The Age of Innocence

The Age of Innocence (1993) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♥

นี่คือภาพยนตร์ที่มีความรุนแรงเหี้ยมโหดร้ายที่สุดของ Martin Scorsese ทั้งๆไม่มีฉากต่อสู้ เข่นฆ่า ทาสีบ้าน แต่ในยุคสมัยทองชุบ Gilded Age (1865–1914) ภายนอกดูสวยหรูระยิบระยับ จิตใจมนุษย์กลับมีเพียงความเลือดเย็นชา

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ล้วนตั้งคำถาม Martin Scorsese เนี่ยนะ! จะกำกับหนังดราม่าย้อนยุค (Costume Period) เกี่ยวกับความสัมพันธ์โรแมนติกรักสามเส้า (Love Triangle) เก่าก่อนเคยเห็นแต่ผลงานเน้นความรุนแรง อาชญากรรม ต่อสู้เข่นฆ่า เลือดสาดเต็มพื้นผนัง … แต่หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างเสร็จออกฉาย ก็สร้างความตกตะลึงให้ใครหลายๆคน The Age of Innocence (1993) มันช่างบดขย้ำขยี้ จี้แทงหัวใจผู้ชม มีความเหี้ยมโหดร้ายยิ่งกว่า Mean Streets (1973), Taxi Driver (1976) หรือ Goodfellas (1990) เสียอีกนะ!

What has always stuck in my head is the brutality under the manners. People hide what they mean under the surface of language. In the subculture I was around when I grew up in Little Italy, when somebody was killed, there was a finality to it. It was usually done by the hands of a friend. And in a funny way, it was almost like ritualistic slaughter, a sacrifice. But New York society in the 1870s didn’t have that. It was so cold-blooded. I don’t know which is preferable.

Martin Scorsese

ทัศนะของผู้กำกับ Martin Scorsese ที่เป็นชาวอเมริกัน เชื่อมั่นในอิสรภาพของการครุ่นคิดแสดงออก มองสังคมยุคสมัยที่มนุษย์ต้องอยู่ภายใต้กฎกรอบ ขนบประเพณี ไม่สามารถพูดหรือกระทำสิ่งตอบสนองความต้องการของตนเอง ว่ามีความเหี้ยมโหดร้าย (Brutality) เลือดเย็นชาสิ้นดี (Cold-Blooded)

ไม่รู้เพราะผมเพิ่งรับชม Sense and Sensibility (1995) ของผู้กำกับ Ang Lee ที่แบ่งตัวละครออกเป็นสองฝั่งขั้วตรงข้าม อารมณ์-เหตุผล จำต้องได้รับการเติมเต็มซึ่งกันและกัน, จึงพบเห็น The Age of Innocence (1993) มีความสุดโต่งในการใช้อารมณ์ชี้ชักนำทางเรื่องของความรัก แล้วศิโรราบภายใต้ขนบกฎกรอบทางสังคม นั่นเป็นการสร้างอคติให้ผู้ชม บังเกิดความขื่นขมระทมใจ ‘ชวนเชื่อ’ อุดมคติอิสรภาพเหนือสิ่งอื่นใด

จริงอยู่ว่า The Age of Innocence (1993) คือมาสเตอร์พีซในแง่ของงานสร้าง ภาษาภาพยนตร์ (ถ่ายภาพ+ตัดต่อ) โดยเฉพาะไดเรคชั่นของ Martin Scorsese สร้างความแตกต่างได้น่าสนใจ แต่ปัญหาคือทัศนคติของ Marty ที่สุดโต่งจนแบนราบ มีความเป็น’อเมริกัน’มากเกินไป


ก่อนอื่นของกล่าวคร่าวๆถึงยุคสมัยทองชุบ, Gilded Age (1865–1914) เริ่มนับตั้งแต่หลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน American Civil War (1861-65) มาจนสิ้นสุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18) ถือเป็นยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา อันเนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมีเหลืออยู่มากมาย โดยเฉพาะเหล็ก ถ่านหิน น้ำมัน ฯ กลายเป็นที่จับจ้องของบรรดานักลงทุน ผู้อพยพจากยุโรปและเอเชีย เข้ามากอบโกยแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความร่ำรวย มั่งคั่ง จนทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจ เจ้าโลก (มาจนถึงปัจจุบัน)

แต่ในเวลาเดียวกันยุคสมัยนี้ยังเต็มไปด้วยการทุจริต คอรัปชั่น เพราะอำนาจของเงินที่นักลงทุนใช้ต่อรองนักการเมือง ทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจอุตสาหกรรม นำไปสู่ความแตกต่างระหว่างคนรวย-จน เริ่มพบเห็นเด่นชัด ก่อให้เกิดปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ติดตามมามากมาย

ช่วงระหว่างยุคทองชุบ เหล่าอภิมหาเศรษฐีมักมีการใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยแบบไม่เคยปรากฎมาก่อน พยายามสร้างภาพว่าตนเองเป็นผู้ดีมีรสนิยม ชาติตระกูลสูงส่ง สร้างคฤหาสถ์ขนาดมโหฬารเลียนแบบปราสาทราชวังในยุโรป กว้านซื้อเครื่องเรือน งานศิลปะ ออกท่องเที่ยวที่เรียกกันว่า ‘grand tour’ รวมทั้งใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการรับชมอุปรากร ละคร จัดงานเลี้ยงหรูหราอวดร่ำรวย …. ขณะที่ชนชั้นแรงงานและบรรดาผู้อพยพ มักต้องอาศัยอยู่อย่างแออัดตามแหล่งเสื่อมโทรม เมืองใหญ่ๆซ่องสุมด้วยองค์กรอาชญากรรม

ในสายตาชาวโลก สหรัฐอเมริกายุคนี้มีความร่ำรวยทันสมัย แต่ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่กลับมีชีวิตลำบากยากจน น้อยคนนักจะประสบความสำเร็จ เติมเต็มอุดมการณ์เพ้อฝัน ‘American Dream’

reference: http://lit.human.ku.ac.th/past/web_new51/link_16/_2/Gilded%20Ag.pdf


Edith Newbold Jones (1862-1937) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ครอบครัวมีฐานะร่ำรวยจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นที่รู้จักในแวดวงไฮโซ สังคมชนชั้นสูง ช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน (1861-65) ออกเดินทางหลบหนีสงครามไปท่องเที่ยวยุโรป จนสามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลี่ยน, ที่บ้านมีห้องสมุดขนาดใหญ่ทำให้ค้นพบความสนใจด้านการอ่านตั้งแต่เด็ก เริ่มเขียนบทกวีตอนอายุ 11 และนวนิยายเรื่องแรก Fast and Loose (1877)

ชีวิตส่วนตัวของ Edith แต่งงานกับ Edward Robbins Wharton (1885–1913) แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ค่อยราบรื่นสักเท่าไหร่ บ่อยครั้งจับได้ว่าฝ่ายชายคบชู้นอกใจ แถมไม่สามารถเลิกราหย่าร้าง เพราะกลัวข่าวคาว สูญเสียชื่อเสียง ส่งผลกระทบต่ออาชีพการงานของตนเอง ซึ่งหลังจากสามีเสียชีวิต ก็ย้ายไปปักหลักอาศัยอยู่ฝรั่งเศสจนเสียชีวิต

งานเขียนของ Edith มีทั้งบทกวี เรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงนิตยสาร รวมเล่มนวนิยายขายดีมากมาย แต่ผลงานที่โด่งดังได้รับการกล่าวถึงมากสุดจนถึงปัจจุบันก็คือ The Age of Innocence (1920) นวนิยายลำดับที่ 12 ตีพิมพ์แยก 4 ตอนลงนิตยสาร Pictorial Review ก่อนรวมเล่มจัดจำหน่ายโดย D. Appleton & Company สามารถคว้ารางวัล Pulitzer Prize for Fiction กลายเป็นนักเขียนหญิงคนแรกคว้ารางวัลดังกล่าว

เกร็ด: จริงๆแล้วคณะกรรมการ Pulitzer Prize ปีนั้นเลือกผู้ชนะ Sinclair Lewis จากผลงาน Main Street (1920) แต่อธิการบดี Nicholas Murray Butler แห่ง Coumbia University บอร์ดบริหาร/ที่ปรึกษารางวัลนี้ใช้เส้นสายบางอย่าง โน้มน้าวคณะกรรมการจนเปลี่ยนแปลงผู้ชนะมาเป็น The Age of Innocence (1920) ของ Edith Wharton

ในหนังสืออัตชีวประวัติของ Edith เล่าว่า The Age of Innocence (1920) คือผลงาน ‘ค้นหารากเหง้า’ ที่ช่วยให้เธอหวนรำลึกช่วงเวลาวัยเด็ก (ขณะตีพิมพ์นวนิยายเล่มนี้อายุ 58 ปี) ความทรงจำถึงสังคมสหรัฐอเมริกาที่ได้สูญสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

a momentary escape in going back to my childish memories of a long-vanished America… it was growing more and more evident that the world I had grown up in and been formed by had been destroyed in 1914.

Edith Wharton กล่าวถึงแรงบันดาลใจของนวนิยาย The Age of Innocence (1920)

เกร็ด: Edith Wharton มีชื่อเข้าชิง Nobel Prize in Literature ถึงสามครั้งเมื่อปี 1927, 1928 และ 1930 น่าเสียดายไม่เคยคว้ารางวัลดังกล่าว


Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan เพราะพื้นเพครอบครัวเป็นชาวอิตาเลี่ยน เดินทางอพยพมาจาก Palermo, Sicily และนับถือ Roman Catholic อย่างเคร่งครัด!

วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นเข้าเรียน Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) จบปริญญาสาขาภาษาอังกฤษ และต่อโทที่ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts) สาขาวิจิตรศิลป์ (Master of Fine Arts)

กำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Mean Streets (1973), โด่งดังพลุแตกกับ Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), คว้ารางวัล Palme d’Or เรื่อง Taxi Driver (1976), Raging Bull (1980), The Last Temptation of Christ (1988), GoodFellas (1990) ฯลฯ

นักเขียน/นักวิจารณ์ John C. ‘Jay’ Cocks, Jr. (เกิดปี 1944) หนึ่งในวงเพื่อนสนิทของ Marty เมื่อประมาณปี 1980 ได้มอบนวนิยาย The Age of Innocence (1920) วรรณกรรมชิ้นเอกของ Edith Wharton พร้อมให้คำแนะนำ

When you do that romantic piece, this one is for you.

Jay Cocks

แม้จะได้รับนวนิยายเล่มดังกล่าวมาเมื่อปี 1980 แต่ Marty ก็ไม่ได้มีความสนใจใคร่อยากอ่านสักเท่าไหร่ (ครุ่นคิดว่านี่คงไม่แนวทางของตนอง) กระทั่งหลังเสร็จการถ่ายทำ The Last Temptation of Christ (1988) ถึงค่อยมีเวลานั่งลงอ่าน แล้วค้นพบความน่าสนใจที่คาดไม่ถึง

Although the film deals with New York aristocracy and a period of New York history that has been neglected, and although it deals with code and ritual, and with love that’s not unrequited but unconsummated—which pretty much covers all the themes I usually deal with.

Martin Scorsese

Marty ติดต่อกลับไปหา Cocks ชักชวนมาร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์ (ทั้งสองร่วมกันอีกเรื่อง Gangs of New York (2002) และ Silence (2016)) แล้วว่าจ้างนักวิจัย นักประวัติศาสตร์ เพื่อขุดค้นคว้าหารายละเอียดพื้นหลัง ยุคสมัยทองชุบ, Gilded Age (1865–1914) ที่กำลังถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา แล้วเสร็จสิ้นบทร่างแรกเดือนกุมภาพันธ์ 1989

นำไปยื่นของบประมาณ Twentieth Century Fox ตอบตกลงที่ $32 ล้านเหรียญ และสามารถจองตัวนักแสดงนำ Daniel Day-Lewis แต่ขณะกำลังจะเริ่มต้นเตรียมงานสร้าง กลับโดนสตูดิโอลอยแพ ซะงั้น! (เหมือนว่า Fox กำลังถังแตก)

เวลาต่อมา Universal Studio ยื่นข้อเสนองบประมาณ $30 ล้านเหรียญ แต่ระหว่างนั้น Marty กำลังเตรียมงานสร้าง Goodfellas (1990) อยู่กับ Columbia Pictures ซึ่งได้พูดคุยถูกคอกับผู้บริหาร Mark Canton เลยอาสาออกทุนเต็มจำนวนตามที่ร้องขอ


พื้นหลังทศวรรษ 1870s ในแวดวงไฮโซ New York City เรื่องราวของนักกฎหมาย Newland Archer (รับบทโดย Daniel Day-Lewis) มีแผนหมั้นหมายแต่งงานกับ May Welland (รับบทโดย Winona Ryder) แต่ความรู้สึกแท้จริงกลับตกหลุมรัก Countess Ellen Olenska (รับบทโดย Michelle Pfeiffer) ที่กำลังถูกสังคมติฉินนินทา เพราะเธอต้องการเลิกราหย่าร้างสามีผู้ดีชาว Polish

Newland ได้กลายเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับ Countess Ellen แม้ลึกๆก็อยากให้เลิกราหย่าร้าง (เพื่อว่าตนเองจะได้มีโอกาสเปลี่ยนคู่ครองแต่งงาน) แต่เมื่อถูกใครต่อใครพูดกดดัน สังคมตีตราว่าร้าย จึงมิอาจอดรนทนให้เธอต้องสูญเสียชื่อเสียง (ให้คำแนะนำหวนกลับไปหาสามี) แต่นั่นกลับยิ่งสร้างความอึดอัด ระทมทุกข์ทรมาน เพราะทำให้เขามิอาจพบเจอหน้า อยู่เคียงชิดใกล้กันได้อีก

สำหรับ May ที่แม้สัมผัสได้ถึงความผิดปกติของชายคนรัก แต่ไม่เคยพูดบอก-แสดงออกอย่างเด่นชัด เพราะ Newland ก็ไม่เคยกระทำสิ่งเสียๆหายๆอื่นใด ยินยอมเสียสละตนเอง ปลดปล่อยความรู้สึกจาก Countess Ellen เลือกใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วมกัน เธอจึงพยายามธำรงรักษาความสงบสุขนั้นไว้จนกระทั่งสิ้นลมหายใจ


Sir Daniel Michael Blake Day-Lewis (เกิดปี 1957) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Kensington, London เป็นบุตรของนักกวี Cecil Day-Lewis (1904 – 1972) กับแม่ประกอบอาชีพนักแสดง Jill Balcon (1925 – 2009) ความสนใจในวัยเด็กมีเพียงสามอย่าง เกี่ยวกับงานไม้ การแสดง และตกปลา, ก่อนโตขึ้นตัดสินใจเลือกเป็นนักแสดงละครเวทีที่ National Youth Theatre ฝึกหัดอยู่หลายปีจนได้รับโอกาสเข้าเรียน Bristol Old Vic ภายใต้ John Hartoch, เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากบทสมทบเล็กๆ Gandhi (1982), แจ้งเกิดโด่งดังกับ My Beautiful Laundrette (1985), A Room with a View (1985), จากนั้นครุ่นคิดแนวทาง Method Acting ของตนเอง สวมบทบาทเป็นตัวละครตลอดการถ่ายทำตั้งแต่ My Left Foot (1989) จนคว้า Oscar: Best Actor ได้เป็นครั้งแรก, โกอินเตอร์ข้ามมาฝั่ง Hollywood ในผลงาน The Last of the Mohicans (1992), The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002), คว้า Oscar ตัวที่สองจาก There Will Be Blood (2007) และตัวที่สาม Lincoln (2012)

รับบท Newland Archer ทนายหนุ่มหล่อ เคยมีความสัมพันธ์รักคลั่ง Countess Ellen Olenska ก่อนที่เธอจะแต่งงานกับผู้ดีชาว Polish หลายปีถัดมาขณะกำลังเตรียมหมั้นหมายสาวสวย May Welland พอดิบพอดีอดีตคนรักหวนกลับมา New York City ทำให้ถ่านไฟเก่าค่อยๆคุกรุ่น โหยหาใคร่ครวญ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของเธออีกสักครั้ง โดยไม่สนว่าจะต้องบอกเลิกราภรรยาแต่กลับถูกบอกปัดปฏิเสธ แล้วโชคชะตาก็ทำให้เขามิอาจหาญกล้ากระทำสิ่งใดๆ

แม้โปรดักชั่นจะล่าช้าไปหลายปี แต่เพราะ Daniel Day-Lewis มีความชื่นชอบบทบาทนี้มากๆ เคยตอบตกลงผู้กำกับ Marty ไปแล้วเลยไม่ครุ่นคิดจะเปลี่ยนใจ ก่อนหน้าเริ่มต้นถ่ายทำ 2 สัปดาห์ เช็คอินที่โรงแรม Plaza Hotel ในชื่อ N. Archer พร้อมใส่เสื้อผ้า แต่งหน้าทำผม สวมบทบาทให้กลายเป็นตัวละคร ‘in character’ อยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถ่ายทำเสร็จสิ้น

ผมมีความเพลิดเพลินทุกครั้งที่ได้รับชมการแสดงอันสมบูรณ์แบบของ Daniel Day-Lewis เพราะการสวมบทบาทเป็นตัวละครอยู่ตลอดเวลา ต้องใช้การขบครุ่นคิด ตั้งคำถามถึงทุกอากัปกิริยา (ว่าถ้าเป็นตัวละครจะกระทำสิ่งโน่นนี่นั่นออกมาเช่นไร) เมื่อบังเกิดความเข้าใจ กระทำซ้ำทุกวี่วัน ก็จักพัฒนาสู่สันชาตญาณ มีความลื่นไหล และเป็นธรรมชาติอย่างมากๆ

สำหรับ Newland Archer เป็นบทบาทที่เต็มไปด้วยความอึดอัด เก็บกดดัน จำต้องปกปิดซุกซ่อนเร้นสิ่งต่างๆมากมาย ผมประทับใจมากๆกับการใช้น้ำเสียงที่พยายามปั้นแต่งให้มีความพอดิบดี สำหรับคนที่ช่างสังเกตจักพบว่าเมื่อตัวละครถูกจับได้ไล่ทัน หรือต้องโกหกโป้ปด มันจะมีความสั่นเครือ หรือระดับเสียงสูง-ต่ำกว่าปกติ (กล่าวคือ มีการใช้ระดับเสียงเพื่อสะท้อนสภาวะทางจิตใจของตัวละคร)

พัฒนาการทางอารมณ์ของตัวละคร ก็มีการไล่ระดับที่จักค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ช่วงแรกๆจักมีแค่แสดงส่ายสีหน้าเมื่อหงุดหงิด ไม่พึงพอใจ จากนั้นก็เริ่มออกอาการกวัดแกว่ง เหวี่ยงซ้ายเหวี่ยงขวา เมื่อถึงจุดๆเส้นเลือดปูดโปนขึ้นบนใบหน้า ดวงตาแดงกล่ำ แล้วร่ำไห้ออกมา (Daniel Day-Lewis ไม่เคยต้องใช้น้ำตาเทียมนะครับ เมื่ออารมณ์มันถึง น้ำตาก็ไหลหลั่งออกมาเอง)

ส่วนไฮไลท์การแสดงผมยกให้ตอนจบของหนัง แม้มีโอกาสหวนกลับหา(อดีต)หญิงคนรัก แต่ถ่านไฟเก่าที่เคยคุกรุ่นได้มอดดับสิ้นลงมานานแล้ว สีหน้าสายตาเต็มไปด้วยความขื่นขม กาลเวลาทำให้ผู้คนหลงเหลือเพียงความเยือกเย็นชา


Michelle Marie Pfeiffer (เกิดปี 1958) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Santa Ana, California ช่วงระหว่างร่ำเรียน Golden West College ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Alpha Delta Pi เคยฝึกฝนเป็นนักชวเลขอยู่สักพัก ก่อนตัดสินใจมุ่งมั่นเอาดีด้านการแสดง เข้าประกวดนางงามชนะเลิศ Miss Orange County ตามคว้าที่หก Miss California แต่เข้าตาแมวมองจับเซ็นสัญญา แสดงซีรีย์ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก The Hollywood Knights (1980), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Scarface (1983), The Witches of Eastwick (1987), Married to the Mob (1988), Dangerous Liaisons (1988), The Fabulous Baker Boys (1989), Love Field (1992), Batman Returns (1992), The Age of Innocence (1993) ฯ

รับบท Countess Ellen Olenska เป็นหญิงสาวผู้เต็มไปด้วยมารยาเสน่ห์ ลีลาร้อยเล่มเกวียน สวยเซ็กซี่จนทำให้ใครต่อใครต้องชายตามอง ด้วยความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง เลยตอบตกลงแต่งงานท่านเคานต์ชาว Polish ครุ่นคิดว่าชีวิตคงมีความสุขสบาย ที่ไหนได้กลับถูกกระทำร้าย ใช้ความรุนแรง (เพราะความหึงหวงของสามี) เลยตัดสินใจหลบหนีสู่สหรัฐอเมริกา โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต แต่ใครต่อใครกลับยังคงหมกมุ่นยึดติดขนบประเพณี สนเพียงภาพลักษณ์อันดีงาม ยกเว้นแค่อดีตคนรัก Newland Archer แม้ถ่านไฟเก่ายังคงคุกรุ่น แต่เธอกลับเลือกรักษาระยะห่าง ไม่ต้องให้เขามาประสบหายนะแบบตนเอง

ตรงกันข้ามกับภาพลักษณ์สวยใสไร้เดียงสาของ Winona Ryder ใบหน้าตาของ Michelle Pfeiffer เต็มไปด้วยริ้วรอย ประสบการณ์ พานผ่านโลกมามาก แต่มีความโฉบเฉี่ยว สวยเซ็กซี่ ลีลายั่วเย้ายวนรัญจวนใจ เมื่อได้ลิ้มลองก็มิอาจปล่อยปละละวาง ใคร่โหยหาเธอมาครอบครอง แลกกับอะไรก็ไม่สนทั้งนั้น!

แต่บอกตามตรง ผมแทบมองไม่เห็นว่าตัวละครนี้โฉดชั่วร้ายยังไง? ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นการตีตรา/ใส่ร้ายป้ายสีของผู้คนในสังคม ไม่ยินยอมรับการหย่าร้าง เลิกรากับสามี (ที่เป็นขุนนาง/ผู้ดีมีสกุล) แล้วต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว ทำลายภาพลักษณ์ของวงศ์ตระกูล ส่วนความสัมพันธ์ชู้สาวกับใครต่อใครนั่นก็แค่เสียงลือเสียงเล่าอ้าง เสียงซุบซิบนินทา จริงบ้างไม่จริงบ้างก็แค่ขี้ปากของพวกชอบเสือกเรื่องชาวบ้าน

Michelle Pfeiffer พยายามสร้างภาพภายนอกให้ตัวละครนี้ดูเข้มแข็งแกร่ง เพื่อปกปิดความอ่อนแอ ขาดเขลา จิตใจเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นสั่นสะพรึงกลัว ไม่เคยเปิดเผยออกให้ใครพบเห็น (เพราะมันจะกลายเป็นขี้ปากชาวบ้าน) ตัดสินใจหลบหนีการแต่งงาน คาดหวังว่าจะได้รับอิสรภาพยังสหรัฐอเมริกา แต่กลับไม่พบเห็นความแตกต่างประการใด รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง อับจนหมดสิ้นหนทาง

ในบรรดาสามตัวละครหลัก ผมรู้สึกสงสารเห็นใจ Countess Ellen มากที่สุด! เพราะเธอแทบไม่มีสิทธิ์เสียงอะไร ถูกใครต่อใครตีตราว่าร้าย กลายเป็นนางปีศาจร้ายของสังคม พยายามจะหลบหนีเอาตัวรอดแต่ก็ไปไม่ถึงไหน ได้รับความช่วยเหลือมากมายจาก Newland Archer จนรู้สึกสาสำนึกผิดแก่ใจ สุดท้ายเลยตัดสินใจหวนกลับไปหาสามี ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อให้เขามีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่


Winona Laura Horowitz (เกิดปี 1971) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Winona, Minnesota บิดามีเชื้อสาย Jewish, หนี่งในพ่อทูนหัวของเธอคือ Philip K. Dick, วัยเด็กชื่นชอบการอ่าน แต่พอโตขี้นตัดสินใจเข้าเรียน American Conservatory Theater, San Francisco จากนั้นส่งวีดิโอไปออดิชั่น ได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Lucas (1986), เริ่มโด่งดังจาก Beetlejuice (1988), Edward Scissorhands (1990), Bram Stoker’s Dracula (1992), The Age of Innocence (1993), Little Women (1994) ฯ

รับบท May Welland คู่หมั้นของ Newland Archer มีความสวยสาว น่ารักน่าชัง รอยยิ้มช่างดูบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทั้งยังเป็นคนมองโลกในแง่ดี ช่วงแรกๆเหมือนจะใสซื่อไร้เดียงสา แต่ด้วยความช่างสังเกต เฉลียวฉลาดหลักแหลม รู้จักการปกปิดซ่อนเร้น แสดงออกอย่างพึงพอใจในความสุขที่มี

ใบหน้าที่ดูละอ่อนเยาว์วัย สวยใสไร้เดียงสาของ Winona Ryder ทำให้ผู้ชมเอ็นดู ตกหลุมรัก ไม่ต้องการให้ใครมาครุ่นกระทำสิ่งชั่วร้ายใดๆ นั่นเป็นการสร้างความสมเหตุสมผลให้ตัวละครของ Daniel Day-Lewis แต่งงานกับเธอคือความถูกต้องชอบธรรม … ใครกันจะไม่อยากใช้ชีวิตเคียงข้างนางฟ้าบนสรวงสวรรค์

แต่เบื้องลึกภายในจิตใจของตัวละครนี้นั้น เต็มไปด้วยสิ่งที่ทั้งตัวละครและผู้ชมไม่อาจคาดคิดถึง ผมค่อนข้างเชื่อว่าต้องเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา หวาดหวั่นกลัวว่าชายคนรักจะทอดทิ้งตนเอง(และบุตร) เพื่อไปครองคู่สมสู่กับนางมารร้าย แต่หลังจากที่เขายินยอมเสียสละตนเองเพื่อครอบครัว เธอจึงตัดสินใจปกปิดซุกซ่อนเร้นทุกสิ่งอย่างไว้ แล้วยินยอมอุทิศตนเองอย่างซื่อสัตย์ มั่นคง ตราบจนวันตาย

บอกตามตรงผมเองก็คาดคิดไม่ถึงว่าตัวละครนี้จะมีความสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนขนาดนี้ ปกปิดได้อย่างมิดชิดจนกระทั่งเมื่อถึงฉากสุดท้าย ได้รับการเปิดเผยจากบุตรชาย (หลายปีถัดไป) นั่นทำให้ถ้าคุณรับชมหนังครั้งที่สอง จักสามารถสังเกตรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่หญิงสาวพยายามปกปิดซุกซ่อนเร้นไว้ หลายครั้งเต็มไปด้วยอาการกระวนกระวาย สายตาวอกแวก หวาดกังวล ชัดเจนเลยว่าเธอเฉลียวฉลาดพอที่จะสังเกตเห็น เข้าใจตัวตนธาตุแท้ของสามี/ชายคนรัก แต่ไม่เคยเปิดเผยแสดงออก … นี่น่าจะคือเหตุผลสำคัญมากๆที่ตอนจบ Newland Archer เมื่อรับรู้ความจริงดังกล่าว จึงปฏิเสธจะพบเจอ Countess Ellen เพราะความซาบซึ้ง เคารพรัก ไม่ต้องการทรยศหักหลัง ทำลายทุกสิ่งอย่างของศรีภรรยาผู้ล่วงลับ

ว่าไปนี่น่าจะเป็นบทบาทสวยที่สุด ซับซ้อนที่สุดของ Winona Ryder (เท่าที่ผมเคยรับชมมา) ไม่ใช่แค่เปลือกนอกแสดงความน่ารักสดใสไร้เดียงสา แต่มีอะไรๆมากกว่านั้นซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน


ถ่ายภาพโดย Michael Ballhaus (1935-2017) ตากล้องสัญชาติ German เกิดที่ Berlin เป็นบุตรของนักแสดง Lena Hutter กับ Oskar Ballhaus, ช่วงวัยเด็กมีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์เรื่อง Lola Montès (1955) เกิดความชื่นชอบหลงใหลด้านการถ่ายภาพ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร่วมงาน Rainer Werner Fassbinder ตั้งแต่ The Bitter Tears of Petra von Kant (1972), Chinese Roulette (1976), The Marriage of Maria Braun (1978), จากนั่้นโกอินเตอร์กลายเป็นขาประจำ Martin Scorsese อาทิ The Color of Money (1986), The Last Temptation of Christ (1988), Goodfellas (1990), The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002), The Departed (2006) ฯ

โดยปกติแล้วหนังแนวพีเรียตย้อนยุค มักไม่ค่อยมีการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง โฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียน เล่นลีลาภาษาภาพยนตร์มากนัก ส่วนใหญ่จะเว้นระยะห่าง พื้นที่ว่าง แช่ภาพค้างไว้นานๆ เพื่อให้ผู้ชมมีสถานะ ‘สังเกตการณ์’ ภาพถ่ายสวยๆ เพลิดเพลินรายละเอียด ประทับใจในความงดงามของประวัติศาสตร์

แต่ไดเรคชั่นของ The Age of Innocence (1993) มีความละม้ายคล้าย Goodfellas (1990) คือกล้องทำการเคลื่อนเลื่อนไหล ดำเนินไปแทบไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง (นอกจาก Close-Up การสนทนา) นั่นทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเข้าไปมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นั้นๆ หลายครั้งเต็มไปด้วยลูกเล่น Iris Shot สร้างจุดโฟกัส ดึงดูดสายตา เฟดด้วยสีสันแทนสัมผัสทางอารมณ์ เรียกว่าจัดเต็มภาษาภาพยนตร์ งดงามระดับวิจิตรศิลป์

ผมอดไม่ได้จริงๆที่จะต้องเปรียบเทียบ Sense and Sensibility (1995) vs. The Age of Innocence (1993) เพราะทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างตรงกันในวิธีการนำเสนอที่ชัดเจนมากๆ หนึ่งคือกล้องมักอยู่นิ่งๆเหมือนรูปภาพถ่าย สองกลับขยับเคลื่อนไหวไหลไปเหมือนสายน้ำ … ผู้ชมส่วนใหญ่อาจชอบเรื่องหนึ่งไม่ชอบอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเราเรียนรู้ที่จะเปิดใจ ไม่ปิดกั้นตนเอง ก็อาจสามารถเข้าถึงจุดสูงสุดของทั้งสองฝากฝั่ง

แทบทั้งหมดของหนังถ่ายทำยังสถานที่จริง ส่วนใหญ่อยู่ยัง New York, นอกจากนั้นก็ Pennsylvania (ฉากโรงอุปรากร) และกรุง Paris รวมๆแล้วประมาณ 65 ฉาก (ทั้งภายนอก-ภายใน) ยกเว้นเพียงห้อง Ballroom Dance ก่อสร้างขึ้นที่ Kaufman Astoria Studios อยู่ในย่าน New York City


เริ่มต้นคงต้องพูดถึง Title Sequence ออกแบบโดย Saul Bass (1920-96) และศรีภรรยา Elaine Makatura (เกิดปี 1927) ตำนานนักออกแบบ Title Sequence เริ่มมีชื่อเสียงจาก paper cut-out เรื่อง The Man with the Golden Arm (1955), หมุนๆวนๆ Vertigo (1958), North by Northwest (1959), Anatomy of a Murder (1959), Psycho (1960), เริ่มร่วมงานผู้กำกับ Martin Scorsese ทั้งหมดสี่ครั้ง Goodfellas (1990), Cape Fear (1991), The Age of Innocence (1993) และ Casino (1995)

สำหรับ The Age of Innocence (1993) ภาพที่พบเห็นก็คือ Time-Lapse ของดอกกุหลาบแย้มบาน (แทนความรักที่เบ่งบาน) หลากหลายสีสัน (คืออารมณ์ที่ผันแปรเปลี่ยน) ช่วงแรกๆซ้อนทับด้วยตัวอักษร (สื่อถึงระเบียบแบบแผน ขนบกฎกรอบทางสังคมที่ห้อมล้อมชื่อนักแสดง) จากนั้นเปลี่ยนมาเป็นผ้าลูกไม้ (หมายถึงการปกปิดเรือนร่างกาย ซุกซ่อนเร้นทุกสิ่งอย่างไว้ภายใต้เนื้อหนัง)

อุปรากรโศกนาฎกรรม Faust (1859) ฉบับของ Charles Gounod (1818-93) คีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส เรื่องราวเกี่ยวกับศาสตราจารย์ Johann Georg Faust นักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน ว่ากันว่าอาจมีตัวตนอยู่จริงในช่วงศตวรรษ 15th-16th ยินยอมขายวิญญาณให้ปีศาจ Méphistophélès ดื่มน้ำอมฤทธิ์กลายเป็นคนหนุ่ม แล้วมีโอกาสครองรักสาวงาม Marguerite แต่ก็มีเหตุอันเป็นไปเกิดขึ้นมากมาย จนสุดท้ายเมื่อเขาค้นพบความสุขแท้จริง ก็ถูกปีศาจฉุดคร่าจิตวิญญาณลงสู่ขุมนรก (ตามสัญญาที่เคยเซ็นไว้)

สำหรับฉากที่ใช้ในหนังอยู่องก์สาม ช่วงเวลาที่ Faust พยายามเกี้ยวพาราสี Marguerite มอบเครื่องประดับสวยหรูจนเธอยินยอมใจอ่อน แล้วจู่ๆกลับขับไล่ผลักไสส่ง แล้วจู่ๆก็เรียกตัวกลับมาร่วมรักหลับนอน

เรื่องราวในอุปรากร Faust สามารถเปรียบเทียบตัวละคร Newland = Faust, ส่วน Countess Ellen ผมครุ่นคิดว่าเธอเหมาะกับปีศาจ Mephisto มากกว่า Marguerite (แต่หนังนำเสนอเรื่องราวในอุปรากรองก์สามเพียงช่วงเวลา Faust เกี้ยวพาราสีและร่ำลาจาก Marguerite ไม่เคยพบเจอหน้า Mephisto เลยนะ!)

เกร็ด: ต้นฉบับมาจากบทละครโศกนาฎกรรม Faust: A Tragedy (1808) ผลงานชิ้นเอกของ Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) นักเขียน/นักกวีสัญชาติ German ซึ่งทำการรวมรวบจากนิทานพื้นบ้านเยอรมัน ช่วงปลายศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 15

ผมมีความรู้สึกว่า Marty พยายาม ‘show-off’ ฉากในโรงอุปรากรเสียเหลือเกิน ทั้งการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง ลีลาการตัดต่อ (ร้อยเรียงภาพผู้ชมตัดสลับไปมาอย่างรวดเร็ว) นั่นรวมถึงตัวประกอบ ผู้ชมการแสดงเต็มความจุ แล้วถ่ายทำจากฝั่งเวทีการช็อตนี้ เพื่อสื่อถึงความหรูหรา ฟุ่มเฟือย ของชนชั้นสูงในยุคสมัยทองชุบ, Gilded Age (1865–1914)

เกร็ด: ฉากในโรงอุปรากร ถ่ายทำยัง Academy of Music อยู่ที่ Philadelphia, Pennsylvania

แต่ฉากฟุ่มเฟือยสุดของหนังต้องมอบให้กับห้องโถง Ballroom Dance ก่อสร้างขึ้นที่ Kaufman Astoria Studios, New York City คาคลั่งไปด้วยเฟอร์นิเจอร์หรู โคมระย้าราคาแพง โดยเฉพาะรูปภาพวาด งานศิลปะน่าจะมากกว่าร้อยชิ้น (เป็นของเลียนแบบทั้งหมดนะครับ) แถมโชว์อ๊อฟด้วยการถ่ายทำแบบ Long Take (ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์) ได้รับอิทธิพลจากปรมาจารย์ Max Ophüls อย่างแน่แท้

The Duel After the Masquerade (Suite d’un bal masqué) (1857) วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส Jean-Léon Gérôme (1824-1904) เป็นภาพการดวลปืนที่มีชายคนหนึ่งล้มลง (แนวโน้มเสียชีวิต) ส่วนคู่ต่อสู้(ที่ดูเหมือนชาวอินเดียแดง)สามารถเอาตัวรอดชีวิตและกำลังเดินจากไป, นี่เป็นภาพที่สะท้อนถึงสภาพจิตใจตัวละครหลังเหตุการณ์ทั้งหมด ราวกับถูกยิงตาย (เมื่อก่อนเข้าสู่ปัจฉิมบท) และสุดท้ายเลือกเดินจากไป (แบบตอนจบของหนัง)

The Return of Spring (Le Printemps) (1886) วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส William-Adolphe Bouguereau (1825-1905) เป็นภาพวาดแนวศิลปะสถาบัน (Academic art) แค่ชื่อก็บ่งบอกถึงความสนุกสนาน การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ทำให้ชีวิตมีความกระชุ่มกระชวย กระฉับกระเฉง พบเห็นภาพวาดหญิงสาวเปลือย ย่อมไม่มีอะไรระเริงรื่นไปกว่านี้อีกแล้ว … สามารถสื่อถึงการกลับมาของ Countess Ellen ทำให้จิตใจของ Newland มีความกระชุ่มกระชวย

แซว: พื้นหลังของหนังคือช่วงทศวรรษ 1870s แต่ภาพนี้วาดขึ้นปี ค.ศ. 1886

หลายๆภาพเป็นผลงานของจิตรชาวฝรั่งเศส James Tissot (1836–1902) อาทิ Too Early (1873), Hush! (The Concert) (1875), The Ball (1878), L’Ambitieuse (Political Woman) (1885) ฯ

ผมขอพูดถึงแค่ Too Early (1873) ที่ Tissot วาดขึ้นขณะพำนับอาศัยอยู่กรุง London เป็นภาพที่ล้อกับงานเลี้ยงใน Ballroom Dance ขณะนี้ได้อย่างตรงไปตรงมา สาวๆซุบซิบนินทา พูดคุยกับหนุ่มๆ ดนตรีบรรเลง และคนใช้แอบจับจ้องมองอยู่ตรงประตู … สังเกตว่าการจัดองค์ประกอบฉากนี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงรายละเอียดในภาพวาด (ชีวิตจริง=ภาพวาดงานศิลปะ) ใครตาไวๆก็น่าจะทันสังเกตเห็น

ตัวประกอบหญิงที่กำลังเชยชมแหวนหมั้นของ May ฝั่งขวามือในภาพก็คือ Lydia Tamasin Day-Lewis (เกิดปี 1953) พี่สาวแท้ๆของ Daniel Day-Lewis มารับเชิญ Cameo ตัวจริงทำงานเป็นเชฟ นักวิจารณ์อาหาร ค่อนข้างมีชื่อเสียงพอสมควรในประเทศอังกฤษ

Mrs. Mingott (รับบทโดย Miriam Margolyes) จะว่าไปเธอมีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้าย Queen Victoria (ครองราชย์ 1837-1901) ซึ่งสามารถสื่อถึงผู้ทรงอิทธิพล เป็นที่เคารพนับถือ รู้จักอย่างกว้างขวางใน New York City อาศัยอยู่ในพระราชวังหรูรา ข้าราชบริพารไม่ใช่แค่คนรับใช้ แต่ยังสุนัขมากมายรายล้อม (พร้อมรูปภาพวาดหมาๆอีกนับไม่ถ้วน)

