วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
ป้ายกำกับ: Sci-Fi
Melancholia (2011)
ไม่ต้องไปสนหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าดาวเคราะห์พเนจร Melancholia จะพุ่งชนโลกได้อย่างไร? เมื่อวันโลกาวินาศคืบคลานเข้ามา ไม่สามารถหาหนทางหลบหนี คนส่วนใหญ่คงตกอยู่ในสภาพหดหู่ ซึมเศร้า หมดสิ้นหวังอาลัย แต่สำหรับผู้กำกับ Lars von Trier คงนั่งเหม่อมองท้องฟ้า อดไม่ได้จะยิ้มเริงร่า
The Truman Show (1998)
ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ Truman Burbank (รับบทโดย Jim Carrey) ถูกบันทึกภาพ แอบถ่าย ฉายรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) โดยไม่เคยรับรู้ตนเอง จนกระทั่งเติบใหญ่ ถึงวัยทำงาน โหยหาอิสรภาพ ต้องการออกไปจากโลกปลอมๆใบนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Vynález zkázy (1958)
คลุกเคล้าการผจญภัยสุดมหัศจรรย์ในโลกของ Jules Verne ด้วยการออกแบบ ‘Visual Style’ ให้มีลักษณะคล้ายภาพแกะสลักเส้น (Line Engravings) สร้างความตื่นตาตะลึง แม้เรื่องราวอาจไม่ค่อยอึ่งทึ่ง แต่จักสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเลือน
Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004)
Jim Carrey ต้องการลบความทรงจำที่มีต่อ Kate Winslet แต่พอหลายสิ่งเริ่มเลือนหาย ค่อยตระหนักได้ว่าไม่อยากสูญเสียเธอไป พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ยังหวนรำลึก สุดท้ายแล้วโชคชะตาก็นำพาให้พวกเขากลับมาครองคู่รักกัน
Naked Lunch (1991)
ปลดเปลื้องจิตวิญญาณของผู้แต่งโคตรนวนิยาย William S. Burroughs นำเสนอจินตนาการ เหตุการณ์เหนือจริง หรือคือภาพหลอนระหว่างเสพสารพัดยา (มอร์ฟีน เฮโรอีน ฯ รวมเรียกว่า ‘black meat’) การเสียชีวิตของภรรยา คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักเขียนที่ราวกับถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง
Videodrome (1983)
ขณะรับชมหนังโป๊จากสัญญาณกระจายภาพลึกลับ จู่ๆโทรทัศน์มันก็ยื่นริมฝีปากออกมาจะจุมพิต, เมื่อมนุษย์ใช้ชีวิตยึดติดกับเทคโนโลยีสื่อสารมากเกินไป มันจักเริ่มเลือนลาง เจือจาง กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับชีวิตจริง=ภาพยนตร์
Alphaville (1965)
โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
ดัดแปลงจากนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของ Philip K. Dick นำประสบการณ์หลังหย่าร้างภรรยา (คนที่สี่) เสพติดยาจนเริ่มเห็นภาพหลอน ยังดีที่เข้ารักษาตัวในสถานบำบัดได้ทัน แต่เพื่อนของเขาหลายคนอาจไม่โชคดีเช่นนั้น, หนังมีความเป็น ‘สไตล์ Linklater’ มากไปนิด แต่ก็มืดหม่นและเจ็บจี๊ดถึงทรวงใน
ตื่นตระการไปกับงานออกแบบภาพและเสียง Steampunk จินตนาการอนาคตที่ระบอบทุนนิยมได้กลืนกินโลกทั้งใบ ใครๆต่างหลงทาง สูญเสียความเป็นเด็ก สนเพียงกอบโกยผลประโยชน์ สนองตัณหาพึงพอใจ อนาคตคงหลงเหลือไว้เพียงความหมดสิ้นหวัง
ผมมองความล้มเหลวของ Dune (1984) เกิดจากวิสัยทัศน์ผู้กำกับ David Lynch ไม่เข้าใจนวนิยายต้นฉบับเพียงพอ ใส่ความเป็นตัวตนเองมากเกินไป และมิอาจต่อรองโปรดิวเซอร์จนสูญเสียการควบคุมทั้งโปรเจค, กาลเวลาทำให้หนังเข้าสู่กระแส Cult Classic ดูแบบไม่คิดอะไรก็น่าจะเพลิดเพลินไปกับมันได้
Penguin Highway (2018)
โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???
REDLINE (2009)
การแข่งรถสุดระห่ำ หลุดโลก ทะลุจักรวาล ที่แม้แต่ผู้สร้างก็เสียสติไปแล้ว ยืนกรานต้องวาดมือครบทุกเฟรม ผลลัพท์คือโคตรแห่งความเอนเตอร์เทน อะดรีนาลีนไหลหลั่งคั่ง แค่อย่าไปคาดหวังกับเนื้อเรื่องราวเท่านั้นเอง
L’Inhumaine (1924)
The Inhuman Woman นำเสนอเรื่องราวไร้ตรรกะ ผ่านตัวละครไร้สามัญสำนึก แถมผู้ชม/นักวิจารณ์สมัยนั้นเห็นพ้องกันว่าโคตรไร้สาระ! แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นครั้งแรกที่รวบรวมศิลปินหลากหลายแขนง ทดลองสรรค์สร้างผลงาน Avant-Garde งดงามระดับวิจิตรศิลป์
Okja (2017) : Bong Joon-ho ♥♥♥♡
หมูยักษ์ (Super Pig) ถูกครุ่นคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอาหารขาดแคลน แต่กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความเหมาะสมทางจิตสำนึก มโนธรรม ทั้งๆที่บรรดาพวกเรียกร้องเหล่านั้น ก็มักรับประทานเนื้อสัตว์เป็นประจำอยู่แล้ว แบบนี้ไม่ใช่ ‘ปากว่าตาขยิบ’ หรอกหรือ?
Snowpiercer (2013)
Snowpiercer (2013) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
บนขบวนรถไฟแห่งชีวิตที่สามารถเรียกได้ว่า Noah’s Ark ออกเดินทางด้วยเครื่องยนต์ศักดิ์สิทธิ์ (สัญลักษณ์ของวัตถุนิยม) ใครอาศัยอยู่หัวขบวนถือว่ามีอภิสิทธิ์ชน สามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ตรงกันข้ามกับสัมภาระท้ายขบวนที่ได้ขึ้นมาฟรีๆ ยังจะเรียกร้องโน่นนั่นนี่ ถามหาความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม
Steamboy (2004) : Katsuhiro Otomo ♥♥♡
อนิเมชั่นแนว Steampunk ตื่นตระการตาไปกับยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม จัดเต็มด้วย Visual Effect สุดอลังการ แต่เนื้อเรื่องราวกลับเละเทะไม่เป็นชิ้นดี สิบปีโปรดักชั่นที่น่าผิดหวังทีเดียว
Memories (1995)
Memories (1995) : Kōji Morimoto, Tensai Okamura, Katsuhiro Otomo ♥♥♥♡
ความทรงจำแม้คือสิ่งล้ำเลอค่า แต่เราไม่ควรหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับมันจนมิอาจก้าวไปไหน นี่สะท้อนเข้ากับประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปัจจุบันเมื่อเป็นผู้พ่ายแพ้ สมควรต้องยินยอมรับความจริงไม่ใช่หรือ?
Metropolis (2001)
Metropolis (2001) : Rintaro ♥♥♥
อ้าปากค้างไปกับภาพโลกอนาคต ตึกระฟ้า ผู้คนคาคลั่ง แต่ขณะเดียวกันกลับกลวงโบ๋ภายในจิตวิญญาณ, ดัดแปลงจากมังงะ Metropolis (1949) แต่งโดย Osamu Tezuka ที่ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังเงียบ Metropolis (1927) ของผู้กำกับ Fritz Lang มาอีกทีหนึ่ง