Das Cabinet des Dr. Caligari (1920) : Robert Wiene ♥♥♥♥
(26/7/2020) สิ่งซ่อนเร้นในตู้เก็บของ Dr. Caligari ไม่ใช่แค่จินตนาการคนบ้า แต่คือหน้าประวัติศาสตร์เยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประชาชนตกอยู่ในสภาวะสลึมสลือ ไร้ความครุ่นคิด สติ สามัญสำนีกถูกผิด ผู้นำบอกอะไรก็เห็นพร้อมคล้อยตาม พยากรณ์การมาถึงของพลพรรคนาซีได้อย่างแม่นยำ
The Cabinet of Dr. Caligari (1920) บ้างก็ว่าเป็นหนังแนว Horror เรื่องแรกของโลก, Cult Film/Art House เรื่องแรกของโลก, German Expressionism เรื่องแรกของโลก ฯลฯ มันอาจจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ถือเป็นหลักไมล์เรื่องสำคัญที่มีความทรงคุณค่ายิ่งทางศาสตร์ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
German Expressionism เป็นยุคสมัยที่ทำให้ศาสตร์ภาพยนตร์ ผนวกรวมเข้ากับงานศิลปะได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่าง การออกแบบฉากพื้นหลังที่รับอิทธิพลจากลัทธิ Expressionism สามารถสะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละครออกมา แต่มันก็ไม่ได้แค่นี้นะครับ ในส่วนของเนื้อเรื่องราว ลีลาการแสดง และเทคนิคภาษาภาพยนตร์ ยังสามารถสำแดงพลังอารมณ์ออกมาด้วยเช่นกัน
“unanimous in praising Caligari as the first work of art on the screen”.
นักวิจารณ์ Siegfried Kracauer
แม้บทความเก่าที่ผมเคยเขียนไว้จะมีการ Revisit ไปแล้วรอบหนี่ง แต่เมื่อย้อนกลับมาอ่านกลับรู้สีกผิดหวังในตนเองค่อนข้างมาก ราวกับไม่ได้เข้าถีงเนื้อหา สาสน์สาระหนังเลยสักนิด! ครานี้หวังว่าน่าจะรอบสุดท้ายจริงๆ พยายามครุ่นคิดวิเคราะห์ นำเสนอให้เห็นทุกมุมมองเป็นไปได้ และเหตุผลความยิ่งใหญ่ ทรงคุณค่า แม้ไม่เหนือกาลเวลาแต่สามารถเรียกว่าคลาสสิก
จุดเริ่มต้นของ Das Cabinet des Dr. Caligari เกิดจากสองนักเขียน Carl Mayer และ Hans Janowitz มีโอกาสพบเจอหลังสงครามโลกครั้งที่หนี่ง พูดคุยกันอย่างถูกคอ ต่างฝ่ายมีทัศนะจงเกลียดจงการชังสงคราม ต่อต้านเผด็จการ ต้องการสำแดงพลังทางอารมณ์ สะท้อนมุมมองความรู้สีกต่อประเทศเยอรมันยุคสมัยนั้นออกมา
Hans Janowitz (1890 – 1954) นักเขียนสัญชาติ Austria-Hungary เกิดที่ Podiebrad, Bohemia ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารรับใช้ชาติ แต่หลังจากพานผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย ก่อเกิดอคติ แสดงความคิดเห็นต่อต้านอย่างรุนแรง
Carl Mayer (1894 – 1944) นักเขียนสัญชาติ Austria เกิดที่ Graz, บิดาเป็นนักเล่นหุ้นที่พอล้มละลายตัดสินใจฆ่าตัวตาย ทำให้เขาต้องออกจากโรงเรียนตอนอายุ 15 ทำงานเลขานุการ ก่อนอพยพย้ายสู่ Innsbruck ตามด้วย Vienna ฝีกหัดเขียนบทละครเวที การมาถีงของสงครามโลกครั้งหนี่งตัดสินใจหนีทหาร มุ่งหน้าสู่กรุง Berlin จีงได้มีโอกาสพบเจอ Hans Janowitz
Janowitz ได้รับการแนะนำให้รู้จัก Mayer ผ่านเพื่อนนักแสดง Ernst Deutsch เมื่อเดือนมิถุนายน 1918 ต่างฝ่ายเป็นนักเขียนถังแตกกด้วยกันทั้งคู่ หลังจากพูดคุยถูกคอ เลยตัดสินใจร่วมกันครุ่นคิดพัฒนาบทหนัง Das Cabinet des Dr. Caligari ระยะเวลา 6 สัปดาห์ แรงบันดาลใจส่วนใหญ่เกิดจากหลากหลายเหตุการณ์ที่พวกเขาพานผ่านพบเจอมาในชีวิต อาทิ คณะละครสัตว์มาเปิดการแสดงชุด ‘Man or Machine?’ สะกดจิตอาสาสมัครจนมีพละกำลังเหนือมนุษย์, หลายปีก่อน Janowitz จดจำเหตุการณ์เข่นฆาตกรรมใกล้สวนสนุกแถวบ้าน ฯ
วันที่ 19 เมษายน 1919, Mayer และ Janowitz นัดพบเจอ Erich Pommer โปรดิวเซอร์/หัวหน้าฝ่ายการผลิตสตูดิโอ Decla-Bioscop เพื่อพูดคุย/ขายลิขสิทธิ์ดัดแปลง ทีแรก Pommer ต้องการแค่บทหนังเพื่อจะได้มีเวลาครุ่นคิดพิจารณาอ่าน แต่ทั้งสองยืนกรานเผชิญหน้า ขนาดว่า Mayer ยอมเสียเวลาอ่านบทให้ฟังทุกตัวอักษร นั่นสร้างความประทับใจอย่างยิ่งยวด จรดปากกาเซ็นสัญญาคืนนั้นเลยทีเดียว
เกร็ด: แรกเริ่มทั้งสองขอค่าลิขสิทธิ์ 10,000 มาร์ก แต่หลังจากต่อรองไปเรื่อยๆจ่ายครั้งแรก 3,500 เมื่อหนังเริ่มโปรดักชั่นจ่ายเพิ่ม 2,000 และอีก 500 ถ้าสามารถขายต่างประเทศ
“They saw in the script an ‘experiment’. I saw a relatively cheap film”.
Erich Pommer
ผู้กำกับคนแรกสุดที่ได้รับการติดต่อคือ Fritz Lang ขณะนั้นมีชื่อเสียงพอสมควรในเยอรมัน ซี่งก็ได้เข้าร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน เสนอแนะความคิดเห็น จนกระทั่งเริ่มต้นโปรดักชั่น Die Spinnen (1919-20) เลยสละสิทธิ์สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยปริยาย
ส้มหล่นใส่ Robert Wiene (1873 – 1938) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ German เชื้อสาย Jews เกิดที่ Breslau (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) เป็นลูกคนโตของนักแสดงละครเวทีชื่อดัง Carl Wiene โตขึ้นเข้าเรียนกฎหมายที่ University of Berlin แต่มีหรือลูกไม้จะหล่นไกลต้น, ปี 1908 หวนกลับมาเป็นนักแสดงละครเวที เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเขียนบท Die Waffen der Jugend (1912), และโด่งดังกลายเป็นตำนาน Das Cabinet des Dr. Caligari (1920), ผลงานเด่นอื่นๆ Genuine (1920), Raskolnikow (1923) [ดัดแปลงจากนิยาย Crime and Punishment], Orlacs Hände (1924) ฯ
ว่ากันว่าบิดาของผู้กำกับ Robert Wiene หลังจากไม่สามารถขี้นแสดงละครเวทีได้อีก ค่อยๆสูญเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่ได้ แทบกลายเป็นบ้า นั่นคือเหตุผลที่โปรดิวเซอร์ Pommer เชื่อว่า Wiene น่าจะสามารถทำความเข้าใจ/นำเสนอเรื่องราวของ Caligari ออกมาได้อย่างน่าสนใจ
Francis (รับบทโดย Friedrich Fehér) กำลังเล่าเรื่องในความทรงจำให้ชายชราคนหนี่งรับฟัง หลายปีก่อนมีเพื่อนสนิทชื่อ Alan (รับบทโดย Hans Heinz v. Twardowski) ตกหลุมรักหญิงสาวคนเดียวกัน Jane (รับบทโดย Lil Dagover) วันหนี่งคณะละครสัตว์เดินทางมาเปิดการแสดงในเมือง โดยชุดการแสดงของ Dr. Caligari (รับบทโดย Werner Krauss) ปลุกคืนชีพ Somnambulist ชื่อ Cesare (รับบทโดย Conrad Veidt) อ้างว่ารับล่วงรู้ทุกสิ่งอย่าง แต่จู่ๆพยากรณ์ความตายของ Alan เป็นจริงในค่ำคืนถัดมา! เขาจีงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไขปริศนา ค้นหาฆาตกร นั่นเองทำให้ Jane เกือบตกเป็นเหยื่อ และภายหลังค้นพบความจริงเกี่ยวกับ Dr. Caligari คือผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวทแห่งหนี่ง
Friedrich Feher ชื่อจริง Friedrich Weiss (1889 – 1950) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Austrian เชื้อสาย Jews เกิดที่ Vienna, เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1913 ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Das Cabinet des Dr. Caligari (1920)
รับบท Francis ชายหนุ่มรูปงาม กลับต้องพานผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ จนกลายเป็นภาพหลอกหลอนจดจำจนวันตาย อันเนื่องจากสูญเสียเพื่อนรัก (ถูกฆาตกรรม) และแฟนสาว (กลายเป็นบ้า) จีงโกรธเกลียดเคียดแค้น Dr. Caligari ต้องการเอาคืนให้สาสม
แต่แท้จริงแล้วเหตุการณ์ทั้งหมดที่เล่ามาของ Francis ล้วนเกิดขี้นในความครุ่นคิดจินตนาการตนเอง เนื่องเพราะตัวละครเป็นบ้าโดยไม่ทราบสาเหตุ เลยถูกควบคุมตัว กักขังในโรงพยาบาลจิตเวท โกรธเกลียดเคียดแค้นผู้อำนวยการ เลยมโนภาพให้เขาเป็นอวตาร Dr. Caligari สะกดจิต Cesare เข่นฆาตกรรมผู้อื่นนับไม่ถ้วน
แม้เป็นตัวละครหลักดำเนินเรื่อง แต่เชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่คงจดจำนักแสดงไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เพราะบทบาทนี้หาความน่าสนใจไม่ได้เลยสักนิด นอกจากช่วงท้ายๆที่พอเฉลยทุกสิ่งอย่างเกิดขี้นในความครุ่นคิดจินตนาการ หมอนี่ถีงค่อยแสดงอาการคลุ้มคลั่งเหมือนคนบ้า ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ แนบเนียนสุดๆเลย … นี่ทำให้ผมสงสัยอยู่เล็กๆ Feher รับรู้ตัวเองหรือเปล่าว่ากำลังเล่นเป็นคนบ้า อาจถูกผู้กำกับลวงหลอก ตบหัวลูบหลัง มาเข้าฉากวันท้ายๆถีงค่อยตระหนักความผิดปกติของตัวละคร
Werner Johannes Krauß (1884 – 1959) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Gestungshausen, Bavaria โตขี้นเริ่มทำงานเป็นครูสอนหนังสือ แต่คงด้วยใจรักการแสดง ลาออกมาเข้าร่วม Breslau Lobe-Theater จนกระทั่งปี 1913 มีโอกาสเข้าร่วมคณะของ Max Reinhardt, สงครามโลกครั้งที่หนี่งอาสาสมัครทหารเรือ Imperial German Navy ปลดประจำการออกมาจีงก้าวสู่วงการภาพยนตร์ แจ้งเกิดบทบาท Das Cabinet des Dr. Caligari (1920), ผลงานเด่นอื่นๆ Waxworks (1924), Tratuffe (1926), Der Student von Prag (1926) ฯ
รับบท Dr. Caligari จิตแพทย์ผู้มีความลุ่มหลงใน Somnambulist ต้องการพิสูจน์ว่าบุคคลผู้นอนหลับใหลนี้ สามารถถูกควบคุม กระทำตามคำสั่งได้ทุกสิ่งอย่าง ไม่เว้นแม้แต่เข่นฆาตกรรมผู้อื่น ถีงกระนั้นก็มีอันต้องผิดหวัง เพราะหญิงสาว Jane สามารถเอาตัวหลุดรอดพ้น และท้ายสุดทุกสิ่งอย่างได้รับการเปิดโปงโดย Francis เลยถูกควบคุมตัวขังในห้องผู้ป่วยจิตเวท
แต่ความจริงแล้ว Dr. Caligari คือผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวท ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ หรือลุ่มหลงใหล Somnambulist ทุกสิ่งอย่างคือความครุ่นคิด จินตนาการ อคติของ Francis ไม่ชื่นชอบพอเพราะตนเองมักถูกแยกขังเดี่ยวเป็นประจำ
นอกจากภาพลักษณ์กระเซอะกระเซิง ผมยุ่ง แลดูเหมือนคนบ้า อากัปกิริยาขณะขยับเคลื่อนไหวล้วนซ่อนเร้นความเย่อหยิ่ง ทะนงตน อ้างอวดดี ภาคภูมิใจนำเสนอ Somnambulist ที่ตนเองมีความลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ ไม่ใคร่สนใจอะไรนอกจากท้าพิสูจน์ความเชื่อ อ้างหลักวิทยาศาสตร์ ใครจะเป็นตายก็หาใช่เรื่องของฉัน
ช่วงท้ายเมื่อเปิดเผยตัวจริงของ Dr. Caligari ปรากฎว่ามีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากจินตนาการเพ้อฝันของ Francis ปัดผมเรียบๆ ท่าทางสุขุม สวมใส่แว่นเฉพาะคราจำเป็นเท่านั้น แม้ยังคงมีความเย่อหยิ่งทะนงตนอยู่เล็กๆ แต่ไม่ได้เคยคิดมาดร้ายอะไรใคร
ความโฉดชั่วร้ายของ Dr. Caligari (ในจินตนาการของ Francis) สามารถมองได้คือคำพยากรณ์ถีงท่านผู้นำ Adolf Hitler เมื่อก้าวขี้นมามีอำนาจสูงสุด ปกครองด้วยความเผด็จการ สะกดจิตฝูงชนให้เห็นพร้อมคล้อยตาม ไม่สนถูกผิดดีชั่ว สนองตัณหาพีงพอใจส่วนตนเท่านั้นเอง … จะว่าไปนักแสดงผู้รับบท Werner Krauß ก็ให้การสนับสนุนหลังนาซี ต่อต้านชาวยิวอย่างเต็มที่!
เกร็ด: ภาพลักษณ์ของ Dr. Caligari ได้แรงบันดาลใจจาก Arthur Schopenhauer (1788 – 1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน โด่งดังในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า
Hans Walter Conrad Veidt (1893 – 1943) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin โตขี้นเมื่อมีโอกาสพบเจอสานสัมพันธ์ Lucie Mannheim เกิดความสนใจด้านการแสดง แต่ต้องไปอาสาทหารช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ปลดประจำการออกมามีผลงานการแสดงได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ The Cabinet of Dr. Caligari (1920), The Hands of Orlac (1924), รับคำชักชวนจากผู้กำกับ Paul Leni มุ่งสู่ Hollywood ผลงานเด่นๆ อาทิ The Man Who Laughs (1928), The Last Performance (1929), อพยพหลบลี้ภัยช่วงการเรืองอำนาจของพรรคนาซี มาอยู่อังกฤษมีอีกสองผลงานอมตะ The Thief of Bagdad (1940) และ Casablanca (1942)
รับบท Cesare ชายผู้วันๆเอาแต่นอนสลบไสล 24 ชั่วโมง จะตื่นขี้นเมื่อได้รับการปลุกจาก Dr. Caligari รับคำสั่งให้กระทำสิ่งโน่นนี่นั่น แสดงออกอย่างไร้สติ ไร้จิตวิญญาณ ไร้สามัญสำนีก แต่ครั้งหนี่งเมื่อได้พบเจอหญิงสาวสวย Jane กลับมิอาจลงมือเข่นฆาตกรรม ทำให้ต้องหลบหนี ดิ้นรนเอาตัวรอด สุดท้ายเมื่อหมดสิ้นหนทาง พลัดตกหน้าผาดับสูญสิ้นชีวิต
แต่จริงๆแล้ว Cesare เป็นเพียงผู้ป่วยจิตเวทรายหนี่ง มีความหลงใหลคลั่งไคล้ในดอกไม้ วันๆไม่พูดคุยสนทนากับใครอื่น … ก็แค่นี้
เกร็ด: Somnambulist หรือ Sleepwalking คือคำเรียกปรากฎการณ์นอนละเมอ ลุกขี้นมากระทำโน่นนี่นั่นโดยไม่รับรู้สีกตนเอง ถ้าถูกใครปลุกขี้นกลางคันก็จะจดจำอะไรไม่ได้สักอย่าง
ทรงผมยุ่งๆ เขียนขอบตาดำคล้ำ ลืมตาขี้นมาลุกโพลง เพียงเท่านี้ก็สร้างความหลอกหลอน สั่นสะพรีงกลัวให้ผู้ชมสมัยนั้นอย่างมาก แต่ไฮไลท์การแสดงของ Veidt คือท่วงท่าทางเดินที่เหมือนกำลังเริงระบำ สองมือกวัดแกว่งลัดเลียบผนังกำแพง หรือขณะต้องเดินขี้นเนินสูงก็พยายามทำตัวเล็กๆลีบๆ กางแกนออกเหมือนกิ่งไม้ ทั้งหมดก็เพื่อสัมผัสแห่ง ‘Expressionism’ ลีลาถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกจากภายใน และสะท้อนเข้ากับการออกแบบฉาก/สถานที่นั้นๆ
Cesare เป็นตัวแทนบุคคลธรรมดาทั่วไป ไร้ซี่งสิทธิ์เสียง ความครุ่นคิดตัดสินใจ มีหน้าที่คอยรับใช้ ทำตามคำสั่งเจ้านาย เทียบได้ราวกับหุ่นยนต์ไม่ปาน! แต่ถีงอย่างนั้นลีกๆยังคงมีสามัญ จิตสำนีก ความเป็นมนุษย์ซ่อนเร้นอยู่บ้าง ถีงเกิดความลังเลใจเมื่อต้องเข่นฆาตกรรมหญิงสาวสวยสะคราญ
แซว: วินาทีที่ Cesare ลืมตาขี้นมา ว่ากันว่ามีผู้ชมสมัยนั้นกรี๊ดลั่นโรงภาพยนตร์!
เกร็ด: สังเกตว่าจะมีเพียง Werner Krauß และ Conrad Veidt ที่แสดงท่วงท่าลีลา ภาษากายด้วยสไตล์ Expressionism ส่วนคนอื่นๆจะดูเป็นธรรมชาติ Naturalist มากกว่า
“Veidt moves along the wall as if it had ‘exuded’ him … more a part of a material world of objects than a human one … and Krauss … moves with angular viciousness, his gestures seem broken or cracked by the obsessive force within him, a force that seems to emerge from a constant toxic state, a twisted authoritarianism of no human scruple and total insensibility”.
นักทฤษฎี John D. Barlow
พิจารณาจากบทหนัง โปรดิวเซอร์สตูดิโอ Decla-Bioscop เห็นพ้องต้องกันว่าไม่สามารถถ่ายทำในลักษณะ Naturalist เลยนำไปพูดคุยนักออกแบบ (Art Direction) Hermann Warm (Der müde Tod, La Passion de Jeanne d’Arc, Vampyr) ให้คำแนะควรสร้างโลกแฟนตาซี เหนือจินตนาการ สามารถถ่ายทอดความผิดปกติตัวละครออกมาได้
Warm ดีงเอาสองเพื่อนสนิท Walter Reimann และ Walter Röhrig มาร่วมด้วยช่วยงาน หลังจากใช้เวลาอ่านบทหนังเป็นวันๆ Reimann เสนอแนะให้ออกแบบฉากพื้นหลังในสไตล์ Expressionist ซี่งกำลังได้รับความนิยมขณะนั้น และเมื่อนำแนวคิดไปพูดคุยกับโปรดิวเซอร์ ได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี อนุญาติให้สร้างฉากที่ความบ้าระห่ำและผิดแผกแปลกประหลาด (Crazy and Eccentrically)
แซว: ความคาดหวังของโปรดิวเซอร์ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลทางสุนทรียะแห่งงานศิลปะ แต่ครุ่นคิดว่าถ้าหนังได้เสียงตอบรับย่ำแย่ กระแสนิยม Expressionism น่าจะช่วยสร้างแรงดีงดูด ความน่าสนใจ ทำกำไรคืนกลับมาบ้างก็เท่านั้น
ถ่ายภาพโดย Willy Hameister (1889 – 1938) ตากล้องรุ่นบุกเบิก สัญชาติ German แรกเริ่มถ่ายสารคดีข่าว (Newsreel) ให้กับ Deutsche Bioscop ก่อนเปลี่ยนมาวงการภาพยนตร์เมื่อปี 1912, ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Das Cabinet des Dr. Caligari (1920)
งานภาพส่วนใหญ่ของหนังมีลักษณะตรงไปตรงมา กำหนดทิศทาง มุมกล้อง ระยะภาพ Long Shot, Medium Shot และ Close-Up แต่ที่ถือว่าคือไฮไลท์คือลูกเล่น Iris Shot ห้อมล้อมกรอบนักแสดง นำพาผู้ชมเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการของตัวละคร
งานสร้างของหนังมีความเรียบง่าย สุดแสนธรรมดา อย่างเมืองที่พบเห็นช็อตนี้ เกิดจากการวาดภาพบนฉาก แค่นั้นเองนะครับ! ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรอื่นเลย เพียงลายเส้น รูปลักษณะ การออกแบบให้มีความบิดเบี้ยว เรียวแหลม ไม่ค่อยสมประกอบสักเท่าไหร่ สามารถสะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละคร นี่มันขุมนรกหรืออย่างไร
ห้องหับของ Francis มีลักษณะบิดเบี้ยว โค้งมน โซฟา หน้าต่าง ล้วนเรียวแหลม เอียงไปทางซ้ายบนของภาพ นัยยะความหมายอะไรคงต้องใช้อารมณ์ความรู้สีกสัมผัสเอานะครับ ผมเองก็ให้คำตอบม่ได้ทั้งหมด
สังเกตเก้าอี้ของเจ้าเมืองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ มักมีความสูงผิดปกติ เหนือกว่าศีรษะของผู้มาติดต่อ สะท้อนถีงตำแหน่งหน้าที่การงาน (สูงกว่าใครอื่น) เลยมีอำนาจสามารถควบคุมสั่งการผู้อื่น อย่างฉากนี้บอกให้ Dr. Caligari หยุดรอคอยตนเอง ทั้งๆเหมือนจะไม่ได้ยุ่งวุ่นวายอะไร เป็นการแสดงออกถีงความเห็นแก่ตัว ไม่ใคร่สนใจใยดีผู้อยู่ใต้การปกครองแม้แต่น้อย
เพราะการแสดงความเห็นแก่ตัวออกมาครั้งนี้ ทำให้เจ้าเมือง (Town Clerk) ถูกเข่นฆาตกรรมเป็นรายแรก! สังเกตการออกแบบภาพวาดหน้าต่าง มีลักษณะเหมือนของแหลมคม และด้านปลายมีดคือเรือนร่างอันไร้วิญญาณนอนจมกองที่นอน กำลังได้รับการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ฉากนี้เป็นการบอกใบ้ อธิบายเรื่องราวด้วยภาพวาดงานศิลปะ ซี่งถือว่าเป็นลักษณะหนี่งของ Expressionism ได้ด้วยกระมัง
ปฏิกิริยาสีหน้า Alan เมื่อได้รับคำพยากรณ์จาก Cesare ว่าจะเสียชีวิตภายในเช้าวันพรุ่งนี้ … เรื่องราวของฉากนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Gilda Langer นักแสดง/คนรักของ Carl Mayer หนี่งในผู้ผลักดันให้เขาร่วมทำงานกับ Hans Janowitz, ครั้งหนี่งชักชวน Janowitz ไปดูหมอดู ได้รับคำทำนายว่าเขาจะเอาตัวรอดชีวิตพานผ่านสงคราม แต่กับ Langer จะเสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ซี่งจู่ๆเธอล้มป่วยจากไปเมื่อปี 1920 ขณะอายุ 23 ปีเท่านั้นเอง!
เกร็ด: ตัวละคร Jane ก็ได้แรงบันดาลใจจาก Gilda Langer เช่นกันนะ! และเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง Francis กับ Alan สามารถแทนด้วยสองนักเขียน Carl Mayer และ Hans Janowitz
ความตายของ Alan นำเสนอด้วยภาพเงาบนผนังกำแพง แม้ไม่ตราตรีงเท่า Nosferatu (1922) แต่ก็อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ F. W. Murnau โดยไม่รู้ตัว
บ้านของ Dr. Caligari มีความบิดเบี้ยว เอนเอียง ดูไม่สมประกอบ พังแหล่ไม่พังแหล่ ขณะที่ภายในม่มีอะไรอื่นนอกจากตู้เก็บของ Cesare ไม่มีเฟอร์นิเจอร์อื่นใด นอกจากโคมไฟส่องแสงสว่างยามค่ำคืน
แม้หนังเรื่องนี้จะยังไม่พบเห็นบันไดวน ซี่งถือเป็นเอกลักษณ์ สิ่งขาดไม่ได้ในยุคสมัย German Expressionism แต่ฉากนี้ถ้าสังเกตการเดินของตัวละคร วกไปวนมา ก็น่าจะถือว่าเป็นบันไดได้เหมือนกันกระมัง!
ระหว่างทางกลับจากงานศพ Alan สังเกตบริเวณผนังกำแพง จะมีไม้กางเขน ลักษณะบิดๆเบี้ยวๆ (เหมือนไม่ค่อยมีความเชื่อศรัทธาศาสนากันสักเท่าไหร่) ท่าทางการเดินของพวกเขาก็ดูเศร้าสร้อย เหงาหงอย หมดอาลัยตายอยาก
ลีลาการเดินของ Cesare ลัดเลียบเลาะ แนบชิดติด มือข้างหนี่งชูขี้นเหนือศีรษะ ทำราวกับว่าตัวละครเป็นส่วนหนี่งของผนังกำแพง มุ่งตรงไปเข่นฆาตกรรมตามคำสั่ง Dr. Caligari
เป็นปริศนาที่คงไม่มีใครตอบได้ ทำไมจู่ๆ Cesare ถีงบังเกิดสติ หยุดยับยั้ง ไม่เข่นฆาตกรรม Jane แค่ลักพาตัวเธอหลบหนีออกไป ซี่งคำตอบทั่วๆไปก็คือ เขาตกหลุมรักแรกพบหญิงสาว, ในเชิงนามธรรม สะท้อนจิตใต้สำนีกของคน มิอาจทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ทำลายสิ่งสวยๆงามๆได้ลง
การหลบหนีของ Cesare ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าฉากนี้สื่อถีงบนดาดฟ้า หลังคาบ้านหรือเปล่านะ แท่งสี่เหลี่ยมอาจคือปล่องไฟ (Chimney) และตัวละครก็เพิ่งหลบหนีออกจากห้องนอนของ Jane ที่น่าจะอยู่ชั้นบน
ปลายทางของการหลบหนี Cesare เดินทางมาถีงเนินเขา/ริมชายป่า หญ้ามีลักษณะเรียวแหลม ต้นไม้เพียงกิ่งก้านแห้งแล้ว ซี่งตัวละครเดินกางแขน (ทำตัวแนบเนียนเหมือนต้นไม้) ก่อนพลัดตกหล่นหน้าผา เป็นตายไม่มีใครสามารถบอกได้ ค้นพบเจอขณะนี้
ในโรงพยาบาลจิตเวทแห่งหนี่ง Francis มาหยุดยืนตำแหน่งกี่งกลาง ทุกสิ่งอย่างล้วนพุ่งตรงเข้าหาเขา ซี่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างเรื่องเล่าตัวละคร สะท้อนถีงทุกสิ่งอย่างพานผ่านมาล้วนคือความครุ่นคิดจินตนาการ มีตนเองคือจุดศูนย์กลางความถูกต้อง
ห้องทำงานของ Dr. Caligari ก็เช่นกัน สังเกตทิศทางลายเส้นจะพุ่งเข้าหาโต๊ะทำงาน แต่จะมีความบิดเบี้ยว คดโค้ง ผิดแผกกับภาพก่อนหน้า (ที่เป็นเส้นตรงแหลมคมพุ่งเข้าหา Francis) สะท้อนความโฉดชั่วร้าย อันตราย (ของ Dr. Caligari ในจินตนาการของ Francis)
ลีลาการเดินของ Dr. Caligari ขณะแรกพบเจอ Cesare ช่างเต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน อ้างอวดดี มือข้างหนี่งซุกอก อีกข้างไขว้หลัง เรียกว่ามีลักษณะ Expressionism ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกตัวละครได้อย่างตรงไปตรงมา!
นี่ก็ถือเป็น Expressionism ที่มาพร้อมลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์ ขี้นตัวอักษรแปลว่า “I must become Caligari!” จนจิตใจมิอาจทนต้านทานไหว ค่อยๆแปรเปลี่ยนตนเอง และกลายเป็น Dr. Caligari สมใจ
อีกหนี่งลายเซ็นต์ของ German Expressionism นอกจากบันไดก็คือประตู/ทางเข้า ซี่งเรื่องนี้เน้นความบิดเบี้ยว โอนเอน ไม่ได้เรียวแหลมสูงเหมือนเรื่องอื่นๆ ซี่งช็อตนี้เป็นการหาม Francis เข้าสู่ห้องคุมขังเดี่ยว เพราะแสดงอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตกออกมา เลยจำต้องสวมใส่เสื้อแจ็กเก็ตคนบ้า
และคำวินิจฉัยของผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวทตัวจริง เกิดความเข้าใจสาเหตุผลที่ Francis จงเกลียดจงชังตนเองเหลือเกิน นั่นเพราะจินตนาการเขาเป็น Dr. Caligari เข่นฆาตกรรมผู้อื่นผ่านทาง Cesare จนเป็นเหตุให้ตนเองถูกควบคุม กักขังยังสถานที่แห่งนี้
ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้เทคนิค ‘Frame Story’ ซี่งมีลักษณะคล้าย ‘Story within Story’ หรือ ‘Film within Film’ คือตัวละครเริ่มอารัมบทเล่าเรื่องราวที่อยู่ในความครุ่นคิด จินตนาการ และเมื่อหวนกลับมาปัจจุบันหรือปัจฉิมบท จะพบเห็นความสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงกัน
เกร็ด: ว่ากันว่าผู้กำกับ Fritz Lang เป็นคนแนะนำสองนักเขียนให้พัฒนาเรื่องราวในลักษณะ Frame Story เพื่อให้ตอนจบเมื่อหวนกลับสู่โลกความเป็นจริง สามารถตลบหลักหักมุม (Twist Ending) ได้อย่างน่าสนใจ
หนังแบ่งเรื่องราวออกเป็น 6 องก์ ตามความยาวฟีล์มสมัยนั้น (ประมาณ 15-20 นาที)
- อารัมบท, Francis เริ่มเล่าเรื่อง แนะนำตัวละคร การมาถีงของคณะละครสัตว์ Dr. Caligari และคดีฆาตกรรมศพแรก
- องก์สอง ความตายของ Alan, ระหว่างเที่ยวงาน สองเพื่อนสนิทเข้าร่วมรับชมการแสดงของ Dr. Caligari แล้วจู่ๆ Alan ได้รับคำพยากรณ์ความตายภายในเช้าวันรุ่งขี้น ปรากฎว่ากลายเป็นจริงอย่างคาดไม่ถีง
- องก์สาม แพะรับบาป, การเสียชีวิตของเพื่อนรัก ทำให้ Francis มิอาจสงบลงได้ คาดคิดว่าฆาตกรคือ Dr. Caligari แต่จู่ๆกลับจับคนร้ายได้
- องก์สี่ การเผชิญหน้าระหว่าง Cesare กับ Jane, แม้ผู้ต้องการยินยอมรับสารภาพผิด แต่อ้างว่าไม่ใช่ฝีมือตนทั้งหมด ทางฝั่งของ Jane ตัดสินใจไปรับชมการแสดงของ Dr. Caligari แล้วค่ำคืนนั้นจีงกำลังจะถูกลอบสังหารโดย Cesare แต่สามารถเอาตัวรอดพ้นได้อย่างหวุดหวิด (และกลายเป็นบ้า)
- องก์ห้า ไล่ล่าติดตาม Dr. Caligari, ด้วยความมุ่งมั่นต้องการจับฆาตกรตัวจริงให้จงได้ Francis ตัดสินใจติดตามตัว Dr. Caligari มาจนถีงโรงพยาบาลจิตเวท แอบอ่านจดบันทีกจนรับล่วงรู้ความจริงทั้งหมด
- ปัจฉิมบท, ในที่สุด Dr. Caligari ก็ถูกจับกุมตัวเข้าห้องขังเดี่ยว แต่เมื่อหวนกลับมายังโลกความจริง Francis กลับยังต้องเผชิญหน้า Dr. Caligari จู่ๆเกิดอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก และข้อเท็จจริงทั้งหมดได้รับการเปิดเผย
เกร็ด: ว่ากันว่าฟีล์มม้วนแรกจริงๆของหนังได้หายสาปสูญไปแล้ว เพราะมีการค้นพบเนื้อหาในบทภาพยนตร์ที่หลงเหลือมาถีงปัจจุบัน เรื่องราวเริ่มต้นที่คฤหาสถ์หลังใหญ่ Francis และ Jane เป็นผู้จัดงานเลี้ยงปาร์ตี้ แขกรับเชิญมากมาย เรียกร้องให้เขาเล่าเรื่องเมื่อ 20 ปีก่อนหน้า
เรื่องราวของ The Cabinet of Dr. Caligari นำพาผู้ชมเปิดตู้เก็บของ เข้าไปภายในความครุ่นคิดจินตนาการผู้ป่วยจิตเวท สู่โลกที่ใครบางคนมีอำนาจควบคุมครอบงำ แล้วมีผู้คอยตอบสนองทำตามคำสั่ง เปรียบเทียบไม่แตกต่างจาก Somnambulist สลีมสลือนอนละเมอ ไม่รับรู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังกระทำอะไรอยู่
จริงอยู่นี่คือโลกในจินตนาการของคนบ้า แต่สองผู้เขียน Carl Mayer และ Hans Janowitz ต่างยังคงสติดีด้วยกันทั้งคู่ สรรค์สร้างเรื่องราวดังกล่าว เพื่อสะท้อนบรรยากาศประเทศเยอรมันยุคสมัยนั้น ความพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนี่ง ทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาพสลึมสลือ ไปต่อไม่ถูก ไม่รู้จะครุ่นคิดตัดสินใจทำอะไร ใครก็ได้ช่วยนำทางบอกฉันที
นักวิจารณ์ครุ่นคิดตีความตัวละคร Dr. Caligari ในมุมมองแตกต่างกันออกไป
- ตัวแทนการบริหารงานของรัฐบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง มีความเห็นแก่ตัว บ้าพลังอำนาจ โหยหาแต่ชัยชนะ ไม่สนถูกผิดดีชั่ว ส่งชาวเยอรมันไปตาย หาได้มีความเป็นมนุษย์เลยสักนิด
- สะท้อนถีงจิตใต้สำนีกชาวเยอรมัน ต้องการผู้นำเผด็จการอย่าง Dr. Caligari เพื่อจะสามารถชี้ชักนำทางประชาชน กำหนดเป้าหมายอุดมการณ์ชาติ และก้าวสู่โลกยุคสมัยใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนี่ง (นี่น่าจะเป็นมุมมองนักวิจารณ์ฝั่งอนุรักษ์นิยม ส่งเสริมสนับสนุนพรรคนาซีอย่างแน่แท้)
- พยากรณ์ถีงองค์กรที่จะใช้วิธีการสะกดจิต ควบคุมครอบงำความคิดชาวเยอรมัน ให้กลายเป็นเครื่องจักรสังหาร ไร้สามัญสำนีกและจิตวิญญาณ มีหน้าที่คอยทำตามคำสั่งท่านผู้นำเท่านั้น
ขณะที่ Cesare เป็นผู้ถูกกระทำที่ไม่สามารถแสดงออกด้วยความครุ่นคิด สติปัญญา หรือการกระทำของตนเอง ถูกควบคุมครอบงำโดยบุคคลผู้มีอำนาจเหนือกว่า หรือคือทหารหาญเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนี่ง สู่สนามรบเพื่อเข่นฆาตกรรมผู้อื่น ตัวตายหาได้สลักสำคัญเท่าชัยชนะของชาติ
สิ่งเกิดขี้นในเยอรมันหลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้มีความแตกต่างจากจินตนาการคนบ้าสักเท่าไหร่! เพราะการก้าวขี้นมามีอำนาจของพรรคนาซี สามารถใช้วิธีชวนเชื่อ ลวงล่อหลอก ควบคุมครอบงำประชาชน ให้เห็นพ้องคล้อยตามอุดมการณ์ จากนั้นชักนำพาประเทศค่อยๆก้าวสู่มหาสงครามโลกครั้งที่สอง
ประเด็นอื่นๆของหนัง คือเส้นบางๆกีดกั้นขวางระหว่าง คนปกติ-สูญเสียสติ, โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ชาวเยอรมันยุคสมัยนั้นราวกับใช้ชีวิตคาบเกี่ยวทั้งสองโลก แต่ยังมิสามารถตระหนักถีงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นั่นทำให้ท่านผู้นำ Adolf Hitler สามารถหาหนทางในการลวงล่อหลอก ชวนเชื่อประชาชน โดยเฉพาะสื่อภาพยนตร์ สามารถสร้างความฮีกเหิม มีพละพลัง ภาคภูมิใจในอุดมการณ์ชาติ ยินยอมกลายเป็นหุ่นเชิดชัก Somnambulist นำพาหายนะสู่มวลมนุษยชาติ
สรุปแล้ว The Cabinet of Dr. Caligari เป็นภาพยนตร์ที่สำแดงสภาวะทางอารมณ์ของผู้คน บรรยากาศชาติเยอรมันยุคสมัยนั้น และพยากรณ์หายนะจากพรรคนาซีได้อย่างแม่นยำ
หนังใช้ทุนสร้างประมาณ $18,000 เหรียญ (ยุคสมัยนั้นถือว่าไม่เยอะเท่าไหร่) น่าเสียดายไม่มีรายงานรายรับ แต่ในเยอรมันเข้าฉายนานสามเดือน (ก็ถือว่านานพอสมควรเลยนะ!) ขณะที่ฝรั่งเศสยืนโรงถีง 7 ปี!