ฉากภายในบ้านของ Mrs. Mingott ถ่ายทำยัง Paine Castle (เรียกย่อๆว่า The Castle) สร้างโดยมหาเศรษฐี John W. Paine เมื่อปี 1896 ได้ชื่อว่าเป็นปราสาทหลังยิ่งใหญที่สุดในเขตทรอย (Grandest House in Troy)

ผมค่อนข้างชื่นชอบภาพวาดซ้อนภาพวาดนี้มากๆ ชื่อ่ว่า Gallery of the Louvre (1831-33) ผลงานของ Samuel Finley Breese Morse (1791-1872) นักประดิษฐ์/จิตรกรชาวอเมริกัน ที่คนส่วนใหญ่อาจรับรู้จักกันดีในฐานะผู้พัฒนาโทรเลข และครุ่นคิดค้นรหัสมอส (Morse Code)

เหตุผลการจัดแสดงภาพนี้ ก็แบบเดียวกับที่ผมอธิบายผลงานของ James Tissot เหมือนเป็นการล้อตัวเองของหนังที่เต็มไปด้วยงานศิลปะ ก็เลยต้องมีภาพวาดที่ใครสักคนกำลังจับจ้องเชยชมผลงานศิลปะ ซึ่งช็อตนี้กล้องจะค่อยๆซูมมิ่ง/เคลื่อนเข้าหา ทำเหมือนว่าผู้ชมกำลังพุ่งตรงเข้าไปในภาพวาดนี้ จากนั้นมีการ Cross-Cutting พบเห็นผนังกำแพงประดับตกแต่งด้วยผลงานศิลปะ (เข้าไปในภาพวาด เพื่อรับชมผลงานศิลปะ)

หลังจากที่กล้องเคลื่อนเลื่อนพานผ่านภาพทิวทัศน์ ขุนเขา ต้นไม้ ทะเลสาป ส่วนใหญ่เป็นผลงานของ Albert Bierstadt (1830-1902) จิตรกรสัญชาติอเมริกัน (สื่อถึงดินแดนที่ยังห่างไกลความเจริญ มีความป่าเถื่อน รกร้าง) ก็มาถึงภาพวาด The Death of Jane McCrea (1804) วาดโดยจิตรกรชาวอเมริกัน John Vanderlyn (1775-1852) เป็นภาพวาดแนว Neoclassic นำเสนอภาพหญิงชาวอเมริกัน Jane McCrea ถูกสังหารโดยชาวอินเดียแดงในช่วงระหว่าง สงครามปฏิวัติอเมริกา, American Revolutionary War (1775-83)

นัยยะของภาพนี้น่าจะสื่อถึง Countess Ellen = Jane McCrea หญิงสาวที่ถูกสังคมตั้งข้อครหา ติฉินนินทา ไม่ยินยอมรับในพฤติกรรมนอกรีต ‘ต้องห้าม’ ใคร่อยากตัดสินโทษประหารชีวิตเสียด้วยซ้ำ!

ยุคสมัยนั้น แม้ว่า CGI จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการภาพยนตร์ แต่ผมครุ่นคิดว่าภาพช็อตนี้ (ฉากภายนอกปราสาทของ Mrs. Mingott) น่าจะเป็นการวาดภาพบนกระจก Matte Painting ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้กำกับ Martin Scorsese เคยลุ่มหลงใหลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (จากภาพยนตร์ของ Powell and Pressburger)

ปราสาทหลังนี้ตั้งตระหง่านอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง บริเวณรอบข้างกลับเต็มไปด้วยโคลนเลน สะท้อนความแตกต่างทางชนชั้นในยุคสมัยทองชุบ ได้อย่างชัดเจนมากๆ (คนรวยก็รวยล้นฟ้า คนยากจนข้าวปลาก็แทบไม่มีอะไรจะกิน)

ฉากการสนทนาบนโต๊ะอาหาร ผมรู้สึกว่า Marty ได้แรงบันดาลใจอย่างมากๆจากผลงานของผู้กำกับ Ingmar Bergman โดยเฉพาะการจัดวางองค์ประกอบบนโต๊ะอาหารให้มีสัดมีส่วน มีความสมมาตร ถ่ายนักแสดงหน้าตรง และใช้เพียงเทียนไขส่องแสงสว่าง สังเกตว่าแต่ละครก็มักแสดงความคิดเห็นภายใต้กฎ’กรอบ’ทางสังคม

เห็นความละม้ายคล้ายคลึงของนักแสดงและภาพวาดขนาดใหญ่ตรงกลาง ก็นึกว่าที่เหลือคงเป็นการวาดภาพใหม่ทั้งหมด แต่พอค้นหาข้อมูลกลับพบว่าทั้งสี่ภาพนั้นคือสมาชิกตระกูล Schuyler ชนชั้นสูงชาว Dutch ที่อพยพมาอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 18th-19th ประกอบด้วย

  • ภาพล่างซ้าย Catherine Van Rensselaer (1734-1803) ภรรยาของ Philip Schuyler
  • อีกสามภาพที่เหลือคือบุตรสาวของ Catherine Van Rensselaer (จากทั้งหมด 15 คน)
    • Elizabeth Schuyler Hamilton (1757-1854)
    • Margarita “Peggy” Schuyler (1758–1801)
    • Angelica Schuyler Church (1756-1814)

ภาพชุดนี้สะท้อนถึงอิทธิพลของบรรพบุรุษ เชื้อสายเลือด วงศ์ตระกูล คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พวกคนชนชั้นสูง หมกมุ่นยึดติดในจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีทางสังคม ต้องการรักษาภาพลักษณ์ ไม่ยินยอมรับบุคคลผู้กระทำสิ่งเสื่อมเสีย ขัดต่อหลักมโนธรรม จริยธรรมอันดีงาม

ผมครุ่นคิดว่าอาหารแต่ละจานคงมีนัยยะความหมายซ่อนเร้นอยู่แน่นอน ดูจากการจัดจาน ลวดลายสีสัน ต้องถือว่าเป็นมื้อหรูหรา ราคาแพง ย่อมต้องปรุงโดยมาสเตอร์เชฟ มีความเป็น ‘Gourmet’ ที่คนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถหารับประทานได้อย่างแน่นอน

ที่ผมสนใจก็คือจานหอย มันไม่ได้แฝงนัยยะถึงอวัยวะเพศหญิงแบบที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจกันนะครับ หอยเป็นสัตว์ที่มีเปลือกภายนอกห่อหุ้มอย่างแข็งแกร่ง เพื่อปกปิดซุกซ่อนเร้นเนื้อภายในที่อ่อนแอ รสชาติอร่อยเหาะ ซึ่งสามารถสื่อความถึงยุคสมัยทองชุบ และเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ตรงๆเลยละ

ฝั่งซ้ายของ Countess Ellen พบเห็นแจกันดอกไม้หลายหลายพืชพันธุ์ ฝั่งขวาของ Newland คือเชิงเทียนแก้วที่มีลวดลาย ระยิบระยับ สะท้อนแสงสีสัน สองสิ่งนี้สามารถใช้เทียบแทนตัวตน/ความสำคัญของพวกเขาในสังคม

  • ดอกไม้แม้มีความงดงาม แต่สักวันก็แห้งเหี่ยวเฉา ไม่หลงเหลืออะไรให้น่าดอมดม
  • ผิดกับเครื่องแก้วที่นานวันยังคงระยิบระยับ เปร่งประกายสะท้อนแสงสว่าง แต่ก็มีความบอบบาง เพียงได้รับการกระทบกระทั่งก็อาจแหลกละเอียด

Lady sitting outdoors (Signora seduta all’aperto) (1866) ภาพวาดของจิตรกรชาวอิตาเลี่ยน Giovanni Fattori (1825-1908) ผู้นำกลุ่มการเคลื่อนไหว Macchiaioli, นี่เป็นภาพวาดที่อยู่ในอพาร์ทเม้นท์ของ Countess Ellen พบเห็นเมื่อตอนเธอกำลังเฝ้ารอคอยแขกเหรื่อ (ที่ไม่มีใครมา) และขณะนี้ Newland มาถึงล่วงหน้าก่อนที่เธอกลับมา

ส่วนอีกภาพยาวๆ ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเป็นผลงานของใคร แต่เป็นลักษณะเป็น Panorama ตั้งแต่บ้านคน ชายฝั่ง ท้องทะเล ให้สัมผัสของความโหยหา ปรารถนา สถานที่แห่งความสุข อยู่ในความทรงจำ

มีขณะหนึ่งที่ Countess Ellen สอบถาม Newland ว่าอยากได้มะนาวหรือครีม? คำตอบของเขาสะท้อนรสนิยมของตนเองได้เป็นอย่างดี

  • มะนาว (สีเหลือง=ผมบลอนด์=กุหลาบเหลือง) มีรสชาติเปรี้ยว แซบ จัดจ้าน สามารถสื่อแทนถึง Countess Ellen
  • ครีม (สีขาว=กุหลาบขาว) มีความหวาน กลมกล่อม ย่อมแทนด้วยรสชาติรักของ May หญิงสาวที่ดูบริสุทธิ์ผุดผ่อง

หลายครั้งหลังจบเหตุการณ์สำคัญๆ ระหว่างเปลี่ยนฉากจะมีลูกเล่น Fade-to-color อาทิ สีแดง (แทนความเกรี้ยวกราด ที่ไม่มีใครมาร่วมงานเลี้ยง) เหลือง (พึงพอใจกับดอกกุหลายสีเหลือง) ฯ ซึ่งล้วนสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ของตัวละครนั้นๆ (ส่วนใหญ่มักเป็นของ Countess Ellen) ผ่านสีสัน … แรงบันดาลใจเทคนิคนี้มาจาก Cries & Whispers (1972) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman

กรงสีขาว สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Newland กับ May ที่กลายเป็นพันธนาการเหนี่ยวรั้งของพวกเขา การแต่งงานจักทำให้ไม่สามารถหลบหนี ดิ้นหลุดพ้น สูญสิ้นอิสรภาพในการครุ่นคิดทำอะไร ไม่สามารถโบกโบยบินไปไหนมาไหนได้อีก

เกร็ด: สถานที่แห่งนี้คือ Enid A. Haupt Conservatory สวนพฤกษาศาสตร์ของ New York Botanical Garden (NYBG) ตั้งอยู่ในเขต Bronx, New York City ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม Italian Renaissance ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1899-1902 ด้วยงบประมาณสูงถึง $177,000 เหรียญ

การสนทนาระหว่าง Newland กับ Mr. Letterblair (รับบทโดย Norman Lloyd) ผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล Archer (มั้งนะ) สังเกตว่ามุมกล้องครึ่งหนึ่งจะถูกบดบังด้วยอะไรบางอย่าง แสดงถึงทัศนคติของพวกเขาที่มีความแตกต่าง สุดโต่ง คนละข้าง ต่อเรื่องวุ่นๆวายๆของ Countess Ellen ที่สร้างความเอือมระอาให้แวดวงชนชั้นสูง

  • Newland อยู่ฝั่งซ้ายจัด หัวก้าวหน้า เสรีนิยม มีความต้องการอยากให้ Countess Ellen เลิกราหย่าร้างสามี ขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่เห็นจะผิดตรงไหน
  • Mr. Letterblair อยู่ฝั่งขวาจัด อนุรักษ์นิยม ยึดถือมั่นในกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติทางสังคม ไม่โอนอ่อนผ่อนปรนใดๆ พร้อมที่จะขับไล่ ผลักไส ไม่รับผิดชอบใดๆต่อพฤติกรรมของ Countess Ellen

เปลวไฟในเตาผิงที่กำลังลุกไหม้อย่างร้อนแรง แต่กลับสาดส่องแสงสั่นระริกรัวอาบใบหน้าของ Newland และ Countess Ellen ท่ามกลางความมืดมิด สะท้อนสภาวะจิตใจของทั้งสองที่เต็มไปด้วยความหวาดหวั่น สั่นสะพรึงกลัว ต่อการเลิกราหย่าร้างที่อาจสร้างความสูญเสียหาย ร้ายแรงกว่าที่ครุ่นคิดไว้

  • Newland ในใจลึกๆอยากให้ Countess Ellen เลิกราหย่าร้างกับสามี แต่เพราะหวาดกลัวเกรงต่อคำครหา ติฉินนินทาของสังคม ที่พร้อมจะตัดหางปล่อยวัด(อดีต)หญิงสาวคนรัก จึงมิอาจตัดสินใจแทนเธอได้ลง
  • Countess Ellen ตระหนักถึงน้ำใจอันดีงามของ(อดีต)ชายคนรัก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็พร้อมยินยอมน้อมรับการตัดสินใจของเขา

หลังเหตุการณ์ค่ำคืนดังกล่าว หนังตัดไปยังอุปรากร Faust ช่วงท้ายองก์สาม ซีนแห่งการร่ำลา, Marguerite พยายามผลักไส Faust ต้องให้เขาร่ำลาจากไป นี่เป็นภาพเหตุการณ์เสียดแทงใจดำ Newland ยิ่งนัก! … จะมองเป็น Dynamic Cut ก็ได้นะครับ ใช้อีกเหตุการณ์หนึ่งเล่าแทนปฏิกิริยาอารมณ์ของตัวละครต่อจากฉากก่อนหน้า

แต่ความจริงแล้วซีนนี้แค่การละเล่นตัวของ Marguerite เท่านั้นนะครับ เพราะอีกประเดี๋ยวเธอก็จะขับร้องบทเพลงเพื่อชักชวนให้กลับมา ร่วมรักหลับนอน จบสิ้นสุดองก์สามของอุปรากร (จากทั้งหมดห้าองก์)

Newland เมื่อมิอาจอดรนทนต่อละครเวทีเรื่องดังกล่าว ตรงขึ้นไปหา Countess Ellen จากนั้นมีการสาดแสงสป็อตไลท์ให้มีลักษณะเหมือน Iris Shot จับจ้องมายังทั้งสอง เพื่อเป็นการสร้างจุดสนใจ ทำให้การกระซิบกระซาบของพวกเขามีความเป็นส่วนตัว

ระหว่างกำลังกระซิบกระซาบอยู่นั้น จู่ๆแสงไฟสาดเข้ามาที่ด้านหลังของ Countess Ellen ทำให้มีความฟุ้งๆ เจิดจรัส ในขณะที่เธอกำลังพูดขอบคุณ Newland ถึงความปรารถนาดีที่เขามีให้ตลอดมานี้ ราวกับประทีปส่องสว่าง สามารถสร้างความอบอุ่น กำลังใจ ให้บังเกิดขึ้นภายใน

I do want you to know what you advised me was right. Things can be so difficult somethimes, and I’m so grateful.

Countess Ellen Olenska

Sequence บ้านพักตากอากาศแห่งนี้ (ถ่ายทำที่ Kinderhook, New York) ชวนให้ผมระลึกนึกถึงภาพยนตร์ All That Heaven Allows (1955) ของผู้กำกับ Douglas Sirk ที่ตัวละครหนึ่งหันหน้าเข้าหากองไฟ (แสงสีส้มๆแสดงถึงความอบอุ่น) ขณะที่อีกตัวละครหนึ่งยืนอยู่ตรงหน้าต่าง เหม่อมองออกไปภายนอก (แสงสีน้ำเงินแสดงถึงความหนาบเหน็บ) ซึ่งสะท้อนสภาวะทางจิตใจของทั้งสองอย่างตรงไปตรงมา

  • Countess Ellen แค่มีเพียง Newland อยู่เคียงชิดใกล้ ก็รู้สึกอิ่มอบอุ่นหัวใจ
  • แต่สำหรับ Newland กลับรู้สึกหนาวเหน็บเย็นยะเยือกทรวงใน เพราะเขามิอาจแสดงความรัก กอดจูบลูบไล้ ได้แค่เพ้อใฝ่ฝัน มิอาจครอบครองเป็นเจ้าของอีกฝั่งฝ่าย

Countess Ellen ตระหนักว่า Newland บังเกิดความเข้าใจผิดต่อตนเองที่จู่ๆ Henry เดินทางไปเยี่ยมเยือนที่บ้านพักตากอากาศ เธอเขียนจดหมายต้องการอธิบายสาเหตุผล แต่เขากลับขย้ำทิ้งขณะเปิดอ่านหนังสือ/รวบรวมบทกวี The House of Life (1881) ประพันธ์โดย Dante Gabriel Rossetti (1828-82) นักเขียน/จิตรกรชาวอังกฤษ

ผมครุ่นคิดว่าสิ่งที่ผู้กำกับ Marty ต้องการให้ผู้ชมสังเกตจากหน้ากระดาษนี้ก็คือ Sonet VII. SUPREME SURRENDER. การศิโรราบต่อความรัก บรรทัดที่ผมทำตัวหนาไว้น่าจะคือสิ่งตัวละครกำลังรับรู้สึกอยู่

O all the spirits of love that wander by
Along the love-sown fallowfield of sleep
My lady lies apparent; and the deep
Calls to the deep; and no man sees but I.

The bliss so long afar, at length so nigh,
Rests there attained. Methinks proud Love must weep
When Fate’s control doth from his harvest reap
The sacred hour for which the years did sigh.

First touched, the hand now warm around my neck
Taught memory long to mock desire: and lo!
Across my breast the abandoned hair doth flow,
Where one shorn tress long stirred the longing ache:
And next the heart that trembled for its sake
Lies the queen-heart in sovereign overthrow.

การที่จู่ๆ Newland ต้องการเร่งรีบแต่งงานกับ May ใครไหนย่อมสังเกตถึงความผิดปกติได้ไม่อยาก และการโกหกน้ำขุ่นๆก็แอบมีการบอกใบ้อะไรบางอย่าง

  • ด้านหลังของ Newland พบเห็นผนังกำแพง (สามารถสื่อถึงการปกปิด ซุกซ่อนเร้น) และรูปปั้นแขนข้างหนึ่งขาดแหว่ง คงต้องการเลียนแบบ Venus de Milo (หมายถึงบางสิ่งอย่างภายในจิตใจของเขาที่สูญหาย พังทลาย)
  • สำหรับ May ด้านหลังของเธอสวน สระและน้ำพุ น่าจะสื่อถึงความปีติยินดีที่อีกฝั่งฝ่ายบอกว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ (มั้งนะ)

เกร็ด: สถานที่แห่งนี้คือ Old Westbury Gardens บนเกาะ Long Island ในอดีตเป็นคฤหาสถ์ที่อยู่อาศัยของนักธุรกิจ John Shaffer Phipps (1874–1958) ทายาทตระกูล Phipps ก่อสร้างขึ้นระหว่างปี 1903-06 ขนาด 160 เอเคอร์ จำนวน 23 ห้องพัก ปัจจุบันได้ถูกแปรสภาพกลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน เปิดให้เยี่ยมชมระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม

Caress of the Sphinx (1896) ผลงานชิ้นเอกของ Fernand Khnopff (1858–1921) จิตรกรชาว Belgian Symbolist ซึ่งเป็นการตีความเรื่องราวระหว่าง Oedipus and the Sphinx ที่ได้พบเจอระหว่างเดินทางสู่ขุมนรกเพื่อติดตามหาศรีภรรยา โดยภาพนี้ใบหน้าของ Sphinx เหมือนหญิงสาว แต่ลำตัวท่อนล่างทั้งหมดคือเสือชีตาร์ (ค่อนข้างแตกต่างจากการตีความของศิลปินอื่นๆเป็นอย่างมาก)

แต่ผมก็รู้สึกว่า Countess Ellen สามารถเปรียบเทียบแทน Sphinx ได้เหมือนเปะมากๆ เต็มไปด้วยมารยา ลีลา ซึ่งขณะนี้เธอก็ตั้งคำถามกับ Newland แต่คำตอบของเขาดูไม่น่าพึงพอใจสักเท่าไหร่

เมื่อเธอเดินมานั่งตรงเก้าอี้ยาว สังเกตว่าด้านหลังคือภาพวาดนก (ดูเหมือนกระเรียน) ซึ่งสื่อถึงอิสรภาพของการใช้ชีวิต จะโบกโบยบิน เดินทางไปไหนมาไหน ก็เรื่องของฉัน ไม่มีใครสามารถมาออกคำสั่ง บีบบังคับให้ทำโน่นนี่นั่น

เสี้ยววินาทีที่ทั้งสองปลดปล่อยความต้องการจากภายใน ตำแหน่งของพวกเขาเคลือบแฝงนัยยะบางอย่าง

  • Countess Ellen ยืนอยู่ด้านหน้า โดยมี Newland คือผู้ให้การช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน หลบซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง
  • สำหรับ Newland เข้าทางด้านหลัง จุมพิตต้นคอ ต้องการจะเปิดเผยความสัมพันธ์ของตนเองกับ Countess Ellen แบบไม่ต้องละอายใจต่อผู้อื่นใด

การจุมพิตแทบเท้า Countess Ellen แสดงออกถึงความศิโรราบของ Newland ยินยอมพร้อมทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้อยู่เคียงข้าง ครองคู่รักกับเธอ แต่กลับได้รับการบอกปัดปฏิเสธ ไม่มีทางที่เราสองจักสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสภาพสังคมแห่งนี้

Cameo ของผู้กำกับ Martin Scorsese ในบทช่างภาพงานแต่งงาน ซึ่งถ้าใครเคยรับชม Hugo (2011) ก็เป็นอีกครั้งที่รับเชิญเป็นตากล้องถ่ายภาพ

ซึ่งภาพถ่ายที่ผู้ชมจักได้พบเห็นครั้งแรก มีลักษณะกลับหัวกลับหาง (ตามทิศทางของเลนส์ในกล้องถ่ายภาพ) ซึ่งสามารถสื่อถึงความต้องการที่กลับตารปัตรของ Newland ถึงตอนนี้ไม่ได้อยากแต่งงานกับ May แต่ก็ถลำลึกลงไปมากๆ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขสถานการณ์ได้อีกต่อไป

การฮันนีมูนของสองคู่รัก แทนที่จะสิ้นเปลืองงบประมาณด้วยการออกเดินทางไปถ่ายทำยังประเทศต่างๆทั่วยุโรป หนังใช้ภาพวาดสถานที่สำคัญๆของอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ฯ ร้อยเรียงปะติดต่อเข้าด้วยกัน … นี่สร้างความขี้เกียจให้ผมโดยทันที เลยไม่ได้ค้นหาว่าผลงานเหล่านี้เป็นของศิลปินท่านใด เอาว่าเพลิดเพลินไปกับภาพสวยๆก็พอนะครับ ไม่ได้มีนัยยะอะไรให้ต้องครุ่นคิดตีความ

หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมฮันนีมูน แสงไฟในตะเกียง(ด้านซ้าย)ค่อยๆมอดดับ ภาพโทนสีน้ำเงินยามค่ำคืนจู่ๆก็ Fade-To- White (สีขาวเป็นตัวแทน May สื่อแทนถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา) คงจะสื่อว่าโลกของ Newland ต่อจากนี้ จักมีภรรยาเป็นดั่งพันธนาการ เหนี่ยวรั้ง กักขัง ครอบงำ (เหมือนตึกสูงใหญ่ห้อมล้อมรอบ มองเห็นวิหารแห่งศรัทธาอยู่ลิบๆไกลๆ)

ปล. ผมไม่ค่อยแน่ใจสถานที่ถ่ายทำช็อตนี้ แต่มองไกลๆดูเหมือน Saint Isaac’s Cathedral, Saint Petersburg ประเทศรัสเซีย

ถ้า May Wellland ยิงธนูไม่แม่น จะแต่งเข้าตระกูล (Newland) Archer มาทำไม?? ซึ่งในบริบทนี้เหมือนต้องการสื่อว่า เธอสามารถเลือกตัดสินใจ กระทำในสิ่งถูกต้องแม่นยำ แต่งงานกับสามีที่เหมาะสมวิทยฐานะกันและกัน … ทุกคนในฉากนี้ต่างสวมชุดขาว ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของ May ด้วยกันทั้งนั้น!

ภาพนี้ค่อนข้างชัดเจนเลยว่ามีการใส่ฟิลเลอร์ ปรับเฉดสี เพื่อให้มีลักษณะเหมือนรูปภาพวาด ในขณะที่ Newland กำลังอธิษฐานก่อนเรือแล่นผ่านประภาคาร Countess Ellen หันหน้ากลับมา ก็จะเดินตรงเข้าไปหา … บ้างว่านี่เป็นฉากโรแมนติก แต่ผมมองตัวละครตั้งข้อแม้ให้ตนเองเกินไป เหมือนพวกกฎระเบียบ ขนบประเพณี ต่างคือสิ่งที่มนุษย์ครุ่นคิดสร้างขึ้นมาเพื่อห้อมล้อมครอบงำตนเอง ทั้งๆไม่ได้มีความจำเป็น อยากทำอะไรก็ทำ แค่ดุ่มๆตรงเข้าไปหาก็จบแล้ว มัวยื้อยักชักช้า ไปพึงพาโชคชะตาทำไม?

