สองสาววัยรุ่นยังไม่บรรลุนิติภาวะ เลือกจะขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปท่องเที่ยวยุโรป วันหนึ่งบิดาบังเอิญพบเห็น แทนที่จะพูดคุยสอบถาม ปรับความเข้าใจ กลับระบายอารมณ์เกี้ยวกราดใส่บรรดาลูกค้าเหล่านั้น, คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
ป้ายกำกับ: Silver Bear
คำว่า Biche ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากวางตัวเมีย (Doe), ขณะเดียวกันยังเป็นศัพท์แสลงของเพศหญิง (Girl, Young Woman) แต่ถ้าเขียนติดกัน Lesbiche หรือ Lesbisch จะหมายถึงเลสเบี้ยน (Lesbian), นำเสนอเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างสองสาวและชู้รักหนุ่ม ก่อนกาลมาถึงของ Mai ’68
The Grand Budapest Hotel (2014)
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
Caravaggio (1986)
Michelangelo Caravaggio ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Michelangelo Buonarroti แต่ต่างเป็นจิตรกรชื่อดัง เคยสรรค์สร้างผลงานให้สำนัก Vatican, ส่วนภาพยนตร์โคตรๆเหนือจริงเรื่องนี้ คือตัวตายตัวแทนผู้กำกับ Derek Jarman เพราะความเป็นศิลปิน รสนิยมรักร่วมเพศ นอนซมซาน ทุกข์ทรมาน และจากไปอย่างบลู
La Collectionneuse (1967)
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ความเสมอภาคในโลกทัศน์ของ Krzysztof Kieślowski ถ้าเคยถูกใครกระทำอะไรมา ก็ต้องล้างแค้นเอาคืนอย่างสาสม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน แต่โดยไม่สนวิธีการถูก-ผิด ดี-ชั่ว พร้อมจะกลับกลอก หลอกลวง คิดคดทรยศหักหลังแม้กระทั่งหญิงสาวคนรัก!
The Road Home (1999)
นี่คือ The Wizard of Oz (1939) ที่ทำการหวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งสีสัน อดีตอันทรงคุณค่า ประเทศจีนเคยเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา แต่อนาคตเมื่อทั้งสองช่วงเวลาเวียนมาบรรจบ กลับสร้างความอบอุ่นขึ้นภายใน, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
The Song of Sparrows (2008)
The Song of Sparrows (2008) : Majid Majidi ♥♥♥♥♡
พ่อถูกไล่ออกจากงาน เพราะเผลอปล่อยนกกระจอกเทศหลุดหนีออกจากฟาร์ม มองหาอาชีพใหม่กลายเป็นวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง โดยไม่รู้ตัวค่อยๆซึมซับรับความเห็นแก่ตัวของชาวเมือง กำลังจะลักขโมยตู้เย็นที่ได้รับมอบหมายให้ไปส่ง แต่พอพบเห็นฝูงนกกระจอกเทศ เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่างขึ้นมาได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Opening Night (1977) : John Cassavetes ♥♥♥♥
นักแสดงละครเวทีชื่อดัง (รับบทโดย Gena Rowlands) ในค่ำคืน Opening Night พบเห็นแฟนคลับสาวแรกรุ่นถูกรถชนเสียชีวิต หมกมุ่นครุ่นยึดติดกับภาพทรงจำ ห้วงอารมณ์ความรู้สึกนั้น อันส่งผลกระทบต่อการแสดงค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป ในทางดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่?
Shakespeare in Love (1998)
Shakespeare in Love (1998) : John Madden ♥♥♥♡
ร่วมค้นหาแรงบันดาลของ William Shakespeare ในการสรรค์สร้างผลงานชิ้นเอกก้องโลก Romeo and Juliet เรื่องคุณภาพก็ใช่ว่าย่ำแย่เลวร้ายประการใด แต่การคว้า Oscar: Best Picture ตัดหน้า Saving Private Ryan, The Thin Red Line, Life Is Beautiful มันช่างน่าพิศวงเสียจริง!
The Insect Woman (1963)
The Insect Woman (1963) : Shohei Imamura ♥♥♥♡
เปรียบเทียบวงจรชีวิตของแมลง กับหญิงชาวญี่ปุ่นที่ต้องปรับตัวรอดตามยุคสมัยโลก จากเคยอาศัยชนบทบ้านนอกมุ่งสู่สังคมเมือง ตัวเองเป็นลูกไม่มีพ่อ->มีลูกนอกสมรส พ่อมันก็ไม่ยอมรับ->พอลูกสาวโตขึ้นท้องไม่เอาพ่ออีกเช่นกัน ถึงโลกจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเพียงไหน แต่อะไรๆมักวนเวียนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
Man on the Moon (1999)
Man on the Moon (1999) : Miloš Forman ♥♥♥♥
ภาพยนตร์เรื่องนี้ Jim Carrey ไม่ได้ออกเดินทางไปดวงจันทร์ แต่รับบท Andy Kaufman นัก Entertainer ผู้อยู่นอกวงโคจรโลก คนส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจว่าเขาเล่นตลกหรือทำบ้าอะไร แต่เสียงหัวเราะไม่ใช่สิ่งเดียวของความบันเทิง สุข-เศร้า รัก-เกลียด ก็เหมือนภาพยนตร์/บทละครที่มีทั้งสุขนาฏกรรม, โศกนาฏกรรม, จิตนิยาย, เริงรมย์, ร่วมสมัย ฯ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของคุณเองจะทำความเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน
There Will Be Blood (2007)
There Will Be Blood (2007) : Paul Thomas Anderson ♥♥♥♥♡
Daniel Day-Lewis ทำการสูบเลือด/น้ำมัน/Milkshake ออกจากความเป็นมนุษย์/ผืนแผ่นดิน เพื่อสนองกิเลสตัณหา ยกย่องทุนนิยมเงินตรา ปฏิเสธต่อต้านศาสนาโดยสิ้นเชิง ผลลัพท์จึงกลายเป็นความบ้าคลั่งอันไร้ขอบเขต มนุษย์ผู้ปฏิเสธทุกสิ่งอย่างรวมทั้งตัวเขาเอง
Broadcast News (1987)
Broadcast News (1987) : James L. Brooks ♥♥♥♥♡
หลังจากที่ Network (1976) ตีแผ่เสียดสีเบื้องหลังวงการโทรทัศน์อย่างเสียๆหายๆ Broadcast News (1987) นำเสนอในสิ่งตรงกันข้าม ความ ‘romance’ ของอาชีพนักข่าว คนเบื้องหลัง และการเร่งทำงานให้เสร็จทัน Deadline, เข้าชิง Oscar ถึง 7 สาขา แม้ไม่ได้รางวัลอะไร แต่นักแสดงนำ Holly Hunter ก็คว้า Silver Bear: Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Tales of Hoffmann (1951)
The Tales of Hoffmann (1951) : Michael Powell, Emeric Pressburger ♥♥♥♥♡
จากคำแนะนำของวาทยากร Sir Thomas Beecham ชักชวนให้ Michael Powell สร้างภาพยนตร์ที่เป็นบันทึกการแสดง Ballet Opera ตัดสินใจเลือกผลงานแนว Fantastique ของคีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส Jacques Offenbach เรื่อง Les contes d’Hoffmann (1881) ดัดแปลงจากสามสั้นเรื่องของ E. T. A. Hoffmann และยังให้เขากลายเป็นตัวละครหลักของทั้งสามเรื่องราวอีกด้วย
The Orchestra Conductor (1980) : Andrzej Wajda ♥♥♥
รับชมการตีความ Beethoven: Symphony No. 5 ในรูปแบบภาษาภาพยนตร์ โดยปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrzej Wajda การันตีด้วยรางวัล Silver Bear: Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Berlin ของ Andrzej Sewery สมทบด้วย Krystyna Janda และท่านเซอร์ John Gielgud
8 Women (2002) French : François Ozon ♥♥♡
หนังเพลง Dark Comedy รวมดาราหญิงชื่อดังสัญชาติฝรั่งเศส ที่นำพวกเธอมาลัลล้าครื้นเครง ถ้าคุณรู้จักหรือเป็นแฟนนักแสดงอย่างน้อย 2-3 คน จากรายชื่อนี้ ลองหาหนังมารับชมดูนะครับ Danielle Darrieux, Catherine Deneuve, Isabelle Huppert, Emmanuelle Béart, Fanny Ardant, Virginie Ledoyen, Ludivine Sagnier และ Firmine Richard
Charulata (1964)
Charulata (1964) Bollywood : Satyajit Ray ♥♥♥♥♡
ผลงาน Masterpiece ของผู้กำกับ Satyajit Ray เรื่องราวของภรรยามหาเศรษฐี ที่วันๆไม่รู้จะทำอะไร อาศัยอยู่ในคฤหาสถ์หลังใหญ่โต เหมือนนกในกรง เมื่อมีตัวผู้อีกตนเข้ามากระเซ้าเย้าแหย่ มีหรือจะไม่เตลิดไปไกล, The Lonely Wife รับบทโดย Madhabi Mukherjee กับการแสดงที่ได้รับยกย่องว่า ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ ลึกล้ำที่สุดในอินเดีย
Mahanagar (1963)
Mahanagar (1963) Bollywood : Satyajit Ray ♥♥♥♡
มหานครกัลกัตตา (Calcutta) บ้านเกิดของ Satyajit Ray ตั้งอยู่ตะวันตกสุดของอินเดีย ใกล้ๆกับบังคลาเทศ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โกลกาตา (Kolkata) มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน เยอะเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (มากกว่ากรุงเทพฯ 10 ล้านคนในปี 2016 เสียอีก), ในยุคที่โลกกำลังพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มนุษย์จำต้องปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด ค่านิยมใหม่ๆเริ่มเข้ามา แม้บางอย่างจะขัดต่อขนมธรรมเนียบประเพณีดั้งเดิม แต่เราจำเป็นต้องยอมรับและทำการเปลี่ยนแปลง
À bout de souffle (1960)
คลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ เริ่มต้นที่ Breathless (1960) จากความเป็นนักเลง(หนัง)ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard โปรดิวเซอร์บอกความยาวมากเกินไป แต่แทนที่จะตัดทิ้งบางฉาก กลับพัฒนาเทคนิค Jump-Cut หั่นตรงโน้นนิด เล็มตรงนี้หน่อย เอาออกทีละน้อยๆ จนกลายเป็นอมตะแล้วหมดสิ้นลมหายใจ