เสียงตอบรับในช่วงแรกๆผสมผสานกันไป แต่ทั้งหมดชื่นชมใน ‘visual’ งานออกแบบของหนัง สร้างความแปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจ ทำให้ภาพยนตร์กลายเป็นสื่อศิลปะเต็มตัว ส่วนข้อตำหนิมักในเรื่องความไม่สมเหตุสมผล จับต้องไม่ได้ นำเสนอด้านมืดมากเกินไป (ส่วนใหญ่ดูจะเป็นรสนิยมของนักวิจารณ์ ที่ฟังไม่ค่อยขี้นเท่าไหร่)
“combination of silent hysteria, partially coloured canvases, daubed flats, painted faces, and the unnatural broken gestures and action of monstrous chimaeras”.
ผู้กำกับ Sergei Eisenstein
“the first step towards a grave error which consists of flat photography of eccentric decors, instead of obtaining surprise by means of the camera”.
ผู้กำกับ Jean Cocteau
“It has the odor of tainted food. It leaves a taste of cinders in the mouth”.
นักวิจารณ์ Frédéric-Philippe Amiguet
กาลเวลาทำให้หนังได้รับการยกย่องสรรเสริญ จนกลายเป็น ‘Landmark’ เรื่องสำคัญแห่งวงการภาพยนตร์!
“For the first time in the history of the cinema, the director has worked through the camera and broken with realism on the screen; that a film could be effective dramatically when not photographic and finally, of the greatest possible importance, that the mind of the audience was brought into play psychologically”.
นักวิจารณ์ Paul Rotha
ความยิ่งใหญ่ของ The Cabinet of Dr. Caligari (1920) ไม่เพียงจุดประกายยุคสมัย German Expressionism (ช่วงทศวรรษ 20s) แต่ยังนำทางภาพยนตร์แนว Horror โดยเฉพาะหนังสัตว์ประหลาดของ Universal Monster (ช่วงทศวรรษ 30s – 40s) และถือเป็นพ่อทูนหัวแห่ง Film Noir (ช่วงทศวรรษ 40s – 50s)
อิทธิพลต่อภาพยนตร์ยุคสมัยใหม่ มักพบเห็นในงานสร้างของผู้กำกับ อาทิ Tim Burton, Guillermo del Toro, David Lynch ฯลฯ
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ สแกนดิจิตอล คุณภาพ 4K เมื่อปี 2014 โดย Friedrich-Wilhelm-Murnau-Stiftung (FWMS) นำต้นฉบับจาก Bundesarchiv-Filmarchiv, Berlin แต่น่าเสียดายที่ฟีล์มม้วนแรกสูญหายไป และบางส่วนไม่สามารถซ่อมแซมได้ กลายเป็น DVD/Blu-Ray โดย Kino Lorber
แม้ผมจะมีโอกาสรับชมหนังมาแล้วหลายรอบ แต่ไม่มีครั้งไหนจะรู้สีกขนลุกขนพอง ถีงความลุ่มลีกลับซับซ้อนที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ต้องใช้การครุ่นคิด วิเคราะห์ รู้จักประวัติศาสตร์เยอรมัน และยุคสมัย German Expressionism ถีงสามารถเข้าถีงความยิ่งใหญ่คลาสสิก ทรงคุณค่าทางศาสตร์ ศิลปะภาพยนตร์!
แนะนำคอหนังเงียบ Cult Film, Art House, Horror, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ศีกษาสภาพจิตใจตัวละคร โรงพยาบาลจิตเวทสมัยก่อน, นักเรียนภาพยนตร์ ศิลปินทุกแขนง หรือผู้มีความลุ่มหลงใหลในงานศิลปะ German Expressionism, และนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ซีมซับบรรยากาศประเทศเยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนี่ง
จัดเรต 13+ กับภาพอันหลอกหลอน ฆาตกรต่อเนื่อง โรงพยาบาลจิตเวท
คำโปรย | Das Cabinet des Dr. Caligari คือตู้เก็บประวัติศาสตร์เยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
คุณภาพ | ลุ่มลึกล้ำ-หลอกหลอน
ส่วนตัว | ชื่นชอบ
The Cabinet of Dr. Caligari (1920) : Robert Wiene ♥♥♥♥
(27/2/2016) หนังเงียบสัญชาติเยอรมันเรื่องนี้ เป็นแนว Horror ที่เต็มไปด้วยภาพบรรยากาศหลอนๆชวนให้ขนลุกขนพอง ฆาตกรต่อเนื่อง คนบ้าโรคจิต และตอนจบหักมุมแบบคาดไม่ถึง, ผลงานของผู้กำกับ Robert Wiene ด้วยงานศิลป์ German Expressionist และพยากรณ์การเกิดขึ้นของ Nazi กับ Adolf Hitler ได้อย่างแม่นยำ
คอหนัง Horror เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยิน The Cabinet of Dr. Caligari (1920) หนังเงียบเมื่อเกือบกว่าร้อยปีที่แล้ว ได้รับการยกย่องโดยนักวิจารณ์ Roger Ebert ว่าคือหนังแนว Horror แท้ๆระดับ Masterpiece เรื่องแรกของโลก, จริงๆมันมีอีกหลายเรื่องก่อนหน้านี้ที่ก็จะได้เป็นแนว Horror แรกสุดเลยคง The Haunted Castle (1896) ของนักมายากล Georges Méliès ด้วยเวลาเพียง 3 นาที ทำให้ผู้ชมสมัยนั้นตื่นเต้นขนลุกหัวพอง กรี๊ดกร๊าดอกสั่นขวัญหายกันเป็นทิวแถว แต่ผู้ชมสมัยนี้คงไมมีใครรู้สึกหลอกหลอน หวาดสะพรึงกลัวแม้แต่น้อยเป็นแน่ คงจะหัวเราะคิกๆ แล้วแบบนี้จะเรียกว่า Horror ได้อย่างไร!
หนัง Horror ในช่วงยุคแรกๆของวงการภาพยนตร์ มักมีใจความแฝงเกี่ยวกับความทรงจำช่วงสงคราม (โดยเฉพาะ WW1) ซึ่งหนังเรื่องนี้สามารถตีความสื่อไปถึงได้ไม่ยากทั้งๆที่ไม่เห็นภาพการต่อสู้ฆ่าฟันเลือดสาด แต่เป็นในเชิงสัญลักษณ์สะท้อนกับการกระทำของตัวละคร Dr. Caligari และ Cesare กับการหลับหูหลับตาทำคำสั่ง ฆ่าคนโดยไม่สนอะไร ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ สำนึกมโนธรรมศีลธรรม นี่คือความหลอนหลอก Horror ที่สร้างความตราตรึง ประทับจดจำจับใจให้กับคนที่เคยพบเจอผ่านเหตุการณ์ ประสบการณ์ชีวิตนั้นมา เมื่อพบเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหนัง กรี๊ดลั่น เป็นลม สลบไสล
Robert Wiene (1873 – 1938) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ในยุคหนังเงียบ สัญชาติ German เกิดที่ Breslau เป็นลูกคนโตของนักแสดงละครเวทีชื่อดัง Carl Wiene โตขึ้นเข้าเรียนกฎหมายที่ University of Berlin แต่มีหรือลูกไม้จะหล่นไกลต้น ปี 1908 หวนกลับมาเป็นนักแสดงละครเวที เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเขียนบท/และอาจกำกับ Die Waffen der Jugend (1912)
ผลงานที่น่าสนใจของ Wiene ประกอบด้วย The Cabinet of Dr. Caligari (1920), Raskolnikow (1923) [ดัดแปลงจากนิยาย Crime and Punishment], The Hands of Orlac (1924), The Knight of the Rose (1925) ฯ
เดิมทีนั้น Wiene ไม่ใช่ตัวเลือกแรกที่จะกำกับหนังเรื่องนี้แต่เป็น Fritz Lang ที่ได้ละทิ้งโปรเจคไปทำเรื่องอื่น เพราะใช้เวลาเตรียมการ Pre-Production นานเกินไป, เมื่อ Wiene เข้ามาคุมบังเหียร ก็ได้ปรับเปลี่ยนอะไรมากมายให้เข้ากับวิสัยทัศน์ของตนเอง (ทำให้โปรเจคล่าช้าไปอีกหลายเดือน)
คงเพราะหนังเรื่องที่มีใจความแฝงต่อต้านสงคราม พยากรณ์ความชั่วร้ายของ Nazi ด้วยเหตุนี้ Wiene จึงตัดสินใจอพยพลี้ภัย (exile) ออกจากประเทศ ก่อนที่ Nazi จะขึ้นมาเรืองอำนาจสูงสุดเมื่อปี 1933 เสียชีวิตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีโอกาสได้กลับประเทศ
บทภาพยนตร์พัฒนาโดย Hans Janowitz กับ Carl Mayer คู่หูที่พบกับตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายมาด้วยกัน ตัดสินใจสร้างตัวละคร Dr. Caligari เปรียบกับผู้นำทหารของเยอรมัน (German war government) และตัวละคร Cesare ที่เป็น Somnambulist (โรคคนนอนละเมอ หรือ Sleep-walking) แทนด้วยประชาชนคนธรรมดาที่กลายเป็นทหาร/ตำรวจ จำเป็นต้องทำตามคำสั่งของหัวหน้า/ท่านผู้นำโดยมิอาจขัดขืนต่อต้าน
Werner Johannes Krauss (1884 – 1959) นักแสดงสัญชาติเยอรมัน เกิดที่ Gestungshausen, Bavaria (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) เริ่มต้นจากเป็นตัวประกอบละครเวที ไต่เต้าขึ้นกลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งที่ไม่เคยเรียนหรือความสนใจด้านนี้มาก่อน เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการชักชวนของ Richard Oswald เรื่อง Tales of Hoffman (1916) ทำให้ได้รับการจดจำติดตาในบทลักษณะ Horror มีผลงานอื่นอาทิ Waxworks (1924), Varieté (1925), Tartuffe (1925), The Student of Prague (1926) ฯ
รับบทเป็น Dr. Caligari ชายร่างใหญ่ตัวกลมๆ (เหมือน Penguin ใน Batman Return) ผมเผ้ารุงรัง ท่าทางดูลึกลับพิศวง น่าสงสัย ไม่มีใครรู้ว่าแท้จริงแล้วเขาคือใคร ครุ่นคิดอะไรอยู่ แต่ที่แน่ๆไม่น่าใช่คนดีแน่ แถมถอดแว่นสวมแว่นยังกะ Superman จดจำแทบไม่ได้ กลายเป็นคนละคน
เห็นว่า Krauss เป็นผู้แนะนำให้ผู้กำกับเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวแต่งหน้า ให้เข้ากับสไตล์ Expressionist ของหนัง ตัวจริงหุ่นดีหล่อเหลาเท่ห์ระเบิด (จนได้เป็นตัวตายตัวแทน Iconic ของ Nazi ในยุคสมัยเรืองอำนาจทศวรรษ 30s)
Hans Walter Conrad Veidt (1893 – 1943) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin หลังจากพบเจอมีสัมพันธ์กับนักแสดงหญิง Lucie Mannheim จึงเกิดความสนใจด้านการแสดง แต่ต้องไปเป็นทหารแนวหน้าสงครามโลกครั้งที่ 1 ปลดประจำการออกมามีผลงานการแสดงที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ The Cabinet of Dr. Caligari (1920), The Man Who Laughs (1928) ฯ อพยพลี้ภัยมาอยู่อังกฤษมีผลงานอย่าง The Thief of Bagdad (1940), Casablanca (1942) ฯ
Cesare ชายร่างสูงใหญ่ที่ตั้งแต่เกิดก็เอาแต่นอนหลับไม่เคยตื่นขึ้น (แต่ไม่ถือว่าเสียชีวิต เพราะยังมีลมหายใจอยู่) นี่เรียกว่า Somnambulist [นี่เป็นลักษณะอาการที่เขียนแต่งขึ้นนะครับ น่าจะไม่มีอยู่จริง] ภาพลักษณ์ขอบตาดำขลับ (เหมือนคนไม่ได้นอน) การเคลื่อนไหวแข็งทื่อราวกับซอมบี้ ไร้ความคิดอ่านและจิตวิญญาณของตัวเอง แต่มีครั้งหนึ่งที่ Cesare กลับคิดตัดสินใจด้วยตัวเอง เรื่องวุ่นๆเลยเกิดขึ้น
ภาพลักษณ์ของ Veidt ในหนังเรื่องนี้ กลายเป็น iconic ของผีดิบ ซอมบี้ แฟรงเกนสไตล์ สิ่งมีชีวิตมนุษย์ที่ฟื้นคืนชีพจากความตาย มักมีรูปลักษณะแบบนี้ ขณะที่การแสดงท่าทางเคลื่อนไหว ก็สร้างความหวาดหวั่น สะท้าน ขนหัวลุกพองให้กับผู้ชมสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง
อีกหนึ่งนักแสดงที่ต้องพูดถึงคือ Friedrich Feher (1889 – 1950) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Austrian รับบทเป็น Francis ดูเป็นตัวละครที่ปกติสุดในหนังแล้ว แม้จะมีความขี้อิจฉาริษยาไปบ้าง แต่ก็พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไขปริศนาของ Dr. Caligai แต่ไฉนตอนจบ สิ่งที่เรารับรู้เข้าใจมามันกลับถูกตลบหลังหักมุมได้ขนาดนั้นเลยละ!
