The Last Temptation of Christ

The Last Temptation of Christ (1988) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♡

ภาพยนตร์อ้างอิงศาสนา (Religious) ที่ไม่ใช่แค่ชีวประวัติ Jesus Christ แต่ยังรวมถึงผู้กำกับ Martin Scorsese เคยพานผ่านช่วงเวลาสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายใน ไม่แน่ใจเป้าหมายของตนเอง และเมื่อได้สรรค์สร้าง ‘passion project’ ก็ถือว่าภารกิจสำเร็จลุล่วงเสียที!

This film is not based upon the Gospels but upon this fictional exploration of the eternal spiritual conflict.

หนึ่งในข้อความเกริ่นนำของหนัง พยายามอธิบายว่าเรื่องราวของ The Last Temptation of Christ (1988) ไม่ได้อ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์ไบเบิล เพียงนำเหตุการณ์สำคัญๆที่ใครๆต่างรับรู้จัก อาทิ พิธีจุ่มศีล (Baptist) เผยแพร่ศาสนา พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper) รวมถึงการตรึงกางเขน (Crucifixion) ทำออกมาในเชิงตั้งคำถาม ขัดย้อนแย้งความเชื่อดั้งเดิม โดยประเด็นหลักๆคือ ‘สร้างความเป็นมนุษย์’ ให้กับ Jesus Christ แสดงความสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายใน (ถูกล่อลวง ‘Temptation’ โดยซาตาน) ไม่แน่ใจในตนเองว่าคือบุตรของพระเจ้าหรือไม่?

I am left after the film with the conviction that it is as much about Scorsese as about Christ… What makes “The Last Temptation of Christ” one of his great films is not that it is true about Jesus but that it is true about Scorsese. Like countless others, he has found aspects of the Christ story that speak to him.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 พร้อมจัดเป็น Great Movie

ในมุมมองหนึ่งมันคือการบิดเบือนจากคัมภีร์ไบเบิล ดูหมิ่นศาสนา (blasphemous) สร้างความไม่พึงพอใจต่อหลากหลายองค์กร นำไปสู่การประท้วง ก่อการร้าย แบนห้ามฉาย รวมถึงจดหมายขู่ฆ่าผกก. Scorsese … ถือเป็นหนึ่งใน The Most Controversial Movies of All Time (นิตยสาร TIMEOUT ยกให้อันดับหนึ่งเลยนะ)

แต่ถ้าคุณสามารถมอบผ่านประเด็นเหล่านั้น ครุ่นคิดทำความเข้าใจวัตถุประสงค์แท้จริงของผู้สร้าง หรืออาจไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ จะพบว่า “neither blasphemous nor offensive” นี่คือภาพยนตร์แห่งศรัทธาของผกก. Scorsese เพื่อที่จะค้นพบตัวตนเอง ตระหนักถึงเป้าหมายชีวิต บังเกิดความมุ่งมั่นทำในสิ่งได้รับมอบหมาย(จากพระเจ้า)

ปล. การล่อหลอกครั้งสุดท้ายของซาตาน ‘The Last Temptation of Christ’ ด้วยการนำเสนอภาพอนาคตลวงตา ถ้าสมมติว่า Jesus Christ ไม่ยินยอมสละชีพบนไม้กางเขน ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) ในลักษณะตรงกันข้าม (เรื่องนี้เทวดาช่วยให้ James Stewart ล้มเลิกตั้งใจฆ่าตัวตาย ด้วยการนำเสนอภาพอนาคตที่โหดร้าย)


Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด! วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมภายนอก พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) แล้วต่อปริญญาโทวิจิตรศิลป์ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts)

ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Mean Streets (1973), Taxi Driver (1967), Raging Bull (1980) ฯ

ตั้งแต่ครั้นยังเป็นเด็ก ร่ำเรียนสามเณราลัย ผู้ช่วยพระทำพิธีในโบสถ์ (Altar Boy) Scorsese วาดฝันอยากมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ในรูปแบบของตนเอง!

เมื่อเติบโตขึ้นระหว่างสรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สอง Boxcar Bertha (1972), นักแสดงนำหญิง Barbara Hershey ได้มอบหนังสือ The Last Temptation of Christ (1955) เขียนโดย Nikos Kazantzakis พร้อมล็อบบี้ด้วยว่าถ้า Scorsese มีโอกาสดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ ขอเป็นตัวเลือกรับบท Mary Magdalene (แล้วเธอก็ได้จริงๆนะ)

Nikos Kazantzakis, Νίκος Καζαντζάκης (1883-1957) นักเขียน/นักแปล นักปรัชญาชาวกรีก ผู้บุกเบิกวรรณกรรมกรีกยุคสมัยใหม่ (Greek Modern Literature) เคยได้เข้าชิง Nobel Prize สาขาวรรณกรรมถึง 9 ครั้ง! ผลงานเด่นๆ อาทิ Zorba the Greek (1946), Christ Recrucified (1948), Captain Michalis (1950) และ The Last Temptation of Christ (1955)

The Last Temptation of Christ หรือ The Last Temptation นวนิยายประวัติศาสตร์ อิงศาสนา เริ่มต้นตีพิมพ์เป็นภาษากรีก ค.ศ. 1955 แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1960, นำเสนอเรื่องราวของ Jesus Christ ที่ต้องเผชิญหน้าสารพัดสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ ทั้งความสับสน หวาดกังวล ซึมเศร้า หดหู่ โล้เล้ลังเลใจ ตัณหาความใคร่ รวมถึงกลัวความตาย

This book is not a biography; it is the confession of every man who struggles. In publishing it I have fulfilled my duty, the duty of a person who has struggled much, was much embittered in his life, and had many hopes. I am certain that every free man who reads this book, so filled as it is with love, will more than ever before, better than ever before, love Christ.

อารัมบทของ Nikos Kazantzakis

เมื่อหนังสือวางแผงจัดจำหน่าย Catholic Church และ Greek Orthodox Church ทำการประณาม (Comdemned) ตีตราว่าบิดเบือน ดูหมิ่นศาสนา ลดฐานะ Jesus Christ ไม่ต่างจากสามัญชนคนธรรมดา

[The Last Temptation of Christ] contains evil slanders against the Godlike person of Jesus Christ. … derived from the inspiration of the theories of Freud and historical materialism, [this book] perverts and hurts the Gospel discernment and the God-man figure of our Lord Jesus Christ in a way coarse, vulgar, and blasphemous.

Greek Orthodox Church

ในตอนแรกผกก. Sidney Lumet ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงหนังสือเล่มดังกล่าว ให้คำนิยามเรื่องราว “[the story] of how a man pushes himself to extremes he never knew he was capable of” ทั้งยังชื่นชมการตีความ Judas เปรียบดั่ง “as a strong man, sort of hero” มอบหมายหน้าที่ดัดแปลงบท Lazarre Seymour Simckes ตั้งใจจะเปิดกล้องถ่ายทำช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1971 แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ผกก. Scorsese ตั้งแต่ได้รับหนังสือเล่มนี้มา ค.ศ. 1972 ค่อยๆเปิดอ่านอย่างช้าๆ เพราะมีความชื่นชอบหลงใหลสไตล์การเขียนของ Kazantzakis ใช้เวลานานกว่า 6 ปี จบสิ้นหน้าสุดท้ายช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1978 แล้วตระหนักว่านี่คือโปรเจคในฝัน ‘passion project’ ต้องการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์โดยพลัน!

The beauty of Kazantzakis’ concept is that Jesus has to put up with everything we go through, all the doubts and fears and anger. He made me feel like he’s sinning—but he’s not sinning, he’s just human. As well as divine. And he has to deal with all this double, triple guilt on the cross.

Martin Scorsese

สืบเนื่องจากความล้มเหลวของ New York, New York (1977) สร้างหายนะทั้งร่างกาย-จิตใจให้ผกก. Scorsese โชคดีได้รับความช่วยเหลือจาก De Niro ปลุกขึ้นมาสรรค์สร้าง Raging Bull (1980) คาดหวังให้เป็นภาพยนตร์ทิ้งท้าย(ก่อนตาย) แต่ผลลัพท์กลับยังไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งขาดหาย ความสงบสุขขึ้นภายใน (inner peace) เลยเกิดความตั้งใจใหม่ว่าจะระบายทุกสิ่งอย่างกับโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ

หลังเสร็จจาก The King of Comedy (1982) ผกก. Scorsese ก็มีแผนจะสรรค์สร้าง The Last Temptation of Christ เป็นผลงานลำดับถัดไป ได้รับทุนสนับสนุนจาก Paramount Pictures อนุญาตให้เดินทางไปถ่ายทำยังประเทศ Israel นำแสดงโดย Aidan Quinn รับบท Jesus Christ, นักร้อง Sting เล่นบท Pontius Pilate, Ray Davies เล่นเป็น Judas Iscariot, Vanity แสดงเป็น Mary Magdalene, แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเริ่มถ่ายทำ Gulf+Western (บริษัทแม่ของ Paramount Pictures) มีความหวาดกังวลต่องบประมาณที่บานปลาย (เริ่มจาก $12 ล้านเหรียญ พุ่งทะยานสู่ $14-16 ล้านเหรียญ) รวมถึงได้รับจดหมายจากกลุ่มศาสนา เรียกร้องให้ล้มเลิกโปรเจคดังกล่าว ผลลัพท์จึงถูกสั่งยุติงานสร้างโดยพลัน!

After The Last Temptation was cancelled in ’83, I had to get myself back in shape. Work out. And this was working out. First After Hours, on a small scale. The idea was that I should be able, if Last Temptation ever came along again, to make it like After Hours, because that’s all the money I’m gonna get for it. Then the question was: Are you going to survive as a Hollywood filmmaker? Because even though I live in New York, I’m a “Hollywood director.” Then again, even when I try to make a Hollywood film, there’s something in me that says, “Go the other way.” With The Color of Money, working with two big stars, we tried to make a Hollywood movie. Or rather, I tried to make one of my pictures, but with a Hollywood star: Paul Newman. That was mainly making a film about an American icon. That’s what I zeroed in on… But it was always Work in Progress, to try to get to make Last Temptation.

Martin Scorsese

หลังจากภาพยนตร์ After Hours (1985) ไปคว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และ The Color of Money (1986) ทำกำไรได้มหาศาล (Paul Newman คว้ารางวัล Oscar: Best Actor) นั่นทำให้ Universal Studio มีความสนอกสนใจในตัวผกก. Scorsese ยื่นหมูยื่นแมว พร้อมมอบเงินทุน $7 ล้านเหรียญสำหรับโปรเจค The Last Temptation of Christ แลกเปลี่ยนกับอนาคตสรรค์สร้างภาพยนตร์กระแสหลัก (mainstream) เรื่อง Cape Fear (1991)

I never thought I could make a movie like this for a place like Universal. They represented a certain kind of filmmaking. But from the moment I met Tom Pollock and Sid Sheinberg, I felt a new attitude, a new openness. I’ve never felt such support from any studio. They never said change one thing. They made suggestions; everybody made suggestions. And they knew it was a hard sell. But from the very first screening of the three-hour cut, they were moved, they were teary-eyed, they just loved it. I just hope they get through everything. But the toughness you used to hear about Universal against filmmakers, that’s how tough they’re being in defense of this movie. The more they get slapped, the more they hit back.

แซว: “Certain kind of filmmaking” ที่ผกก. Scorsese กล่าวถึงนี้ หมายถึงความจุ้นจ้าน เรื่องมากของผู้บริหารสตูดิโอ Universal มีคำเรียก/ชื่อเล่นในวงการ “black suits and black hearts” สนเพียงการค้า ทำกำไร ต่อรองด้วยยาก … แต่ถ้าคุณเป็นบุคคลมีชื่อเสียงอย่าง Christopher Nolan นำโปรเจค Oppenheimer (2023) ลงทุนระดับร้อยล้านไปนำเสนอ การันตีกำไรแน่ๆ ก็จะไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายอะไร


สำหรับบทภาพยนตร์ดัดแปลงโดย Paul Schrader (เกิดปี 1946) นักเขียน/นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Grand Rapids, Michigan ในครอบครัวเคร่งครัด Calvinism (สาขาหนึ่งของ Protestant) ไม่เคยมีโอกาสรับชมภาพยนตร์จนกระทั่งอายุ 17 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีความแรกประทับใจสักเท่าไหร่, โตขึ้นสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะปรัชญา สาขาเทววิทยาจาก Calvin College ตั้งใจจะเป็นบาทหลวง ก่อนเปลี่ยนมาศึกษาภาพยนตร์ UCLA School of Theater, Film and Television สนิทสนมกับ Pauline Kael ถูกชักชวนมาทำงานวิจารณ์ภาพยนตร์นิตยสาร Los Angeles Free Press ตามด้วย Cinema, เขียนหนังสือ Transcendental Style in Film: Ozu, Bresson, Dreye (1972), พัฒนาบทหนัง The Yakuza (1974) ขายให้ผู้กำกับ Sydney Pollack สนราคา $325,000 เหรียญ, ผลงานเด่นๆ อาทิ Taxi Driver (1976), Raging Bull (1980), กำกับภาพยนตร์ Blue Collar (1978), Hardcore (1979), American Gigolo (1980), Mishima: A Life in Four Chapters (1985) ฯ

สำหรับ The Last Temptation of Christ (1988) ก็ถือเป็น ‘passion project’ ของ Schrader เพราะเขาก็มีพื้นหลังเคร่งศาสนาไม่ต่างจากผกก. Scorsese พัฒนาบทเสร็จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ด้วยความล่าช้าไม่ได้สร้างสักที เลยพยายามต่อรองว่าถ้าไม่สามารถกำกับ จะลงมือสานต่อโปรเจคนี้ด้วยตนเอง

There was a period about three years ago when it looked like he was faltering. And I made some moves to get it. I notified Marty. I said, ‘I hear that your enthusiasm is waning, and there are some people in Egypt and France that might have some money. If you ever slacken I will walk over your back to get this movie done.’ And he wrote me back this long furious letter and said, ‘You will have to pull the script from my dying hands.’

Paul Schrader กล่าวถึงความล่าช้าของ The Last Temptation of Christ (1988)

ในส่วนของบทสนทนา ผกก. Scorsese ไม่ต้องการให้ตัวละครพูดเหมือนอ่านจากคัมภีร์ไบเบิล เลยทำการปรับปรุง ‘dialogue’ ใหม่เกือบหมด (รวมถึงสำเนียงเสียงพูด ซาตานกับชาวโรมันจะมีสำเนียง British) ร่วมงานกับนักเขียน/นักวิจารณ์ Jay Cocks แต่ยังคงโครงสร้างการดำเนินเรื่องทั้งหมดของ Schrader

I did want to break away from the sound of the old biblical epics, to make the dialogue plainer, more contemporary. That’s mainly what Jay Cocks and I did the last six drafts of the script. We rewrote 80 percent of the dialogue, arguing over every word. Jesus says to Judas, “You have the harder job.” “Job?” Is that the right word, the simplest, the most effective? Make it more immediate, so people have a sense of who these guys were, not out of a book or a painting, but as if they lived and spoke right now. The accents do that too.

Martin Scorsese

เกร็ด: ทีแรกผกก. Scorsese อยากขึ้นเครดิตให้กับทั้งนักเขียนสองคน แต่พอนำไปพูดคุยกับ Writers Guild of America (WGA) ยินยอมให้ขึ้นเครดิตเพียง Paul Schrader (อาจเพราะ Cocks ไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆกับเนื้อเรื่องราว) … เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้สร้างความบาดหมายระหว่างผกก. Scorsese กับ Jay Cocks ทั้งสองยังคงร่วมงาน The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002) และ Silence (2006)


เรื่องราวเริ่มต้นที่ Jesus of Nazareth (รับบทโดย Willem Dafoe) ช่างทำไม้กางเขนอยู่ Judea รู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเอง กับแผนการที่พระเจ้าคาดหวังไว้, วันหนึ่ง Judas Iscariot ถูกส่งมาฆ่าปิดปาก Jesus แต่ครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายอาจเป็นพระผู้มาไถ่ (Messiah) จึงเรียกร้องขอให้อีกฝ่ายพิสูจน์ตนเอง

จากนั้น Jesus ก็เริ่มออกเดินทาง ให้ความช่วยเหลือโสเภณี Mary Magdalene (รับบทโดย Barbara Hershey), รับการจุ่มศีลจาก John the Baptist (รับบทโดย Andre Gregory), นั่งกลางทะเลทราย ถูกซาตานพยายามล่อลวงให้สูญเสียความเชื่อมั่น, จากนั้นออกเผยแพร่คำสอนศาสนา, แสดงปาฏิหารย์ชุบชีวิต Lazarus จากความตาย, เดินทางสู่ Jerusalem ขับไล่พวกพ่อค้าออกจากโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ และประกาศจะโค่นล้มจักรวรรดิโรมัน

แต่ทันใดนั้นมือทั้งสองข้างของ Jesus พลันเลือดไหลออกมา นั่นคือลางบอกเหตุ/สัญลักษณ์การเสียชีวิตบนไม้กางเขน นั่นทำให้เกิดอาการหวาดหวั่น เกรงกลัวความตาย หลังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย โดนทหารโรมันจับกุมตัว ตัดสินโทษประหารชีวิต ระหว่างถูกตรึงบนกางเขน เด็กหญิงคนหนึ่งอ้างตัวว่าเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ นำพาจิตวิญญาณมุ่งสู่ชีวิตแห่งความสุข แต่งงานกับ Mary Magdalene ตามด้วย Mary และ Martha ใช้ชีวิตจนแก่ชรา จนกระทั่งได้รับการปลุกตื่นโดย Judas Iscariot ตระหนักว่าทุกสิ่งอย่างแค่เพียงความเพ้อฝัน การล่อลวงครั้งสุดท้ายของซาตาน


