กลุ่มชายฉกรรจ์ชาว Mauritania หลังเข้าร่วมพิธีศีลจุ่ม อพยพเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่พอมาถึงกลับไม่สามารถหาทำงาน ถูกปฏิเสธต่อต้าน ขับไล่ ผลักไส หวาดกลัวการรุกรานของ ‘Black Invasion’ นำเสนอด้วยวิธีการที่หลากหลาย ท้าทาย คล้ายศิลปะภาพแปะติด (Collage)
ป้ายกำกับ: Surrealist
Skazka skazok (1979)
ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ นำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) พบเห็นความวุ่นๆวายๆของมนุษย์ชาวรัสเซีย ในช่วงคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสลับระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Mirror (1975)
Le Procès (1962)
ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
Ruka (1965)
Jiří Trnka เจ้าของฉายา “Walt Disney of Eastern Europe” สรรค์สร้างผลงานสวอนซองเรื่องสุดท้าย ระบายความอึดอัดอั้นต่อหัตถ์ของพระเจ้า การถูกควบคุมครอบงำโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ Czechoslovakia ได้รับยกย่องหนึ่งใน “Greatest Animated Shorts Film of All-Time”
Něco z Alenky (1988)
Alice (in Wonderland) ฉบับผสมผสานระหว่าง Live-Action & Stop-Motion Animation สร้างบรรยากาศ Dark Fantasy ได้อย่างเหนือจริง (Surrealist) เติมเต็มจินตนาการของ Lewis Carroll น่าจะสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วละ!
Valerie a týden divů (1970)
Valerie เด็กสาวอายุ 13 ปี ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือน เกิดความระริกระรี้ สนอกสนใจเรื่องเพศ แต่กลับได้พบเห็นสิ่งชั่วร้ายมากมาย แวมไพร์ดูดเลือด บาทหลวงหื่นกาม เอาตัวรอดจากการถูกล่าแม่มด ฯลฯ ช่างเป็นสุดสัปดาห์เหนือจริง (Surreal) ความฝันที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก
นักเชิดหุ่น จับพลัดจับพลูมุดลงรูโพรงกระต่าย สวมวิญญาณ อวตาร เข้าไปในร่าง John Malkovich, เทพนิยายผู้ใหญ่ที่มีความเหนือจริง ตั้งคำถามชวนสัปดนเกี่ยวกับความรู้อยากเห็น อยากเป็นบุคคลอื่น จนสูญเสียความเป็นตัวของตนเอง
Sedmikrásky (1966)
เมื่อโลกมันฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สองสาวดอก Daisies จะมีชีวิตเหมือนคนปกติได้อย่างไร ย่อมต้องถูกเชิดชัก กระทำสิ่งอัปลักษณ์ สะท้อนเสียดสีสภาพสังคมยุคสมัยหลังสงครามโลกได้อย่างโคตรๆเหนือจริง (Surrealist) ถึงระดับไร้เหตุผล (Absurdity)
Sanatorium pod klepsydrą (1973)
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Naked Lunch (1991)
ปลดเปลื้องจิตวิญญาณของผู้แต่งโคตรนวนิยาย William S. Burroughs นำเสนอจินตนาการ เหตุการณ์เหนือจริง หรือคือภาพหลอนระหว่างเสพสารพัดยา (มอร์ฟีน เฮโรอีน ฯ รวมเรียกว่า ‘black meat’) การเสียชีวิตของภรรยา คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักเขียนที่ราวกับถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง
The Devils (1971)
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง
Eraserhead (1977)
สิ่งที่อยู่ในศีรษะขี้ยางลบของ David Lynch คือจินตนาการโลกทั้งใบ ดาวเคราะห์เคยพักอาศัย รายล้อมรอบด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ภรรยาไม่ได้อยากแต่งงานด้วยสักเท่าไหร่ และบุตรสาวเกิดมาพร้อมความผิดปกติ (โรคเท้าปุก) สิ่งเหล่านั้นทำให้ฉันไม่อยากเป็นพ่อคนเลยสักนิด!
Santa Sangre (1989)
ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
La montaña sagrada (1973)
คณะพันธมิตร(แห่งแหวน) จาริกแสวงบุญมุ่งสู่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คาดหวังจะโจรกรรมองค์ความรู้ที่ทำให้กลายเป็นอมตะ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมีลักษณะชวนเชื่อ (Propaganda) ชี้นำเข้าสู่ลัทธินอกรีต (Cults) ก่อนทรยศหักหลังผู้ชมให้ต้องหวนกลับสู่โลกความจริง
ชายชุดดำควบขี่ม้าอยู่กลางทะเลทราย ด้านหลังมีเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า พอมาถึงเสาไม้แห่งหนึ่งสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตาหมีและรูปถ่ายมารดา, ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ ค่อยลองหาโคตรหนัง Surrealist เรต NC-17 เรื่องนี้มารับชมนะครับ
Yoru wa Mijikashi Aruke yo Otome (2017)
ค่ำคืนแห่งการสารภาพรักของรุ่นพี่หนุ่ม กับรุ่นน้องสาว ช่างมีความเยิ่นยาวนานยิ่งนัก ต่างมีเรื่องให้พลัดพรากจาก พบเจอเหตุการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย ท้ายที่สุดแล้วความบังเอิญจะแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาสำเร็จหรือไม่ แต่ผู้ชมต้องใช้สติปัญญาครุ่นคิดตีความเข้าใจจนสมองแทบระเบิด
Land Without Bread แม้จะเป็นสารคดีที่ทรงพลัง แต่แทบทั้งหมดคือ ‘Fake News’ เกิดจากการปรุงปั้นแต่งของ Luis Buñuel ให้ดูเกินเลยความจริง จนสามารถเรียกว่า ‘Surrealist Documentaray’ ได้รับการถกเถียงความถูกต้องเหมาะสมจนถึงปัจจุบัน
Le Sang d’un Poète (1930)
หลุดเข้าไปในโลกแห่งความฝันของ Jean Cocteau เมื่อศิลปินกำลังวาดภาพใบหน้า จู่ๆปากสามารถขยับเองได้ พยายามลบเลือนออกแต่มันกลับติดต่อมายังฝ่ามือ ส่งเสียงพูด เรียกร้องความสนใจ นำไปสัมผัสรูปปั้นแกะสลัก ถือกำเนิดชีวิตและจิตวิญญาณ
จากบทกวีรำพันถีงอดีตคนรักของ Robert Desnos กลายมาเป็นภาพยนตร์สุดแนว Dadaism/Surrealism โดยศิลปิน Man Ray มีลักษณะเปรียบดั่งความทรงจำอันเลืองลาง อาบชะโลมด้วยคราบน้ำตา
Pink Floyd – The Wall (1982) : Alan Parker ♥♥♡
มนุษย์สร้างบ้าน รั้วลวดหนาม ผนังกำแพง สำหรับปกป้องตนเองจากภยันตรายภายนอก แต่ขณะเดียวกันนั่นคือการแบ่งแยก กีดกัน กักขังตนเองอยู่ภายใน ค่อยๆก่อรากความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจของผู้อื่นอีกต่อไป, ภาพยนตร์แนว Rock Opera เรต NC-17 นำเสนอรูปแบบ Surrealist รับชมปัจจุบันยังพบเห็นข้อเท็จจริงเหนือกาลเวลา