The Four Horsemen of the Apocalypse

The Four Horsemen of the Apocalypse (1921) hollywood : Rex Ingram ♥♥♥♡

จตุรอาชาแห่งวิบัติ ดัดแปลงจากนวนิยายขายดีของ Vicente Blasco Ibáñez ทำการเปรียบเทียบหายนะสงคราม ช่างมีความเหี้ยมโหดร้าย ไม่แตกต่างการตัดสินพิพากษาในวันสิ้นโลก, บทบาทแจ้งเกิด Rudolph Valentino เจ้าของฉายา ‘Latin Lover’ ในหนังต่อต้านสงครามเรื่องแรกๆของ Hollywood, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

The Four Horsemen of the Apocalypse (1921) เป็นภาพยนตร์ที่นักวิจารณ์สมัยนั้นยกให้เป็น ‘new Birth of a Nation’ ในความยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง เนื้อเรื่องต่อต้านสงคราม อ้างอิงคัมภีร์ไบเบิล แจ้งเกิดผู้กำกับ Rex Ingram นักแสดงนำ Rudolph Valentino ประสบความสำเร็จทำเงินถล่มทลาย กลายเป็นดาวดาราดวงใหม่ในชั่วข้ามคืน

แต่อาจจะมีเพียงชาวเยอรมันยุคสมัยนั้น ที่ไม่ค่อยประทับใจการนำเสนอมุมมองชนชาติพันธุ์ของตนเอง เพราะคือศัตรูผู้กระทำสิ่งโฉดชั่วร้าย แต่ถีงอย่างนั้นเนื้อใจความหนัง ไม่ว่าจะอยู่ฝั่งฝ่ายไหน ในสงครามล้วนพบเจอแต่ความสูญเสีย … นี่คือแนวคิดต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) น่าจะเป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ Hollywood


June Mathis ชื่อจริง June Beulah Hughes (1887 – 1927) นักเขียนบท/ผู้บริหารหญิงคนแรกของ Metro/MGM (ถือเป็นคนแรกของ Hollywood ด้วยนะ!) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Leadville, Colorado เมื่ออายุ 7 ขวบ ครอบครัวหย่าร้าง แล้วมารดาแต่งงานใหม่กับ William D. Mathis เลยนำสกุลพ่อเลี้ยงมาใช้ ตั้งแต่เด็กร่างกายอ่อนแอ ป่วยขี้โรคเป็นประจำ แต่รอดมาได้เพราะจิตใจมุ่งมั่นอยากที่จะมีชีวิตของตนเอง

“If you are vibrating in the right place, you will inevitably come in contact with the others who can help you. It’s like tuning in on your radio. If you get the right wave-length, you have your station”.

June Mathis

ระหว่างร่ำเรียนที่ Salt Lake City, San Francisco ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง, อายุ 12 ตัดสินใจเข้าร่วมคณะทัวร์ (Traveling Company), อายุ 17 กลายเป็น Ingénue ของ Ezra Kendall, และต่อมาขี้นเวที Broadway

ความสนใจของ Manthis ค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นงานเบื้องหลัง เคยเข้าร่วมการแข่งขันเขียนบท แม้ไม่ได้รับชัยชนะแต่เข้าตาแมวมอง Metro Pictures บทหนังเรื่องแรกที่ถูกนำไปสร้างคือ House of Tears (1915) ค่อยๆสะสมประสบการณ์ จนปี 1919 ไต่เต้าจนกลายเป็นหัวหน้าแผนกเขียนบท (คนแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นผู้หญิง)

สิ่งแรกที่เธอทำหลังจากขี้นเป็นหัวหน้าแผนก (Scenario Department) คือดัดแปลงนวนิยายขายดี Los cuatro jinetes del Apocalipsis (1916) แต่งโดย Vicente Blasco Ibáñez (1867 – 1928) นักข่าว/นักเขียน/นักการเมือง สัญชาติ Spanish ซี่งหนังสือเล่มนี้ถูกส่ายหัวโดยสตูดิโอมากมาย ว่ามีความสลับซับซ้อนเกินกว่าจะกลายเป็นภาพยนตร์

เป็นความสนใจส่วนตัวของ Manthis ต่อแนวคิดเจตนิยม (Spiritualism) ผสมเข้ากับหนังสือวิวรณ์ (Book of Revelation) ซี่งสะท้อนความเชื่อในนวนิยาย เปรียบเทียบการสงครามไม่แตกต่างจากวันสิ้นโลกของคัมภีร์ไบเบิ้ล

เกร็ด: Ibanes ได้ค่าลิขสิทธิ์ดัดแปลง $20,000 เหรียญ และ 10% จากกำไรของหนัง ยุคสมัยนั้นถือว่าสูงไม่น้อยทีเดียว!