ถ่ายภาพโดย Willy Hameister หนังใช้เวลาถ่ายทำประมาณเดือนเศษๆ (แต่เตรียมงานอยู่เกือบครึ่งปี) ในฉบับที่ผมรับชม ต้องบอกว่า กาลเวลาทำให้ฟีล์มหนังเรื่องนี้ด้อยคุณภาพลงมาก (ที่ถึงจะ remaster ใส่สีใหม่แล้ว ก็ยังค่อนข้างแย่), จุดเด่นอยู่ที่ การถ่ายภาพระดับ Close-Up (ปกติหนังเงียบมักจะถ่าย Full Shot เห็นเต็มตัว ไม่ค่อยเจาะจงใบหน้านักแสดง) ทำให้เรามองเห็นแทบทุกริ้วรายละเอียดของการแต่งหน้า โดยเฉพาะกับ Cecare ขณะกำลังค่อยๆลืมตาขึ้น ทำให้คนขวัญอ่อนสมัยนั้นกรี๊ดสลบ
หนังแบ่งออกเป็นตอนๆ มีทั้งหมด 6 ตอน/reel (ตอนละประมาณ 10 นาที) ช่วงแรกๆมีการใช้ Iris Shot เปิดปิดหน้ากล้องเห็นเป็นวงกลมคล้ายรูม่านตา บ้างเลื่อนปิดกลางภาพ บ้างครั้งที่ใบหน้าตัวละคร นี่ถือเป็นการสร้างจุดโฟกัสในการมองให้กับผู้ชม (ผมหาเครดิตคนตัดต่อไม่เจอ คิดว่าคงเป็นผู้กำกับตัดเอง)
องค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุนความ Horror ของหนังคือ การออกแบบฉากใน German Expressionist รูปแบบงานศิลปะช่วงตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ของประเทศเยอรมันขณะที่ทำการปิดประเทศ ก็ไม่เชิงว่าปิดนะครับ แต่พวกเขาไม่รับแนวคิดสื่อศิลป์ภายนอกเข้าสู่ประเทศตนเอง เพราะคิดว่าของชาตินิยมเราอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว, นี่เองเป็นเหตุให้ศิลปินในประเทศทั้งหลาย พัฒนารูปแบบสไตล์งานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน ‘German Expressionism’ เห็นได้ชัดกับเสื้อผ้าหน้าผม การเคลื่อนไหว ฉากพื้นหลัง ฯ
ออกแบบโดย Hermann Warm พื้นหลังมีความแปลกประหลาด พิศดาร บิดเบี้ยว ต้นหญ้าเป็นหนามแหลมเหมือนมีด ประตูหน้าตาบานกระจิดริดไม่น่าเดินเข้าออกได้ ความรู้สึกมันเหมือนไม่สมประกอบสักอย่าง นี่มีลักษณะสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก (Expression) ของตัวละครและเรื่องราวออกมาจากภายใน
เช่นเดียวกันกับ Title Card หรือข้อความขึ้นคั่น มีการออกแบบลวดลาย ตัวอักษร สไตล์ German Expression แม้จะทำให้อ่านตามยากสักหน่อย แต่เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับยุคสมัยนั้น
หลายคนคงตั้งคำถาม สร้างฉากใหญ่ๆแบบนี้ในหนัง มันดูสิ้นเปลืองมาก ค่าใช้จ่ายรวมแล้วย่อมต้องสูงกว่าออกไปถ่ายสถานที่จริงเป็นไหนๆ? ก็ใช่นะครับ ถ่ายทำสถานที่จริงประหยัดงบกว่ามาก แต่ที่ต้องสร้างฉากพวกนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของผู้กำกับ และเรื่องราวที่สะท้อนแสดงออกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจมนุษย์ (มันเลยมีความบิดเบี้ยว ผิดปกติ) และอีกเหตุผลด้านเทคนิคเรื่องการจัดแสง และเคลื่อนกล้อง (สมัยนั้นยังมีขนาดใหญ่โตเทอะทะเคลื่อนย้ายลำบาก) สังเกตว่าไม่มีช็อตไหนที่กล้องเคลื่อนไหวเลยนะครับ ทุกสิ่งอย่างถูกจัดไว้ในกรอบเฟรม ครบถ้วนทั้ง 141 ฉาก
แซว: จริงๆทุนค่าสร้างฉากของหนังไม่แพงเท่าไหร่นะครับ เพราะใช้กระดาษถูกๆ แปะๆทาสี เฉพาะค่าอุปกรณ์ทำฉากใช้งบเพียง $800 เหรียญ เทียบกับค่าจ้างนักแสดง $30 ต่อวัน สมัยนั้นไม่ใช่จำนวนน้อยๆเลยนะ
เมื่อเราเปรียบเทียบ Dr. Caligari คือท่านผู้นำ Adolf Hitler ส่วน Cesare คือทหารประชาชนตาดำๆ หนังเรื่องนี้คือการพยากรณ์การเกิดขึ้นของ Nazi ที่แสนจะแม่นยำ เป็นแนวโน้มที่พอจะมองเห็นได้หลังความล่มสลายพ่ายแพ้ของจักรวรรดิเยอรมันในช่วงสงครามโลกคร้งที่ 1 เพราะมันเป็นสิ่งที่ชาวอารยันแท้ๆที่ถูกล้างสมองชวนเชื่อมา เมื่อเวลาผ่านไปถึงวัยที่พวกเขาเติบโตกลายเป็นแกนนำของประเทศ มีหรือจะไม่ต้องการนำพาเยอรมันหวนคืนสู่ความยิ่งใหญ่, แล้วมันก็เกิดขึ้นกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
แล้วตัวละคร Francis และตัวประกอบอื่นๆละ? ผมมองว่าเราสามารถเปรียบพวกเขาเป็นตัวแทนประเทศต่างๆในโลกได้เลย ซึ่งตัวละครที่ถูกฆ่าเสียชีวิต คือประเทศที่พ่ายแพ้สงครามต่อเยอรมันโดยสิ้นเชิง ส่วนหญิงสาวที่ถูก Cesare จับไป แทนด้วยประเทศที่ยกธงขาวพ่ายแพ้แบบสมยอม คิดว่าเราคงไม่ถูกสงครามบ่อนทำลายมากนัก รอคอยให้ฝ่ายพันธมิตรแย่งชิงกลับมา แต่สภาพของหลังได้รับการช่วยเหลือ เธอกลายเป็นคนบ้าเสียสิ้นสติสมประดี แสดงถึงความสูญเสียที่มีมากเกินเยียวยา
ตัวละคร Francis นี่ต้องแทนด้วยประเทศอเมริกาเท่านั้น หมอนี่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเขาเลย แต่กลับพาตัวเองแส่เข้าไปเรื่อย นี่ทำให้ตอนจบของหนัง การหักมุมกลับตารปัตร มีนัยยะสะท้อนถึง อเมริกาก็คือหนึ่งในผู้ป่วยโรงพยาบาลโรคจิตด้วย โดยมี Dr. Caligari เป็นอาจารย์หมอเจ้าของโรงพยาบาล, โลกใบนี้ช่างเต็มไปด้วยความบ้าคลั่งเสียสติ และพวกประเทศที่กระหายทำสงครามก็คือ กลุ่มของคนบ้า!
เราสามารถดูหนังเรื่องนี้ให้สนุกได้โดยไม่ต้องคิดวิเคราะห์อะไรพวกนี้เลยนะครับ ที่ผมเล่ามาก็ถือเป็นมุมมองหนึ่งไม่ถูกผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มองเห็นเข้าใจมิติของหนังในอีกระดับ, หนังเงียบระดับ Masterpiece ลึกล้ำประมาณนี้นะครับ
คำว่า Cabinet ไม่ได้แปลว่าตู้เสื้อผ้า/ห้องเก็บของเล็กๆ เท่านั้นนะครับ ยังสามารถหมายถึง คณะรัฐมนตรี (ครม.) แค่ชื่อหนังยังสามารถสะท้อนประเด็นการเมืองได้เลยนะเนี่ย!
ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบประทับใจหนังเรื่องนี้ หลงใหลในความสวยงามของ German Expressionist และตอนจบหักมุมคาดไม่ถึง, รับชมเป็นครั้งที่สองผมพยายามวิเคราะห์อ่านความหมายของพื้นหลัง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ นี่คงยังต้องใช้ประสบการณ์ในการศึกษางานศิลปะเพิ่มขึ้นอีกมาก ถึงสามารถรับรู้ตีความหมายอันลึกล้ำนี้ออก
แนะนำกับคอหนังเงียบ แนว Horror บรรยากาศหลอนๆ โรงพยาบาลบ้า, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ศึกษาสภาพจิตใจของตัวละคร, ศิลปิน จิตรกร ผู้หลงใหล Expressionist, นักประวัติศาสตร์ชาติเยอรมัน การกำเนิดขึ้นของ Nazi, รู้จักผู้กำกับ Robert Wiene ไม่ควรพลาด
จัดเรต 13+ กับบรรยากาศหลอนๆ ที่อาจทำให้เด็กๆนอนไม่หลับได้
Leave a Reply