
The Go-Between (1971)
: Joseph Losey ♥♥♥♥
เด็กชายวัย 12-13 ขวบ อาสารับส่งจดหมาย ‘Go-Between’ ไปมาระหว่างพี่สาวเพื่อน Lady Trimingham (รับบทโดย Julie Christie) กับหนุ่มบ้านนอกคอกนา Ted Burgess (รับบทโดย Alan Bates) แต่ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
คำว่า ‘Go-Between’ แปลว่าไปมาระหว่าง บุคคลกลาง พ่อสื่อ-แม่สื่อ ในบริบทของหนังคือเด็กชายอายุ 12 ย่าง 13 มักถูกเรียกว่า Postman บางครั้งก็ Mercury (เทพเจ้าแห่งการส่งสาร, Messenger of the Gods) เพราะอยู่ในช่วงละอ่อนวัย ยังไม่รับรู้ประสีประสาว่าโดยหลอกใช้ แต่กำลังค่อยๆเปิดมุมมองโลกทัศน์ เรียนรู้จักรักแรกพบ เข้าใจวิถีทางของโลก ถึงอย่างนั้นช่วงท้ายกลับโดนบีบบังคับ พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นตราบาป (Trauma) ฝังลึกทรวงใน พอเติบใหญ่ก็ไม่สามารถก้าวข้ามผ่าน จนมิอาจแต่งงานครองคู่ผู้ใด (หรือจะมองว่ากลายเป็นเกย์ ก็ได้กระมัง)
ระหว่างรับชม The Go-Between (1971) ผมหวนระลึกนึกถึงภาพยนตร์ Atonement (2007) ของผู้กำกับ Joe Wright ช่างดูละม้ายคล้ายในความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัย 12-13 อาสารับส่งจดหมายรัก แล้วแอบเปิดออกอ่าน เกิดความครุ่นคิดจินตนาการ โดยไม่รู้ตัวคือต้นเหตุแห่งหายนะ และเหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นตราบาปฝังใจไม่รู้ลืมเลือน!
ถ้าผมไม่เคยรับชม Atonement (2007) เชื่อว่าน่าจะหลงใหลคลั่งไคล้ The Go-Between (1971) มากกว่าที่เป็นอยู่! เพราะภาพยนตร์คือสื่อแห่งความอยากรู้อยากเห็น (ไม่ต่างจากเด็กชาย-หญิง) การไม่สามารถคาดเดาอะไร ตอนจบจักสร้างความตกตะลึง อ้ำอึ้งทึ่ง จดจำไม่รู้ลืมเลือน (หรือถ้าเด็กเล็กรับชม ก็อาจกลายเป็นตราบาปฝังใจ)
ถึงอย่างนั้น The Go-Between (1971) ก็ยังเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์จากความไม่รู้เดียงสา หวนระลึกความทรงจำ (Nostalgia) กลิ่นอาย Impressionist รับอิทธิพลจากโคตรหนังสั้น A Day in the Country (1946), ความเลิศหรูของคฤหาสถ์หลังใหญ่ ชวนให้นึกถึง Last Year at Marienbad (1961), และเพลงประกอบของ Michel Legrand หลอกหลอน สั่นสะท้านทรวงใน
ก่อนอื่นขอกล่าวถึง L. P. Hartley ชื่อเต็ม Leslie Poles Hartley (1895-1972) นักเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้น สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Whittlesey, Cambridgeshire บิดาเป็นเจ้าของโรงงานก่ออิฐ (ถือเป็น Lower-Middle Class) ตั้งแต่เด็กค้นพบความชื่นชอบผลงานของ Edgar Allen Poe เริ่มหัดแต่งเรื่องสั้นตั้งแต่อายุ 11 ขวบ, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาสาสมัครทหาร เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ Norfolk Regiment แต่ไม่ได้เข้าร่วมรบเพราะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจอ่อนแอ, หลังสงครามเรียนจบเกียรตินิยมอันดับสอง สาขาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ Balliol College, Oxford ทำงานเป็นนักเขียน ตีพิมพ์บทความ เรื่องสั้นลงนิตยสาร Oxford Poetry, โด่งดังกับนวนิยายไตรภาค Eustace and Hilda (1944–47), The Go-Between (1953) และ The Hireling (1954) [สองเรื่องหลังเมื่อได้รับการดัดแปลงภาพยนตร์ สามารถคว้ารางวัล Palme d’Or]
สำหรับ The Go-Between ถือเป็นนวนิยายกึ่งๆอัตชีวประวัติ/ค้นหารากเหง้าของผู้แต่ง Hartley นำจากประสบการณ์เมื่อครั้นวัยเด็ก เคยมีโอกาสใช้ชีวิตช่วงวันหยุดฤดูร้อนยังคฤหาสถ์ของเพื่อนสนิท (Upper-Middle Class) ทำให้สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ เรียนรู้จักความแตกต่างระหว่างชนชั้นทางสังคม
I think that every writer has his own roots, which are in his own experience, and that the books which are most real to him are those which have arisen out of it. In my case, ‘The Go-Between’ is an attempt to recapture my own past, and to show it in its relation to the past of my country and my class.
L. P. Hartley
Hartley เริ่มเขียนนวนิยายเล่มนี้เมื่อตอนอายุ 50 ปลายๆ แต่ใช้เวลาเพียง 5 เดือน คงเพราะมีหลายสิ่งอย่างยังคงจดจำไม่รู้ลืมเลือน โดยเนื้อหาสาระหลักๆคือนำเสนอช่วงเวลาสูญเสียความไร้เดียงสา (loss of innocence) ซึ่งคงสะท้อนตัวเขาเองที่เคยหมดสิ้นความต้องการบางสิ่งอย่าง
The subject of ‘The Go-Between’ is the loss of innocence, and innocence is lost not only through knowledge, but also through desire. The novel is a study of desire, and of the destructive power of desire, particularly when it is forbidden or unfulfilled.
ชีวิตของ Hartley ไม่เคยแต่งงานสักครั้ง! แต่เห็นว่าเมื่อครั้นร่ำเรียนยัง Balliol College เคยสู่ขอแฟนสาว แต่เหมือนเธอจะไม่ตอบรับ นั่นอาจคือประสบการณ์เลวร้ายที่ทำให้เขาจดจำความเจ็บปวดไม่รู้ลืมเลือน เลยปฏิเสธความสัมพันธ์กับหญิงสาว … แล้วหันมามีรสนิยมรักร่วมเพศ (Homosexual) แม้เจ้าตัวไม่เคยเปิดเผยสู่สาธารณะ (เพราะสังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ) แต่ผู้อ่านสามารถพบเห็นความสองแง่สองง่ามซุกซ่อนอยู่ในแทบทุกผลงาน โดยเฉพาะนวนิยายเรื่องรองสุดท้าย The Harness Room (1971) ตั้งใจให้ออกมาเป็น ‘Homosexual Novel’
นวนิยาย The Go-Between ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์อย่างล้นหลาม ว่าสามารถสะท้อนจุดจบของยุคสมัย Victorian Era (1837-1901) โดยเฉพาะโครงสร้างดำเนินเรื่อง(ที่ใช้การเล่าย้อนอดีต Flashback)ถึงขนาดยกย่องว่า “a triumph of literary architecture” หลายๆนิตยสารยกให้คือหนึ่งในผลงานมาสเตอร์พีซแห่งวงการวรรณกรรมอังกฤษ
L.P. Hartley’s beautifully written novel is a masterpiece of subtle observation and inference, and of the art of knowing what to leave unsaid.
The Guardian
One of the great English novels of the twentieth century, ‘The Go-Between’ is a haunting exploration of love, class, and memory that still resonates today.
The Independent
Hartley’s novel is a perfect time capsule, capturing the rhythms and nuances of a vanished world with consummate skill and precision.
The Telegraph
สำหรับลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์นั้น เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1956 ตกเป็นของผกก. Anthony Asquith ก่อนเปลี่ยนมือมาโปรดิวเซอร์ Sir Alexander Korda มอบหมายหน้าที่ดัดแปลงบท Nancy Mitford คาดหวังนักแสดงนำ Alec Guinness ประกบ Margaret Leighton แต่ในความเป็นจริงแล้วเหมือนว่า Korda ไม่ได้เอาจริงเอาจังกับโปรเจคนี้นัก เฝ้ารอคอยที่จะทำกำไรจากการขายต่อลิขสิทธิ์เสียมากกว่า ความรู้ถึง L. P. Hartley
I was so annoyed when I heard of this that I put a curse on him and he died, almost the next morning.
L. P. Hartley หลังรับรู้ความตั้งใจของโปรดิวเซอร์ Sir Alexander Korda สาปแช่งจนอีกฝ่ายเสียชีวิตจริงๆเมื่อปี ค.ศ. 1956
Joseph Walton Losey III (1909-84) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ La Crosse, Wisconsin เป็นเพื่อนร่วมชั้นมัธยม Nicholas Ray, เข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ Dartmount College ก่อนเปลี่ยนมาสาขาการละคอน จากนั้นเขียนบท/กำกับละครเวทีที่ New York City ตามด้วย Broadway เคยเดินทางสู่สหภาพโซเวียตช่วงปี ค.ศ. 1935 มีโอกาสร่ำเรียนภาพยนตร์จาก Sergei Eisenstein รวมถึงได้พบเจอ Bertolt Brecht และ Hanns Eisler, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, และกำกับหนังเรื่องแรก The Boy with Green Hair (1947)
ด้วยความสนิทสนมกับผู้คนฝั่งซ้าย เคยสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงร่วมงานสนิทสนม Bertolt Brecht และ Hanns Eisler ช่วงต้นทศวรรษ 50s จึงถูกแบน Blacklist จาก House Un-American Activities Committee (HUAC) ไม่มีเงิน ไม่งาน เลยต้องอพยพย้ายสู่กรุง London เมื่อปี ค.ศ. 1953 กำกับหนังอังกฤษเรื่องแรก The Sleeping Tiger (1954), สำหรับผลงานที่ทำให้กลายเป็นตำนานประกอบด้วย The Servant (1963), King and Country (1964), Accident (1967), The Go-Between (1971) และ Monsieur Klein (1976)
ตั้งแต่เสร็จจาก The Servant (1963) ผกก. Losey ก็ได้หมั้นหมายไว้ล่วงหน้ากับ Pinter ว่าต้องการดัดแปลงนวนิยาย The Go-Between เชื่อว่าอีกฝ่ายต้องมีความสนใจอย่างแน่นอน
What attracted me to ‘The Go-Between’ was the sense of nostalgia and the idea of memory as something that can be both beautiful and painful. It’s a theme that has always fascinated me, and I thought the novel would be a perfect vehicle for exploring it on film.
I was struck by the way that L.P. Hartley used the device of the go-between to explore the complexities of social class and hierarchy in English society. This was something that was very interesting to me, and I knew that Harold Pinter would be able to capture these nuances in his screenplay.
Joseph Losey
หลังสามารถซื้อต่อลิขสิทธิ์ ผกก. Losey พยายามมองหาผู้จัดจำหน่าย แต่กลับไม่มีสตูดิโอแห่งไหนให้ความสนใจ ครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่เสร็จสรรพก็ยื่นบทของ Pinter นำเสนอไปทุกครั้ง
The company had cold feet about the story. It was too tame for the pornographic age. As one man put it, who would be interested in a bit of Edwardian nostalgia? That’s idiotic. It is certainly not a romantic or sentimental piece. It has a surface and a coating of romantic melodrama, but it has a bitter core.
สุดท้ายแล้วหนังเป็นการร่วมทุนสร้างระหว่างสตูดิโอน้องใหม่ของอังกฤษ EMI Film ร่วมกับ MGM และอีกสองสตูดิโอสัญชาติอิตาเลี่ยน Robert et Raymond Hakim Productions และ Vides Cinematografica ให้ความสนใจเพราะนักแสดงนำ Julie Christie ถือว่ามีชื่อเสียงพอสมควร
ในส่วนของการดัดแปลงบทภาพยนตร์ Pinter มีความซื่อตรงต่อต้นฉบับมากๆ แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาอะไร เพียงปรับโครงสร้างการนำเสนอจากที่เคยเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนอดีต (Flashback) มาเป็นล่อหลอกผู้ชมด้วยเสียงบรรยายจาก แล้วค่อยกระโดดไปเฉลยเอาตอนจบ (Flash-Forwards)
When I write a screenplay, I’m always looking for the poetry in the material. In ‘The Go-Between,’ the poetry was already there in the novel. My job was to capture it and translate it to the screen.”
Harold Pinter
พื้นหลังช่วงวันหยุดฤดูร้อน ค.ศ. 1900 (ปีท้ายๆยุคสมัย Victorian Era), เรื่องราวของเด็กชาย Leo Colston (รับบทโดย Dominic Guard) ได้รับการชักชวนจากเพื่อนร่วมชั้น Marcus Maudsley ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนยังคฤหาสถ์ชนบท Melton Constable Hall ย่าน Norfolk มีความหรูหราใหญ่โต อาณาบริเวณกว้างขวาง คงมีกิจกรรมให้ทำมากมาย แต่ไม่ทันไร Marcus พลันล้มป่วยโรคหัด (Measles) ถูกกักตัวอยู่ในห้อง ทอดทิ้ง Leo อยู่ตัวคนเดียวไม่รู้จะทำอะไร
โชคดีว่า Leo มีความชื่นชอบพี่สาวสุดสวย Marian Maudsley (รับบทโดย Julie Christie) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง อาสารับ-ส่งจดหมายให้เพื่อนบ้าน Ted Burgess (รับบทโดย Alan Bates) โดยไม่รับรู้ตัวนั่นคือจดหมายรัก แต่ทั้งๆที่เธอถูกหมั้นหมายกับ Viscount Hugh Trimingham (รับบทโดย Edward Fox) ด้วยความไร้เดียงสาของเด็กชาย จึงไม่เข้าใจว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไร จนกระทั่งพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ
Julie Frances Christie (เกิดปี 1940) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chabua, Assam บิดาเป็นเจ้าของสวนชาใน British India พออายุหกขวบถูกส่งกลับมาเรียนหนังสือที่อังกฤษ ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าศึกษาต่อยัง Central School of Speech and Drama จากนั้นมีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ เคยเกือบได้เป็นสาวบอนด์คนแรกใน Dr. No (1962) แต่โปรดิวเซอร์บอกว่าเธอหน้าอกเล็กเกินไป, ภาพยนตร์แจ้งเกิด Billy Liar (1963), โด่งดังกับ Darling (1965)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actress, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Doctor Zhivago (1965), Fahrenheit 451 (1966), The Go-Between (1971), McCabe & Mrs. Miller (1971), Don’t Look Now (1973), Shampoo (1975), Hamlet (1996), Afterglow (1997), Finding Neverland (2004), Away from Her (2006) ฯลฯ
รับบท Lady Marian Maudsley พี่สาวคนโตของตระกูล Maudsley ได้รับการหมั้นหมายให้แต่งงาน Viscount Hugh Trimingham แต่เธอกลับตกหลุมรักหนุ่มบ้านนอกคอกนอก Ted Burgess พยายามแสวงหาโอกาสนัดหมาย เพื่อจะได้อยู่ร่วมรักสองต่อสอง ถึงอย่างนั้นพวกเขาต่างสำเนียกชนชาติพันธุ์ ปฏิเสธจะหนีตามกันไป เพราะรับรู้ว่าไม่มีทางหลบหนีพ้น ทำได้เพียงก้มหัวยินยอมรับโชคชะตากรรม
มีนักแสดงหลายคนที่ได้รับการติดต่อเข้าหา อาทิ Geneviève Bujold, Faye Dunaway, Elizabeth Taylor แต่ผู้กำกับ Losey ตัดสินใจเลือก Julie Christie เพราะความประทับใจผลงาน Darling (1965)
I think Julie is a wonderful actress, and I had always wanted to work with her. I was impressed by her performance in ‘Darling,’ and I thought she would be perfect for the role of Marian. She brought a lot of intelligence and sensitivity to the role, and she was always very professional and easy to work with. I think she gave one of the best performances of her career in ‘The Go-Between,’ and I feel very fortunate to have had the opportunity to work with her.
Joseph Losey
ภายนอกมีความร่าเริงสดใส เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ในสายตาของเด็กชายดูราวกับนางฟ้ามาจุติ ทั้งบุคลิก ท่าทางเคลื่อนไหว เพียงได้ยินเสียงของเธอทำให้ท้องฟ้าสว่างไสว โลกทั้งใบเบิกบาน แต่จิตใจเธอนั้นเปรียบดั่งคลื่นลมพายุคลั่ง เต็มไปด้วยความต้องการอันรุนแรงกล้า แต่เพราะไม่สามารถต่อต้านขัดขืนโชคชะตา จึงทำได้เพียงอดกลั้น อัดอั้น ปกปิดบังทุกสิ่งอย่างไว้ภายใน ไม่สามารถแสดงความเจ็บปวดรวดร้าวใดๆออกมา
Julie Christie gives a performance of great subtlety and intelligence as Marian, the beautiful and enigmatic woman who comes between the two boys. She is able to convey a complex mix of desire, regret, and pain with just a few simple gestures or expressions.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
Julie Christie, one of the screen’s most beautiful and accomplished actresses, is simply splendid as Marian. She communicates intelligence, great poise, and a deep emotional strain that suggest a woman who may be lying even when she’s telling the truth.
นักวิจารณ์ Vincent Canby
Julie Christie, one of the loveliest of all movie actresses, gives one of her best performances in ‘The Go-Between.’ She’s stunning as Marian, and she conveys both a kind of innocence and a worldly knowledge.
นักวิจารณ์ Pauline Kael
Christie โปรดปรานการร่วมงานผกก. Losey อย่างมากๆ ตั้งแต่อารมณ์ขัน บรรยากาศผ่อนคลาย แต่พร้อมผลักดันให้ตัวเธอและทีมงานกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ใส่ใจรายละเอียด เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมให้ผลงานทรงคุณค่า งดงามและมีความหมาย
Joseph Losey was one of the most fascinating people I have ever worked with. He had a great sense of humor, and he was always pushing us to try new things and take risks as actors. I felt very free and creative working with him, and I think that’s reflected in the film. He had a great eye for detail, and he was always striving to create something beautiful and meaningful.
Julie Christie
Sir Alan Arthur Bates (1934-2003) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Allestree, Derby บิดาเป็นนักเชลโล่ มารดาเล่นเปียโน จึงพยายามผลักดันบุตรชายร่ำเรียนดนตรีตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งอายุ 11 ค้นพบความสนใจด้านการแสดง โตขึ้นได้ทุนการศึกษา Royal Academy of Dramatic Art รุ่นเดียวกับ Albert Finney, Peter O’Toole, จากนั้นมีผลงานละครวที West End, ตามด้วยซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์เรื่องแรก The Entertainer (1960), แจ้งเกิดกับ Whistle Down the Wind (1961), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Running Man (1963), Zorba the Greek (1964), The Fixer (1968), Women in Love (1969), The Go-Between (1971), Gosford Park (2001) ฯ
รับบท Ted Burgess เกษตรกรหนุ่ม (ชนชั้น Working Class) หนวดครึ้ม หล่อล่ำ หุ่นเซ็กซี่ เลยมักถูกตีตราจากพวกผู้ดีว่าเหมือนสัตว์ร้าย (Beast) เป็นที่หมายปองของสาวๆ ใคร่อยากร่วมเพศสัมพันธ์ แต่เมื่อสบโอกาสเมื่อไหร่ นัดหมาย Lady Marian พบเจอพรอดรักกันบนโรงนา
Alan is a very intelligent actor. He has a sensitivity that is rare in a male actor, and an ability to make the smallest gesture significant. He’s also very masculine, and he has a kind of inner violence that he can express in his work. He was perfect for the role of Ted Burgess, because he could bring out all the contradictions and complexities of the character. He made him into a real person, not just a stereotype. I think his performance is one of the best things in the film.
Joseph Losey
ผมติดใจเรือนร่างกายของ Bates ระหว่างฉากว่ายน้ำ เหมือนว่าหนังพยายามทำให้เขาดูเซ็กซี่ มีความน่าหลงใหล (เป็นฉากที่แฝงนัยยะ Homosexual) บึกบึนกำยำ ลักษณะของ ‘Alpha Male’ แต่เมื่อพูดคุยเรื่องความรักกับเด็กชาย หรือถูกกระเซ้าเย้าแหย่สอบถามความหมาย ‘Spooning’ กลับเต็มไปด้วยความเหนียงอาย ร้อนรน ลุกขึ้นเดินไปเดินมา พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ เหล่านี้แสดงถึงความอ่อนไหว ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเข้มแข็งแกร่ง
เอาจริงๆบทบาทนี้มันก็ ‘stereotype’ ของคนชนชั้นทำงาน (Working Class) หนุ่มล่อล้ำ บ้าพลัง ตกหลุมรักคุณหนูไฮโซ แต่การแสดงของ Bates ใส่มิติให้กับตัวละครได้อย่างน่าประทับใจ ผู้ชมสัมผัสถึงความอ่อนไหว เปราะบาง รับรู้ขีดจำกัดของตนเอง … และที่สำคัญคือเปิดโลกทัศน์ทางเพศให้กับเด็กชาย ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
Alan Bates is superb as Ted Burgess, the farmer who sweeps Marian off her feet. He’s a rugged, passionate man who’s not afraid to take risks, and Bates gives him a deep sense of humanity and vulnerability. It’s a complex and powerful performance.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
Alan Bates gives a beautifully modulated performance as Ted Burgess, a man who understands his own limitations, but is not without courage.
นักวิจารณ์ Vincent Canby
Alan Bates plays Ted Burgess, the farmer who is both the sexual predator and the romantic hero of the movie. Bates is remarkable in the role; he makes Ted vulnerable and appealing without softening his coarseness or his predatory quality.
นักวิจารณ์ Pauline Kael
Dominic Guard (เกิดปี 1956) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London ทั้งบิดา-มารดาต่างเป็นนักแสดงละครเวที ส่งบุตรชายมาทดสอบหน้ากล้องแล้วได้รับบทนำ The Go-Between (1971) หลังจากนั้นก็พอมีผลงานแสดงประปราย อาทิ Picnic at Hanging Rock (1975), The Count of Monte Cristo (1975), Gandhi (1982) ฯ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2000 ถอนตัวจากวงการ หันมาเขียนหนังสือ และเป็นนักจิตวิทยาเด็ก (Child Psychotherapist)
รับบท Leo Colston เด็กชายผู้มีพลังพิเศษ สามารถเสกคาถา ร่ายคำสาป ให้เป้าหมายมีอันเป็นไปบางอย่าง ช่วงวันหยุดฤดูร้อนครบรอบวันเกิดอายุ 13 ได้รับชักชวนจากเพื่อนสนิทมาพักผ่อนยังคฤหาสถ์ Melton Constable Hall ทำให้มีโอกาสพบเจอ ตกหลุมรักแรกพบพี่สาวสุดสวย Lady Marian ยินยอมทำตามคำขอทุกสิ่งอย่าง กลายเป็นคนรับ-ส่งจดหมายให้กับ Ted Burgess แต่ไม่นานค้นพบว่าตนเองเพียงถูกหลอกใช้ ถึงอย่างนั้นเขาก็ค่อยๆเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างชนชั้น และต้องทนเห็นภาพบาดตาบาดใจ กลายเป็นสิ่งจดจำฝังลึกทรวงในไม่รู้ลืมเลือน
เกร็ด: ขณะที่ผู้รับบท Leo Colston วัยผู้ใหญ่นั้นคือ Sir Michael Redgrave
I think Dominic was a very remarkable boy, and a very gifted actor. He had a natural ability to understand the psychology of his character, and to convey his feelings without being overly dramatic. He had a subtle, understated way of performing that was perfect for the role of Leo. He was also very responsive to direction, and had a real commitment to the project. I think he was a joy to work with, and I’m very proud of the work we did together.
Dominic Guard
แม้ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดงมาก่อน แต่ Guard เป็นเด็กเฉลียวฉลาด อยากรู้อยากเห็น เต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง ความกระตือรือล้น ด้วยความช่างสังเกต เลยมีความอ่อนไหวต่อสิ่งต่างๆรอบข้าง แต่ไฮไลท์คือการเข้าถึงสภาพจิตวิทยาตัวละคร สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความสับสน เศร้าโศกเสียใจ โหยหาใครสักคน รวมถึงการถูกทรยศหักหลัง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า-ท่าทาง ออกมาได้อย่างลื่นไหลและเป็นธรรมชาติ
Dominic Guard, who plays the 13-year-old Leo, is wonderful. He radiates a quiet intelligence and an unassuming dignity that perfectly captures the character of Leo, a boy who is both observant and innocent, wise beyond his years yet still naive in many ways. Guard handles the role’s physical demands with grace, whether he’s swimming, cycling or simply walking in a way that suggests the awkwardness of adolescence. But it’s his emotional depth that truly impresses. He conveys Leo’s sadness, confusion and longing with such subtlety and nuance that it’s hard to believe he was only 14 at the time. His scenes with Julie Christie are particularly moving, as he conveys both his love for her and his growing sense of betrayal. Guard is a real discovery, and his performance is one of the many reasons why ‘The Go-Between’ is such a powerful and memorable film.
นักวิจารณ์จาก The Chicago Tribune
เอาจริงๆถ้า Guard ตัดสินใจเอาจริงเอาจังด้านการแสดง ผมเชื่อว่าสามารถโด่งดังค้างฟ้าระดับเดียวกับ Jean-Pierre Léaud ที่แจ้งเกิดจากเรื่อง The 400 Blows (1959) แต่น่าเสียดายที่เขาค้นพบความสนใจอื่นในชีวิต ซึ่งโดยไม่รู้ตัวอาจเพราะอิทธิพลจาก The Go-Between (1971) ก็เป็นได้
It was an incredible learning experience, and it opened up so many doors for me as an actor. Of course, it was also challenging at times, especially since the role of Leo was so complex and emotionally demanding. But I felt that I was in good hands with Joseph Losey and Harold Pinter, who were both incredibly supportive and helped me to find the truth of the character.
Looking back, I feel very fortunate to have been a part of such an important and enduring film.
Dominic Guard
ถ่ายภาพโดย Gerry Fisher (1926-2014) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เกิดที่กรุง London โตขึ้นได้เป็นพนักงานบริษัท Kodak, หลังอาสาสมัครทหารเรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าทำงานยัง Alliance Riverside Studios เริ่มจากเป็นเด็กตอกสเลท, ผู้ช่วยตากล้องที่ Wessex Films, ก่อนย้ายมา Shepperton Studios ควบคุมกล้อง Bridge on the River Kwai (1957), และได้รับโอกาสจากผู้กำกับ Joseph Losey ถ่ายทำภาพยนตร์ Accident (1967), The Go-Between (1971), Monsieur Klein (1976), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Aces High (1976), Highlander (1986), The Exorcist III (1990) ฯ
งานภาพของหนังจะมีความสว่าง สีสันสดใส เปร่งประกายแสงแดด (ตรงกันข้ามกับตอน Accident (1967) ที่ถ่ายทำในเงามืดแทบจะทุกช็อตฉาก) เพื่อสะท้อนความทรงจำวัยเด็ก เป็นช่วงเวลาที่ยังละอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาต่อทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นเพียงช่วงแทรกภาพอนาคต (หรือ Flash-Forwards) จะปกคลุมด้วยความมืดหมองหม่น เพราะตัวละครไม่สามารถก้าวข้ามผ่านตราบาป หมกมุ่นยึดติดอยู่กับปมจากอดีต
ความสดสว่างของหนังมอบสัมผัส Impressionist รับอิทธิพลมาเต็มๆจากโคตรหนังสั้น A Day in the Country (1946) ของผู้กำกับ Jean Renoir และความหรูหราของคฤหาสถ์หลังใหญ่ การจัดวางตำแหน่งตัวละคร ยังชวนให้นึกถึง Last Year at Marienbad (1961) ของผู้กำกับ Alain Resnais เช่นเดียวกัน
หนังปักหลักถ่ายทำอยู่จังหวัด Norfolk ติดชายฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษ โดยสถานที่หลักๆคือ Melton Constable Hall คฤหาสถ์ชนบทตั้งอยู่ยังหมู่บ้าน Melton Constable ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง Sir Christopher Wren (1962-1723) ในสไตล์ Elizabethan ก่อสร้างขึ้นช่วงปี ค.ศ. 1664-70 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของตระกูล Astley ที่มาตั้งถิ่นฐานระหว่าง ค.ศ. 1235-1948
ผกก. Losey เล่าถึงประสบการณ์ทำงานว่ามีความสนุกสนาน ครื้นเครง เป็นกันเอง “one of the happiest shoots I ever had” อาจเพราะนี่คือ ‘passion project’ ครุ่นคิดอยากสรรค์สร้างมานาน จึงเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และเมื่อเดินทางถึง Norfolk ก็ค้นพบว่าสามารถประหยัดงบประมาณได้มากๆ เพราะสถานที่แห่งนี้แม้ในทศวรรษ 70s แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมสักเท่าไหร่
Norfolk helped me a lot because Norfolk hasn’t changed. Most of the costumes were genuine. We made very few others, and we all lived in the house. They wore the costumes all the time, and ate, as well as acted in their costumes. Once you’ve got the exact house, accessories, costumes, something then springs to life.
Joseph Losey




จริงๆแล้วหนังล่อหลอกผู้ชมตั้งแต่ Opening Credit ด้วยการนำเสนอภาพพื้นหลัง หยาดฝนพรมลงบนกระจก(รถยนต์) แล้วมีเสียงบรรยายของชายสูงวัยดังขึ้น
The past is a foreign country. They do things differently there.
สำหรับคนรับชมหนังจบแล้วน่าจะคาดเดาได้ว่า เสียงบรรยายนั้นคือ(ชายสูงวัย) Leo Colston โดยเรื่องราวทั้งหมดคือการหวนระลึกความทรงจำ (Flashback) แต่วิธีการนำเสนอดังกล่าวมีความคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน จึงสามารถมองว่ามีการดำเนินเรื่องแบบปกติ (Linear Narrative) เป็นเส้นตรงไปข้างหน้าก็ได้เช่นกัน
แล้วทำไมต้องภาพหยาดฝน? เพราะมันคือความทรงจำที่ไม่ค่อยอยากหวนรำลึก แม้บางครั้งมีช่วงเวลางดงาม แต่ตอนจบกลับเต็มไปด้วยความเจ็บปวด คราบน้ำตา เศร้าโศกเสียใจ (ในวันที่ฝนพรำด้วยนะ)

ผลงานของผกก. Losey มักเต็มไปด้วยรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ โดยเฉพาะการจัดวางตำแหน่ง ทิศทางมุมกล้อง ระยะใกล้-ไกล ขยับเคลื่อนไหวเข้า-ออก ฯ ระหว่างเด็กๆทั้งสองกำลังละเล่นต่อสู้ ตำแหน่งที่พวกเขายืนอยู่ก็มีเสาแบ่งแยก (สถานะทางสังคม) จากนั้น Leo หันไปพบเห็นพี่สาวสุดสวย Lady Marian กล้องค่อยๆซูมเข้าหา พร้อมเสียงใครคนหนึ่งที่กำลังอ่านข้อความ “napping English” ช่างสอดคล้องภาพพบเห็นเสียจริง!


Atropa Belladonna คือพืชล้มลุกที่มีพิษร้ายแรง (Poisonous Plant) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (Nightshade) ถิ่นกำเนิดทวีปยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตก, ผลของมันทำให้เกิดภาพหลอน อาการเพ้อคลั่ง รับประทานมากอาจถึงตาย, ในปรับปราพื้นบ้านมักถูกนำมาทำยาพิษ เล่นแร่แปรธาตุ ส่วนประกอบเวทมนต์คาถา, ปัจจุบันถ้านำมาสกัดสาร Atropine กลายเป็นยาระงับประสาท หยุดยั้งอาการหลอดลมหดเกร็งในโรคหืด ไอกรน ฯ
เด็กๆทั้งสองออกวิ่งเล่นมาจนพบเห็น Atropa Belladonna ทั้งรู้ว่ามีพิษร้าย เป็นสิ่งอันตราย แต่ก็ยังก้าวข้ามผ่านโดยไม่หวาดกลัวเกรง นี่สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง Ted Burgess กับ Lady Marian รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง (บทเพลงเล่นของสูง, Big Ass)

ระหว่างแวะเวียนมาซื้อเสื้อผ้าในเมือง Leo มีโอกาสเยี่ยมชมมหาวิหารนอริช (Norwich Cathedral) เป็นอาสนวิหาร นิกาย Anglican ตั้งอยู่ที่เมือง Norwich, Norfolk เริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1096-1145 ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบ Romanesque (หรือเรียกว่า Norman Style) สร้างโดยบาทหลวง Herbert de Losinga
การแวะเวียนเข้าเยี่ยมชมมามหาวิหารแห่งนี้ สร้างความตื่นรู้ให้กับ Leo ตระหนักว่าตนเองมีความกระจิดริดกระจ้อยร่อย เพียงมนุษย์ตัวเล็กๆในจักรวาล ย่อมมีบางสิ่งอย่าง(พระเป็นเจ้า)ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าตัวเรา … นี่รวมถึงยุคสมัยก่อนที่ยังมีกฎกรอบข้อบังคับ ระบอบชนชั้นที่ไม่มีใครสามารถโค่นล้ม ปรับเปลี่ยนแปลง จำต้องศิโรราบให้กับวิถีทางสังคม


ครั้งแรกที่เด็กชาย(และผู้ชม)พบเห็นใครสักคนพูดคุยกับ Lady Marian ย่อมไม่สามารถตระหนักรับรู้ได้ว่าอีกฝ่ายคือใคร แต่จักความฉงนสงสัย อยากรู้อยากเห็น ก่อนค้นพบว่าเขาคือ Ted Burgess และเหตุผลที่เธอร้องขอให้เขาไปเที่ยวชมมหาวิหารนอริชเพียงลำพัง ก็เพื่อจะได้อยู่สองต่อสองกับชายคนรัก

นี่เป็นช็อตที่ทำให้ผมรู้สึกหวาดสะพรึง เพราะเด็กชาย Leo ถูกห้อมล้อม จับจ้องมอง ราวกับตัวตลกที่อยู่ในความสนใจของบรรดาผู้ดีมีสกุล สวมใส่ชุดเขียว สีของชนบท ท้องทุ่งกว้าง ต้นไม้ใบหญ้า (เพราะมีแต่ Leo ที่สวมใส่ชุดเขียว จึงมีความแปลกแยกจากใครอื่น) หรือคือธรรมชาติชีวิต(ของเด็กชาย)ที่ยังเยาว์วัย สดใส ไร้เดียงสา กำลังเรียนรู้ที่จะเติบโต เข้าใจวิถีอันซับซ้อนของผู้ใหญ่

ผกก. Losey เคยมีประสบการณ์จากตอนสรรค์สร้าง The Servant (1963) จึงมีเซ้นส์ค่อนข้างมากเกี่ยวกับฉากล่อแหลมทางเพศ (Homosexual) อย่างฉากเด็กๆมาว่ายน้ำเล่น จะมีขณะที่ Leo แอบจับจ้องมอง Ted Burgess ซึ่งหนังพยายามทำออกมาดูเหมือนแค่ความอยากรู้อยากเห็นตามประสาวัยแรกรุ่น แต่ต้นฉบับนวนิยายมีการใช้คำบรรยายเรือนร่างกาย ความบึกบึน ขนหน้าอก … ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะขบครุ่นคิดตีความไปเองนะครับ

ครั้งแรกที่ Leo กลายเป็น ‘Go-Between’ คือหลังจากเข้าร่วมพิธีมิสซาวันอาทิตย์ ช่วงระหว่างทางกลับมีโอกาสสนทนา Viscount Hugh ไหว้วานให้เขาส่งข้อความบอก Lady Marian ว่าเธอหลงลืมหนังสือสวดมนต์
รอยแผลเป็นบนใบหน้า Viscount Hugh น่าจะเกิดจากการดวลดาบต่อสู้ระหว่างรับราชการทหาร ทำให้ถูกปลดประจำการแล้วกลับมารักษาตัวที่บ้าน (ทีแรกผมครุ่นคิดถึงนัยยะ ‘แผลเก่า’ แต่ไม่น่าจะใช่) ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งกายภาพที่ติดตัวเขาตราบจนวันตาย (ล้อกับเรื่องราวของ Leo ที่เมื่อได้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ สิ่งนั้นจักกลายเป็นรอยแผลเป็นภายในจิตใจตราบจนวันตาย)

เพราะเพื่อนสนิทล้มป่วยโรคหัด Leo เลยไม่รู้จะทำอะไร เดินเตร็ดเตร่ ร่อนเร่ มาจนถึงฟาร์มปศุสัตว์แห่งหนึ่ง พบเห็นกองฟางสูงใหญ่ เลยปีนป่ายขึ้นไปแล้วกระโดดลงมาเจ็บตัว … สื่อถึงการเดินทางของเด็กชาย จากเคยอาศัยอยู่คฤหาสถ์หรู (High Class) มาสู่ฟาร์มปศุสัตว์แห่งนี้ (Working Class)
อาการเจ็บตัวของเด็กชาย สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ของ Lady Marian ที่ถ้าตัดสินใจกระโดดลงมาครองรักกับ Ted Burgess เธอจักโดนตีตราว่าร้าย เป็นฝ่ายได้รับบาดเจ็บ (จากถูกสังคมรุมประณาม) สูญเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล รวมถึงทุกสิ่งอย่าง (ขณะที่ฝ่ายชายไม่มีอะไรจะสูญเสียอยู่แล้ว)


มันเป็นลายมือที่อ่านยากมากๆ แถมบางส่วนก็ถูกบดบังไว้อีก ผมพอแกะข้อความได้ประมาณว่า Darling, same time, same place, this evening

คริคเก็ต, Cricket กีฬาสำหรับผู้ดีมีสกุล ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ (แต่ไปได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในอินเดีย-ปากีสถาน ที่เคยเป็นประเทศอาณานิคม British Raj) เล่นคล้ายๆเบสบอล ประกอบด้วยคนโยน คนตี และคนรับลูกบอล ซึ่งหนังทำการแบ่งฝั่งฝ่าย Viscount Hugh vs. Ted Burgess แฝงนัยยะอย่างชัดเจนถึงการเผชิญหน้าทางชนชั้น High Class vs. Working Class
ชัยชนะที่เกิดจากการรับลูกบอลของ Leo ทำให้ฝ่าย Viscount Hugh ได้รับชัยชนะเหนือ Ted Burgess สามารถสะท้อนบริบททางสังคมยุคสมัยนั้น บุคคลชนชั้นสูงย่อมมีอำนาจบารมี สิทธิพิเศษเหนือกว่าสามัญชนธรรมดา

ระหว่างที่ Ted Burgess ขับร้องบทเพลง Take a Pair of Sparking Eyes กล้องมักถ่ายภาพมุมกว้าง (Long Shot) หลายครั้งหันมาเล่นหูเล่นตา แอบสบสายตา Lady Marian เพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ลับๆของทั้งสองท่ามกลางฝูงชน
ผิดกับ Leo ขับร้องบทเพลง Angels, Ever Bright and Fair ด้วยการถ่ายภาพ Close-Up ใบหน้าเด็กชายเท่านั้น เพื่อสื่อถึงความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นภายในครุ่นคิดจินตนาการของตัวละคร (ไม่เคยเปิดเผยออกให้ใครรับรู้) เธอเปรียบดั่งนางฟ้า เจิดจรัส สว่างจร้า


ช่วงระหว่างงานเลี้ยง ขับร้องเพลงบนเวที จู่ๆจะเริ่มมีการแทรกภาพอะไรมาก็ไม่รู้ ชายแปลกหน้าอยู่ในห้องแห่งหนึ่ง (สมัยนั้นมีโทรทัศน์แล้วเหรอ?) ขับรถยนต์ (รถหรูขนาดนี้เชียวหรือ?) ความน่าฉงนดังกล่าวจะแทรกแซมอยู่ตลอดครึ่งหลัง ก่อนเฉลยตอนจบว่าคือลักษณะของการ ‘Flash-Forward’ กระโดดไปอนาคต 50 ปีให้หลัง
วิธีการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเชื่อมโยงจากอดีตสู่อนาคต แต่ผมว่าหนังทำออกมาไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ เพราะมันจู่ๆก็แทรกเข้ามา ขาดจุดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ทำไมต้องปรากฎขึ้นขณะนี้นั้น … เหมือนต้องการให้ออกมามีลักษณะ ‘Flash’-Foward เท่านั้นเอง



อีกฉากที่ผมรู้สึกว่ามีความล่อแหลมชอบกล! ครั้งนี้ Leo ไม่ได้อยากมาส่งจดหมายนัก แต่ถูก Lady Marian บีบบังคับ ขึ้นเสียง ตำหนิด่าทอ เลยยินยอมเดินทางมาหา Ted Burgess ในสภาพถอดเสื้อ ถือปืนลูกซอง (จะมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของลึงค์, อวัยวะเพศชายก็ได้เช่นกัน) จากนั้นพาออกไปยิงปืนขึ้นฟ้า พบเห็นเพียงภาพเงาลางๆ ปล่อยอิสระให้ผู้ชมครุ่นคิดจินตนาการ ก่อนหวนกลับมาสวมใส่เสื้อผ้า


คำถามของ Leo เกี่ยวกับรักสามเส้า แต่ทำไมกลับเป็นบุรุษที่ต้องทำการต่อสู้เพื่อสตรีคนเดียว? มองมุมไหนก็เป็นความผิดฝ่ายหญิง? คำตอบของ Viscount Hugh สะท้อนแนวคิดทางสังคมยุคสมัยนั้น ‘บุรุษต้องเป็นช้างเท้าหน้า สตรีคือช้างเท้าหลัง’ มันจึงไม่ใช่ความผิดหญิงสาว แต่คือความบกพร่องฝ่ายชายที่ไม่สามารถควบคุมดูแล ปกครองบุคคลในสังกัด ปล่อยให้ทำตัวเสื่อมเสียชื่อเสียง การท้าดวลดาบต่อสู้ก็เพื่อทวงคืนเกียรติ/ความเป็นลูกผู้ชายของตนเอง
ผมมาครุ่นคิดดู คำตอบของ Viscount Hugh ใช้ไม่ได้ในบริบทสังคมปัจจุบันอีกต่อไป การจะตัดสินถูก-ผิดในประเด็นรักสามเส้า ยุคสมัยนี้ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมายและหลักฐาน … กล่าวคือไม่มีอีกแล้วที่บุรุษต้องทำการต่อสู้เพื่อแก่งแย่งชิงสตรี และไม่แน่ว่าฝ่ายหญิงอาจมีความผิดข้อหาหลอกลวง

ครั้งสุดท้ายที่ Leo เป็นสื่อกลาง ‘Go-Between’ ให้กับ Ted Burgess สังเกตว่าอยู่ในฟาร์มที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต (น่าจะช่วงปลายฤดูร้อน) สามารถสื่อถึงผลลัพท์จากการมีเด็กชายเป็นผู้รับ-ส่งจดหมาย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง Ted กับ Lady Marian เติบโตมาถึงจุดที่สามารถเก็บเกี่ยวความรู้สึกต่อกัน (คือได้พบเจอ พรอดรัก ร่วมเพศสัมพันธ์หลายครั้ง … จนอาจทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์)


ด้วยความละอ่อนวัย ยังเด็กเกินไป ทำให้ Leo ไม่เข้าใจเหตุผลที่ Lady Marian ทำไมต้องแต่งงานกับ Viscount Hugh ไม่ใช่ชายคนที่ตกหลุมรัก Ted Burgess คำตอบของเธอก็ไม่ได้อธิบายเหตุผลอะไรนอกจาก I must และ I can’t นั่นเพราะถูกบริบททางสังคมยุคสมัยนั้นครอบงำเอาไว้ บิดา-มารดาเป็นผู้เลือกคู่ครองให้บุตรสาว โดยพิจารณาจากวิทยฐานะทางสังคมระดับเดียวกัน ไม่สามารถหลบหนีตาม ต่อต้านขัดขืน หรือทำอะไรได้มากกว่านี้ เพียงยินยอมรับ ศิโรราบต่อโชคชะตากรรม
สังเกตว่าฉากนี้ถ่ายทำจากภายนอก บริเวณริมหน้าต่าง ที่แม้(หน้าต่าง)เปิดออกกว้าง แต่ทั้งสองกลับไม่สามารถได้รับอิสรภาพแห่งชีวิต ถูกบางสิ่งอย่างที่ไม่สามารถอธิบาย ควบคุมครอบงำ อิทธิพลสูงส่งเหนือกว่า

หนังไม่มีคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับพิธีกรรมสาปแช่งของ Leo ทำเพื่ออะไร? ใครคือเป้าหมาย? แต่ผมครุ่นคิดว่าน่าจะเพราะความอิจฉาริษยา จึงทำการสาปแช่ง Ted Burgess ทำให้เขายิงตัวตายหลังถูกจับได้ว่าแอบคบชู้ Lady Marian ซึ่งโดยไม่รู้ตัวคำสาปดังกล่าวตกทอดมาถึงรุ่นหลาน ที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย Ted Burgess (สามารถคาดเดาได้อีกว่า บิดาอาจคือบุตรของ Lady Marian กับ Ted Burgess ตั้งครรภ์ระหว่างร่วมรักกันในโรงนา)
พิธีกรรมสาปแช่ง ต้องถือว่าเป็นอีกตราบาปฝังใจ Leo ทำไปเพราะความอ่อนวัย ไร้เดียงสา ไม่ครุ่นคิดว่าผลลัพท์จะรุนแรงถึงขนาดเสียชีวิต (เพราะตอนทำที่โรงเรียน อีกฝ่ายแค่ได้รับบาดเจ็บ) จนทำให้ Lady Marian หมดสูญสิ้นรอยยิ้ม จมปลักอยู่ในความสิ้นหวัง
แซว: อาจเพราะพิธีกรรมนี้ด้วยกระมัง ทำให้วันเกิดครบรอบ 13 ปีของ Leo จู่ๆสภาพอากาศแปรปรวน เกิดพายุฤดูร้อน (จริงๆสาเหตุจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด)

Mrs. Maudsley สังเกตเห็นความผิดปกติ ลับลมคมในพฤติกรรมของ Lady Marian และ Leo จึงพาเด็กชายมาเดินเล่นยังสวนดอกไม้ ที่แม้มีความสวยงาม ดูไร้พิษภัย แต่จิตใจของเธอกลับเต็มไปด้วยอคติ สีหน้าไม่พึงพอใจ (เดินจากสวนภายนอกเข้ามาในเรือนกระจก) พยายามเค้นเอาความลับ ต้องการเปิดโปงความสัมพันธ์ระหว่างบุตรสาวกับชายชู้ Ted Burgess จะจับให้ได้คาหนังคาเขา
เอาจริงๆเหมือนว่าหนุ่มๆจะรับรู้ล่วงรู้ความสัมพันธ์ชู้สาวระหว่าง Marian กับ Ted แต่พวกเขาไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เพราะตระหนักว่าฝ่ายหญิงย่อมไม่สามารถกระทำอะไร ผิดกับ Mrs. Maudsley ที่เป็นเสมือนผู้ควบคุมกฎระเบียบ ทุกสิ่งอย่างต้องดำเนินตามครรลองครองธรรม ไม่สามารถโอนอ่อนปรับเปลี่ยนแปลง … สมแล้วกับการแสดงของ Margaret Leighton บุคคลเดียวได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress


ผมแอบผิดหวังเล็กๆไม่ใช่เพราะหนังไม่ได้ให้คำอธิบายใดๆเกี่ยวกับ ‘Spooning’ แต่แทนที่จะนำเสนอท่วงท่าร่วมรักดังกล่าวระหว่าง Ted Burgess และ Lady Marian กลับแค่ท่ามาตรฐาน ‘Missionary’
เกร็ด: ท่าช้อน (Spooning) คือท่วงท่ากิจกรรมทางเพศและเทคนิคการโอบกอด มีต้นกำเนิดจากวิธีที่ช้อนสองคันวางชิดติดกัน, โดยมีลักษณะฝ่ายหญิงนอนตะแคงข้าง ส่วนฝ่ายชายโอบกอด/ร่วมเพศสัมพันธ์จากทางด้านหลัง (หันหน้าทิศทางเดียวกัน), นี่ถือเป็นหนึ่งในสี่ท่ามาตรฐาน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับภรรยากำลังตั้งครรภ์ นอนสบาย ไม่ต้องออกแรง (หน้าที่หลักๆเป็นของฝ่ายชาย)

หลังจากเด็กชาย Leo ถูกบีบบังคับโดย Mrs. Maudsley ให้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจระหว่าง Ted Burgess ร่วมรักกับ Lady Marian ฉากจบของหนังทำการก้าวกระโดดสู่อนาคต (Time Skip หรือ Flash-Forward) ห้าสิบปีให้หลัง พบเห็นหญิงชรา Lady Marian (รับบทโดย Margaret Leighton ที่ก็รับบทเป็น Mrs. Maudsley) กำลังพูดคุยสนทนากับชายสูงวัย Leo (รับบทโดย Michael Redgrave)
สถานที่ที่พวกเขาพูดคุยสนทนา ยังบริเวณริมหน้าต่าง (น่าจะตำแหน่งเดียวกับตอนที่ Lady Marian เคยพูดบอกกับ Leo ว่าไม่สามารถแต่งงานกับ Ted Burgess) แต่คราวนี้ถูกปิดอยู่ (สื่อถึงการหมดสูญสิ้นโอกาสที่จะครองรักกับ Ted Burgess) และปกคลุมด้วยความมืดมิด (สะท้อนสภาพจิตใจทั้งสองที่ยังคงได้รับอิทธิพลจากช่วงวันหยุดฤดูร้อน ค.ศ. 1900)
เหตุการณ์ในซีเควนซ์นี้น่าจะช่วงปี ค.ศ. 1950 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศอังกฤษกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ สตรีเพศเริ่มได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมบุรุษ ซึ่งน่าส่งอิทธิพลทางความคิดให้กับ Lady Marian (ที่กลายมาเป็น Mrs. Marian) ไม่ต้องการให้ลูกหลานต้องดำเนินตามรอยวิถีทางในอดีต จึงไหว้วานร้องขอ Leo ให้ทำการ ‘Go-Between’ ครั้งสุดท้าย พูดเล่าความจริงทั้งหมดแก่หลานชาย รักใครชอบใคร ไม่มีสิ่งใดกีดขวางกั้นพวกเขาอีกต่อไป


ตัดต่อโดย Reginald Beck (1902-92) สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ St. Petersburg, Russian Empire พออายุ 13 ครอบครัวถึงเดินทางกลับอังกฤษ, เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เริ่มมีชื่อเสียงจากการตัดต่อ In Which We Serve (1942), Henry V (1944), Hamlet (1948), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Joseph Losey ตั้งแต่ The Gypsy and the Gentleman (1958), Eva (1962), Modesty Blaise (1966), Accident (1967), The Go-Between (1971) ฯ
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตา/ความทรงจำของเด็กชาย Leo Colston ใช้ชีวิตในช่วงเวลาวันหยุดฤดูร้อน ค.ศ. 1900 (ระหว่างครบรอบอายุ 13 ปี) อาศัยอยู่ยังคฤหาสถ์ Melton Constable Hall แล้วพบเจอตกหลุมรักพี่สาวสุดสวย Lady Marian จากนั้นกลายเป็นเด็กรับส่งจดหมายให้กับ Ted Burgess
ช่วงครึ่งหลัง บ่อยครั้งจะมีการแทรกภาพจากอนาคต (Flash-Forwards) 50 ปีให้หลังเมื่อ(ชายสูงวัย) Leo หวนกลับมาเยี่ยมเยียนคฤหาสถ์ Melton Constable Hall แล้วพบเจอ(หญิงชรา) Lady Marian มีการพูดคุย หวนรำลึกความหลัง และได้รับการไหว้วานร้องขอ ครั้งสุดท้ายที่จะเป็น ‘Go-Between’ บอกเล่าเรื่องราวในอดีตทั้งหมดแก่หลานชาย(ที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย Ted Burgess)
- การเดินทางมาถึงยังคฤหาสถ์ Melton Constable Hall
- เด็กชาย Leo เดินทางมาถึงคฤหาสถ์ Melton Constable Hall
- พากันไปเที่ยวเล่น รับประทานอาหาร กิจวัตรประจำวันของผู้ดีทั้งหลาย
- Lady Marian พาเด็กชาย Leo ไปซื้อชุดใหม่ในเมือง
- พากันไปว่ายน้ำเล่น แล้วบังเอิญพบเจอกับ Ted Burgess
- หลังจากเพื่อนสนิทล้มป่วยโรคหัด กลายเป็นเด็กรับส่งจดหมาย
- หลังกลับจากโบสถ์ เด็กชาย Leo กลายเป็นคนส่งสาสน์ให้ Viscount Huge
- ยามบ่ายออกเตร็ดเตร่ไปจนถึงบ้านของ Ted Burgess กลายเป็นคนรับ-ส่งจดหมายให้ Lady Marian
- เด็กชาย Leo สามารถรับลูก Cricket ยามค่ำคืนได้รับการเฉลิมฉลอง และร่วมขับร้องเพลง
- ช่วงเวลาแห่งความสับสนของเด็กชาย
- เด็กชาย Leo แอบอ่านจดหมายของ Lady Marian แล้วแสดงเจตจำนงค์ว่าไม่ต้องการรับ-ส่งจดหมายอีกต่อไป … แต่ก็ถูกโน้มน้าวจากทั้ง Ted Burgess และ Lady Marian ล่อหลอกจนสำเร็จ
- หลังจากรับรู้การหมั้นหมายระหว่าง Lady Marian กับ Vicount Huge ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมาย
- วันเกิดครบรอบ 13 ขวบ ความจริงได้ถูกเปิดเผยออกมา
- ยามค่ำคืนเด็กชาย Leo ได้ร่ายคำสาปบางอย่าง
- ช่วงสายๆถูกบีบบังคับจาก Lady Marian ให้ส่งจดหมายกับ Ted Burgess แต่เกือบจะถูกมารดา Mrs. Maudsley จับได้
- ยามเที่ยงฝนตกหนัก หลังจากกำลังตัดเค้กวันเกิด เด็กชาย Leo ถูกลากพาตัวไปพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ
- (Flash-Forwards) ห้าสิบปีให้หลัง (หญิงชรา) Lady Marian ไหว้วาน (ชายสูงวัย) Leo เดินทางไปเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้กับหลานชาย
ถ้าตามต้นฉบับนวนิยาย เรื่องราวทั้งหมดจะถูกเล่าในลักษณะย้อนอดีต (Flashback) แต่ผกก. Losey และนักเขียน Pinter หลังจากเคยทดลองละเล่นกับเส้นเวลาเมื่อครั้ง Accident (1967) จึงมีความหาญกล้าปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีการแทรกภาพอนาคต (Flash-Forwards) ล่อหลอกผู้ชมให้เกิดความสับสน มึนงง เสียงบรรยายมาจากไหน? ชายคนนั้นคือใคร? และเมื่อทุกสิ่งอย่างเปิดเผย มันจะเหมือนว่าหนังมีสองไคลน์แม็กซ์ (Leo วัยเด็กพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ และสภาพของเขาหลังจาก 50 ปีผ่านไป) ที่สร้างความตกตะลึง อ้ำอึ้งทึ่ง ตอกย้ำผลกระทบ(ของเหตุการณ์ดังกล่าว)ต่อสภาพจิตใจ จดจำตราฝังทรวงในไม่รู้ลืมเลือน!
สำหรับเพลงประกอบ ดั้งเดิมนั้นผกก. Losey มอบหมายให้ Sir Richard Rodney Bennett (1936-2012) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ เจ้าของผลงานดังๆอย่าง Billy Liar (1963), Far from the Madding Crowd (1967), Nicholas and Alexandra (1971), Murder on the Orient Express (1974), Four Weddings and a Funeral (1994) ฯ แต่หลังจากทำเพลงไปได้ประมาณ 75% ถูกขอให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขใหม่หมด ซึ่งสร้างความไม่พึงพอใจจนขอถอนตัวออกไป (อธิบายสั้นๆก็คือ ‘creative difference’)
ด้วยเหตุนี้ผกก. Losey จึงต้องมองหานักแต่งเพลงคนใหม่ ทดลองติดต่อ Michel Legrand จากความประทับใจ The Umbrellas of Cherbourg (1964) และ The Thomas Crown Affair (1968) โชคดีที่อีกฝ่ายคิวงานว่างพอดี เลยตอบตกปากรับคำ
I’m very happy with the music Michel Legrand composed for the film. He has done a magnificent job. His score reflects the changing moods of the film and his love themes for the children and adults are particularly beautiful.
Joseph Losey
เพลงประกอบโดย Michel Jean Legrand (1932-2019) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris เป็นบุตรของนักแต่งเพลง/วาทยากรชื่อดัง Raymond Legrand มีอัจฉริยภาพด้านเปียโนตั้งแต่เด็ก พออายุ 10-11 ขวบ เข้าศึกษา Conservatoire de Paris ค้นพบความสนใจดนตรีแจ๊สและการประพันธ์เพลง จบออกร่วมทัวร์การแสดงของ Maurice Chevalier (เป็นนักเปียโน) จากนั้นออกอัลบัมแรก I Love Paris (1954) ได้รับความนิยมอย่างคาดไม่ถึง, สำหรับภาพยนตร์เริ่มต้นจาก Les Amants Du Tage (1954), โด่งดังกับ L’Amérique insolite (1958), A Woman Is a Woman (1960), The Umbrellas of Cherbourg (1964), The Young Girls of Rochefort (1966), The Go-Between (1971), และคว้ารางวัล Oscar: Best Score จากผลงาน Summer of ’42 (1971), The Thomas Crown Affair (1968), Yentl (1983)
ใครเคยรับฟังบทเพลงของ Legrand ย่อมรู้สึกมักคุ้นเคยกับสไตล์ลายเซ็นต์ได้เป็นอย่างดี ทำการผสมผสานท่วงทำนองคลาสสิก (Baroque) เข้ากับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ (คีย์บอร์ด, กีตาร์ไฟฟ้า, กลอง ฯ) เพื่อสร้างเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ จดจำง่าย ซึ่งสำหรับ The Go-Between (1971) เริ่มจากใส่เสียงสะท้อน (Echo) ให้กับกีตาร์ไฟฟ้า จนมีความกึกก้อง หลอกหลอน สั่นสะท้านทรวงใน เต็มไปด้วยบรรยากาศเศร้าโศก โหยหาอาลัย ครุ่นคิดถึงอดีต (Nostalgia) ความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน
ปล. ทั้งๆที่ The Go-Between (1971) เป็นภาพยนตร์แนวย้อนยุค (Period) พื้นหลัง ค.ศ. 1900 ยุคสมัย Victorian Era บทเพลงกลับทำการการผสมผสาน Classical & Contemporary Music นั่นเพราะหนังสร้างขึ้นปี ค.ศ. 1970-71 และมีลักษณะหวนรำลึกความทรงจำ เหตุการณ์บางอย่างจากอดีต สามารถสร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบ ติดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน (ก็เลยรังสรรค์บทเพลงที่มีความร่วมสมัย)
Fugue อ่านว่า ฟิวก์ คือวิธีการการประพันธ์เพลงที่ได้รับความนิยมในยุค Baroque (1600-1725) มีลักษณะเฉพาะตัวคือท่วงทำนองที่มีความขัดแย้งโดยใช้เสียงสองเสียงหรือมากกว่านั้น โดยมักมีเสียงหนึ่งคือประธาน (Subject) ประสานกับเสียงอื่นๆ ทำนองอื่นๆ ให้เกิดลวดลายที่สลับซับซ้อน ถักทอกเกี่ยวเนื่องกันไปอย่างวิจิตรพิศดาร
ผมไม่แน่ใจว่าบทเพลงนี้ชื่อ The Fugue ตามชื่อคลิปเลยหรือเปล่า แต่ช่วงที่ดังขึ้นคือระหว่างเด็กชาย Leo ตัดสินใจเปิดอ่านจดหมายของ Lady Marian นั่นทำให้เขาตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง เกิดความสับสน ขัดแย้งในตนเอง ซึ่งสอดคล้องเข้ากับแนวเพลง Fugue (รับอิทธิพลจาก J.S. Bach: Harpsichord Concerto in D minor, BWV 1052 ไม่น้อยทีเดียว) สะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละครได้อย่างชัดเจน
สำหรับสองบทเพลงขับร้องในงานเลี้ยง คือคำพรรณารักของ Ted Burgess (กล่าวถึงความงดงามในเรือนร่างกายของหญิงสาว อยากจะครอบครองแต่ก็ได้แค่เหม่อมอง) และ Leo Colston (เปรียบเธอดั่งนางฟ้า ทำได้แค่เหม่อมองเช่นกัน) ขับร้องให้กับ Lady Marian ประกอบด้วย
- Take a Pair of Sparkling Eyes นำจากอุปรากร The Gondoliers; or, The King of Barataria (1889) มีลักษณะ Savoy Opera (หรือ Comic Opera) ความยาว 2 องก์ ประพันธ์โดย Arthur Sullivan ร่วมกับ(คำร้อง) W. S. Gilbert
- Take a pair of sparkling eyes,
Hidden, ever and anon,
In a merciful eclipse
Do not heed their mild surprise
Having passed the Rubicon.
Take a pair of rosy lips;
Take a figure trimly planned
Such as admiration whets
Be particular in this;
Take a tender little hand,
Fringed with dainty fingerettes,
Press it in parenthesis;
Take all these, you lucky man
Take and keep them, if you can!
Take my counsel, happy man;
Act upon it, if you can!
- Take a pair of sparkling eyes,
- Angels, Ever Bright and Fair นำจากออราทอริโอเรื่อง Theodora (1750) ความยาวสามองก์ ประพันธ์โดย George Frideric Handel คำร้องโดย Thomas Morell
- Angels, ever bright, and fair,
Take, O take me to your Care:
Speed to your own Courts my Flight,
Clad in Robes of Virgin white.
- Angels, ever bright, and fair,
ต้นฉบับนวนิยาย The Go-Between คือการทบทวน หวนระลึกความทรงจำ ค้นหารากเหง้าของผู้แต่ง L. P. Hartley เมื่อครั้นวัยเด็กได้เคยสูญเสียบางสิ่งอย่าง (loss of innocence) เลยยังคงจดจำช่วงเวลานั้นไม่รู้ลืมเลือน ตราบจนวันตายเลยก็ว่าได้
แต่แค่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดำเนินเรื่องของหนัง แทนที่จะเริ่มต้นจากปัจจุบันย้อนกลับหาอดีต (Flashback) เพื่อสร้างบรรยากาศโหยหาอาลัย (Nostalgia) มาเป็นกระโดดสู่อนาคต (Flash-Forwards) ทำให้ผู้ชมพบเห็นความสัมพันธ์ของเหตุการณ์บังเกิดขึ้น(ในอดีต) สามารถสร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบ กลายเป็นตราบาปฝังอยู่ในความทรงจำ(จนถึงปัจจุบัน)
นี่ไม่ได้แปลว่าหนังไม่มีบรรยากาศโหยหารำพันถึงอดีตนะครับ แต่เป็นการสร้างความตระหนักให้กับผู้ชม ขนบกฎกรอบ ระบอบชนชั้น ประเพณีวัฒนธรรม วิถีทางสังคม หลายสิ่งอย่างได้ปรับเปลี่ยนแปลงไปแล้ว อะไรที่มันขัดแย้งต่อค่านิยมสมัยใหม่ เราควรใช้สติปัญญาในการรับชม ตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับอารมณ์เคลิบเคลิ้บหลงใหล แล้วอยากให้มันหวนกลับมาปัจจุบัน
สิ่งที่เป็นความทรงจำไม่รู้ลืม ตราบาปฝังใจของผกก. Losey ก็คือการถูกทรยศหักหลัง เมื่อครั้นถูกองค์กร House Un-American Activities Committee (HCUA) สั่งแบน Hollywood Blacklist ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ตกอยู่ในความหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง ถึงขนาดต้องอพยพหัวซุกหัวซุนสู่ประเทศอังกฤษ … จะว่าไปชื่อตัวละคร Leo Colston มันก็มีความละม้ายคล้าย Losey อยู่เล็กๆนะ
แม้การถูก Hollywood Blacklist จะกลายเป็นปม ‘Trauma’ ฝังใจไม่รู้ลืมเลือน แต่ก็สามารถปลุกตื่นผกก. Losey ให้หวนกลับสู่โลกความเป็นจริง เลิกลุ่มหลงใหลเงินๆทองๆ สิ่งข้าวของ ปัจจัยภายนอก หรือรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่มี … ถ้าไม่เพราะต้องอพยพหลบหนีภัยสู่เกาะอังกฤษ ผกก. Losey อาจไม่ได้ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ พัฒนาสู่ศิลปิน (auteur) และกลายเป็นหนึ่งในโคตรผู้กำกับแห่ง British New Wave
Without it (ฺBlacklist) I would have three Cadillacs, two swimming pools and millions of dollars, and I’d be dead. It was terrifying, it was disgusting, but you can get trapped by money and complacency. A good shaking up never did anyone any harm.
Joseph Losey
คำว่า ‘Go-Between’ นอกจากความหมายไปมาระหว่าง คนกลาง พ่อสื่อ-แม่สื่อ นัยยะของนวนิยาย/ภาพยนตร์ยังคือโครงสร้างดำเนินเรื่อง ไปๆกลับๆอดีต-ปัจจุบัน หวนระลึกความทรงจำที่เลือนลาง ยังคงสร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบ ฝังอยู่ในตัวเราตราบจนวันตาย
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes สามารถคว้ารางวัล Palme d’Or ด้วยการเอาชนะภาพยนตร์อย่าง Death in Venice (1971), Johnny Got His Gun (1971), Murmur of the Heart (1971), Taking Off (1971), Walkabout (1971) ฯ
การคว้ารางวัล Palme d’Or ทำให้หนังได้รับความสนใจอย่างมากๆ ถึงขนาดมีรอบฉาย Royal Premiere โดยสมเด็จพระราชินี Queen Elizabeth II เดินทางมารับชมยัง ABC Cinema ณ Prince of Wales Road, Norwich แต่ด้วยทุนสร้างสูงถึง £500,000+ ปอนด์ ทำเงินในอังกฤษได้เพียง £232,249 ปอนด์ รวมทั่วโลกก็ยังขาดทุนย่อยยับ ต้องรอการนำออกฉายใหม่ (Re-Release) ทศวรรษให้หลังถึงสามารถทำไรคืนกลับมา
ช่วงปลายปีหนังได้เข้าชิง BAFTA Award จำนวน 12 จาก 11 สาขา สามารถคว้ามา 4 รางวัล, นอกจากนี้ยังมีโอกาสลุ้น Oscar และ Golden Globe แม้ไม่ได้สักรางวัล แต่ถือเป็นการเข้าชิงแบบคาดไม่ถึงทีเดียว
- Academy Award
- Best Supporting Actress (Margaret Leighton) พ่ายให้กับ Cloris Leachman จากเรื่อง The Last Picture Show (1971)
- Golden Globe Award
- Best Foreign Film, English Language พ่ายให้กับ Sunday Bloody Sunday (1971) จากประเทศอังกฤษ
- BAFTA Award
- Best Film พ่ายให้กับ Sunday Bloody Sunday (1971)
- Best Direction
- Best Screenplay **คว้ารางวัล
- Best Actress (Julie Christie)
- Best Supporting Actress (Margaret Leighton) **คว้ารางวัล
- Best Supporting Actor (Edward Fox) **คว้ารางวัล
- Best Supporting Actor (Michael Gough)
- Most Promising Newcomer (Dominic Guard) **คว้ารางวัล
- Best Cinematography
- Best Art Direction
- Best Costume Design
- Best Soundtrack
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ คุณภาพ 4K โดย Studiocanal คุยโวว่าใช้เวลากว่า 200 ชั่วโมงในการปรับปรุงซ่อมแซมทีละเฟรม แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2019 สามารถหาซื้อแผ่น Blu-Ray ในคอลเลชั่น Vintage Classics (บริษัทในเครือของ Studiocanal)
ถ้าผมไม่เคยรับชม Atonement (2007) แนวโน้มสูงมากๆว่าอาจยกให้ The Go-Between (1971) คือผลงานมาสเตอร์พีซของผกก. Losey แต่พอมันมีเรื่องให้เปรียบเทียบ ละม้ายคล้ายยังกะแกะ ก็เลยสูญเสียความสดใหม่ ไม่ได้ประทับใจหนังเท่าที่ควร ถึงอย่างนั้นยังต้องชมความประณีต ละเอียดอ่อน ลงตัวกลมกล่อม งดงามวิจิตรศิลป์ สัมผัส Impressionist แต่สร้างความหลอกหลอน สั่นสะท้าน ตราฝังลึกทรวงใน
สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้ผมมากที่สุดก็คือ ‘Flash-Forwards’ กระโดดไปห้าสิบปีให้หลัง (Atonement (2007) ก็ใช้วิธีการเดียวกันเลยนะ!) ดวงตาของผู้ใหญ่ Leo Colston ราวกับได้พบเห็นวันสิ้นโลกาวินาศ ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ ไม่ต่างจากตกตายทั้งเป็น!
จัดเรต 13+ กับความไร้เดียงสาของเด็กชาย ได้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ อาจกลายเป็น ‘Trauma’ ไม่รู้ลืมเลือน
Leave a Reply