
The King of Comedy (1982)
: Martin Scorsese ♥♥♥♥
แม้ตอนออกฉายจะไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่เรื่องราวตลกร้ายของ The King of Comedy (1982) สะท้อนความอึดอัดอั้นของผู้กำกับ Martin Scorsese ไม่สามารถระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่ง และกลายเป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Joker (2019)
ถ้าผมมีโอกาสรับชม The King of Comedy (1982) ก่อนหน้าปี ค.ศ. 2019 เชื่อว่าตนเองคงไม่รู้สึกประทับใจหนังสักเท่าไหร่ เป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศอึดอัดอั้น แม้งไม่มีใครสนใจรับฟังกันและกัน เอาแต่พูดพร่ำไม่ยอมหยุด ไคลน์แม็กซ์ก็ไร้สิ่งตบมุก ไม่สามารถระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่งออกมา
nobody listens in this film; everybody’s just waiting for the other person to stop talking so they can start. And everybody’s so emotionally isolated in this movie that they don’t even seem able to guess what they’re missing.
This sounds like an entertaining story, I suppose, but Scorsese doesn’t direct a single scene for a payoff. The whole movie is an exercise in cinema interruptus… Scorsese doesn’t want laughs in this movie, and he also doesn’t want release. The whole movie is about the inability of the characters to get any kind of a positive response to their bids for recognition.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
ตอนผมมีโอกาสรับชม Joker (2019) ก็เต็มไปด้วยความรู้สึกอับอาย กรีดกราย อยากเบือนหน้าหนีหลายครั้งครา ถ้าไม่เพราะหนังทำเงินพันล้าน เข้าชิง Oscar หลายสาขา ก็คงไม่เสียเวลาอดรนทน โชคดีว่าพอถึงไคลน์แม็กซ์สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุด! ระบายอารมณ์อัดอั้น สะท้อนสถานการณ์โลกปัจจุบันนั้น-นี้ ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงระดับคลุ้มบ้าคลั่ง
จริงๆไม่ใช่เพราะ Joker (2019) ที่ทำให้ผมมีภูมิต้านทานภาพยนตร์ลักษณะนี้ แต่คือสามผลงานสุดท้ายของผกก. Luis Buñuel ที่เต็มไปด้วยการขัดจังหวะระหว่างกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), The Phantom of Liberty (1974) และโดยเฉพาะ That Obscure Object of Desire (1977) ซึ่งถ้าเราสามารถปีนป่ายบันได ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอออกมา ก็จักค้นพบความน่าอึ่งทึ่ง มหัศจรรย์พันธุ์ลึก สะท้อนอารมณ์ศิลปินด้วยกันทั้งนั้น!
Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด! วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมภายนอก พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) แล้วต่อปริญญาโทวิจิตรศิลป์ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts)
ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Mean Streets (1973), Taxi Driver (1967), Raging Bull (1980) ฯ
ผกก. Scorsese เคยครุ่นคิดจะรีไทร์จาก Hollywood หลังเสร็จสร้างภาพยนตร์ Raging Bull (1980) แล้วออกเดินทางสู่ยุโรป ไม่ก็เปลี่ยนมาสรรค์สร้างสารคดี แต่เพราะความล้มเหลวของหนัง รวมถึงผลลัพท์ยังรู้สึกไม่พึงพอใจ (unsatisfied) ไม่พบเจอความสงบสุขภายใน (inner peace) เลยเกิดต้องการอยากทิ้งท้ายอีกโปรเจค ชีวประวัติพระเยซูคริสต์ The Last Temptation of Christ โดยคาดหวังให้ Robert De Niro รับบท Jesus Christ
แต่ทว่า De Niro ไม่มีความสนใจอยากแสดงเป็น Jesus Christ พยายามโน้มน้าวผกก. Scorsese ให้ตอบตกลงโปรเจค Black Comedy ที่เคยพูดคุยกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 เรื่อง The King of Comedy จากบทหนังของนักเขียน/นักวิจารณ์ Paul D. Zimmerman
I read it, but I didn’t quite get it… After making Raging Bull, I was at a different point in my life, and was able to absorb The King of Comedy better. To a point. In 1981, when I was shooting [King of Comedy], I realized that I had to wipe the slate clean as a filmmaker and start all over again. I literally started re-learning how to make movies. That’s what King of Comedy really helped me to do.
Martin Scorsese
Paul D. Zimmerman (1938-93) นักเขียน/นักวิจารณ์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับนิตยสาร Newsweek (ระหว่าง ค.ศ. 1967-75) จากนั้นผันตัวมาเขียนบทรายการโทรทัศน์ Sesame Street, พัฒนาบทภาพยนตร์ The King of Comedy (ทีแรกตั้งใจจะเขียนนวนิยาย ก่อนเปลี่ยนใจมาทำเป็นบทหนังดีกว่า) โดยได้แรงบันดาลใจจาก …
- แขกรับเชิญทางบ้านที่มาออกรายการ The David Susskind Show ซึ่งเป็นนักล่าลายเซ็นต์ดารา (autograph-seeker) บ่นอุบว่า “Barbra [Streisand] is hard to work with.” แปลว่า Barbra Streisand เป็นคนที่เข้าหาตัวยาก พูดง่ายๆก็คือไม่ชอบแจกลายเซ็นต์ แต่ … มันเป็นเรื่องส่วนตัวของอีกฝ่ายไม่ใช่รึ จะมาบ่นห่าพระแสงอะไร??
- บทความจากนิตยสาร Esquire กล่าวถึงชายคนหนึ่งมีความหลงใหลคลั่งไคล้ แฟนคลับเดนตายของ Johnny Carson พิธีรายการทอล์คโชว์ The Tonight Show Starring Johnny Carson (1962–92) ทั้งแอบติดตาม (Stalker) จดบันทึกไดอารี่ พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ
I started to think about the connections between autograph-hunters and assassins. Both stalked the famous – one with a pen and one with a gun
Paul D. Zimmerman
ในตอนแรก Bob Fosse (Cabaret, All That Jazz) แสดงความสนใจอยากเป็นผู้กำกับ แล้วเลือก Andy Kaufman รับบท Rupert Pupkin, Sammy Davis Jr. รับบท Jerry Langford แต่ไม่นานขอบอกผ่านเพื่อไปรับงานภาพยนตร์ Star 80 (1983), ตัวเลือกถัดมาคือ Michael Cimino แต่เพราะความล่าช้าระหว่างการตัดต่อ Heaven’s Gate (1980) เลยจำต้องถอนตัวออกไปเช่นกัน
คล้ายเมื่อตอน Raging Bull (1980) บทหนัง The King of Comedy ถูกส่งมาถึงมือ De Niro มองเห็นความเป็นไปได้ในการร่วมงานผกก. Scorsese แต่เจ้าตัวกลับพยายามยื้อยั้ง บอกปัดปฏิเสธ เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับตนเอง ซึ่งขณะนั้น (หลังเสร็จสิ้น Raging Bull (1980)) ร่างกายยังเจ็บปวดอิดๆออดๆ ล้มป่วยโรคปอดบวม/ปอดอักเสบ (Pneumonia) เข้าๆออกๆโรงพยาบาล จากการโหมงานหนักเกินไป รวมทั้งถูกเร่งรีบจากโปรดิวเซอร์ กลัวว่าอาจจะมีการประท้วงหยุดงานของ Directors Guild of America (DGA)
I didn’t really understand where I stood in relationship to the film, the story, Rupert Pupkin, and Jerry Langford, too, until I was in the process of making the film—the shooting, the editing. I don’t think I necessarily liked what I found. What I mean is: I saw myself in Rupert, on the surface, as somebody that came from that appreciation of early television of the 50s—particularly New York variety comedy shows. Steve Allen, Jack Paar. These personalities were so vivid and so strong that they became something very new to me. I really appreciated that part of what I guess you’d call “show business.” That part of me is there in Rupert, there is no doubt.
Martin Scorsese
แซว: ก่อนหน้านี้สไตล์การกำกับของผกก. Scorsese มักให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด ‘improvised’ แต่บทของ Paul Zimmerman เต็มไปด้วยประโยคคำพูดที่ไม่สามารถปรับแก้ไขอะไรได้เลย และ Marty ยังเคยแซวว่าไม่เคยพูดทัน Zimmerman เร็วติดจรวดยิ่งกว่าตนเองเสียอีก!
The King of Comedy had very little improvisation, just wall-to-wall dialogue, which is not surprising since the screenwriter, Paul Zimmerman, speaks even faster than me!
เรื่องราวของ Rupert Pupkin (รับบทโดย Robert De Niro) อ้างตัวเองว่าเป็นตลกยืนเดี่ยว (Stand-up Comedy) กำลังมองหาโอกาสในอาชีพการงาน วันหนึ่งจับพลัดจับพลูได้ขึ้นรถของ Jerry Langford (รับบทโดย Jerry Lewis) พิธีกรรายการ Late-Night Show พยายามพูดโน้มน้าว ขายความสามารถ เพื่อโอกาสปรากฎตัวเป็นแขกรับเชิญในโทรทัศน์ แต่กลับถูกเพิกเฉยเฉื่อยชา วันถัดมาติดต่อกลับไปได้กลับโดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
Rupert จึงครุ่นคิดวางแผนร่วมกับ Masha (รับบทโดย Sandra Bernhard) แฟนคลับเดนตายของ Jerry Langford ที่มีอาการทางประสาทอยู่เล็กๆ เพื่อทำการจี้ปล้น ลักพาตัว แล้วต่อรองโอกาสสำหรับปรากฎตัวในรายการโทรทัศน์ มาลุ้นกันว่าพวกเขาจะสามารถทำสำเร็จได้หรือไม่??
Robert Anthony De Niro Jr. (เกิดปี 1943) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York พ่อมีเชื้อสาย Irish-Italian ประกาศตนว่าเป็นเกย์หย่าขาดกับแม่ตอน De Niro อายุได้ 2 ขวบ เติบโตขึ้นในบริเวณ Little Italy เคยแสดงละครเวทีงานโรงเรียน รับบทเป็น Cowardly Lion เรื่อง The Wizard of Oz ทำให้เริ่มมีความสนใจด้านนี้ พออายุ 16 มุ่งสู่ HB Studio, Stella Adler Conservatory และ Actors Studio กลายเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Lee Strasberg, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Wedding Party (1963) ของผู้กำกับ Brian De Palma แนะนำให้รู้จักจนกลายเป็นขาประจำกับ Martin Scorsese ร่วมงานครั้งแรก Mean Streets (1973) ผลงานเด่นๆ อาทิ The Godfather: Part II (1974) ** คว้า Oscar: Best Supporting Actor, Taxi Driver (1976), The Deer Hunter (1978), Raging Bull (1980) ** คว้า Oscar: Best Actor, Cape Fear (1991), Silver Linings Playbook (2012) ฯ
รับบท Rupert Pupkin เรียกตัวเองว่า ‘The King of Comedy’ ชายผู้มีอาการทางจิต ประสาทหลอน (delusional) ครุ่นคิดเพ้อใฝ่ฝัน อยากประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง ไต่เต้าจากตลกยืนเดี่ยว (Stand-up Comedy) ได้ออกรายการโทรทัศน์ กลายเป็นพิธีกรทอล์คโชว์ และที่สุดคือสามารถครอบครองรัก แต่งงานแฟนสาว Rita Keene (รับบทโดย Diahnne Abbott)
การเตรียมตัวรับบทบาทนี้ของ De Niro นอกจากรับชมสารพัดรายการทอล์คโชว์ ยังพัฒนาเทคนิคเรียกว่า “Role-Reversal” ด้วยการออกไล่ล่าบรรดานักล่าลายเซ็นต์ พูดคุยสอบถามความต้องการ หนึ่งในนั้นคือบุคคลแอบติดตาม (Stalker) De Niro มานานถึงเก้าปี! เพียงเพราะอยากชักชวนอีกฝ่ายไปรับประทานอาหารที่บ้าน ทักทายมารดา โอ้อวดกับเพื่อนฝูงว่าได้สามารถทำสิ่งไม่มีใครคาดคิดถึง
บทบาท Rupert Pupkin มีความละม้ายคล้ายทุกๆตัวละครในหนังของผกก. Scorsese แต่ผมรู้สึกว่าใกล้เคียงที่สุดกับ Travis Bickle จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ต่างเป็นบุคคลมีความหมกมุ่น จริงจัง ใช้ชีวิตอย่างสันโดษเดี่ยว (ถึงอาศัยอยู่กับมารดา แต่ไม่แน่ว่าเธออาจมีอยู่จริง) ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อพิสูจน์การมีตัวตน! แต่ทว่า Rupurt ไม่ใช่ฆาตกรกำจัดขยะสังคม เพียงความลุ่มหลงในโลกมายา ต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง เติมเต็มความเพ้อฝันเล็กๆ “Better to be king for a night than schmuck for a lifetime.”
ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ผมยังพอมองเห็นตัวตนของ De Niro ปรากฎอยู่ในตัวละครนั้นๆ แต่ไม่ใช่สำหรับ The King of Comedy (1982) ทั้งภาพลักษณ์และการแสดง สวมวิญญาณกลายเป็น Rupert Pupkin ล่องลอยอยู่ในมายาคติ ทุกสิ่งอย่างดูจอมปลอม แต่กลับมีความเสมือนจริง (realness) นั่นสร้างความหลอกหลอน ถือเป็นบุคคลอันตราย ต้องส่งเข้ารักษาโรงพยาบาลจิตเวชสถานเดียว
เกร็ด: ผกก. Scorsese มองว่านี่คือบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Robert De Niro
People in America were confused by The King ofComedy and saw Bob as some kind of mannequin. But I felt it was De Niro’s best performance ever. The King of Comedy was right on the edge for us; we couldn’t go any further at that time.
Martin Scorsese
Jerry Lewis ชื่อจริง Joseph Levitch (1926-2017) นักแสดง พิธีกร นักร้อง คอมเมอเดี้ยน สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Newark, New Jersey ในครอบครัวเชื้อสาย Jewish บิดาคือพิธีกร/นักแสดงละครเวที อพยพมาจาก Russian Empire, ช่วงวัยรุ่นนิสัยเกเร กลั่นแกล้งเพื่อนจนถูกไล่ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 15 กลายมาเป็นนักแสดงตลก บ้าใบ้ (mime) กระทั่งได้พบเจอ Dean Martin กลายเป็นคู่หู Martin and Lewis ร้องรำทำเพลง จัดรายการวิทยุ The Martin and Lewis Show, พิธีกรรายการโทรทัศน์ Comedy Hour, รวมถึงพิธีกรประกาศรางวัล Academy Award ค.ศ. 1955, จากนั้นแยกย้ายฉายเดี่ยว ออกอัลบัม แสดงภาพยนตร์ The King of Comedy (1982) ซึ่งทำให้เขาได้รับฉายา “The King of Comedy” ในฝรั่งเศสเรียกว่า “Le Roi du Crazy”
รับบท Jerry Langford พิธีกรรายการโทรทัศน์ The Jerry Langford Show ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่เจ้าตัวกลับเหน็ดเหนื่อยหน่ายต่อบรรดาแฟนๆที่ชอบติดตามตื้อ รุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล เมื่อครั้นถูกลักพาตัวมีสามารถในการเกลี้ยกล่อม ต่อรอง แสดงไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จนเอาตัวรอดหลบหนีออกมาได้สำเร็จ
เกร็ด: Paul D. Zimmerman เขียนบทหนังเรื่องนี้ในช่วงปลายทศวรรษ 60s โดยมีภาพของ Dick Cavett ขณะนั้นเป็นพิธีกรรายการ The Tonight Show และ The Dick Cavett Show
มีพิธีกร/นักแสดงใน ‘show business’ มากมายที่สามารถรับบทบาทนี้ Johnny Carson, Frank Sinatra, Dean Martin, Sammy Davis, Jr., Joey Bishop หรือแม้แต่ Orson Welles, ตัวเลือก Jerry Lewis แม้ถูกทัดทานโดย De Niro เพราะมองว่าอีกฝ่ายมีความ ‘old school’ เกินไป ไม่น่าจะเล่นบทบาทดราม่าได้ดี แต่เพราะ Lewis คือไอดอลของผกก. Scorsese เลยไม่ครุ่นคิดจะเลือกใครอื่น
เกร็ด: ตามบทหนังดั้งเดิม ตัวละครชื่อว่า Bobby Langford แต่ที่เปลี่ยนมาเป็น Jerry Langford ตามชื่อของนักแสดง Jerry Lewis เพราะต้องการให้ผู้ชมรู้สึกมักคุ้นเคยกับนักแสดง เลือนลางระหว่างความจริง-เหตุการณ์ปลอมๆในหนัง
เอาจริงๆผมไม่ค่อยรู้สึกว่า Lewis จะทำอะไรกับบทบาทนี้ไปมากกว่าเป็นตัวของตนเอง เคร่งเครียด เข้มขรึม สวมแว่นทำให้ดูจริงจัง แต่ด้วยบุคลิก ภาพลักษณ์ และประสบการณ์พานผ่านงานด้านนี้ ทำให้เขามีความ ‘น่าเชื่อถือ’ เหมือนมืออาชีพ รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกตัวละครในสถานการณ์ต่างๆ (เพราะหลายเหตุการณ์เคยพบเจอมากับตัวมาทั้งนั้น)
การร่วมงานกับพิธีกร/นักแสดงจาก ‘show business’ เป็นประสบการณ์ท้าทายและแปลกใหม่สำหรับผกก. Scorsese เพราะพวกเขาเหล่านั้นทุกวินาทีคือเงิน! จะให้มารอคิวถ่ายทำก็เสียเวลา อีกทั้งทิฐิก็สูงลิบลิ่ว (เพราะเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมารับงานภาพยนตร์ก็ยังได้) โชคดีที่ Lewis เข้าใจวิถีของวงการภาพยนตร์
I know I’m Number Two in this picture. I won’t give you any difficulty and I’ll do what you want. I’m a consummate professional. I know where I stand. If you want me to wait around, you’re paying for my time, I’ll do that.
