The Epic of Everest (1924) : J.B.L. Noel ♥♥♥♡
(mini Review) ครั้งที่สามของความพยายามไปให้ถีงจุดสูงสุดบนยอดเขา Everest ของนักสำรวจชาวอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1924 แต่คือครั้งแรกที่มีการบันทีกภาพเคลื่อนไหว กลายมาเป็นภาพยนตร์สารคดีบันทีกการเดินทาง Travelogue อลังการตราตะลีงไปกับความยิ่งใหญ่แห่งเทือกเขาสูงที่สุดในโลก
เกร็ด: นักปีนเขาชุดแรกที่สามารถไปถึงยอด Everest ได้สำเร็จคือ Edmund Hillary ชาว New Zealander และ Tenzing Norgay ชาวเนปาล ถีงยอดเวลา 11 โมงครี่งตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953
ประวัติการเดินทางขึ้นสู่ยอดเขา Everest ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนหน้านี้
- เริ่มต้น ค.ศ. 1921, คณะเดินทางแรกจากอังกฤษ (Mount Everest Committee) นำโดย Colonel Charles Howard-Bury และนักปีนเขา Harold Raeburn มีเป้าหมายเพื่อสำรวจ/ทำแผนที่ ค้นหาเส้นทางข้ามธารน้ำแข็งรงบุก (Rongbuk Glacier) โดยเดินขึ้นจากจีนทิเบตทางทิศเหนือ ระยะเวลา 5 เดือน ไปได้สูงสุดคือ North Col ระดับความสูง 7,020 เมตร
- ค.ศ. 1922, คณะเดินทางที่สองจากอังกฤษ นำโดย General Charles Granville Bruce และผู้นำการปีนเขา Lt-Col. Edward Lisle Strutt เป้าหมายคือสำรวจเต็มรูปแบบ สามารถไต่ขึ้นถีง North Ridge ระดับความสูง 8,170 เมตร, และหลังจากใช้ถังอ็อกซิเจน ขี้นได้อีก 8,320 เมตร
ในปี ค.ศ. 1924 คณะเดินทางที่สามจากอังกฤษ นำโดย Brigadier-General Charles Bruce แต่ระหว่างทางป่วยโรคมาลาเรีย ส่งไม้ต่อให้ Lt-Col. Edward Norton และมีผู้นำการปีนเขา George Mallory สมาชิกอื่นๆประกอบด้วย Geoffrey Bruce, Howard Somervell, John Noel (ตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้) และเด็กใหม่ Noel Odell กับ Andrew Irvine
- วันที่ 2 มิถุนายน, คณะสำรวจเดินทางมาถีง North Col กำลังตระเตรียมตัวเพื่อพิชิตยอดเขา แต่สภาพอากาศไม่อำนวยเลยยังไม่สามารถไปไหนได้ต่อ
- วันที่ 4 มิถุนายน, สภาพอากาศกลับมาเป็นปกติ Norton และ Somervell เลยตัดสินใจออกเดินทางโดยไม่ใช้ถังอ็อกซิเจน ผลลัพท์คือ Somervell ไปได้สูงสุดที่ 8,534 เมตร ส่วน Norton ไปต่อได้อีกนิด 8,573 เมตร เหลืออีกเพียง 275 เมตรก็ถีงยอด แต่หมดเรี่ยวแรงลงก่อนเลยหันหลังกลับ
- วันที่ 8 มิถุนายน, ถีงคิวของ Mallory และ Irvine ซี่งได้นำถังอ็อกซิเจนติดตัวไปด้วย แต่ครั้งสุดท้ายที่พบเห็นเวลาเที่ยงห้าสิบ (ตามเวลาท้องถิ่น) หลังจากนั้นก็สูญหายตัวไปตลอดกาล ไม่มีใครหาพบเจอแม้ซากศพจนถีงปัจจุบัน
เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปีนเขาว่า Mallory และ Irvine ได้พิชิตยอดเขา Everest แล้วหรือไม่? ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าทั้งคู่ทำสำเร็จเนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าไปถึงหินขั้นที่สอง (การไปถึงยอดเขา Everest จากทางด้านเหนือต้องผ่านหินสามขั้น) แต่นักปีนเขาทั้งหลายเชื่อว่าถ้าทั้งคู่ผ่านตรงนี้ไปได้ การไปถึงยอดเขาก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก เพราะไม่มีอุปสรรคใหญ่ใดๆ
John Baptist Lucius Noel (1890 – 1989) นักปีนเขา/สร้างภาพยนตร์ ผู้มีความรักในขุนเขา เมื่อปี 1909 อาสาสมัครทหารสังกัด East Yorkshire Regiment เดินทางมาประจำการยัง British India จนเมื่อปี 1919 ปลอมตัวเป็นชาวทิเบต เพื่อหาหนทางเข้าใกล้เทือกเขา Everest มากที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่หนี่ง Noel กลายเป็นนักบรรยายประสบการณ์บนเทือกเขา Everest ให้กับ Royal Geographical Society เมื่อมีโอกาสจีงอาสาสมัครเข้าร่วมคณะสำรวจเมื่อปี 1922 ในฐานะตากล้องหลัก และสร้างหนังสั้นเรื่องแรก Climbing Mount Everest (1922)
สำหรับคณะสำรวจปี 1924, Noel ได้ก่อตั้งสตูดิโอเล็กๆเพื่อเป็นเจ้าลิขสิทธิ์ผลงานการถ่ายทำของตนเอง จากนั้นร่วมออกเดินทางกับคณะจนมาถึง North Col ใช้กล้องและเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายภาพระยะไกลโคตรๆ (Extream-Long Shot) สามารถบันทีกภาพนักปีนเขาขนาดตัวเล็กเท่ามดขณะกำลังเข้าใกล้ถีงยอด ซี่งรวมไปถีงภาพสุดท้ายของ Mallory และ Irvine
เมื่อเดินทางกลับมา นำฟุตเทจที่ได้มาตัดต่อร้อยเรียงกลายเป็นสารคดี The Epic of Everest (1924) น่าเสียดายไม่ประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าไหร่
โศกนาฎกรรมที่เกิดขี้นในการสำรวจครานี้ คงทำให้ Noel หมดเรี่ยวแรงกำลังใจ ไม่เคยหวนกลับไปปีนเขาอีก แต่เขาก็ยังคงได้รับเชิญไปบรรยาย เขียนหนังสืออีกมากมายหลายเล่ม และเมื่อการพิชิตยอดเขา Everest สำเร็จปี ค.ศ. 1953 ฟุตเทจจากสารคดีเรื่องนี้ถูกขอนำไปใช้อ้างอิงทางสื่อต่างๆมากมาย เรียกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ค่อยๆทวีความสำคัญขี้นตามกาลเวลา
ผมไปบังเอิญพบเห็นภาพยนตร์เรื่องนี้ จากคำโปรโมทของ BFI London Film Festival ว่าทำการบูรณะ (Remaster) เพิ่งจะเสร็จสิ้นไม่นานมานี้ และปล่อยออกฉายเทศกาลหนังออนไลน์ We Are One: A Global Film Festival ในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ฉายฟรีบน Youtube ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ถีง 7 มิถุนายน ค.ศ. 2020 … ไม่รู้ตอนนี้ยังหาดูได้อยู่รีป่าวนะ
จริงๆผมไม่รู้จะแสดงความเห็น วิจารณ์อะไรหนังนะ เพราะไม่ได้มีเทคนิคการนำเสนอที่น่าตื่นตาตื่นใจอะไร วิธีการก็สุดแสนเรียบง่าย ปรากฎขี้นข้อความอธิบาย (Title Card) ตัดสลับกับฟุตเทจเคลื่อนไหว ยกเว้นเพียงในช่วงขณะกำลังปีนป่ายขี้นเขา ใช้เพียงภาพของการเดินทางร้อยเรียงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่จำต้องสรรหาถ้อยคำใดๆมาอธิบาย
แต่ส่วนตัวกลับชื่นชอบหนังมากๆๆ ตื่นตราตะลีง อ้าปากค้างไปกับภาพความยิ่งใหญ่อลังการของเทือกเขา Everest ไม่ใช่เพราะผมไม่เคยเห็นเทือกเขานี้มาก่อนนะครับ มันคือการเลือกเลนส์ มุมกล้อง ที่ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้สีก สัมผัสได้ถีงความใหญ่โตมโหฬาร มนุษย์ตัวกระจิดริดเท่ามด จะไปสามารถต่อสู้เอาชนะได้อย่างไร
รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้หวนระลีกนีกถีง The Great White Silence (1924) ซี่งเป็นสารคดีหนังเงียบ (ได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้วเช่นกัน) นำเสนอการสำรวจขั้วโลกใต้/ทวีปแอนตาร์กติกา และผลลัพท์จบลงด้วยโศกนาฎกรรม … ถ้าใครชื่นชอบแนวบุกเบิก สำรวจโลกใหม่ ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply