คำว่า Biche ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากวางตัวเมีย (Doe), ขณะเดียวกันยังเป็นศัพท์แสลงของเพศหญิง (Girl, Young Woman) แต่ถ้าเขียนติดกัน Lesbiche หรือ Lesbisch จะหมายถึงเลสเบี้ยน (Lesbian), นำเสนอเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างสองสาวและชู้รักหนุ่ม ก่อนกาลมาถึงของ Mai ’68
ป้ายกำกับ: Romance
Les Bonnes Femmes (1960)
วันๆของสี่สาว เช้าไปทำงานอย่างเอื่อยเฉื่อย คอยจับจ้องมองนาฬิกา เลิกงานเมื่อไหร่ราวกับพึ่งปลุกตื่น เต็มไปด้วยความระริกระรี้ เฮฮาปาร์ตี้ ร่วมกิจกรรมสนุกๆยามค่ำคืนมากมาย, รับชมปัจจุบันอาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ชาวฝรั่งเศสสมัยนั้นต่างสำแดงอารมณ์เกรี้ยวกราด รับไม่ได้กับอิสรภาพหญิงสาว
หลังการแต่งงาน Joan Fontaine เต็มไปด้วยความเคลือบแคลง ฉงนสงสัย ชายคนรัก Cary Grant มีพฤติกรรมลับๆล่อๆ เต็มไปด้วยข้อกังขา ‘Suspicion’ ก่อนรับรู้ว่าหมอนี่เป็นคนไม่เอาถ่าน การงานไม่เคยทำ วันๆเอาแต่เล่นพนันหมดตัว แล้วเอาเงินที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย กินหรูอยู่สบาย จู่ๆคนรอบข้างสูญหาย ล้มตาย หรือว่า …
The Lady Vanishes (1938)
ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
Breaking the Waves (1996)
หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Atlantique (2019)
คลื่นลมในมหาสมุทร Atlantics ช่างมีความลึกลับ เหนือธรรมชาติ ซัดพาวิญญาณคนตายหวนกลับเข้าฝั่ง เพื่อกระทำสิ่งสุดท้ายที่ยังติดค้างคาใจ, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
The Nightingale’s Prayer (1959)
หญิงบ้านนอกถูกบังคับให้ต้องเดินทางเข้าเมือง ทำงานเป็นคนรับใช้ พบเห็นพี่สาวถูกนายจ้างทำให้สูญเสียเกียรติ ครุ่นคิดวางแผนแก้ล้างแค้น ด้วยการอาสาดูแลงานบ้านชายคนนั้น แล้วละเล่นกลเกมให้เขาตกหลุมรัก แต่โดยไม่รู้ตัวเธอกลับค่อยๆมีใจ
The Blazing Sun (1954)
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Omar Sharif รับบทเกษตรกรหนุ่มจบใหม่ เข้ามาพัฒนาผลผลิตไร่อ้อยให้ได้มาตรฐาน กลายเป็นที่ต้องการของตลาด แต่กลับสร้างความอิจฉาริษยาให้พวกนายทุน ครุ่นคิดแผนการชั่วร้าย ทำลายพืชผลการเกษตร ฆาตกรรมอำพราง โยนความผิดให้ผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิต สุดท้ายแล้วความจริงจะได้รับการเปิดเผยหรือไม่?
ชายหนุ่มต้องการแต่งงานกับหญิงสาว แต่ประเพณีของชาว Cameroonian ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น แล้วเขาจะไปหาเงินทองจากไหนกัน? ผิดกับลุงแท้ๆ ร่ำรวย มือเติบ ชิงตัดหน้าซื้อเธอมาเป็นภรรยาคนที่ห้า มันช่างเป็นเรื่องราวความรักอันเจ็บปวด หัวใจแตกสลาย
Ballada o soldate (1959)
บทกวีรำพันเรื่องราวทหารรัสเซียนายหนึ่ง ได้รับอนุญาตให้ลากลับบ้าน แต่ระหว่างทางพบเจอเรื่องวุ่นๆวายๆ ที่จักทำให้ผู้ชมอมยิ้ม ตกหลุมรัก ก่อนหัวใจแตกสลาย, สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Screenplay
Noruwei no Mori (2010)
ถูกโจมตีจากแฟนคลับของ Haruki Murakami ว่าฉบับดัดแปลงภาพยนตร์เพียงบทสรุปเนื้อหา ตัดทอนรายละเอียด ลดบทบาทตัวละครสำคัญ แต่ความงดงามของ Norwegian Wood (2010) คือสัมผัสกวีภาพยนตร์ ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ไปกับการสูญเสียรักครั้งแรก
Moonstruck (1987)
พระจันทร์เป็นใจ เต็มไปด้วยเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความวุ่นๆวายๆของคนขี้เหงา ทั้งหนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย อาจเพราะหวาดกลัวความตาย เลยต้องมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย
ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น และเรื่องแรกของ Toei Animation แต่กลับดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน นั่นสะท้อนยุคสมัยหลังสงคราม (Post-War) ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่น เป็นตัวตนเอง จำต้องพึ่งพามหาอำนาจในการเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ
U samogo sinego morya (1936)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียตในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (Pre-War) มักมีลักษณะสะท้อนสภาพเป็นจริง ชักชวนเชื่อระบอบสังคมนิยม (Socialist Realism) แต่ไม่ใช่สำหรับ By the Bluest of Seas (1936) นำเสนอเรื่องราวรักๆใคร่ๆ กุ๊กกิ๊ก โรแมนติก-คอมเมดี้ (Rom-Coms) ถึงขนาดสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Joseph Stalin
Urga – territoriya lyobvi (1991)
ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Moscow Does Not Believe in Tears คือสุภาษิตรัสเซีย (Russian Proverb) สอนให้เลิกบ่น หยุดร่ำร้องไห้ หรือเอาแต่เรียกร้องความสนใจ มีปัญหาอะไรควรรู้จักแก้ไขด้วยตนเอง! คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Baron Prášil (1962)
การผจญภัยของ Baron Munchausen ช่างมีความมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่นยิ่งนัก เริ่มต้นขึ้นเรือเหาะกลับจากดวงจันทร์, ลักพาตัวเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิ Ottoman, หลบหนีลงเรือถูกกลืนกินอยู่ในท้องปลายักษ์, ควบขี่ม้าเดินทางใต้ท้องทะเลลึก ฯ ทำออกมาในสไตล์ภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) ได้รับอิทธิพลจาก Gustave Doré
India Song (1975)
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงความเวิ้งว้าง เศษซากปรักหักพังของสถานทูตฝรั่งเศสประจำอินเดีย ภายหลังการประกาศอิสรภาพ
นักแสดงสมทบผิวสีจากภาพยนตร์เรื่องนั้น ที่ได้รับเครดิต The Watermelon Woman คือใครกัน? ร่วมออกติดตามหาพร้อมผกก. Cheryl Dunye และหวนรำลึกถึงบรรดานักแสดงผิวสีที่ถูกลบเลือนหายตามกาลเวลา