Jerry Lewis
ถ่ายภาพโดย Fred Schuler (เกิดปี 1940) สัญชาติเยอรมัน เกิดที่ Munich, จากเคยเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) Dog Day Afternoon (1975), Annie Hall (1977), ผลงานเด่นๆ อาทิ Gloria (1980), Arthur (1981), The King of Comedy (1982) ฯ
สำหรับคนที่รับชมผลงานของผกก. Scorsese ไล่เรียงลำดับมาเรื่อยๆจนกระทั่งเรื่องล่าสุด Raging Bull (1980) ที่มีความแพรวพราว ตระการตาด้วยเทคนิคภาพยนตร์ ย่อมเต็มไปด้วยความคาดหวังต่อ The King of Comedy (1982) แต่เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งยวด เพราะผลงานเรื่องนี้แทบไม่มีลูกเล่นโดดเด่นอะไร ดูธรรมดาสามัญ ไม่หลงเหลือสไตล์ลายเซ็นต์ให้น่าจดจำ
จริงๆมันทำความเข้าใจไม่ยากนะครับ เพราะว่า Raging Bull (1980) คือจุดสูงสุดในอาชีพการงานของผกก. Scorsese ทุ่มเทใส่ทุกสิ่งอย่างลงในผลงานเรื่องนี้ ถึงขนาดเรียกว่า “kamikaze way of making movies” ตั้งใจจะให้เป็นภาพยนตร์ทิ้งท้ายก่อนตาย/รีไทร์จาก Hollywood ซึ่งหลังเสร็จภารกิจก็ย่อมหมดเรี่ยวแรงกาย-ใจ อีกทั้งร่างกายเจ็บปวดอิดๆออดๆ (เพราะโหมงานหนักไป) เลยพยายามมองหาโปรเจคง่ายๆ ถ่ายทำด้วยวิธีการไม่ซับซ้อน นำแรงบันดาลใจ ‘visual style’ จากยุคสมัยหนังเงียบ Life of an American Fireman (1903) กำกับโดย Edwin S. Porter
I decided my next picture was going to be 1903 style, more like Edwin S. Porter’s Life of an American Fireman (1903), using more static camera shots and fewer dramatic close-ups.
Martin Scorsese
วิธีการนี้ของผกก. Scorsese ทำให้เขาไม่ต้องเสียเวลากับเทคนิคถ่ายทำ เพียงรายละเอียด/องค์ประกอบในแต่ละเฟรม แต่กลับเป็นเหตุให้ต้องถ่ายทำมากเทคขึ้นเรื่อยๆ บางช็อตใช้เวลาหลายวัน มีอยู่ฉากหนึ่งลากยาวถึงสองสัปดาห์! โหยหาความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ สิ้นเปลืองฟีล์มไปไม่น้อย แถมยังเพิ่มงานตัดต่ออีกต่างหาก (เพราะมีฟุตเทจใช้งานไม่ได้มากมาย)
การชุมนุมประท้วงของ Writers Guild of America (WGA) ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน (ถึง 12 กรกฎาคม) ค.ศ. 1981 สร้างความหวาดหวั่นวิตกต่อหลายๆสตูดิโอ เพราะกลัวว่าสมาคมอื่นโดยเฉพาะ Directors Guild of America (DGA) จะเรียกร้องหยุดงานเช่นกัน ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อภาพยนตร์หลายๆเรื่องอย่างแน่นอน! ด้วยเหตุนี้โปรดิวเซอร์ Arnon Milchan จึงรีบเร่งผกก. Scorsese ที่ขณะนั้นร่างกายอิดๆออดๆ ไม่พร้อมก็ต้องเปิดกล้องถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ทำงานหามรุ่งหามค่ำ (กลางคืนยังต้องเข้าห้องตัดต่ออีก) ผลลัพท์ทำให้เข้าๆออกๆโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น ไหนจะอารมณ์ ‘perfectionist’ รวมๆแล้วใช้เวลาถ่ายทำกว่า 20 สัปดาห์ (จนถึงช่วงเดือนตุลาคม) … สุดท้ายแล้ว DGA ก็ไม่ได้มีการประท้วงหยุดงานแต่ประการใด
สำหรับสถานที่ถ่ายทำ ปักหลักอยู่ยัง Manhattan, New York City โดยสำนักงาน/สตูดิโอของ Jerry Langford เลือกใช้ตึก Paramount Building ในย่าน Broadway [แต่หนังจัดจำหน่ายโดย 20th Century Fox]
ชื่อหนัง The King of Comedy ปรากฎขึ้นระหว่างการแช่ภาพ ‘freeze frame’ หญิงสาวคนหนึ่ง (Masha) ยกมือตะเกียกตะกายอยู่ภายในรถ ราวกับต้องการขวนขวายไขว่คว้าบางสิ่งอย่าง ชื่อเสียง ความสำเร็จ ในกรณีของ Masha คืออยากได้พูดคุยสนทนา ครอบครองเป็นเจ้าของ Jerry Langford

ภาพยนตร์ที่ Jerry รับชมในอพาร์ทเม้นท์ก็คือ Pickup on South Street (1953) แนวสายสืบ (Spy) ช่วงสงครามเย็น (Cold War) กำกับโดย Samuel Fuller, เรื่องราวเกี่ยวกับหัวขโมยล้วงกระเป๋าเงินหญิงสาว แต่โดยไม่รู้ตัวซุกซ่อน microfilm ข้อมูลลับของรัฐบาลที่กำลังจะถูกส่งต่อให้พวกคอมมิวนิสต์ … ผมยังครุ่นคิดไม่ออกถึงความสัมพันธ์กับหนังสักเท่าไหร่

ดั้งเดิมนั้น Liza Minnelli ตัวจริงๆมารับเชิญ ‘cameo’ รายการทอล์คโชว์ The Jerry Langford Sho (ในเครดิตยังปรากฎชื่อเธออยู่เลยนะครับ) แต่ไม่รู้ทำไมผกก. Scorsese ถึงตัดซีเควนซ์นั้นออกไป เพราะเราสามารถนำมาเปรียบเทียบคู่ขนานกับซีนนี้ เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน, พูดคุยกับกระดาษแข็ง vs. สัมภาษณ์บุคคลจริงๆ (แต่ถือเป็นแฟนตาซีของ Rupert)
ปล. มารดาของ Rupert ให้เสียงโดย Catherine Scorsese มารดาของผกก. Scorsese ซึ่งการไม่เคยปรากฎตัวทำให้สามารถตีความสองแง่สองง่าม อาจมีตัวตน หรือเพียงเสียงหลอกหลอนที่คอยย้ำเตือนสติ (เพราะตัวละครก็มีอาการเห็นภาพหลอนอยู่แล้ว รวมหูแว่วไปด้วยคงไม่ผิดกระไร)


นี่เป็นช็อตที่ผมมองว่ามีความน่าสนใจที่สุดของหนัง Rupert หลังเสร็จจากการอัดเสียงสุนทรพจน์ (Monologue) จู่ๆก็มายืนพูดต่อหน้ารูปภาพฝูงชน กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังราวกับกำลังลอดผ่านอุโมงค์แห่งความเพ้อฝัน ได้ยินเสียง ‘Sound Effect’ ผู้คนอื้งอึง ตอบรับมุกตลกของเขา
สาเหตุเพราะซีนนี้มันมีความเลือนลางไม่ใช่แค่เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน แต่ยังลูกเล่นกับเสียงของ Rupert (ที่พูดออกมาจริงๆ) และเสียงอื้ออึงของผู้คน (ไม่รู้ดังมาจากแห่งหนไหน) ซึ่งสร้างบรรยากาศหลอกหลอน หวาดสะพรึง ราวกับโลกทั้งสองใบผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

เหตุการณ์นี้นำจากประสบการณ์ตรงของ Jerry Lewis เคยพบเจอหญิงสูงวัยกำลังพูดคุยโทรศัพท์ ตอนแรกแค่ขอลายเซ็นต์ก็ยินยอมมอบให้ พร้อมกล่าวคำสรรเสริญเยินยอ “You’re just wonderful.” แล้วได้คืบจะเอาศอก สลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ร้องขอให้เขาสนทนากับญาติในสาย พอตอบปฏิเสธกลับสาปแช่งด่าทอ “I hope you get cancer!” นี่มันลักษณะอาการของผู้ป่วย Bi-Polar … ซีนเล็กๆนี้สะท้อนพฤติกรรมหวาดระแวง ความขัดแย้งในตัวเองของชาวอเมริกันทศวรรษนั้นได้เป็นอย่างดี


ในขณะที่บ้านพักชานเมืองของ Jerry มีความโอ่โถง แสงส่องสว่าง ฝาผนังเต็มไปด้วยภาพวาดผู้คน, ตรงกันข้ามกับบ้านของ Masha โทนสีหม่นๆ ปกคลุมด้วยความมืดมิด รูปภาพ Abstract ยามกลางคืนใช้เพียงแสงเทียน (เหมือนไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ) … ความแตกต่างดังกล่าวสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเขา คนหนึ่งทำงานเพื่อสาธารณะ ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คน ส่วนสอง Stalker หลบซ่อนตัวอยู่ในความมืดมิด จมปลักอยู่ในจินตนาการเพ้อฝัน


ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าภาพวาด Abstract ด้านหลังคือผลงานของใคร แต่สังเกตจากรูปลักษณะ และรองพื้นสีแดง ดูราวกับความรุนแรง อารมณ์ปะทุระเบิด ซึ่งน่าจะสอดคล้องความรู้สึกของสอง Stalker ที่ทำการลักพาตัว Jerry Langford เพราะมิอาจอดรนทนต่อการถูกมองข้าม ไม่เห็นหัว ราวกับไร้ตัวตน เลยตัดสินใจกระทำสิ่งชั่วร้าย (แต่ไม่ได้มาร้าย) แค่ให้ได้
- Rupert โอกาสในการกล่าวสุนทรพจน์ (monologue) ออกอากาศทางโทรทัศน์
- Masha โอกาสในการได้ใกล้ชิด พูดคุยกับ Jerry แสดงออกความรัก และต้องการร่วมเพศสัมพันธ์

ผกก. Scorsese รับบทเป็นผู้กำกับรายการโทรทัศน์ The Jerry Langford Show

Better to be king for a night, than schmuck for a lifetime.
Rupert Pupkin aka. The King of Comedy
ในขณะที่ Rupert ได้กระทำสิ่งตอบสนองตอบสนองความพึงพอใจ กล่าวถ้อยคำสุนทรพจน์ (monologue) ออกอากาศทางโทรทัศน์ เปิดให้กับ Rita มีโอกาสชื่นเชยชม, ตรงกันข้าม Masha ไม่สามารถเติมเต็มตัณหา ร่วมเพศสัมพันธ์กับ Jerry หนำซ้ำยังปล่อยให้เขาหลบหนีเอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย (ส่วนเธอเปลือยกายล่อนจ้อนขณะวิ่งไล่ติดตาม อับอายขายขี้หน้าประชาชีทั่วท้องถนน)
ผมมองนัยยะของการนำเสนอคู่ขนานนี้ คือเส้นแบ่งบางๆระหว่างความสำเร็จ-ล้มเหลว น่าภาคภูมิใจ-อับอายขายขี้หน้า อัจฉริยภาพ-คนบ้าเสียสติ ซึ่งเหมารวมกับชีวิต-การละคอน เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน ในโลกสมัยนั้น-นี้คือสิ่งที่มนุษย์เริ่มจะไม่สามารถแบ่งแยกแยะออกจากกัน

ปัจฉิมบทของหนังนำเสนอภาพข่าวจากโทรทัศน์ (เลยดูเบลอๆ แตกๆ คุณภาพต่ำๆ) หลังจาก Rupert ได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด เขียนหนังสือขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และสุดท้ายได้กลายเป็นพิธีกรรายการทอล์คโชว์สมดั่งใจหวัง … นี่มันคล้ายๆตอนจบ Taxi Driver (1976) ที่สามารถตีความได้สองแง่สองสาม มอบอิสรภาพผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจริง หรือแค่เพียงจินตนาการเพ้อฝันของตัวละคร

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker (เกิดปี 1940) ขาประจำผกก. Martin Scorsese คว้าสามรางวัล Oscar: Best Film Edited จากภาพยนตร์ Raging Bull (1980), The Aviator (2004) และ The Departed (2006)
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Rupert Pupkin ซึ่งจะมีความเลือนลาง สลับสับเปลี่ยนไปมาระหว่างเหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน (หรือจะมองว่าอาการเห็นภาพหลอน, Delusional) ผู้ชมต้องคอยสังเกตแยกแยะเอาเอง เพราะผกก. Scorsese จงใจไม่สร้างจุดสังเกตความแตกต่าง ต้องการให้มันผสมผสาน กลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน … เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของ Powell & Pressburger ที่มักทำการผสมผสานเหตุการณ์จริง-แฟนตาซี คลุกเคล้าเข้ากันอย่างกลมกล่อม
- Rupert Pupkin และ Jerry Langford
- เข้าสู่รายการ The Jerry Langford Show
- Rupert และผองพวกนักล่าลายเซ็นต์ มาดักรอ Jerry Langford อยู่หน้าทางออก
- Rupert สบโอกาสขึ้นรถร่วมกับ Jerry พยายามพูดคุยโน้มน้าว ร้องขอโอกาสในการเป็นแขกรับเชิญ ปรากฎตัวในรายการโทรทัศน์
- ความตั้งใจ/เป้าหมายของ Rupert
- Rupert เพ้อฝันว่าได้ชักชวน Jerry มาร่วมรับประทานอาหาร แล้วอีกฝ่ายพยายามโน้มน้าวร้องขอให้เขาช่วยจัดรายการแทน
- Rupert ชักชวนเพื่อนสมัยเรียนที่เคยแอบชื่นชอบ Rita Keene มารับประทานอาหาร สารภาพความจริง พร้อมขายฝันความสำเร็จ
- Rupert พยายามติดต่อหา Jerry ตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้ แต่ต้องพานผ่านหลายกระบวนการ
- กลับอพาร์ทเม้นท์มาบันทึกเทป ทำการแสดงทอล์คโชว์ เพื่อส่งให้กับเลขาของ Jerry
- เพ้อฝันจินตนาการว่าได้มีโอกาสอัดรายการร่วมกับ Jerry
- ความเป็นจริงที่โหดร้าย
- แต่ความจริงนั้นเทปของ Rupert ถูกบอกปัดเสธจากเลขา
- สร้างความไม่พึงพอใจ จึงบุกเข้าไปในสำนึกงาน ก่อนถูกขับไล่ออกมา
- Rupert ชักชวน Rita ไปที่บ้านของ Jerry แต่กลับถูกอีกฝ่ายขับไล่ออกมาอย่างขายขี้หน้า
- แผนการลักพาตัว
- Rupert ร่วมงานกับ Masha ทำการลักพาตัว Jerry เพื่อเรียกร้องโอกาสในการบันทึกเทปรายการโทรทัศน์
- ในที่สุด Rupert ก็ได้ออกรายการโทรทัศน์ตามความเพ้อฝัน
- ก่อนถูกจับกุม เปิดโทรทัศน์ในบาร์ของ Rita เพื่อแสดงตนว่าได้ทำสำเร็จตามความเพ้อฝัน
ผมว่าหนังดูง่ายกว่า 8½ (1963) เพราะจินตนาการของ Rupert มักเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร จัดรายการทอล์คโชว์ ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน รวมถึงครองรัก-แต่งงานกับแฟนสาว ทุกสิ่งอย่างดูเลิศหรู อุดมคติ สมบูรณ์แบบ ตรงกันข้ามกับชีวิตจริง! … ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ชม(และตัวละคร)ต่างเพ้อใฝ่ฝันด้วยกันทั้งนั้น
ในส่วนของเพลงประกอบ แบบเดียวกับ Raging Bull (1980) ไม่มีการแต่งขึ้นใหม่ ‘Original Soundtrack’ ทั้งหมดเป็นบทเพลง Pop, Jazz, Classical จากศิลปินชื่อดังอย่าง Ray Charles, The Pretender, Rick Ocasek, Talking Heads, B.B. King, Van Morrison ฯ ล้วนนำจากคอลเลคชั่นชื่นชอบส่วนตัวของผกก. Scorsese รวบรวมเรียบเรียงโดย Robbie Robertson ทำออกมาในลักษณะ ‘diegetic music’
จริงๆมีอีกเหตุผลหนึ่งที่หนังไม่มี ‘Original Soundtrack’ เพราะเต็มไปด้วย Sound Effect และบทพูดสนทนาเยอะมากจนไร้ช่องว่างสำหรับแทรกใส่บทเพลง ท่วงทำนองสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ด้วยเหตุนี้เลยเลือกใช้ ‘diegetic music’ คลอประกอบพื้นหลังเบาๆดีกว่า
We couldn’t fit the music in, and though Robbie Robertson put together a terrific soundtrack you can’t hear it in the film because it would have drowned out the dialogue.
Martin Scorsese
Come Rain or Come Shine แต่งโดย Harold Arlen, คำร้องโดย Johnny Mercer, ต้นฉบับประกอบละครเพลง St. Louis Woman (1946), ส่วนฉบับที่ได้ยินระหว่าง Opening Credit ขับร้องโดย Ray Charles ประกอบอัลบัม The Genius of Ray Charles (1959) และช่วงระหว่างการลักพาตัว Jerry Langford จะได้ยินเสียง Sandra Bernhard (ผู้รับบท Masha) ขับร้องสดบทเพลงนี้ด้วยเช่นกัน
I’m gonna love you, like no one loves you
Come rain or come shine
High as a mountain, deep as a river
Come rain or come shineI guess when you met me
It was just one of those things
But don’t ever bet me
‘Cause I’m gonna be true if you let meYou gonna love me, like no one love me
Come rain or come shine
Happy together, unhappy together
Wouldn’t it be fineDays may be cloudy or sunny
We’re in or we are out of the money, yeah
But I’m with you always
I’m with you rain or shineYou gonna love me, like nobody’s loved me
Come rain or come shine
Happy together, unhappy together
Wouldn’t it be fineDays may be cloudy or sunny
We’re in or we are out of the money, yeah
I’m with you always
I’m with you rain or shine
สำหรับ Closing Song ชื่อว่า Wonderful Remark แต่ง/ขับร้องโดย Van Morrison ดั้งเดิมบันทึกเสียงไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 แต่ไม่เคยนำออกเผยแพร่วางจำหน่าย เก็บเข้ากรุไว้จนกระทั่งได้รับเลือกให้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ The King of Comedy (1990)
It was about people who were supposed to be helping you and they weren’t there. It was about the business I’m in and the world in general. A lot of the times you can’t count on anybody.
Van Morrison
How can you stand the silence
That pervades when we all cry?
How can you watch the violence
That erupts before your eyes?
How can you tell us something
Just to keep us hangin’ on?
Something that just don’t mean nothing
When we see it, you are gone
Clinging to some other rainbow
While we’re standing, waiting in the cold
Telling us the same old story
Knowing time is growing oldThat was a wonderful remark
I had my eyes closed in the dark
I sighed a million sighs
I told a million lies, to myself, to myselfHow can we listen to you
When we know your talk is cheap?
How can we ever question
Why we give more and you keep?
How can your empty laughter
Fill a room like ours with joy?
When you’re only playing with us
Like a child does with a toy?
How can we ever feel the freedom
Or the flame lit by the spark
How can we ever come out even
When reality is stark?That was a wonderful remark
I had my eyes closed in the dark, yeah
I sighed a million sighs
I told a million lies, to myself
To myself
Baby, to myself
Baby, to myself, to myself
To myself, to myself
Rupert Pupkin หลายคนมักอ่านนามสกุลผิดๆเป็น Pumpkin ที่แปลว่าฟักทอง แสดงถึงพฤติกรรม(ทอง)ไม่รู้ร้อน ไม่สนใจใยดี สะท้อนเรื่องราวของหนังที่ไม่ค่อยมีใครอยากรับฟังกันและกัน เอาแต่ตะโกนโหวกเหวกโวยวาย แสดงความคิดเห็นโน่นนี่นั่น อยากพิสูจน์การมีตัวตน เรียกร้องความสนใจ เก่งแต่ปาก นักเลงคีย์บอร์ด … ยุคสมัยนั้น-นี้ เรื่องพรรค์นี้ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่
ความหมกมุ่นลุ่มหลงใหลในรายการทอล์คโชว์ของ Rupert สะท้อนอิทธิพลสื่อสารมวลชน (Mass Communication) โทรทัศน์คือหนึ่งในสื่อที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก้าวทันโลก นำเทรนด์แฟนชั่น รวมถึงรับชมสิ่งบันเทิง สร้างความเพลิดเพลินผ่อนคลาย โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน (ปัจจัยที่ห้าของคนยุคสมัยนั้น)
ในบางมุมมอง ‘โทรทัศน์เปรียบเสมือนยาเสพติด’ ที่เมื่อได้ลิ้มลองจะเกิดพฤติกรรมหมกมุ่น ลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ อยากเข้าไปมีส่วนร่วม กลายเป็นส่วนหนึ่ง สักวันฉันต้องได้ออกรายการโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ใครต่อใครพูดกล่าวถึง สร้างความภาคภูมิใจ ตายไปก็ไม่เสียดายอะไร
Stalker อาจคือบุคคลที่มีปัญหาทางจิตบางอย่าง (จากครอบครัว สังคม บุคคลรอบข้างไม่ให้การยินยอมรับ ฯ) แต่ขณะเดียวกันความมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งอย่างจริงจัง ไม่ได้แตกต่างจากบุคคลทั่วไป เพียงเส้นแบ่งบางๆระหว่างคนบ้า-อัจฉริยะ ขึ้นอยู่กับเราจะสามารถทำความเข้าใจ สังคมให้การยินยอมรับ และสิ่งที่แสดงออกก่อให้เกิดประโยชน์-โทษ สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไหน
- ในกรณีของ Rupert มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะออกรายการโทรทัศน์ กล่าวสุนทรพจน์ (Monologue) ซักซ้อมหลายร้อยครั้งจนจดจำขึ้นใจ แม้ใช้ด้วยวิธีการลักพาตัว Jerry Langford ต่อรองจนได้รับโอกาสดังกล่าว เอาจริงๆเทปที่อัดจะไม่นำออกอากาศเลยก็ยังได้ แต่สุดท้ายโปรดิวเซอร์คงมองว่าไม่ได้เลวร้ายเกินไป นั่นคือความสำเร็จเล็กๆที่เกิดจากความพยายาม ถึงจะบ้าแต่สามารถจัดเข้าพวกอัจฉริยะ
- ตรงกันข้ามกับ Masha เริ่มต้นด้วยความรุนแรง ตะเกียกตะกาย ถ้อยคำหยาบคาย เป้าหมายของเธอคือครอบครองเป็นเจ้าของ Jerry Langford และเมื่อได้อยู่กับเขาสองต่อสอง ก็ปลดเปลื้องเปลือยกาย ต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ นั่นคือสิ่งที่ไม่มีใครให้การยินยอมรับ แม้แต่ Jerry ก็มิอาจอดกลั้นฝืนทน ตบหน้าเธอฉาดใหญ่ก่อนหลบหนีออกมา นั่นบ้าแท้ๆ ต้องเข้ารักษาโรงพยาบาลจิตเวช
แซว: แม้ว่า Rupert Pupkin จะเรียกตัวเองว่า The King of Comedy แต่ถ้าสังเกตจากภาพโปสเตอร์หนัง ตัวเขาอยู่ในกรอบไพ่ Joker (มันช่างเป็นความเข้ากันได้ดีกับภาพยนตร์ Joker (2019)) ขณะที่ The King ตัวจริงก็คือ Jerry Langford
สำหรับผกก. Scorsese แรกเริ่มต้นไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงตนเองกับเรื่องราวของหนัง (ผิดกับ De Niro ซึ่งเป็นนักแสดง มีชื่อเสียงโด่งดัง จึงไม่แปลกจะเคยพบเจอนักล่าลายเซ็นต์/Stalker ติดตามตัวไปทุกแห่งหน) มากสุดก็แค่ชื่นชอบรายการทอล์คโชว์ ยกให้ Jerry Lewis คือไอดอลส่วนตัว
แต่ระหว่างการถ่ายทำได้ไม่นาน เริ่มตระหนักถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ภาพยนตร์คือส่วนหนึ่งของ ‘show business’ หวนระลึกถึงหลายๆประสบการณ์ ตั้งแต่สมัยยังวัยรุ่นคลั่งไคล้นักแสดง ประหม่าทุกครั้งขณะเข้าหาผู้กำกับรุ่นใหญ่/ไอดอลประจำใจ แล้วพอตนเองกลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์ พบเห็นคนรุ่นใหม่พยายามเข้าหาไม่แตกต่างกัน
I went to the ten p.m. show of King of Comedy. On the screen, the scene is playing where Rupert pushes Jerry into Jerry’s limousine and says he’s gotta talk to him. He’s out of breath. “Take it easy, kid,” Jerry tells him. Meanwhile, in the back row of the theater, a kid grabs me by the arm and he’s saying he’s got to talk to me. He’s out of breath. I tell him to take it easy. It’s the exact same scene that’s on the screen!
Martin Scorsese
ผมอ่านเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งของผกก. Scorsese บอกว่า The King of Comedy (1982) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีความอยาก ไม่เคยหวนกลับมารับชมนานนับทศวรรษ เพราะความรู้สึกอัดอั้น อับอาย ช่วงเวลาในชีวิตที่ไม่น่าอภิรมณ์เริงใจสักเท่าไหร่ (คงเป็นเหตุผลเดียวกับที่ Marty ยังไม่ยอมดู Joker (2019) ไถสีข้างว่าตนเองเป็นโปรดิวเซอร์ เคยอ่านบท พบเห็นฟุตเทจ เข้าใจรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง เลยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบรับชม)
สืบเนื่องจากความล้มเหลวของ New York, New York (1977) สร้างหายนะทั้งร่างกาย-จิตใจให้ผกก. Scorsese โชคดีได้รับความช่วยเหลือจาก De Niro สรรค์สร้าง Raging Bull (1980) คาดหวังให้เป็นผลงานทิ้งท้าย(ก่อนตาย) แต่ผลลัพท์กลับยังไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งขาดหาย บังเกิดความสงบสุขขึ้นภายใน (inner peace) เลยเกิดความตั้งใจใหม่ว่าจะระบายทุกสิ่งอย่างกับโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ
แต่ก่อนถึงวันนั้นจำต้องสรรค์สร้างภาพยนตร์ขัดตาทัพ The King of Comedy (1982) นำเสนอเรื่องราวของคนบ้า กล้าที่จะทำทุกสิ่งอย่าง พยายามต่อรองร้องขอให้ตนเองได้ออกรายการโทรทัศน์ (Marty ขอโอกาสจากสตูดิโอเพื่อสรรค์สร้างโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ) ถ้าฉันทำสำเร็จตามความฝัน จะเป็นจะตาย อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็ช่างหัวมัน
นอกจากนี้ The King of Comedy (1982) ยังคือภาพยนตร์ที่ผกก. Scorsese ถือเป็นจุดเปลี่ยนยุคสมัย ทั้งกับตัวตนเอง และวิถีของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป
- เริ่มจากวิธีคิด สไตล์การทำงาน ผสมผสานลูกเล่นภาพยนตร์ โดยเฉพาะพฤติกรรมหมกมุ่นความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ ฯลฯ ถือได้ว่าปรับเปลี่ยน แตกต่างจาก Raging Bull (1980) และผลงานก่อนหน้านั้นพอสมควร
- การล่มสลายของ United Artists ภายหลังขาดทุนย่อยยับกับ Heaven’s Gate (1980) ทำให้แนวทางการสร้างภาพยนตร์กำลังค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป ผู้กำกับเริ่มสูญเสียอิสรภาพในการทำงาน ถูกสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์เข้ามาก้าวก่าย (โดยเฉพาะหนังทุนสูง) ไม่ค่อยอนุมัติโปรเจคที่มีความเป็นส่วนตัวหรือมีความเสี่ยงสูงอีกต่อไป
โดยไม่ทราบสาเหตุ หนังเริ่มต้นการฉายที่ประเทศ Iceland ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 ก่อนมาถึงสหรัฐอเมริกาวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 แล้วได้รับเลือกเป็นหนังเปิดเทศกาลหนังเมือง Cannes ค.ศ. 1983 น่าเสียดายไม่ได้รางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา
ด้วยความที่ Raging Bull (1980) แพรวพราวด้วยเทคนิคภาพยนตร์ งดงามระดับวิจิตรศิลป์, ผลงานถัดมา The King of Comedy (1982) กลับแทบไม่มีลูกเล่นอะไรให้พูดกล่าวถึง นั่นอาจสร้างความผิดหวังให้ผู้ชม/นักวิจารณ์ ด้วยทุนสร้าง $19 ล้านเหรียญ เลยสามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $2.5 ล้านเหรียญ ถือว่าขาดทุนย่อยยับสามเรื่องติดของผกก. Scorsese (ถัดจาก New York, New York (1977) และ Raging Bull (1980)) จึงถูกมองข้ามจากทั้ง Oscar และ Golden Globe ถึงอย่างนั้นกลับยังได้เข้าชิง BAFTA Award จำนวน 5 สาขา คว้ามาหนึ่งรางวัล
- Best Director
- Best Actor (Robert De Niro)
- Best Supporting Actor (Jerry Lewis)
- Best Original Screenplay**คว้ารางวัล
- Best Editing
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 4K เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ฉบับ Blu-Ray มีแต่ของค่าย Twentieth Century Fox ไม่รู้สามารถหารับชมช่องทาง Disney+ ได้หรือยัง แต่พบเห็นออนไลน์ทาง Amazon Prime
เกร็ด: The King of Comedy (1982) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้กำกับ Akira Kurosawa
ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยติดตามดูรายการทอล์คโชว์ Tonight Show, Late Night Show สัมภาษณ์ดารานักแสดง รับฟังมุมมองคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ก็ติดตามพิธีกรอยู่แค่ไม่กี่คนอย่าง Conan, David Letterman, Craig Ferguson, Graham Norton (ส่วนใหญ่เกษียณไปหมดแล้ว) เลยค่อนข้างชื่นชอบภาพยนตร์ที่นำเสนอความวุ่นๆวายๆ ทั้งเบื้องหน้า-หลังจอโทรทัศน์
แม้ครึ่งแรกของหนังจะทำให้ผมรู้สึกอับอาย กรีดกราย อยากเบือนหน้าหนีหลายครั้งครา แต่ตั้งแต่การลักพาตัว Jerry Langford/Lewis สามารถสร้างเสียงหัวเราะ อารมณ์ขบขัน ผ่อนคลายบรรยากาศตึงเครียด และค่อยๆสามารถทำความเข้าใจเป้าหมายของผกก. Scorsese ที่คั่งค้างมาจาก Raging Bull (1980) จนเสร็จสร้าง The King of Comedy (1982) ก็ยังไม่สามารถผ่อนคลายความรู้สึกอัดอั้นภายใน
จัดเรต 15+ กับการลักพาตัว พฤติกรรม Stalker พร่ำเพ้ออยู่ในโลกแห่งความฝัน
Leave a Reply