The Brothers Karamazov (1958) hollywood : Richard Brooks ♥♥

(mini Review) ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่องสุดท้ายของ Fyodor Dostoevsky แต่กลับถูก Hollywood นำมาใช้เท้าเขี่ยเล่น ตัดทิ้งหลายประเด็นใจความสำคัญจนกลวงโบ๋ เหลือเพียงการแสดงของ Yul Brynner กับ Lee J. Cobb เท่านั้นที่ยังเป็นตำนาน

สำหรับคนที่เคยรับชมหนังเรื่องนี้แล้ว อาจไม่รู้สึกว่ามันเลวร้ายขนาดนั้น ผมเองก็ไม่เคยอ่านนิยายเลยบอกไม่ได้ว่าแตกต่างมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณได้รับชม The Brothers Karamazov (1969) ฉบับสัญชาติรัสเซีย เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ที่เคารพต้นฉบับกว่ามาก ก็แทบอยากเอาเท้าเขี่ยหนังฉบับนี้ทิ้งไปทันที

Richard Brooks ชื่อเดิม Reuben Sax (1912 – 1992) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania พ่อแม่เป็นผู้อพยพ Russian Jewish โตขึ้นเข้าเรียนที่ Temple University สาขา Journalism แต่ลาออกกลางคันเพราะพบว่าพ่อแม่ติดหนี้มากมายเพื่อจ่ายค่าเทอม เริ่มทำงานจากการเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ เขียนข่าวให้ Philadelphia Record, World-Telegram, จัดรายการข่าววิทยุ WNEW, เริ่มเขียนบทละครเวที เดินทางสู่ Hollywood เขียนบทภาพยนตร์ เซ็นสัญญาระยะยาวกับ MGM กำกับหนังเรื่องแรก Crisis (1950) นำแสดงโดย Cary Grant, เริ่มประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงจาก Deadline – U.S.A. (1952) นำแสดงโดย Humphrey Bogart, Blackboard Jungle (1955) นำแสดงโดย Glenn Ford ที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Writing เป็นครั้งแรก

ผลงานเด่นๆของ อาทิ Cat on a Hot Tin Roof (1958), Elmer Gantry (1960)**คว้า Best Writing, The Professionals (1966), In Cold Blood (1967) ฯ

ความสนใจในนิยาย The Brothers Karamazov (1880) ของนักเขียนสัญชาติรัสเซีย Fyodor Dostoyevsky คงมาจากพื้นหลังที่พ่อแม่เป็นชาวรัสเซีย และมีเรื่องราวบางอย่างที่สะท้อนตรงกับตัวเขาเอง อาทิ ความพยายามหนีการแต่งงาน, ขัดแย้งกับพ่อแม่เรื่องเงินๆทองๆ ฯ ซึ่งการดัดแปลงนี้ ร่วมกับสองพี่น้อง Epstein (Julius และ Philip) ตัดทิ้งประเด็นการตั้งคำถามเชิงศาสนา ศรัทธา การมีตัวตนของพระเจ้า และตอนจบเป็นอะไรในสไตล์ Hollywood อย่างน่าเศร้าสลด

สำหรับการวิเคราะห์นิยาย ขอยกไปที่บทความของหนัง The Brothers Karamazov (1969)

เรื่องราวของสามพี่น้อง Karamazov ที่ต้องอดทนกับพ่อ Fyodor (รับบทโดย Lee J. Cobb) เป็นคนปากร้าย จิตใจเลวทราม หมกมุ่นอยู่แต่การดื่มสุราและติดหญิง ไม่รู้เมื่อไหร่จะตายๆไปเสียสักที กองมรดกจะได้ตกถึงลูกหลาย
– พี่คนโต Dmitri (รับบทโดย Yul Brynner) มีความขัดแย้งกับพ่อมากที่สุด ด้วยความเย่อหยิ่งทะนงตน ต้องการใช้เงินที่สุด ถึงขนาดเคยเอ่ยปากคิดจะฆ่าแกงกันให้ถึงตาย แต่ก็สามารถยับยั้งชั่งใจไว้จนถึงที่สุด
– พี่คนรอง Alexey (รับบทโดย William Shatner) เป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่เชื่อในศาสนาศรัทธาพระเจ้า เริ่มอดทนทนอาศัยอยู่กับพ่อต่อไปไม่ได้ จึงตัดสินใจย้ายหนีไป Moscow
– น้องคนเล็ก Ivan (รับบทโดย Richard Basehart) เป็นคนอ่อนต่อโลก เลือกบวชเป็นพระ เชื่อมั่นในศาสนาศรัทธาพระเจ้าอย่างแรงกล้า พยายามจะผสานรอยร้าวของพี่ทั้งสองกับพ่อ แต่มันจะไปสำเร็จอะไร, หนังเล่าเรื่องในมุมมองของตัวละครนี้

Yul Brynner (1920 – 1985) นักแสดงสัญชาติ Russian เกิดที่ Vladivostok, Far Eastern Republic (ปัจจุบันคือ Primorsky Krai, Russia) เดินทางสู่อเมริกาปี 1940 เริ่มจากเป็นนักแสดง Broadway เป็นที่รู้จักกับ The King and I (1951) คว้ารางวัล Tony Award: Best Actor ทำให้ได้แสดงภาพยนตร์รับบทเดียวกัน The King and I (1957) คว้างรางวัล Oscar: Best Actor ด้วยภาพลักษณ์เป็นคนที่มี Charisma มาดผู้นำ หล่อเข้มคมคาย จึงมักได้รับบทผู้นำสำคัญในประวัติศาสตร์ อาทิ Ramesses เรื่อง The Ten Commandments (1956), General Sergei Pavlovich Bounine เรื่อง Anastasia (1956), Solomon เรื่อง Solomon and Sheba (1959), The Magnificent Seven (1960) ฯ

บทบาท Dmitri Karamazov ต้องถือว่าเข้ากับภาพลักษณ์ของ Brynner เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาเหยี่ยว ลูกผู้ชายอกสามศอก เย่อหยิ่งทะนงตน อ่อนไหวในเรื่องความรัก หนักแน่นมั่นคงในอุดมการณ์ความเชื่อของตนเอง, ผมชอบฉากที่ Brynner ยืดอกสามศอกบอกว่าเขาไม่ใช่คนฆ่าพ่อ สายตาของเขามีความหนักแน่นทรงพลัง ผู้ชมจะรับรู้ได้ว่านี่เป็นการพูดจริง แต่ไม่ใช่กับตัวละครอื่นๆในหนัง

William Shatner (เกิดปี 1931) นักแสดงสัญชาติ Canadian เกิดที่ Montreal, Quebec ใครๆคงจดจำได้ในการรับบท James T. Kirk กัปตันคนแรกในแฟนไชร์ Star Trek แต่นั่นยังอีกเกือบทศวรรษจากหนังเรื่องนี้ ที่ถือเป็นผลงาน Debut หลังจากพอมีชื่อเสียงจากการแสดง Broadway และเป็น understudy ของ Christopher Plummer

รับบท Alexey Karamazov ที่ต้องบอกว่าไม่เข้ากับภาพลักษณ์ การแสดงของ Shatner แม้แต่น้อย เพราะจริงๆแล้วตัวละครนี้เป็นคนที่มีความคิดตั้งมั่นเป็นของตนเอง เย่อหยิ่งทะนงตน (คล้ายๆกับ Dmitri) ต่างที่มีทัศนะไม่เชื่อในโลกของพระเจ้า ทุกอย่างเป็นสิทธิ์ของมนุษย์ในการคิดตัดสินใจกระทำ แต่ Shatner กลับทำให้ตัวละครดูอ่อนแอ ปวกเปียก ไร้พลังการแสดงโดยสิ้นเชิง ถ้าสมัยนั้นมี Razzie Award การันตีว่าพี่แกได้เข้าชิงแน่

Richard Basehart (1914 – 1984) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Zanesville, Ohio เจ้าของบท The Fool จากหนังอิตาเลี่ยน La Strada (1954) ของผู้กำกับ Federico Fellini ผลงานเด่นอื่นอาทิ He Walked by Night (1948), Roseanna McCoy (1949), Moby Dick (1956) ฯ โด่งดังสุดคงคือ Admiral Harriman Nelson ซีรีย์ Voyage to the Bottom of the Sea (1964–68) และ Wilton Knight ซีรีย์ Knight Rider (1982–86)

รับบท Ivan Karamazov น้องชายคนเล็กที่ยังเต็มไปด้วยความไร้เดียงสาต่อโลก ทั้งๆที่บวชเรียนแต่ยังละอะไรๆไม่ค่อยได้เท่าไหร่ พยายามเต็มที่จะช่วยเหลือทุกคนในครอบครัว แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จแม้แต่น้อย, การแสดงของ Basehart ดูครึ่งๆกลางๆ เอาแน่เอาแน่เอานอนไม่ได้เหมือนตัวละคร ซึ่งผมก็ว่าเข้ากันดี

Lee J. Cobb ชื่อเดิม Leo Jacoby (1911 – 1976) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ The Bronx, New York City ครอบครัวเป็นผู้อพยพ Russia Jewish โตขึ้นเข้าเรียนที่ New York University มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก The Vanishing Shadow (1934), มีชื่อเสียงโด่งดังจาก On the Waterfront (1954), 12 Angry Men (1957), The Exorcist (1973) ฯ

รับบท Fyodor Karamazov พ่อลูกสาม ภรรยาเสียไปแล้ว ตัวเองนอนจมกองมรดกรอวันตาย ด้วยความเบื่อหน่ายในชีวิตจึงทุ่มตัวลงไปหมกหมุ่นกับสุรานารี พูดจาส่อเสียดหยาบคาย จิตใจก็ชั่วร้ายดั่งคำพูด, ต้องบอกเลยว่านี่เป็นบทบาทอันเกรี้ยวกราด บ้าคลั่งทรงพลัง ตราตรึงยิ่งของ Cobb ไม่ใช่แค่คำพูด แต่ยังสีหน้า ท่าทาง มีความสมจริง ออกมาจากภายใน ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ไม่แพ้บทชายคนสุดท้ายใน 12 Angry Men

Albert Salmi (1928 – 1990) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Brooklyn, New York เป็นตัวประกอบยอดฝืมือ นักเรียน Method Acting จาก Lee Strasberg แต่เพราะความเรื่องมากเลือกรับบทของตนเอง ทั้งๆมีฝีมือก็ยอดเยี่ยม แต่กลับไม่มีชื่อเสียงสักเท่าไหร่

รับบท Smerdyakov มีศักดิ์เป็นพ่อครัว คนใช้ของครอบครัว Karamazov โดยไม่รู้ตัว นี่เป็นตัวละครสำคัญที่มีผลต่อเรื่องราวเป็นอย่างมาก, การแสดงของ Salmi มีความลุกลี้ลุกรน กระวนวุ่นวายใจ ชั่วร้ายทั้งความคิดคำพูด แต่เปรียบเสมือนเงามืด ด้านที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ

Maria Schell (1926 – 2005) นักแสดงสัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna, พ่อเป็นนักกวี นักเขียนนิยายและบทละคร ส่วนแม่เปิดโรงเรียนสอนการแสดง ไม่แปลกอะไรถ้าโตขึ้นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ได้รับบทนำเรื่องแรก The Angel with the Trumpet (1948),
– คว้ารางวัล Best Actress เทศกาลหนังเมือง Cannes จากเรื่อง The Last Bridge (1954)
– และรางวัล Volpi Cup for Best Actress เทศกาลหนังเมือง Venice เรื่อง Gervaise (1956)

รับบท Grushenka หญิงสาวที่ตอนแรกเป็นคนรักของพ่อ Fyodor ต่อมาตกหลุมรักลูกชายคนโต Dmitri แล้วสุดท้ายเธอจะเลือกใคร?, ภาพลักษณ์ของ Schell มีความน่ารักสดใส รอยยิ้มแสนหวานที่ออกมาจากใจ มันอาจดูมากเกินไปในบางฉาก แต่ก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้หนังดูดีมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกนิด ผมละละลายเกินห้ามใจจริงๆ

Claire Bloom (เกิดปี 1931) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Finchley, London, โตขึ้นเข้ารียนการแสดงที่ Guildhall School ภายใต้ Eileen Thorndike ตามด้วย Central School of Speech and Drama เริ่มต้นจากมีผลงานละครเวที ได้รับการค้นพบโดย Charlie Chaplin เรื่อง Limelight (1952)

รับบท Katya หญิงสาวที่พ่อถูกกล่าวหาว่าขโมยเงินหลวง ได้รับการช่วยเหลือจาก Dmitri ตกหลุมรักเป็นคู่หมั้นแต่เขาไม่รักตอบ ทำให้เกิดความอิจฉาริษยาต่อ Grushenka จากที่เหมือนจะเป็นคนดี ช่วงท้ายกลับป้ายสีใส่อดีตคนรัก ให้เขาทรมานแรงงาน Siberia ดีกว่าอยู่กินเป็นสุขกับนางแพศยา, ตัวละครของ Bloom ถือว่าเป็นขั้วตรงข้ามกับ Schell โดยไม่รู้ตัวความริษยาแฝงซ่อนอยู่ในรอยยิ้มอันแสนหวาน พอถึงช่วงท้ายเท่านั้นแหละ จะทำให้ผู้ชมสั่นสะท้าน หลอนลึก ‘คนจะงาม งามที่ใจใช่ใบหน้า’

ถ่ายภาพโดย John Alton ตากล้องสัญชาติ Hungarian เจ้าของรางวัล Oscar: Best Cinematography เรื่อง An American in Paris (1951)

ตัดต่อโดย John D. Dunning, ถือว่าหนังจะใช้มุมมองของน้องคนเล็ก Ivan Karamazov ผู้เป็นกลางที่สุดในหนังเล่าเรื่อง คงเพื่อให้ผู้ชมมีทัศนคติที่เป็นกลาง หรือตัดสินเลือกข้างความถูกต้องเหมาะสมได้

เพลงประกอบโดย Bronisław Kaper นักแต่งเพลงสัญชาติ Polish มีผลงานเด่นอย่าง Lili (1953), Mutiny on the Bounty (1962)

ด้วยทุนสร้าง $2.7 ล้านเหรียญ หนังทำเงินได้ $5.4 ล้านเหรียญ กำไรเล็กน้อย, เข้าชิง Oscar 1 สาขา Best Supporting Actor (Lee J. Cobb) ไม่ได้รางวัล

นอกจากการแสดงของ Yul Brynner กับ Lee J. Cobb และความน่ารักน่าชังของสาวๆแล้ว ผมไม่ค่อยประทับใจอย่างอื่นของหนังเสียเท่าไหร่ ถือว่าความผิดพลาดมหันต์ตั้งแต่การดัดแปลงบทภาพยนตร์ ทิ้งเอาใจความสำคัญจริงๆของนิยายไป หลงเหลือเพียงเรื่องราวความสัมพันธ์ของพี่น้อง ที่ต้องมาทุกข์ทรมานชดใช้กรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับพ่อตนเอง ได้รับการตัดสินว่าผิดจากสิ่งที่ตนไม่ได้ก่อ โลกเหมือนจะไร้ความยุติธรรม แต่ตอนจบกลับทำให้พระเอกสามารถหนีเอาตัวรอดไปอยู่กับหญิงสาว Happy Ending สไตล์ Hollywood นี่น่าขยะแขยงยิ่งนัก

การที่ผู้กำกับ Richard Brooks โยนทิ้งใจความสำคัญหลักของนิยายไปเลย นำเสนอเฉพาะสิ่งที่ตนเองสนใจ นั่นเพราะความเป็นศิลปิน auteur ทำให้มีการผสมผสานชีวิตเข้ากับผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น แต่กลับเป็นว่า direction/production ของหนังไม่โดดเด่นพอให้ได้รับการจดจำเหนือใจความสำคัญที่เปลี่ยนไป, อย่างฉากที่ Dmitri พูดเหยียดหยามชายสูงวัยคนหนึ่ง มีลูกชายของเขาได้ยินอยู่ด้วย (ชวนให้นึกถึงหนังเรื่อ The Bicycle Thief ฉะมัด) จนกระทั่งตอนท้ายที่ยืนการ ต้องเอ่ยปากขอโทษก่อนหนีออกนอกประเทศ นี่ราวกับเป็นความทรงจำของผู้กำกับ บางสิ่งอย่างที่เคยพูดกระทำต่อพ่อของตนเอง มันอาจช้าเกินไปสำหรับเขาแล้วตอนนี้ที่จะทำอะไร แต่นี่คือวิธีการขอโทษของศิลปิน ใส่ลงมาในภาพยนตร์ เพื่อบอกต่อกับผู้ชมว่า “ไม่ว่าพ่อ(แม่)ของคุณจะเลวทราม ปากหมา นิสัยเสียแค่ไหน แต่ท่านคือผู้ให้กำเนิด อดทนได้ก็จงฝืนกลั้นไว้ เมื่อพวกเขาสิ้นลมไปแล้ว จะไม่เหลือใครให้รับคำว่าขอโทษ”

แนะนำกับผู้รู้จักนิยายของ Fyodor Dostoevsky สนใจหนังแนวความขัดแย้งในครอบครัว อิงกับศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม-จรรยา ความเชื่อศรัทธา, แฟนๆผู้กำกับ Richard Brooks, นักแสดง Yul Brynner, Lee J. Cobb, Maria Schell, Claire Bloom ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับพฤติกรรมเนรคุณ และความเห็นต่างของสังคม

TAGLINE | “The Brothers Karamazov ฉบับ Hollywood ของ Richard Brooks เตะทิ้งทุกสาระสำคัญ เหลือเพียงการแสดงของ Yul Brynner กับ Lee J. Cobb เท่านั้นที่พอทนไหว”
QUALITY | UNDERESTIMATE
MY SCORE | SO-SO

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
0 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Top 10+1 George A. Romero Favorite Films | RAREMEAT BLOG Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…] The Brothers Karamazov (1958)  : Richard Brooks ♥♥ […]

%d bloggers like this: