ความอร่ามของพระราชวัง(ดอก)ทอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงคติรวมหมู่ (Collectivism) เมื่อผู้คนสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกระทำสิ่งต่างๆเพื่อเป้าหมายส่วนรวม จักสามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้ประเทศชาติ, นี่คือภาพยนตร์ที่ทำให้รัฐบาลจีนเลือกจางอี้โหมว มาเป็นผู้กำกับพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Beijing 2008

Read More
House of Flying Daggers

ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ เรื่องราวความรักสามเส้าระหว่างหลิวเต๋อหัว และทาเคชิ คาเนชิโร่ ใครจะได้ครอบครองดอกไม้งาม ‘นางล่มเมือง’ จางจื่ออี๋ ต่างฝ่ายต่างเหมือนถูกคมมีดบินทิ่มแทงกลางใจ ถ้ามิได้ใช้ชีวิตกับหญิงคนรัก ฆ่ากันให้ตายเสียยังดีกว่า!

Read More

นี่คือ The Wizard of Oz (1939) ที่ทำการหวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งสีสัน อดีตอันทรงคุณค่า ประเทศจีนเคยเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา แต่อนาคตเมื่อทั้งสองช่วงเวลาเวียนมาบรรจบ กลับสร้างความอบอุ่นขึ้นภายใน, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

Read More
Not One Less

เพราะได้รับทุนสร้างจากรัฐบาลจีน ผู้กำกับจางอี้โหมวเลยยืนกรานว่าหนังไร้ซึ่งนัยยะทางการเมือง แต่เพียงเพื่อโบนัสไม่กี่สิบหยวน ครูสาววัยสิบสามกลับยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง จนหลงลืมหน้าที่รับผิดชอบแท้จริงของตนเอง, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

Read More

หลังเสร็จจาก To Live (1994) ผู้กำกับจางอี้โหมวจงใจเลือกผลงานถัดไปเกี่ยวกับกลุ่มอาชญากร เจ้าพ่อมาเฟีย (ที่สามารถสื่อถึงชนชั้นผู้นำประเทศจีน) พอดิบพอดีใกล้จะเลิกราแฟนสาวกงลี่ นี่คือการร่วมงานครั้งสุดท้าย (ขณะนั้น) จึงแทรกใส่เรื่องราวของคนทรยศหักหลัง … เป็นหนังที่สวยแต่รูป จูบไม่หอมสักเท่าไหร่

Read More

นโยบายลูกคนเดียวของเติ้งเสี่ยวผิง ไม่ต่างอะไรจากการเตะผ่าหมากสามีของชิวจู (นำแสดงโดย กงลี่ ในบทบาทเจิดจรัสที่สุด) เธอรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องจึงพยายามร้องเรียนหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่าองค์กรท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กระทั่งขึ้นศาลยุติธรรม ล้วนได้รับคำตัดสินแบบเดียวกัน, คว้ารางวัล Golden Lion และ Volpi Cup for Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice

Read More

เพราะพฤติกรรมสุดซาดิสม์ของสามี ทำให้จูโด (Ju Dou) ลักลอบสมสู่กับหลานชาย (ของสามี) ผลกรรมทำให้บุตรของพวกเขาปฏิเสธต่อต้านบิดา แถมยังตั้งใจจะปิตุฆาต … นี่เหมือนกับพวกยุวชนแดงช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ไม่ยินยอมรับอดีต กระทำร้ายผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง ทำลายทุกสิ่งอย่างก่อนยุคสมัยคอมมิวนิสต์

Read More
Red Sorghum

ข้าวฟ่างถูกนำมาทำไวน์แดง แล้วกลายเป็นเลือดไหลนองท่วมทุ่ง ระหว่างการสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับจางอี้โหมว คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin จัดจ้านด้วยแสงสีสัน คลุ้มคลั่งด้วยอารมณ์ ชวนเชื่อค่านิยมรักชาติ ไม่ยินยอมให้ใครอื่นมากอบโกยผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินแดนบ้านเรา

Read More
Hero

ระหว่างฉินอ๋องเข่นฆ่าประชาชนบริสุทธิ์มากมายเพื่อรวบรวมแว่นแคว้นให้กลายเป็นปึกแผ่น กับนักฆ่าผู้ยินยอมเสียสละตนเองด้วยการไว้ชีวิตว่าที่จักรพรรดิจีน ใครกันสมควรได้รับยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ! … หรือผู้กำกับจางอี้โหมวที่สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้กันแน่?

Read More

ผู้หญิงคนที่สี่ชิงโคมแดง คือผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับจางอี้โหมว ทุกช็อตฉากล้วนมีความสมมาตร ห้อมล้อมด้วยกฎกรอบ ขนบธรรมเนียมประเพณี แต่วิถีชีวิตเมียน้อยกลับต้องต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาอกเอาใจสามี เพื่อค่ำคืนนี้แสงประทีปโคมแดง จักสว่างไสวไปทั่วเรือนพักอาศัยของตน

Read More

ตราบมีลมหายใจ ไม่ว่าจะพบเจอโศกนาฎกรรม พานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก เหน็ดเหนื่อยอับจนข้นแค้นสักเพียงไหน มนุษย์เราก็ยังสามารถอดทน ต่อสู้ดิ้นรน ดำเนินชีวิตต่อไป, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

Read More

Huáng tǔdì (อ่านว่า หวงถู่ตี้) ดินสีเหลืองที่ปลูกหญ้าไม่อยากจะขึ้น แต่เป็นทรัพยากรหลักในมณฑลส่านซี ทางตอนเหนือของจีนแผ่นดินใหญ่ มีความทุรกันดารห่างไกล ผู้คนยังยึดถือมั่นในขนบประเพณี เด็กสาวต้องแต่งงานเมื่ออายุสิบสี่ กระทั่งการมาถึงของกองทัพเส้นทางที่แปด (Eighth Route Army) แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างไหม?

Read More