Taxi Driver

Taxi Driver (1976) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♥

(12/10/2023) ขับรถ Taxi Driver ล่องลอยเรื่อยเปื่อยไปทั่วมหานคร New York City พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่ะเละเทะ สภาพสังคมช่วงทศวรรษ 70s มีความต่ำตม สกปรกโสมม นั่นทำให้ Robert De Niro ต้องการทำอะไรสักสิ่งอย่าง ค้นหาอัตลักษณ์ พิสูจน์การมีตัวตน พบเจอเป้าหมายชีวิตของตนเอง

Paul Schrader เมื่อตอนเริ่มต้นพัฒนาบทภาพยนตร์ Taxi Driver อยู่ช่วงตกต่ำที่สุดในชีวิต เพิ่งหย่าร้างภรรยา เพิ่งเลิกราแฟนสาว(นักวิจารณ์) Pauline Kael ดึกดื่นนอนไม่หลับ (Insomnia) เลยออกมาขับรถเล่นรอบเมือง Los Angeles กินๆนอนๆ ทานอาหารขยะ แวะดูหนัง(18+)รอบดึก ไม่นานก็ล้มป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร ระหว่างพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล เริ่มตระหนักว่าฉันไม่ได้พูดคุยกับใครยาวนานกว่าสัปดาห์

At the time I wrote it [Taxi Driver], I was in a rather low and bad place. I had broken with Pauline [Kael], I had broken with my wife, I had broken with the woman I left my wife for, I had broken with the American Film Institute and I was in debt. I got to wandering around at night; I couldn’t sleep because I was so depressed. I’d stay in bed till four or five P.M. then I’d say, ‘Well, I can get a drink now’. I’d get up and get a drink and take the bottle with me and start wandering around the streets in my car at night. After the bars closed, I’d go to pornography. I’d do this all night, till morning, and I did it for about three or four weeks, a very destructive syndrome until I was saved from it by an ulcer: I had not been eating, just drinking,

When I got out of the hospital I realized I had to change my life because I would die and everything; I decided to leave L.A. That was when the metaphor hit me for Taxi Driver, and I realized that was the metaphor I had been looking for: the man who will take anybody any place for money; the man who moves through the city like a rat through the sewer; the man who is constantly surrounded by people, yet has no friends. The absolute symbol of urban loneliness. That’s the thing I’d been living; that was my symbol, my metaphor. The film is about a car as the symbol of urban loneliness, a metal coffin.

Paul Schrader

แซว: จากประสบการณ์ดังกล่าว Paul Schrader กลายมาเป็นคนหมกหมุ่นกับ “Man in a Room” และ “Night Worker” จึงพัฒนาผลงานถัดๆมา(เขียนบท/กำกับ) หลายเรื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิ American Gigolo (1980), Light Sleeper (1992), The Walker (2007) ฯ

หลายคน(รวมถึงตัวผมเอง)อาจเคยมีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ Taxi Driver (1976) ว่าพฤติกรรมว้าวุ่น ร้อนรน กระวนกระวายของ Travis Bickle (รับบทโดย Robert De Niro) เกิดจากผลกระทบสงครามเวียดนาม (อาการ Shell Shock) แต่นั่นแค่เพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้นนะครับ มันยังมีปัจจัย/สาเหตุผลแวดล้อมอื่นอีกมากมาย ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนสามารถสร้างอิทธิพลให้กับตัวเรา (ทั้งแง่บวกและลบ)

การรับชมรอบนี้ผมมอง Taxi Driver (1976) คือเรื่องราวของบุคคลประสบปัญหาการสื่อสาร ไม่สามารถพูดคุย ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง (คล้ายๆแบบ Amélie (2001)) สนทนากับใครไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ถูกครุ่นคิดว่าเป็นคนชั่วร้าย สุดท้ายเลยหลงเหลือเพียงตัวตนเอง จับจ้องมองกระจก “Breaking the Fourth Wall”

You talkin’ to me? You talkin’ to me? You talkin’ to me? Then who the hell else are you talkin’ to? You talkin’ to me? Well I’m the only one here. Who the fuck do you think you’re talking to?

Travis Bickle

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ หอภาพยนตร์เคยนำ Taxi Driver (1976) มาฉายโปรแกรมทึ่ง!หนังโลก ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า คาดไม่ถึงว่าห้าปีถัดมา House Samyan นำกลับมาฉายโปรแกรม House Classic ระหว่างปลายเดือนกันยายน-ต้นตุลาคม ค.ศ. 2023 ใครพลาดรอบนี้ก็ไม่รู้จะมีโอกาสอีกเมื่อไหร่ … จริงๆผมตั้งใจจะเขียนก่อนหมดรอบฉาย แต่ก็ไม่เคยทันสักที


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Paul Joseph Schrader (เกิดปี 1946) นักเขียน/นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Grand Rapids, Michigan ในครอบครัวเคร่งครัด Calvinism (สาขาหนึ่งของ Protestant) ไม่เคยมีโอกาสรับชมภาพยนตร์จนกระทั่งอายุ 17 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีความแรกประทับใจสักเท่าไหร่, โตขึ้นสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะปรัชญา สาขาเทววิทยาจาก Calvin College ตั้งใจจะเป็นบาทหลวง ก่อนเปลี่ยนมาศึกษาภาพยนตร์ UCLA School of Theater, Film and Television สนิทสนมกับ Pauline Kael ถูกชักชวนมาทำงานวิจารณ์ภาพยนตร์นิตยสาร Los Angeles Free Press ตามด้วย Cinema, เขียนหนังสือ Transcendental Style in Film: Ozu, Bresson, Dreye (1972), พัฒนาบทหนัง The Yakuza (1974) ขายให้ผู้กำกับ Sydney Pollack สนราคา $325,000 เหรียญ, อีกผลงานเด่นๆก็คือ Obsession (1976) กำกับโดย Brian De Palma

สำหรับ Taxi Driver อย่างที่บอกไปว่า Schrader พัฒนาขึ้นในช่วงจุดตกต่ำสุดของชีวิต ซึ่งระหว่างพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล มีสองเหตุการณ์กลายเป็นแรงบันดาลใจพล็อตหลักๆ ประกอบด้วย

  • เหตุการณ์ Arthur Bremer ลอบสังหารว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดี George Wallace แห่งพรรค Democrat วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 ณ Laurel, Marryland ผลลัพท์ทำให้ Wallace กลายเป็นอัมพาตตั้งแต่เอวลงมา Bremer ถูกตัดสินโทษจำคุก 63 ปี ลดเหลือ 53 ปี ก่อนได้รับการปล่อยตัวหลังผ่านมา 35 ปี (ออกจากเรือนจำเมื่อปี ค.ศ. 2007)
    • Schrader มีโอกาสเข้าถึงสมุดบันทึก (Diary) ของ Bremer ได้อ่านรายละเอียด ความครุ่นคิด วิถีชีวิตประจำวัน … ในหนัง Travis Bickle ก็มีจดบันทึกในไดอารี่เช่นเดียวกัน
  • ได้ยินบทบทเพลงฮิต Taxi (1972) แต่ง/ขับร้องโดย Harry Chapin เนื้อคำร้องช่างมีความละม้ายคล้ายปัจฉิมบทของหนัง, ค่ำคืนดึกดื่น หญิงสาวบังเอิญโบกแท็กซี่ของอดีตแฟนเก่า ในตอนแรกต่างจดจำกันไม่ได้ พอเห็นชื่อบนใบอนุญาตเลยพูดคุยสอบถามสารทุกข์สุขดิบ … เป็นบทเพลงที่ทำออกมาเหมือนเรื่องเล่า เรื่องราวเป็นยังไงต่อลองฟังเพลง อ่านเนื้อร้องดูเองนะครับ

It was raining hard in ‘Frisco
I needed one more fare to make my night
A lady up ahead waved to flag me down
She got in at the light

Oh, where you going to, my lady blue
It’s a shame you ruined your gown in the rain
She just looked out the window
She said, “16 Parkside Lane”

Something about her was familiar
I could swear I’d seen her face before
But she said, “I’m sure you’re mistaken”
And she didn’t say anything more

It took a while, but she looked in the mirror
And she glanced at the license for my name
A smile seemed to come to her slowly
It was a sad smile, just the same

And she said, “How are you, Harry?”
I said, “How are you, Sue?
Through the too many miles and the too little smiles
I still remember you”

It was somewhere in a fairy tale
I used to take her home in my car
We learned about love in the back of the Dodge
The lesson hadn’t gone too far

You see she was gonna be an actress
And I was gonna learn to fly
She took off to find the footlights
And I took off to find the sky

Oh, I’ve got something inside me
To drive a princess blind
There’s a wild man, wizard
He’s hiding in me, illuminating my mind

Oh, I’ve got something inside me
Not what my life’s about
‘Cause I’ve been letting my outside tide me
Over ’til my time runs out

Baby’s so high that she’s skying
Yes, she’s flying, afraid to fall
I’ll tell you why baby’s crying
‘Cause she’s dying, aren’t we all?

There was not much more for us to talk about
Whatever we had once was gone
So I turned my cab into the driveway
Past the gate and the fine trimmed lawns

And she said, “We must get together”
But I knew it’d never be arranged
And she handed me 20 dollars for a 250 fare
She said, “Harry, keep the change”

Well, another man might have been angry
And another man might have been hurt
But another man never would have let her go
I stashed the bill in my shirt

And she walked away in silence
It’s strange how you never know
But we’d both gotten what we’d asked for
Such a long, long time ago

You see she was gonna be an actress
And I was gonna learn to fly
She took off to find the footlights
And I took off for the sky

And here, she’s acting happy
Inside her handsome home
And me, I’m flying in my taxi
Taking tips and getting stoned

I go flying so high, when I’m stoned

I wrote the script very quickly, in something like fifteen days. The script just jumped from my mind almost intact. As soon as I finished writing – I wrote it for no commercial reason, just because I saw that was the need – I gave it to my agent and I left L. A.; I didn’t come back for half a year, just bummed around the country. It took that long before I was ready to come back and face the problems here.

Paul Schrader

หลังออกจากโรงพยาบาล Schrader ใช้เวลาพัฒนาบทร่างแรกของ Taxi Driver เพียงสองสัปดาห์ จำนวนกว่า 60 หน้ากระดาษ แล้วส่งต่อผู้จัดการส่วนตัวสำหรับมองหาสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์ที่มีความสนใจ สามารถขายลิขสิทธิ์ให้คู่สามี-ภรรยา Michael & Julia Phillips ที่เพิ่งคว้ารางวัล Oscar: Best Picture จากเรื่อง The String (1973) [ถือเป็นโปรดิวเซอร์สามี-ภรรยาคู่แรกที่คว้ารางวัลนี้] และหาทุนสนับสนุนได้จาก Columbia Pictures

โดยตัวเลือกผู้กำกับประกอบด้วย John Milius, Irvin Kershner, Tony Bill, ในตอนแรกตัดสินใจเลือก Brian De Palma ติดต่อนักแสดง Melanie Griffith ให้มารับบท Iris แต่ระหว่างเตรียมงานสร้างได้สองสัปดาห์ ทั้งสองก็ถูกไล่ออก … จริงๆไม่มีคำอธิบายสาเหตุผลใดๆ บ้างว่าเพราะมารดา Griffith ไม่อนุญาตให้บุตรสาวเล่นบทนี้ แต่คาดกันว่าสองโปรดิวเซอร์มีโอกาสรับชม Mean Streets (1973) จึงเกิดความสนอกสนใจอยากได้ Martin Scorsese และนักแสดงนำ Robert De Niro

We waited a long time. Michael and Julia Phillips saw the screenplay three years ago, about a year after it was written. They liked it; they optioned it with no real prospects in mind. At that point, we were talking about doing Taxi Driver with Robert Mulligan and Jeff Bridges. I was fighting that off because it didn’t make any sense to me.

I saw Mean Streets and said, “That’s it. DeNiro and Scorsese.” They saw it and said, “That’s it” too. We never entertained any other possibilities, we stuck with it.

Paul Schrader

Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด! วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมภายนอก พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) แล้วต่อปริญญาโทวิจิตรศิลป์ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts)

ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Mean Streets (1973) และ Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974)

ผกก. Scorsese มีความสนใจอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่มีลักษณะเหมือนฝัน (dream-like) หรืออาการเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ภวังค์ของคนเสพยา (drug-induced reveries) ทำออกมาให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนอยู่ในสภาวะครึ่งหลับ-ครึ่งตื่น ล่องลอยอยู่ใน Limbo (ในเทววิทยาคริสตจักรคาทอลิก Limbo มาจากภาษาละติน Limbus แปลว่า ขอบหรือพรมแดน ซึ่งหมายถึง ‘ขอบนรก’ เป็นความคิดทางทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพหลังความตายของผู้ที่เสียชีวิตในบาปกำเนิดโดยไม่ได้ถูกส่งไปยังนรก)

เห็นว่า Brian De Palma เป็นคนแนะนำผกก. Scorsese ให้รับรู้จัก Schrader แล้วพอได้อ่านบทหนัง Taxi Driver ก็เกิดความชื่นชอบประทับใจ เหมือนว่าเจ้าตัวจะเคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆเดียวกัน จึงยินยอมตอบตกลงกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้

In my case, maybe because I am a New Yorker and because I’ve been brought up lower East side and because it’s more of a community feeling, those feelings come and go. They come and go, and they come maybe periods of three days, maybe period of a week. I know my worst period of that feeling that’s, and this is interesting, because it’s one of the reasons why I grabbed the script and really wanted to really hang onto it. For my first, my first few months, first six months in Los Angeles, making a transition living in Los Angeles, was like Travis it was bizarre.

Martin Scorsese

เพราะบทหนังพัฒนาจนใกล้เสร็จสมบูรณ์ Marty จึงแค่พูดคุย สอบถามประเด็นต่างๆกับ Schrader แทบไม่ได้ปรับแก้ไขอะไร แล้วบินตรงสู่ New York เพื่อตระเตรียมงานสร้าง และก่อนเริ่มต้นถ่ายทำประมาณหกสัปดาห์ นัดรวมตัวนักแสดงในห้องพักโรงแรม ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถึงค่อยปรับแก้ไขบทหนัง/บทสนทนาให้เหมาะสมกับแต่ละคน

Marty had questions, and we talked. Marty went his own way, off to New York. About six weeks before shooting, I went out there and we went through everything again; I rewrote the script at that time, sitting in a hotel room with the people involved in the film—Harvey Keitel, Peter Boyle, and Jodie Foster—all around, I had that feedback. I’d just been to Italy and spent several days with DeNiro.