William James ‘Willem’ Dafoe (เกิดปี 1955) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Appleton, Wisconsin มีพี่น้องแปดคน, ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าเรียนสาขาการแสดง University of Wisconsin–Milwaukee แต่แค่ปีเดียวก็ออกมาเข้าร่วมคณะการแสดง Theatre X in Milwaukee พอย้ายมาปักหลัก New York City จึงได้เข้าร่วม The Performance Group, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจากบทสมทบ Heaven’s Gate (1979), พระเอกเรื่องแรก The Loveless (1981), โด่งดังจากบทตัวร้าย The Hunger (1986), ตามด้วย Platoon (1986), รับบท Jesus Christ เรื่อง The Last Temptation of Christ (1988), Mississippi Burning (1988) ฯ

โดยปกติแล้ว Jesus Christ ต้องมีความสง่างาม น้ำเสียง-สายตา มีความหนักแน่น แน่วแน่ จริงจัง ท่าทางไม่วอกแวก ลุกรี้ร้อนรน เอ่อล้นด้วยความเชื่อมั่น รับรู้เป้าหมายแท้จริงของตนเอง … แต่ทั้งหมดนี้ไม่ปรากฎอยู่ในตัว Dafoe เต็มไปด้วยความสับสน หวาดกังวล ขาดความเชื่อมั่นใจ ดูเหมือนบุคคลกระทำสิ่งชั่วร้าย ขนาดว่าผกก. Sergio Leone แสดงความคิดเห็น “That is the face of a murderer, not of Our Lord!”

นักแสดงคนแรกที่ผกก. Scorsese อยากให้รับบท Jesus Christ ก็คือ Robert De Niro แต่เจ้าตัวไม่มีความสนใจในภาพยนตร์อิงศาสนา ยกเว้นบอกว่าถ้าหาใครไม่ได้จริงๆก็จะยินยอมตอบตกลง, ต่อมาได้รับการตอบรับจาก Aidan Quinn แต่ก็ขอถอนตัวเมื่อ Paramount ถอนทุนสร้าง, Eric Roberts, Christopher Walken, Ed Harris, สำหรับ Willem Dafoe ขณะนั้นเพิ่งกลับถ่ายทำภาพยนตร์ Off Limits (1988) ในประเทศไทย ได้รับโทรศัพท์ นัดหมายพูดคุย แค่นั้นเอง ไม่ได้มีการออดิชั่นอะไร

So they sent me the script, I read it, I loved it, and I met with him [Scorsese], had a short meeting, we talked and that was basically it. There was no big decision, it couldn’t have been more direct. Of course, I would have done anything in that movie, it’s Scorsese.

Willem Dafoe

การแสดงของ Dafoe มีจุดประสงค์เดียวเท่านั้นคือพยายามทำให้ Jesus Christ ไม่ได้สูงส่ง สมบูรณ์แบบ แต่พบเห็นความเป็นมนุษย์ สามารถแสดงออกทางอารมณ์ ถ้อยคำพูดสนทนาเหมือนบุคคลทั่วไป ทั้งยังอากัปกิริยา สีหน้า ท่วงท่า ขยับเคลื่อนไหวดูวอกแวก ลุกรี้ร้อนรน เหมือนคนเต็มไปด้วยความวิตกกังวล หวาดระแวง ขัดย้อนแย้ง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และที่หาญกล้าอย่างมากๆก็คือ Sex Scene และเปลือยกายตรึงไม้กางเขน … ถือเป็นบทบาทที่ต้องใช้ร่างกายอย่างมากๆทีเดียว

I have so many memories from filming because it’s vivid in my imagination, still—I can remember very specific scenes and sensations because it was one of the most demanding roles, physically, for me. It was full-on. [The hardest part] was being on the cross. Regardless of your religious upbringing, you have a strong association of what that is, and then when you take it onto your body it’s very powerful.

ความพยายามของ Dafoe ในการทำให้ Jesus Christ มีความเป็นมนุษย์นั้น ทำให้ตัวละครที่ควรมีความโดดเด่น สง่างาม ดูกลมกลืนไปกับตัวประกอบพื้นหลัง แถมการยืนอยู่เบื้องหน้า คำพูดเผยแพร่พระวาจา แต่ตนเองกลับเต็มไปด้วยความสับสน หวาดกังวล มันช่างดูขัดย้อนแย้งในตัวเองเหลือทน

ผมมองว่า Dafoe แสดงความเป็นมนุษย์ของ Jesus Christ ออกมาได้น่าสนใจดี ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิด แต่มันกลับขัดแย้งกับทุกสิ่งที่ควรเป็น (ลองมองในมุมถ้าบุคคลไร้ศักยภาพ/ความสามารถ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ถูกผลักดันให้กลายเป็นผู้นำ จะทำให้โครงการ/องค์กร ประสบความสำเร็จได้อย่างไร?)

แซว: Willem Dafoe ขณะนั้นเป็นคนสูบบุหรี่จัด แต่ผกก. Scorsese ยังไม่หายจากโรคปอดบวม/ปอดอักเสบ (Pneumonia) จึงสั่งห้ามสูบบุหรี่ในกองถ่าย Dafoe เลยทำได้เพียงคาบมวนบุหรี่ รอคอยเวลาว่างระหว่างพักการถ่ายทำ ถึงค่อยเดินหาสถานที่สูบไกลๆ


Harvey Keitel (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York City ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Romania และ Poland, พออายุ 16 อาสาสมัครเป็นทหารเรือ ประจำการอยู่ Lebanon หลังปลดประจำการทำงานนักชวเลขในชั้นศาล (Court Stenographer) นานกว่าสิบปี ก่อนตัดสินใจผันตัวสู่วงการบันเทิง เข้าศึกษาการแสดงจาก HB Studio ลูกศิษย์ของ Stella Adler และ Lee Strasberg, ต่อมาได้รับบทบาทเล็กๆในการแสดง Off-Broadway จากนั้นเข้าทดสอบหน้ากล้องภาพยนตร์เรื่องแรกของ Martin Scorsese ได้รับบทนำ Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดกับ Mean Streets (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), Taxi Driver (1976), The Last Temptation of Christ (1988), Thelma & Louise (1991), Bugsy (1991) ** เข้าชิง Oscar: Best Actor, Reservoir Dogs (1992), Bad Lieutenant (1992), Pulp Fiction (1994)

โดยปกติแล้ว Judas Iscariot หนึ่งในสิบสองอัครทูต (Apostles) เป็นที่รู้จักกันว่าคือผู้ทรยศ ทำการชี้ตัว Jesus Christ ให้ถูกทหารโรมันจับกุม นำสู่การตรึงไม้กางเขน แต่การตีความใหม่ของ The Last Temptation of Christ นำเสนอ Judas คือบุคคลใกล้ชิด สนิทสนม (กว่าอัครทูตอื่นที่แทบจะไร้ตัวตน) คอยให้คำแนะนำ ส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงปลุกตื่นจากฝันหวาน เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น ซื่อสัตย์ จงรักภักดี มือขวาของ Jesus ไม่เคยคิดคดทรยศหักหลังประการใด!

หลังจากที่ Ray Davies ถอนตัวออกไป, Jeff Bridges เขียนจดหมายโน้มน้าวผกก. Scorsese แสดงความต้องการบทบาทนี้อย่างแรงกล้า แต่สุดท้ายกลับเลือกเพื่อนสนิท/ขาประจำ Harvey Keitel ที่ถูกใครต่อใครตีตราว่าไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่

เหตุผลหลักๆน่าจะเพราะ Keitel เป็นคนที่มีสำเนียง Brooklyn หนักมากๆ (ใครรับชมหลายๆผลงานของ Keitel ก็น่าจะมักคุ้นสำเนียงแปลกๆของพี่แก) พยายามจะใช้สำเนียงอเมริกันกลาง ก็ฟังดูแปลกๆ ทะแม่งๆ อีกทั้งมาดนักเลง อึดถึก ของ Keitel ไม่มีความเข้ากับ Judas ที่เปลี่ยนจากคนทรยศ เป็นซื่อสัตย์ จงรักภักดี (Judas ในฉบับเจ้าพ่อมาเฟีย) ผู้ชมเลยไม่ค่อยอยากยินยอมรับทั้งนักแสดงและการตีความตัวละครที่ผิดแผกแปลกไป

ผลลัพท์ทำให้ Keitel เข้าชิง Razzi Award: Worst Supporting Actor นี่ต้องโทษความดื้อรั้นของผกก. Scorsese เลือกเอา Jeff Bridges ตั้งแต่แรกก็หมดปัญหา … แต่ก็แสดงให้ถึงความรักพวกต่อพวกพ้องของ Marty ได้เป็นอย่างดี


Barbara Lynn Herzstein (เกิดปี 1948) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Hollywood, California ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Hungary และ Russia ตั้งแต่เด็กมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง พออายุ 17 ได้รับบทสมทบซีรีย์โทรทัศน์ Gidget (1965-66), เมื่อตอนร่วมงานผกก. Martin Scorsese ในภาพยนตร์ Boxcar Bertha (1972) แสดงความคิดเห็นว่า “was the most fun I ever had on a movie”, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Stunt Man (1980), Hannah and Her Sisters (1986), Shy People (1987), A World Apart (1988), Beaches (1988), The Last Temptation of Christ (1988), มินิซีรีย์ A Killing in a Small Town (1990), The Portrait of a Lady (1996), Black Swan (2010) ฯ

รับบท Mary Magdalene หนึ่งในผู้ติดตาม สาวกสตรีคนสำคัญที่ Jesus Christ ทรงขับไล่เจ็ดผีออกจากตัวนาง และเป็นบุคคลแรกพบเห็นการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ (Resurrection) ในคัมภีร์ไบเบิลไม่เคยกล่าวว่าเธอเป็นโสเภณี จนกระทั่งฉบับ Luke the Evangelist ให้คำอธิบาย ‘sinful woman’ เลยถูกตีความ ภาพจำเสียๆหายๆ เฉกเช่นเดียวกับ The Last Temptation of Christ กลายเป็นคนรักของ Jesus Christ ในความฝันเหมือนจะมีบุตรร่วมกันด้วยนะ

แม้ว่า Hershey จะเคยพยายามล็อบบี้ผกก. Scorsese แต่เธอก็ได้รับบทบาทนี้ผ่านการออดิชั่น เอาชนะคู่แข่งมากมาย อาทิ Vanity, Kim Basinger, Sally Field, Madonna ฯ

จริงๆแล้ว Hershey เป็นนักแสดงมากความสามารถคนหนึ่ง แต่บทบาท Mary Magdalene ดูไม่ต่างจาก ‘sex object’ หรือ ‘object of desire’ [บางคนตีความตัวละครนี้เป็น ‘femme fatale’ มองมุมนั้นก็ได้กระมัง] ผมรู้สึกคล้ายๆแบบ Jodie Foster จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ซึ่งก็ไม่ได้มีการแสดงอะไรโดดเด่น แต่การร่วมเพศสัมพันธ์กับ Jesus Christ มันคงต้องใช้ความหาญกล้า บ้าบิ่น ผู้คนสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ

แต่ถ้ามองความยากลำบากในการถ่ายทำ เพราะทุนสร้างลดลงกว่าครึ่งทำให้ Hershey ไม่มีแม้แต่ช่างแต่งหน้าส่วนตัว (ต้องลงเพนท์ลายสัก ‘Mehndi Tattoo’ ด้วยตนเองในทุกๆเทค) ท่ามกลางทะเลทรายอากาศร้อนระอุ ไร้ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ พวกผู้ชายยังไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับหญิงสาวกว่าจะเอาตัวรอดกลับมาได้ มันคงไม่ง่ายอย่างแน่นอน


ถ่ายภาพโดย Michael Ballhaus (1935-2017) ตากล้องสัญชาติ German เกิดที่ Berlin เป็นบุตรของนักแสดง Lena Hutter กับ Oskar Ballhaus, ช่วงวัยเด็กมีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์เรื่อง Lola Montès (1955) เกิดความชื่นชอบหลงใหลด้านการถ่ายภาพ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร่วมงาน Rainer Werner Fassbinder ตั้งแต่ The Bitter Tears of Petra von Kant (1972), Chinese Roulette (1976), The Marriage of Maria Braun (1978), จากนั่้นโกอินเตอร์กลายเป็นขาประจำ Martin Scorsese อาทิ The Color of Money (1986), The Last Temptation of Christ (1988), Goodfellas (1990), The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002), The Departed (2006) ฯ

ส่วนใหญ่แล้วภาพยนตร์ของผกก. Scorsese มักคือ ‘city movie’ ถ่ายทำใน New York City ตามท้องถนน ผับบาร์ ห้องครัว ห้องนอน แท็กซี่ สระว่ายน้ำ ฯ ต้องมีผนังกำแพงห้อมล้อมรอบข้าง (ราวกับกรงขัง แต่สร้างความรู้สึกปลอดภัย), ถือเป็นครั้งแรกๆกับ The Last Temptation of Christ (1988) ออกเดินทางไปยังถิ่นทุรกันดาร ทะเลทรายเวิ้งว้างห่างไกล มองออกไปสุดลูกหูลูกตา แต่เต็มไปด้วยภยันตรายรายล้อมรอบข้าง

the landscape of Morocco, just the red of the soil, seemed to be about the blood of Christ.

Thelma Schoonmaker กล่าวถึงนัยยะการถ่ายทำยังท้องทะเลทราย

แรกเริ่มนั้นหนังวางแผนจะเดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่จริง Jerusalem, Israel แต่เมื่อเปลี่ยนสตูดิโอ งบประมาณลดลงกว่าครึ่ง จึงจำต้องมองหาสถานที่อื่นเพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย ตัดสินใจปักหลักอยู่ Morroco Desert และยังต้องควบคุมระยะเวลาภายใน 60 วัน ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1987

ทะเลทรายใน Morroco มีความทุรกันดารห่างไกล ไร้สิ่งอำนวยสะดวกใดๆ การเดินทาง/ขนส่งจึงยุ่งยากลำบาก แถมระยะเวลาจำกัด การถ่ายทำเลยต้องเร่งรีบ รวบรัด “We worked in a state of emergency.” แต่ละซีนถ่ายทำได้เพียง 2-3 เทค (เพราะฟีล์มก็มีจำนวนจำกัด) เลยไม่สามารถใส่ลูกเล่น เทคนิคแพรวพราว บ่อยครั้งนักแสดงต้องดั้นสด ‘improvised’ ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์

It was tough, and we all worked really hard, but we did it for Marty because he wanted to make the movie so badly. There was a great atmosphere on the set. Every morning we started rolling with the first light, and we were still shooting when the sun went down.

Michael Ballhaus

ต้องถือว่าผกก. Scorsese โชคดีที่ได้ตากล้อง Ballhaus เคยมีประสบการณ์ทำงานกับ Rainer Werner Fassbinder เลื่องชื่อเรื่องการถ่ายทำด้วยความรวดเร็วติดจรวด (หนึ่งปีถ่ายหนังได้ 3-4 เรื่อง เร็วกว่าพจน์ อานนท์เสียอีกนะ!) สามารถให้คำแนะนำช็อตไหนสำคัญ-ไม่สำคัญ (เลือกจาก Storyboard ที่เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มโปรดักชั่น) กำหนดระยะเวลาแต่ละช็อตภายในกี่นาที ถ้าตอนเกินกว่ากำหนดก็ต้องตัดทิ้ง/เปลี่ยนฉากโดยทันที นั่นทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพท์อย่างคาดไม่ถึง

I originally had around 75 setups planned for the crucifixion scene, but we only had two days to shoot it. When I sat down with Michael to discuss it, he said, ‘You’ve got to start thinking about what your most essential shots are. We can do it if we start exactly as the sun is coming up and if we assign a precise amount of time to each shot. If we find that a shot requires five minutes and we’re still shooting after seven or eight, we’ll have to abandon the shot and move on.’ We blocked out about 45 minutes for the longest shot, and the others ranged from five minutes to 20. Michael based this approach on what he’d done with Fassbinder, and he helped me cut 75 setups down to 50.

Martin Scorsese

ภาพแรกของหนัง กล้องเคลื่อนเลื่อนผ่านต้นไม้ด้วยความเร็ว พร้อมกับได้ยินเสียงนกเหยี่ยว (เสียงลีดกีตาร์ก็ฟังดูโฉบเฉี่ยว) ก่อนตัดมาช็อต God’s Eye View จับจ้องมองลงมาเห็น Jesus Christ นอนราบท่าทารกแรกเกิดบนพื้นดิน พร่ำรำพันความเจ็บปวด หงุดหงิดรำคาญใจจากสรรพเสียงทั้งหลาย ต้องการปัดภาระรับผิดชอบ ขอไม่เป็นพระผู้ไถ่ได้ไหม?

การที่กล้องเคลื่อนเลื่อนพร้อมเสียงเหยี่ยว ในตอนแรกผมครุ่นคิดว่าคือมุมมองนก (Bird’s Eye View) จนกระทั่งช่วงกลางๆเรื่องระหว่างบทสนทนาของ Jesus Christ กับ Jeroboam บริเวณริมหน้าผา มีคำอธิบาย “First came the wings, then the angel.” นั่นแปลว่ามุมกล้องดังกล่าวก็คือพระเจ้า (God’s View) กำลังติดตามหาพระบุตรของพระองค์เอง มาหลบซ่อน หนีภาระหน้าที่ อยู่แห่งหนนี้นี่เอง

ชาวคริสต์มีการถกเถียงกันว่า Jesus Christ เป็นช่างไม้ (Carpenter) หรือช่างหิน (Stonemason) แต่ในคัมภีร์ไบเบิลเขียนเป็นภาษากรีกว่า Τεκτονική (Tecktonic) ซึ่งหมายถึงงานทำด้วยมือ (Manual Laborer) ไม่ได้ระบุเจาะจงว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างหิน หรืออาจจะเกษตรกร คนเลี้ยงแกะก็ยังได้

ซึ่งนัยยะของการเป็นช่างไม้หรือช่างหิน สามารถสื่อถึงอาชีพที่สามารถก่อสร้าง ซ่อมแซม ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านเรือน สอดคล้องกับวิถีการเป็นบุตรของพระเจ้า ช่วยปรับแก้ไขทัศนคติที่ถูกต้อง นำพามนุษยชาติสู่อาณาจักรของพระองค์, ในส่วนของหนัง จงใจเลือกให้ Jesus เป็นช่างทำไม้กางเขนให้ทหารโรมันประหัดประหารชาวยิว ซึ่งล้อกับตอนจบที่จักกลายเป็นผู้ถูกตรึงกางเขนเสียเอง

หลายต่อหลายครั้งกล้องทำตัวราวกับพระเจ้า (God’s View) ล่องลอยอยู่เคียงข้าง เดินติดตาม แม้มองไม่เห็นแต่ Jesus สามารถสัมผัสถึงการมีอยู่

ในบทสัมภาษณ์ของ Dafoe กล่าวถึงความประทับใจการทำงานร่วมกับตากล้อง Ballhaus อย่างซีนนี้ราวกับพวกเขาราวกับคู่เต้นรำ เริ่มต้นกล้องถ่ายจากด้านหน้า เดินสามก้าวได้ยินเสียงฝีเท้าเลยหันไปมองด้านหลัง กล้องเลื่อนไปไม่เห็นอะไรเลยหมุนกลับมาถ่ายตัวละครจากด้านหลัง เดินต่ออีกสามก้าวหันควับกลับมาพร้อมกล้อง Whip Pan (อย่างรวดเร็ว) ไปด้านหลัง ฯ ลองไปสังเกตในหนังเองก็แล้วกันนะครับ

I felt like one of my acting partners was Michael Ballhaus. The scene where I’m walking along a lake and I’m attacked? I have a vision and it ends up that I’m hearing voices steps behind me? That’s not done with any wizardry. It’s been worked out that I take three steps forward and the camera passes me and goes to another angle, and once it arrives at a spot I turn back and then walk back two steps, the camera swings right … I danced with the camera a lot in that movie.

Willem Dafoe

ตั้งแต่ที่ Jesus พบเห็นภาพวาดงูดำกอดรัดฟัดกับงูขาว มันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ หลายต่อหลายครั้งปรากฎงูเห่าสีดำตัวจริงๆ (แต่คงหางูเผือกไม่กระมัง) และมักได้ยินเสียง Mary Magdalene พูดล่อหลอก หยอกเย้า โน้มน้าวให้เสียคน (ถือเป็นหนึ่งในอวตารของซาตาน)

บุรุษมากมายเฝ้ารอคอยใช้บริการโสเภณี Mary Magdalene ผมรู้สึกว่าการเคลื่อนเลื่องกล้องของซีนนี้ แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ทำไมโชคชะตา/พระเจ้าถึงนำทาง Jesus มายังสถานที่แห่งนี้

Jesus and the other men are not voyeurs. They’re waiting, they’re not really watching. Some of them are playing games; two black guys are talking; Jesus is waiting. Magdala was a major crossroads for caravans, merchants would meet there. And when you were in Magdala, the thing do to was to go see Mary. But the point of the scene was to show the proximity of sexuality to Jesus, the occasion of sin. Jesus must have seen a naked woman—must have. So why couldn’t we show that? And I wanted to show the barbarism of the time, the degradation to Mary. It’s better that the door is open. Better there is no door. The scene isn’t done for titillation; it’s to show the pain on her face, the compassion Jesus has for her as he fights his sexual desire for her. He’s always wanted her.

Martin Scorsese

ในตอนแรกผมตั้งใจจะเขียนสองช็อตนี้แยกกัน แต่ก็มาตระหนักได้ว่ามันคือจุดสูงสุดและต่ำสุด

  • Jesus สนทนาทางธรรมกับ Jeroboam ยังบริเวณหน้าผาสูงชัญ เกี่ยวกับสรรพเสียงของพระเจ้า พยายามให้คำแนะนำ ชี้นำทางธรรม
  • โสเภณี Mary Magdalene กำลังถูกห้อมล้อม สาปแช่ง โยนก้อนหิน โดยเธอขดตัวอยู่ตำแหน่งต่ำกว่าผู้ใด (จะสื่อถึงสถานะทางสังคมของโสเภณีก็ได้เช่นกัน) ซึ่งหลังจาก Jesus ท้าทายฝูงชนเหล่านั้น เรียกร้องหาคนบริสุทธิ์ ไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ให้เป็นบุคคลแรกเขวี้ยงขว้างก้อนหินใส่ นั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้น ครั้งแรกของหนังที่เริ่มทำการเผยแพร่คำสอนศาสนา

ตามคัมภีร์ไบเบิล หลังจาก Jesus Christ ทำพิธีจุ่มศีลกับ John the Baptist เดินทางเข้าไปใน Judaean Desert ทรงอดพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วัน 40 คืน เพื่อพิสูจน์ศรัทธาต่อพระเจ้า ระหว่างนี้ก็มีปีศาจร้าย/ซาตานปรากฎตัวออกมา ปลอมแปลง จำแลงกาย ทำการท้าทาย ยั่วเย้ายวน สารพัดจะล่อหลอกให้ก้าวออกจากวงกลม มีคำเรียกเหตุการณ์นั้นว่า การทดลองพระเยซู (Temptation of Christ)

ฉากที่สร้างความช็อค! ตกตะลึง คาดไม่ถึงให้กับผู้ชมสมัยนั้น (เป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Mother! (2017)) มันไม่มีในไบเบิลเล่มไหนเขียนว่า Jesus Christ เคยแสดงปาฏิหารย์ด้วยการควักหัวใจออกมา (เป็นฉากครุ่นคิดโดยนักเขียน Paul Schrader ไม่ได้มีอยู่ในหนังสือของ Nikos Kazantzakis) แต่หนังต้องการสื่อนัยยะถึงความพร้อมที่จะเสียสละตนเอง ทุ่มเทกายใจเพื่อต่อสู้กับซาตาน/ปีศาจร้าย

Actually, that scene, which was not in the Kazantzakis book, was written by Paul Schrader, a Dutch Calvinist, and it was kind of nudged to me as Catholic. He also wanted to show that the supernatural and the natural exist on the same plane. But we were doing that all along… When we got to do the Sacred Heart scene, here’s what I thought was more important. You have these guys bickering all the time, just like in the Gospels. It’s all there: “I’m the one, I’m the one, I’m gonna sit next to him when the Kingdom of Heaven comes. I’ll be at his right hand.” “No, I’m gonna be at his right hand!” Hysterical stuff! So they’re all bickering, and Judas is being a pain, as usual. And then Jesus shows up, and it’s party solidarity. It’s the Democratic convention, everybody getting together. Unity. And his presence is shining so strong at that moment that they have to be unified behind him. Then again, you could say that the apostles are seeing him just back from the desert, with the light from the campfire, and the music around, and the glow behind his head, just a little touch of DeMille. It could be mass hallucination, mass hypnosis. We don’t know. It’s a symbol to bring them all together—especially Judas, who kisses his feet and says, “Adonai!” All of a sudden Jesus is God? Wait a second! Yes—Judas needs this. So do the others, to be convinced that this is the man.

Martin Scorsese

พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (ผกก. Scorsese จงใจทำออกมาไม่ให้เหมือนภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่พยายามจัดองค์ประกอบซีนนี้ให้เหมือนภาพวาด The Last Supper ของ Leonardo Da Vinci) ในขณะที่ขนมปังถูกส่งต่อด้วยการแพนนิ่ง ไวน์จากเลือดเปลี่ยนมาใช้การตัดต่อ ‘jump cut’ ไปที่ใบหน้าอัครทูตคนอื่นๆ (เหตุผลที่การดื่มไวน์ใช้เทคนิคนี้ เพื่อว่าเมื่อมาถึงบุคคลสุดท้าย Peter สามารถเปลี่ยนมาใช้เลือดจริง)

That’s the miracle of transubstantiation. And in a movie you have to see it. Blood is very important in the Church. Blood is the life force, the essence, the sacrifice. And in a movie you have to see it. In practically every culture, human sacrifice is very important, very widespread.