ซ้ายมือคือภาพวาด Impressionist ที่กำลังละเลงลงสี ก่อนถ่ายให้ภาพจริง Countess Ellen กำลังกางร่ม อ่านหนังสือ นั่งอยู่ตรงเก้าอี้ นี่เป็นอีกฉากที่หนังพยายามนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างภาพวาด = ภาพเหตุการณ์จริง ขณะนี้น่าจะเรียกว่า ‘Live Event’ ได้เลยกระมัง

อีกความน่าสนใจของภาพวาดนี้ก็คือ ศิลปินกำลังแต่งแต้มทาสีให้กับ Countess Ellen (อย่างมือสั่นๆ) ก็เพื่อสื่อถึง ‘ความประทับใจ’ ที่มีต่อตัวละคร เธอคือสีสันของภาพยนตร์เรื่องนี้

ความสัมพันธ์ระหว่าง Newland กับ Countess Ellen มาถึงจุดที่พวกเขาไม่สามารถนัดหมาย พบเจอกันในห้องส่วนตัว ต้องยังพื้นที่สาธารณะ ร้านอาหาร หรือจุดชมวิวยังสถานที่แห่งนี้ สังเกตว่า (ตั้งแต่หลังแต่งงาน) สีสันของฉากมักต้องมีสีขาว (สีสัญลักษณ์ของ May) มันเหมือนว่าเธอติดตามเขาไปทุกหนแห่ง (ในสถานะภรรยา) แสดงถึงอิทธิพล ความครอบงำ ทำให้ไม่สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ กระทำอะไรตอบสนองความต้องการของตนเองได้อีกต่อไป

กระแสลมที่พัดแรงทำให้หนุ่มๆทุกคนต้องจับหมวกไม่ให้ปลิดปลิว นี่ไม่ใช่สื่อถึงภัยพิบัติทางธรรมชาตินะครับ แต่คือสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถต่อต้านทาน อาทิ (ปัจจัยภายนอก) กระแสมวลชน เสียงซุบซิบนินทาของผู้คนในสังคม ขนบกฎกรอบที่ควบคุมครอบงำผู้คน หรือจะมองว่า (ปัจจัยภายใน) เสียงเพรียกเรียกร้อง/ความต้องการของหัวใจ Newland กำลังมิอาจอดรนทน ต้องการพบเจอเธอ อยากอยู่เคียงชิดใกล้ Countess Ellen ก็ได้เช่นกัน

ก่อนหน้านี้การพูดคุยหลังรับประทานอาหารของครอบครัว Newland มักจะไม่ยืนค้ำหัวคู่สนทนาแบบนี้ แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่เขามีความมุ่งมั่น แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ Countess Ellen เดินทางกลับยุโรป! ส่วนคำตอบของ Sillerton Jackson (รับบทโดย Alec McCowen) บอกว่าถ้าเธอเอาตัวเองไม่รอด ก็ถึงเวลาตัดหางปล่อยวัดแล้วจริงๆ ไม่มีใครใคร่อยากสนใจยัยนั่นอีกต่อไป

สองคนนี้ก็คือ Charles และ Catherine Scorsese พ่อ-แม่แท้ๆของผู้กำกับ Martin Scorsese ซึ่งในเครดิตจะมีอุทิศให้บิดา เพราะเสียชีวิตก่อนหน้าเรื่องนี้ออกฉายไม่นาน

ผมพยายามจะแคปรูปที่ชัดกว่านี้ แต่หนังกลับทำเอ็ฟเฟ็กราวกับในความเพ้อฝัน วูบๆวาบๆ ปกคลุมด้วยแสงสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความ(ทรงจำที่)หนาวเหน็บของทั้งตัวละคร Newland (ที่กำลังรอพบเจอ Countess Ellen) และผู้กำกับ Martin Scorsese ด้วยกระมัง

โลกส่วนตัวของ Newland กับ Countess Ellen หลงเหลือเพียงในรถม้าคันนี้เท่านั้น ภายนอกช่างมีความหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก จากทั้งหิมะตกและแสงสีน้ำเงิน ซึ่งผมรู้สึกว่า Marty สร้างบรรยากาศดังกล่าวด้วยแรงบันดาลใจจาก The Phantom Carriage (1921) โคตรหนังเงียบของผู้กำกับ Victor Sjöström ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังนำพาพวกเขาทั้งสองมุ่งสู่ขุมนรกอเวจี

แต่หลังจาก Newland ถูกผลักไสลงจากรถม้า มีการ Cross-Cutting พบเห็นภาพวาดศิลปะญี่ปุ่น (Ukiyo-e) จากหนังสือเล่มหนึ่ง รูปที่น่าสนใจคือบุรุษพยายามโน้มน้าวร้องขอบางสิ่งอย่าง แต่หญิงสาวกลับมีปฏิกิริยาปฏิเสธต่อต้าน สะท้อนความสัมพันธ์กับ Countess Ellen ไม่ต้องการให้(อดีต)ชายคนรัก กระทำสิ่งขัดต่อความถูกต้องเหมาะสม

หนังตัดกลับมาที่การแสดงอุปรากรโศกนาฎกรรม Faust เข้าสู่องก์สาม เริ่มต้นเด็ดดอกไม้ ชื่นชมความงดงามของ Marguerite (แบบเดียวกับฉากแรกของหนัง) สายตาของ Newland จับจ้องมองที่นั่งบนชั้นพิเศษ พบเห็นศรีภรรยา May แต่สายตากลับเลื่อนขึ้นด้านบน น่าจะเป็นที่นั่งของ Countess Ellen มีเพียงความเวิ้งว่างเปล่า

การแพนนิ่งจากชั้นล่างขึ้นเบื้องบน (นี่ก็คุ้นๆจากหนังของผู้กำกับ Max Ophüls) เพื่อสื่อถึงความสำคัญ ลำดับชนชั้น สำหรับ Newland ย่อมมองเห็น Countess Ellen (ที่ไม่ได้มาวันนี้) สูงส่งกว่าศรีภรรยา May

Newland ต้องการพูดคุยกับศรีภรรยา May เป็นการส่วนตัวในห้องทำงาน รายล้อมด้วยหนังสือและภาพศิลปะมากมาย มีอยู่สองภาพที่อยู่กึ่งกลางระหว่างทั้งสองช็อตนี้

  • ภาพบนชื่อ The Face of the Sphinx ในคอลเลคชั่น The Grand Tour โดยจิตรกรชาวอเมริกัน Franz E. Rohrbeck (1852-1919) ที่ทำการวาดขึ้นขณะเดินทางท่องเที่ยว ‘Grand Tour’ ยังประเทศอิยิปต์
    • Sphinx คือสัตว์ในปรัมปราที่ชอบตั้งคำถาม (ตัวเดียวกับภาพวาด Caress of the Sphinx) ซึ่งในขณะนี้ Newland และ May ต่างกำลังจะสนทนา พูดคุย ถาม-ตอบ
  • Ruins of the Mosque of the Caliph El Haken in Cairo (Ruines de la Mosquee du Calife Hakem au Caire) (1840) วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส Prosper Marilhat (1811-47) เป็นภาพแนว Orientalist ซึ่งเคยอาศัยอยู่ประเทศอิยิปต์ช่วงปี 1832-33
    • สภาพปรักหักพังของมัสยิด สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจตัวละครทั้งสองได้ตรงๆเลยละ

สังเกตว่าทั้ง Sequence นี้ Newland จะยืนอยู่ข้างๆเตาผิงไฟ เหมือนพยายามยกตนข่มท่าน แสดงจุดยืนของตนเอง ทำตัวหัวสูงส่งกว่า May แต่เขากลับไม่สามารถพูดบอกสิ่งที่ต้องการเปิดเผยออกมาประการใด

ระหว่างที่ Newland พยายามจะพูดบอกความจริงบางอย่างแก่ May เธอกลับเล่าเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึง คาดไม่ถึง (ว่า Countess Ellen ตัดสินใจเดินทางกลับยุโรป กำลังจะมีงานเลี้ยงร่ำลาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า) วินาทีนั้นเถ้าถ่านที่มอดไหม้ไถลออกมานอกเตาผิง … สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจของ Newland เหมือนไฟราคะที่มอดดับ หมดเชื้อเพลิง ไร้เรี่ยวแรงลุกไหม้อีกต่อไป

ระหว่างที่ Newland เปิดอ่านจดหมายของ Countess Ellen ทั่วทั้งห้องถูกลดระดับความสว่าง จนหลงเหลือเพียงแสงสาดส่องบริเวณดวงตา กำลังกวาดอ่านข้อความ (พร้อมเสียงบรรยายของ(อดีต)คนรัก) เพื่อเป็นการจับจ้อง สร้างจุดสนใจ วินาทีนี้ในชีวิตของเขาไม่หลงเหลืออะไรอีกแล้ว

สำหรับ May นอกจากแสงสว่างจากเตาผิงที่สั่นระริกรัว ยังมีภาพศิลปะด้านหลัง Ruins of the Mosque of the Caliph El Haken in Cairo สะท้อนถึงสภาพจิตใจที่เต็มไปด้วยความหวาดหวั่น สั่นสะพรึงกลัว ไม่ต่างจากสภาพปรักหักพัง หมดสูญสิ้นความเชื่อมั่นศรัทธาต่อสามีไปเรียบร้อยแล้วกระมัง … พฤติกรรมแสดงออกของ Newland มีความเด่นชัดเจนขนาดนี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอกนะว่าศรีภรรยาจะไม่ทันสังเกตเห็น แต่เธอไม่พูดบอกแสดงออกมาเท่านั้น (เพียงนำเสนอผ่านสัญญะ ภาษาภาพยนตร์)

ใครเคยรับชม The Scarlet Empress (1934) ของผู้กำกับ Josef von Sternberg น่าจะมักคุ้นกับฉากโต๊ะอาหารสุดขยะแขนง ซึ่งมีการใช้กล้องถ่ายทำจากด้านบน(โต๊ะอาหาร)เคลื่อนเลื่อนไหลไปแล้วกลับ … แบบเดียวกันเปี๊ยบกับฉากนี้ในหนัง แม้มื้ออาหารจะไม่ได้น่าอ๊วกแตกอ๊วกแตนขนาดนั้น แต่สามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ของ Newland ที่รู้สึกรังเกียจ ขยะแขยง บรรดาผู้ร่วมรับประทานอาหารมื้อนี้เหลือทน

กล่าวคือนี่เป็นช่วงเวลาที่ Newland ตระหนักถึงความอัปลักษณ์ของสังคมชนชั้นสูง ใครต่อใครเอาแต่ยิ้มเริงร่า บริโภคสิ่งสวยหรูหรา สร้างภาพภายนอกให้ดูดี เรียกร้องให้ใครต่อใครปฏิบัติตามกฎกรอบ ขนบประเพณี พร้อมขับไล่ผลักไสส่งบุคคลนอกรีต กระทำสิ่งต้องห้าม จิตใจบุคคลเหล่านี้ช่างเหี้ยมโหด เลือดเย็นชา นี่ฉันต้องอดรนทนอย่างนี้ไปอีกนานเท่าไหร่

กุญแจอพาร์ทเม้นท์ที่ Newland ตระเตรียมให้กับ Countess Ellen ไว้สำหรับลักลอบสมสู่ คบชู้ นอกใจภรรยา แต่งานเลี้ยงร่ำลาครั้งนี้ทำให้หมดสูญสิ้นโอกาสดังกล่าว และกลายเป็นว่าภาพกุญแจที่ค่อยๆถูก Cross-Cutting เข้าไปในกระเป๋า สุดท้ายแล้วซ้อนทับใบหน้าของ May สามารถสื่อถึง

  • เธอคือบุคคลที่’ปิด’ ล็อคประตูห้องหัวใจของ Newland
  • May กลายเป็นกุญแจสำคัญของ Newland ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมแห่งนี้

เอาจริงๆผมรู้สึกว่ากุญแจควรซ้อนทับ Countess Ellen เพราะเธอคือบุคคลที่ครอบครองห้องหัวใจของ Newland สามารถเข้า-ออก เปิด-ปิดประตู พบเจอ-พลัดพรากจาก เรียกว่าเป็นผู้กุมจิตวิญญาณของเขาเอาไว้, ส่วน May นั้นเป็นศัตรูหัวใจของ Newland ภาพซ้อนทับกุญแจมันจึงควรส่งผลในแง่ลบมากกว่า

ช่วงระหว่างงานเลี้ยงร่ำลา กล้องจับจ้องบริเวณส่วนศีรษะของ Newland ซึ่งสามารถสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในจิตใจ

  • เมื่อถ่ายจากด้านหลัง จะเสี้ยววินาทีหนึ่งที่ทุกสิ่งอย่างกลายเป็นเฉดสีแดง สามารถสื่อถึงความเจ็บปวด เศร้าโศกเศร้าใจ ต่อจากนี้อาจไม่ได้พบเจอหน้าเธออีกแล้ว
  • ถ่ายจากด้านหน้า สังเกตเงามืดที่อาบบนใบหน้าของ Newland มีลักษณะกระดำกระด่าง เดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่าง ไร้ความสดชื่น ดูอมทุกข์ทรมาน

ช็อตสุดท้ายที่ Newland พบเห็น Countess Ellen แค่เพียงเธอขึ้นรถม้าแล้วลาลับจากไป ไม่ได้มีความตราตรึง น่าประทับใจอะไร หลบซ่อนตัวในความมืดมิด พบเห็นแค่เพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งใบหน้า แต่นี่จักคือภาพฝังอยู่ภายในจิตใจของตราบชั่วนิรันดร์

กลับตารปัตรจากคราที่แล้ว ครั้งนี้ May ต้องการพูดบอกอะไรบางอย่างกับ Newland ทั้งสองต่างนั่งบนเก้าอี้ระดับความสูงเดียวกัน ระหว่างกลางนั้นประกอบด้วยเตาผิงไฟ และกระจกสะท้อนตัวตน

  • ฝั่งของ Newland ผมไม่แน่ใจว่าผลงานของใคร แต่เป็นภาพเรือกำลังล่องลอยในมหาสมุทร
    • สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจของ Newland ขณะนี้ล่องลอยไปอย่างไร้หลักแหล่ง ไม่รู้จะทำอะไร ไม่รู้จะครุ่นคิดอะไรต่อไป เลยตั้งใจจะพูดบอกความจริงทั้งหมดแก่ May
  • ทางฝั่งของ May คือภาพ The Icebergs (1861) ผลวาดทิวทัศน์ของจิตรกรชาวอเมริกัน Frederic Edwin Church (1826-1900) ระหว่างการออกเดินทางสู่ North Atlantic เมื่อปี 1859
    • ภูเขาน้ำแข็ง มักมีนัยยะถึงบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ ในที่นี้ก็คือ May สังเกตเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับ Countess Ellen แต่เลือกที่จะไม่พูดบอกแสดงออกมา

แต่เป็นอีกครั้งที่ Newland ยังไม่ทันมีโอกาสพูดบอกความจริงใดๆออกไป May เดินเข้ามานั่งลงกับพื้นแล้วกอดเข่า (แต่ไม่แทบเท้าเหมือนที่ Newland ศิโรราบต่อ Countess Ellen) เพื่อพูดบอกว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ วินาทีนั้นภายในจิตใจของเขาสั่นสะท้าน ตระหนักถึงจุดสิ้นสุด หนทางตัน ต่อจากนี้จักไม่สามารถทอดทิ้งเธอและบุตร … เพราะนั่นคือสามัญสำนึกขั้นต่ำสุดของ Newland

วินาทีที่ Newland ศิโรราบต่อโชคชะตากรรมของตนเอง เขาหันไปมองภาพเรือกลางมหาสมุทรด้านหลัง จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนไหล Cross-Cutting ออกเดินทางสู่อนาคตหลายปีให้หลัง พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆ(ในห้องหับนี้)มากมาย

หนึ่งในภาพที่ปรากฎขึ้นระหว่างกล้องเคลื่อนเลื่อนหมุนรอบห้อง (แทนกาลเวลาดำเนินผ่านไป) ก็คือ The Fighting Temeraire, tugged to her last berth to be broken up, 1838 ผลงานมาสเตอร์พีซของจิตรกรชาวอังกฤษ J. M. W. Turner (1775-1851) เป็นภาพแนว Romantic ของเรือรบ HMS Temeraire ที่กำลังถูกลากเพื่อจะไปปลดระวาง ก่อนจมลงใต้พื้นมหาสมุทร

เกร็ด: ภาพวาดนี้ยังพบเห็นใน Skyfall (2012) ซึ่งสามารถสื่อถึงจุดจบของ …

นี่เป็นภาพที่สามารถสื่อถึงจุดจบสิ้น ความตายของ May จิตใจแตกสลายของ Newland มีชีวิตอยู่เพียงเพื่อรอวันหมดสิ้นลมหายใจ และภาพยนตร์เรื่องนี้ใกล้ถึงตอนจบ

26 ปีให้หลัง ไม่แน่ใจว่าพานผ่านยุคสมัยทองชุบมาหรือยัง (แต่ถ้านับจากจุดเริ่มต้นทศวรรษ 1870s ก็น่าจะยังไม่ถึงศตวรรษที่ 19th ด้วยซ้ำนะ) สังเกตว่าท้องถนนหนทางจากเคยมีแค่ดินเลน พื้นที่ว่างเปล่า กลายมาเป็นเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง รั้วเหล็ก ห้อมล้อมด้วยอาคารสูงใหญ่ … เป็นพัฒนาการที่น่าทึ่งไม่น้อยเลยนะ

ภาพทุกช็อตที่ถ่ายด้านนอก สังเกตว่าจะห้อมรอบล้อมด้วยอาคารสูงเหล่านี้ แทบจะไร้หนทางออก มองเห็นโบสถ์แห่งความหวังแบบเดียวกับภาพสุดท้ายเมื่อตอนฮันนีมูน นี่เป็นการสื่อว่า Newland Archer ไม่สามารถดิ้นหลบหนีไปไหนได้อีกแล้ว

Apotheosis of Henry IV and the Proclamation of the Regency of Marie de Medici (1622-25) ผลงานของ Sir Peter Paul Rubens (1577-1640) จิตรกรเอกชาว Flemish ผู้ทรงอิทธิพลแห่งกลุ่มเคลื่อนไหว Flemish Baroque เพื่อประมวลผลเหตุการณ์ทั้งหมดที่บังเกิดขึ้น วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1610 ประกอบด้วยการลอบปลงพระชมน์ King Henry IV of France (เกิดปี 1553, ครองราชย์ 1589-1610) โดยผู้คลั่งศาสนา François Ravaillac ซึ่งหลังจากนั้นมีการเรียกประชุมขุนนาง เพื่อแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ (เพราะองค์รัชทายาท Louis XIII เพิ่งมีพระชมน์มายุ 9 พรรษา) ใช้เวลาสองชั่วโมงตัดสินใจเลือก Marie de’ Medici (สวามีของ King Henry IV) ขึ้นเป็นราชินีพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส!

เกร็ด: ราชินี Marie de’ Medici เป็นผู้มอบหมาย Peter Paul Rubens ให้วาดภาพเหตุการณ์สำคัญๆของพระองค์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสจำนวน 24 รูป (มีคำเรียก Medici Cycle) ทั้งหมดเก็บไว้ยัง Luxembourg Palace (Palais du Luxembourg) ซึ่งก็คือสถานที่ถ่ายทำฉากนี้ด้วยนะครับ

ฉากนี้ไม่ใช่แค่ตัวละครเชยชมผลงานศิลปะนะครับ น่าจะสื่อถึง Newland กำลังหวนระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆที่พานผ่านเข้ามาในชีวิต มีทั้งสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก ประมวลผลจนกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ The Age of Innocence (1993)

วินาทีที่ชายคนนี้กำลังจะปิดหน้าต่าง แสงอาทิตย์สะท้อนส่องเข้าดวงตาของ Newland ทำให้เขาบังเกิดภาพของ Countess Ellen เมื่อตอนยืนมองเรือแล่นผ่านประภาคาร แล้วหันหลังกลับมา … นั่นถือเป็นภาพในจินตนาการของ Newland (เพราะความเป็นจริงนั้น Countess Ellen ไม่ได้หันหลังกลับมา) ที่เขาเลือกจดจำเธอไว้ นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งในการปฏิเสธพบเจอหน้า ปัจจุบันคงแก่หง่อม แห้งเหี่ยวเฉา หมดสิ้นความนงเยาว์ เลยขอรำลึกภาพสวยที่สุดไว้ดีกว่า!

ความเข้าใจของผมเองต่อเหตุผลที่ Newland เลือกจะไม่พบเจอ Countess Ellen เพราะต้องการตอบแทนการเสียสละของ May ตลอดระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่าน เพิ่งตระหนักรับรู้ สาแก่ใจ(จากคำบอกเล่าของบุตรชาย)ว่าความลับของตนเองอยู่ในกำมือศรีภรรยา แต่เธอไม่เคยพูดบอก แสดงออกมา เพียงพอใจในสิ่งพึงมี ผู้หญิงที่ยินยอมอุทิศตนขนาดนี้ ต่อให้ไม่เคยรัก อย่างน้อยที่สุดอยากแสดงออกเพื่อเป็นการขอบคุณทุกสิ่งอย่าง

แต่ในความเข้าใจ(ของผม)ต่อมุมมองของผู้กำกับ Marty อาจต้องการแสดงให้เห็นถึงความสิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก เพราะไม่มีทางที่ Newland จะย้อนเวลา หวนกลับไปแก้ไขอดีต เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นปูนนี้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรจะขวนขวายไขว่คว้า โหยหาในสิ่งที่ตนเองไม่มีวันครอบครองเป็นเจ้าของ มอบความขืนขม รวดร้าวระทมใจ ก็ได้แต่ปล่อยปละละวางทุกสิ่งอย่าง แล้วเดินจากไป

แม้ว่าช็อตสุดท้ายนี้จะพบเห็นอาคารสูงห้อมล้อมรอบ แต่ก็ยังมีถนนหนทาง ช่องสำหรับให้ตัวละครก้าวเดินออกไป ตราบที่เราไม่มองว่าทุกขนบกฎกรอบ วิถีประเพณีคือทุกสรรพสิ่งอย่าง สักวันย่อมต้องสามารถดิ้นรน หลุดพ้น ค้นพบหนทางออกในที่สุด

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker (เกิดปี 1940) สัญชาติอเมริกัน ขาประจำเพียงคนเดียวของผู้กำกับ Martin Scorsese ร่วมงานกันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), เข้าชิง Oscar ทั้งหมด 8 ครั้ง คว้ามาสามรางวัลจาก Raging Bull (1980), The Aviator (2004), The Departed (2006)

ดำเนินเรื่องผ่านเสียงบรรยายของ Joanne Woodward เล่าผ่านมุมมองของ Newland Archer (รับบทโดย Daniel Day-Lewis) อธิบายเหตุการณ์ ความรู้สึกนึกคิด สิ่งต่างๆที่ถูกปกปิดซุกซ่อนเร้น ตั้งแต่หมั้นหมายกับ May Welland (รับบทโดย Winona Ryder) พอดิบพอดีกับการหวนกลับมา New York City ของ Countess Ellen Olenska (รับบทโดย Michelle Pfeiffer)

ลีลาการดำเนินเรื่อง ‘สไตล์ Scorsese’ มักนำเสนอเฉพาะห้วงเวลาสำคัญๆ (ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเรื่องราว) นำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อ หรือจะมองว่าเป็นการก้าวกระโดด Time Skip ไปข้างหน้าเรื่อยๆ ซึ่งสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ มักเป็นช่วงเวลาที่ Newland ไล่ระดับความสัมพันธ์กับ Countess Ellen โดยจะดำเนินเคียงคู่ขนานเตรียมแต่งงานกับ May

  • Newland หมั้นหมายแฟนสาว = Countess Ellen ต้องการเลิกราสามี
    • Newland ประกาศหมั้นหมายกับ May
    • Countess Ellen ต้องการจะเลิกราสามี
    • Newland กลายเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายแก่ Countess Ellen ลึกๆให้การสนับสนุน แต่ก็มิอาจอดรนทนต่อคำครหานินทาที่จะบังเกิดขึ้น
  • ช่วงเวลาแห่งความโล้เล้ลังเลใจ = ถ่านไฟเก่ากำลังคุกรุ่น
    • Newland พยายามสรรหาโอกาสเพื่อพบเจอกับ Countess Ellen แต่เธอกลับพรอดรัก Julius Beaufort
    • Newland เร่งเร้าการแต่งงานกับ May จนเกือบถูกจับได้ว่ามีใครอื่น
  • หลังแต่งงาน = พยายามผลักไสออกห่าง
    • Newland พยายามติดตามตื้อ Countess Ellen แต่เธอกลับพยายามผลักไส จัดงานเลี้ยงร่ำลา แล้วออกเดินทางกลับยุโรป ยินยอมรับโชคชะตากรรมของตนเอง
    • Newland ต้องการพูดบอกความจริงแก่ May แต่ก็มีเหตุบางอย่างขัดจังหวะ เลยยินยอมรับโชคชะตากรรมของตนเอง
  • หลายปีให้หลัง
    • หลังจาก May เสียชีวิตไปหลายปี Newland มีโอกาสเดินทางไปยุโรปกับบุตรชาย สองจิตสองใจจะพบเจอ Countess Ellen หรือไม่?

การดำเนินเรื่องที่มีความรวดเร็วฉับไวลักษณะนี้ มีข้อเสียก็คือทำให้ผู้ชมแทบไม่มีเวลาจับจ้องสังเกตรายละเอียดพื้นหลัง ครุ่นคิดถึงนัยยะความหมาย รวมถึงวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเรื่องราว สามารถเพียงซึมซับรับสัมผัสบรรยากาศ พบเห็นว่าใครกำลังอะไรที่ไหนอย่างไร … แต่ไดเรคชั่นดังกล่าวคือวิธีการที่ Marty ใช้สร้างจุดสนใจ โฟกัสจับจ้อง ชักนำพาผู้ชมให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องราว ราวกับว่าได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งในเหตุการณ์นั้นๆ พบเห็นเข้าใจทุกสิ่งอย่างระยะประชิดใกล้


เพลงประกอบโดย Elmer Bernstein (1922-2004) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City (ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆกับ Leonard Bernstein) ช่วงวัยเด็กมีความสนใจหลายอย่าง วาดรูป นักเต้น นักแสดง กระทั่งได้ทุนการศึกษาร่ำเรียนเปียโนตอนอายุ 12 ก่อนค้นพบความชื่นชอบด้านการประพันธ์เพลง (อิทธิพลจาก Aaron Copland) เริ่มมีผลงานประกอบภาพยนตร์ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 50s อาทิ The Man with the Golden Arm (1955), The Ten Commandments (1956), Sweet Smell of Success (1957), Some Came Running (1958), The Magnificent Seven (1960), To Kill a Mockingbird (1962), The Great Escape (1963), True Grit (1969), Airplane! (1980), Cape Fear (1991), The Age of Innocence (1993), Far from Heaven (2002), คว้ารางวัล Oscar: Best Original Score จากเรื่อง Thoroughly Modern Millie (1967)

งานเพลงของ Elmer Bernstein มีความหลากหลายมากๆ (150+ เพลงประกอบภาพยนตร์, 80+ ซีรีย์โทรทัศน์ และยังละครเวทีอีกนับไม่ถ้วน) ตั้งแต่หนังนัวร์ หนังเพลง คาวบอย แอ๊คชั่น มหากาพย์ ฯ แต่ไม่เคยมาก่อนกับแนวพีเรียตย้อนยุค The Age of Innocence (1993) น่าจะเป็นเรื่องแรกเรื่องเดียวเลยกระมัง!

ความสนใจของผู้กำกับ Marty นอกจากกลิ่นอายย้อนยุค ยังต้องการความสลับซับซ้อนทางอารมณ์ บรรยากาศที่สร้างความอึดอัด เก็บกดดัน ปั่นป่วนมวนท้องไส้ คล้ายๆเมื่อตอนร่วมงาน Cape Fear (1991) แต่จะไม่ฉูดฉาดทางอารมณ์ชัดเจนขนาดนั้น

Main Theme ของหนังมีความกลมกลืนลื่นไหลมากๆ ใช้การประสานเสียงสายไวโอลิน วิโอล่า เชลโล่ คลอเคลียกันอยู่ตลอดเวลา สร้างบรรยากาศของความสัมพันธ์ที่เหมือนมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้น แต่ภายนอกไม่สามารถเปิดเผยแสดงออกมา เสแสร้งสร้างภาพเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปตามครรลองสังคม

นอกจากบทเพลงของ Elmer Bernstein ยังมีการใช้บทเพลงคลาสสิกมีชื่อมากมาย อาทิ

  • Johann Strauss Sr.: Radetzky March
  • Ludwig van Beethoven: Piano Sonata No. 8 in C Minor, Op 13 (Pathetique)
  • Johann Strauss: Emperor Waltz Op. 437
  • Johann Strauss: Artist’s Life
  • Johann Strauss: Tales From The Vienna Woods
  • Felix Mendelssohn: Quintet In B Flat Op 87, 3rd Movement

และยังมี Marble Halls บทเพลงแนว New Age แต่งโดย Enya, Roma Ryan, Nicky Ryan และขับร้องโดย Enya รวมอยู่ในอัลบัม Shepherd Moons (1991)

บทเพลงนี้ดังขึ้นเมื่อ Newland ร่ำลาจาก Countess Ellen ที่กรุง Washington D.C. ทั้งสองต่างต้องอดรนทนกับการใช้ชีวิต เพียงแค่มีโอกาสพบเจอหน้า พูดคุยสนทนา สัมผัสมือของอีกฝ่าย มิอาจสนิทชิดใกล้ไปมากกว่านี้ แต่นั่นถือเป็นช่วงเวลาแห่งสุข ราวกับอาศัยอยู่บนสรวงสวรรค์ เพ้อฝันถึงปราสาทหินอ่อนที่มีความงดงามสูงส่ง สามารถเทียบแทนความรัก จักมีให้กันชั่วนิรันดร์

I dreamt I dwelt in marble halls
With vassals and serfs at my side,
And of all who assembled within those walls
That I was the hope and the pride.
I had riches all too great to count
And a high ancestral name.

But I also dreamt which pleased me most
That you loved me still the same,
That you loved me
You loved me still the same,
That you loved me
You loved me still the same.

I dreamt that suitors sought my hand,
That knights upon bended knee
And with vows no maidens heart could withstand,
They pledged their faith to me.
And I dreamt that one of that noble host
Came forth my hand to claim.

But I also dreamt which charmed me most
That you loved me still the same
That you loved me
You loved me still the same,
That you loved me
You loved me still the same.

The Age of Innocence นำเสนอเรื่องราวความรักที่ไม่สามารถพูดบอก เปิดเผยออกสู่สาธารณะ เนื่องเพราะความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวยังเป็นประเด็น ‘ต้องห้าม’ ผู้คนไม่ให้การยินยอมรับ ผิดหลักศีลธรรม มโนธรรม ขนบประเพณี ข้อปฏิบัติดีงามทางสังคม อันจะก่อเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง วงศ์ตระกูล ถูกผู้คนอื่นติฉินนินทาว่าร้าย

ชื่อหนัง/นวนิยาย The Age of Innocence มองมุมหนึ่งสามารถสื่อถึงความไร้เดียงสาของตัวละคร (ไม่จำเป็นว่าต้องคือเด็กหนุ่ม-หญิงสาว ผู้ใหญ่-สูงวัยในเรื่องของความรักก็มักไร้เดียงสาไม่ต่างกัน) ที่ต่างมีความต้องการอันแรงกล้า รักที่บริสุทธิ์ แต่ไม่สามารถแสดงเจตจำนงค์นั้นออกมา ต้องปกปิดซุกซ่อนเร้น เก็บงำความประทับใจเหล่านั้นไว้ภายในความทรงจำ คาดหวังว่ามันจะลดลืมเลือนตามกาลเวลา

ขณะเดียวกันเรายังสามารถมองถึงยุคสมัยทองชุบ, Gilded Age (1865–1914) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มชนชั้นสูงต่างเสแสร้งสร้างภาพ พยายามทำตัวแสดงออกอย่างใสซื่อไร้เดียงสา แต่ภายในกลับหมกมุ่นด้วยกามตัณหา ครุ่นคิดแต่สิ่งชั่วช้า แสดงความเย่อหยิ่งทะนงตน เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น พร้อมทรยศหักหลังผู้อื่นได้ทุกเมื่อ

เมื่อเทียบกับค่านิยมสหรัฐอเมริกายุคสมัยปัจจุบันนี้ ที่มักชี้ชักนำให้มนุษย์เลือกกระทำสิ่งตอบสนองใจอยาก เชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ รักใครชื่นชอบพอใคร ทำไมต้องอดกลั้นฝืนทน ปกปิดบังซุกซ่อนเร้นเอาไว้ ครุ่นคิดรู้สึกอย่างไรก็พูดบอกแสดงออกมาให้ทั้งโลกได้ประจักษ์ ไม่จำเป็นต้องหวาดกลัว สนหัวผู้อื่น ใครว่าอะไรก็แค่เสียเห่าหอนของหมูหมาไก่กา

อิทธิพลของเสรีภาพ ความเป็นปัจเจกบุคคล ทำให้ทัศนะของผู้กำกับ Martin Scorsese ต่อยุคสมัยทองชุบ ครุ่นคิดว่ามันช่างมีความเหี้ยมโหด (Brutality) เลือดเย็นชา (Cold-Blooded) นำเสนอผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยอคติ ต่อต้าน มิอาจยินยอมรับสภาพสังคม ถ้าตนเองต้องถือกำเนิดเติบโตในยุคสมัยนั้น คงมีสภาพไม่ต่างจากตัวละคร Newland Archer ย่อมรู้สึกอึดอัด เก็บกดดัน แทบคลุ้มบ้าคลั่งอย่างแน่แท้

สำหรับผู้แต่งนวนิยาย Edith Wharton ผลงานเรื่องนี้มีลักษณะของการ ‘ค้นหารากเหง้า’ ซึ่งก็คือหวนระลึกถึงช่วงเวลาวัยเด็กของตนเอง ที่ยังมีความอินโนเซ้นท์ ใสซื่อไร้เดียงสา มันช่างงดงาม ทรงคุณค่า น่าประทับใจ ไม่รู้ลืมเลือน … คนส่วนใหญ่อาจไม่ชื่นชอบโลกของ The Age of Innocence แต่สำหรับ Edith นั่นคือช่วงเวลาที่เธอคร่ำครวญ ถวิลหา อยากกลับไปเป็นเด็กอีกสักครั้งครา

ผมมองเรื่องราวความรักของ Newland Archer ไม่ได้แค่สะท้อนบริบททางสังคมยุคสมัยนั้น แต่ยังเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง การยึดถือมั่นขนบประเพณี vs. เสรีภาพในการแสดงออก, ครุ่นคิดถึงหัวอกผู้อื่น vs. สนองเจตจำนงค์ส่วนตน, สังคม vs. ปัจเจกบุคคล, อนุรักษ์นิยม vs. หัวก้าวหน้า, เหตุผล vs. อารมณ์ รวมถึงจิตสามัญสำนึก vs. สันชาติญาณความต้องการ

ซึ่งการตัดสินใจเลือกของตัวละคร(ทั้งสาม) ที่ต่างยินยอมสภาพความจริง ศิโรราบต่อโชคชะตากรรม แล้วปกปิดซุกซ่อนเร้นความต้องการแท้จริงไว้ภายใน ล้วนสะท้อนถึงตัวผู้แต่งนวนิยาย Edith Wharton ประสบการณ์ชีวิตทำให้เธอตระหนักถึงอะไรๆหลายๆอย่าง (โดยเฉพาะกับสามีที่จับได้ว่าคบชู้นอกใจ แต่ก็มิอาจเลิกราเพราะกลัวการสูญเสียชื่อเสียง) มองย้อนกลับไปก็พบแต่ความขืนขม ทำไมตอนนั้นฉันถึงโง่งม ไร้เดียงสาขนาดนี้


ด้วยทุนสร้าง $34 ล้านเหรียญ (บางแหล่งข่าวอ้างว่าน่าจะสูงถึง $40 ล้านเหรียญ) แม้เสียงตอบรับจะดีล้นหลาม แต่กลับทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $32.3 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $68 ล้านเหรียญ ถือว่าขาดทุนพอสมควรเลยละ!

ช่วงปลายปีแม้ได้เข้าชิงรางวัลต่างๆมากมาย แต่ก็ถูก SNUB จาก Oscar หลายสาขาทีเดียว! (ผู้ชนะรางวัลใหญ่ปีนั้นคือ Schindler’s List (1993))

  • Academy Awards
    • Best Supporting Actress (Winona Ryder)
    • Best Adapted Screenplay
    • Best Art Direction
    • Best Costume Design ** คว้ารางวัล
    • Best Original Score
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Drama
    • Best Director
    • Best Actress (Michelle Pfeiffer)
    • Best Supporting Actress (Winona Ryder) ** คว้ารางวัล
  • British Academy Film Awards
    • Best Supporting Actress (Miriam Margolyes) ** คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Winona Ryder)
    • Best Cinematography
    • Best Production Design

ในบรรดาสามนักแสดงหลัก ทุกคนสมควรจะได้เข้าชิง Oscar แต่เหตุผลที่มีเพียง Winona Ryder ในสาขาสมทบหญิง เพราะการแข่งขันปีนั้นสูงมากจริงๆ Daniel Day-Lewis เลือกอีกผลงานที่โดดเด่นด้านการแสดงกว่า In the Name of the Father (1993), ส่วน Michelle Pfeiffer ถือว่าโดน SNUB น่าจะจากความคร่ำครึหัวโบราณของคณะกรรมการ ยังรับไม่ค่อยได้กับตัวละครพฤติกรรมแรดร่าน สนเพียงแย่งผัวชาวบ้าน (มั้งนะ)

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าทำหนังถึงถูก SNUB จาก Oscar หลายสาขาเหลือเกิน แต่คาดคิดว่าน่าจะความล้มเหลวใน Boxoffice ทำให้ขาดแรงส่งในช่วงปลายเทศกาลล่ารางวัล และการแข่งขันปีนั้นถือว่าค่อนข้างเข้มข้นอย่างมาก Schindler’s List, The Piano, In the Name of the Father, The Remains of the Day, The Fugitive แม้ผู้ชนะจะค่อนข้างชัดเจน แต่เรื่องอื่นๆก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะแล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2018 (ในโอกาสครบรอบ 25 ปี) คุณภาพ 4K เสียง 5.1ch DTS-HD Master แน่นอนว่าต้องควบคุมดูแลโดย Martin Scorsese สามารถหารับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel


ความแตกต่างคนละฝากฝั่งมหาสมุทร Atlantic ในไดเรคชั่นการกำกับของ Ang Lee เรื่อง Sense and Sensibility (1994) และ Martin Scorsese เรื่อง The Age of Innocence (1993) สะท้อนทัศนคติตัวบุคคลได้อย่างชัดเจนมากๆ ผมเชื่อว่าผู้ชมก็น่าจะแบ่งออกเป็นสองฝั่งฝ่ายด้วยเช่นกัน

  • ชาวอเมริกัน(และหลายๆชาติตะวันตก)จะสรรเสริญเยินยอความงดงามระดับวิจิตรศิลป์ของ The Age of Innocence (1993)
  • ขณะที่ส่วนอื่นๆของโลกย่อมประทับใจในความละมุน-ละเอียดอ่อนไหวของ Sense and Sensibility (1994)

โดยส่วนตัวแล้วเอนเอียงไปทาง Sense and Sensibility (1994) >>> The Age of Innocence (1993) เพราะสัมผัสของผู้กำกับ Ang Lee มีความลุ่มลึก มิติน่าค้นหา และสาสน์สาระที่สอนสมดุลการใช้เหตุผล-อารมณ์ในเรื่องของความรัก มีคุณประโยชน์กว่าการชวนเชื่ออุดมคติอิสรภาพ’อารมณ์’เหนือกว่าสิ่งอื่นใด

แนะนำคอหนังดราม่าย้อนยุค (Costume Period) รักสามเส้า (Love Triangle), สนใจในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ยุคสมัยทองชุบ Gilded Age (1865–1914), โดยเฉพาะศิลปิน จิตรกร แฟชั่นดีไซเนอร์ นักออกแบบทั้งหลาย, แฟนๆผู้กำกับ Martin Scorsese และนักแสดงนำ Daniel Day-Lewis, Michelle Pfeiffer, Winona Ryder ไม่ควรพลาด!

จัดเรต 15+ กับการสภาพจิตใจที่จักถูกบดขยี้โดยบริบทกฎกรอบทางสังคม

คำโปรย | The Age of Innocence คือความบริสุทธิ์ที่สุดแสนเจ็บปวดของ Martin Scorsese
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | ระทมใจ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: