
จากเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ซ้อนซับซ้อนสู่ความไม่รู้จบของเรื่องราว เพื่อสื่อถึงวังวนไร้หนทางออก ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
จากเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ซ้อนซับซ้อนสู่ความไม่รู้จบของเรื่องราว เพื่อสื่อถึงวังวนไร้หนทางออก ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
โศกนาฎกรรมในชีวิตจริงของเหมยเยี่ยนฟาง และเลสลี จาง เมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จะยิ่งขนหัวลุกพอง เพราะทั้งสองรับบทคู่รักจากอดีต เกาะฮ่องกงเมื่อทศวรรษ 30s ครอบครัวไม่ยินยอมรับเลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย กลายมาเป็นวิญญาณล่องลอย ติดตามหากันจนมาถึง ค.ศ. 1987
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรสั่งห้ามฉายภาพยนตร์แนว Horror กลัวจะไปสร้างความหวาดหวั่นสะพรึงกลัวต่อผู้คน แต่สตูดิโอ Ealing Studios ก็ริหาญกล้า Dead of Night (1945) ลองส่วนผสมเรื่องเหนือธรรมชาติ (Supernatural) ควบคู่จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ใช้ประโยชน์จากการเล่าเรื่องแบ่งเป็นตอนๆ ‘Anthology film’ โคตรหลอกหลอน สั่นสะท้าน Masterpiece
ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามอภิปรัชญา เปรียบเทียบชีวิตก็คือจักรวาล! มนุษย์สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งสรรพสิ่งอย่าง ได้จากความเข้าใจในตัวเราเอง, ตราตรึงไปกับความงดงามของฝูงสรรพสัตว์ใต้ท้องทะเล และเพลงประกอบโดย Joe Hisaishi
จากความตั้งใจให้เป็นอนิเมะสะท้อนวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน แต่การตัดสินใจของ Hodaka กลับบอกช่างแม้ง ต่อให้น้ำท่วมโลกฉันก็ยังจะรักเธอ … เอิ่ม?
ปรมาจารย์ Hayao Miyazaki ป่าว(เปล่า)ประกาศจะรีไทร์ สองจิตสองใจเลือกใครเป็นผู้สืบทอดระหว่าง Mamoru Hosoda หรือ … (ใครดีละ?) … แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น Hosoda กำลังจะกลายเป็นพ่อคน แบบอย่างมีอยู่ก็พึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ ทำอย่างไรฉันถึงสามารถกลายเป็น ‘คมดาบในจิตใจ’ เมื่อลูกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ดัดแปลงจาก One-Shot ของ Yuki Midorikawa ผู้แต่งมังงะ Natsume Yūjin-chō, เรื่องราวของ Gin ชายผมเงินสวมหน้ากากจิ้งจอก วันหนี่งพานพบเจอเด็กหญิง Hotaru พลัดหลงทางในป่าหลังศาลเจ้า บอกกับเธอว่าตนเองไม่สามารถแตะต้องตัวมนุษย์ได้ ร่างกายจักพลันสูญสลายชั่วนิรันดร์ แต่มีหรือเด็กหญิงจักยินยอมเชื่อฟัง กาลเวลากลับทำให้เธอค่อยๆเกิดความสัมพันธ์แม้ด้วยเงื่อนไขอันซับซ้อนนั้น
นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒) : นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
ในยุคที่หนังไทยราวกับได้ตายท้องกลม แต่ความรักของผู้สร้างยังคงอยู่นิรันดร์ พยายามรังสรรค์นำเสนอมุมมองสิ่งแปลกใหม่ คาดหวังแค่ปลุกแม่นากให้ฟื้นตื่น แต่ความสำเร็จกว่า ๑๕๐ ล้านบาท สามารถคืนชีพวงการภาพยนตร์ไทย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เปนชู้กับผี (พ.ศ. ๒๕๔๙) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
หนึ่งในหนังผีไทย ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญว่ามีความน่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุด แต่แน่ใจแล้วหรือว่านี่คือหนังผี? การไม่ยินยอมรับตนเอง สูญเสียสิ้นศรัทธา เปนเหตุให้ทุกสิ่งอย่างเวียนวนหวนกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก! รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็เช่นกัน
Black Sunday (1960) : Mario Bava ♥♥♥♡
แค่ภาพใบปิด ดวงตาของ Barbara Steele ก็น่าหวาดสะพรึงกลัวอย่างยิ่งแล้ว, ดัดแปลงหยาบๆจากเรื่องสั้น/นิทานพื้นบ้านรัสเซีย Viy ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Mario Bava กลายเป็นภาพยนตร์แนว Gothic Horror ที่มีงานศิลป์ ถ่ายภาพ สร้างแรงบันดาลใจให้ Bram Stoker’s Dracula (1992), Sleepy Hollow (1999)
Suspiria (2018) : Luca Guadagnino ♥♥♥♥
Suspiria ภาษาอิตาลี แปลว่า เสียงคราง, ทอดถอนหายใจ คงเป็นอาการของใครหลายๆคนเมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ชอบไม่ชอบอยู่ที่สามารถเข้าถึงนามธรรมซ่อนเร้นมากน้อยแค่ไหน เพราะทุกสิ่งอย่างคือกระจกสะท้อนกันได้ เกิด-ตาย ชาย-หญิง อดีต-ปัจจุบัน ความจริง-ความฝัน ภาพหลอน-เวทย์มนต์ เยอรมันตะวันออก-ตะวันตก เคลื่อนไหวทางการเมือง-พิธีกรรมแม่มด สุดท้ายอยู่ที่เราจะเรียนรู้การอยู่ร่วมกันได้อย่างไร
Painted Skin (1993) : King Hu ♥♥♡
ซนต๋าโซ่น แหกดวงโปเย ผลงานทิ้งท้ายของปรมาจารย์ผู้กำกับ หู จินเฉวียน โดยรวมค่อนข้างน่าผิดหวังทีเดียว แม้จะคับคั่งด้วยนักแสดงคุณภาพ, Special Effect สุดอลังการ, แต่มีปัญหาที่วิธีดำเนินเรื่อง กระโดดไปมาเหมือนบรรดาจอมยุทธใช้วิชาตัวเบา ผู้ชมคงต้องเหาะเหินเดินอากาศถึงสามารถบรรลุเข้าใจหนังเรื่องนี้ได้
A Chinese Ghost Story (1987) : Ching Siu-Tung ♥♥♥
โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า ฉบับอำนวยการสร้างโดย ฉีเคอะ จะพาคุณโบยบินโลดเต้นไปกับ Special Effect ตื่นตระการตา, ความน่ารักน่าชังของคู่มนุษย์-ผี เลสลี่ จาง กับ หวัง จู่เสียน เหมาะสำหรับผู้ชมยุคสมัยใหม่ ตัดต่อรวดเร็วฉับไว เพลงประกอบตราตรึง … ก็แล้วแต่คนจะชอบ
Mr. Vampire (1985) : Ricky Lau ♥♥♥♡
ผีกัดอย่ากัดตอบ คือภาพยนตร์ที่ทำให้กระแสนิยม Kung-Fu Comedy Horror ถึงจุดสูงสุดในฮ่องกง แจ้งเกิดต้นตำรับอาจารย์ปราบผี หลิน เจิ้งอิง พร้อมลูกศิษย์กิ๊กก๊อกอีกสองคน เฉิน เสี่ยวโห่ว กับ ริกกี้ ฮุย จะทำให้คุณหัวเราะจนมิอาจกลั้นหายใจไว้อยู่
Encounters of the Spooky Kind (1980) : Sammo Hung ♥♥♥♡
หง จินเป่า ไม่ได้พบเจอแค่ผีที่น่าสะพรึงกลัว แต่ยังมนุษย์มากมายที่หมายปองร้ายต่อเขา (คนเหล่านี้น่ากลัวกว่าผีเสียอีกนะ!) ด้วยความซื่อบื้อสนิทจนได้กลายเป็นลูกศิษย์อาจารย์ยอดฝีมือ แข่งกันทำพิธีกรรม ใครอยู่สูงเสียดฟ้าใกล้สวรรค์กว่าจักมีโอกาสได้รับชัยชนะ
Noroi: The Curse (2005) : Kôji Shiraishi ♥♥♥♡
(mini Review) Noroi แปลว่าคำสาป อาถรรพ์ตำนานสยอง อาจทำให้คุณหลงเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือความจริง เพราะดำเนินเรื่องในรูปแบบสารคดี (Mockumentary) กึ่งๆ Found Footage สร้างความหลอกหลอนน่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่า The Blair Witch Project (1999) หรือ Paranormal Activity (2007) เป็นไหนๆ
The Eye (2002) : Pang brothers ♥♥
คนเห็นผี เป็นภาพยนตร์ที่มีความหลอกหลอน สะพรึง น่ากลัวจับใจ แถมแนวคิดเริ่มต้นมาดีแบบสุดๆ แต่กลับเดินตกท่อตาย เพราะแนวทางกำกับของสองพี่น้องแปง ใส่ลีลาลูกเล่นเยอะเกินติสต์ไปหน่อย นักแสดงที่รับบทหมอก็เล่นได้แข็งทึ่มทื่อ ขมวดปมตอนจบไม่ค่อยดีนัก และมาถ่ายที่ไทยก็ … กุมขมับ
Ju-on: The Grudge (2002) : Takashi Shimizu ♥♡
(mini Review) คนขวัญอ่อนคงสะดุ้งตกใจกลัวกับทุกการปรากฎตัวของครอบครัว Saeki (และแมว)ในบ้านผีสิง แต่สำหรับคนที่เห็นอะไรหลอนๆมาเยอะแล้ว จะพบว่า Ju-on เป็นหนังที่หาสาระ ความบันเทิงไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ กาลเวลาแปรสภาพแทบจะกลายเป็นหนังตลกไปแล้วด้วยซ้ำ
Ringu (1998) : Hideo Nakata ♥♥♥♡
ยุคสมัยของ New Asian Horror เริ่มต้นที่หนังเรื่องนี้, คำสาปมรณะ เป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ โปรดักชั่นก็กลางๆ แต่โดดเด่นในการสร้างบรรยากาศหลอกหลอน ตราตรึงกับการปรากฎตัวของ Sadako ที่ไม่ได้จบแค่ในม้วนวีดีโอ หรือจอโทรทัศน์เท่านั้น
House (1977) : Nobuhiko Obayashi ♥♥♥♡
ออกฉายปีเดียวกับ Suspiria (1977) แต่ยิ่งใหญ่หลอกหลอนไม่แพ้กัน, หญิงสาววัยรุ่น 7 คน เดินทางไปพักร้อนยังบ้านผีสิง เรื่องราวไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่วิธีการนำเสนอ ‘โลกสวย’ นั้นสุดแปลกประหลาด การันตีว่าคุณต้องไม่เคยพบเห็นจากที่ไหนมาก่อนแน่