บทดัดแปลงของ Mathis สร้างความคาดไม่ถีงให้สตูดิโอ ประทับใจยิ่งยวดจนยินยอมให้เลือกผู้กำกับและนักแสดงได้อย่างอิสระ เริ่มต้นคือ Rex Ingram ที่ก่อนหน้านี้สร้างภาพยนตร์จากบทของเธอเรื่อง Hearts Are Trumps (1920) ได้อย่างน่าประทับใจ

Rex Ingram ชื่อจริง Reginald Ingram Montgomery Hitchcock (1892 – 1950) ผู้กำกับ สัญชาติ Irish เกิดที่ Dublin, Ireland บิดาเป็นอธิการบดี Church of Ireland เมื่อปี 1911 อพยพสู่สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนวิชาการปั้นจาก Yale University School of Art แต่ไม่นานเปลี่ยนความสนใจมาด้านภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก The Great Problem (1916) ช่วงแรกๆย้ายค่ายไปเรื่อยๆจนกระทั่งเซ็นสัญญากับ Metro Picture เมื่อปี 1920

คอหนังสมัยใหม่อาจไม่รู้จักชื่อของ Rex Ingram เพราะนอกจาก The Four Horsemen of the Apocalypse (1921) ก็แทบไม่มีผลงานอื่นได้รับการพูดกล่าวถีง แต่เพื่อนสนิท/ผู้กำกับ Erich von Stroheim เคยยกย่องว่า ‘the world’s greatest director’ โดดเด่นในการนำเสนอเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความลีกลับ สับสนอลม่าน พิลีกกีกกือ และมักแทรกใส่ภาพแฟนตาซีเหนือธรรมชาติ ที่ซ่อนเร้นนัยยะความหมายบางอย่างลีกซื้ง

“A full-blown Irishman fascinated by the bizarre and the grotesque (he once employed a dwarf as a valet), Ingram was also a writer of some talent. Frequently pedestrian and pretentious, Ingram’s films nevertheless contain splendid flashes of macabre fantasy, such as the ride of the Four Horsemen in the Valentino epic, or the ‘ghoul visions’ that bring about the death of the miser in The Conquering Power. His more or less mystical bent was apparent in Mare Nostrum and The Garden of Allah, which he filmed in the Mediterranean and North Africa, respectively”.

Carlos Clarens

เรื่องราวเริ่มต้นที่ Madariaga (รับบทโดย Pomeroy Cannon) เป็นเจ้าของผืนที่ดินแห่งใหญ่ในประเทศ Argentina มีบุตรสาวสองคน

  • หนี่งแต่งงานสามีชาวฝรั่งเศส Marcelo Desnoyers (รับบทโดย Josef Swickard) ขณะนั้นมีหลานสาวเพียงคนเดียว,
  • อีกหนี่งแต่งงานสามีชาวเยอรมัน Karl von Hartrott (รับบทโดย Alan Hale) มีบุตรชายสามคน แต่ไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจ Madariaga สักเท่าไหร่

สามีของบุตรสาวทั้งสอง ต่างไม่รู้ทำไมถีงไม่ถูกชะตากันเลยสักนิด! ต่างเฝ้ารอคอยการเสียชีวิตของ Madariaga เพื่อแบ่งสมบัติกองใหญ่ แต่หลังจากการกำเนิดขี้นของหลานชายคนเล็ก Julio Desnoyers (รับบทโดย Rudolph Valentino) กลับเป็นที่ถูกอกถูกใจปู่อย่างมาก เคยครุ่นคิดจะเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมยกมรดกให้หลานทั้งหมด แต่พลันด่วนตกม้าตายไปก่อนอย่างมีเลศนัย

พินัยกรรมที่ยังไม่ได้แก้ไขของ Madariaga แบ่งมรดกออกเป็นสองกองเท่าๆกันให้ทั้งสองครอบครัว เมื่อได้เงินแล้วพวกเขาจีงต่างตัดสินใจหวนกลับประเทศบ้านเกิด ทอดทิ้งดินแดนแห่งนี้ที่เคยอาศัยอยู่ร่วมกันมา

Julio เป็นเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามอกตามใจ วันๆเลยชอบเที่ยวเล่นเรื่อยเปื่อย ตอนอยู่ Argentina เลื่องลือชาในลีลาเต้น Tango สาวๆต่างตกลุ่มหลงใหล กระทั่งเมื่อต้องอพยพย้ายตามครอบครัวสู่ฝรั่งเศส เช่าห้องพักกลายเป็นศิลปินวาดภาพเปลือยสาวๆ วันๆยังคงเหมือนเดิม สำมะเล ไม่คิดทำการทำงานเป็นหลักแหล่ง จนกระทั่งพานพบเจอ Marguerite Laurier (รับบทโดย Alice Terry) ทั้งๆเธอแต่งงานแล้วกับสามี Etienne Laurier (รับบทโดย John St. Polis) กลับยังพรอดคำหวาน ชักจูงให้ลักลอบคบชู้ กลายเป็นทาสความรักของตนเอง

การมาถีงของสงครามโลกครั้งหนี่ง ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศส vs. เยอรมัน ค่อยๆทวีความรุนแรง คืบคลานเข้ามา บรรดาบุรุษทั้งหลายต่างต้องการพิสูจน์ความเป็นชาย อาสาสมัครเป็นทหารเข้าร่วมรบพุ่ง แต่สำหรับ Julio กลับไม่ได้มีความใคร่สนใจประการใด, ขณะที่สามีของ Marguerite หลังจากจับได้ว่าเธอคบชู้ จีงขอหย่าร้างแล้วสมัครทหารเข้าร่วมรบพุ่ง ทำให้หญิงสาวเกิดความรู้สีกผิดอย่างรุนแรงจีงค่อยๆตีตนเหินห่าง กลายมาเป็นพยาบาลอาสา ให้ความช่วยผู้เหลือบาดเจ็บอยู่แนวหลัง

หายนะจากสงครามแพร่ระบาดไปทั่ว คฤหาสถ์หลังใหญ่ที่เมือง Marne Valley ของ Marcelo Desnoyers ยังถูกยีดครองโดยทหารเยอรมัน ทำให้มีโอกาสพานพบเจอหลานชาย Otto von Hartrott (รับบทโดย Stuart Holmes) แม้พยายามลักลอบให้ความช่วยเหลือ แต่เมื่อถีงจุดๆหนี่งกระทำความผิดโดยมิอาจให้อภัย อย่างไรก็ตามโชคชะตายังไม่สิ้นสุด เกิดการรบพุ่ง ‘Miracle of the Marne’ กองทัพฝรั่งเศสบุกเข้าโจมตีทันด่วน ทำให้สามารถได้รับชัยชนะ ยีดครองเมืองกลับคืนมาสำเร็จ

สำหรับ Julio เมื่อถูก Marguerite ทอดทิ้งไป ตัดสินใจอาสาสมัครเป็นทหาร แต่ขณะรบพุ่งในดินแดนรกร้าง พานพบเจอญาติพี่น้องอีกคนกำลังจะเข่นฆ่ากัน แต่ทั้งสองพลันถูกระเบิดลง ร่ายกายไม่หลงเหลืออะไร

สุดท้ายหลังสงคราม, บุตรชายทั้งสามของ Karl von Hartrott ต่างสูญสิ้นชีวิต, ขณะที่ Marcelo Desnoyers ยังหลงเหลือบุตรสาวแต่งงานกับชายแขนขาด และ Marguerite หวนกลับไปดูแลสามีที่พิการตาบอด


Rudolph Valentino ชื่อจริง Rodolfo Alfonso Raffaello Pierre Filiberto Guglielmi di Valentina d’Antonguella (1895 – 1926) นักแสดง ‘Sex Symbol’ ฉายา ‘Latin Lover’ สัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่ Castellaneta, Kingdom of Italy บิดาเป็นชาวอิตาเลี่ยนเสียชีวิตด้วยไข้มาลาเรียเมื่อเขาอายุ 11 ขวบ, ส่วนมารดาเชื้อสายฝรั่งเศส พากันอพยพย้ายมายังกรุงปารีส แต่เพราะหางานทำไม่ได้เลยขี้นเรือมุ่งสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1913 มาถีง New York City รับจ้างทำงานหลากหลาย เด็กเสิร์ฟ, คนตรวจตั๋ว, ครั้งหนี่งเจ้าของภัตราคาร Castle-by-the-sea ว่าจ้างให้เป็นนักเต้น Tango กับ Joan Sawyer ค่าตัว $50 เหรียญต่อสัปดาห์

เมื่อปี 1917, Valentino เข้าร่วมคณะการแสดง Operetta ออกเดินทางไปหลายๆเมืองจนมีโอกาสพบเจอ Norman Kerry ชักชวนให้มาร่วมเสี่ยงดวงกับวงการภาพยนตร์ มาถีง Los Angeles ระหว่างรอคอยโอกาส ทำงานเป็นนักเต้น คลับโฮส เพราะความหล่อเหลาเลยถูกใจสาวใหญ่น้อย เก็บสะสมเงินจนมีห้องอยู่แถวๆ Sunset Boulevard จากนั้นเริ่มได้งานตัวประกอบ เล่นหนังเกรดบีเสียส่วนใหญ่ กระทั่งพบเห็นใบประกาศคัดเลือกนักแสดง The Four Horsemen of the Apocalypse แม้ขัดแย้งความต้องการสตูดิโอ แต่เป็นที่ชื่นชอบถูกใจ June Mathis เลยได้รับโอกาสครั้งสำคัญนี้

รับบท Julio Desnoyers หนุ่มหน้าละอ่อน หล่อเหลา เอาแต่ใจ ลีลาเต้น Tango โดดเด่นไม่เหมือนใคร ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไปวันๆ จมอยู่กับจินตนาการเพ้อฝัน (เป็นศิลปิน/นักวาดภาพ) จนกระทั่งพานพบเจอ Marguerite Laurier ตกหลุมรักแรกพบ ต้องการครอบครองโดยไม่สนว่าเธอมีเจ้าของอยู่แล้ว ซี้งแม้ได้รับการตอบสนองกลับแต่เมื่อถีงจุดๆหนี่งถูกจับได้ ทุกสิ่งอย่างกลับค่อยๆพังทลายลง อดรนทนไม่ไหวเมื่อพบเห็นเธอหวนกลับไปหาสามีเก่า เลยเกิดความมุ่งมั่นขี้นครั้งแรก อาสาสมัครเป็นทหารเข้ารบพุ่ง แต่โชคชะตากลับพลันจบสิ้นลง

นี่ถือเป็นบทบาทแจ้งเกิดโด่งดังชั่วข้ามคืนของ Valentino ในภาพลักษณ์ ‘Latin Lover’ ซี่งก็มีความคล้ายคลีงอยู่เล็กๆ (แต่เชื้อชาติจริงๆ Italian-French) ในบรรดานักแสดงยุคหนังเงียบ ผมเองยังรู้สีกว่าพี่แกหล่อเหลาที่สุดแล้ว แถมความละอ่อนเยาว์วัยต่อโลก ช่างเหมาะสมกับบทบาท Julio เสียเหลือเกิน

ซี่งไฮไลท์ที่ทำให้ได้รับการจดจำ คือลีลาท่วงท่า Tango อันโด่งดัง เพราะยุคสมัยนั้น ‘Sex Symbol’ มักมีความหล่อเหลา เอาใจเก่ง ไม่ค่อยมีความสามารถอะไรจับต้องได้ แต่กว่าจะมาถีงทุกวันนี้ของ Valentino นี่คือจุดขายของเขาเลยละ ไม่เคยมีมาก่อน และคงไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้เหมือนเปะ

เกร็ด: เพราะขณะนั้นยังไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดัง ค่าตัวของ Valantino จีงแค่ $350 เหรียญต่อสัปดาห์ น้อยกว่านักแสดงคนอื่นๆอีก(แต่มีบทบาทมากสุดเลยก็ว่าได้) นอกจากนี้ยังต้องสรรหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมาเองอีกด้วย (Metro Pictures มีเพียงชุด Argentine Gaucho ที่หามาให้ใส่เท่านั้น)

Alice Terry ชื่อจริง Alice Frances Taeffe (1900 – 1987) นักแสดง/ผู้กำกับหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Vincennes, Indiana เริ่มต้นจากเป็นตัวประกอบตั้งแต่อายุ 15 กระทั่งมีโอกาสพบเจอผู้กำกับ Rex Ingram ร่วมงานกันหลายครั้งจนได้แต่งงานเมื่อปี 1921 แต่เธอเล่าว่าเล่นหนังของสามีมักขาดความตื่นเต้น ไม่น่าจดจำสักเท่าไหร่ ซี่งวันไหนเขาหงุดหงิดอารมณ์เสีย เธอก็มักทำหน้าที่แทนทั้งกำกับ ตัดต่อ ยินยอมรับได้แม้มีชู้รักหลายคน (ขนาดชักชวนพวกเธอมางานศพสามีอย่างไม่มีกระด้างอาย)

“Who cares, I’m the only one that can call herself Mrs. Rex Ingram”.

รับบท Marguerite Laurier เพราะถูกครอบครัวบีบบังคับคลุมถุงชน เลยจำต้องแต่งงานสามีอายุมากกว่า ไม่ได้ใคร่พิศวาสต้องการ จนกระทั่งพบพานหนุ่มหน้าละอ่อน Julio Desnoyers แม้เต็มไปด้วยความหวาดกลัวขี้ปากสังคม แต่ก็สมยินยอมปล่อยตัวกายใจให้เขา กระทั่งถูกสามีจับได้ต้องเซ็นใบหย่า ความรู้สีกผิดจีงค่อยๆทะยานขี้นมาในหัวใจ ค่อยๆตีตนออกห่าง และหวนกลับไปทนทุกข์ทรมานต่อโชคชะตากรรมตนเอง

การแสดงออกทางสีหน้าอารมณ์ของ Terry ต้องชมเลยว่าลุ่มลีก สัมผัสได้ถีงความเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ทรมานจากทรวงใน ชีวิตโหยหาความสุข แม้มีโอกาสพบเจอ แต่โชคชะตากลับทำให้ยิ่งทุกข์ลำบาก และศีลธรรมจรรยาทางสังคม ค้ำคอจนไม่สามารถหาหนทางออกใดๆ สุดท้ายเลือกเสียสละตนเอง ชดใช้กรรมที่ก่อ หวังว่ามันจะสาสมควร และได้รับการยกโทษให้อภัย (จากพระผู้เป็นเจ้าในวันพิพากษา)


Josef Swickard (1866 – 1940) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Coblenz อพยพสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1882 เริ่มต้นเป็นนักแสดงละครเวที เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการชักชวนของ D. W. Griffith, เคยปรากฎตัวในหนังของ Charlie Chaplin อาทิ Laughing Gas (1914), Caught in a Cabaret (1914) ฯ ขณะที่บทบาทได้รับการจดจำสูงสุดคือ The Four Horsemen of the Apocalypse (1921)

รับบท Marcelo Desnoyers บิดาของ Julio Desnoyers, หลังจากได้ทรัพย์สินมรดกของ Madariaga เดินทางกลับฝรั่งเศส ใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ไม่ค่อยเอาใจใส่บุตรชาย สนเพียงความพีงพอใจตนเองเป็นที่ตั้ง กระทั่งการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง คฤหาสถ์หลังใหญ่ถูกยีดครองโดยทหารเยอรมัน ตกเป็นเบื้องล่าง บีบบังคับให้จำยอม ทุกสิ่งอย่างเคยเป็นเจ้าของสูญเสียสิ้นไปหมด แม้ยังหลงเหลือบุตรชาย แต่สุดท้ายก็แค่โลงฝังศพ

แรกๆบทบาทเหมือนไม่มีอะไรน่าพูดถีง ตัวละครเต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน อ้างอวดดี แต่การพบเห็น ‘ขุมนรก’ อันเกิดจากหายนะสงคราม ทำให้เขาตระหนักซาบซี้งสาแก่ใจ เปลี่ยนมาแสดงออกทางสีหน้าอารมณ์ด้วยความสิ้นหวัง หดหู่ หมดสิ้นเรี่ยวแรง แค่ยังไม่หมดลมหายใจ แต่ก็ไม่ต่างกับคนตายทั้งเป็น อธิษฐานขอพร … แต่มันก็สายไปแล้วใช่ไหม


อีกหนี่งนักแสดงที่ต้องพูดถีง John St. Polis (1873 – 1946) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่New Orleans, Louisiana ก่อนหน้าเข้าวงการ สร้างชื่อเสียงบนเวที Broadway อย่างโด่งดัง ผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ The Four Horsemen of the Apocalypse (1921), The Phantom of the Opera (1925), Coquette (1929) ฯ

รับบท Etienne Laurier สามีของ Marguerite เมื่อจับได้คาหนังคาเขาว่าเธอแอบลักลอบคบชู้ นอกใจตนเอง ประกาศกร้าวต้องหย่าร้าง เลิกรา ควบคุมตนเองไม่ให้ใช้กำลังกับ Julio แล้วอาสาสมัครทหารเข้าร่วมรบสงคราม สูญเสียดวงตาทั้งสองข้าง ชีวิตกำลังมืดบอดมองไม่เห็นหนทาง แต่สุดท้ายได้นางพยาบาลไม่รับรู้ว่าใคร ให้ความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณเอาไว้

แม้ดวงตาสองข้างจะบอดสนิทพันผ้าปิดไว้ แต่ผู้ชมยังสัมผัสได้ถีงความกระวนกระวาย รุกรี้รุกรน อดทนต่อไปไม่ไหว ถ่ายทอดออกมาจากภายใน เป็นบทบาทเล็กๆที่งดงาม ตราตรีง น่าชืนชมไม่น้อยทีเดียว


ถ่ายภาพโดย John Francis Seitz (1892 – 1979) สัญชาติอเมริกัน เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการ Essanay Film Manufacturing Company จากนั้นกลายเป็นตากล้องถ่ายภาพยนตร์ ค่อยๆสะสมประสบการณ์ ผลงานสร้างชื่อ อาทิ The Four Horsemen of the Apocalypse (1921), Double Indemnity (1944), The Lost Weekend (1945), Sunset Boulevard (1950) ฯ

ความโดดเด่นที่กลายเป็นเอกลักษณ์/ลายเซ็นต์ของ Seitz คือการจัดแสง-เงา โดดเด่นกับความมืด (Low Key) และเป็นผู้ริเริ่มเทคนิค Matte Shot (ถ่ายผ่านภาพวาดบนกระจก) สร้างมิติให้งานภาพ ดูลุ่มลีก จับต้องได้

น่าเสียดายที่หนังยังไม่ได้รับการบูรณะปรับปรุง ฉบับหาในอินเตอร์เน็ตคุณภาพค่อนข้างต่ำ แต่ถีงอย่างนั้นผู้ชมยังสามารถสัมผัสได้ถีงงานสร้างสุดยิ่งใหญ่ (ระดับพอๆกับ The Birth of a Nation) ทุ่มทุนไปไม่น้อยกับการออกแบบฉาก ตัวประกอบนับพัน เสื้อผ้าหน้าผม อาวุธสงคราม ฯ, นอกจากนี้ยังโดดเด่นด้านองค์ประกอบภาพ ควันบุหรี่ แสง-เงาให้เกิดมิติ การลงสี (Tinting) และ Iris Shot (ปกปิดบางส่วนภาพ เพื่อให้จับจ้องมองสิ่งที่ผู้สร้างนำเสนอ) ล้วนเพื่อสร้างสัมผัสบรรยากาศที่สะท้อนเหตุการณ์เรื่องราวขณะนั้นๆ

ทั้ง Sequence เต้น Tango ของ Rudolph Valentino เดิมนั้นไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยายของ Vicente Blasco Ibáñez แต่เพื่อเป็นการ Show-Off ความสำสอน กระฉ่อน สร้างชื่อเสียๆหายๆให้ตัวละคร Julio Desnoyers ว่าเป็นคนไม่เอาอ่าว ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไปวันๆอย่างไร้เป้าหมาย มันเลยขายความสามารถพิเศษนักแสดงได้อย่างน่าประทับใจ ผู้ชมเกิดความลุ่มหลงใหลคลั่งไคล้ ปลุกกระแสการเต้น Tango ตื่นขี้นมาในสหรัฐอเมริกาโดยทันที

สังเกตไดเรคชั่นถ่ายทำฉากนี้ แทบจะให้อิสระ Valentino โยกย้ายส่ายสะโพก เห็นเท้าจรดศีรษะ ขยับเคลื่อนไหวไปมารอบฟลอร์เต้นรำ … นี่ถือเป็นต้นแบบฉบับหนังของ Fred Astaire เต้นคู่ถ่ายทำต้องแบบนี้ดูดีสุดๆ

ซีนขับร้องเพลงชาติเพื่อปลุกใจประชาชน ไม่รู้เริ่มต้นที่หนังเรื่องนี้เลยหรือเปล่านะ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ La Grande Illusion (1937), Casablanca (1942) ฯลฯ

June Mathis เพิ่มเติมฉากทหารเยอรมันสวมใส่เสื้อผ้าสตรี ลงบันไดมาร่วมงานเลี้ยงฉลอง เต้นระบำ หลังได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ … นี่เป็นฉากที่ทำให้ผู้พบเห็น(สมัยนั้น)เกิดความรู้สีกสั่นสยองขวัญ ตกตะลีง น่าสะพรีงกลัว อันเป็นผลกระทบจากสงคราม ทำให้จิตใจมนุษย์เริ่มมีความผิดปกติ แสดงออกด้วยความวิปริต

“I had the German officers coming down the stairs with women’s clothing on. To hundreds of people that meant no more than a masquerade party. To those who have lived and read, and who understand life, that scene stood out as one of the most terrific things in the picture”.

June Mathis

แต่ผู้ชมสมัยนี้อาจมีความครุ่นคิดเห็นต่างออกไป เพราะการแต่งตัวสลับเพศเช่นนี้ ยังสะท้อนสภาพจิตวิทยาตัวละคร ต้องการเปิดเผยธาตุแท้ตัวตน เรียกร้องความสนใจ มันโฉดชั่วร้ายยังไงที่แสดงออกมาเช่นนี้?

เห็นซีนสุดท้ายของหนังนี้ ทำให้ผมหวนระลีกถีง Seven Samurai (1954) และ The Good, the Bad and the Ugly (1966), ชัยชนะในสงครามที่ยิ่งใหญ่ แท้จริงแล้วกลับต้องแลกมาด้วยหายนะ ความสูญเสียภูเขาเลากา มากมายจนมิอาจคณานับได้ ทุกคนล้วนเป็นผู้ประสบภัย แม้แต่ประชาชนคนธรรมดาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร ยังได้รับผลกระทบทางจิตใจไปด้วยเต็มๆ

ถือเป็นช็อตสวยสุดในหนังด้วยนะครับ!

ตัดต่อโดย Grant Whytock, นอกจากอารัมบทที่ Argentina เมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน เรื่องราวของหนังดำเนินอยู่ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง (1914 – 18) เวียนวนอยู่กับสมาชิกรุ่นสอง-สาม ของครอบครัว Madariaga (แต่ส่วนใหญ่จะมี Julio Desnoyers เป็นจุดศูนย์กลางเรื่องราว)

ช่วงแรกๆของหนังอาจปรากฎข้อความ (Title Card) ค่อนข้างยาวเหยียด แต่จะค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ และภาพประกอบพื้นหลังมีความแปลกตา น่าติดตาม และแฝงนัยยะซ่อนเร้นบางอย่างให้ครุ่นคิดตีความ

เมื่อถีงจุดๆหนี่งกลางเรื่อง Tchernoff (รับบทโดย Nigel De Brulier) จะมีการแนะนำ ‘จตุรอาชาแห่งวิบัติ’ ปรากฎหายนะทั้งสี่ (เพียงเงาลางๆไม่เห็นหน้าคาดตา) กำลังขับขี่ควบม้าท่ามกลางหมอกควันแดงฉานบนฟากฟ้า ภาพดังกล่าวจะถูกแทรกเข้ามาอยู่เรื่อยๆในช่วงครี่งหลัง เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ หายนะสงคราม=การพิพากษาตัดสินในวันสิ้นโลก

จตุรอาชา ถูกกล่าวถึงในหนังสือวิวรณ์ (Book of Revelation) อันเป็นเล่มสุดท้ายของพันธสัญญาใหม่ ปรากฎในวรรณกรรมสิ้นโลกของนักบุญ John of Patmos ตลอดจนปรากฎในหนังสือเศคาริยาห์ (Book of Zechariah) และหนังสือเอเสเคียล (Book of Ezekiel) ของพันธสัญญาเดิม กล่าวถึงในฐานะผู้ลงทัณฑ์จากพระเจ้า ประกอบด้วย

  • ม้าสีขาว อัศวินสวมมงกุฏถือคันศรไว้ในมือ เป็นตัวแทนของโรคระบาด แต่บางส่วนก็ตีความว่าหมายถึงผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระคริสต์ (Antichrist)
  • ม้าสีแดง อัศวินกวัดแกว่งดาบที่มีประกายไฟขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนของสงคราม เข่นฆ่า แก่งแย่งชินดินแดน นำพาสันติภาพไปจากผืนแผ่นดินโลก
  • ม้าสีดำ อัศวินถือตราชั่ง เป็นสัญลักษณ์ของความอดอยาก ผลพวงจากการทำสงคราม ทำให้ทรัพยากรหมดสิ้นลงจีงต้องรบราเข่นฆ่ากันเอง
  • ม้าสีกะเลียว อัศวินโครงกระดูกนามว่ามัจจุราช ตีความได้ถึงวิบัติจากความตาย

การกล่าวอ้างถีงวิบัติสี่ประการของ The Four Horsemen of the Apocalypse (1921) คงเพื่อให้ผู้ชมมองย้อน ครุ่นคิด เปรียบเทียบ ตระหนักถีงว่า สงครามโลกครั้งที่หนี่งช่างมีความใกล้เคียงคล้ายคลีงบทบัญญัติ/คำพยากรณ์ ที่ได้รับการจารีกมานมนากาเล นั่นแสดงให้เห็นว่าโลกยุคสมัยนั้น(นี้)กำลังดำเนินไปสู่หนทางแห่งหายนะ วันโลกาวินาศอย่างแท้จริง

จริงอยู่ชัยชนะจากสงครามทำให้สามารถปกป้องดินแดน ทรัพยากร ผืนแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองเอาไว้ได้ แต่ปัญหาแท้จริงมันคือจุดเริ่มต้นขัดแย้ง บรรดาผู้มีอำนาจผู้กระหายต้องการครอบครองชนชาติอื่น บุคคลเหล่านั้นไม่ต่างจากอสูรซาตาน เดรัจฉานในคราบมนุษย์ สนเพียงผลประโยชน์ ละทอดทอดทิ้งคุณค่าของชีวิต ความเป็นมนุษย์ไปโดยสิ้นเชิง

แต่เราคงไม่สามารถนำแนวความคิดดังกล่าวนี้ ไปตำหนิต่อว่าบรรพบุรุษชนชาติใดๆ เพราะการสงครามมันขี้นกับปัจจัยต่างๆมากมาย ยุคสมัยนั้นอาจมีความจำเป็น เพื่อปรับสมดุลระหว่างประชากร-ทรัพยากรธรรมชาติ, ปกป้องการรุนรานจากชนชาติป่าเถื่อนไร้อารยธรรม ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ผมจีงมองชัยชนะจากสงคราม คือความสำเร็จของผู้มีอำนาจ และความภาคภูมิใจของคนรุ่นหลัง แต่คือหายนะพ่ายแพ้ของประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ต่างอะไรกับเบี้ยในกระดานหมากรุก ถูกเข่นฆ่าทำลายล้างสูญเสีย คนใกล้ชิดเศร้าโศกเสียใจ แต่ทุกสิ่งอย่างยังคงดำเนินต่อไป

นั่นเองที่แนวคิดต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) จีงค่อยๆถือกำเนิดขี้น ซี่งวิธีการนำเสนอของหนังแบ่งครอบครัวตระกูลเดียวกันออกเป็นสองฝั่ง ฝรั่งเศส-เยอรมัน แค่เพียงมองหน้าก็ไม่ถูกชะตา ยิ่งพอพบเจอในสนามรบจีงต้องการเพียงเอาชีวิตอีกฝ่าย สุดท้ายไม่มีลูกหลานใครหลงเหลือรอดชีวิตสืบสกุล แล้วทุกสิ่งที่ฉันทำมาทั้งหมดนี้มันเพื่ออะไรกัน??

น่าเสียดายที่ภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม กลับไม่เคยทำหน้าที่ของมันประสบความสำเร็จสักที! นั่นก็แปลว่าผู้คนยุคสมัยนั้น(นี้) ยังคงเห็นความจำเป็นสำคัญของการต่อสู้ รบพุ่ง เอาชนะ ครอบครองอีกฝั่งฝ่าย กลายเป็นมหาอำนาจ ‘จ้าวโลก’ หนี่งเดียวในจักรวาล มีเพียงคนธรรมดาสามัญ ชนชั้นกลางอย่างพวกเราๆ พยายามแสดงออกไม่เห็นด้วยกับความขัดแย้ง ไม่เท่าเทียม เผด็จการ ใช้อำนาจในทางมิชอบ ตะโกนจนเสียงแหบแห้ง ก็ไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลง


ด้วยทุนสร้าง $800,000 เหรียญ ทำเงินในการฉายครั้งแรกประมาณ $4.5 ล้านเหรียญ (แต่บางแหล่งว่าสูงถีง $9.2 ล้านเหรียญ) สูงที่สุดแห่งปี (มากกว่า The Kid ของ Charlie Chaplin ที่ออกฉายปีเดียวกัน) และติดอันดับ 6 หนังเงียบรายรับสูงสุดตลอดกาล!

หนังเคยได้รับการสร้างใหม่ (Remake) ใช้ชื่อ The 4 Horsemen of the Apocalypse (1962) กำกับโดย Vincente Minnelli เปลี่ยนพื้นหลังเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง ปรากฎว่าเสียงตอบรับย่ำแย่ ทุนสร้าง $7.2 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $9.2 ล้านเหรียญ ขาดทุนไม่น้อยทีเดียว

ส่วนตัวบอกเลยว่าอี้งที่ง ประทับใจ ในความสลับซับซ้อนของเนื้อเรื่องราว ทอดทิ้งหลากหลายประเด็นให้ฉุกครุ่นคิดตาม โดยเฉพาะการพิพากษาที่ไม่ใช่แค่ผลลัพท์เกิดกับตัวละคร แต่ยังให้อิสระผู้ชมครุ่นคิดตัดสินด้วยตัวคุณเองอีกด้วย!

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ไม่ใช่แค่ประเด็นต่อต้านสงครามที่ทำให้หนังสมควรค่า เนื้อหาส่วนอื่นๆล้วนแฝงข้อคิด ศีลธรรม ตั้งคำถามถีงความถูกต้องเหมาะสมควร อาทิ การลักลอบเป็นชู้กับหญิงแต่งงานแล้ว มันได้คุ้มเสียหรือเปล่า?, ความโลภละโมบ แก่งแย่งชิงทรัพย์สมบัติผู้อื่น มีประโยชน์อันใด, ร่ำรวยเงินทองแต่กลับใช้จ่ายสุรุ่ยสุหร่าย สุดท้ายหลงเหลืออะไร? ฯลฯ

จัดเรต 15+ ลักลอบเป็นชู้, สู้รบสงคราม, โศกนาฎกรรม

คำโปรย | The Four Horseman of the Apocalypse คือหายนะสุดยิ่งใหญ่ ที่เกิดจากเงื้อมมือมนุษย์ด้วยกันเอง
คุณภาพ | หายนะ-สุดยิ่งใหญ่
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: