ♥♥♥♡
แม้มิได้ตื่นตระการตาเท่า Man with a Movie Camera (1929) แต่ Kino-Eye น่าจะคือผลงานยอดเยี่ยมที่สุดรองลงมาของ Dziga Vertov โดยมีโคตรไฮไลท์คือการทดลอง Reverse Motion ไล่ย้อนถอยหลังกลับไป ณ จุดเริ่มต้นของ…
Kino-Pravda (1922) : Dziga Vertov ♥♥♡
Kino-Pravda แปลว่า Film Truth คือซีรีย์ Newsreels จำนวน 23 ตอน สร้างโดยผู้กำกับ Dziga Vertov เพื่อบันทึกภาพ ‘ความจริง’ นำเสนอสิ่งไม่พบเห็นด้วยมุมมองปกติ แต่สามารถปรากฎบนฟีล์มภาพยนตร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นทฤษฎี Kino-Eye ก่อนพัฒนาการมาเป็น Man with a Movie Camera (1929) ที่โด่งดัง
Crows and Sparrows (1949)
Crows and Sparrows (1949) : Zheng Junli ♥♥♥♡
อพาร์ทเม้นท์เล็กๆแห่งนี้กำลังถูกขาย แล้วผู้เช่าจะย้ายไปอาศัยอยู่ไหน? ลักลอบสร้างขึ้นช่วงบั้นปลายสงครามกลางเมืองจีน เมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋นกำลังพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เชิดชูการร่วมมือร่วมใจเผชิญหน้าอยุติธรรม รับชมปัจจุบันอาจไม่ตระหนักถึงใจความชวนเชื่อสักเท่าไหร่
Little Toys (1933)
Little Toys (1933) : Sun Yu ♥♥♥♡
Ruan Lingyu รับบทนักประดิษฐ์ของเด็กเล่น กิจการเล็กๆภายในครอบครัว แต่เมื่อเกิดการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ถึงอาวุธสงคราม ปืนใหญ่ เครื่องบินรบ กลายสภาพเป็นหนังชวนเชื่อ ปลุกกระแสรักชาตินิยม ภาคภูมิใจในสิ่งของผลิตทำเองในประเทศ สามารถต่อกรมหาอำนาจชาติอื่นได้ไม่น้อยหน้า
The Big Road (1934) : Sun Yu ♥♥♥
ชายหกคนฉันท์พี่น้อง ร่วมแรงปลุกใจฝูงชนก่อสร้างทำถนนหนทาง เพื่อให้ทหารจีนสามารถเดินทัพมุ่งหน้าสู่สนามรบ ปกป้องประเทศชาติจากการรุกรานญี่ปุ่น ช่วงก่อนการมาถึงของ Second Sino-Japanese Wars
Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡
ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
Louisiana Story (1948) : Robert J. Flaherty ♥♥♡
ภาพยนตร์แนว Docu-Fiction จากผู้สร้าง Nanook of the North (1922), Tabu (1931) ร้อยเรียงวิถีชีวิตของชาว Cajuns อาศัยอยู่ปากแม่น้ำ Bayou Petite Anse, Louisiana เมื่อการมาถึงของเรือขุดน้ำมัน กำลังให้อะไรๆเกิดการปรับเปลี่ยนแปลงไป
อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) : มิตร ชัยบัญชา ♥♥♡
มิตร ชัยบัญชา เป็นนักแสดงที่ดี แต่เรื่องการกำกับยังถือว่าอ่อนด้อยประสบการณ์นัก, สำหรับผลงานสุดท้ายในชีวิต เน้นขายความอลังการงานสร้าง ต่อสู้บู๊สุดมันส์ระหว่าง แดง vs. เหลืองทอง, โจร vs. ตำรวจ, คอมมิวนิสต์ vs. ประชาธิปไตย คงไม่มีใครสวมหน้ากากอินทรี แล้วจะยิ่งใหญ่ได้มากกว่านี้อีกแล้ว
Song at Midnight (1937)
Song at Midnight (1937) : Ma-Xu Weibang ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ Horror เรื่องแรกของประเทศจีน ดัดแปลงจาก The Phantom of the Opera สอดไส้แนวคิดชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลคอรัปชั่นของพรรคก๊กมินตั๋ง ตอนฉายผู้สร้างถูกจับติดคุกเกือบเอาตัวไม่รอด กาลเวลาผ่านไปได้รับการยกย่องอย่างสูงจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ติดหนึ่งในร้อยหนังจีนยอดเยี่ยมตลอดกาล
เลือดสุพรรณ (1979)
เลือดสุพรรณ (พ.ศ. ๒๕๒๒) : เชิด ทรงศรี ♥♥♡
ด้วยความสำเร็จอันล้นหลามของ แผลเก่า (พ.ศ. ๒๕๒๐) ทำให้เชิด ทรงศรี ตัดสินใจสร้างภาพยนตร์แนวรักชาตินิยม บนพื้นฐานความเป็นไทยอีกครั้ง ‘ถ้าอยู่อย่างไทไม่ได้ เรามาสู้ตายพร้อมกัน’ แต่คราวนี้เลยได้พลีชีพสมใจ
Animal Farm (1954) : John Halas, Joy Batchelor ♥♥♥♡
ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศอังกฤษ ดัดแปลงจากวรรณกรรมอมตะของ George Orwell ในฟาร์มชนบทแห่งหนึ่ง ฝูงสรรพสัตว์รวมพลังยึดอำนาจจากเจ้าของที่เป็นมนุษย์ แต่แล้วการปกครองกันเองของพวกเขากลับไม่แตกต่างจากที่เคยเป็น หนำซ้ำยังเลวร้ายยิ่งเสียกว่าเดิม, ได้ทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก Central Intelligence Agency (CIA) เพราะนัยยะใจความต่อต้าน Anti-Communism ตรงกับช่วงสงครามเย็นพอดี