Paul Schrader

เรื่องราวของ Travis Bickle (รับบทโดย Robert De Niro) ทหารผ่านศึกกลับจากสงครามเวียดนาม ค่ำคืนดึกดื่นนอนไม่ค่อยหลับ (Insomnia) เลยตัดสินใจสมัครทำงานขับแท็กซี่กลางคืน รับส่งผู้โดยสารในมหานคร New York City ทำให้พบเห็นสภาพสังคม/ท้องถนนที่มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ทั้งนักเลง โสเภณี คนติดยา ฯ เพ้อใฝ่ฝันว่าจะมีใครสักคนกำจัดขยะ(สังคม)เหล่านั้นให้พ้นภัยทาง

Travis พยายามมองหาสิ่งที่ทำให้จิตวิญญาณตนเองส่องสว่าง ได้พบเจอหญิงสาวสวย Betsy (รับบทโดย Cybill Shepherd) ทำงานอาสาให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี Charles Palantine (รับบทโดย Leonard Harris) วันหนึ่งตรงเข้าไปในสำนักงาน ชักชวนดื่มกาแฟ ดูหนัง แต่เขากลับพาเธอเข้าโรงภาพยนตร์ 18+ สร้างความไม่พึงพอใจให้ฝ่ายหญิง เราสองแตกต่างกันเกินไป … นั่นทำให้ Travis เกิดความตระหนักว่าเธอคนนี้ไม่ได้แตกต่างอะไรจากบุคคลทั่วไป

ค่ำคืนหนึ่งระหว่างขับรถแท็กซี่ไปรอบเมือง ได้พบเจอเด็กหญิงอายุสิบสองปี Iris Steensma (รับบทโดย Jodie Foster) ทำงานเป็นโสเภณี อยู่กินกับแมงดา Sport (รับบทโดย Harvey Keitel) นั่นทำให้ Travis รู้สึกอเนจอนาถใจ มิอาจอดรนทนไหว ต้องการลุกขึ้นมาทำอะไรสักสิ่งอย่าง กวาดล้างสิ่งสกโปรกโสม เพื่อให้สังคมมีความน่าอยู่อาศัยขึ้นมา


Robert Anthony De Niro Jr. (เกิดปี 1943) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York พ่อมีเชื้อสาย Irish-Italian ประกาศตนว่าเป็นเกย์หย่าขาดกับแม่ตอน De Niro อายุได้ 2 ขวบ เติบโตขึ้นในบริเวณ Little Italy เคยแสดงละครเวทีงานโรงเรียน รับบทเป็น Cowardly Lion เรื่อง The Wizard of Oz ทำให้เริ่มมีความสนใจด้านนี้ พออายุ 16 มุ่งสู่ HB Studio, Stella Adler Conservatory และ Actors Studio กลายเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Lee Strasberg, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Wedding Party (1963) ของผู้กำกับ Brian De Palma แนะนำให้รู้จักจนกลายเป็นขาประจำกับ Martin Scorsese ร่วมงานครั้งแรก Mean Streets (1973) ผลงานเด่นๆ อาทิ The Godfather: Part II (1974) ** คว้า Oscar: Best Supporting Actor, Taxi Driver (1976), The Deer Hunter (1978), Raging Bull (1980) ** คว้า Oscar: Best Actor, Cape Fear (1991), Silver Linings Playbook (2012) ฯ

รับบท Travis Bickle อายุ 26 ปี อดีตทหารเรือเข้าร่วมสงครามเวียดนาม ปัจจุบันอาศัยอยู่ New York City ประสบปัญหาหดหู่ (Depression), โดดเดี่ยวอ้างว้าง (Loneliness), รู้สึกชีวิตไร้เป้าหมายปลายทาง (Existential Crises), ค่ำคืนดึกดื่นจึงนอนไม่ค่อยหลับ (Insomnia) เลยสมัครเป็นคนขับแท็กซี่กะกลางคืน ทำงานอย่างหนัก 12-14 ชั่วโมงต่อวัน 6-7 วันต่อสัปดาห์ พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่ะเละเทะเต็มท้องถนน ทั้งนักเลง โสเภณี คนติดยา ฯ เพ้อใฝ่ฝันว่าจะมีใครสักคนกำจัดขยะ(สังคม)เหล่านั้นให้พ้นภัยทาง

Schrader พัฒนาตัวละครนี้โดยมี Jeff Bridges อยู่ในใจ แต่ขณะนั้นคิวล้นมือเลยไม่ว่างรับงาน, จริงๆมีนักแสดงอีกเป็นโหลที่ได้รับการติดต่อ แต่คนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ Dustin Hoffman มีโอกาสพบเจอ พูดคุยผกก. Scorsese แต่ตอบปฏิเสธเพราะครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายบ้าระห่ำเกินไป (ตอนนั้นยังเป็นผู้กำกับโนเนม ไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่)

I remember meeting Martin Scorsese. He had no script and I didn’t know who he was. I hadn’t seen any of his films and he was talking a mile a minute telling me what the movie was about. I thought the guy was crazy!… I made so many dumb mistakes. The list is endless.

Dustin Hoffman

De Niro เซ็นสัญญาด้วยค่าตัวเพียง $35,000 เหรียญ ก่อนจะคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor จากภาพยนตร์ The Godfather Part II (1974) ซึ่งนั่นสร้างความหวาดกังวลให้โปรดิวเซอร์ว่าอีกฝ่ายจะขอเพิ่มค่าตัว ทำให้งบประมาณบานปลายขึ้นอีก แต่ว่า De Niro ยังคงยืนกรานตามสัญญา รับเงินเท่ากับค่าจ้าง Schrader

การเตรียมตัวสำหรับรับบท ขณะนั้น De Niro กำลังถ่ายทำภาพยนตร์ 1900 (1974) ทุกเย็นวันศุกร์หลังเลิกงาน (หยุดกองเสาร์-อาทิตย์) ขึ้นเครื่องบินจาก Italy มุ่งสู่ New York City สอบใบอนุญาตขับขี่รถแท็กซี่ ทดลองรับ-ส่งผู้โดยสารกะกลางคืน และถึงแม้เพิ่งคว้ารางวัล Oscar ลูกค้าส่วนใหญ่กลับจดจำเขาไม่ได้ แต่ก็มีคนหนึ่ง “You just won an Oscar… My God, is it THAT hard to get work??”

นอกจากนี้ De Niro ยังฟิตหุ่น ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักลง 16 กิโลกรัม (35 ปอนด์) อ่านไดอารี่ของ Arthur Bremer จนแทบจดจำขึ้นใจ และปรับสำเนียงเสียงพูด โดยฝึกฝนจากเทปบันทึกเสียงทหารอเมริกัน Midwestern ที่ประจำอยู่ Northern Italy

ถือเป็นอีกหนึ่งในไฮไลท์การแสดงของ De Niro แม้ตัวหนังมีความล่องลอยเรื่อยเปื่อย เหมือนดำเนินไปอย่างไร้แก่นสาน แต่ตัวละคร Travis กลับมีความมุ่งมั่น จริงจัง แค่ยังไม่ค้นพบตนเองอยากทำอะไร ครึ่งแรกสายตาจับจ้อง Betsy ราวกับนางฟ้ามาจุติ แต่เพราะไม่รู้วิธีพูดคุยสื่อสาร นั่นรวมถึงการสนทนากับผู้อื่นใด อ้ำๆอึ้งๆ ฟังไม่ได้สดับ จับใจความไม่ค่อยจะได้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ครุ่นคิดว่าเป็นบุคคลชั่วร้าย เลยรู้สึกเหมือนฉันอยู่ตัวคนเดียวบนโลกใบนี้ (หันมองกระจก สบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” สอบถามผู้ชม “You talkin’ to me?”)

ว่ากันตามตรง Travis แทบไม่แตกต่างจากพวก Superhero ต่างมีอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งอย่าง กำจัดภัยพาล นำความสงบสุขให้บังเกิดขึ้นในสังคม แต่มันขึ้นอยู่กับมุมมองผู้ชม เส้นแบ่งบางๆระหว่างดี-ชั่ว พระเอก-ตัวร้าย และวิธีการที่พวกเขาแสดงออกมา (พวก Superhero แทบทั้งนั้นมีปัญหาทางจิตยิ่งกว่า Travis เสียอีกนะ!) ผมแอบแปลกใจมากๆที่ตัวละครนี้ได้รับการโหวต AFI’s 100 Years…100 Heroes & Villains ติดอันดับ 30 ฟากฝั่งตัวร้าย (Villain) … หมอนี่มันควรเป็นพระเอกไม่ใช่หรือ??

โดยส่วนตัวแล้วผมประทับใจการแสดงของ De Niro ในภาพยนตร์เรื่องนี้มากกว่า The Godfather Part II (1974) และ Raging Bull (1980) เสียอีกนะ! อาจเพราะความบ้าๆบอๆ หลังค้นพบเป้าหมายของตนเอง แสดงจิตวิญญาณอันแน่วแน่ ฝึกฝนร่างกายจนเข้มแข็งแกร่ง ทรงผมโมฮอกแสดงถึงไร้ความหวาดกลัวเกรง ครุ่นคิดว่าฉันสามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งอย่าง … เหตุผลที่ให้ตัวละครกลับจากสงครามเวียดนาม (ไม่ใช่ WW2 หรือสมรภูมิอื่นๆ) เพราะมันคือการสู้รบที่ทำให้ชาวอเมริกา ‘fuck up’ มากที่สุด!

เกร็ด: คำพูดติดปาก “You talkin’ to me?” ของ Travis Bickle ได้รับการโหวตติดอันดับ …

  • AFI: 100 Years…100 Movie Quotes อันดับ 10
  • Premiere: 100 Greatest Movie Lines อันดับ 8

Alicia Christian ‘Jodie’ Foster (เกิดปี 1962) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California บิดาเป็นนักธุรกิจฐานะร่ำรวย แต่หย่าร้างกับมารดาก่อนคลอดเสียอีก, ตั้งแต่เล็กถือเป็นเด็กพรสวรรค์ อ่านหนังสือได้ตั้งแต่อายุสามขวบ พร้อมๆกับได้รับเลือกแสดงโฆษณา Coppertone, ตามด้วยซิทคอม Mayberry R.F.D. (1968), ซีรีย์โทรทัศน์ The Courtship of Eddie’s Father (1969–1971), Bob & Carol & Ted & Alice (1973), ภาพยนตร์ Napoleon and Samantha (1972), Kansas City Bomber (1972), One Little Indian (1973), มีโอกาสร่วมงานผกก. Martin Scorsese เรื่อง Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974) และแจ้งเกิดโด่งดังกับ Taxi Driver (1976)

รับบท Iris Steensma เด็กสาววัยสิบสองปี น่าจะหนีออกจากบ้าน อาศัยอยู่กับแมงดา Sport แต่งตัวโป๊เปลือย ทำงานโสเภณี ท่าทางมึนเมา แววตาล่องลอยเหมือนคนเสพยา สร้างความอเนจอนาถใจให้กับ Travis มิอาจอดรนทนไหว ต้องการลุกขึ้นมาทำอะไรสักสิ่งอย่าง

เกร็ด: ดั้งเดิมนั้นตัวละครนี้ชื่อว่า Garth ปรากฎตัวแค่ไม่กี่วินาที จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่ง Paul Schrader กำลังมึนเมา นั่งอยู่ในบาร์ตอนตีสาม พบเห็นหญิงสาวคนหนึ่งน่ารักน่าชัง เลยทดลองพูดคำชักชวนขึ้นห้อง ปรากฎว่าทำสำเร็จแบบงงๆ ก่อนค้นพบว่าแท้จริงเธอคือโสเภณี ขี้ยา อายุแค่ 12-13 ปี เช้าวันถัดมาจึงปรับแก้ไขบทบาทนี้โดยทันที

มีนักแสดงเด็กหญิงนับร้อยยื่นใบสมัคร เข้ามาทดสอบหน้ากล้อง ในตอนแรกผกก. Scorsese ตัดสินใจเลือก Linda Blair แต่ไม่นานก็ขอถอนตัวไป นักแสดงคนอื่นๆก็มักไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ยกเว้นเพียงมารดาของ Jodie Foster กลัวว่าบุตรสาวจะมีแต่ภาพจำเด็กหญิงน่ารักน่าชัง จึงพยายามมองหาบทบาทภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่

That film completely changed my life. It was the first time anyone asked me to create a character that wasn’t myself. It was the first time I realized that acting wasn’t this hobby you just sort of did, but that there was actually some craft.

Jodie Foster

ด้วยความที่ Foster ยังเด็กอยู่มากๆ ผกก. Scorsese ก็ไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับเธอ เลยติดต่อนักจิตวิทยาให้เข้ามาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด อธิบายสิ่งต่างๆบังเกิดขึ้น (เพื่อไม่ให้เสียเด็ก) ในขณะที่การแสดงก็พึ่งพา De Niro นัดมาร้านกาแฟ พูดคุย ซักซ้อมบท แม้บางครั้งรู้สึกเบื่อหน่าย แต่ก็ได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากมาย

Robert de Niro decided to sort of take me under his wing and he would continually take me out to coffee shops and run the lines with me, sort of in character, and then do improvs, which I didn’t 100 percent understand, but by the time we really started shooting, I really understood what he had done. He had really made me understand what it was to create a character, something I didn’t know at 12 years old. And it changed, it definitely changed my life. I remember going home to the hotel room in New York City and just being on fire; really feeling like, wow, I had discovered something. That this movie business world, and acting, really could be more challenging than I thought it was.

เอาจริงๆการแสดงของ Foster ไม่ได้มีอะไรมากกว่าโสเภณีทั่วๆไป (ชวนให้นึกถึง Lolita (1962) อยู่เล็กน้อย) แต่เพราะขณะนั้นเธอเพิ่งอายุเพียง 12 ขวบ ย่อมสร้างความตกตะลึง คาดไม่ถึง จากการแต่งตัววับๆแวมๆ พฤติกรรมแรดร่านราคะ ท่าทางมึนเมา ดวงตาล่องลอยจากการเสพยา สามัญสำนึกของผู้ชมย่อมตระหนักว่านั่นคือสิ่งผิดปกติ วิปริต ไม่สามารถให้การยินยอมรับ … บทบาท Iris จึงเปร่งประกายขึ้นมาจากโคลนตม เจิดจรัสยิ่งกว่านางฟ้า Betsy

นักข่าวจาก The New York Times เคยสัมภาษณ์ถาม Foster ว่าทำอย่างไรถึงรับบทโสเภณีเด็กอายุ 13 ได้อย่างสมจริงเหลือเกิน คำตอบของเธออาจฟังดูกร้านโลก แต่ก็สะท้อนสภาพความเป็นจริงที่พบเห็นได้ในสังคมสมัยนั้น (จนถึงปัจจุบัน)

Well, I’ve never been [a prostitute]. And I’ve never observed or talked to a teenage prostitute. But listen, kids aren’t stupid anymore, like they used to be. Everybody knows what hookers are.


ถ่ายภาพโดย Michael Crawford Chapman (1935-2020) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City แต่ไปเติมโตยัง Wellesley, Massachusetts วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬา ไม่เคยมีความสนใจการถ่ายภาพหรือวงการภาพยนตร์แม้แต่น้อย โตขึ้นเข้าศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Columbia University จากนั้นทำงานช่างเบรค (Breakman) ให้กับ Erie Lackawanna Railroad, หลังกลับจากอาสาสมัครทหาร พ่อตาฝากฝังให้ทำงานเป็นผู้ช่วยตากล้อง ปรับโฟกัส ถ่ายทำโฆษณาใน New York City จับพลัดจับพลูกลายเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) ภาพยนตร์ The Godfather (1975), Jaws (1975), จนได้รับเครดิตถ่ายภาพ Taxi Driver (1976), Invasion of the Body Snatchers (1978), Raging Bull (1980), Ghostbusters II (1989), The Fugitive (1993) ฯ

ด้วยงบประมาณจำกัดของ Mean Streets (1973) จึงมีการใช้กล้อง Hand Held ขยับเคลื่อนไหวโดยไม่ยึดติดอุปกรณ์ใดๆ ‘unchained camera’ แต่ด้วยงบประมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวของ Taxi Driver (1976) (แต่ก็ไม่ได้เยอะมากมายขนาดนั้น) ทำให้สามารถใช้ตัวช่วยอย่างเครน รางเลื่อน ซึ่งทำให้งานภาพมีความลื่นไหล ไม่ส่ายไปส่ายมา และสามารถมอบสัมผัสล่องลอย เหมือนฝัน ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย … รับอิทธิพลการถ่ายภาพจากภาพยนตร์ของ Jean-Luc Godard และตากล้อง Raoul Coutard

ทิศทางมุมกล้องก็มีความผิดแผกแปลกตา หลายคนอาจจดจำได้แค่ ‘God’s eye view’ ในฉากไคลน์แม็กซ์ของหนัง แต่ผมยังรู้สึกตื่นตากับรถแท็กซี่ Checker Taxicab A11 สรรหาสารพัดมุมกล้องทั้งภายนอก-ใน โดยเฉพาะช็อตที่พบเห็นท้องถนนเบื้องหน้าพร้อมกระจกมองหลัง เก็บทุกรายละเอียดได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ … ถ้าเปรียบรถแท็กซี่คันนี้เป็นผู้หญิง (หรือผู้ชายก็ได้นะ) ถือว่าถ่ายภาพทรวงทรงองค์เอว จนแทบเปลือยเปล่าล่อนจ้อน

ไฮไลท์การถ่ายภาพของ Taxi Driver (1976) คือการละเล่นกับแสงสีสัน ตอนกลางวันอาจไม่มีอะไรโดดเด่น (แต่ลวดลายสีสันเสื้อผ้า ถือว่าละลานตาไปหมด) พอค่ำคืนดึกดื่น ท้องถนนมืดมิด ส่องสว่างด้วยหลอดไฟนีออน อาบฉาบด้วยแสงสีแดง-เขียว บางครั้งยังมีการบิดเบือน ปรับโฟกัสคม-ชัด ย้อมเฉดสี สโลโมชั่น จุดประสงค์เพื่อสร้างสัมผัสดิสโทเปีย (Dystopian) ดูสกปรกโสมม สะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของสังคม

เมื่อตอน Mean Streets (1973) ทั้งๆเรื่องราวมีพื้นหลัง Littly Italy กลับมีเงินทุนสำหรับถ่ายทำยังสถานที่จริงแค่เพียงสัปดาห์เดียว, Taxi Driver (1976) สามารถปักหลักอาศัยอยู่ New York City ตลอดระยะเวลาโปรดักชั่น เพราะตัวละครต้องขับรถแท็กซี่ตระเวนไปโดยรอบ Brooklyn, Broadway, Manhattan (แต่ไม่เห็นไปถึง Harlem) ส่วนใหญ่จะอยู่ฟากฝั่ง West Side ซึ่งทศวรรษนั้นมีสภาพเสื่อมโทรม ดูเหมือนเมืองที่ใกล้ล้มละลาย โดยไม่รู้ตัวเก็บบันทึกภาพประวัติศาสตร์ ‘Time Capsule’ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม

We were there in ’76, the whole West Side was bombed out. There really were row after row of condemned buildings and that’s what we used to build our sets, were condemned buildings. Now it’s fashionable real estate. But New York and Times Square was shuddering and disgusting. It’s just exciting to see the city bounce back and become the great place it is today from where it was then. We didn’t know we were documenting what looked like the dying gasp of New York.

โปรดิวเซอร์ Michael Phillips กล่าวถึงสภาพของ West Side ในมหานคร New York City ช่วงทศวรรษ 70s

แซว: ช่วงระหว่างการถ่ายทำเห็นว่าคนงานเก็บขยะใน New York City กำลังมีการชุมนุมประท้วงหยุดงาน (ไม่รู้เรื่องค่าแรงหรือสวัสดิการสังคม) บรรดากองขยะที่พบเห็นเอ่อล้นเต็มท้องถนน ก็เพราะไม่มีใครมาเก็บจริงๆ ไม่ใช่การจัดฉาก

จริงๆหนังมีแผนจะเริ่มต้นถ่ายทำตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1974 แต่ทั้ง Marty (ติดงาน Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974)) และ De Niro (รับงานภาพยนตร์ 1900 (1976)) ต่างคิวไม่ว่างงานทั้งคู่ โปรดักชั่นเลยต้องเลื่อนไปหนึ่งปีเต็ม เตรียมงานสร้างช่วงต้นปี ถ่ายทำระหว่างมิถุนายน – สิงหาคม ค.ศ. 1975

เผื่อใครสนใจอยากพบเห็นสภาพมหานคร New York City ที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตอนถ่ายทำ Taxi Driver (1976) ลองคลิกลิ้งค์พวกนี้ดูนะครับ
https://www.scoutingny.com/new-york-youve-changed-taxi-driver-part-1/
https://onthesetofnewyork.com/taxidriver.html
https://movie-locations.com/movies/t/Taxi-Driver.php


ผกก. Scorsese มีความสนใจอยากร่วมงาน Dan Perri (เกิดปี 1945) นักออกแบบ Graphic Designer (เคยเป็นลูกน้อง Saul Bass ก่อนแยกตัวออกมาทำ Title Sequence ให้กับหนังของ Gene Corman) มาตั้งแต่ Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974) แต่ถูกสตูดิโอ Warner Bros. บอกปัดปฏิเสธเพราะมองว่าสิ้นเปลือง รวมถึงตอนนั้น Perri ยังไม่เป็นรู้จักสักเท่าไหร่ จนกระทั่งความสำเร็จล้นหลามจาก The Exorcist (1973) จึงไร้ข้ออ้างข้างๆคูๆอีกต่อไป

Perri นำฟุตเทจจากกองถ่ายสอง (Second Unit) มาปรับแต่งโทนแสงสีสันให้ดูฉูดฉาด ลดความเร็วสโลโมชั่น และใช้เทคนิค Slit-Scan (การถ่ายภาพสแกนกรีด) เพื่อให้แสงไฟนีออนลากยาว ราวกับมีความเร็วสัมพันธ์ ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างสัมผัสดิสโทเปีย โลกบิดเบี้ยว เหนือจินตนาการ (Surreal) เหมือนมีบางสิ่งอย่าง(ชั่วร้าย)ซุกซ่อนเร้น พบเห็นผ่านสายตาของ Travis Bickle

ระหว่างที่ Travis มาสมัครงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ สังเกตด้านหลังเหมือนชายสองคนกำลังทะเลาะเบาะแว้ง (ทำออกมาคล้ายๆ Citizen Kane (1941)) แม้ไม่ได้ยินเสียงสนทนาใดๆ แต่เราสามารถตีความถึงโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง สับสนวุ่นวาย ไม่ได้ข้องเกี่ยวกลับยังได้รับผลกระทบ (ผมเห็นแล้วยังรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจอยู่เล็กๆ)

ทีแรกผมตั้งใจแคปภาพสารพัดมุมกล้อง เพื่อให้เห็นว่าหนังเก็บรายละเอียดรถแท็กซี่คันนี้ในทุกๆทิศทาง แล้วจู่ๆพบเห็นป้ายโฆษณาหน้าโรงหนัง The Texas Chain Saw Massacre (1974) หลายคนน่าจะเข้าใจความเชื่อมโยงได้เลยกระมัง

ผู้โดยสารชายสูงวัยกับหญิงสาวผิวดำเอาะๆ กำลังหยอกล้อ เล่นจ้ำจี้อยู่ด้านหลัง พูดเร่งกับ Travis ขับรถเร็วๆได้ไหม จากนั้นตัดไปภาพแท็กซี่กำลังเคลื่อนเข้าอุโมงค์ ตามด้วยท่อน้ำประปาแตก … บอกใบ้ขนาดนี้ก็อยู่ที่คุณมีจินตนาการ 18+ มากน้อยเพียงใด

พนักงานสาวร้านขายป๊อปคอร์นในโรงภาพยนตร์ (18+) แม้เธอพยายามปฏิเสธ Travis แต่ตัวจริงคือ Diahnne Abbott แฟนสาว/ภรรยาของ Robert De Niro (แต่งงานระหว่าง 1976-88 มีบุตรร่วมกันสองคน)

เสียงบรรยายของ Travis กำลังกล่าวถึงการปรากฎตัวครั้งแรกอย่างสโลโมชั่นของ Betsy แต่ผมไม่ได้มองเธอเลยนะ จับจ้องแต่ผกก. Scorsese มาขโมยซีนอย่างเต็มๆ … จริงๆแล้ว Marty ตั้งใจจะ Cameo แค่ช็อตนี้นะครับ แต่ตอนกลางเรื่องมันมีเหตุสุดวิสัยบางอย่าง แล้วแต่ผู้ชมว่าจะมองการปรากฎตัวทั้งสองครั้งมีความเชื่อมโยงอะไรยังไง

แม้ว่า Cybill Shepherd จะแจ้งเกิดกับ The Last Picture Show (1971) และแต่งงานผกก. Peter Bogdanovich (ขนาดว่าทอดทิ้งภรรยาเพื่อมาแต่งงานใหม่กับเธอ) แต่ไม่มีใครครุ่นคิดว่ายัยนี่จะเป็นนักแสดงที่ดีไปมากกว่า “Cybill Shepherd type” ทั้งซีเควนซ์เป็นการดั้นสด ‘improvised’ เพราะเธอจดจำบทพูดแทบไม่ได้ ซึ่งสร้างความเหน็ดเหนื่อยหน่ายใจให้กับ Robert De Nero แต่สำหรับนักตัดต่อ Marcia Lucas นั่งดู Outtakes (ฟุตเทจถ่ายเสีย/ไม่ได้ใช้) ของเธออย่างเพลิดเพลิน ตลกขบขัน

แซว: ขนาดมุมกล้องช็อตนี้ยังมีเสาคั้นกลางระหว่าง Travis กับ Betsy บอกใบ้ว่ายังไงพวกเขาไม่มีวันครองคู่รักกัน

We always said we were looking for a Cybill Shepherd type. How much worse can she be than a Cybill Shepherd type? … But she was always a Cybill Shepherd ‘type.’

Paul Schrader

แซว2: ชื่อตัวละคร Betsy คืออดีตแฟนสาวสมัยเรียนมัธยมของ Paul Schrader เลิกรากันเพราะสวยแต่รูป จูบไม่หอม

บทเพลงที่ Betsy กล่าวถึงให้กับ Travis (แล้วเดินทางไปซื้อแผ่นเสียงให้เป็นของขวัญ) ชื่อว่า The Pilgrim, Chapter 33 (1971) แต่ง/ขับร้องโดย Kris Kristofferson

See him wasted on the sidewalk in his jacket and his jeans,
Wearin’ yesterday’s misfortunes like a smile
Once he had a future full of money, love, and dreams,
Which he spent like they was goin’ outta style
And he keeps right on a’changin’ for the better or the worse,
Searchin’ for a shrine he’s never found
Never knowin’ if believin’ is a blessin’ or a curse,
Or if the goin’ up was worth the comin’ down

He’s a poet, he’s a picker
He’s a prophet, he’s a pusher
He’s a pilgrim and a preacher, and a problem when he’s stoned
He’s a walkin’ contradiction, partly truth and partly fiction,
Takin’ ev’ry wrong direction on his lonely way back home.

He has tasted good and evil in your bedrooms and your bars,
And he’s traded in tomorrow for today
Runnin’ from his devils, lord, and reachin’ for the stars,
And losin’ all he’s loved along the way
But if this world keeps right on turnin’ for the better or the worse,
And all he ever gets is older and around
from the rockin’ of the cradle to the rollin’ of the hearse,
The goin’ up was worth the comin’ down

He’s a poet, he’s a picker
He’s a prophet, he’s a pusher
He’s a pilgrim and a preacher, and a problem when he’s stoned
He’s a walkin’ contradiction, partly truth and partly fiction,
Takin’ ev’ry wrong direction on his lonely way back home.
There’s a lotta wrong directions on that lonely way back home.

ค่ำคืนหนึ่ง Travis ได้ผู้โดยสารคือว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดี Charles Palantine แต่ให้ตายเถอะโรบิน ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้เหมือนจะถูกย้อมสีให้ออกโทนเขียว ซึ่งเป็นสีแห่งความชั่วร้าย บอกใบ้ถึงความปอกลอกของนักการเมือง สัญญาจะทำโน่นนี่นั่น แต่ทั้งหมดล้วนแค่สายลมปาก

บางทีอาจเพราะคำแนะนำของ Travis ฟังดูนามธรรม จับต้องไม่ได้เกินไป ทำการเปรียบเปรยมหานคร New York City ราวกับท่อน้ำทิ้ง เต็มไปด้วยขยะ สิ่งสกปรกโสมม แทบมิอาจอดรนทน ประธานาธิบดีควรลงมาช่วยเก็บกวาด กดน้ำชักโครกให้โถส้วมขาวสะอาด

Well, whatever it is, he should clean up this city here because this city here’s like an open sewer. It’s full of filth and scum. Sometimes I can hardly take it. Whatever ever becomes the president should just really clean it up. Know what I mean? Sometimes I go out and I smell it. I get headaches, it’s so bad. And they just like… They just never go away, you know? I think that the president should just clean up this mess. He should flush it right down the fucking toilet.

Travis Bickle

หลังจากรับส่งว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดี Charles Palantine ลงโรงแรมสุดหรู Travis ขับรถต่อมาแวะจอด Variety Theatre แล้วได้พบเจอ Iris จู่ๆเปิดประตูขึ้นมาขอความช่วยเหลือ แล้วถูก Sport ฉุดคร่าลงจากรถ จ่ายเงิน $20 ดอลลาร์เป็นค่าปิดปาก (ุยุคสมัยนั้นเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยนะ)

หลายคนอาจมองฉากนี้แค่แนะนำตัวละคร Iris แต่ความติดต่อเนื่องหลังจากการเพิ่งส่งว่าที่ผู้สมัครปธน. Palantine ลงโรงแรมหรู เป็นการสะท้อนความตรงกันข้ามของสองเรื่องราวที่สามารถเติมเต็มกันและกัน

  • เรื่องราวของ Betsy และ Palantine สะท้อนสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ การเมืองระดับมหภาค
  • ขณะที่ Iris และ Sport คือด้านมืดสังคมที่ไม่มีใครให้การเหลียวแล เรื่องราวระดับจุลภาค

เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ ภาพยนตร์ที่ Travis รับชมกับ Betsy ชื่อว่า Sexual Freedom in Denmark (1970) ซึ่งไม่ได้ปรากฎอยู่บนป้ายโฆษณาโปรแกรมหนังควบ Sometime Sweet Susan (1975) หรือ Swedish Marriage Manual (1969)

ผกก. Scorsese บอกว่านี่คือช็อตสำคัญที่สุดของหนัง! ระหว่างที่ Travis กำลังคุยโทรศัพท์กับ Betsy พยายามโน้มน้าวชักชวนมานัดเดทอีกครั้ง แต่เธอกลับนิ่งเงียบ ตอบปัดปฏิเสธ ไม่อยากจะพบเจอเขาอีกต่อไป กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลมายังโถงทางเดินที่ว่างเปล่า สะท้อนถึงสภาพจิตใจตัวละคร ต่อจากนี้ไม่มีเธออีกต่อไป … ขนาดว่ากล้องยังรู้สึกอับอายที่จะบันทึกภาพการสนทนาครั้งนี้ไว้

สถานที่แห่งนี้อยู่ภายในโรงภาพยนตร์ Ed Sullivan Theater ตั้งอยู่ 1697 Broadway, Manhattan สถานที่จัดรายการ Talk Show ของสถานีโทรทัศน์ CBS (ปัจจุบันจัดรายการ The Late Show with Stephen Colbert)

เหตุคือว่านักแสดงที่ติดต่อไว้ George Memmoli (เคยร่วมงานผกก. Scorsese เรื่อง Mean Streets (1973) รับบทเจ้าของร้านสนุกเกอร์ ผู้ริเริ่มต้นคำว่า ‘Mook’) มีอาการปวดหลังจึงขอถอนตัวออกไป แล้วคงหานักแสดงคนอื่นแทนไม่ทัน ผกก. Scorsese ก็เลยตัดสินใจรับบทบาทนี้เสียเอง โดยมี De Nero คอยช่วยเหลือเป็น ‘acting coach’ ให้ฉากนี้ถ่ายทำสำเร็จลุล่วง

ไม่รู้ว่าจงใจหรือเพราะ Scorsese มีความประม่าในการแสดงจริงๆ สังเกตจากน้ำเสียงสั่นๆ พูดวกไปวนมา ประโยคเดิมซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ เหมือนคนสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง แต่โดยไม่รู้ตัวมีความเหมาะสมกับตัวละครอย่างมากๆ เพราะขณะนั้นจับได้คาหนังคาเขาว่าภรรยาคบชู้นอกใจ ไม่รู้จะทำอะไรยังไง สิ่งที่พูดบอกออกไปแม้คือความตั้งใจ แต่ก็ไม่แน่ว่าจะทำจริงหรือไม่ (พื้นหลังแสงสีเขียว แบบเดียวกับว่าที่ผู้สมัครปธน. Charles Palantine ดูชั่วร้าย บุคคลอันตราย) … เหตุการณ์ดังกล่าวได้ปลูกฝังแนวคิดให้กับ Travis ว่าเราควรโต้ตอบในสิ่งที่ครุ่นคิดว่าไม่ถูกต้อง

ตลอดทั้งฉากที่ Travis ขอคำปรึกษาจากเพื่อนคนขับรถ Taxi สังเกตว่ามีการอาบฉาบด้วยแสงสีแดง แต่ผมไม่รู้สึกว่าแฝงนัยยะเลวร้ายอะไร แค่หัวข้อสนทนาของพวกเขาเป็นสิ่งที่ฟังไม่ได้สดับ ไม่รู้พูดคุยเรื่องราวห่าเหวอะไร (อาจมองว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของ Travis ที่ไม่สามารถเปิดเผยออกมาก็ได้กระมัง)

ปัญหาของ Travis เริ่มต้นจากไม่ได้รับการยินยอมรับจาก Betsy ต่อด้วยผู้โดยสารชายแปลกหน้า ครุ่นคิดจะเข่นฆาตกรรมภรรยานอกใจ นั่นสร้างความสับสน ขัดย้อนแย้งภายใน ไม่รู้จะทำอะไรยังไง อยากหลบหนีไปให้แสนไกล แต่โดยไม่รู้ตัวแนะนำของเพื่อนคนขับรถแท็กซี่ สามารถชี้นำทางให้กับเขาค้นพบกับตัวตนเอง

Look. Look at it this way. A man … A man takes a job, you know. And that job … you know, that becomes what he is. You know, like You do a thing, and that’s what you are. I’ve been a cabbie for 17 years. Ten years at night. And I still don’t own my own cab, you know. Why? Because I don’t want to. That must be what I want. You know, to be on the night shift, driving somebody else’s cab. You understand? You get a job, you become the job.

หลายคนอาจไม่เข้าว่า “You get a job, you become the job.” หมายความว่าอะไร? ผมนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษ “You are what you eat” กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องการกิน/บริโภค ยังเหมารวมถึงสิ่งต่างๆที่เราทำย่อมสะท้อนตัวตนและจิตวิญญาณ … พูดง่ายๆก็คือ ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ทำ จะไปยื้อยั้งชั่งใจอยู่ทำไม

Schrader เคยเขียนหนังสือถึงความหลงใหลในผลงานผกก. Robert Bresson หนึ่งในนั้นคือการอ้างอิงถึงมื้ออาหารจาก Diary of a Country Priest (1951) โดยให้ Travis รับประทานนม ขนมปัง และเหล้าที่ทำจากผลไม้ Apricot

He has milk, bread, and apricot brandy. That’s also from Diary of a Country Priest, and so is, “I think I’ve got stomach cancer.” The country priest is dying of stomach cancer. He starts eating just bread dipped in wine, that’s all he can eat, which only accelerates his problem.

Paul Schrader

สถานที่ที่ Travis เดินทางมาซื้ออาวุธปืนคือ 87 Columbia Heights, Brooklyn อพาร์ทเม้นท์สูง 5 ชั้น ไม่มีลิฟท์ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ 1915 มองออกไปภายนอกพบเห็นวิวแม่น้ำ East River และทิวทัศน์ New York City Skyline ซึ่งแฝงนัยยะการได้ครอบครองอาวุธปืน ทำให้พวกเขาอยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร มีอำนาจในการต่อรอง ควบคุมครอบงำ บีบบังคับ เข่นฆาตกรรมผู้อื่น

ปล. ผมไม่ได้มีความสนใจเรื่องอาวุธปืน แต่ถ้าใครอยากรับรู้จักคลิกลิ้งค์ https://www.imfdb.org/wiki/Taxi_Driver

เมื่อตอน Mean Street (1973) มีอยู่สองสามครั้งที่ตัวละคร Charlie เอามือยื่นเข้าหาเปลวไฟ นอกจากสื่อถึง ‘เล่นกับไฟ’ ยังเป็นการท้าพิสูจน์(จิตใจ)ตนเอง จะมีความอดรนทนต่อความเจ็บปวดทางร่างกายได้นานเพียงไหน แบบเดียวกับ Taxi Driver (1976) หลังจาก Travis เริ่มปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง ออกกำลังกาย วิดพื้น ดึงข้อ ฯ (ทางร่างกาย) การเอามือยื่นเข้าหาเปลวไฟ ยังสามารถมองเป็นการฝึกฝนทางจิตใจ

ในบทหนังมีข้อความเขียนแค่ว่า Travis พูดคุยกับตนเองหน้ากระจก แต่ไม่มีรายละเอียดบทสนทนาใดๆ ทั้งหมดคือการดั้นสด ‘improvised’ ของ De Niro แบบเดียวกับที่เคยชักแม่น้ำทั้งห้าใน Mean Street (1973)

ผกก. Scorsese เล่าว่าได้แรงบันดาลใจซีเควนซ์นี้จากภาพยนตร์ Reflections in a Golden Eye (1967) ฉากที่ตัวละครของ Marlon Brando เผชิญหน้ากับตนเองในกระจก, ส่วนแรงบันดาลใจของ De Niro เปิดเผยว่าเลียนแบบมุกตลกของ Bruce Springsteen ล้อเล่นกับผู้ชมระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต

ในบริบทของหนังผมมองว่าไม่ใช่แค่ Travis สูญเสียความสามารถในการสื่อสารผู้อื่น จนเริ่มหันมาพูดคุยกับตนเองเท่านั้นนะครับ แต่ยังหันมาสบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” สอบถามผู้ชมถึงการมีตัวตน ตั้งคำถามว่าฉันคือใคร? ต้องการจะทำอะไรต่อไป?

Ashes and Diamonds (1958) คือหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของผกก. Scorsese โดยเฉพาะช็อตสุดท้ายที่ตัวละครทิ้งตัวลงนอน งอแขนงอขา ท่าทางเหมือนทารกในครรภ์ แบบเดียวกับช็อตนี้ Travis นอนขดอยู่บนเตียง สามารถตีความถึงจุดเปลี่ยน ราวกับการถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่

ชายผิวสีคนหนึ่งบุกปล้นร้านสะดวกซื้อ ในตอนแรก Travis มีความโล้เล้ลังเลใจ ปืนอยู่ในกระเป๋าจะชักออกมาโต้ตอบดีไหม ปรากฎว่าการกระทำดังกล่าวได้รับคำขอบคุณจากเจ้าของร้าน นั่นคือรางวัล ความสำเร็จ รู้สึกพึงพอใจ ตระหนักว่าสิ่งที่ครุ่นคิดกระทำอยู่นั้นถูกต้องเหมาะสม ถึงเวลาเตรียมตัวสำหรับขั้นตอนต่อไป

มีสองรายการที่ Travis รับชมผ่านโทรทัศน์ (ไม่นับรวมรายการหาเสียงของ Charles Palantine) ประกอบด้วย American Bandstand (1952–1989) และ The Young and the Restless (1973) ผมไม่แน่ใจว่าเขากำลังดูเรื่องไหนระหว่างพลั้งพลาดทำโทรทัศน์ล้ม แต่นั่นสื่อถึงขีดสุดความอดกลั้นฝืนทน ถึงเวลาต้องออกจากโลกมายา/หน้าจอโทรทัศน์ เพื่อทำบางสิ่งอย่างจับต้องได้ มีตัวตน

Travis เขียนจดหมายถึงบิดา-มารดา แต่มันกลับเต็มไปด้วยความชอบกล ฉงนสงสัย เพราะใช้ถ้อยคำโป้ปดหลอกลวง แอบอ้างว่าตนเองทำงานหน่วยสืบราชการลับ คบหาแฟนสาวชื่อ Betsy ฯ ทั้งหมดเป็นการสร้างภาพลวงหลอกตา ซึ่งก็น่าสงสัยว่าทำไมถึงเขียนออกมาแบบนั้น มีลับลมคมใน ปัญหาขัดแย้งอะไรเคยบังเกิดขึ้นหรือเปล่า? รวมถึงความเป็นไปได้ว่าทั้งสองอาจไม่มีตัวตน เสียชีวิตจากไปแล้วก็ได้เช่นกัน (เพราะไม่เคยมีจดหมายตอบกลับ)

ผมมองจดหมายฉบับนี้สะท้อนปัญหาครอบครัวของ Travis อาจได้รับการเลี้ยงดูแลแบบตามใจ หรือถูกบีบบังคับจนไร้ซึ่งอิสรภาพ เลยไม่ต้องการหวนกลับไปอาศัยอยู่กับบิดา-มารดา สรรหาสรรพข้ออ้างเพื่อให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตโดยสันโดษ ตามลำพัง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นใด

ขนนกปักที่หมวกของ Sport เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ The Searchers (1956) ที่มีเรื่องราวของ John Wayne ติดตามหาหลานสาวที่ถูกอินเดียแดงลักพาตัว ล้อกับ Travis ต้องการให้ความช่วยเหลือ Iris

เกร็ด: ดั้งเดิมตัวละคร Sport คือชายผิวสี มีบทพูดห้าบรรทัด แต่ทั้งผกก. Scorsese และนักเขียน Schrader ต่างหวาดกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก Racism เลยปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นคนขาว แล้วทำการโยกย้าย Harvey Keitel จากบทบาท Tom (รับบทโดย Albert Brooks) เพื่อนร่วมงานของ Betsy

ห้องของ Iris Steensma เต็มไปด้วยเทียนไข ให้ความรู้สึกเหมือนโบสถ์/วิหารศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ต้องห้าม หรืออาจจะตีความถึงสรวงสวรรค์ (เพราะลูกค้าจะได้ขึ้นสวรรค์กับเด็กสาวอายุ 12 ปี) สะท้อนความเชื่อศรัทธาตัวละครได้ด้วยเช่นกัน

ตอนแรกผมมอง Iris ภายนอกดูแรดร่านไม่ต่างจาก Lolita (1962) แต่ไปๆมาๆกลายเป็น ‘Damsel in distress’ คล้ายๆแบบ Ann Darrow ภาพยนตร์เรื่อง King Kong (1933) โดย Travis สามารถเปรียบดั่ง King Kong ไม่รับรู้ตนเองว่ากำลังทำอะไร และใครช่างสังเกตชุดทหาร (ตั้งแต่ตัดผมโมฮอก) บริเวณแขนจะมีอาร์มติดเสื้อลวดลาย King Kong

ในบทหนังไม่ได้มีเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับทรงผมโมฮอก (Mohawk) แต่ได้รับคำแนะนำจากนักแสดง Victor Magnotta รับบทเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ (Secret Service) ซึ่งเคยมีประสบการณ์พานผ่านสงครามเวียดนาม บอกว่าใครก็ตามโกนศีรษะหรือตัดทรงผมนี้ แสดงว่าสภาพจิตใจถึงขีดสุด พร้อมจะรับภารกิจท้าความตาย

in Saigon, if you saw a guy with his head shaved—like a little Mohawk—that usually meant that those people were ready to go into a certain Special Forces situation. You didn’t even go near them. They were ready to kill.

Victor Magnotta

แซว: ผมเพิ่งสังเกตเห็นว่าหนังจงใจถ่ายให้ติดป้าย Prohibited เป็นการบอกว่าอย่ามาแหยมกับฉันเด็ดขาด!

สถานที่แห่งนี้คือ Merchants’ Gate Plaza ตั้งอยู่ประตูทางเข้า Central Park ในวงเวียน Columbus Circle ด้านหลังของผู้สมัครเลือกตั้งปธน. Charles Palantine คือรูปปั้นแกะสลัก USS Maine National Monument สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1912-13 ออกแบบโดย Harold Van Buren Magonigle แกะสลักโดย Attilio Piccirilli เพื่ออุทิศให้ผู้เสียชีวิต USS Maine จากอุบัติเหตุเรือระเบิดที่ท่าเรือ Havana เมื่อปี ค.ศ. 1895

การเลือกสถานที่แห่งนี้ถือว่าน่าสนใจมากๆ นั่นเพราะ Travis เคยเป็นทหารเรือในช่วงสงครามเวียดนาม ได้รับการปลดประจำการ ‘honorable discharge’ แต่สภาพของเขาตอนนี้ไม่ได้มีความ ‘honorable’ เลยสักนิด! และสิ่งน่าสนใจมากๆคือท่าทางการปราศัยของ Palantine หลายครั้งยกมือขึ้นข้างเลียนแบบรูปปั้นข้างหลัง ทำตัวเหมือนตนเองเป็นผู้เสียสละชีพเพื่ออุดมการณ์ แต่กลับไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น

ดั้งเดิมนั้นไคลน์แม็กซ์ของหนังไม่ได้มีการปรับแต่งสีสันใดๆ เพียงทำให้สีแดง(เลือด)มีความคมเข้มขึ้นมา แต่หลังฉายรอบปฐมทัศน์แล้วได้เสียงโห่ไล่ กลัวว่าจะถูกจัดเรตติ้ง X เลยจำต้องปรับโทนสีให้มืดลง ลดความเข้มของเฉดสีแดง (จนแทบมองไม่เห็นสีเลือด) ผลลัพท์ทำให้หนังได้รับเรต R น่าเสียดายไม่หลงเหลือฟีล์มต้นฉบับที่ยังไม่ได้ปรับแต่งสีสัน

สำหรับผกก. Scorsese ยินยอมรับได้กับ ‘artistic choices’ ของตนเอง มองเป็นการสร้างบรรยากาศทะมึน อึมครึม นำสู่เหตุการณ์หายนะ แต่สำหรับนักเขียน Schrader กลับมองว่าผลลัพท์ออกมาแตกต่างจากที่ควรเป็น

It hurts the film. I hoped it would help create a surreal atmosphere, but it didn’t have that effect; it was more surreal with the candy-red blood. But if you have to pay that price for an R, you pay it, because you just can’t get an X played. I don’t think the studio would have allowed it, would have released it.

Paul Schrader

หลังเสร็จสิ้นภารกิจกวาดล้างขยะสังคม ความตั้งใจของ Travis คือต้องการฆ่าตัวตายด้วยเกียรติ (Death with Honor) แบบเดียวกับซามูไรคว้านท้อง (Seppuku) แต่โชคร้ายกระสุนหมด เลยทำเพียงยกมือขึ้นมาทำท่าเหนี่ยวไก … ไม่รู้เพราะช็อตนี้หรือเปล่าทำให้ De Niro ได้แสดงภาพยนตร์ The Deer Hunter (1978)

การเตรียมงานช็อตนี้ใช้เวลายาวนานถึง 3 เดือน (ถ่ายทำจริง 20 นาที) เพราะเลือกถ่ายทำยังอพาร์ทเม้นท์จริงๆ 226 East 13th Street, Manhattan (ความสูง 6 ชั้น 28 ห้อง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930) ซึ่งต้องทำการเจาะเพดานชั้นบน วางรางเลื่อนเพื่อให้สามารถก้มถ่าย ‘God’s Eye View’ จากห้องพักสู่โถงทางเดิน ราวกับพระเจ้าจับจ้องมองลงมา หรืออาจจะมองว่าวิญญาณล่องลอยสู่สรวงสวรรค์

ได้ยินเสียงอ่านจดหมายขอบคุณจากครอบครัวของ Iris Steensma แต่ผมว่าผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะตระหนักได้ว่า เธอไม่เคยครุ่นคิดอยากกลับไป ที่กลายเป็นโสเภณีเพราะต้องการหลบหนีออกจากบ้าน ซึ่งข้อความ(ในจดหมาย)ล้อกับจดหมายที่ Travis เคยเขียนส่งให้บิดา-มารดา เต็มไปด้วยคำโกหกหลอกลวง สร้างภาพให้ดูดี ความเป็นจริงมันช่าง !@#$% ไม่สามารถพูดบอกออกมา

จับพลัดจับพลู Betsy ขึ้นรถแท็กซี่ของ Travis ปฏิกิริยาสีหน้าของเธอดูผิดแผกแตกต่าง จากเคยปฏิเสธต่อต้าน คราวนี้เต็มไปด้วยอารมณ์ร่านสวาท เหมือนต้องการหวนกลับมาคืนดี แต่เขากลับเพิกเฉยลอยชาย สิ่งที่มันพานผ่านมาก็ปล่อยให้มันผ่านพานไป ไม่หวนย้อนกลับสู่อดีตอันขมขื่น มุ่งสู่อนาคตสดใส … รวมถึง Closing Credit กล้องถ่ายภาพจากกระจกหน้า แต่ขณะเดียวกันยังพบเห็นภาพสะท้อนจากกระจกมองหลัง นัยยะถึงการมองไปข้างหน้า อดีตพานผ่านไปแล้วหลงเหลือเพียงในความทรงจำ

ประเด็นคือก่อนหน้านี้ Travis ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ อาการสาหัสขนาดนั้น ปัจฉิมบทตั้งแต่อ่านจดหมาย รวมถึง Betsy ต้องการหวนกลับมาคืนดี ทั้งหมดที่บังเกิดขึ้นนี้มันเป็นเหตุการณ์จริง หรือเพียงในความเพ้อฝันก่อนตาย?? นี่เป็นสิ่งได้รับการโต้ถกเถียงกันอย่างปวดเศียรเวียนเกล้า ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการ

There has been much discussion about the ending, in which we see newspaper clippings about Travis’s “heroism” of saving Iris, and then Betsy gets into his cab and seems to give him admiration instead of her earlier disgust. Is this a fantasy scene? Did Travis survive the shoot-out? Are we experiencing his dying thoughts? Can the sequence be accepted as literally true? … I am not sure there can be an answer to these questions. The end sequence plays like music, not drama: It completes the story on an emotional, not a literal, level. We end not on carnage but on redemption, which is the goal of so many of Scorsese’s characters.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

Scorsese and writer Paul Schrader append the perfect conclusion to Taxi Driver. Steeped in irony, the five-minute epilogue underscores the vagaries of fate. The media builds Bickle into a hero, when, had he been a little quicker drawing his gun against Senator Palantine, he would have been reviled as an assassin. As the film closes, the misanthrope has been embraced as the model citizen—someone who takes on pimps, drug dealers, and mobsters to save one little girl.

นักวิจารณ์ James Berardinelli

ส่วนความคิดเห็นของผกก. Scorsese และนักเขียน Schrader มองในทิศทางคล้ายๆ สูงสุดหวนกลับสู่สามัญ ตอนจบของหนังคือจุดเริ่มต้นการเดินทาง(ครั้งใหม่)ของ Travis ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้อง Happy Ending กลับกลายเป็นคนดีเสมอไป แต่เหมือนระเบิดเวลา ถ้าเกิดเขาน็อตหลุดคราวหน้า อาจไม่ใช่วีรบุรุษกอบกู้โลกอีกต่อไป

The epilogue is not a dream sequence, it’s just the restarting of the movie. I’ve always felt that the last frame could be spliced to the first frame and the movie started all over again. However, you are right to say that good movies leave themselves open for interpretation.

We had three different opinions, all of which I think are partially valid. The one which Marty and I adhered to was that he through irony is cheated out of the thing he wanted most, which was glorious self-destruction, and now is forced to re-enact the drama, and the movie has to start all over again. Everything is in place. We’ll start it over. Someone else told me, he says, “This character will never again in his whole life do anything interesting. He has done his one definitive act and he will now merge into the crowd and become a total nobody”. And that’s the interesting interpretation. And the third interpretation is that he has somehow become a better person, which I don’t agree

Paul Schrader 

ตัดต่อโดย Marcia Lucas, Tom Rolf, Melvin Shapiro

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Travis Bickle บางครั้งได้ยินเสียงบรรยายระหว่างเขียนจดหมาย/ไดอารี่ เริ่มต้นจากสมัครงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ ค่ำคืนดึกดื่นรับ-ส่งผู้โดยสารทั่วมหานคร New York City โดยเรื่องราวหลักๆสามารถแบ่งออกเป็น …

  • แนะนำตัวละคร Travis Bickle
    • อดีตทหารผ่านศึก ดึกดื่นนอนไม่หลับ เลยสมัครงานเป็นคนขับแท็กซี่
    • กิจวัตรวันเวลาว่างๆ หลังเลิกงานถ้ายังนอนไม่หลับ ซื้อตั๋วเข้าไปรับชมภาพยนตร์ (18+)
    • แวะเวียนพบปะเพื่อนฝูงที่เป็นคนขับแท็กซี่ด้วยกัน
  • ตกหลุมรักหญิงสาวสวย Betsy
    • Travis ตกหลุมรักแรกพบ Betsy ตรงเข้าไปในสำนักงาน เอ่ยปากชักชวนดื่มกาแฟ
    • ค่ำคืนหนึ่งจับพลับจับพลูได้ผู้โดยสารว่าที่ผู้สมัครปธน. Charles Palantine
    • ชักชวน Betsy มารับชมภาพยนตร์ แต่เธอกลับแสดงความไม่พึงพอใจเพราะเป็นหนัง 18+ จึงพยายามตัดขาดความสัมพันธ์
  • ช่วงเวลาค้นหาตัวตนเองของ Travis
    • Travis พบเจอผู้โดยสารคนหนึ่ง (รับบทโดย Martin Scorsese) พร่ำรำพันถึงภรรยาคบชู้นอกใจ และยังบอกว่าวางแผนจะเข่นฆาตกรรมอีกฝ่าย
    • Travis ขอคำปรึกษาจากเพื่อนคนขับแท็กซี่ … แต่ก็ไม่รู้ได้ประโยชน์อะไรหรือเปล่า
    • วันหนึ่งพบเจอเด็กหญิงอายุ 12 ขวบ เหมือนพยายามจะขอความช่วยเหลือ แต่ถูกชายอีกคนฉุดกระชากลากออกจากรถ
  • ค้นพบเป้าหมายชีวิต เตรียมความพร้อมเพื่อที่จะ…
    • ตั้งแต่นั้น Travis ตัดสินใจซื้อปืน ฝึกฝนร่างกายให้มีความเข้มแข็งแกร่ง
    • สอดแนมการเตรียมงานปราศรัยของว่าที่ผู้สมัครปธน. Charles Palantine
    • ครั้งหนึ่งให้ความช่วยเหลือเจ้าของร้านขายของชำระหว่างกำลังถูกปล้น
    • Travis แอบติดตามเด็กหญิงมาจนพบเจอซ่องโสเภณี ติดต่อขอซื้อบริการจากแมงดา Sport พูดคุยสอบถาม สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือ
  • ตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างเพื่อกวาดล้างความสกปรกโสมม
    • Travis ตัดผมทรงโมฮอก เข้าไปก่อกวนงานปราศรัยของว่าที่ผู้สมัครปธน. Charles Palantine
    • ค่ำคืนนั้น Travis บุกเข้าไปยังซ่องโสเภณี จัดการกวาดล้างขยะสังคม
  • ปัจฉิมบท, เหตุการณ์จริงหรือจินตนาการเพ้อฝัน
    • Travis ได้รับการยกย่องวีรบุรุษ อ่านจดหมายบิดาของ Iris
    • ค่ำคืนหนึ่ง Betsy ขึ้นรถแท็กซี่ของ Travis ไม่รู้มาดีหรือร้าย แต่เขาเลือกที่จะทอดทิ้งเธอไว้เบื้องหลัง

ด้วยความที่ Travis พูดคุยสื่อสารกับใครไม่ค่อยจะรู้เรื่อง บางครั้งก็อ้ำๆอึ้งๆ ฟังไม่ได้สดับ การใช้เสียงบรรยายระหว่างเขียนจดหมาย/ไดอารี่ จึงช่วยอธิบายความครุ่นคิด สภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจ ถือเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้ชมเข้าใจตัวละครเพิ่มมากขึ้น

การดำเนินเรื่องใน ‘สไตล์ Scorsese’ จะมีลักษณะของ ‘character study’ นำเสนอวิวัฒนาการตัวละคร เรียนรู้/เติบโตผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในกรณีของ Taxi Driver (1976) คือค้นหาอัตลักษณ์ พิสูจน์การมีตัวตน พบเจอเป้าหมายชีวิต และกระทำในสิ่งเติมเต็มความต้องการ ส่วนเหตุการณ์หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับผู้ชมจะขบครุ่นคิดตีความ (ว่าปัจฉิมบทคือเหตุการณ์จริง หรือเพียงจินตนาการเพ้อฝัน)


เพลงประกอบโดย Bernard Herrmann ชื่อจริง Maximillian Herman (1911-75) วาทยากร นักแต่งเพลง สัญชาติอเมริกัน บิดาเป็นชาว Ukraine เชื้อสาย Jewish พยายามผลัดดันบุตรชายให้มีความหลงใหลในดนตรี ร่ำเรียนไวโอลินจนชนะการแข่งขันเมื่อตอนอายุ 13 ปี จากนั้นได้เข้าศึกษา Juilliard School จบออกมาทำงานวาทยากรให้กับ Columbia Broadcasting System (CBS) ไต่เต้าจนกลายเป็นหัวหน้า (chef conductor) แล้วได้รับการชักชวนจาก Orson Welles ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก Citizen Kane (1941) ซึ่งปีเดียวกันนั้นยังคว้า Oscar: Best Score ครั้งแรกครั้งเดียวกับ The Devil and Daniel Webster (1941), โด่งดังจากการเป็นขาประจำ Alfred Hitchcock อาทิ The Man Who Knew Too Much (1956), Vertigo (1958), North by Northwest (1959), Psycho (1960) และ Marnie (1964)

ด้วยอายุอานาม อาการเจ็บปวดอิดๆออดๆ และเมื่อตอนผกก. Scorsese ติดต่อไปหายังเป็นผู้กำกับโนเนม ไม่ได้มีชื่อเสียงเรียงนามอะไร จึงได้รับคำตอบปฏิเสธทันควัน “I don’t write music for car movies.” แต่หลังจากอ่านบทหนังถึงยินยอมตอบตกลง ทำเพลงที่มีลักษณะสั่นพ้องความรู้สึกภายใน (Inner Emotion) สะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร Travis Bickle ด้วยการใช้เครื่องเป่าลมทองเหลืองเป็นหลัก แซกโซโฟน ทรัมเป็ต ทรัมโบน ดับเบิลเบส ผลลัพท์คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Jazz มีความล่องลอย เรื่อยเปื่อย ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย และยังสะท้อนภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม โลกดิสโทเปีย สัมผัสแห่งความหมดสิ้นหวัง

เกร็ด: ผกก. Scorsese มีความหลงใหลคลั่งไคล้บทเพลงของ Bernard Herrmann จากหลากหลายผลงานร่วมกับ Alfred Hitchcock แต่ก็มีความหวาดกลัวเกรงไม่กล้าติดต่อไปหา โชคดีได้เพื่อนผู้กำกับ Brian De Palma โน้มน้าวจนมีความหาญกล้า เป็นโอกาสครั้งแรกครั้งเดียวที่ได้ร่วมงานกับไอดอลของตนเอง

หลังการบันทึกเสียงบทเพลงส่วนใหญ่ (ที่ใช้เครื่องเป่าลมทองเหลืองเป็นหลัก) ผกก. Scorsese ติดต่อหา Herrmann เรียกร้องขออีกหนึ่งบทเพลงที่ใช้เครื่องสายเป็นหลัก สำหรับสร้างสัมผัสหลอกหลอน หวาดสะพรึง สั่นสะท้านทรวงใน วันถัดมาเดินทางเข้าห้องบันทึกเสียง (คาดว่าน่าจะคือท่วงทำนองบทเพลงสุดท้ายนี้ God’s Lonely Man) พอเสร็จสิ้นกลับโรงแรม ค่ำคืนนั้นปู่แกก็พลันด่วนเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Attack) สิริอายุเพียง 64 ปี

Travis Bickle หลังกลับจากสงครามเวียดนาม ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตพลเรือน ค่ำคืนดึกดื่นนอนไม่หลับ รู้สึกร้อนรน กระวนกระวาย เลยสมัครทำงานขับรถแท็กซี่ รับส่งผู้โดยสารทั่วมหานคร New York City นั่นทำให้ได้พบสภาพฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ท้องถนนเต็มไปด้วยนักเลง โสเภณี คนติดยา ฯ เกิดอาการรังเกียจขยะแขยง คาดหวังจะมีใครทำอะไรสักสิ่งอย่าง แต่นักการเมืองก็มีแค่ลมปาก เมื่อถึงจุดๆหนึ่งมิอาจอดรนทนอีกต่อไป จึงตัดสินใจลุกขึ้นมาเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้าย กำจัดขยะ(สังคม)เหล่าด้วยตัวตนเอง

ตัวละคร Travis มีความผิดปกติ อาการทางจิตจริงๆนะหรือ? ถ้าในมุมมองคนปกติทั่วไป พฤติกรรมความรุนแรง ต่อต้านสังคม กระทำสิ่งขัดแย้งสามัญสำนึกผู้คน นั่นถือว่า Travis มีความผิดปกติอย่างแน่นอน แต่ผลลัพท์กำจัดภัยพาล ให้ความช่วยเหลือเด็กสาวถูกล่อลวงมาขายบริการ นั่นทำให้เกิดความเลือนลางระหว่างฮีโร่ vs. คนบ้า … นี่คือสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่าพวกหนัง Superhero มันช่างวิปริต ผิดมนุษย์มนา เต็มไปด้วยพวกมีปัญหาทางจิต ใช้ข้ออ้างพลังเหนือธรรมชาติในการสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้กับตนเอง

ปัญหาของ Travis ไม่ได้มีอะไรเกิดจากตัวเขาเอง แต่คืออิทธิพลจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง หล่อหลอม เสี้ยมสอน ให้บังเกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย-จิตใจ (รวมถึงทรงผมด้วยนะ)

  • สงครามเวียดนาม (Vietnam War) ทหารอเมริกันต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล เข้าสู่สนามรบไม่คุ้นชิน ต่อกรศัตรูที่พร้อมทำทุกสิ่งอย่าง เล่นเกมจิตวิทยาสร้างความสั่นสะเทือนจิตใจ อีกทั้งสมรภูมินี้ยังไม่ได้สร้างประโยชน์อันใดแก่สหรัฐอเมริกา ผลลัพท์จึงจำต้องยินยอมรับความพ่ายแพ้ บรรดาทหารหาญสูญเสียขวัญกำลังใจ ยังคงจดจำภาพเหตุการณ์อันเลวร้าย (อาการ Shell Shock หรือ PTSD, Post-Traumatic Stress Disorder) ไม่ใช่เรื่องง่ายจะหวนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไป
  • หนังกล่าวถึงบิดา-มารดาของ Travis เพียงจดหมายฉบับหนึ่งเขียนถึงในโอกาสครบรอบปี ซึ่งเต็มไปด้วยถ้อยคำโป้ปดหลอกลวง แอบอ้างว่าทำงานให้รัฐบาล กำลังตกหลุมรักหญิงสาวสาว Betsy เหล่านี้แสดงถึงความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกับครอบครัว พยายามตีตนออกห่างไกล แนวโน้มเป็นไปได้ว่าสมัยเด็กอาจเคยถูกบีบบังคับให้ทำโน่นนี่นั่น ปลูกฝังความรุนแรง หรืออาจเลี้ยงดูอย่างตามใจ จนไม่สามารถครุ่นคิดทำอะไรด้วยตนเอง … เอาว่าครอบครัวถือเป็นหนึ่งในปัญหาของ Travis ที่ส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน
  • แม้ว่า Travis จะมีเพื่อนคนขับรถแท็กซี่กลุ่มเล็กๆ พบเจอระหว่างแวะจอดพัก รับประทานอาหารข้างทาง แต่เขาทำได้เพียงรับฟังการสนทนา เวลามีปัญหาก็ไร้ที่ปรึกษา พยายามหลีกเลี่ยง บ่ายเบี่ยง ไม่เคยพูดอะไรออกมาตรงๆ ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถเข้าใจกันและกัน
  • หญิงสาวสวย Betsy ราวกับนางฟ้ามาจุติ อยากที่จะเชยชม แต่ความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวทำให้เธอปิดกั้นโอกาส เพราะเราแตกต่างกันเกินไป (แสดงถึงการแบ่งแยกชนชั้น สถานะทางสังคม)
  • ระหว่างขับรถแท็กซี่ไปทั่วมหานคร New York City พบเห็นสภาพสังคมที่มีความสกปรกโสมม ท้องถนนเต็มไปด้วยนักเลง โสเภณี คนติดยา ฯ
  • นักการเมือง Charles Palantine ว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดี เต็มไปด้วยคำสัญญาลมปาก บอกจะแก้ปัญหาโน่นนี่นั่น แต่วันเวลาผ่านไปกลับไม่เคยมีอะไรปรับเปลี่ยนแปลงสักสิ่งอย่าง

ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้ สร้างความเอือมระอาแก่ Travis ทำไมโลกใบนี้ช่างสกปรกโสมม จิตใจผู้คนตกต่ำตม ไม่มีใครเลยหรือครุ่นคิดจะหาหนทางแก้ปัญหา ซึ่งจุดแตกหักคือการพบเห็นเด็กหญิง Iris อายุเพียง 12 ปี ทำงานเป็นโสเภณี นั่นทำให้เขาค้นพบเป้าหมายชีวิต ตัดสินใจลุกขึ้นมาเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้าย กำจัดขยะ(สังคม)เหล่าด้วยตัวตนเอง

  • ลอบสังหารว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดี Charles Palantine เพราะชายคนนี้เต็มไปด้วยสัญญาลมปาก บอกจะแก้ปัญหาโน่นนี่นั่น แต่ไม่เห็นจะทำอะไรสักสิ่งอย่าง
    • ผมมองเป็นการระบายอารมณ์อัดอั้นของ Travis ต่อสถาบัน การเมือง หน่วยงานรัฐ บรรดาพวกผู้มีอำนาจในการแก้ปัญหา แต่กลับไม่เคยหันมาเหลียวแลมอง (ระดับมหภาค)
  • ตรงไปยังซ่องโสเภณี เข่นฆาตกรรมแมงดา พ่อเล้า รวมถึงบุคคลซื้อบริการเด็กหญิง
    • ผมมองเป็นการกระทำด้วยเหตุผล ความตั้งใจของ Travis เผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจมนุษย์ กำจัดขยะสังคมให้พ้นภัยทาง (ระดับจุลภาค)

ในขณะที่ Mean Street (1973) เปรียบเหมือนการสารภาพบาปของผกก. Scorsese พยายามแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง สามารถส่งผลกระทบ ก่อเกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ

Taxi Driver (1976) นำเสนอวิวัฒนาการของ Travis ไม่ใช่แค่ค้นหาอัตลักษณ์ พิสูจน์การมีตัวตน ยังคือพบเจอเป้าหมายชีวิต ลุกขึ้นมาเผชิญหน้าปัญหา เชื่อว่านั่นคือวิธีการทำให้ร่างกายและจิตวิญญาณสะอาดบริสุทธิ์ …เปรียบเทียบเหมือนการแบ๊บติสต์ ถือกำเนิด ตายแล้วเกิดใหม่

Travis really has the best of intentions; he believes he’s doing right, just like St Paul. He wants to clean up life, clean up the mind, clean up the soul. He is very spiritual, but in a sense Charles Manson was spiritual, which doesn’t mean that it’s good. It’s the power of the spirit on the wrong road. The key to the picture is the idea of being brave enough to admit having these feelings, and then act them out.

Martin Scorsese

แซว: ผกก. Scorsese เคยพูดติดตลกแต่ค่อนข้างจริงจังว่า Taxi Driver (1976) คือภาพยนตร์ที่มีความเป็น Feminist ที่สุดของตนเอง ด้วยเหตุผลอะไรลองอ่านดูนะครับ …

My feminist-est film … because it takes macho to its logical conclusion. The better man is the man who can kill you. This [movie] shows that kind of thinking, shows the kinds of problems some men have, bouncing back and forth between [their perception of women as] goddesses and whores.

ทางฟากฝั่งของนักเขียน Paul Schrader แน่นอนว่ามีหลากหลายคิดเห็นที่แตกต่างจากผกก. Scorsese อย่างตัวละคร Travis ไม่น่าจะถือกำเนิดขึ้น/สะท้อนสภาพสกปรกโสมมของมหานคร New York City แต่มองว่ารับอิทธิพลจากมนุษย์ด้วยกันเอง(ที่เป็นผู้สร้างเมืองนี้ขึ้นมา) … สะท้อนความเชื่อของ Calvinism?

I do not believe that the New York, the city, you know, create people such as the protagonist of the film or the center of the film. I hesitate to call him a hero. He’s a man of a disintegrating self-destructive personality and he is not created by the city. It is the people who have created the cities. Maybe I’m still a Calvinist, but I can’t help but think that the evil is inherent in the people who create the cities rather than the cities themselves.

Paul Schrader

หรืออย่างเหตุการณ์ไคลน์แม็กซ์ของหนัง Schrader ยังมองเป็นลักษณะการ ‘escapist’ ตัวละครสร้างภารกิจนำสู่ความตายอันทรงเกียรติ ด้วยการกำจัดบุคคลเปรียบดั่งตัวแทนบิดา (ของ Betsy คือหัวหน้า/ว่าที่ผู้สมัครปธน. Charles Palantine, ส่วน Iris ก็คือแมงดา Sport) ปลดปล่อยพันธนาการ/ปลดแอกพวกเธอทั้งสอง (และตนเอง) จากความสกปรกโสมมของโลกใบนี้

What he seeks is escape, to shake off the mortal chains and die a glorious death. It’s a purely suicidal mission he’s on, so to give some greater meaning he fixes on the surrogate father—Betsy’s boss, the candidate—then on the other surrogate father—Iris’s pimp; he has to destroy that image to break free. It’s a shallow, self-destructive kind of freedom. At the end of the film, he is cheated because the gun is empty and he can’t kill himself.

ด้วยความที่ Schrader อยู่ฟากฝั่ง Calvinism (สาขาหนึ่งของ Protestant) ขณะที่ผกก. Scorsese เคร่งครัด Catholicism เลยมีนักข่าวสอบถามถึงความแตกต่างดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อตัวหนังมากน้อยประการใด?

  • โปรเตสแตนต์ จะมีความเป็นปัจเจกชน สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และยึดถือมั่นในอุดมการณ์ถูกต้องชอบธรรม (ของตนเองเช่นกัน)
  • คาทอลิก มักมีจิตใจอ่อนไหว ให้ความสำคัญกับครอบครัว ชุมชน คนหมู่มาก โอนอ่อนผ่อนตามวิถีทางสังคม

Protestantism has a more individualistic, solipsistic, righteous quality. The Catholic thing is more an emotional, communal flurry. When you walk into a Protestant church, you feel as if you’ve walked into a tomb; in a Catholic church, people are talking, there are priests, candles, a whole different atmosphere. Travis’s personality is built as if it were a Protestant church, but everything around him is acting differently. Both Marty and I have very strong religious backgrounds, so I don’t think that’s an incorrect interpretation.

เรื่องราวของ Taxi Driver (1976) เลยมีความใกล้ตัวใกล้หัวใจ Schrader มากกว่าผกก. Scorsese สะท้อนวิถีโปรเตสแตนต์จากการเรียนรู้ เข้าใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง สะท้อนช่วงเวลาที่เขาเคยตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง จุดตกต่ำสุดของชีวิต พัฒนาบทหนังเรื่องนี้เป็นการระบายความอึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานที่สะสมอยู่ภายใน ขับรถแท็กซี่ไม่ต่างจากอาศัยอยู่ในโลงศพ สามารถปลุกตื่น ฟื้นคืนชีพ “exorcise the evil I felt within me.” ราวกับได้ถือกำเนิดใหม่ ค้นพบเป้าหมายชีวิตต่อไป

สิ่งที่ผู้ชมส่วนใหญ่สัมผัสได้จากหนัง คงมักไม่เกี่ยวกับศาสนาสักเท่าไหร่ (Scorsese และ Schrader แม้อยู่คนละนิกาย แต่สามารถเติมเต็มกันได้อย่างกลมกล่อม) แต่คือความเหงาหงอย โดดเดี่ยวเดียวดาย ‘loneliness’ ผู้คนมากมายบนท้องถนน กลับไม่มีใครสามารถพูดคุยสื่อสาร ทำความเข้าใจกับเรา

The film can be seen as a series of his failed attempts to connect, every one of them hopelessly wrong. He asks a girl out on a date, and takes her to a porno movie. He sucks up to a political candidate, and ends by alarming him. He tries to make small talk with a Secret Service agent. He wants to befriend a child prostitute, but scares her away. He is so lonely that when he asks, “Who you talkin’ to?” he is addressing himself in a mirror.

นักวิจารณ์ Roger Ebert วิเคราะห์ใจความของ Taxi Driver (1976) เกี่ยวกับปัญหาการสื่อสาร

หลายคนอาจมองว่าการไม่สามารถพูดคุยสื่อสาร หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น คือปัญหาสังคมรูปแบบหนึ่ง แนวโน้มนำไปสู่การก่ออาชญากรรม หรือแม้แต่โศกนาฎกรรม แต่ผมมองว่านั่นไม่ใช่ทิศทางที่จำเป็นสักเท่าไหร่ (เหมือนเด็กติดเกมไม่ได้จำเป็นว่าต้องหมกมุ่นความรุนแรง) ถึงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องพึ่งพากันและกัน แต่เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษ ตัวคนเดียว หรือแม้แต่ Hikikomori

Taxi Driver (1976) ยังคือภาพสะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 70s ไม่ใช่แค่หายนะจากสงครามอินโดจีน แต่ยังปัญหาความคอรัปชั่นจากการบริหารงานปธน. Richard Nixon, สารพัดการชุมนุมประท้วง เรียกร้องสิทธิ-เสรีภาพ-เสมอภาคเท่าเทียม, นี่ยังไม่รวมถึงสถานการณ์สงครามเย็นที่ยังคงคุกรุ่น ฯ โลกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วคนเราจะเกิดความสงบสุขได้อย่างไร


ด้วยทุนสร้าง $1.9 ล้านเหรียญ (จากตั้งต้น $1.3 ล้านเหรียญ) เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Coronet Theater ณ New York City โดยสัปดาห์แรกสามารถทำเงินทุบสถิติเข้าฉาย(ในโรงหนังแห่งนี้) $68,000 เหรียญ ก่อนขยับขยายไปทั่วสหรัฐอเมริกา รวมรายรับ $28.3 ล้านเหรียญ (ไม่มีรายงานตัวเลขทั่วโลก)

เมื่อมีโอกาสเข้าฉายในสายการประกวดหลัก (in-Competition) เทศกาลหนังเมือง Cannes ทั้งๆได้รับเสียงโห่ไล่จากผู้ชม คำวิจารณ์ส่วนใหญ่ก็บอกรับไม่ได้กับภาพความรุนแรงสุดโต่ง แต่ประธานกรรมการปีนั้น Tennessee Williams กลับมอบรางวัลใหญ่ Palme d’Or เอาาชนะภาพยนตร์อย่าง Cría cuervos (Carlos Saura), Kings of the Road (Win Wenders), The Tenant (Roman Polanski) ฯ

ช่วงปลายปีหนังยังได้เข้าชิง Oscar จำนวน 4 สาขา แต่ผกก. Scorsese, นักเขียนบท Paul Schrader รวมถึงตากล้อง Michael Chapman กลับถูกมองข้าม (SNUB) อย่างน่าผิดหวังมากๆ

  • Academy Award
    • Best Picture
    • Best Actor (Robert De Niro)
    • Best Supporting Actress (Jodie Foster)
    • Best Original Score
  • Golden Globe Award
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Robert De Niro)
    • Best Original Screenplay
    • (Jodie Foster ได้เข้าชิง Best Supporting Actress จากภาพยนตร์อีกเรื่อง Freaky Friday (1976))

เกร็ด: เมื่อปี ค.ศ. 1981, John Hinckley Jr. เคยพยายามลอบสังหารปธน. Ronal Reagan แต่ไม่สำเร็จ แล้วอ้างว่าได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) เลียนแบบ Travis ด้วยการตัดผมทรงโมฮอก และทำไปเพื่อสร้างความประทับใจแก่ Jodie Foster ซึ่งศาลตัดสินยกฟ้องเพราะอาการวิกลจริต … นั่นสร้างความหวาดวิตกกังวลให้ผกก. Scorsese ถึงขนาดเคยครุ่นคิดเลิกสร้างภาพยนตร์ เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นต้นแบบอย่างไม่ดีให้กับสังคม

ในบรรดาผลงานทั้งหมดของผกก. Scorsese มีการถกเถียงกันอยู่ตลอดระหว่าง Taxi Driver (1976) และ Raging Bull (1980) ว่าเรื่องไหนยอดเยี่ยมกว่ากัน? ชาร์ทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลก็สลับตำแหน่งกันบ่อยครั้ง (Sight & Sound เหมือนจะชื่นชอบ Taxi Driver แต่ของ AFI อันดับของ Raging Bull กลับอยู่สูงกว่า)

  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2012
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 31 (ร่วม)
    • Raging Bull (1980) อันดับ 53 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Director’s Poll 2012
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 5
    • Raging Bull (1980) อันดับ 12
  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2022
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 29
    • Raging Bull (1980) อันดับ 129 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Director’s Poll 2022
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 12 (ร่วม)
    • Raging Bull (1980) ไม่ติดอันดับ
  • AFI: Greatest American Films Of All Time 1998
    • Raging Bull (1980) อันดับ 24
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 47
  • AFI: Greatest American Films Of All Time 1998
    • Raging Bull (1980) อันดับ 4
    • Taxi Driver (1976) อันดับ 52

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Scorsese และตากล้อง Michael Chapman เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin สามารถหาซื้อ Blu-Ray ได้ตั้งแต่ฉบับ 35th Aniversary Edition เป็นต้นไป (มันจะมีฉบับครบรอบ Aniversary ออกมาตั้งแต่ 30-35-40 ใครชอบสะสมคงเหนื่อยเก็บน่าดู)

In order to restore the film in spring 2010, the original 35mm negative was first read by a high resolution 4K scanner. The film was also re-graded and digitally restored in 4K: the media files were restored by Sony Pictures in California under the supervision of Grover Crisp; Scorsese’s cinematographer Michael Chapman supervised Scott Ostrowsky as he created a colour matched version that was approved by Scorsese. The 4K files were subsequently given a digital clean up by MTI film in Los Angeles. This involved removing scratches, stains and tread marks from the archived negative. Some scratches proved especially difficult to remove without altering the underlying imagery, particularly the faces of characters. The restoration of the sound was equally extensive and involved the production of a new multi-track stereo soundtrack from the film’s original recordings. The final version of the restored film was approved by Martin Scorsese in January 2011.

โดยส่วนตัวมีความชื่นชอบ Taxi Driver (1976) (มากกว่า Raging Bull (1980)) เพราะรู้สึกใกล้ชิดกับหลายๆแนวคิดของหนัง ตั้งแต่พฤติกรรมสันโดษ ค้นหาอัตลักษณ์ พยายามทำบางสิ่งเพื่อพิสูจน์การมีตัวตน … ช่วงหลังๆผมเริ่มตระหนักถึงตัวเองว่า การยังทำ raremeat.blog แท้จริงแล้วก็น่าจะด้วยจุดประสงค์คล้ายๆเดียวกันนี้

สิ่งที่ผมรู้สึกแปลกใจตัวเองสุดๆ คือสามารถเข้าใจแทบจะทุกคำพูดของ Robert De Niro ทั้งตอนอ้ำๆอึ้งๆ ตะกุกกัก ฟังไม่ได้สดับ หรือแม้แต่ขณะสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) มองกระจกคุยกับตนเอง … มันกลับกลายเป็นว่าผมสามารถเชื่อมโยง ‘connect’ กับตัวละคร นั่นแสดงว่าสภาพสังคม/ปัญหาต่างๆในปัจจุบัน แทบไม่เคยได้รับการแก้ไข ไม่มีอะไรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากอดีตสักเท่าไหร่

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง ลอบสังหาร โสเภณีเด็ก

คำโปรย | ขับรถ Taxi Driver ล่องลอยเรื่อยเปื่อยไปทั่วมหานคร New York City เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ พิสูจน์การมีตัวตน พบเจอเป้าหมายชีวิตของ Martin Scorsese และ Robert De Niro
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ล่องลอยสู่จุดหมาย


Taxi Driver

Taxi Driver (1976) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♥

(22/12/2016) สงครามเวียดนามคือความอัปยศของชาติอเมริกัน Taxi Driver คือตัวอย่างของคนที่ ร่างกายกลับมา แต่จิตวิญญาณหาไม่ ล่องลอยไปรอบๆป่าคอนกรีต พบเห็นตัวตนแท้จริงของประเทศนี้, อีกหนึ่งผลงาน Masterpiece ของ Martin Scorsese นำแสดงโดย Robert De Niro กับเด็กสาว Jodie Foster วัย 12 ขวบ และผลงานประพันธ์เพลงเรื่องสุดท้ายของ Bernard Herrmann

นี่เป็นหนังที่มีความรุนแรง บ้าคลั่ง เลือดสาดอย่างมาก ถึงช่วงท้ายจะมีการปรับลดความเข้มสีของภาพลง แต่มันก็ยังดูขยะแขยง เต็มไปด้วยเลือด ไม่แนะนำอย่างยิ่งกับคนอายุต่ำกว่า 18 และผู้หญิงมีครรภ์

จากคำบอกเล่าของ Martin Scorsese เป็น Brian De Palma ผู้กำกับร่วมรุ่นที่แนะนำให้รู้จักกับนักเขียนบท Paul Schrader และได้พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับ หนังที่ให้ความรู้สึกเหมือนความฝัน (dreams) หรือ อาการเสพยาแล้วกำลังอยู่ในภวังค์ (Drug-induced reverise) ที่เรียกว่า Limbo สภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น

Paul Schrader ได้แรงบันดาลใจพัฒนาบทหนังเรื่องนี้มาจาก
– ไดอารี่ของ Arthur Bremer ชายโรคจิตประสาท ที่ยิงผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี George Wallace ในปี 1972 (ถึง Wallace จะไม่เสียชีวิต แต่กลายเป็นอัมพาตนั่งรถเข็นตลอดชีวิต หมดโอกาสเป็น ปธน.)
– นิยายเรื่อง Notes from Underground เขียนโดย Fyodor Dostoyevsky ชาวรัสเซีย ที่ถือเป็นนิยายประเภท Existentialist (อัตถิภาวนิยม) เรื่องแรกของโลก
– และจากตัวเอง ที่เป็นคนโดดสันโดษ ชอบอยู่คนเดียว, หลังหย่าขาดกับภรรยา อาศัยอยู่กับแฟนสาวคนใหม่ ชอบใช้เวลาว่างด้วยการขับรถเล่นเรื่อยเปื่อย ไม่มีเป้าหมาย (Schrader ใช้เวลาเขียนบทหนังเรื่องนี้ ประมาณ 1 เดือน ที่ห้องของแฟนสาว ขณะเธอไม่อยู่)

Travis Bickle เป็นโรคนอนไม่ค่อยหลับ จึงไปสมัครทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ ตระเวนรับส่งผู้โดยสารรอบๆ New York City, ได้พบเจอกับคนหลากหลายรูปแบบที่มาใช้บริการ อาทิ คู่หนุ่มสาวผู้ใจร้อน อดทนรอให้ถึงห้องไม่ได้, ชายคนที่อยากฆ่าภรรยากับชู้, วันดีคืนดีเจอกับวุฒิสภา ผู้ลงสมัครตำแหน่งประธานาธิบดี ฯ

Schrader สร้างพื้นหลังให้ตัวละคร Travis เป็นอดีตทหารเรือเพิ่งกลับจากสงครามเวียดนาม เขาไม่สามารถกลับบ้านไปหาครอบครัวได้ (เพราะยังมีภาพติดตา Trauma จากสงคราม) จึงอาศัยอยู่ใน New York City ใช้เวลาเพื่อเยียวยารักษาแผลใจ หาเอาตัวรอดในโลกใหม่ด้วยตนเอง

เกร็ด: Schrader ตั้งใจให้หนังเรื่องนี้มีพื้นหลังที่ Los Angeles แต่สุดท้ายตัดสินใจเปลี่ยนไป New York City บ้านเกิดของ Martin Scorsese ด้วยเหตุผลว่า แท็กซี่ที่ New York City มีเยอะกว่า Los Angeles

รับบทโดย Robert De Niro ที่เพิ่งมีชื่อเสียงจาก Mean Streets (1973) และได้ Oscar: Best Supporting Actor จากหนังเรื่อง The Godfather Part II เป็นหนึ่งในนักแสดงที่ใช้ Method Acting ในการแสดงได้อย่างสมจริงที่สุด (มี Marlon Brando เป็นแรงบันดาลใจ), เขาใช้เวลาเตรียมตัวเพื่อรับบทนี้ ขณะถ่ายหนังเรื่อง 1900 (1976) ของผู้กำกับ Bernardo Bertolucci อยู่ที่กรุงโรม, อิตาลี พอถึงวันศุกร์พักกอง ถ่ายหนังเสร็จ ขึ้นเครื่องบินกลับ New York มาทำใบขับขี่รถแท็กซี่ แล้วก็ขับรถรับผู้โดยสาร กลายเป็นคนขับแท็กซี่อยู่หลายสัปดาห์ จนพอใจถึงค่อยขึ้นเครื่องกลับไปถ่ายหนัง 1900 ที่อิตาลีต่อ, ในฉากที่ต้องโชว์กล้ามเป็นมัดๆ De Niro ลดน้ำหนักถึง 35 ปอนด์ เข้าฟิตเนสอย่างเคร่งครัด คง 2-3 เดือนกว่าจะดูฟิตได้ทุกสัดส่วนขนาดนั้น

เกร็ด: De Niro เล่าให้ฟังว่า ระหว่างทำงานเป็นอาชีพคนขับรถแท็กซี่ มีเพียงครั้งสองครั้ง ที่มีคนถามเขาว่าคือ Robert De Niro หรือเปล่า … ทั้งๆที่เพิ่งได้ Oscar มา แต่คนส่วนใหญ่ยังจำหน้าเขาไม่ได้

การแสดงของ De Niro ใน Taxi Driver ผมคิดว่า ยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตของพี่แกแล้วละ ใบหน้าลอยๆ เหมือนคนจิตฟุ้งซ่าน วิญญาณไม่อยู่กับเนื้อกับตัว พูดจากอะไรก็ไม่รู้นามธรรมสุดๆ ยิ่งฉาก Paranoid พูดกับตัวเอง เหมือนตัวจริงก็มีอีกตัวตน สวมหน้ากากซ่อนไว้, น่าเสียดายที่ปีนั้น De Niro พลาด Oscar: Best Actor ให้กับ Peter Finch จากหนังเรื่อง Network (ตัวเต็งปีนั้นคือ Sylvester Stallone จาก Rocky แต่ De Niro ผมถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี)

ผมพยายามแกะนามธรรม สิ่งที่ Travis พูดสนทนา กับทั้งวุฒิสภา Palantine และตอนคุยกับเพื่อนคนขับแท็กซี่ พี่แกพูดถึงอะไร ใครที่สามารถเข้าใจได้ แสดงว่าตัวคุณก็อาจล่องลอย ชีวิตไร้แก่นสานแบบ Travis ก็เป็นได้
– สิ่งที่ Travis อยากให้วุฒิสภา Palantine เก็บกวาด คือ สังคมที่เต็มไปด้วยขยะ อาทิ โสเภณี, พ่อเล้า/แม่เล้า, คนค้ายา, นักเลงหัวรุนแรง (อาจรวมไปถึงคนผิวสี) ฯ วิธีการ … ไม่รู้สิ ขับไล่คนพวกนี้ออกไป (มั้ง)
– คุยกับเพื่อนคนขับแท็กซี่ คือขณะกำลังผิดหวังสุดขีดในชีวิต ต้องการทำอะไรสักอย่าง มีความคิดในใจ แต่ยังไม่กล้าพูด/ทำออกไป … ก็ไม่น่าเชื่อว่า เพื่อนคนนี้จะสามารถให้คำแนะนำได้ตรงเผง (แม้จะไม่เข้าใจว่า Travis สงสัยอะไร) บอกประมาณว่า ถ้านายอยากจะทำอะไรก็ทำไปสิ ดูแบบฉันขับแท็กซี่มานาน แต่ไม่เคยเป็นเจ้าของรถสักคน ก็เพราะฉันไม่อยากเป็นไม่อยากได้ … ถ้านายมีสิ่งที่อยากทำ จะไปกลัวอะไร คนหนุ่มถึงพลาดก็ยังมีโอกาสเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ

กับฉาก Paranoid มองกล้องพูดกับตัวเอง ประโยค “You talkin’ to me?” เหมือนเพื่อเป็นการย้อนถามความมั่นใจของตัวเอง กลายเป็นคำฮิตติดปาก ติดอันดับ 10 จัดอันดับ AFI’s 100 Years… 100 Movie Quotes

ในบทหนัง ฉากนี้จะมีเขียนแค่ ‘Travis looks in the mirror.’ เป็น Martin Scorsese ที่บอกว่าเขาได้แรงบันดาลใจการพูดกับตัวเองหน้ากระจก มาจาก Marlon Brando ในหนังเรื่อง Reflections in a Golden Eye (1967)

การที่ Travis ตัดผมทรงโมฮอก (Mohawk) แสดงถึงการเตรียมพร้อมทางจิตใจ ก่อนที่จะกระทำการอะไรที่บ้าคลั่ง เสี่ยงตาย แบบเดียวกับทหารพราน/คอมมานโด ที่มีธรรมเนียมการทาหน้าด้วยสี/โคลน เพื่อให้เกิดความฮึกเหิม มีกำลังใจ พร้อมออกเดินทางสู้ศึกสละชีพ (แบบเดียวกับ Mad Max: Fury Road)

Marty เรียก Travis ว่า ‘Avenging Angel’ (เทพาแห่งการล้างแค้น) เพราะเขาล่องลอยไปตามท้องถนนใน New York City ซึ่งเป็นตัวแทนของทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกหนทุกแห่ง, เรื่องราวของหนัง สามารถตีความได้ในเชิงสัญลักษณ์ทางศาสนา ที่เหมือนว่า Travis คือ Saint บาทหลวงที่ขจัดสิ่งสกปรกชั่วร้ายทั้งจากตัวเอง (กาย/ใจ) และสังคม (กำจัดคนชั่ว) ตอนท้ายฉากเขายกเปื้อนเลือด ทำเป็นปืนเหนี่ยวไก นี่ถือเป็นการพยายามฆ่าตัวตาย คล้ายๆกับซามูไรที่มีความเชื่อว่า ‘Death with Honor’ (การตายจากการต่อสู้ คือเกียรติยศสูงสุด)

วันหนึ่ง Travis ได้พบกับ Betsy (รับบทโดย Cybill Shepherd) หญิงสาวอาสาสมัคร ทำงานหาเสียงให้กับวุฒิสภา Charles Palantine ในการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เกิดตกหลุมรักต้องการครอบครองเธอ แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่เข้าใจ และไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากันเธอได้

Cybill Shepherd มีผลงาน debut เรื่อง The Last Picture Show (1971) ที่สร้างชื่อเสียงให้เธออย่างมาก แต่เพราะนิสัยที่เอาแต่ใจ เรื่องมาก เห็นแก่ตัว หยิ่งยโส เข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้ จึงไม่ค่อยได้รับโอกาสให้แสดงภาพยนตร์มากนัก, กับหนังเรื่องนี้ แทบไม่มีใครชอบขี้หน้าเธอเลย มีครั้งหนึ่งที่ Robert De Niro ชวนเธอออกไปแค่กินข้าวนอกกองถ่าย แต่เธอปฏิเสธ (คงด้วยท่าทางหยิ่งผยอง) ทำให้เขาไม่เคยพูดกับเธออีกเลย ยกเว้นขณะถ่ายหนัง

ในวันถัดมา Travis ได้พบกับเด็กหญิงคนหนึ่ง อายุ 12 ปี ชื่อ Iris (รับบทโดย Jodie Foster) หนีออกจากบ้าน กลายเป็นโสเภณี … อายุ 12 เนี่ยนะ!

ตัวเลือกอื่นที่ได้รับการติดต่อให้รับบทนี้ อาทิ Melanie Griffith, Linda Blair, Bo Derek, Carrie Fisher, Mariel Hemingway แต่ทุกคนบอกปัด เพราะครอบครัวกลัวที่ลูกสาวจะได้ผลกระทบจากการถ่ายทำหนังเรื่องนี้

Jodie Foster ถือว่าเป็นนักแสดงเด็กมากฝีมือ เริ่มต้นจากผลงานโฆษณา ต่อมาได้รับโอกาสการแสดง จากละครโทรทัศน์ และเคยร่วมงานภาพยนตร์กับ Marty เรื่อง Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974),

ในระหว่างถ่ายทำ Foster ต้องพบปะ พูดคุยกับนักจิตวิทยาเด็ก เพื่อทำความเข้าใจ เรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น เพราะตัวละครนี้ ถือว่าโคตรอันตราย มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้เธอ เสียเด็กก่อนวัยอันควร, ซึ่งกับฉากที่มีความรุนแรงโจ่งแจ้ง ทีมงานได้ว่าจ้างพี่สาว Connie Foster ที่ขณะนั้นอายุ 18-19 ให้มาเข้าฉากแทน, เรียกได้ว่า ปกป้องความเด็กของเธอสุดๆเลย

การแสดงของ Foster ผมว่าเกินเด็กไปไกลแล้วนะครับ จากบทบาทดูเหมือนว่าเธอเข้าใจตัวตนของตัวละครนี้เป็นอย่างดี แต่ผมเชื่อว่าเธอคงใช้การสังเกต เรียนรู้ จดจำเอามากกว่า ที่จะเข้าใจตัวละครนี้อย่างแท้จริง

ตอน Foster เข้าเรียนใน Yale University (1980-1981) เธอถูก Stalker คนโรคจิตติดตาม ชื่อ John W. Hinckley, Jr. ที่เกิดความหลงใหล คลั่งไคล้ในตัวเธอหลังจากรับชม Taxi Driver ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 1981 Hinckley ได้พยายามลอบสังหาร ปธน. Ronald Reagan เพื่อที่จะสร้างความประทับใจให้กับเธอ (โชคดีที่ลอบสังหารไม่สำเร็จ แต่ผู้โชคร้าย James Brady โฆษกรัฐบาลต้องพิการตลอดชีวิต), จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายใหญ่โต ถึงขนาดต้องจ้างบอดี้การ์ดขณะเข้าเรียนในห้อง, ถูกเรียกเข้าไปไต่สวน (ศาลมองว่าเธอบริสุทธิ์ เพราะเป็นบุคคลที่ 3 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการลอบสังหาร), และส่งผลต่อการตัดสินใจเล่นหนังในอนาคตของเธอไม่น้อย

Martin Scorsese ปรากฎตัวในหนังด้วยนะครับ เป็นผู้โดยสารคนที่ตั้งใจจะฆ่าภรรยามีชู้ และเป็นคนแนะนำ Travis ให้รู้จักปืน Magnum .44 ยิงทีมือระเบิด

ถ่ายภาพโดย Michael Chapman นี่เป็นหนังที่มีมุมกล้องแปลกประหลาด พิศดารไม่น้อย, ต้นเรื่อง ถ่ายภาพรถแท็กซี่ในมุมต่างๆ ขณะกำลังวิ่งวนไปรอบๆเมือง, บางครั้งคุยกับตนเอง (เป็นมุมมองกระจก) สบตาจ้องมองกล้อง, ภาพมองกระจกหลังรถ, บางครั้งถ่ายจากมุมสูงดิ่ง 90 องศา (คล้ายๆพระเจ้ามองลงมา) ฯ

Ceiling Shot (ภาพถ่ายจากเพดาน) ใช้การเจาะเพดาน (ชั้นบน) ทำรางเลื่อน เคลื่อนกล้องไปรอบห้อง (ใช้เวลาเตรียมการ 3 เดือน)

(เบื้องหลัง)

นี่ฉากช่วงท้าย มุมกล้องจากกระจกส่งหลัง (หญิงสาวนั่งอยู่เบาะหลัง)

มีช็อตหนึ่ง ขณะที่ Travis พยายามคุยโทรศัพท์ ขอโทษ Betsy หลังพาเธอไปดูหนัง กล้องเคลื่อนจากตู้โทรศัพท์ ไปที่ทางเดินโถงยาว ไม่มีคน แสดงถึง การสนทนาที่ไร้ซึ่งคุณค่า ความสำคัญ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดถึง

สำหรับไฮไลท์การถ่ายภาพ คือเมือง New York City ทุกซอกมุม ทั้งกลางวัน/กลางคืน (เน้นกลางคืนมากกว่า) ผมเชื่อว่าหลายภาพที่เห็นเป็นการแอบถ่าย (จากในรถแท็กซี่) เก็บภาพวิถีชีวิตผู้คนจริงๆ สมัยนั้น และ Chapman ถ่ายออกมาได้สวยงามมาก

เห็นว่าแรงบันดาลใจการถ่ายภาพ ได้อิทธิพลมาจากงานภาพของ Raoul Coutard ตากล้องขาประจำของ Jean-Luc Godard ในยุค French New Wave ที่คิดค้นเทคนิคการถ่ายภาพตอนกลางคืน โดยไม่ต้องใช้การจัดแสงเพิ่ม (อยากรู้ว่าทำยังไง ลองไปหาบทความ Breathless-1960 มาอ่านนะครับ)

ตอนที่หนังไปฉายให้ MPAA จัดเรตติ้ง ปรากฏว่าได้ให้เรต X เห็นว่า Marty แสดงความไม่พอใจ ดื่มเหล้าหนักทั้งคืน และถือปืนใส่กระสุนเต็มแม็ก เตรียมที่จะเอาไปขู่เอาชีวิตสมาชิก MPAA ให้ลดเรตติ้งของหนังลง (บ้างก็ว่า Marty ตั้งใจจะยิงตัวตายประชดการจัดเรตติ้งต่อหน้าพวกเขา) … แต่โชคยังดีได้เพื่อนกล่อมเกลา จนเขาไปทำ de-saturated ปรับโทนสี/เพิ่มความเข้มแสงให้มืดขึ้น ลดความโดดเด่นของสีแดง ไม่ให้เห็นชัดเกินจนเกินไป ซึ่งหลังจากทำเช่นนั้น หนังเลยได้รับเรต R รอดไป

ตัดต่อโดย Tom Rolf และ Melvin Shapiro นี่เป็นก่อนหน้าที่ Marty จะได้รู้จักกับ Thelma Schoonmaker ขาประจำส่วนตัวของเขา, การเล่าเรื่อง จะมีเสียงบรรยายประกอบขณะกำลังจดบันทึก เขียนไดอารี่ส่วนตัวของ Travis ถือเป็นการเล่าความคิดออกมา (ทำให้เราเข้าใจมุมมองของเขา) เรื่องราวแทบจะครึ่งหนึ่งของหนังเกิดขึ้นบนแท็กซี่ ขณะขับวนไปมา รับผู้โดยสาร เรียกได้ว่าคือหนึ่งในตัวละครที่ต้องเห็นอยู่ทุกฉาก (ตามธรรมเนียมของหนัง Noir)

นี่ถือเป็นหนังที่เต็มไปด้วยบรรยากาศ อารมณ์ของตัวละคร ที่เหมือนผู้ชมจะเข้าไปอยู่ในหัวของ Travis ได้เรียนรู้จัก เข้าใจ ทำไมถึงกลายเป็นแบบนี้ แนวคิดบางอย่างจะค่อยๆสะสมพอกพูน เก็บกด อัดอั้น แล้วไประเบิดออกช่วงท้ายในไคลน์แม็กซ์

นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Bernard Herrmann ทำเพลงประกอบให้ แต่งเพลง บันทึกเสียงจนแล้วเสร็จ ในวันที่ 24 ธันวาคม 1975 กลับห้องที่โรงแรมและเสียชีวิตอย่างสงบคืนนั้น

ความโดดเด่นคือมีกลิ่นอายเพลง Jazz, เริ่มต้นด้วยเสียงกลองแต๊ก ค่อยๆรัวเร็ว/ดังขึ้น พร้อมกับเครื่องเป่าเสียงต่ำที่ค่อยๆใส่พลังลมเข้าไป จากนั้นท่อนฮุคเป็นเสียงหวานๆของแซกโซโฟนและเปียโน ให้บรรยากาศอ้างว้าง โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ล่องลอย โปรยปลิว ไปในโลกที่เต็มไปด้วยความสกปรก โสมมม ไม่อยากลงเอาขามาแตะพื้นแม้แต่น้อย

เราจะได้ยินเสียงแซกโซโฟน เพลง Jazz ดังคลอประกอบอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะกับฉากที่ Travis ขับรถเรื่อยเปื่อย ท่องไปรอบๆเมืองแบบไร้จุดหมาย, เพลงนี้ถ้าได้ฟังในคลับบาร์ ร้านอาหารบรรยากาศชิลๆ นั่งไขว่ค้าง หลังพิงพนัก สูบบุหรี่ จิบเหล้า คิดอะไรเพลินๆ เหม่อล่องลอย สามารถอยู่ได้ทั้งคืนไม่เบื่อเลย

สำหรับคนที่ดูหนัง/ฟังเพลงของ Bernard Herrmann มาหลายเรื่อง จะสามารถสัมผัสถึงกลิ่นอาย สไตล์เพลงที่คุ้นเคย คล้ายๆกันนี้ โดยเฉพาะจากหนังของ Alfred Hitchcock อาทิ Vertigo (1959), Psycho (1960) ฯ

สำหรับเพลงที่ Betsy แนะนำให้ Travis ฟัง เป็นเพลงของ Kris Kristofferson ชื่อ The Pilgrim, Chapter 33 ในหนังน่าจะไม่ได้ยินนะครับ เอาเพลงนี้มาฝากด้วย เป็นเพลงสไตล์ Country

อีกเพลงหนึ่งที่ได้ยินในหนัง Late for the Sky ร้องโดย Jackson Browne ในซีนที่ Travis ถือปืนจ้องโทรทัศน์ เห็นกลุ่มหนุ่มสาวเต้นรำในรายการ American Bandstand คำอธิบายสั้นๆของเพลงนี้คือ ‘love, loss, identity, apocalypse’

ใจความของหนังเรื่องนี้ ผมมองคือการค้นหาเป้าหมายชีวิตของตนเอง, Travis หลังกลับจากสงครามเวียดนาม เขาไม่สามารถลบลืมภาพความโหดร้ายจากสงครามที่จดจำฝังใจ การได้ทำอาชีพคนขับแท็กซี่ ทำให้เขาได้พบเห็นความจริง ธาตุแท้ของประเทศบ้านเกิด ที่เต็มไปด้วยขยะสังคมมากมาย (ในหนังเปรียบดังสิงสาราสัตว์นานาชนิด) มีลักษณะไม่ต่างกับสงครามที่เขาไปรบกลับมา, Travis ไม่ใช่คนฉลาด เขาไม่สามารถอธิบายความต้องการนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ว่าจะจัดการทำอะไรกับสิ่งที่รับรู้มานี้ แต่รู้สึกว่าตนต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะความอึดอัดอั้น ทนไม่ได้กับสังคมที่เป็นอยู่นี้, กับนักการเมือง Travis จดจำฝังใจคำพูดของ Palantine ว่า ‘จะแก้ปัญหาพวกนี้ ทำได้ยาก ต้องใช้เวลา และต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่’ นี่เป็นคำตอบที่ไม่พอสำหรับเขา, ซึ่งการได้พบกับ Iris ดอกฟ้าในโคลนตม ทำให้เขาเจอคำตอบ เป้าหมายที่แสวงหามานาน

ถึงตัวตนของ Travis จะเพื้ยนๆ ไม่ปกติ ทำอะไรผิดพลาดไปเสียแทบทุกอย่าง แต่กลับมีคุณธรรมเต็มเปี่ยม นี่อาจเพราะปม Madonna-Whore Complex ที่ผมเคยอธิบายไปแล้วใน Raging Bull (1980) นี่ไม่ใช่ปัญหาทางจิตที่ผู้ชายมีกับผู้หญิงอย่างเดียวนะครับ เราสามารถแทน Iris ด้วย Madonna และคนอื่นๆรอบข้างเธอ (รวมถึง Senator Palantine) ว่าเป็น Whore นั่นทำให้การแสดงออกของเขามันชัดมากว่า ทุกอย่างที่ทำเพื่อแม่พระ ส่วนที่เหลือคือโสเภณี/ขยะที่ต้องเก็บกวาดล้างทำลายให้สิ้นสร้าง

ทำไม Travis ถึงวางแผนจะฆ่า Senator Palantine? ผมคิดว่ามันคือ Paranoid ความหวาดระแวงของเขา ที่มีความต้องการเก็บกวาดล้างทุกสิ่งอย่างที่เป็นขยะสังคม ทั้งต้นเหตุ (สส./สว. ผู้นำประเทศ) และปลายเหตุ (พวกขี้ยา โสเภณีข้างถนน ฯ) แต่เมื่อไม่สามารถจัดการต้นเหตุได้ อย่างน้อยที่ปลายเหตุก็ยังดี

การกระทำของ Travis ว่าไปมันก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ต่อให้สมมติว่าฆ่าวุฒิสภา Palantine สำเร็จ แต่เดี๋ยวก็คงมีคนแบบนี้ก้าวขึ้นมาทดแทนใหม่ เช่นกันกับ Sport และเด็กหญิง Iris ที่คงไม่ต่างกัน, แต่เราสามารถมองได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้น ของการคิดทำอะไรที่แปลกแตกต่าง กับบางสิ่งบางอย่าง ที่ถ้าเราไม่เริ่มต้น แล้วใครมันจะทำ, ประเทศอเมริกาชอบฮีโร่แบบนี้นะครับ นี่คือคนจริงที่ทนเห็นความอยุติธรรมไม่ได้ กับเด็กหญิงอายุ 12 ขายตัว ถ้าคุณพบเห็นแบบนี้ในชีวิตจริง เขื่อว่าร้อยละ 99 จะเพิกเฉยไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของตน (บางคนคงคิดเข้าไปใช้บริการด้วยซ้ำ) จะมีสักกี่คนที่ริหาญกล้า กระทำเสี่ยงตายแบบ Travis

หมอนี่คือฮีโร่ ที่ยิ่งใหญ่กว่า Superhero ทั้งหลายในโลกอีกนะครับ

สำหรับ Betsy แม้ในตอนแรก Travis จะคิดว่าเธอเป็นดั่งดอกไม้แม่พระ แต่ไปๆมาๆ เขาก็มองเธอเป็นขยะไม่ต่างจากคนอื่น … ความชื่นชอบหลงใหลในครั้งแรก เหมือนได้รับจากแรงขับเคลื่อนภายใน ‘กาย’ ของเขา ไม่ได้มาจากทาง ‘ใจ’ เหมือน Iris, ตอนจบเขาจึงเลือกที่จะ ขับรถจากไป โดยไม่หันกลับมา (ผมเชื่อว่า เธอคงอยากชวนเขาขึ้นห้อง ขอเริ่มต้นใหม่ แต่เพราะอดีต Madonna กลายสภาพเป็น Whore ไปแล้ว จึงไม่มีวันที่ Travis จะหันกลับไปสนใจอีก)

กับตอนจบส่งท้าย (Epilogue) มีการถกเถียงกันอย่างมาก เพราะมันดู Happy Ending เกินไป หลายคนไม่เชื่อว่า Travis รอดมาได้ยังไง โดนยิงเยอะขนาดนั้น, มีหลายคนตั้งข้อสังเกต นั่นอาจเป็นฉากความฝัน/จินตนาการในหัวของ Travis (ที่อยู่ในโคม่า), Marty ไม่เชิงปฏิเสธ หรืออธิบายความตั้งใจของเขา (ให้ผู้ชมไปคิดต่อเอาเอง) แต่บอกเป็นนัยๆว่า Travis เป็นเหมือนระเบิดเวลา ที่วันดีคืนดีก็อาจจะลุกขึ้นมาทำแบบนั้นอีกก็ได้

ด้วยทุนสร้าง เพียง $1.3 ล้านเหรียญ นักแสดงทั้งหลายต่างลดค่าลงหลายเท่า เพื่อให้หนังถ่ายทำเสร็จ ตอนฉายทำเงินไปกว่า $28.3 ล้านเหรียญ, เข้าฉายในเทศกาลหนังเมือง Cannes ได้ Palme d’Or สิ้นปีเข้าชิง Oscar 4 สาขา ไม่ได้สักรางวัล
– Best Picture
– Best Actor (Robert De Niro)
– Best Supporting Actress (Jodie Foster)
– Best Original Score

ส่วนตัวแอบรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้, ในบรรดาหนังของ Marty จะบอกว่า Taxi Driver น่าจะเป็นหนังที่ผมดูซ้ำบ่อยที่สุดแล้ว ก็ไม่รู้ทำไมเหมือนกันนะครับ คุ้นๆตั้งแต่เด็กเลยด้วย และจดจำข้อคิดหนึ่งฝังใจ (ที่ก็ไม่ใช่สาระของหนัง) ‘จะทำอะไร ต้องบ้าระห่ำให้สุดแบบ Travis Bickle’ … รู้สึกตัวเองตรรกะโคตรเพี้ยน ซึ่งตั้งแต่นั้นมา ก็คิดทำอะไรบ้าๆ ไม่เหมือนคนอื่นตลอด

แนะนำกับคนขับ Taxi … จะดูรู้เรื่องไหมเนี่ย, นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ ฯ, ผู้ชื่นชอบหนังแนว Noir บรรยากาศหลอนๆ ล่องลอย เหมือนอยู่ในความฝัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียน/คนทำงานสายภาพยนตร์ ควรศึกษา ทำความเข้าใจ เรียนรู้เทคนิคของหนังเรื่องนี้ไว้ คงจะมีประโยชน์มาก

และแฟนหนัง Martin Scorsese, Robert De Niro, Jodie Foster, Cybill Shepherd ตากล้อง Michael Chapman และเพลงประกอบ Bernard Herrmannไม่ควรพลาด

จริงๆผมอยากจัดเรตหนังเรื่องนี้ NC-17 มากๆ แต่เอาตามเรตติ้งของอเมริกันแล้วกัน 18+ ก็พอ

TAGLINE | “Taxi Driver คือจิตวิญญาณที่ล่องลอยของ Martin Scorsese และ Robert De Niro จนกลายเป็นความบ้าคลั่ง สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: