
ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!
ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!
จางม่านอวี้เล่นเป็นจางม่านอวี้ เดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์สร้างใหม่ (Remake) จากเรื่อง Les Vampires (1915–1916) แต่ผลงานมาสเตอร์พีซอยู่แล้วจะสร้างใหม่ทำไม? แล้วไฉนต้องเป็นนักแสดงชาวจีน? พอผู้กำกับ (รับบทโดย Jean-Pierre Léaud) ตระหนักว่าเละแน่ๆ ก็เลยตัดต่อฟุตเทจให้กลายเป็นหนัง Avant-Garde แม้งเสียเลย!
ในโลกยุค post-apocalyptic ข้าวยากหมากแพง อพาร์ทเม้นท์แห่งหนี่งประกาศรับสมัครคนงาน แต่จุดประสงค์แท้จริงเพื่อล่อลวงเหยื่อผู้โชคร้าย สบโอกาสเมื่อไหร่ก็จักเข่นฆาตกรรม ฉับ! ฉับ! นำเนื้อหนังมาทำเป็นอาหารรับประทาน
Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???
Ninotchka (1939) : Ernst Lubitsch ♥♥♥♥
วินาทีที่ตัวละครของ Greta Garbo หลุดหัวเราะออกมาครั้งแรก มันช่างเป็นภาพประวัติศาสตร์ของเจ้าหญิงน้ำแข็ง หลอมละลายจิตใจผู้ชม และด้วยสัมผัสของ Lubitsch แช่แข็งความทรงจำนั้นไว้ชั่วนิรันดร์
Memories (1995) : Kōji Morimoto, Tensai Okamura, Katsuhiro Otomo ♥♥♥♡
ความทรงจำแม้คือสิ่งล้ำเลอค่า แต่เราไม่ควรหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับมันจนมิอาจก้าวไปไหน นี่สะท้อนเข้ากับประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปัจจุบันเมื่อเป็นผู้พ่ายแพ้ สมควรต้องยินยอมรับความจริงไม่ใช่หรือ?
Duck Soup (1933) : Leo McCarey ♥♥♥♥
Groucho Marx ให้คำอธิบายชื่อหนังแบบจับไปกระเดียดว่า “นำเอาไก่งวงสองตัว ห่านอีกหนึ่ง กะหล่ำปลีสี่หัว แต่ไม่มีเป็ด ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน หลังจากนั้นลิ้มชิมรสชาติ แล้วคุณจะ ‘Duck Soup’ ตลอดชั่วชีวิต” เอาจริงๆทำให้ผมนึกถึงสแลง “Once you go black, you never go back”
Animal Crackers (1930) : Victor Heerman ♥♥♥♡
“เช้าวันหนึ่ง ฉันยิงช้างในกางเกงนอน มันเข้ามาอยู่ได้ยังไงก็ไม่รู้ ต่อมาพยายามดึงงวงมันออก แต่ทำอย่างไรก็ไม่ขยับเขยื้อน…” ใครสามารถทำความเข้าใจมุกตลกเสื่อมๆของ Marx Brothers ก็อาจรับชมผลงานเรื่องที่สอง Animal Crackers ได้ด้วยสันชาตญาณสัตว์
The Cocoanuts (1929) : Robert Florey, Joseph Santley ♥♥♥♡
ภาพยนตร์เรื่องแรกของ Marx Brothers สร้างโดยหนึ่งผู้กำกับไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ อีกหนึ่งผู้กำกับไม่เข้าใจวิถีตลก ผลลัพท์ออกมาสี่พี่น้องก็ไม่ค่อยชื่นชอบพอใจสักเท่าไหร่ ต้องการซื้อลิขสิทธิ์กลับคืนเพื่อเผาทำลาย แต่ Paramount กลับนำออกฉายประสบความสำเร็จถล่มทลาย!
Election (1999) : Alexander Payne ♥♥♥♥
การเลือกตั้งประธานนักเรียน ที่สื่อได้ถึงการ’เลือก’ใช้ชีวิต ระหว่างทำทุกสิ่งอย่างเพื่อชัยชนะโดยไม่สนถูกผิด หรือปล่อยให้อะไรๆเกิดขึ้นดำเนินไปตามโชคชะตา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Wag the Dog (1997) : Barry Levinson ♥♥♡
สองโกหกผู้เกรียงไกร เป็นภาพยนตร์ Black Comedy ที่ถึงดูไร้สาระแต่มิได้เว่อวังอลังการเกินจริง เพราะยุคสมัยที่มีเพียงสื่อโทรทัศน์ครอบงำประชาชน นั่นคือจักรวาลความเชื่อของมนุษย์เลยก็ว่าได้
Nashville (1975) : Robert Altman ♥♥♥♥
คงไม่ผิดอะไรจะเปรียบเทียบเมือง Nashville, Tennessee กับประเทศสหรัฐอเมริกาทศวรรษนั้น เต็มไปด้วยความโกลาหล สับสนวุ่นวาย ขณะที่บรรดานักร้องเพลงคันทรีทั้งหลาย การขึ้นแสดงบนเวทีแทบไม่ต่างอะไรกับการหาเสียงของนักการเมือง!
The Manchurian Candidate (1962) : John Frankenheimer ♥♥♥♥
ทหารอเมริกันถูกจับกุมในสงครามเกาหลี โดนล้างสมองโดยคอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นสายลับ ‘sleeper agent’ เป้าหมายคือจัดการคู่แข่งชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เพื่อหวังยึดครอบครองอำนาจให้อยู่ในกำมือ
La Coquille et le Clergyman (1928) : Germaine Dulac ♥♥♥♥
ความสำเร็จอันล้นหลามของ Un chien andalou (1928) ทำให้ใครๆต่างครุ่นคิดเข้าใจว่าคือ ‘ภาพยนตร์ Surrealist เรื่องแรกของโลก’ แต่แท้จริงแล้ว The Seashell and the Clergyman (1928) เรื่องนี้ต่างหากออกฉายก่อนหน้าหลายเดือนทีเดียว
The Lobster (2015) : Yorgos Lanthimos ♥♥♥♡
โลกที่ทุกสิ่งอย่างมีความสุดโต่งไร้กึ่งกลาง ชายโสดมีระยะเวลา 45 วัน ในการค้นหาคู่ครองถูกต้องตามวิถีทางกฎหมาย มิเช่นนั้นจะถูกทำอะไรสักอย่างให้กลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน! แต่เรื่องของความรักหาใช่จะมาเร่งรีบบีบบังคับ จับแพะชนแกะ เพนกวิ้นและหมาป่าย่อมมิอาจครองคู่
The Life and Death of Colonel Blimp (1943) : Michael Powell & Emeric Pressburger ♥♥♥♥
ก่อนมาถึงปัจจุบันย่อมมีอดีต ก่อนจะแก่ต้องเคยหนุ่ม ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คือครั้งที่หนึ่งและก่อนหน้า ประวัติศาสตร์ไม่เคยเสี้ยมสั่งสอนอะไรมนุษย์เลย รังแต่ทำให้ทุกสิ่งอย่างเสื่อมทรามเลวร้ายลง ว่าไปมันก็เป็นแบบนี้มานมนากาเล, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Pigs and Battleships (1961) : Shohei Imamura ♥♥♥♥
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาส่งกองกำลังทหารเข้ามาควบคุมจัดการประเทศพ่ายสงครามญี่ปุ่น นำเอาแนวคิดระบอบทุนนิยมเข้ามาปลูกฝังเผยแพร่ ความเจริญทางวัตถุก้าวกระโดด แต่จิตใจผู้คนตามทันเสียที่ไหน, นี่คือโคตรภาพยนตร์ Black Comedy สะท้อนเสียดสีค่านิยมทางสังคมในยุคสมัยนั้น ชีวิตเต็มไปด้วยความโกลาหล ดั่งฝูงหมูนับพันไล่บดทับ Chimpira (ลูกกระจ๊อกของ Yakuza) หาผัวอเมริกันร่ำรวยสุขสบายกว่า แต่ศักดิ์ศรีความเป็นลูกผู้หญิงอยู่ตรงไหน?
To Be or Not to Be (1942) : Ernst Lubitsch ♥♥♥♥♡
The Great Dictator (1940) ของผู้กำกับ Charlie Chaplin ชิดซ้ายตกกระป๋องไปเลยเมื่อเทียบกับ To Be or Not to Be (1942) ด้วย ‘สัมผัสของ Lubitsch’ ทำให้ภาพยนตร์เสียดสีล้อเลียน Adolf Hitler และนาซีเรื่องนี้มีความลุ่มลึกล้ำ เฉียบคมคาย คลาสสิกเหนือกาลเวลา แต่ผู้ชม/นักวิจารณ์สมัยนั้น ต่างขำกันไม่ออกเลยสักนิด
Watership Down (1978) : Martin Rosen ♥♥♥♥♡
ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรต PG แต่เต็มไปด้วยความรุนแรงที่สุดในโลก, เล่าเรื่องผ่านมุมมองกระต่ายน้อยฝูงหนึ่ง ออกเดินทางแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะถูกขับไล่จากมนุษย์ พบเจออุปสรรคขวากหนาม อยู่ดีๆนกอินทรีโฉบจับไป โดนบ่วงกับดักรัดคอเลือดออกตาหูจมูกปาก ไหนจะหมาแมววิ่งไล่ มนุษย์ใช้ปืนยิงจับกิน จนกระทั่งมาถึงเนินเขาเล็กๆ Watership Down, Hampshire พบความสุขสบายดี แต่บางสิ่งอย่างในชีวิตกลับยังขาดหายไป, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”