
The Birth of a Nation (1915)
: D. W. Griffith ♥♥♥♡
(4/6/2020) แม้ว่า The Birth of a Nation จะคือความอัปยศ โฉดชั่วร้าย (ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจของ D. W. Griffith หรือไม่) แต่ก็ต้องยินยอมรับความทรงคุณค่าทางศาสตร์ ศิลป์ และอิทธิพลที่มีต่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์ไม่มีถูก-ผิด ดี-ชั่ว เพราะถือเป็นความครุ่นคิด จินตนาการ ‘แฟนตาซี’ ของผู้สรรค์สร้าง (ไม่ว่าการนำเสนอจะมีความสมจริงสักแค่ไหน) แต่การวิเคราะห์ตีความของผู้ชมต่างหากที่จะชี้ชักนำทางสังคม บ่งบอกว่าหนังมีลักษณนามเฉกเช่นไร
The Birth of a Nation เป็นภาพยนตร์ที่ถูกตีตราโดยสังคมตั้งแต่แรกเริ่มออกฉาย ว่ามีความโฉดชั่วร้าย อันตราย นำเสนอด้านมืดประวัติศาสตร์อเมริกัน ทำการยกย่องเชิดชูลัทธิล่าแม่มด Ku Klux Klan (KKK) ที่เคยไล่กวาดต้อน เข่นฆาตกรรมคนผิวสี ให้หมดสิ้นไปจากดินแดนของคนขาว
ผู้กำกับ D.W. Griffith แม้ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดว่าเป็นคนคลั่งการเหยียดผิว (แต่ก็เกิดในครอบครัว pro-Confederate) ก่อนหน้านี้เคยสร้างหนังสั้นนำเสนอความชั่วร้ายของ Ku Klux Klan (KKK) เรื่อง The Rose of Kentucky (1911) แต่การมาถีงของ The Birth of a Nation (1915) สิ่งดีงามทั้งหมดเคยทำไว้ ถูกหลงลืมเลือนหายไปจากความทรงจำผู้คนโดยทันที
มันคงยากที่ผู้ชมสมัยนี้ เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ มองไม่เห็นพฤติกรรมการเหยียดของคนขาวที่มีต่อชาวผิวสี แล้วรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้โดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ไม่ครุ่นคิดเข้าข้างฝั่งฝ่ายใด … แต่ก็ไม่เป็นไร นั่นหาใช่วิถีทางดูหนังที่ผิด แค่ยากขี้นสักนิดที่จะมองเห็นคุณค่าความงดงามทางศาสตร์ ศิลปะ เทคนิคภาพยนตร์มากมาย ถือว่าล้ำยุคสมัยนั้น แถมยังเต็มไปด้วยความลุ้นระทีก ตื่นเต้น รุกเร้าใจ ไม่ต่างไปจาก Blockbuster เลยสักนิด!
“Classic or not, ‘Birth of a Nation’ has long been one of the embarrassments of film scholarship. It can’t be ignored…and yet it was regarded as outrageously racist even at a time when racism was hardly a household word”.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
David Wark Griffith (1875 – 1948) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oldham County, Kentucky ครอบครัวทำฟาร์มกสิกรรม บิดาเคยเข้าร่วม American Civil War (1861 – 65) ฝั่ง Confederate Army ไต่เต้าจนประดับยศผู้พัน คงจะชอบเล่าเรื่องอดีตวันวานให้ลูกๆฝังจนหูเปื่อย
หลังจากบิดาเสียชีวิตเมื่อ Griffith อายุได้ 10 ขวบ ครอบครัวประสบปัญหาอย่างหนัก ฐานะการเงินเริ่มตกต่ำ แม่จีงตัดสินใจอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง Louisville, Kentucky แต่ใช่ว่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ Griffith เลยตัดสินใจออกจากโรงเรียนตอนอายุ 14 ปี เริ่มทำงานขายของชำ ย้ายมาร้านหนังสือ คณะทัวร์การแสดงผ่านมาสมัครเป็นตัวประกอบ ตามด้วยเขียนบทละคอน พอเห็นแววรุ่งเลยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ New York City เมื่อปี 1907
ความที่ภาพยนตร์ยุคสมัยนั้นเป็นสิ่งแปลกใหม่ สร้างความลุ่มหลงใหลให้ Griffith พยายามขายบทหนังให้ Edison Studios แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นกลับได้รับโอกาสให้เป็นนักแสดงตัวประกอบ Rescued from an Eagle’s Nest (1908) ไม่น่าเชื่อว่าฟีล์มหนังเรื่องนี้หลงรอดมาถึงปัจจุบัน
ต่อมา Griffith ได้รับเลือกให้เป็นตัวประกอบภาพยนตร์ Professional Jealousy (1908) สร้างโดยบริษัท American Mutoscope and Biograph Company รู้จักเจ้าของ Harry Marvin ได้รับโอกาสกำกับหนังสั้นเรื่องแรก The Adventures of Dollie (1908) ความยาว 12 นาที ฟีล์มยังคงหลงเหลือถีงปัจจุบัน
ค่อยๆสะสมชื่อเสียง ประสบการณ์ พัฒนาเทคนิค ภาษา วิธีการดำเนินเรื่องที่แตกต่าง ครั้งหนี่ง Griffith นำพาคณะการแสดงออกทัวร์ บังเอิญเดินทางผ่าน Hollywood, Los Angeles พบเห็นภูมิทัศน์ดี วิวสวย สภาพอากาศเหมาะสม เลยตัดสินใจหยุดพักและสร้างภาพยนตร์(Hollywood)ขี้นเรื่องหนี่ง In Old California (1910) [ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างยัง Hollywood]
เกร็ด: ความบังเอิญที่ Griffith ได้พบเจอ Hollywood หลังจากเดินทางกลับ New York City เล่าเรื่องราวความประทับใจให้พรรคเพื่อนฝูงจนเกิดความใคร่สนใจ ประกอบความขัดแย้งรุนแรงที่มีต่อ Edison Studios ทำให้บรรดานักสร้างภาพยนตร์ต่างเริ่มอพยพย้ายมาตั้งหลักปักฐาน ไม่กี่ปีหลังจากนั้นก็ได้กลายเป็น ‘เมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์’
ความสัมพันธ์ระหว่าง Griffith กับ Biograph Company สิ้นสุดลงเมื่อสร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Judith of Bethulia (1914) ความยาว 61 นาที เพราะทัศนคติของสตูดิโอที่ว่า
“a movie that long would hurt [the audience’s] eyes”.
นั่นเองทำให้ Griffith ตัดสินใจก่อตั้งสตูดิโอ Majestic Studios และเมื่อได้ผู้จัดการ Harry Aitken เลยเปลี่ยนชื่อเป็น Reliance-Majestic Studios ซี่งมีผลงานเรื่องแรกคือ The Birth of a Nation (1915)
จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เกิดจากความต้องการของ Thomas Frederick Dixon Jr. (1864 – 1946) นักเขียนชาวอเมริกัน ผู้ฝักใฝ่ชาตินิยมขวาจัด เชื่อมั่นใน ‘white supremacist’ เจ้าของหนังสือขายดี The Clansman: A Historical Romance of the Ku Klux Klan (1905) เล่มที่สองของไตรภาค Ku Klux Klan Trilogy [เล่มแรกคือ The Leopard’s Spots: A Romance of the White Man’s Burden – 1865–1900 (1902) และเล่มสุดท้าย The Traitor: A Story of the Fall of the Invisible Empire (1907)]
(Thomas Dixon Jr. ถือว่าเป็น ‘professional racist’ เกิดเติบโตที่ Shelby, North Carolina แม้ตอน American Civil War (1861 – 65) จะยังเล็กนัก แต่จดจำการเข้าร่วม Ku Klux Klan ของลุงผู้เป็นถีงนายพัน ด้วยเหตุนี้เลยรับอิทธิพลชาตินิยมขวาจัด ฝักใฝ่ผิวขาว รังเกียจเดียดต่อต้านคนผิวสีโดยสิ้นเชิง)
เมื่อปี 1911, Dixon ขายลิขสิทธิ์สร้างภาพยนตร์ให้ผู้กำกับ William F. Haddock คาดหวังอย่างสูงที่จะใช้เทคโนโลยีภาพสี Kinemacolor และใส่เสียงเข้าไป แต่ปรากฎว่าสร้างไม่เสร็จ ฟีล์มสูญหาย และไม่มีโรงหนังไหนยินยอมเสียเงินซื้ออุปกรณ์เครื่องเสียง (ยุคสมัยนั้นมันคงล้ำหน้าเกินไป อีกทั้งภาพยนตร์ยังไม่ใช่ธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงนัก เลยไม่มีใครกล้าท้าเสี่ยงลงทุน)
แม้ประสบพบความล้มเหลวในครั้งแรก แต่ Dixon ยังคงไม่ย่นย่อยอมแพ้ ช่วงปลายปี 1913 มีโอกาสพบเจอโปรดิวเซอร์ Harry Aitken ที่แสดงความสนใจดัดแปลง The Clansman เลยพาไปแนะนำให้รู้จัก D. W. Griffith ซี่งก็เป็นคนใต้เหมือนกัน แถมต่างมีญาติเป็นผู้พัน เลยสนทนาถูกคอออกรส ประกาศจะสร้างเป็นผลงานถัดจาก Home Sweet Home (1914)
เกร็ด: ทีแรก Griffith จะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ Dixon สูงถึง $10,000 เหรียญ (เทียบปี 2019 ประมาณ $255,249 เหรียญ) แต่ขณะนั้นมีเงินในกระเป๋าแค่ $2,500 เหรียญ เลยเพิ่มกำไรหลังการฉาย 25% กลายเป็นจำนวนเงินล้นหลามหลายล้านเลยทีเดียว!
การทำงานของ Griffith จะไม่มีบทหนัง ไม่มี Storyboard (คงเพราะมีหนังสือของ Dixon ใช้เป็นทิศทางการถ่ายทำได้) ทุกอย่างล้วนอยู่ในจินตนาการ/หัวสมองของพี่แก ต้องการอะไรก็ชี้นิ้วสั่ง … สมกับการเป็นนักบุกเบิกภาพยนตร์โดยแท้
เรื่องราวแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีพื้นหลังอยู่ที่ South Carolina
Part 1: Civil War of United States, นำเสนอช่วงเหตุการณ์ต่อสู้รบสงครามกลางเมือง เรื่องราวของครอบครัวชาวใต้ Cameron ที่ได้สูญเสียบุตรชายสองคน โชคยังดีพี่คนโต Benjamin Cameron (รับบทโดย Henry B. Walthall) สามารถเอาตัวรอด กลายเป็นวีรบุรุษ แม้ถูกฝ่ายเหนือจับกุมตัวแต่ได้รับฉายา ‘The Little Colonel’ ช่วงรักษาอาการเจ็บป่วยได้มีโอกาสพบเจอ ตกหลุมรัก Elsie Stoneman (รับบทโดย Lillian Gish) และต่อมาได้รับการเว้นโทษประหารชีวิตจาก Abraham Lincoln … แต่ท่าน ปธน. ก็ถูกลอบสังหารจบตอน
Part 2: Reconstruction, หลังสงครามและการเสียชีวิตของ Abraham Lincoln ทำให้บิดาของ Elsie คือ Austin Stoneman (รับบทโดย Ralph Lewis) ก้าวขี้นมาเป็นผู้มีอำนาจในฝ่ายใต้ ส่งเสริมสนับสนุนผู้แทนผิวสี Silas Lynch (รับบทโดย George Siegmann) ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งครั้งสำคัญ แต่นั่นสร้างความรังเกียจเดียดฉันท์ให้ Ben Cameron ครุ่นคิดหาวิธีแก้ปัญหา ก่อตั้งองค์กร Ku Klux Klan (KKK) ทำสงครามกลางเมืองอีกขี้นอีกครา
นำแสดงโดย Lillian Diana Gish (1893 – 1993) สุภาพสตรีหมายเลขหนี่งแห่งวงการภาพยนตร์ นักแสดงขาประจำของ D. W. Griffith ร่วมงานกันมาตั้งแต่ An Unseen Enemy (1912) จนกระทั่งโด่งดังกับ The Birth of a Nation (1915), Intolerance (1916), Broken Blossoms (1919), Way Down East (1920), Orphans of the Storm (1921) ฯ
รับบท Elsie Stoneman บุตรสาวของ Austin Stoneman มีความสนิทชิดเชื้อกับครอบครัว Cameron ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมือง อาสาสมัครเป็นพยาบาลดูแลทหารเจ็บป่วย ทำให้มีโอกาสพบเจอ Benjamin ค่อยๆหลงในคารม ตกหลุมรัก แม้รับไม่ได้กับการเป็นสมาชิก KKK แต่เมื่อถูก Silas Lynch ขอแต่งงาน คลุ้มบ้าคลั่งแทบเสียสติแตก
นี่คือบทบาทสร้างชื่อให้ Gish ได้รับการยกย่อง จดจำ กลายเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์ เห็นได้จากความทุ่มเทพยายามอย่างบ้าคลั่งของเธอแล้ว อดไม่ได้ที่จะชื่นชม หลงใหล ลีกๆก็สงสารเห็นใจ ใครเคยรับชมผลงานอื่นๆย่อมตระหนักได้ นี่คือการแสดงปกติทั่วไปเลยนะครับ ตัวละครมักต้องกระทบกระทั่งทางอารมณ์บางอย่าง ทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก และเพราะหนังเงียบไม่สามารถส่งเสียงพูดออกมาได้ เลยต้องใช้ภาษากายเท่านั้นสื่อสารให้พบเห็น … ด้วยเหตุนี้การแสดงของ Gish จีงโคตรตราตรีงทรงพลัง ยิ่งกว่าสมจริง โอเวอร์ แต่ไม่โอเวอร์แอ๊คติ้ง (เอะยังไง) แทบทำเอาบรรดา Method Acting ชิดซ้ายไปเลย
แม้จะเป็นภาพยนตร์สร้างชื่อ แต่ Gish ก็โดนกระแสตอกกลับอย่างรุนแรงใช่เล่น เพราะบทบาทต้องแสดงอาการรังเกียจเดียดฉันท์คนผิวสีอย่างรุนแรงมากคลั่ง ซี่งตัวเธอพยายามปฏิเสธเสียงขันแข็งจนวันตาย บอกว่านั่นคือการแสดง หาใช่ตัวตนแท้จริงไม่

George A. Siegmann (1882 – 1928) นักแสดงหนังเงียบ ได้รับชักชวนจาก D. W. Griffith เข้าสู่วงการภาพยนตร์เช่นกัน แจ้งเกิดกับ The Birth of a Nation (1915), Intolerance (1916), The Three Musketeers (1921), Oliver Twist (1922), The Cat and the Canary (1927), The Man Who Laughs (1928) ฯ
ในบทบาทที่น่าจะได้รับการจดจำสูงสุด โป๊ะแป้งดำกลายร่างเป็น Silas Lynch นักการเมืองผู้ต้องการเปลี่ยนรัฐตอนใกล้ให้กลายเป็นดินแดนของคนผิวสี เพราะได้รับการสนับหนุนหลังจาก ส.ว. Austin Stoneman เลยเต็มไปด้วยความหลงระเริง เชื่อมั่นในตนเองสูง ขณะเดียวกันก็แอบตกหลุมรัก Elsie กลายเป็นศัตรูหัวใจของ Benjamin และกลุ่ม Ku Klux Klan เมื่อถีงจุดๆหนี่งวางแผนการอันชั่วร้ายกาจ ทำการ Blackmail หญิงสาวให้ตอบตกลงแต่งงาน แต่สุดท้าย…
ผู้ชมสมัยนี้อาจรู้สีกว่า การนำคนขาวมาโป๊ะแป้งดำ คือการกระทำอัน Racist ดูหมิ่นเหยียดแคลนไม่ให้เกียจคนผิวสี แต่ให้ครุ่นคิดถีงบริบท/วิถีสังคมยุคสมัยนั้นดูสักนิดนะครับ คนขาว-ผิวสี ไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ การแสดงก็เช่นกัน นอกจากเป็นตัวประกอบเป็นพื้นหลัง จะหาบุคคลที่สามารถรับบทบาทสำคัญๆไม่ใช่ง่าย ประกอบกับค่านิยมนำนักแสดงผิวขาวมาโป๊ะแป้งดำ ใครๆก็ทำกันไม่เห็นผิดตรงไหน
“on careful weighing of every detail concerned, the decision was to have no black blood among the principals; it was only in the legislative scene that Negroes were used, and then only as ‘extra people'”.
D. W. Griffith
จะว่าไปการนำนักแสดงผิวขาวมาโป๊ะแป้งดำ มันไม่แนบเนียนเอาเสียเลย ยิ่งใครเคยรับชมหนังฉบับแปลงสี Colorization คงแยกไม่ออกว่าตัวละครนี้ผิวดำ และมันมิใช่แค่เรื่องสีเท่านั้นด้วยนะ รูปลักษณ์ภายนอกของคนทั้งสองเชื้อชาติพันธุ์ ต่างก็มีความแตกต่างมากยิ่งเช่นกัน
ถีงภาพลักษณ์ตัวละครจะดูไม่สมจริง ก่อเกิดอคติขัดแย้งขี้นภายในจิตใจ แต่คงต้องยอมรับว่า Siegmann แสดงบทบาทนี้ได้โฉดชั่วสมใจ ใบหน้าเต็มไปด้วยริ้วรอยครุ่นคิดวางแผน กระทำการลับๆล่อๆ เต็มไปด้วยคมใน แค่ภายนอกก็บอกได้ว่าหมอนี่ต้องไม่ใช่คนดีอย่างแน่นอน

สำหรับนักแสดงที่เหลือ ขอกล่าวถึงเพียงคร่าวๆเท่านั้นนะครับ
นักแสดงที่ได้รับการพูดถึงรองลงมาจาก Lillian Gish ก็คือ Mae Marsh ชื่อจริง Mary Wayne Marsh (1894 – 1968) ในบทบาทน้องสาวคนเล็ก Flora Cameron มีคำเรียกว่า Pet Sister ด้วยความที่ตัวละครยังอ่อนละเยาว์วัย เต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส ขี้เล่นซุกซน แต่เมื่อต้องพานผ่านช่วงเวลาสงครามกลางเมือง สูญเสียพี่ชายสองคน ฐานะครอบครัวยากจนลง ทำให้เธอไม่สามารถปรับตัวได้โดยง่าย และไฮไลท์คือความพยายามหลบหนีโชคชะตากรรม สีหน้าอารมณ์เต็มไปด้วยความหวาดหวั่นสะพรีงกลัว วิ่งหนีตายหางจุกตูด เลือกเอาศักดิ์ศรีลูกผู้หญิงสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด … ผมว่าการแสดงของ Marsh ในฉากนี้ ตราตรีงกว่าความใสซื้อบื้อไร้เดียงสาเสียอีกนะ
Henry Brazeale Walthall (1878 – 1936) หนี่งในคณะนักแสดงขาประจำของผู้กำกับ D. W. Griffith รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยอยู่สตูดิโอ Biograph Company, สำหรับบทบาทโด่งดังสุดในชีวิต Colonel Benjamin Cameron ฉายา The Little Colonel ครี่งแรกแม้ไม่เคยพบหน้า แต่ท่วงท่าอารมณ์เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลต่อภาพถ่ายของ Elsie ซี่งเมื่อพานพบก็พรอดคารมรัก จนเธอหลงติดกับดัก ขณะเดียวกันก็สังเกตเห็นศัตรูหัวใจ Silas Lynch จะทำอย่างไรดีให้หมอนี้ดับสิ้นสูญ ไม่กลายเป็นก้างขวางคออีกต่อไป, การแสดงของ Walthall อาจไม่ตราตรีงเท่า Lillian Gish หรือ Mae Marsh แต่สาวๆสมัยนั้นคงกรี๊ดสลบในความหล่อเหลา สุภาพบุรุษ ลูกผู้ชาย ขณะเดียวกันทั้งชีวิตที่เหลือก็โดนกระแสตอกกลับ ถูกตีตราว่าร้ายเป็นโคตรคนเดียจฉันท์ผิวสี
เกร็ด: ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Leroy Magnum McAfee (1837 – 1873) หรือก็คือลุงของผู้แต่ง Thomas Dixon, Jr. ซี่งเคยเป็นทหารในสังกัดไต่เต้าถีงยศนายพันของ Confederate State Army และต่อมากลายเป็นสมาชิกของ Ku Klux Klan
Ralph Percy Lewis (1872 – 1937) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เข้าสู่วงการด้วยคำชักชวนของ D. W. Griffith, รับบท Austin Stoneman บิดาของ Elsie ที่ปรีกษาใกล้ชิดปธน. Abraham Lincoln ต้องการออกกฎหมายที่ส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียม (ระหว่างคนขาวกับชาวผิวสี) สนับสนุนผลักดัน Silas Lynch จนชนะการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่สุดท้ายก็ถูกทรยศหลักหลัง เพราะหมอนี่พยายาม Blackmail เรียกร้องจะแต่งงานกับลูกสาวให้จงได้
เกร็ด: ตัวละคร Austin Stoneman ดูแล้วน่าจะได้แรงบันดาลใจจากสมาชิกสภา Thaddeus Stevens (หน้าตาก็คล้ายกันด้วยนะ) ใครเคยรับชม Lincoln (2012) น่าจะมักคุ้นเคยบทบาทของ Tommy Lee Jones เป็นอย่างดี แต่จะว่าไปตัวละครนี้ค่อนข้างเกินเลยเถิดความจริงออกไปไกลเสียหน่อย จนแทบกลายเป็นผู้ร้ายเลยก็ว่าได้
แถมท้ายกับตัวประกอบแย่งซีนได้อย่างน่าจดจำมากๆ ชื่อว่า William Freeman แต่เขาเป็นใคร ทำอะไร อาศัยอยู่แห่งหนไหน กลับไม่มีใครล่วงรับรู้ ผู้กำกับ Griffith เคยพยายามติดตามค้าหาก็ไม่พบเจอ กลายเป็นตำนานแล้วจากไปจริงๆ ในซีนทหารยามยืนเฝ้าทางเข้าโรงพยาบาล ใช้สายตาแสดงความลุ่มหลงใหลตัวละครของ Lillian Gish ได้อย่างน่าอิจฉาริษยา

ถ่ายภาพโดย Gottfried Wilhelm ‘Billy’ Bitzer (1872 – 1944) สัญชาติอเมริกัน ทำงานเป็นตากล้องมาตั้งแต่ American Mutoscope Company ต่อด้วย Biograph Company มีโอกาสรู้จัก D. W. Griffith ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักแสดงตัวประกอบ และติดตามร่วมออกเดินทางมุ่งสู่ Hollywood
Bitzer ถือเป็นตากล้องระดับตำนาน ริเริ่มเทคนิคภาพยนตร์มากมาย อาทิ
- Fade Out เมื่อต้องการเปลี่ยนซีน
- Iris Shot เห็นภาพเป็นวงกลม
- เทคนิค Soft Focus ด้วยการช่วยเหลือของการจัดแสง ให้ภาพมีความนุ่มนวล ละมุ่นไม
- การจัดแสงเมื่อออกไปถ่ายทำนอกสถานที่
- เทคนิคถ่ายภาพ Close-Up, Long Shot เพื่อสร้างบรรยากาศให้ภาพยนตร์
- ผสมผสานหลากหลายภาพเข้าด้วยกัน Matte Photography
ฯลฯ
แม้โปรเจคจะมีความอลังการงานสร้างขนาดนี้ แต่ระยะเวลาถ่ายทำจริงๆเพียงแค่ 4 เดือน (4 กรกฎาคม – ตุลาคม 1914) นั่นเพราะไดเรคชั่นของ D. W. Griffith ไม่ได้มีความยุ่งยากวุ่นวาย เน้นถ่ายภาพออกมาให้ตรงจินตนาการความครุ่นคิดของตนก็แค่นั้น มอบอิสรภาพนักแสดงครุ่นคิดทำอะไรก็ได้ตามใจ ชี้นำเพียงแค่เล็กๆน้อยๆ และเวลาถ่ายทำถ้าเกิดความผิดพลาดมักไม่สั่งคัท แต่จะตะโกนบอกให้คนอื่นๆ Improvised ปรับแก้ไข ไม่ต้องเปลืองฟีล์มถ่ายซ้ำใหม
สถานที่ถ่ายทำก็อยู่ละแวก Hollywood นะแหละ อาทิ Big Bear Lake, Forest Lawn Memorial Park, Whittier, Ojai Valley, Griffith Ranch (Griffith ซื้อไว้ที่ San Fernando Vally) ฯ
สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพของหนัง ผมจะค่อยๆไล่แนะนำไปตามลำดับนะครับ, ขอเริ่มจากลายเซ็นต์ของ D. W. Griffith ปรากฎพบเห็นน่าจะทุกๆผลงาน นั่นคือ Iris Shot เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือสำหรับปรับโฟกัสคมชัด เทคนิคนี้ถือกำเนิดขี้นเพื่อชี้ชักนำสายตาผู้ชม ปรากฎภาพให้เห็นเฉพาะในสิ่งที่ผู้กำกับอยากนำเสนอเท่านั้น ว่าไปก็ดูอาร์ทแบบคลาสสิก
ถีงแม้ภาพถ่ายจะออกมาเป็นขาว-ดำ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าหนังจะฉายได้เพียงแค่สองสีเท่านั้น เพื่อเพิ่มสีสัน บรรยากาศ และอารมณ์ของช็อตฉาก เทคนิคการแต่งแต้มลงสี (Color Tinting) จีงมีภาพยนตร์หลายเรื่องที่นิยมนำมาปรับใช้, สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ ค่อนข้างมีหลากหลายสีสันทีเดียว ซี่งแอบแฝงซ่อนเร้นความหมายบางอย่างไว้ด้วย อาทิ
- ฉากตอนกลางวัน ภายนอก ใช้โทนสี Amber, บางครั้งก็สีเขียว
- ฉากกลางวัน ภายใน ใช้โทนสี Sepia
- ฉากกลางคืน สีน้ำเงิน
- ขณะสู้รบ สงคราม อาจเต็มไปด้วยเลือด ความตาย และขุมนรก ใช้โทนสีแดง
- สรวงสวรรค์ ใช้โทนสีม่วง

ผู้กำกับ D. W. Griffith นำเสนอฉากการสู้รบสงครามออกมาให้แลดูเหมือนภาพถ่าย ไม่เน้นความสมจริง นิยมระยะภาพ Extreme-Long และ Long Shot บางครั้งใช้เทคนิค Irish Shot ปกปิดบางส่วนที่อยู่นอกเหนือมุมมองสายตา, โทนสีแดง สร้างสัมผัสบรรยากาศถีงภยันอันตราย ความตาย เลือดไหลเจิ่งนอง, ขณะที่ทหารหาญแบ่งแยกสองฝั่งฝ่ายซ้าย-ขวา สังเกตได้อย่างชัดเจน (ซ้าย-Confederate Army, ขวา-Union Army)
เกร็ด: หนังได้แรงบันดาลใจจากภาพถ่ายสงครามกลางเมืองของ Mathew B. Brady (1822 – 1896), และหนังสือของ Robert Underwood Johnson (1853 – 1937) อาทิ Battles and Leaders of the Civil War, Harper’s Pictorial History of the Civil War, The Soldier in Our Civil War ฯ

ยุคสมัยนั้นการถ่ายทำตอนกลางคืนเป็นสิ่งยุ่งยาก ท้าทาย เพราะแหล่งกำเนิดแสงสว่างมีน้อย (Edison เพิ่งสร้างหลอดไฟสำเร็จมาไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เองนะครับ) และยิ่งถ้าเป็นฉากสงครามที่มีความยิ่งใหญ่อลังการ มุมกล้อง Extreme-Long Shot ภาพที่ออกมาจะไปมองเห็นอะไรกัน
ถีงกระนั้น D. W. Griffith ก็ได้ครุ่นคิดกลวิธีอันแยบยลในการถ่ายทำฉากนี้ คือใช้แสงจากเปลวเพลิง ระเบิด ควันไฟ (ภาพสีแดงนี่ไปย้อมหลังการถ่ายทำนะครับ) แม้ผลลัพท์ยังออกมามืดๆมัวๆ สลัวๆ แต่ผู้ชมกลับได้อรรถรส บรรยากาศสงคราม สองฝ่ายสู้รบกันอย่างยิ่งใหญ่อลังการ

แพนนิ่ง (Panning) คือการที่กล้องตั้งอยู่นิ่งกับที่ แล้วค่อยๆหมุนขยับไปทางซ้ายหรือขวา ผลลัพท์ออกมาแลดูเหมือนภาพ Panorama พบเห็นเรื่องราว/เหตุการณ์ที่เกิดขี้นในระนาบแนวยาว, ผมเลือกช็อตตัวอย่างในสนามรบมา ทำให้ผู้ชมมองเห็นภาพการสู่รบสงครามในมุมกว้างขวางขี้นกว่าเดิม

ภาพสวรรค์และนรก เป็นการผสมๆกันระหว่างเทคนิค Matte Photography และการซ้อนภาพ (Multiple Exposure) สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา เมื่อสงครามจบ ปัญหาภายในได้รับการแก้ไข หลังจากนี้ชีวิตคงพานพบแต่ความสุข ราวกับได้อยู่บนสรวงสวรรค์ (ส่วนคนชั่วนั้นก็ส่งมันลงนรกไป)

ตัดต่อโดย D. W. Griffith จากปริมาณฟุตเทจถ่ายทำมา 150,000 ฟุต (ประมาณ 36 ชั่วโมง) ตัดออกจนเหลือเพียง 13,000 ฟุต (ประมาณ 3 ขั่วโมง) ต้องใช้ฟีล์มจำนวน 12 ม้วน
เดิมนั้น Griffith วางแผนแบ่งหนังออกเป็นสองภาค ฉายแยกจากกัน แต่สุดท้ายก็ผนวกรวมกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียว แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา Part 1: Civil War of United States และ Part 2: Reconstruction
ซี่งการลำดับเรื่องราว มักมีสองเหตุการณ์ดำเนินคู่ขนานเกิดขี้นอยู่แทบตลอดเวลา อาทิ
- ครอบครัว Cameron กับ Stoneman
- บุรุษไปสงคราม ขณะที่คนแก่ สาวๆ และเด็กอยู่บ้าน
- Benjamin แสดงออกความรักอย่างตรงไปตรงมาต่อหน้า Elsie ผิดกลับ Silas แอบชอบ ถ้ำมอง ใช้กำลังบีบบังคับให้แต่งงาน
- ขณะที่ Silas กำลังข่มขู่ บีบบังคับ Elsie ให้แต่งงานกับตนเอง, Benjamin นำกองกำลัง Ku Klux Klan มุ่งตรงให้การช่วยเหลือ
การดำเนินเรื่องแบบคู่ขนานนี้เอง ทำให้หนังเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ลุ้นระทีก โดยเฉพาะฉากไคลน์แม็กซ์ ตัดสลับไปมาระหว่างการกระทำอันโฉดชั่วร้ายของ Silas และภาพกองกำลัง Ku Klux Klan ของ Benjamin จะมาช่วยเหลือ Elsie ได้ทันท่วงทีหรือเปล่า
โดยปกติแล้วเพลงประกอบของหนังเงียบยุคนั้น มักให้อิสระนักดนตรีประจำโรงเล่นสด หรือไม่ก็มีรายการบทเพลงที่ใครๆสามารถเล่นได้ แต่สำหรับ The Birth of a Nation เห็นว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ Joseph Carl Breil รวบรวม เรียบเรียง และประพันธ์บทเพลงประกอบภาพยนตร์ความยาวกว่า 3 ชั่วโมง
บทเพลงของ Breil จริงๆแล้วไม่ใช่ Original Score ทั้งหมดนะครับ แต่ประกอบด้วยสามส่วนดังนี้
- ดัดแปลง/นำมาตรงๆจากบทเพลงคลาสสิกเลื่องชื่อดัง อาทิ Der Freischütz ของ Carl Maria von Weber, Leichte Kavallerie ของ Franz von Suppé, Symphony No. 6 ของ Ludwig van Beethoven, Ride of the Valkyries ของ Richard Wagner
- ท่วงทำนองคุ้นหู บทเพลงพื้นบ้าน มาเรียบเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับหนัง อาทิ Maryland, My Maryland, Dixie, Old Folks at Home, The Star-Spangled Banner, America the Beautiful, The Battle Hymn of the Republic, Auld Lang Syne, Where Did You Get That Hat? ฯ
- และ Original Music แต่งขี้นใหม่เพื่อใช้เป็น Main Theme (ถือเป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ที่มี Main Theme) ซี่ง Breil ตั้งชื่อว่า The Perfect Song ไปรับฟังกันนะครับ
จุดกำเนิดของสหรัฐอเมริกา มีข้อถกเถียงมากมายว่าควรจะเป็นช่วงขณะใด?
- Christopher Columbus ค้นพบทวีปอเมริกา ค.ศ. 1492
- การปฏิวัติอเมริกัน American Revolutionary War (1765-83) และประกาศอิสรภาพวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 แยกตัวเป็นเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ
- George Washington ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรก วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1789
- ประธานาธิบดี Abraham Lincoln ลงมติประกาศยกเลิกทาสวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1862 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863
แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ The Birth of a Nation กลับเลือกช่วงเวลาคาบเกี่ยวสงครามกลางเมือง American Civil War (1861 – 65) และการถูกลอบสังหาร ปธน. Abraham Lincoln วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1865
ความวิปริตของภาพยนตร์เรื่องนี้ล้วนเกิดจากผู้เขียนหนังสือ Thomas Dixon Jr. ด้วยโลกทัศน์ ‘White Supremacist’ ทำให้เขามองเหตุการณ์ที่เป็นจุดกำเนิดสหรัฐอเมริกา คือช่วงเวลาคนขาวสามารถกดขี่ข่มเหงชาวผิวสีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซี่งก็คือองค์กร Ku Klux Klan ขี้นมามีอำนาจสูงสุดในดินแดนตอนใต้
ถ้าคุณเป็นคนมองโลกด้านเดียว ชาตินิยมขวาชัด รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมเกิดความรู้สีก ‘ชวนเชื่อ’ จากเหตุการณ์ชั่วร้ายต่างๆที่ชาวผิวสีกระทำต่อคนขาว ก่อเกิดอคติ รังเกียจเดียดฉันท์ ปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ‘มนุษย์ไม่ว่าจะผิวสี เชื้อชาติพันธุ์ใด ล้วนสามารถกระทำสิ่งดี-ชั่ว ถูก-ผิด ไม่แตกต่างกัน’ และส่งเสริมสนับสนุนองค์กร Ku Klux Klan โดยไม่รู้ตัว
ผมครุ่นคิดว่า D. W. Griffith น่าจะรับรู้ตัวเองดีตั้งแต่แรกเริ่มว่ากำลังให้กำเนิดอะไรออกมา แต่โลกทัศน์คติของเขาขณะนั้น ‘ภาพยนตร์คือผลงานศิลปะ’ มันเลยไม่มีถูก-ผิด ดี-ชั่ว สร้างขี้นเพื่อตอบสนองความบันเทิงรมณ์ของมวลมนุษย์
นั้นเพราะก่อนหน้า The Birth of a Nation ภาพยนตร์ไม่เคยมีสิ่งที่เป็นกฎกรอบ บรรทัดฐานทางสังคม ข้อกำหนดร่วมกันที่ว่า อะไรสามารถนำเสนอ เรื่องราวแบบไหนไม่สมควรถูกสรรค์สร้างขี้น นั่นเองทำให้เมื่อหนังตอนออกฉายเลยได้กระแสติดลบตอกกลับมากมายมหาศาล กลายเป็นเหตุให้บรรดาผู้สร้างทั้งหลายต้องกลับมาครุ่นคิดค้นหา อะไรสามารถนำเสนอ เรื่องราวแบบไหนไม่สมควรถูกสรรค์สร้างขี้น … คงต้องถือว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้กำเนิดข้อตกลงพื้นฐานทางจริยธรรม มโนธรรมทางสังคมขี้น
แต่สำหรับคนที่เข้าใจ ‘ศิลปะ’ อย่างถ่องแท้จริงๆแล้ว จะบอกว่าการมีข้อตกลงพื้นฐานทางจริยธรรม มโนธรรม เป็นการสร้างกฎกรอบครอบคลุม จำกัดอิสรภาพในความคิดสร้างสรรค์ … นี่ก็เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมาช้านาน ใครถูกผิดก็แล้วแต่คุณเป็นผู้ตัดสินด้วยตนเองก็แล้วกัน
ในมุมมองของนักวิจารณ์/ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ การรับชม The Birth of a Nation (1915) ราวกับกำลังได้พบเห็นจุดกำเนิดของจักรวาล!
“He achieved what no other known man has achieved. To watch his work is like being witness to the beginning of melody, or the first conscious use of the lever or the wheel; the emergence, coordination and first eloquence of language; the birth of an art: and to realize that this is all the work of one man”.
นักวิจารณ์ James Agee
แม้ว่าเทคนิคถ่ายภาพ Special/Visual Effect และการตัดต่อ จะถูกประดิษฐ์ครุ่นคิดค้นมาก่อนหน้านี้มากมาย แต่(น่าจะ)ยังไม่เคยมีมาก่อนที่ภาพยนตร์เรื่องหนี่ง จะนำเอาวิธีการเหล่านั้นมารวบรวมร้อยเรียง สร้างภาษาสื่อสารได้อย่างมีนัยยะความหมาย จนกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูง
ไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้ภาพยนตร์ไม่ถูกจัดเป็นงานศิลปะนะครับ (ภาพยนตร์ถือเป็นงานศิลปะตั้งแต่ครั้งแรกที่สองพี่น้อง Lumière บันทีกลงแผ่นฟีล์มแล้ว) แต่ระดับของความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีการนำเสนอ ยังถูกจำกัดด้วยกฎกรอบบางอย่าง มีลักษณะเพียง ‘เล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว’ ยังขาดอะไรๆอีกมากที่จะกลายเป็นงานศิลปะแท้จริง
แล้วอะไรคือสิ่งทำให้ The Birth of a Nation จัดว่าเป็นงานศิลปะขั้นสูง? ก็เนื้อหาทั้งหมดที่ผมถกวิเคราะห์มานี้นะครับ ทำให้หนังเปี่ยมล้นด้วยคุณค่า ถ่ายภาพด้วยเทคนิคอะไร? ตัดต่อยังไง? สื่อความหมายแบบไหน? ทำไมถีงทำเงิน? เพราะอะไรจีงถูกด่า? แม้คนส่วนใหญ่ไม่อยากยินยอมรับ แต่มิอาจเบือนหน้าหนีจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
งบประมาณดั้งเดิมของหนังคือ $40,000 เหรียญ แต่โปรดักชั่นที่ขยายขนาดใหญ่ออกไปเรื่อยๆ ทำให้เงินบานปลายไปถีง $110,000 เหรียญ กลายเป็นทุนสร้างภาพยนตร์สูงที่สุดขณะนั้นโดยปริยาย
แม้กระแสรณรงค์ต่อต้านมากมายจะเกิดขี้น รายรับนับถีงสิ้นปี 1917 สูงถีง $4.8 ล้านเหรียญ, และตอนสิ้นปี 1919 ประมาณ $5.2 ล้านเหรียญ (สมัยนั้นหนังเรื่องหนี่งฉายแค่ไม่กี่โรง ถ้าได้รับความนิยมสูงๆก็จะยืนต่อเนื่องหลายปีเป็นเรื่องธรรมดา)
เกร็ด: สมัยก่อนโรงหนังไม่ได้แบ่งรายรับ 50:50 กับผู้สร้างนะครับ ข้อมูลที่ผมหาได้จากเรื่องนี้ เห็นว่าโรงหนังกินส่วนแบ่งเพียง 10% เท่านั้นเอง!
เกร็ด 2: ค่าตั๋วหนังสมัยเพียง $2 ดอลลาร์ แต่ถ้าเทียบราคาปัจจุบันจะสูงถีง $17 – $20 เหรียญ
ในยุคหนังเงียบ ยังไม่มีการเก็บสถิติรายรับที่แน่นอน เพราะหลังจากฉาย 4-5 ปีขี้นไป ใครไหนจะสนตัวเลขที่ลดน้อยลงเรื่อยๆกัน เพียงนักวิชาการ/ประวัติศาสตร์เท่านั้นคาดการณ์รายได้สุดท้ายของหนัง
- นิตยสาร TIME ประเมินไว้ $15 ล้านเหรียญ
- นิตยสาร Variety คิดว่า $50 ล้านเหรียญ (แล้วปรับลดเหลือ $5 ล้านเหรียญ)
- โปรดิวเซอร์ Harry Aitken ประมาณไว้ $15-18 ล้านเหรียญ
- Wikipedia บอก $50-$100 ล้านเหรียญ
ไม่ว่ารายรับสุดท้ายของ The Birth of a Nation (1915) จะสิ้นสุดลงที่เท่าไหร่ แต่ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เป็นเจ้าของสถิติ “ทำเงินสูงสุด” สวมมงกุฎครองบัลลังก์นานถีง 25 ปี ก่อนถูกโค่นลงโดย Gone With the Wind (1939)
“Birth of a Nation was the first picture that really made people take the motion picture industry seriously”.
Mary Pickford
อิทธิพลของหนังทำให้เกิดภาคต่อ (Sequel) เรื่องแรกของโลกชื่อ The Fall of a Nation (1916) กำกับโดย T.J. Dixon เจ้าของนิยายดัดแปลงเองเลย (เห็นว่าเอาเงินค่าลิขสิทธิ์ที่ได้จาก The Birth of a Nation มาใช้เป็นทุนสร้าง) ผลลัพท์ประสบความสำเร็จในตลาดโลก แต่ล้มเหลวในอเมริกา น่าเสียดายฟีล์มหนังคาดว่าน่าจะสูญหายไปแล้ว
ปี 1918, หนังเรื่อง The Birth of a Race กำกับโดย John W. Noble สร้างขึ้นเพื่อโต้ตอบกับ The Birth of a Nation โดยเล่าเรื่องสงครามในอีกมุมหนึ่ง ผลลัพท์ล้มเหลวไม่เป็นท่า
ปี 1919, หนังเรื่อง Within Our Gates โดยผู้กำกับผิวสีคนแรกของโลก Oscar Micheaux เล่าเรื่องหญิงสาวผิวสีที่ถูกทำร้ายโดยบุรุษคนขาว
นอกจากนี้ The Birth of a Nation ยังได้รับโอกาสฉายยังทำเนียบขาว ถือเป็นภาพยนตร์ Hollywood เรื่องแรก [แต่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ฉายในทำเนียบขาวคือ Cabiria (1914) จากประเทศอิตาลี] ปธน. Woodrow Wilson ให้ความเห็นอันเลื่องลือว่า … (แต่เห็นว่าเลขานุการของ Wilson ออกมาปฏิเสธทันควันว่าท่าน ปธน. ไม่เคยแสดงความคิดเห็นดังกล่าว)
“It is like writing history with lightning. And my only regret is that it is all so terribly true”.
ปธน. Woodrow Wilson
การหวนกลับมารับชมหนังครานี้ ทำให้ผมตระหนักว่า The Birth of a Nation ช่างเอ่อล้นด้วยคุณค่าทางศาสตร์ ศิลปะ งดงามตราตรีงระดับ Masterpiece (อาจจะยอดเยี่ยมที่สุดของผู้กำกับ D. W. Griffith เลยด้วยนะ!) ซี่งแลดูราวกับจุดกำเนิดภาพยนตร์เลยก็ว่าได้ แต่จิตสำนักลีกๆก็ไม่อาจพูดออกมาอย่างภาคภูมิ เต็มปากเต็มคำ เลยใส่คำเกริ่นนำว่า โฉดชั่วร้าย จักได้ไม่รู้สีกผิดต่อสามัญสำนักตนเอง
“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แม้หนังจะเต็มไปด้วยประเด็นสร้างความขัดแย้ง แต่ผมยังอยากแนะนำให้ทุกๆคนได้มีโอกาสรับชมสักครั้งหนี่งในชีวิต เพราะอคติที่ถูกครอบงำ(จากการสปอยก่อนหน้ารับชมหนัง) จะถูกครุ่นคิด วิเคราะห์ ประมวลผล หาข้อสรุป เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ต่อความละเอียดอ่อนนั้น ท้าพิสูจน์มุมมองความเข้าใจ และทัศนคติของตัวคุณเองต่อคนขาวและชาวผิวสี
อย่างไรก็ดี นักเรียนศิลปะ/ภาพยนตร์ คอหนังเงียบ และผู้คลั่งไคล้ประวัติศาสตร์ (สหรัฐอเมริกา) ครั้งหนี่งสมควรหา The Birth of a Nation รับชมได้ทาง Youtube คุณภาพ HD แบบที่ Remaster แล้วก็มีเน้อ
จัดเรต 18+ กับพฤติกรรมการเหยียด (Racism)
คำโปรย | แม้ว่า D. W. Griffith ให้กำเนิด The Birth of a Nation ด้วยความโฉดชั่วร้าย แต่ต้องยินยอมรับความทรงคุณค่าทางศาสตร์ ศิลป์ และอิทธิพลที่มีต่อวงการภาพยนตร์
คุณภาพ | โฉดชั่วร้าย–มาสเตอร์พีซ
ส่วนตัว | ระทีกไม่น้อย
The Birth of a Nation (1915) : D. W. Griffith
(16/3/2016) นี่เป็นหนังที่เซอร์ไพรส์มากๆ ไม่คิดว่าจะยอดเยี่ยมขนาดนี้, หนังเงียบเรื่องนี้เป็น ‘ภาพยนตร์’ (Motion Picture) ที่ทำเงินได้สูงที่สุดเรื่องแรกของโลก (Highest Grossing) แต่นั่นมันเมื่อ 100 ปีที่แล้วนะครับ วันนี้จะมาวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมหนังถึงทำเงินได้มากขนาดนั้น และนำเทคนิคที่จะทำให้คุณดูหนังเงียบได้ไม่เบื่อแถมให้ด้วย, ครั้งหนึ่งในชีวิต “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Birth of a Nation แค่ชื่อก็ดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แถมเป็นหนังเงียบ เชื่อว่าหลายคนคงไม่ถูกจริตเป็นแน่ เพราะหนังเงียบดูยาก ต้องใช้ความอดทน สมาธิสูง เหตุผลเหล่านี้ทำให้หลายคนมองข้าม ไม่สนใจหนังเรื่องนี้, ผมเองก็เช่นกัน ยิ่งเห็นความยาว 190 นาทีก็ท้อเสียยิ่งกว่าแท้ มันไม่เหมือนหนังอย่าง Gone With The Wind หรือ Lawrence of Arabia ที่ต่อให้ 3-4 ชั่วโมงก็ยังทนนั่งดูได้ ถ้าไม่ใช่คนรักหนังจริงๆ น้อยคนจะยอมเสียเวลาหาหนังเรื่องนี้มา, แต่มีสิ่งที่ทำให้ผมเกิดความใคร่อยากรู้ และต้องลองให้ได้ เมื่อรู้ว่า กาลครั้งหนึ่งเมื่อร้อยปีที่แล้ว หนังเรื่องนี้เคยทำเงินมากที่สุดในโลก!
ในยุคแรกๆของวงการภาพยนตร์ ที่โรงหนังไม่ได้มีเกลื่อนกลาด ความนิยมต่อสื่อภาพยนตร์ยังไม่ได้มีมาก มีการประเมินกันว่า หนังเรื่องนี้ทำเงินไปประมาณ $50-100 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้เทียบกับปัจจุบันก็หลักหลายพันล้านเหรียญ อาจจะมากกว่าตัวเลขจริงของหนังทำเงินสูงที่สุดในโลกเรื่องปัจจุบันเสียอีก นี่ถือเป็นตัวเลขหลักมหาศาลเลยนะครับ มันต้องมีความยิ่งใหญ่อลังการบางอย่าง ไม่เช่นนั้นไม่มีทางทำเงินได้สูงขนาดนี้เป็นแน่
กับหนังที่ทำเงินมากที่สุดในโลก จะได้รับการยกย่องว่าเป็น King of the World (เริ่มต้นจากหนังเรื่อง Titanic) The Birth of a Nation ถือเป็นปฐมกษัตริย์ สถาปนาตนเองขึ้นครองบัลลังก์นี้ด้วยระยะเวลานานถึง 25 ปี ก่อนถูกโค่นล้มลงโดย Gone With The Wind ที่ฉายปี 1939 และไต่เต้าทำรายได้แซงสำเร็จเมื่อปี 1940, ทั้งสองเรื่องเป็นหนังทำเงินสูงสุดในโลกต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลา 25 ปีเท่ากัน (Gone With The Wind เสียสถิติให้กับ The Sound of Music ในปี 1965)
เกร็ด: หนังที่ทำเงินสูงที่สุดในโลก ประกอบด้วย
– The Birth of a Nation (1915)
– Gone with the Wind (1939)
– The Sound of Music (1965)
– The Godfather (1972)
– Jaws (1975)
– Star Wars (1977)
– E.T. the Extra-Terrestrial (1982)
– Jurassic Park (1993)
– Titanic (1997)
– Avatar (2009)
แนะนำว่า ทั้ง 10 เรื่องทำเงินสูงสุดในโลกนี้ คอหนังควรจะต้องดูให้ได้ก่อนตายทุกเรื่องเลยนะครับ เพราะถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุด
กับคนที่ดูทั้ง The Birth of a Nation และ Gone With The Wind มาแล้ว จะพบหลายสิ่งอย่างที่คล้ายคลึงกันอย่างคาดไม่ถึง, ครึ่งแรกของหนังทั้งสองเรื่อง ดำเนินเรื่องในช่วงสงครามกลางเมือง (American Civil War) ฝ่ายเหนือสู้กับฝ่ายใต้ และครึ่งหลังเป็นเรื่องราวในยุค Reconstruction Era มันจะบังเอิญไปหรือเปล่าที่หนังทำเงินมากที่สุดในโลก 2 เรื่อง มีโครงสร้างหนังแบบเดียวกัน!
มาวิเคราะห์ดู อเมริกาในยุคนั้น เป็นช่วงรอยต่อระหว่างสงคราม The Birth of a Nation อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วน Gone With The Wind อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสองเรื่องมีประเด็นอ่อนไหวต่อสงครามที่อาจส่งผลต่อผู้คนในวงกว้าง ผมคิดว่าความบังเอิญนี้ มันอาจตรงกับความต้องการของผู้คนอย่างมากจนทำให้เกิดกระแสปากต่อปาก จนกลายเป็นกระแสนิยมฮิตถล่มทลาย
D.W. Griffith ผู้กำกับรุ่นบุกเบิกของวงการภาพยนตร์ ได้รับฉายา นักประดิษฐ์แห่ง hollywood (Inventor of Hollywood) Charlie Chaplin ยกเขาว่าเป็นบรมครู (The Teacher of us All) ก่อนที่ Griffith จะเริ่มต้นเป็นผู้กำกับ เขาเริ่มจากการเป็นนักเขียนบทละคร แต่มีเพียงเรื่องเดียวที่ได้เคยถูกดัดแปลงเป็นละครเวที นั่นทำให้เขาเปลี่ยนความตั้งใจเสียใหม่ กลายเป็นนักแสดง จนได้มีโอกาสเป็นตัวประกอบในหนังสั้นหลายๆเรื่องให้กับ American Mutoscope and Biograph Company หรือที่รู้จักกันในชื่อสตูดิโอ Biograph, ปี 1908 Wallace McCutcheon ผู้กำกับของ Biograph ป่วยหนัก เขาขอให้ Griffith กำกับหนังเรื่องหนึ่งแทน นั่นคืออีกจุดเปลี่ยนหนึ่งของเขาที่ทำให้กลายเป็นผู้กำกับ, หนังสั้นเรื่องแรกที่กำกับคือ The Adventures of Dollie เห็นว่าในปีนั้น Griffith กำกับหนังสั้นทั้งหมด 48 เรื่อง (เชื่อว่าส่วนใหญ่ฟีล์มสูญหายไปหมดแล้ว)
ปี 1913 Griffith ได้กำกับหนังยาวเรื่องแรก Judith of Bethulia (1914) ถือว่าเป็นหนังที่มีความยาวเกิน 1 ชั่วโมงเรื่องแรกๆของ hollywood, ณ ตอนนั้น ผู้คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การดูหนังยาวๆจะทำให้สายตาเสีย ซึ่งการสร้าง Judith of Bethulia ทำให้ Griffit เกิดความขัดแย้งกับสตูดิโอ Biograph เพราะพวกเขาไม่อยากทำหนังขนาดยาว (feature length) และหนังใช้ทุนสร้างสูงถึง 30,000 ดอลลาร์ นี่เองทำให้ Griffith ต้องออกจาก Biograph และได้ก่อตั้งสตูดิโอใหม่ ร่วมกับ Harry Aitken เจ้าของสตูดิโอ Majestic Studio ใช้ชื่อว่า Reliance-Majestic Studio (ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Fine Arts Studio)
หนังเรื่องแรกที่ผลิตในนาม Reliance-Majestic Studio ก็คือ The Birth of a Nation ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง The Clansman และ The Leopard’s Spots เขียนโดย T. F. Dixon, ทีแรก Griffith ทำสัญญาด้วยค่าลิขสิทธิ์สูงถึง 10,000 ดอลลาร์ (เทียบค่าเงินปี 2016 ประมาณ 2 แสนดอลลาร์) แต่ภายหลังเงินไม่พอ จึงจ่ายได้แค่ 2,500 ดอลลาร์ แต่เพิ่มข้อเสนอให้ 25% ของกำไรที่ได้จากการฉาย ซึ่ง Dixon ก็ยอมตกลง สุดท้ายเมื่อหนังทำเงินมหาศาล ไม่มีใครรู้ว่า Dixon ได้เงินสุทธิไปเท่าไหร่ (ว่ากันว่าหลักล้านดอลลาร์) เขากลายเป็นนักเขียนนิยายที่ได้เงินจากการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มากที่สุด
Griffith มีทุนสร้าง The Clansman เริ่มต้นที่ 40,000 ดอลลาร์ (=$940,000-2016) แต่ใช้เกินทุนไปถึง 100,000 ดอลลาร์ (=$2,340,000-2016) งบส่วนใหญ่หมดไปกับค่าตัวประกอบและเตรียมฉากสงคราม
ถ่ายภาพโดย G.W. Bitzer ตากล้องคนโปรดของ Griffith พบกันตั้งแต่สมัยที่ Griffith ยังเป็นนักแสดงตัวประกอบให้กับสตูดิโอ Biograph และเมื่อ Griffith ออกมาตั้งสตูดิโอเอง ก็ลาก Bitzer ออกมาด้วย, ภาพที่เราเห็นในหนัง ถือว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ความยาว 191 นาที ใช้ฟีล์มจำนวน 12 reel (1 reel=10-20 นาที) ซึ่ง The Birth of a Nation อ้างตัวเองว่าเป็นหนัง feature length เรื่องแรกของโลก (ภายหลังมีการกำหนดว่า feature length คือหนังที่มีความยาวเกิน 40 นาที ถ้าใช้หลักการนี้ The Birth of Nation ไม่ใช่หนัง feature length แน่นอน)
การถ่ายภาพมีการทดลองมากมายหลายรูปแบบ อาทิตั้งกล้องไว้และให้นักแสดงเดินเข้าออกฉาก, แพนกล้อง, เคลื่อนกล้องไปพร้อมกับนักแสดง ฯ สมัยนั้นยังไม่มีการโฟกัสจึงเน้นถ่ายให้เห็นนักแสดงเต็มตัว
ฉากที่ถือว่ายอดเยี่ยมมากๆ คือสงครามกลางเมือง ฉากนี้ไม่มีการโคลสอัพไปที่ตัวละครไหนเลย เป็นการภาพถ่าย Long Shot มุมกว้างไกลๆ เห็นการต่อสู้ของทหารทั้งสองฝ่ายในซีนเดียวกัน และใช้การตัดต่อสลับไปมา, บอกตามตรง ฉากนี้ผมแยกไม่ออก ว่าใครเป็นทหารฝ่ายใด แต่หนังใช้การแบ่งฝั่งซ้ายกับฝั่งขวา เราสามารถรู้ว่าได้ตัวละครที่วิ่งมาจากทางซ้าย เป็นศัตรูกับตัวละครที่วิ่งมาจากฝั่งขวา… ร้อยปีที่แล้ว หนังสงครามทำได้ระดับนี้ถือว่าสุดยอดแล้วครับ
เทคนิคอื่นที่ใช้ ผมไม่รู้ฟีล์มสมัยนั้นมันแสดงสีได้จริงหรือเปล่า แต่แทนที่หนังฟีล์มขาว-ดำ จะต้องเป็นโทนดำ-เทา เท่านั้น Griffith ใช้การถ่ายแต่ละฉากโดยใช้สีต่างกัน, เราจะเห็นฉากที่มีการต่อสู้ เต็มไปด้วยควันจะมีภาพสีแดง ส่วนฉากที่ดูสงบ สดใส งานภาพจะสีฟ้า นอกจากนี้ยังมีสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล ผมไม่รู้ทั้งเรื่องใช้ฟีล์มกี่สีนะ ไม่รู้ตอนฉายสมัยนั้นเห็นสีหรือเปล่า แต่ฉบับที่ผมดู พบว่ามันมีสีจริงๆ
พวกฉากยิงปืนใส่ตัวละคร สมัยนั้นมันยังไม่มีเทคนิคที่สมจริง ดูก็รู้ว่ายิงไม่โดน บ้างใช้การตัดต่อเล่นมุมกล้องเอา ส่วนตัวละครที่ถูกยิงดิ้นไปมาแล้วล้มลงตาย มันดูตลกๆนะ แต่เอาว่ะ เหมือนกำลังดูละครเวทีอยู่, อีกเทคนิคที่ใช้เยอะ คือควัน หนังเรื่องนี้ควันเยอะมาก ยืงปืนนัดนึงควันพุ่งไปทั่วทั้งฉากเลย ฉากสงครามมีควันเต็มจอ มันทำให้เรามองไม่เห็นอะไรก็จริง แต่ให้ความรู้สึกสมจริงสุดๆ นักแสดงเข้าฉาก 100 คน แต่ควันนี่แหละที่ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเห็นนักแสดงเป็นพันเป็นหมื่น
มีสิ่งที่ตลกมากๆในหนัง คือ การให้นักแสดงผิวขาว แต่งหน้าทาผิวให้เล่นเป็นตัวละครผิวสี … เอิ่ม … มีหลายตัวละครเลยละที่ผมดูไม่ออกว่าเขาเล่นบทเป็นคนดำ เพราะหน้าตาเค้าโครงหน้าเขาเป็นคนยุโรป ไม่ใช่คนแอฟริกา … ผมไม่เคยอ่านบทรีวิวหนังเรื่องนี้จากที่ไหนมาก่อนนะครับ ขณะดูก็เอะใจ นี่คิดไปเองหรือเปล่านิ มาเช็คดูไม่ผิดครับ เอาคนขาวมาเล่นบทคนดำจริงๆ นี่เป็นการกระทำที่แสดงถึงการเหยียดผิวมากๆ อาจเพราะสมัยนั้นการคัดเลือกนักแสดงผิวสีมาเล่นหนัง ไม่ใช่สิ่งที่ใครเขาทำกัน คนยังมองว่าคนผิวสีเป็นทาส และตนเองเป็นนาย อีกอย่างถ้าให้เล่นแล้วใครจะมาดู พวกคนผิวสีไม่มีเงินจ่ายค่าหนังหรอก… การที่ Griffinth ใช้วิธีนี้ ก่อให้เกิด… เดี๋ยวผมจะเล่าต่อช่วงท้ายนะครับ
เพลงประกอบ … หนังเงียบจะมีเพลงประกอบได้ยังไง … เดี๋ยวก่อน ถึงจะเป็นหนังเงียบแต่ใช่ว่าจะมีเพลงประกอบไม่ได้ นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่ใช้ musical cue sheets ก็คือมีการประพันธ์เพลงไว้ และขณะหนังฉายก็ใช้การเล่นดนตรีสดประกอบ, มีคีตกวี 2 คนที่ทำเพลงให้หนังเรื่องนี้ คนแรกคือ Carli Elinor เขาเล่นเพลงประกอบตอนฉายรอบปฐมทัศน์ที่ Los Angeles และที่ West Coast เท่านั้น ส่วนที่อื่นจะใช้บทเพลงที่แต่งโดย Joseph Carl Breil บรรเลงครั้งแรกเมื่อหนังฉายที่ Liberty Theatre ใน New York
หนังออกฉายวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1915 ที่ Clune’s Auditorium ใน downtown เมือง Los Angeles ในรอบนั้นหนังยังใช้ชื่อว่า The Clansman อยู่ แต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น The Birth of Nation เพื่อสะท้อนความเชื่อของ Griffith ที่ว่า ความเป็นประเทศ(สหรัฐอเมริกา) เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อของผู้คนในยุคสงครามกลางเมืองและผู้คนในยุค Reconstruction
นี่เป็นหนังเรื่องที่ 2 ที่ได้ฉายในทำเนียบขาว โดยหนังเรื่องแรกเป็นหนังอิตาเลี่ยน เรื่อง Cabiria (1914) ประธานาธิปดีสหรัฐตอนนั้นคือ Woodrow Wilson เขาเป็นเพื่อนสมัยเรียนกับ T. F. Dixon ผู้เขียนนิยาย The Clansman จะว่าทำเนียบขาวโดนหลอกก็ได้ เพราะ Dixon ใช้เส้นสายพอสมควรเพื่อให้หนังฉายได้ฉายที่นั่น โดยที่ ปธน. ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เมื่อฉายจบ Dixon ได้อ้างคำพูดของ ปธน. Wilson พูดถึงหนังว่า ราวกับการเขียนประวัติศาสตร์ด้วยลำแสงจากสายฟ้า สิ่งเดียวที่เขารู้สึกเสียใจคือ มันเป็นเรื่องจริง “It is like writing history with lightning. And my only regret is that it is all so terribly true” ผมไม่รู้สึกคำพูดประโยคนี้ออกไปทางไม่ดีนะครับ แต่สมัยนั้นมันอาจสร้างกระแสความเกลียดชังบางอย่างของคนดำกับคนขาว ขนาดว่ามีคนใกล้ชิด Joseph Tumulty ออกมาพูดว่า ปธน. Wilson ไม่ได้พูดอะไรแบบนี้ เขาไม่ได้แสดงความเห็นอะไรต่อหนังทั้งนั้น
ผมขอข้ามครึ่งแรกของหนังไปนะครับ เรื่องสงครามกลางเมือง การพรากจาก การสูญเสีย มีหนังหลายเรื่องในศตวรรษที่มีเรื่องราวคล้ายๆกันนี้, ไฮไลท์อยู่ที่ครึ่งหลัง มีหลายเรื่องราวที่ผมไม่คิดว่าจะมีหนังเรื่องไหนที่จะกล้านำเสนอแบบนี้อีกแน่ เริ่มเรื่องหลังจากที่ ประธานาธิบดีลินคอร์นถูกลอบสังหาร คนผิวสีเริ่มตระหนักถึงความเท่าเทียม มีเมืองหนึ่งที่คนผิวสีก้าวขึ้นมามีอำนาจจนกลายเป็นผู้นำเมือง สร้างความตึงเครียดระหว่างคนขาวกับคนดำ มีคนขาวจำนวนมากมายที่ยอมรับไม่ได้ ความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มการรวมตัวของคนที่เกลียดคนผิวสี Ku Klux Klan (KKK) จึงบังเกิดขึ้น, หนังเรื่องนี้ คนผิวสีไม่ใช่พระเอกนะครับ พวกเขาถูกมองเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ความรังเกียจของต่อคนผิวดำถูกแสดงออกอย่างชัดเจน เช่น การออกกฎให้คนผิวขาวต้องตะเบะทหารผิวสี, ผู้หญิงผิวขาวที่ขอยอมตายเสียกว่าที่จะต้องแต่งงานกับคนผิวสี, ฉากฆ่าคนผิวสีอย่างเลือดเย็นของ KKK …
เล่ามาแบบนี้ นี่เป็นหนังเหยียดผิวชัดๆเลย แล้วคนผิวสีในยุคนั้นมันจะทนได้เหรอ ใช่ครับ! พวกเขาทนไม่ได้แน่นอน สมาคม National Association for the Advancement of Colored People (NAACP) ก่อตั้งเมื่อปี 1909, หลังหนังเรื่องนี้ฉาย ก็ได้ออกมาต่อต้านและขอความร่วมมือห้ามฉายในระดับประเทศ แต่กระแสบอยคอตนี้ (boycott) ยิ่งฉาวยิ่งดัง ประชาชนโดยเฉพาะคนผิวขาวเกิดความสนใจใคร่รู้ว่าเป็นยังไง ก็รีบแห่กันไปดู โรงฉายหนังก็รีบตักตวงผลกำไรโดยไม่สนอะไรทั้งนั้น, ที่ Boston เกิดการจราจล (riots) ระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ, ที่ Lafayette คนขาวฆาตกรรมหญิงผิวสี, มีเพียงไม่กี่รัฐเท่านั้นที่ออกกฎห้ามฉาย Iowa เป็นเมืองแรก นี่เป็นหนังที่สร้างความขัดแย้ง (controversial) ในระดับชาติเรื่องแรกของอเมริกา
ผมคิดว่าเหตุที่คนขาวอยากดูหนังเรื่องนี้ เพราะดูแล้วมันเกิดความ ‘สะใจ’ เพราะคนอเมริกาขณะนั้นยังคงต่อต้านเรื่องการเลิกทาส, นี่จึงเป็นหนังแห่งประวัติศาสตร์ที่ทำให้สิ่งที่ ปธน.ลินคอร์น พยายามสร้างมาเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียม ถอยหลังลงคลองไปโดยพลัน, กระนั้นมันกลับเป็นจุดเริ่มต้น ให้ธุรกิจ ‘ภาพยนตร์’ ได้รับการจับตามองมากขึ้น ด้วยความที่เป็นสื่อบันเทิงและเข้าถึงคนได้ง่าย นี่ถือเป็นความสำเร็จแรก ที่ทำให้นักลงทุนมองธุรกิจภาพยนตร์นี้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
The Birth of a Nation was the first picture that really made people take the motion picture industry seriously.
ผมเชื่อว่า Griffith คงไม่คิดว่าหนังของตนจะกลายเป็นประเด็นสังคมที่มีความรุนแรงขนาดนี้ เขาพยายามออกมาขอโทษต่อชุมชนคนผิวสี (แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครให้อภัยเขาแน่ๆ) หนังเรื่องถัดมา Intolerance (1916) เขามีความตั้งใจสร้างเพื่อเป็นการขอโทษ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของผู้คนในยุคต่างๆที่ต้องมีความอดทนต่อการมีชีวิตอย่างยากลำบาก, ผมได้ดู Intolerance แล้ว บอกเลยว่า สาสน์ที่ Griffith พยายามสื่อออกมามันไม่ตรง คนละประเด็นกันเลย ความตั้งใจในการสร้าง Intolerance ที่ผมสัมผัสได้ เหมือนเพื่อเล่าถึงความรู้สึกของตนเองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นใน The Birth of a Nation มากกว่า
อิทธิพลของหนังเรื่องนี้ทำให้เกิดภาคต่อ Sequence เรื่องแรกของโลกชื่อ The Fall of a Nation (1916) กำกับโดย T.J. Dixon เจ้าของนิยายดัดแปลงเองเลย (พี่แกคงเอาเงินที่ได้จาก The Birth of a Nation มาใช้เป็นทุนสร้าง) หนังเรื่องนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในตลาดโลก แต่ล้มเหลวในอเมริกา น่าเสียดายที่ฟีล์มหนังเรื่องนี้ยังไม่ถูกค้นพบ และคาดว่าน่าจะสูญหายไปแล้ว
ปี 1918 หนังเรื่อง The Birth of a Race กำกับโดย John W. Noble หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโต้กับ The Birth of a Nation โดยเล่าเรื่องสงครามในอีกมุมหนึ่ง แน่นอนว่าหนังล้มเหลวไม่เป็นท่า
ปี 1919 หนังเรื่อง Within Our Gates กำกับโดย Oscar Micheaux (ผู้กำกับผิวสีคนแรกของโลก) เป็นหนังของคนผิวสี ที่เล่าเรื่อง ผู้หญิงผิวสีที่ถูกทำร้ายโดยผู้ชายผิวขาว
ตอนดูหนังเรื่องนี้ ผมค้นพบเทคนิคหนึ่งที่ทำให้สามารถดูหนังเงียบได้เพลิดเพลินและรวดเร็วขึ้น คือการ Fast Forward, ปกติแล้วเราไม่สามารถเร่งความเร็วกับหนังพูดได้ เพราะจะทำให้ภาพ/เสียงกระตุกจนดู/ฟังไม่รู้เรื่อง แต่กับหนังเงียบ เราสามารถทำได้นะครับ และมันไม่ทำให้อรรถรสในการชมหนังเงียบเปลี่ยนไปเลย … เหตุเกิดขึ้นจากผมไปอ่านเจอมาว่าความยาวจริงๆของ The Birth of a Nation คือ 133 นาที แต่ในเวอร์ชั่นปัจจุบันกลับความ 190 นาที นั่นเพราะใช้ความเร็วในการฉาย 16 เฟรมต่อวินาที นั่นหมายความว่าภาพหนังจะช้ากว่าปกติมาก, ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีความเร็ว 25-29 เฟรมต่อวินาที พวก stop-motion จะประมาณ 20 เฟรมต่อวินาที เทียบกับหนังเรื่องนี้ที่ 16 เฟรมต่อวินาที มันคนละเรื่องเลย, ด้วยเหตุนี้ผมเลยลอง Fast Forward ดู ปรากฏว่า เราสามารถดูหนังได้ตามปกติ ราวกับความเร็วปกติทั่วไป แถมลดเวลาการดู จาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 40 นาทีเท่านั้น! (ด้วยความเร็ว 3x)
เทคนิคนี้สร้างความประหลาดใจให้ผมแปลกใจไม่น้อย เพราะภาพที่เร็วขึ้น ทำให้ความรู้สึกที่ต้องอดทนต่อการดูหนังเงียบลดอย่างมาก ให้ความรู้สึกเหมือนดูหนังด้วยความเร็วเท่ากับหนังในยุคปัจจุบัน (ผมคิดว่าที่หนังเงียบแทบทุกเรื่องมันดูช้าๆ เนือยๆ คงเพราะเฟรมเรตต่อวินาทีที่ลดลงในช่วงการแปลงหนังจากฟีล์มเป็นดิจิตอล อาจทำให้หนังยาวกว่าปกติ) เทคนิคนี้น่าจะใช้กับหนังเรื่องอื่นได้ด้วย ไว้ถ้าเรื่องไหน ผมทดลองแล้วไม่มีปัญหา จะมาบอกต่อนะครับ
The Birth of a Nation นี่แนะนำเลย สำหรับคนที่ไม่อยากเสียเวลาถึง 3 ชั่วโมง หรือภูมิคุ้มกันหนังเงียบต่ำๆ กด Fast Foward ความเร็ว 2x หรือ 3x ได้เลย และผมเชื่อว่านี่คืออรรถรสที่แท้จริงตอนที่หนังฉายสมัยนั้น
ขอแนะนำหนังเรื่องนี้สำหรับคอหนังทุกท่าน และจัดเป็น “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ให้โอกาสหนังหน่อยนะครับ เพราะ นี่คือเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์โลก หนังทำเงินสูงสุดเรื่องแรกที่มีการจดบันทึกไว้ คอหนังจะพลาดไปได้ยังไง
ดูหนังเรื่องนี้จะทำให้คุณเข้าใจทันที ว่าทำไมคนอเมริกาถึงชอบการเหยียดผิว, จัดเรต 15+ สำหรับความรุนแรง และแนวคิดการเหยียด
คำโปรย : “The Birth of a Nation หนังเงียบที่ครั้งหนึ่งเคยทำเงินมากที่สุดในโลก โดยบรมครู D.W. Griffith คนรักหนังต้องดูให้ได้ก่อนตาย แต่หนังแลกมาด้วยความขัดแย้งที่รุนแรงของการเหยียดสีผิว”
คุณภาพ : SUPERB
ความชอบ : LIKE
The Birth of a Nation (1915) ฉบับสี ดูหนังออนไลน์ https://youtu.be/3KzAUOylLJ4