Martin Scorsese

David Bowie ใช้เวลาถ่ายทำเพียงสองวัน รับบทบาท Pontius Pilate ผู้ปกครองแคว้น Judaea แห่งจักรวรรดิ Roman Empire ในรัชสมัย Emperor Tiberius, และคือบุคคลผู้สั่งประหารชีวิต Jesus Christ ด้วยการตรึงกางขน

แม้ว่า Judas Iscariot ยังคงเป็นบุคคลนำพาทหารโรมันมาจับกุม Jesus Christ แต่เพราะเขาคือบุคคลเดียวที่รับล่วงรู้นิมิต สัญลักษณ์ความตาย เลยยินยอมเป็นผู้เสียสละ ถูกตีตราคนทรยศหักหลัง เพื่อให้ภารกิจเผยแพร่ศาสนาสำเร็จลุล่วงโดยดี

ซึ่งก่อนที่ Jesus จะยินยอมให้ถูกจับกุมตัว ได้แสดงปาฏิหารย์ที่ไม่มีปรากฎในคัมภีร์ไบเบิล ทำการแปะติดหูชายคนหนึ่งที่ถูกอัครทูตตัดขาด (เหมือนจะใช้เทคนิค Reverst Shot) น่าจะสื่อถึงการหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลังจากนี้ ความตาย=ถือกำเนิดใหม่(บนสรวงสวรรค์)

ระหว่าง Jesus Christ ถูกตรึงไม้กางเขน จู่ๆกล้องมีการหมุน 90 องศา (จากแนวตั้งกลายเป็นนอนราบ) ท้องฟ้าที่เคยมืดครึ้มพลันส่องสว่างจร้า เด็กสาวแปลกหน้าเข้ามาพูดทักทาย สรรพเสียงรอบข้างเงียบหาย เหตุการณ์บังเกิดขึ้นต่อจากนี้กำลังเข้าสู่นิมิต/จินตนาการเพ้อฝัน ภาพลวงหลอก ยั่วเย้ายวน ‘Last Temptation’ ทุกสรรพสิ่งอย่างจะพลักกลับตารปัตร ตรงกันข้ามกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริง

เกร็ด: Willem Dafoe เปลือยกายล่อนจ้อนจริงๆ แต่พยายามบิดๆเอี้ยวตัวไม่ให้อุจาดตาเกินไป ซึ่งตามประวัติศาสตร์เห็นว่าไม่มีอะไรปกปิดบังจริงๆ (มันเป็นทั้งการประหาร ประจาน ทำให้อับอายพร้อมกันในตัว)

เรื่องราวในนิมิต จินตนาการเพ้อฝัน อนาคตแห่งความเป็นไปได้ถ้า Jesus Christ ปฏิเสธเป็นพระผู้ไถ่ สังเกตว่าตลอดทั้งซีเควนซ์ถ้าไม่บรรยากาศอึมครึม มืดครึ้ม แสงแดดก็สว่างจร้ากว่าปกติ (ถ่ายย้อนแสงอาทิตย์) มอบสัมผัสที่ผิดแผกแตกต่างจากโลกความจริง

ช่วงแรกๆ Jesus อาศัยอยู่ในกระท่อมกลางป่ากับ Mary Magdalene หลังจากรักษาบาดแผล ร่วมรักกันอย่างโจ๋งครึ่ม ก่อนที่เธอจากไปเพราะได้รับแสงสว่างเจิดจรัสจร้า (น่าจะพระเจ้าไม่พึงพอใจที่พระบุตรแต่งงานกับโสเภณี)

ต่อมา Jesus ทำการควบสองกับคู่แม่ลูก Martha และ Mary of Bethany ไม่สนคำสอนเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ซาตานมอบให้ใครก็ได้เอาหมด ขอแค่เพียงมีความสุข ตอบสนองความพึงพอใจ ตกนรกก็ไม่เห็นเป็นไร

I don’t know that it’s adultery. It might have been polygamy. There is some evidence of a Hebrew law at the time regarding polygamy for the sake of propagation of the race. But remember again, this is the Devil doing fancy footwork. You can have whatever you want. And look, I’m sorry about what happened to Mary Magdalene. Really sorry, won’t happen again. In fact, this time, take two! You need more than one—take two!

Martin Scorsese

Harry Dean Stanton รับบท Saul/Paul of Tarsus (หรือก็คือนักบุญ Paul) เดินทางมาเผยแพร่ศาสนา โดยอ้างว่าภายหลัง Jesus Christ สิ้นพระชมน์จากการตรึงกางเขน สามารถฟื้นคืนชีพ เดินทางกลับสู่สรวงสวรรค์ แต่นั่น(ในบริบทของหนังที่อยู่ในความฝัน/ภาพลวงตาของซาตาน)เป็นเพียงคำโป้ปด หลอกลวง สร้างขึ้นมาเพียงเพื่อให้มนุษย์มีกำลังใจต่อสู้ชีวิต … เพราะ Jesus Christ ตัวจริงกำลังใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญอยู่แถวๆนี้

นี่ถือเป็นประเด็นคำถามน่าจะยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวคริสต์ Jesus Christ ฟื้นคืนชีพจริงหรือไม่? พานผ่านมาสองพันกว่าปี ย่อมไม่มีใครสามารถพิสูจน์อะไรได้ ศาสนาที่อ้างเรื่องความเชื่อก็งมงายกันไป

กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน Jesus Christ ในวัยชรา นอนซมซานอยู่บนเตียง มีโอกาสพบเจออัครทูต หนึ่งในนั้นคือ Judas Iscariot ขึ้นเสียงโต้ตอบกลับ “คนทรยศ” … โดยปกติแล้ว Judas ต่างหากที่ถูกตีตราว่าเป็นคนทรยศ แต่ในบริบทของหนังได้ทำในสิ่งกลับตารปัตรตรงกันข้าม

ผมไม่ได้ตั้งใจฟังนักว่าภายนอกกำลังเกิดสงครามอะไร แต่สังเกตจากแสงสีแดงด้านหลังประตู สามารถสื่อถึงหายนะ ความตาย สิ่งชั่วร้าย ซาตานยึดครองโลก หรือจะวันโลกาวินาศก็ได้กระมัง

คัมภีร์ไบเบิ้ลแต่ละ Gospel มีการบันทึกคำพูดสุดท้ายบนไม้กางเขนของ Jesus Christ แตกต่างกันออกไป

  • ฉบับของ Matthew และ Mark แปลได้ว่า “My God, my God, why have you forsaken me?” (Matthew 27:46, Mark 15:34)
  • ฉบับของ Luke คือ “Father, into your hands I commit my spirit” (Luke 23:46)
  • ฉบับของ John กล่าวว่า “It is finished” (John 19:30)

ตอนจบของหนังนำคำพูดสุดท้ายจาก Gospel of John ซึ่งภาษากรีกต้นฉบับ τετέλεσται (Tetelestai) สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้หลากหลายความหมาย เห็นว่าผกก. Scorsese ถ่ายทำไว้สามแบบ แล้วค่อยมาตัดสินใจเลือกเอาภายหลัง ถ้อยคำสามารถเติมเต็มความรู้สึกสำเร็จลุล่วงได้เหมาะสม ลงตัวที่สุด

Very hard to translate and get the power and the meaning. “It is finished.” “It is completed.” “It’s over.” Can’t use that—too Roy Orbison. What was the translation we were taught in Catholic school? “It is consummated.” The Kazantzakis book used “It is accomplished.” Because Jesus had accomplished a task, accomplished a goal. I shot three different versions. What I wanted was a sense of Jesus at the end of the temptation begging his Father, “Please, if it isn’t too late, if the train hasn’t left, please, can I get back on, I wanna get on!” And now he’s made it back on the cross and he’s sort of jumping up and down saying, “We did it! We did it! I thought for one second I wasn’t gonna make it—but I did it I did it I did it!”

Martin Scorsese

หลังจาก Jesus Christ ตรัสคำพูดสุดท้าย “It is accomplished!” ก่อนปรากฎ Closing Credit ราวกับว่าวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spirit) ได้แปรสภาพเป็นเฉดสีสันที่มีความละลานตา (นี่เป็นความจงใจอย่างแน่นอนนะครับ) ดูราวกับภาพถ่าย Abstract หรืออาจจะตีความถึงสรวงสวรรค์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

  • Opening Credit ใช้พื้นหลังสีแดงเลือด ผมมองว่าสื่อถึง ‘temptation’ นำเข้าสู่เรื่องราวที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้า สร้างความเจ็บปวด ทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย-จิตใจ
  • Closing Credit ใช้พื้นหลังสีส้ม ดูบรรเทา ผ่อนคลาย ไม่แน่ใจว่าคือสีของสรวงสวรรค์ เหลืองทองอร่ามตระการตา

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker (เกิดปี 1940) ขาประจำผกก. Martin Scorsese คว้าสามรางวัล Oscar: Best Film Edited จากภาพยนตร์ Raging Bull (1980), The Aviator (2004) และ The Departed (2006)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง Jesus Christ ร้อยเรียงเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่น่าจะรับรู้จักจากคัมภีร์ไบเบิล แต่เพิ่มเติมสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ จากซาตาน ให้บังเกิดความสับสน หวาดกังวล ซึมเศร้า หดหู่ โล้เล้ลังเลใจ ตัณหาความใคร่ รวมถึงกลัวความตาย จุดประสงค์เพื่อท้าพิสูจน์ตัวตนเอง ค้นพบเป้าหมายชีวิต เกิดความตระหนักรู้ว่าฉันคือบุตรของพระเจ้า พระผู้มาไถ่ (Messiah) ยินยอมเสียสละชีพบนไม้กางเขน แบกรับความทุกข์ทรมานแทนมวลมนุษยชาติ

  • ช่วงความขัดย้อนแย้ง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
    • เริ่มต้น Jesus เป็นช่างทำไม้กางเขน เกิดความรู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเอง กับแผนการที่พระเจ้าคาดหวังไว้
    • พบเห็นโสเภณี Mary Magdalene เกิดความลุ่มร้อน ตัณหาราคะ แต่พยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้
    • พบเห็นการเสียชีวิต รวมถึงงูดำย่างกรายเข้าหา รู้สึกหวาดกลัวความตาย
    • พบเจอกับ John the Baptist ได้รับการจุ่มศีล
    • ท้าพิสูจน์ความมั่นคงทางจิตใจ ด้วยการนั่งอยู่กลางทะเลทราย พบเจอสารพัดการยั่วยวนของซาตาน
  • ภารกิจของ Jesus Christ
    • หลังพานผ่านบทพิสูจน์ความเชื่อมั่น ได้รับความเอ็นดูจาก Mary และ Martha
    • แสดงปาฏิหารย์ ควักหัวใจ ทำให้คนตาบอดมองเห็น คนพิการสามารถก้าวเดิน และชุบชีวิตคนตาย
    • เดินทางสู่ Jerusalem ขับไล่พ่อค้าหน้าเลือดออกจากวิหาร รวมกลุ่มสาวก แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป
    • พระกระยาหารมื้อสุดท้าย
    • Jesus ถูกทหารโรมันจับกุมตัว ตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน
  • นิมิต/ภาพลวงตาของซาตาน เพื่อโน้มน้าวให้ Jesus ปฏิเสธพระเป็นเจ้า
    • แต่งงานครองรักกับ Mary Magdalene
    • ตามด้วย Mary และ Martha
    • พอแก่ชราใกล้ตาย ได้รับการเยี่ยมเยียนจากอัครทูตรวมถึง Judas ปลุกตื่นจากฝันหวาน
  • หวนกลับสู่ระหว่างการตรึงกางเขน Jesus เอาชนะการยั่วเย้าทั้งหมดของซาตาน

การดำเนินเรื่องของหนังเป็นเส้นตรงมาโดยตลอด จนกระทั่ง Jesus Christ ถูกตรึงไม้กางเขน พบเห็นนิมิต/จินตนาการเพ้อฝัน (สร้างโดยซาตาน) นั่นทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) ที่นำเสนอ ‘Alterate Future’ อนาคตแห่งความเป็นไปได้ ถ้าสมมติว่า Jesus เลือกปฏิเสธพระเจ้า ใช้ชีวิตสนองกิเลสตัณหา ปล่อยตัวปล่อยใจให้กับสิ่งยั่วเย้า มนุษยชาติย่อมตกอยู่ในหายนะ ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศ

ด้วยความที่กองถ่ายตั้งอยู่กลางทะเลทราย เมื่อเสร็จสิ้นการถ่ายทำในแต่ละวันก็ต้องส่งฟีล์มขึ้นเครื่องกลับสหรัฐอเมริกา นำเข้าห้องแลปล้างฟีล์ม กว่าจะมาถึงมือของ Schoonmaker ตรวจสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ แถมยังต้องรอคอยโทรศัพท์ทางไกล (Time Zone ไม่ตรงกันอีก) ย่อมสร้างความร้อนรน กระวนกระวายให้ผกก. Scorsese โชคดีว่าไม่มีฟุตเทจไหนเสียหาย ผลลัพท์ออกมาน่าประทับใจ

The footage wasn’t even developed yet because there were no labs over there at that point… It was quite moving for me because the landscape of Morocco, just the red of the soil, seemed to be about the blood of Christ that is so important in the movie. I started crying in dailies. That hardly ever happens… And I wasn’t the only person crying in dailies; his development person was also crying. Finally I said, ‘No, no it’s very beautiful.’

Thelma Schoonmaker

เพลงประกอบโดย Peter Brian Gabriel (เกิดปี 1950) นักร้อง/แต่งเพลง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chobham, Surrey ตั้งแต่เด็กมีความสามารถด้านการร้องเพลง แต่เลือกเรียนเปียโนจากมารดา ต่อมายังค้นพบความชื่นชอบเล่นกลอง แต่งเพลงแรกตอนอายุ 12 รวมกลุ่มกับเพื่อนก่อตั้งวง Garden Wall เล่นตามงานโรงเรียน ขึ้นแสดงยัง Charterhouse ที่นั่นทำให้ได้รับรู้จักผู้คนมากมาย ร่วมกันก่อตั้งวงใหม่ Genesis ขับร้อง แต่งเพลง ออกอัลบัมแรก From Genesis to Revelation (1968) แนว Psychedelic Pop ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่, แต่หลังจากลองผิดลองถูก อัลบัมที่สาม Selling England by the Pound (1973) แนว Progressive Rock ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม, ต่อมาแยกตัวทำอัลบัมเดี่ยว เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Birdy (1984), The Last Temptation of Christ (1988), Rabbit-Proof Fence (2002) ฯ

แม้ว่า Gabriel จะโด่งดังจาก Progressive Rock แต่เพลงประกอบ The Last Temptation of Christ (1988) [รวมอยู่ในอัลบัม Passion (1989)] ได้ทำการผสมผสานเครื่องดนตรีคลาสสิกยุโรป, พื้นบ้านแอฟริกัน, ตะวันออกกลาง (อาทิ Surdo, Tabla, Doudouk, Arghul, Duduk, Ney, Tanbur, Kamancheh ฯลฯ) ทำออกมาในสไตล์ Worldbeat หรือ New Age มีความร่วมสมัยและขัดย้อนแย้งภายใน เต็มไปด้วยความลึกลับ ราวกับต้องมนต์ มอบสัมผัสเหนือกาลเวลา ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้

Martin wanted to present the struggle between the humanity and divinity of Christ in a powerful and original way. The Last Temptation of Christ was to create something that had references to that time and that part of the world, but that had its own character and was to be timeless in a way.

Peter Gabriel 

หลายคนอาจรู้สึกว่าบทเพลงประกอบไม่ได้มีความเข้ากับหนัง เพราะฟังดูโมเดิร์น ล้ำยุคสมัย ไม่ได้มีความเป็น ‘Historical Period’ แต่มันมีความจำเป็นที่ผู้สร้างต้องทำตามกฎกรอบเช่นนั้นจริงๆนะหรือ The Last Temptation of Christ (1988) คือภาพยนตร์ที่มีความเป็นส่วนตัวของผกก. Scorsese เช่นนั้นแล้วการเลือกใช้บทเพลงร่วมสมัย มันไปหนักหัวใคร???

แซว: เหมือนว่า Hans Zimmer จะได้รับอิทธิพลเพลงประกอบนี้ นำไปปรับใช้กับ Dune (2021) อยู่ไม่น้อยเลยนะ!

Lazarus Raised บทเพลงแห่งการฟื้นคืนชีพของ Lazarus มีการใช้ Duduk เครื่องดนตรีพื้นบ้าน Kurdish ลักษณะคล้ายขลุ่ย โหยหวน คร่ำครวญ เห็นว่าใช้ท่วงทำนองเพลงพื้นบ้าน Kurdistan เรื่องเล่าเศร้าๆของหญิงสาวตกหลุมรักวีรบุรุษนักสู้ ผู้เสียสละชีพเพื่อชาติบ้านเกิด

หนึ่งในไฮไลท์ของหนังคือ Passion ดังขึ้นระหว่าง Jesus Christ กำลังแบกลากไม้กางเขน เตรียมรับโทษประหารชีวิต เสียงกรีดร้องโหยหวนของบทเพลง แทนความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน หวาดกลัวเกรงความตาย หายนะกำลังคืบคลานเข้ามาอย่างช้าๆ ทำไมฉันต้องทำสิ่งนี้ เสียสละชีพเพื่อผู้อื่น เต็มไปด้วยความรู้สึกขัดย้อนแย้งภายใน … เป็นบทเพลงกลิ่นอาย New Age มีความสั่นสะท้าน สะท้อนความสิ้นหวังทรวงใน

It Is Accomplished ใช้เสียงกลอง คีย์บอร์ด กีตาร์ไฟฟ้า เครื่องดนตรีสังเคราะห์เสียง ฯ มอบสัมผัสดนตรีแห่งอนาคต การเสียสละของ Jesus Christ ในฐานะพระผู้มาไถ่ (Messiah) ได้สร้างโอกาสและความหวังให้กับมนุษยชาติ มาจนถึงกาลปัจจุบัน … และอนาคตสืบต่อไป

เกร็ด: ในส่วนของเพลงประกอบ แม้ถูก SNUB จาก Oscar ยังได้เข้าชิง Golden Globe: Best Original Score และคว้ารางวัล Grammy Award: Best New Age Album ยอดขายอัลบัม Passion (1989) ระดับ Gold (เกินกว่า 500,000 ก็อปปี้ในสหรัฐอเมริกา)

“Jesus is both fully God and fully man.” คนที่เป็นชาวคริสเตียน ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ย่อมต้องตระหนักถึงข้อสรุปดังกล่าว ร่างกายถือกำเนิดจากเลือดเนื้อของพระนางมารีย์ ด้วยจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spirit) ของพระบิดา เฉกเช่นนั้นแล้ว The Last Temptation of Christ ที่พยายามนำเสนอความเป็นมนุษย์ของ Jesus Christ มันผิดอะไร? หมิ่นศาสนาตรงไหน?

For if the dead rise not, then is not Christ raised: And if Christ be not raised, your faith is vain; ye are yet in your sins. Then they also which are fallen asleep in Christ are perished.

1 Corinthians 15:16-18

เฉกเช่นเดียวกับในคัมภีร์ไบเบิล พันธสัญญาใหม่ (New Testament) หมวดจดหมายของนักบุญเปาโล (Pauline epistles) จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 (First Epistle to the Corinthians หรือชื่อย่อ 1 Corinthians) มีข้อความในเชิงตั้งคำถาม ถ้า Jesus Christ ไม่ฟื้นคืนพระชนม์ชีพ (Resurrection) ศาสนาคริสต์คงสิ้นสุดลงโดยพลัน … นี่เช่นกันย่อมไม่ใช่การดูหมิ่นศาสนา แต่ชักชวนให้ชาวคริสเตียนรู้จักครุ่นคิด ทำความเข้าใจมุมมองเป็นไปได้อื่นๆ

ฉันท์ใดฉันท์นั้น ทั้งการพยายามสร้างความเป็นมนุษย์ รวมถึงสารพัดคำถาม/ตีความเรื่องราวชีวิต Jesus Christ ในอีกมุมมองใหม่ของนักเขียน Nikos Kazantzakis และผกก. Martin Scorsese มันจึงหาใช่สิ่งที่ชาวคริสเตียนด้วยกันจะดูหมิ่น หยามเหยียด ตำหนิต่อว่า เอาความรู้สึกส่วนตนเป็นที่ตั้ง ถามตัวเองว่าเคยศึกษาเรียนรู้พระคัมภีร์อย่างจริงจังหรือเปล่า ถึงกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาเช่นนั้น?

My whole life has been movies and religion. That’s it. Nothing else.

Martin Scorsese

สำหรับผกก. Scorsese การสรรค์สร้างภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต! เพื่อพิสูจน์ศรัทธาแรงกล้า ซึ่งระหว่างทางกว่าจะได้รับโอกาสนี้ เคยพานผ่านสารพัดสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ ช่วงเวลาสับสน หวาดกังวล อึดอัดอั้นภายใน สูญเสียความเชื่อมั่นใจตนเอง ทุกข์ทรมานสาหัสทั้งร่างกาย-จิตวิญญาณ … เหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้นในชีวิตของผกก. Scorsese สามารถเปรียบเทียบได้กับการเผชิญหน้าสิ่งยั่วเย้าของ Jesus Christ

I was driven to make ‘Last Temptation’ because I wanted to look at questions of faith and penance and redemption within the context of the world right now, with all the formalities stripped away. I’m constantly exploring this question in my pictures and in my life.

I was trying to start a dialogue. I didn’t want to just make a picture for people who were secure in their faith. Christ’s teachings are about all of us—the secure and the insecure, the powerful and the powerless, the down and out, the addicts, the people in real pain, the people caught in states of delusion, the ones who feel absolutely hopeless and see no possibility of grace or redemption. Because the afflictions of “the least among us,” as Jesus said, the inner circumstances that lead to their fall, are in everyone. I wanted to make a picture about a historical figure named Jesus, a spiritual guide, but also… a human being, surrounded by other recognizable human beings, as opposed to wax figures.

“It is accomplished!” ไม่ใช่ประโยคคำพูดจริงๆของ Jesus Christ หรือนำจากหนังสือของ Nikos Kazantzakis แต่คือผกก. Scorsese เมื่อเสร็จสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ราวกับภารกิจของตนเองได้ดำเนินเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด สำเร็จลุล่วงเสียที! ถ้าต้องตายหลังจากนี้ ไม่มีอะไรให้สูญเสียใจอีกต่อไป


ในตอนแรกหนังได้รับอนุมัติงบประมาณ $12-16 ล้านเหรียญจาก Paramount Pictures แต่พอสตูดิโอถูกกดดันจากหลายกลุ่มศาสนาจนต้องถอนตัวออกจากโปรเจค Universal Studios เข้ามาโอบอุ้มด้วยงบประมาณลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ $7 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $8.3 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $33.8 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครคาดคิดถึง

ความสำเร็จของหนังยังรวมถึงการได้เข้าชิงทั้ง Oscar, Golden Globe และรวมถึง Razzi Award

  • Academy Award
    • Best Director พ่ายให้กับ Barry Levinson จากภาพยนตร์ Rain Man (1988)
  • Golden Globe Award
    • Best Supporting Actress (Barbara Hershey)
    • Best Original Score
  • Golden Raspberry Awards
    • Worst Supporting Actor (Harvey Keitel)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ High-Definition ผ่านการตรวจอนุมัติโดยตากล้อง Michael Ballhaus, นักตัดต่อ Thelma Schoonmaker และปรับปรุงเสียงโดย Skip Lievsay (น่าแปลกใจที่ไม่มีชื่อของผกก. Scorsese) เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 น่าเสียดายยังไม่มีข่าวคราวฉบับ 4K แต่เชื่อว่าไม่น่าจะนานเกินรอคอย

มันอาจเพราะผมไม่ใช่ชาวคริสต์ จึงไม่มีความกระตือรือร้นในการรับชมสักเท่าไหร่ พบเห็นความบิดๆเบี้ยวๆ จูนิเบียวของผกก. Scorsese เลือนลางระหว่างภาพหลอน-ศรัทธา ถ้าไม่เพราะตอนจบชวนนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) นั่นทำให้ผู้ชมสามารถเปิดโลกกว้าง และสามารถครุ่นคิดต่อยอดไปไกล (ถ้าไม่เกิดอคติขึ้นเสียก่อน)

ภาพยนตร์ Samsara (2001) ก็เฉกเช่นเดียวกัน! พยายามนำเสนอทิศทางกลับตารปัตรของพุทธศาสนา ตั้งคำถามการเสียสละของพระนางยโสธรา (พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ถือเป็นการชักชวนชาวพุทธให้รู้จักขบครุ่นคิด เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ไม่ใช่เอาแต่ลุ่มหลงงมงาย ค้นหาสัจธรรมชีวิตด้วยตัวเราเอง

ในบรรดาภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ผมยังคงครุ่นคิดเห็นว่า The Gospel According to St. Matthew (1964) ของผกก. Pier Paolo Pasolini ยืนหนึ่งในความเป็นกลาง ไม่ว่าคุณจะนับถือศาสนาไหนก็สามารถชื่นเชยชมได้ เข้าถึงความเป็น’มหาบุรุษ’อย่างแท้จริง (ที่ไม่ใช่ยัดเยียดคำสอน ความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า)

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง เหมือนดูหมิ่นศาสนา (blasphemous)

คำโปรย | The Last Temptation of Christ ระบายความสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายในจิตใจผู้กำกับ Martin Scorsese บรรลุเป้าหมาย สำเร็จลุล่วงเสียที
คุณภาพ | ย้
ส่วนตัว | บิดๆเบี้ยวๆ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: