
อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖) เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ของท่านมุ้ย แจ้งเกิดทั้งสรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ แต่กาลเวลาทำให้คุณค่าหลงเหลือเพียงอุดมคติ และความเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ไทย
การมาถึงของปลาวาฬยักษ์ สัตว์ประหลาดขนาดมหึมา (Leviathan) ทั้งๆเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กลับนำพาหายนะ ความวุ่นวาย กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าทำลายชีวิต-ทรัพย์สิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย (Natural Order vs. Social Order) เพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ สันติสุขของคนในชาติ และสมดุลแห่งจักรวาล
ผู้รอดชีวิตจากขุมนรก 439 นาที น่าจะเกิดการความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน เหมือนประเทศฮังการีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งอย่างจักมีทิศทางดีขึ้นเสมอไป
ภายหลังไซ่ง่อนแตก ค.ศ. 1975 ชาวเวียดนามใต้ต้องเลือกระหว่างศิโรราบต่อพรรคคอมมิวนิสต์ หรือหาหนทางขึ้นเรือหลบหนีออกนอกประเทศ จะว่าไปไม่แตกต่างจากหลังสงครามกลางเมืองจีน (1945-49) สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋นอพยพสู่เกาะไต้หวัน รวมถึงปัจจุบันที่ชาวฮ่องกงกำลังเตรียมตัวลี้ภัย ไปให้ไกลก่อนดินแดนแห่งนี้กลับคืนเป็นของจีนแผ่นดินใหญ่โดยสมบูรณ์ ค.ศ. 2047
ภาพยนตร์ชีวประวัติกึ่งสารคดีนักแสดงหนังเงียบที่กลายเป็นตำนาน หยวนหลิงอวี้ (Ruan Lingyu) รับบทโดยจางม่านอวี้ (คว้ารางวัล Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Berlin) ไม่เพียงพยายามสร้างฉากจากภาพยนตร์ที่สูญหาย (Lost Film) ยังชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม โศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับเธอเพราะอะไร?
หลังโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับครอบครัว Juliette Binoche พยายามละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘เสรีภาพ’ แต่หลังจากใช้ชีวิตเพียงลำพังอยู่สักพักก็ตระหนักว่า ไม่มีทางที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ตัวคนเดียว ต้องแสวงหาใครสักคนแม้ต้องอดรนทนต่อความขื่นขม เพื่อแลกกับอุดมคติชาวตะวันตกที่เรียกว่าความรัก
ความตายของสามีทำให้ภรรยาแทบมิอาจอดรนทน พยายามหาหนทางปล่อยปละละวาง แต่สถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ช่วงประกาศกฎอัยการศึก (1981-83) ทำให้ทุกสิ่งอย่างถึงคราอับจน หมดสิ้นหนทางหวัง ท้ายที่สุดแล้วเลยหลงเหลือเพียงโศกนาฎกรรม
ความอร่ามของพระราชวัง(ดอก)ทอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงคติรวมหมู่ (Collectivism) เมื่อผู้คนสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกระทำสิ่งต่างๆเพื่อเป้าหมายส่วนรวม จักสามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้ประเทศชาติ, นี่คือภาพยนตร์ที่ทำให้รัฐบาลจีนเลือกจางอี้โหมว มาเป็นผู้กำกับพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Beijing 2008
เพราะพฤติกรรมสุดซาดิสม์ของสามี ทำให้จูโด (Ju Dou) ลักลอบสมสู่กับหลานชาย (ของสามี) ผลกรรมทำให้บุตรของพวกเขาปฏิเสธต่อต้านบิดา แถมยังตั้งใจจะปิตุฆาต … นี่เหมือนกับพวกยุวชนแดงช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ไม่ยินยอมรับอดีต กระทำร้ายผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง ทำลายทุกสิ่งอย่างก่อนยุคสมัยคอมมิวนิสต์
อดีตดาราดัง Veronika Voss กำลังถูกหลงลืม ค่อยๆสูญเสียตนเอง ได้รับการล่วงล่อหลอกโดยจิตแพทย์ให้เสพติดมอร์ฟีน หวังกอบโกยทุกสิ่งอย่างหลังเธอเสียชีวิต, ภาคสุดท้ายของ BRD Trilogy นี่คือ Sunset Boulevard (1950) ฉบับสะท้อนการล่มสลายของประเทศเยอรมัน และจุดจบของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder
ดัดแปลงจากนวนิยายของ Erich Maria Remarque ผู้แต่ง All Quiet on the Western Front (1928) นำเสนอผ่านมุมมองนายทหารเยอรมัน/นาซี ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีโอกาสลาพักสามสัปดาห์ พบเจอหญิงสาวเคยรู้จัก ตกหลุมรัก ตัดสินใจแต่งงาน แล้วใช้ชีวิตครองคู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ เพราะเมื่อเขาหวนกลับไปแนวหน้านั้น…
ลมยิ่งพัดแรง จะสร้างความเสียหายให้กลายเป็นภัยพิบัติ เฉกเช่นเดียวกับมรสุมความรัก ยิ่งเร่งรีบ เร่าร้อน รุนแรง ก็อาจบังเกิดการสูญเสีย บานปลายสู่โศกนาฎกรรม, แต่การจะเข้าถึงภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น นักวิจารณ์ Roger Ebert บอกว่าอาจสลับซับซ้อนยิ่งกว่าผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับ Ingmar Bergman
มาสเตอร์พีซที่ถูกหลงลืมของ Jacques Demy นำเสนอด้วยวิธีเดียวกับ The Umbrellas of Cherbourg (1964) แต่มีลักษณะอุปรากรแห่งโศกนาฎกรรม (Tragic Opera) หวนกลับไปเมืองท่าบ้านเกิด Nantes เพื่อเผชิญหน้าช่วงเวลามืดหมองหม่นที่สุดในชีวิต
สามเกลอ (ชายขี้เมา, สาวโสเภณี และผู้เฒ่า) ออกเดินทางจากเยอรมัน ไล่ล่าความฝันสู่ Plainfield, Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่พวกเขาไม่แตกต่างจาก ‘ไก่ในตู้หยอดเหรียญ’ มีเพียงแรงกระตุ้นผลักดันให้ชีวิตดำเนินไป และเมื่อทุกสิ่งอย่างสูญสลาย จึงกลายเป็นโศกนาฎกรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
จากเรื่องราวโรแมนติกหวานแหวว แปรสภาพสู่จิตวิเคราะห์เพื่อปรับตัวเข้ากับการสูญเสีย ทำอย่างไรถึงก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ลุกขึ้นมาตอบโต้คลื่นชีวิตได้ด้วยตนเอง แม้ไม่มีเธอเคียงข้าง แต่จักคงอยู่ในใจไม่เหินห่าง
ในโลกคู่ขนานที่นาซีเยอรมันชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำโดยฝ่ายอักษะ ทหาร/ตำรวจใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมต่อต้าน แต่เบื้องลีกมีความเน่าเฟะเละยิ่งไปกว่านั้น, สร้างจากเนื้อเรื่องพัฒนาโดย Mamoru Oshii ตั้งคำถามหนักอึ้งเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์-สันชาติญาณสัตว์ (Jin = มนุษย์, Roh=หมาป่า) ปัจจุบันเราหลงเหลืออะไรอยู่ภายใน
The Inhuman Woman นำเสนอเรื่องราวไร้ตรรกะ ผ่านตัวละครไร้สามัญสำนึก แถมผู้ชม/นักวิจารณ์สมัยนั้นเห็นพ้องกันว่าโคตรไร้สาระ! แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นครั้งแรกที่รวบรวมศิลปินหลากหลายแขนง ทดลองสรรค์สร้างผลงาน Avant-Garde งดงามระดับวิจิตรศิลป์