
มาลีเป็นกะหรี่ที่สวยที่สุดในโลก เป็นประโยคที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ วิยะดา อุมารินทร์ ต่างหากคือกะหรี่ของท่านมุ้ยที่สวยที่สุดในโลก! เอ็นดูทะนุถนอมในกองถ่ายจนตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้ต้องหย่าร้างชายาองค์ก่อน แม้มีบุตรร่วมกันมาถึงสองคน
มาลีเป็นกะหรี่ที่สวยที่สุดในโลก เป็นประโยคที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ วิยะดา อุมารินทร์ ต่างหากคือกะหรี่ของท่านมุ้ยที่สวยที่สุดในโลก! เอ็นดูทะนุถนอมในกองถ่ายจนตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้ต้องหย่าร้างชายาองค์ก่อน แม้มีบุตรร่วมกันมาถึงสองคน
ผลงานเรื่องสุดท้าย Swan Song ของผู้กำกับ Kenji Mizoguchi ไม่ได้นำเสนอความน่าละอายของอาชีพโสเภณี แต่คือประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีสภาพไม่ต่างจากโสเภณี!
ครึ่งหลับครึ่งตื่นบนโลกส่วนตัวของผู้กำกับ Gus Van Sant เพื่อออกค้นหารากเหง้าของ River Phoenix และทอดทิ้งตัวตนเองของ Keanu Reeves แต่สุดท้ายแล้วผู้ชมก็เกาหัว นี่มันหนังห่าเหวอะไรกัน?
ภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ที่ทำการทดลองผิดลองถูก (Avant-Garde) แทบไม่มีการขยับเคลื่อนกล้อง ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า Long Take รับชมแล้วรู้สึกทุกข์ทรมานยิ่งกว่าความตาย
โลกใบนี้อาจถึงการล่มสลาย ถ้าบุรุษไม่ได้อิสตรีเคียงข้างกาย! เพียงค่ำคืนเดียวที่ซ่องโสเภณีปิดให้บริการ กลับสร้างความสับสนอลม่าน ก่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ทำให้ทั้งคนหนุ่ม-แก่ ชนชั้นสูง-ต่ำ ตกอยู่ในสภาพแห้งเหี่ยวเฉา หมดสิ้นหวังอาลัย
ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผู้กำกับ G. W. Pabst ต้องการตีตนออกห่าง German Expressionism เลยสรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สาม The Joyless Street (1925) ริเริ่มต้นยุคสมัย New Objectivity และยังช่วยขัดเกลา Greta Garbo ก่อนออกเดินทางมุ่งสู่ Hollywood
Camille (1936) : George Cukor ♥♥♥♥♡
ดอก Camellia มีนัยยะถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตน รักในอุดมคติ, ภาพยนตร์เรื่องนี้ Greta Garbo รับบทไฮโซโสเภณี คอยเกาะกินมหาเศรษฐี แต่ตกหลุมรักเทพบุตรสุดหล่อ ระหว่างชีวิตสุขสบายกับอุดมคติแห่งรัก เธอเลือกหัวเราะยิ้มร่า ขณะที่ภายในคลุกเคล้าน้ำตา
The Naked Kiss (1964) : Samuel Fuller ♥♥♥
หญิงสาวเมื่อเลือกที่จะเป็นโสเภณี ย่อมมีบางสิ่งอย่างภายในจิตใจเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล รอยจูบเคยหวานฉ่ำหลงเหลือเพียงความเปลือยว่างเปล่า จะมีใครสักคนไหมสามารถนำพาความรู้สึกนั้นให้หวนคืนกลับมา
Faces (1968) : John Cassavetes ♥♥♥♥
ภาพยนตร์ที่จะกระชาก’หน้ากาก’สังคมอเมริกัน เปิดเผยธาตุแท้ตัวตน ปลุกให้ตื่นจากความเพ้อใฝ่ฝัน เพราะโลกความจริงนั้นเต็มไปด้วยสิ่งอัปลักษณ์ หาได้งดงามสวยเลิศหรูเลยสักนิด!
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
ช่างมันฉันไม่แคร์ (พ.ศ. ๒๕๒๙) : หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ♥♥♥♡
ช่างมันฉันไม่แคร์ เป็นคำตัดพ้อรำพันของ สินจัย หงษ์ไทย (เปล่งพานิช) และ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ต่อชายคนรักที่นิสัยเปลี่ยนแปลง และสภาพสังคมไทยหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ แค่เพียงกว่าสิบปี อะไรๆกลับมีแต่เลวร้ายเสื่อมทรามลง ทอดถอนลมหายใจ ปลงอย่างอ่อนแรง หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติท้องทุ่งนา ไขว่คว้าหาความสงบสุขทางใจเสียยังดีกว่า
ส.อ.ว.ห้อง ๒ รุ่น ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๓) : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ♥♥♥♡
จินตหรา สุขพัฒน์ สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย ห้อง ๒ รุ่น ๔๔ โรงเรียนสตรีอรุณรัชต์วิทยา ทั้งๆที่สนิทสนมกับเพื่อนร่วมชั้นทุกคนเป็นอย่างดี แต่เมื่อต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตก็เริ่มเหินห่าง เพราะความแตกต่างทางสังคม ครอบครัว และเป้าหมายอุดมการณ์เพ้อฝัน ค่อยๆเรียนรู้จักโลกกว้าง ที่ผู้หญิงยังไม่ได้รับสิทธิ โอกาส ความเสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mamma Roma (1962) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♥♥♡
Anna Magnani รับบท Mamma Roma แม่ผู้ยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง เสียสละตนเองเพื่อลูกรักให้เติบโตขึ้นได้ดี แต่เพราะเธอเคยเป็นอดีตโสเภณี และเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย คนเป็นลูกจะสามารถยินยอมรับได้หรือเปล่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Accattone (1961) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♥♥♡
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Pier Paolo Pasolini ได้รับการสนับสนุนผลักดันจาก Federico Fellini แต่พอได้เห็นฟุตเทจถ่ายทำมา พลันด่วนถอนตัวออกไปทันที, เรื่องราวของแมงดาหนุ่มเรียกตัวเองว่า Accattone วันๆเรื่อยเปื่อยไม่ทำอะไรนอกจากเกาะผู้หญิงกิน แถมบีบบังคับให้เธอขายตัวนำเงินมาถลุงเล่นพนันจนหมดตัว คนแบบนี้มีอะไรดี ไฉนพบเห็นได้ทั่วไปในสังคม?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Insect Woman (1963) : Shohei Imamura ♥♥♥♡
เปรียบเทียบวงจรชีวิตของแมลง กับหญิงชาวญี่ปุ่นที่ต้องปรับตัวรอดตามยุคสมัยโลก จากเคยอาศัยชนบทบ้านนอกมุ่งสู่สังคมเมือง ตัวเองเป็นลูกไม่มีพ่อ->มีลูกนอกสมรส พ่อมันก็ไม่ยอมรับ->พอลูกสาวโตขึ้นท้องไม่เอาพ่ออีกเช่นกัน ถึงโลกจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเพียงไหน แต่อะไรๆมักวนเวียนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
Shanghai Express (1932) : Josef von Sternberg ♥♥♥♥♡
ขึ้นรถไฟสาย Shanghai Express ผ่านสมรภูมิสงครามกลางเมืองจีน (1927 – 1936) เพื่อพิสูจน์หาคุณค่าความรักของ Marlene Dietrich ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อคนที่ตนหลงใหล อาบฉาบหน้าด้วยการจัดแสง Butterfly Lighting งดงามที่สุดแล้วในภาพยนตร์ของ Josef von Sternberg
Diary of a Lost Girl (1929) : G. W. Pabst ♥♥♥♥
บันทึกชีวิตของ Louise Brooks เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้ายทารุณ ถูกข่มขืนจนท้อง พ่อมีเมียใหม่เป็นคนใช้ ส่งตัวเข้าสถานพินิจ (ดัดสันดาน) ทำงานในซ่องโสเภณี เพื่อนสนิทฆ่าตัวตาย ฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Goddess (1934) : Wu Yonggang ♥♥♥♥
ภาษาจีน 神女, Shénnǚ แปลความหมายได้ทั้ง เทพธิดาและโสเภณี, เรื่องราวของแม่ผู้เสียสละทำทุกสิ่งอย่างเพื่อลูก ขายตัวนำเงินมาเลี้ยงดูแลส่งเสียให้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือ อดทนต่อคำดูถูกเหยียดหยามนินทา จนในชีวิตจริงของนักแสดงนำ Ruan Lingyu เขียนจดหมายทิ้งท้ายลาตาย ‘gossip is a fearful thing’
Manila in the Claws of Light (1975) : Lino Brocka ♥♥♥♥♡
แสงสว่างที่ชาวฟิลิปปินส์ตะเกียกตะกายไขว่คว้าแสวงหา คืออิสรภาพในยุคสมัยการปกครองของผู้นำเผด็จการ Ferdinand Marcos นำเสนอผ่านการต่อสู้ดิ้นรนของกรรมกรแรงงานชนชั้นล่าง แค่ต้องการครองรักกับหญิงสาว แต่กลับถูกทำให้ … ป่นปี้ย่อยยับเยิน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”