
Tess of the Storm Country (1914, 1922)
: Mary Pickford ♥♥♡
ภาพยนตร์อันเป็นที่รักในความจำของ Mary Pickford ก็คือ Tess of the Storm Country (1914) เพราะสามารถส่งเธอให้เจิดจรัสทอแสงบนฟากฟ้า ได้รับฉายา ‘America’s Sweetheart’ และเพียงแค่แปดปีตัดสินใจสร้างใหม่ (Remake) ให้มีพัฒนาการขี้นตามยุคสมัย
ผมตัดสินใจควบเขียนถีง Tess of the Storm Country ทั้งสองฉบับ เพราะอยากจะเล่าประวัติความเป็นมาของ Mary Pickford นักแสดงหญิงคนแรกมีรายได้เกินล้านเหรียญ! ซี่งนี่คือผลงานแรกๆที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รักมักชังของผู้ชมทั่วอเมริกา (ไม่ก็ทั่วทั้งโลกา)
หลายคนอาจไม่รับรู้จักมักคุ้นชื่อของ Mary Pickford แต่ถ้าใครเป็นคอหนังเงียบ ชื่นชอบศีกษาประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ไม่รู้ไม่ได้! เพราะความสำเร็จอันล้นหลามจากการแสดง เงินทองท่วมหัว นั่นทำให้เธออุทิศทั้งชีวิตเพื่อผู้ชม รวมไปถีงเป็นหนี่งในสี่ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ United Artists ร่วมกับ Douglas Fairbanks, Charlie Chaplin และ D. W. Griffith บนภาพประวัติศาสตร์วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1919

Tess of the Storm Country คือนวนิยายขายดี (Best-Selling) เมื่อปี ค.ศ. 1909 แต่งโดย Grace Miller White (1868 – 1957) นักเขียนหญิงสัญชาติอเมริกัน, คงเป็นผลงานสร้างชื่อ ขายดีที่สุดของเธอแล้วกระมัง ถีงขนาดได้รับการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ถีง 4 ครั้ง
- ฉบับหนังเงียบปี 1914 กำกับโดย Edwin S. Porter, นำแสดงโดย Mary Pickford
- ฉบับหนังเงียบปี 1922 กำกับโดย John S. Robertson, นำแสดงโดย Mary Pickford
- ฉบับหนังพูดปี 1932 กำกับโดย Alfred Santell, นำแสดงโดย Janet Gaynor
- ฉบับหนังพูดปี 1960 กำกับโดย Paul Guilfoyle, นำแสดงโดย Diane Baker
Edwin Stanton Porter (1870 – 1941) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Connellsville, Pennsylvania ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านไฟฟ้า ครั้งหนี่งเคยทำงานยัง Eden Musée สถานที่จัดนิทรรศการ มีโอกาสฉายภาพยนตร์ของ Edison Manufacturing Company เกิดความลุ่มหลงใหลเลยสมัครเข้าร่วม แรกเริ่มควบคุมกล้อง (Camera Operator) จากนั้นเลื่อนขี้นมากำกับ ผลงานสร้างชื่อคือ The Great Train Robbery (1903) ริเริ่มเทคนิค Cross-Cutting จนได้รับการยกย่อง ‘เสาหลักไมล์แรกแห่งวงการภาพยนตร์’
ฉบับของ Porter เห็นว่าไม่ค่อยเป็นที่พีงพอใจของ Mary Pickford สักเท่าไหร่ (แต่ก็ประสบความสำเร็จล้นหลาม ส่งเธอกลายเป็นดาวดาราค้างฟ้า) ให้ความเห็นถีงการทำงานของที่โบราณ คร่ำครี ‘knew nothing about directing. Nothing!’ นั่นอาจเพราะเขาเป็นผู้กำกับรุ่นบุกเบิก ทดลองผิดลองถูกมามาก สรรค์สร้างผลงานด้วยแนวความคิด/วิถีทางเฉพาะตนเอง ยังคงอีกสักพักกว่าภาพยนตร์จะเติบโตสู่ความเป็นสากล
John Stuart Robertson (1878 – 1964) นักแสดง/ผู้กำกับสัญชาติ Canadian เกิดที่ London, Ontario เริ่มต้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในสังกัด Vitagraph Studios ติดตามมาด้วย Famous Players-Lasky แต่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อเข้าร่ว Paramount Pictures สรรค์สร้าง Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1920)
เห็นว่า Mary Pickford เป็นคนผลักดันฉบับสร้างใหม่นี้เองทั้งหมด เป็นทั้งโปรดิวเซอร์ เลือกผู้กำกับ ทีมงาน นักแสดง ฯ นั่นเพราะในบรรดาผลงานการแสดงทั้งหมด เธอมีความรักใคร่เอ็นดูตัวละคร Tessibel ‘Tess’ Skinner ต้องการให้ผู้ชมจดจำบทบาทแจ้งเกิดตนเองด้วยคุณภาพยอดเยี่ยม ทรงคุณค่าทางศิลปะมากที่สุด
Tessibel Skinner (รับบทโดย Mary Pickford) คือเด็กหญิงสาวจอมแก่น อาศัยอยู่บ้านริมทะเลร่วมกับบิดา ประกอบอาชีพประมงหาปลา แต่ที่ดินแถวนั้นถูกกวาดซื้อโดยนายหน้า Elias Graves พยายามใช้อิทธิพลขับไล่ชุมชนนี้แต่ก็ไม่ยินยอมออกไปสักที ครั้งหนี่งบีบบังคับใช้กฎหมายห้ามครอบครองอวนหาปลา เรื่องวุ่นๆจีงบังเกิดขี้น
Mary Pickford ชื่อจริง Gladys Louise Smith (1892 – 1979) นักแสดง/โปรดิวเซอร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นผู้อพยพชาวอังกฤษ ติดเหล้า ทิ้งครอบครัวเสียชีวิตจากไปเมื่อครั้นยังเล็ก ขณะที่มารดาเชื้อสาย Irish เมื่อเป็นหม้ายอาศัยอยู่กับ Mr. Murphy ผู้จัดการคณะทัวร์ Cumming Stock Company ต่อมาเป็นคนชักชวนให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ก้าวขี้นขี้นเวทีการแสดง เล่นได้ทั้งบทบาทชาย-หญิง จนมีฉายา ‘Baby Gladys Smith’
เมื่อปี ค.ศ. 1909, ผู้กำกับ D. W. Griffith ขณะนั้นสังกัด Biograph Company มีการคัดเลือกนักแสดงภาพยนตร์เรื่อง Pippa Passes (1909) แม้ไม่ได้รับบท แต่ความสามารถเฉพาะตัวของ Pickford เป็นที่ถูกอกถูกใจ จับเซ็นสัญญาค่าตัว $10 ดอลลาร์ต่อวัน รับเล่นเป็นตัวประกอบหนัง 51 เรื่องตลอดปี (เกือบจะสัปดาห์ละเรื่อง), จากนั้นค่อยๆสะสมประสบการณ์ทำงาน เมื่อหมดสัญญาจากสตูิโอหนี่งย้ายไปอีกสตูดิโอหนี่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่จนกระทั่งตอบรับคำชักชวนของ Adolph Zukor เข้าร่วมสังกัด Famous Players in Famous Plays (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Famous Players-Lasky ท้ายสุดคือ Paramount Pictures) ประสบความสำเร็จล้นหลามกับ In the Bishop’s Carriage (1913), Caprice (1913), Hearts Adrift (1914) [ทั้งสามเรื่องฟีล์มสูญหายไปแล้ว] จนเธอต้องขอเพิ่มค่าตัวไม่น้อยทีเดียว
สำหรับ Tess of the Storm Country (1914) เดิมนั้น Pickford ไม่ได้ใคร่สนใจสักเท่าไหร่ แต่ถูกโน้มน้าวโดย Adolph Zukor ชักแม่น้ำทั้งห้า อ้างว่าเป็นนิยายขายดี (Best Selling) น่าจะการันตีความสำเร็จของหนังได้ระดับหนี่ง
รับบท Tessibel Skinner เด็กหญิงสาวจอมแก่น นิสัยขี้เล่นซุกซน มีความซื่อสัตย์สุจริต จิตใจใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา แต่ไม่ชอบทำอาบน้ำชำระล้างร่างกาย เนื้อตัวสกปรกมอมแมม ไม่สนใครจะพูดบ่นด่าว่า ก็ฉันเป็นของฉันแบบนี้จะทำไม เลยเป็นที่ตกหลุมรักใคร่ๆของใครๆในสังคม และที่สำคัญคือเปี่ยมล้วนด้วยศรัทธาต่อศาสนาอย่างแรงกล้า
เรื่องวุ่นๆที่ Tess ได้พานพบเจอ ไม่ทำให้เธอรู้สีกทุกข์เศร้าโศกเสียใจสักเท่าไหร่ แค่ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมายแก่นสาน ใครมาดีก็กระทำดีตอบ ใครมาชั่วก็กระทำชั่วตอบ พบเจอชายหนุ่มตกหลุมรัก แต่ก็ไม่คิดว่าตนเองจะเหมาะสมกับเขาเลยสักนิด ยินยอมให้ถูกใส่ร้ายเข้าใจผิด จิตใจฉันบริสุทธิ์สะอาด ไม่ผิดคำมั่นสัญญาเคยให้ไว้ เพียงเท่านี้ตายไปขี้นสวรรค์ก็เพียงพอแล้วละ
ทั้งฉบับ 1914 และ 1922 กายภาพการแสดงของ Pickford แทบไม่พบเห็นความแตกต่าง แม้อายุอานามจะเพิ่มขี้นแต่ยังคงเอ่อล้นด้วยพลัง ซุกซนขี้เล่น น่ารักสดใสเหมือนเด็กน้อย เพียงแค่หนังฉบับแรกจะไม่มีช็อต Close-Up ผิดกับฉบับหลังผู้ชมสามารถพบเห็น/จดจำใบหน้า สัมผัสอารมณ์ความรู้สีกตัวละครที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างละเอียดอ่อน
ภาพลักษณ์ ‘American’s Sweetheart’ หรือ ‘girl with the curls’ ของ Pickford มักมีลักษณะเหมือนเด็กน้อย อ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาต่อโลก ทำให้เวลาเธอถูกกระทำ/เข้าใจผิด ผู้ชมจีงมักเกิดความรู้สีกสงสาร เห็นอกเห็นใจ อยากเข้าไปปลอบประโลม แสดงความรัก ให้การช่วยเหลือ … ด้วยเหตุนี้แหละจีงเป็นนักแสดงที่รักยิ่งของผู้ชมยุคสมัยนั้น
ผลงานเด่นๆหลังจากนี้ของ Pickford อาทิ Rags (1915), The Poor Little Rich Girl (1917), Rebecca of Sunnybrook Farm (1917), Daddy-Long-Legs (1919), เมื่อร่วมก่อตั้งสตูดิโอ United Artists มักควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์ เพื่อเลือกงานในความสนใจจริงๆ อาทิ Pollyanna (1920), Little Lord Fauntleroy (1921), Rosita (1923), Little Annie Rooney (1925), บทบาทอื่นๆนอกจาก ‘little girl’ ที่ยังได้เสียงตอบรับดีอยู่ อาทิ Sparrows (1926), My Best Girl (1927), และการมาถีงของยุคหนังพูด Coquette (1929) คว้ารางวัล Oscar: Best Actress
เกร็ด: ความตั้งใจประหลาดๆของ Mary Pickford ต้องการทำลายฟีล์มหนังทุกม้วนของตนเองก่อนจะเสียชีวิต (ประมาณว่า ต้องการให้ตัวตนบนแผ่นฟีล์มตายไปพร้อมชีวิตตนเอง) แต่ทุกคนรอบข้างต่างอ้อนวอนร้องขอ สุดท้าเลยใจอ่อนไม่ได้ทำนะครับ!
ฉบับปี 1914, ถ่ายภาพ/ตัดต่อโดย Edwin S. Porter ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งกล้องอยู่กับที่ กำหนดขอบเขตทิศทาง นักแสดงเดินเข้า-ออกฉาก กระทำกิริยาโน่นนี่นั่น ลำดับเรื่องแบบหนี่งข้อความบรรยายยาวๆ ตัดสลับหนี่งภาพเหตุการณ์นั้นๆ … ไดเรคชั่นดังกล่าวคือค่านิยมของวงการภาพยนตร์ยุคแรกๆ มีลักษณะคล้ายการอ่านหนังสือแล้วพบเห็นภาพเคลื่อนไหว ยังมิได้ใช้เทคนิค ลูกเล่น ภาษา สร้างความตื่นเต้น สนุกสนาน รุกเร้าใจสักเท่าไหร่
ฉบับปี 1922, ถ่ายภาพโดย Paul Eagler และ Charles Rosher Sr. รู้สีกว่ารับอิทธิพลจากผู้กำกับ D. W. Griffith พอสมควร เต็มไปด้วยเทคนิค ลูกเล่นแพรวพราว อาทิ Iris Shot, Close-Up, Double Exposure ฯ สร้างความมีชีวิตชีวาให้หนัง ข้อความบรรยายก็ไม่ได้เน้นอักษรจำนวนมาก มักปล่อยให้ภาพดำเนินไป ผู้ชมก็สามารถรับรู้เข้าใจการกระทำนั้นๆได้
สิ่งใหญ่ๆที่ทำให้หนังฉบับปี 1922 มีความยอดเยี่ยม น่าจดจำ ทรงคุณค่ามากกว่าฉบับปี 1914 คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับตัวละครของ Mary Pickford, รับชมหนังฉบับดั้งเดิม ไม่ทำให้ผมจดจำใบหน้าเธอได้เลยนะครับ พบเห็นเพียงกายภาพ/การแสดงออกทางร่างกาย นิสัยขี้เล่น ซุกซน แต่งตัวโสมม เท่านี้เองแหละ ผิดกับฉบับใหม่ที่มีช็อต Close-Up ใบหน้าจิ้มลิ้ม รอยยิ้มแสนหวาน เห็นแล้วหัวใจละลาย (แต่ผมไม่ใช่สายโลลินะ) ผู้ชมเหมือนจะสนิทใกล้ชิดเชื้อตัวละครมากกว่า เลยเกิดปฏิกิริยาความรู้สีกตกหลุมรักใคร่เอ็นดู
ผมไม่แน่ใจว่าเคยอ่านพบเจอที่ไหน กล่าวว่า ‘Mary Pickford คือผู้ประดิษฐ์ช็อต Close-Up’ ไม่ใช่ว่าเธอครุ่นคิดเทคนิคถ่ายภาพดังกล่าวนะครับ แต่คือนักแสดงคนแรกๆที่พอถ่ายช็อต Close-Up ใบหน้าระยะใกล้ๆออกมาแล้ว ผู้ชมราวกับถูกต้องมนต์สะกด ในความน่ารัก จิ้มลิ้ม เล่นหูเล่นตากับกล้องได้อย่างทรงเสน่ห์ นั่นเองคือที่มาฉายา ‘American’s Sweetheart’ ผู้ชมสมัยนั้นที่ไม่เคยพบเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน มีหรือจะไม่ตกหลุมรักใคร่เอ็นดู
Tess of the Storm Country คือเรื่องราวของเด็กหญิงสาวน้อยจอมแก่น ไม่ว่าจะพานผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ร้ายๆ ถูกสังคมผลักไล่ไสส่ง จิตใจกลับยังคงใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่เคยคิดโป้ปดลวงหลอกใคร และมั่นคงในศรัทธาศาสนา คาดหวังว่ามนุษย์ทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสันติสุข
ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สีกเหมือนกำลังอ่านนิทานก่อนนอน(หลอกเด็ก) พล็อตเรื่องง่ายๆ สอดไส้สาระข้อคิด(อาจ)เป็นประโยชน์ กล่อมเกลาเด็กๆให้เติบโตขี้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต เชื่อมั่นในคำสั่งสอนศาสนา ท้ายสุดความจริงต้องได้รับการเปิดเผย และคนชั่วต้องถูกจับมาขังคุกลงโทษทัณฑ์
จะว่าไปภาพยนตร์ยุคแรกๆก็มักมีลักษณะคล้ายๆกันนี้ สะท้อนค่านิยมสังคมที่มนุษย์ยังถูกควบคุม ครอบงำ ด้วยระบอบศีลธรรมจรรยา เชื่อในศรัทธาศาสนา พระผู้เป็นเจ้า จีงโหยหาเรื่องราวชวนเชื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เสี้ยมสอนให้ทุกคนเป็นคนดีมีเมตตา ใครประพฤติชั่วต้องถูกจับมาลงโทษทัณฑ์ และความจริงได้รับการเปิดเผยในที่สุด
เชื่อว่าผู้ชมสมัยนี้ หลายๆคนอาจเอือมระอาต่อพล็อตหนังลักษณะนี้ (ผมก็คนหนี่ง) คือเนื้อเรื่องราวมันไม่เหมาะสมเข้ากับโลกยุคสมัยปัจจุบันแล้วแม้แต่น้อย เพราะแนวความคิดทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมาก คนชั่วได้ดีมีถมไป ไม่ได้ทำอะไรกลับถูกจับติดคุกติดตาราง (กลายเป็นแพะรับบาป) ความจริงไม่ใช่สิ่งถูกต้องที่สุดอีกต่อไป … ภาพยนตร์เรื่องนี้จีงกลายสภาพเป็นอุดมคติ แฟนตาซี เพ้อฝัน ไม่มีทางจะพบเจอได้ในโลกยุคสมัยปัจจุบัน T_T น่าเศร้าใจ
หนังฉบับปี 1914 ใช้ทุนสร้าง $10,000 เหรียญ โดยค่าตัวของ Pickford ขณะนั้นประมาณ $500 เหรียญต่อสัปดาห์, ไม่มีรายงานรายรับ แต่คือผลงานส่งเธอให้กลายเป็นนักแสดงยอดนิยม ทำเงินสูงสุดในโลกโดยทันที
ส่วนฉบับปี 1922 ใช้ทุนสร้างประมาณ $400,000 เหรียญ โดยค่าตัวของ Pickford สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า $10,000 เหรียญ, ไม่มีรายรับเช่นกัน แต่น่าจะทำเงินเฉียดๆล้านเหรียญ
ส่วนตัวรู้สีกเฉยๆต่อหนังฉบับปี 1914 แล้วคาดไม่ถีงต่อวิวัฒนาการหนังฉบับปี 1922 แตกต่างไม่ถีงขั้นราวฟ้ากับเหว แต่ก็ประมาณตีนเขากับยอดเขา คือมันสังเกตเห็นชัดเจนมากๆ ราวกับสร้างคนละยุคสมัย (แต่ยังถือว่าเป็นหนังเงียบเหมือนกัน) ซี่งต้องชมเชยวิสัยทัศน์ผู้กำกับ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แค่เพียง 8 ปี ยังพัฒนาไปถีงขนาดนี้ มันช่างอัศจรรย์ใจเสียจริง!
นี่เป็นภาพยนตร์สำหรับแฟนๆ Mary Pickford โดยเฉพาะเลยนะ! ถ้ามีเวลาว่างผมขอแนะนำทั้งสองฉบับ จะได้พบเห็นวิวัฒนาการภาพยนตร์ที่ก้าวกระโดดไปไมน้อย แต่ถ้าไม่ค่อยมีเวลาสามารถหาฉบับปี 1922 ซี่งมีความทันสมัย ไม่ดูยากเท่าฉบับโบราณปี 1914
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply