
The Lavender Hill Mob (1951)
: Charles Crichton ♥♥♥♥
นายธนาคาร Alec Guinness นำก๊วนโจรกระจอกปล้นทองจากธนาคารในสไตล์ Ealing Comedy จัดจ้านด้วยลูกเล่นที่กลายเป็นแรงบันดาลใจ Vertigo (1959) และคว้ารางวัล Oscar: Best Original Screenplay
อีกหนึ่งโคตรผลงานจาก Ealing Studios เลื่องชื่อเรื่องการสรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนหัว (Comedy) มอบความบันเทิงแบบไม่ค่อยมีสาระ แต่จัดจ้านด้วยเทคนิค ลูกเล่นภาพยนตร์ ทรงอิทธิพลต่อผลงานยุคถัดมา และยังคงความคลาสสิก ขบขำกลิ้งเหนือกาลเวลา
(สามผลงานชิ้นเอกในสไตล์ Ealing Comedy ประกอบด้วย Kind Hearts and Coronets (1949), The Lavender Hill Mob (1951) และ The Ladykillers (1955))
เมื่อวันก่อนผมเพิ่งรับชม Hobson’s Choice (1954) ของผู้กำกับ David Lean ที่ถือว่าได้รับอิทธิพลจาก Ealing Comedy ก็เลยตั้งใจจะมองหา เขียนถึงสักเรื่อง แล้วก็ค้นพบ The Lavender Hill Mob (1951) ติดอันดับ 17 ชาร์ท BFI: Top 100 British films รวมถึงสำนักวาติกัน Vatican: 45 Great Films จัดอยู่ในส่วนของ Arts Film
นอกจากฝีไม้ลายมือด้านการแสดงของ (Sir) Alec Guinness ยังมีฉากที่จะทำให้ผู้ชมเกิดอาการหมุนติ้วๆ มึนงง เดินลงบันไดวนหอไอเฟล โดยไม่รู้นั่นกลายเป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Vertigo (1959) คุ้นๆว่ามีฉากเคลื่อนเลื่อนกล้องด้วยวิธีการคล้ายๆกัน
และอีกไฮไลท์ที่สร้างความประหลาดใจให้ผมเล็กๆ นั่นคือการรับเชิญ (Cameo) ของนักแสดงสาว Andrey Hepburn เห็นว่าดั้งเดิมจะมีบทบาทมากกว่านี้ แต่เพราะติดคิวงานละครเวที เลยไม่มีเวลาว่างสักเท่าไหร่
Charles Ainslie Crichton (1910-99) ผู้กำกับ/นักตัดต่อ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Wallasey, Cheshire เข้าศึกษาคณะประวัติศาสตร์ New College ณ University of Oxford แต่ต่อมากลับเลือกทำงานวงการภาพยนตร์ เริ่มจากเป็นนักตัดต่อ Things to Come (1936), The Private Life of Henry VIII (1933), Elephant Boy (1937), The Thief of Bagdad (1940), ช่วงทศวรรษ 40s ย้ายมาสังกัด Ealing Studios จึงมีโอกาสกำกับหนัง For Those in Peril (1944), Hue and Cry (1947), ร่วมกำกับ Dead of Night (1945), The Lavender Hill Mob (1951), ผลงานโด่งดังสุดคือ A Fish Called Wanda (1988)
ยุคทองของ Ealing Studios (1947-57) มีจุดเริ่มต้นจาก Crichton สรรค์สร้างภาพยนตร์ Hue and Cry (1947) โดยเอกลักษณ์ของ Ealing Comedy มักมีเรื่องราวการเผชิญหน้า ความขัดแย้งระหว่าง Man vs. Society, บุคคลธรรมดาทั่วไป (Common Man) กับองค์กร/สถาบันทางสังคม (The Establishment/Institutions) ส่วนใหญ่เป็นการปล้น-ฆ่า ลักพาตัว หัวโจ๊กมักมีความเฉลียวฉลาด ครุ่นคิดแผนการสุดลึกล้ำ แต่สุดท้ายกลับไม่เคยเอาตัวรอด เพราะบ้านเมืองมีขื่อมีแป
If you think about Ealing at those times, we were a bundle, we were middle-class people brought up with middle-class backgrounds and rather conventional educations. Though we were radical in our points of view, we did not want to tear down institutions: this was before the days of Marxism or Maoism or Levi-Strauss or Marcuse. We were people of the immediate post-War generation, and we voted Labour for the first time after the war; this was our mild revolution. We had a great affection for British institutions: the comedies were done with affection, and I don’t think we would have thought of tearing down institutions unless we had a blueprint for what we wanted to put in their place. Of course we wanted to improve them, or to use a cliché of today, to look for a more just society in the terms that we knew. The comedies were a mild protest, but not protests at anything more sinister than the regimentation of the times.
โปรดิวเซอร์ Michael Balcon แห่ง Ealing Studios
จุดเริ่มต้นของ The Lavender Hill Mob (1951) เกิดจากความสำเร็จของภาพยนตร์ The Blue Lamp (1950) กำกับโดย Basil Dearden, นำแสดงโดย Jack Warner, เป็นแนวตำรวจสืบสวนสอบสวนคดีความ (มีคำเรียก Police Procedural หรือ Police Show หรือ Police Crime Drama) แต่โปรดิวเซอร์ Michael Balcon ไม่ได้ต้องการทำภาคต่อ (Sequel) ครุ่นคิดอยากเปลี่ยนแนวให้กลายเป็น Comedy
มอบหมายนักเขียนในสังกัด Thomas Ernest Bennett ‘Tibby’ Clarke (1907-89) เล่าว่าได้แรงบันดาลใจเรื่องราวพนักงานธนาคารปล้นทองจากธนาคารที่ตนเองทำงาน ระหว่างค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อพัฒนาบทภาพยนตร์ Pool of London (1951) ซึ่งมีโอกาสพูดคุยปรึกษา Bank of England แล้วเคยแซวกันเล่นๆถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว
เกร็ด: Bank of England ถึงขนาดมีการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษา เพื่อครุ่นคิดหาวิธีการ ความเป็นไปได้ที่พนักงานธนาคารจะปล้นทองระหว่างการเดินทาง ไม่ใช่แค่สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ แต่ยังปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง
เรื่องราวของ Henry ‘Dutch’ Holland (รับบทโดย Alec Guinness) ทำงานธนาคารมากว่ายี่สิบปี เป็นพนักงานขนส่งทองคำแท่ง (Gold Bullion) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ใส่ใจทุกรายละเอียด ไม่เคยมีเหตุการณ์ผิดพลาดบังเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง
จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่ง ณ บ้านพัก Lavender Hill, Henry มีโอกาสพบเจอกับ Alfred ‘Al’ Pendlebury (รับบทโดย Stanley Holloway) นักหลอมเหล็ก ทำของที่ระลึกส่งขายต่างประเทศ สังเกตเห็นความละม้ายคล้ายคลึงระหว่างทองและเหล็ก จึงครุ่นคิดแผนการปล้นทองทำแท่ง แล้วนำมาหลอมเป็นหอไอเฟล ส่งออกประเทศฝรั่งเศส ขายทอดตลาดมืด แล้วใช้ชีวิตอย่างสุขสบายอยู่สักแห่งหนหนึ่ง
Sir Alec Guinness de Cuffe (1914 – 2000) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Paddington, London เริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงละครเวที มีชื่อเสียงจากการเล่นบทละคร Shakespeare ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องเป็นสามทหารเสือแห่งอังกฤษ ควบคู่กับ Laurence Olivier และ John Gielgud, ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รับใช้ชาติเป็นทหารเรือ Royal Naval Reserve สิ้นสุดสงครามจึงเริ่มรับงานแสดงภาพยนตร์โดยคำชักชวนของ David Lean อาทิ Great Expectations (1946), Oliver Twist (1948), กลายเป็นตำนานกับ Kind Hearts and Coronets (1949), The Ladykillers (1955), The Bridge on the River Kwai (1957) ** คว้า Oscar: Best Actor, Lawrence of Arabia (1962), Doctor Zhivago (1965), Star Wars (1977) ฯ
รับบท Henry ‘Dutch’ Holland ชายวัยกลางคนผู้มีความเคร่งขรึม สงบเสงี่ยมเจียมตน เป็นคนขี้หวาดระแวง แต่มีความรอบคอบ ใส่ใจทุกรายละเอียด โหยหาความสมบูรณ์แบบ หลังจากทำงานธนาคารมากว่ายี่สิบปี ไม่เคยต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร กระทั่งวันหนึ่งพบเห็นความละม้ายคล้ายคลึงของการหลอมเหล็ก-หลอมทอง จึงครุ่นคิดวางแผนปล้นธนาคารอันแยบยล
เวลารับชมการแสดงของ Guinness ผมรู้สึกเหมือนกิ้งก่าเปลี่ยนสี คือมีความแนบเนียน กลายเป็นตัวละคร และแตกต่างจากบทบาทอื่นๆเคยพบเห็น (ปู่แกไม่เคยเป็น ‘typecast’ ปรับเปลี่ยนบุคลิก/ภาพลักษณฺ์ไปเรื่อยๆแทบไม่เคยซ้ำแบบ) อย่างตัวละคร Dutch หรือ Holland (มันก็ประเทศเดียวกันนี่หว่า??) ภายนอกดูสงบเสงี่ยม อ่อนน้อมถ่อมตน พยายามสร้างภาพจนได้รับความนับหน้าถือตา แต่เมื่อพบเห็นโอกาสแห่งโชคชะตา ก็แสดงสันดานธาตุแท้ออกทางสีหน้า ดวงตาพองโต ดูหื่นกระหาย โฉดชั่วร้าย กลายเป็นคนมุ่งมั่น เอาจริงจังเอา พูดคำเฉียบคมคาย โหยหาความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’
แซว: บทบาทนี้ถือเป็นส่วนผสมระหว่างนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง The Man in the White Suit (1951) และหัวโจ๊กโจรกระจอกเรื่อง The Ladykillers (1955) [ทั้งสองเรื่องนี้ล้วนเป็นของ Ealing Comedy] มีความครึ่งเนิร์ด-ครึ่งติ๊งต๊อง เฉลียวฉลาดในเรื่องโง่ๆ กระทำสิ่งผิดกฎหมาย สุดท้ายได้รับผลกรรมติดตามทัน
แม้ก่อนหน้านี้จะมีหลายบทบาทเด่นๆของ Guinness อย่าง Oliver Twist (1948), Kind Hearts and Coronets (1949), แต่กลับเป็น The Lavender Hill Mob (1951) ครั้งแรกได้เข้าชิง Oscar: Best Actor จากทั้งหมด 5 ครั้ง (สาขาการแสดง 4 ครั้ง) คว้ารางวัลเรื่อง The Bridge on the River Kwai (1957)
Stanley Augustus Holloway (1890-1982) นักแสดง/ตลก สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Manor Park, Essex เมื่ออายุ 14 ออกจากโรงเรียนทำงานเป็นเสมียนโรงงานรองเท้า ใช้เวลาว่างเข้าร่วมคณะการแสดง ขับร้องคอรัส จนกระทั่งมีโอกาสร่วมงานตลก Leslie Henson ให้การสนับสนุนจนมีชื่อเสียง ทำการแสดงร้อง-เล่นเต้น West End, จัดรายการวิทยุ, ภาพยนตร์ส่วนใหญ่บทบาทสมทบ อาทิ Brief Encounter (1945), Hamlet (1948), Passport to Pimlico (1949), The Lavender Hill Mob (1951), แต่โด่งดังที่สุดน่าจะคือโปรดักชั่นละครเวที My Fair Lady เป็นบุคคลแรกรับบท Alfred P. Doolittle
รับบท Alfred ‘Al’ Pendlebury นักหลอมเหล็ก ผู้มีความทึ่มทื่อ เกือบซื่อบื้อ กว่าจะเข้าใจสิ่งที่ Henry พยายามโน้มน้าวให้เขาสมรู้ร่วมคิดปล้นทองแท่งจากธนาคาร แต่ชายคนนี้คือจุดอ่อนที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า ขาดความรอบคอบ ทำอะไรๆผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วน
ตัวละครของ Holloway อาจไม่โดดเด่นเทียบเท่า Guinness แต่ถือว่าคือคนตบมุก เติมเต็มกันและกัน เพราะพวกเขามีความแตกต่างขั้วตรงข้าม ซื่อบื้อ ทึ่มทื่อ ขาดความรอบคอบ ชอบทำสิ่งผิดพลาด แถมยังเข้าใจอะไรๆคลาดเคลื่อน จนสร้างปัญหาเบิกบานปลาย และท้ายที่สุดจนมุมตำรวจก็เพราะชายคนนี้
ก่อนเข้าวงการภาพยนตร์ Holloway เคยมีอาชีพเล่นตลก จึงเข้าใจศาสตร์การสร้างเสียงหัวเราะด้วยใบหน้าเคร่งเครียด เอาจริงจังเอาจัง แต่ท่าทางการกระทำกลับแตกต่างตรงกันข้าม มีความเทอะทะ เฟอะฟะ ขี้หลงขี้ลืม แถมนำพาตนเองให้ตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะสงสารเห็นใจหรือสมเพศเวทนา
ถ่ายภาพโดย Ralph Douglas Vladimir Slocombe (1913-2016) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Putney, London โตขึ้นตั้งใจทำงานช่างภาพข่าว (Photojournalist) เคยเดินทางไป Danzig, Warsaw ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พบเห็นความเลวร้าวของทหาร Nazi ปฏิบัติต่อชาว Jews โชคดีสามารหลบหนีเอาตัวรอดออกมาได้สำเร็จ, หลังจากนั้นทำงานให้กระทรวงสารสนเทศ (Ministry of Information) ถ่ายทำฟุตเทจเครื่องบินรบ ภารกิจมหาสมุทรแอตแลนติก และมีโอกาสสนิทสนมกับ Alberto Cavalcanti ชักชวนมาร่วมงานในสังกัด Ealing Studios มีผลงาน Dead of Night (1945), Kind Hearts and Coronets (1949), The Man in the White Suit (1951), The Lavender Hill Mob (1951), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Italian Job (1969), The Lion in Winter (1969), Travels with My Aunt (1972), Jesus Christ Superstar (1973), Julia (1977), Raiders of the Lost Ark (1981) ฯลฯ
Slocombe เป็นตากล้องที่เลื่องชื่อในสรรค์สร้างเทคนิคภาพยนตร์อันจัดจ้าน ชื่นชอบการทดลองมองหาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งสำหรับ The Lavender Hill Mob (1951) ครุ่นคิดวิธีการวิ่งลงบันไดวันที่สร้างความสับสน มึนงง เวียนทั้งศีรษะ-ท้องไส้ แถมเมื่อลงมาถึงชั้นล่างก็ยังคงตุปัดตุเป๋ไปมา ทั้งนักแสดง ตากล้อง รวมถึงผู้ชมด้วยกระมัง
สิ่งหนึ่งที่อาจถือว่าเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ของ Ealing Studios คือการผสมผสานสถานที่จริง ร่วมกับฉากถ่ายทำในสตูดิโอ ซึ่งสำหรับ The Lavender Hill Mob (1951) ประกอบด้วย London และ Paris, ฝรั่งเศส
- Bank of England ตั้งอยู่ที่ Threadneedle Street
- Bank Underground Station
- Gunnersbury Park (สถานที่จัดงาน Police Exhibition)
- สนามบิน RAF Northolt, Ruislip
- แม่น้ำ Seine
- Eiffel Tower
สำหรับ Lavender Hill Mob คืออพาร์ทเมนท์สมมติตั้งอยู่ถนน Lavender Hill (ในอดีตเคยเป็นเนินเขา แต่ปัจจุบันเต็มไปด้วยท้องถนน ตึกรามบ้านช่อง และห้างสรรพสินค้า) ใกล้ๆกับสี่แยกและสถานีรถไฟ Clapham Junction ย่าน Battlersea, South London


ฉากแรกของหน้ายังบาร์แห่งหนึ่งที่ Rio de Janeiro แต่แน่นอนว่าคงไม่ไกลขนาดนั้น แค่เพียงสร้างฉากภายใน Ealing Studios ตั้งอยู่ย่าน Ealing, West London
ข้อดีของการถ่ายทำในสตูดิโอ ทำให้สามารถเชื้อเชิญนักแสดงรับเชิญ (Cameo) แวะเวียนมาปรากฎตัว หนึ่งในนั้นคือ Audrey Hepburn ได้รับการพบเจอโดย (Sir) Alec Guinness เห็นว่าวางแผนให้มีบทบาทมากกว่านี้ แต่เพราะเธอติดคิวโปรดักชั่นละครเวที ยังไม่ถึงเวลาแจ้งเกิดวงการภาพยนตร์

วินาทีแห่งการเริ่มต้นเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) กล้องจะเคลื่อนเข้าหาใบหน้าของ Henry Holland จากนั้นมีการ Cross-Cutting ที่ยาวนานกว่าปกติ จนเห็นภาพซ้อนระหว่างใบหน้าตัวละคร กับท้องถนน ผู้คน รถยนต์สัญจรไปมา นี่สามารถสื่อถึง Man vs. Society ซึ่งก็คือลายเซ็นต์สไตล์ Ealing Comedy ก็ว่าได้

แทบทุกสิ่งอย่างในหนังล้วนเข้า ‘สูตรสอง’ มักต้องมีการพูดกล่าวถึง พบเห็นอย่างน้อยสองครั้งเสมอๆ อย่างสองช็อตนี้อยู่คนละซีน แต่มีความละม้ายคล้ายจนแทบแยกแยะไม่ออก เปลี่ยนจากหล่อทองแท่ง มาเป็นหลอมเหล็กของที่ระลึก หอไอเฟล (หอไอเฟลก็จะมีทั้งรูปหล่อจำลอง และถ่ายทำยังสถานที่จริง)
แซว: การที่หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ ยังทำให้ผู้ชมไม่สามารถแยกแยะระหว่างทองกับเหล็ก ดูราวกับเป็นสิ่งๆเดียวกัน!


ผมเสียเวลาไปหลายนาทีเพื่อค้นหาหนังสืออาชญากรรม You’d Look Swell in a Shroud แต่ปรากฎว่ามันคือปกปลอม ไม่ได้มีนวนิยายเล่มนี้อยู่จริง! ส่วนข้อความที่ตัวละครอ่านก็เป็นการแต่งขึ้นสำหรับหนัง สำหรับกระตุ้นความครุ่นคิดของ Henry ให้อยากทำบางสิ่งอย่าง แตกต่างจากวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ ‘this was the time!
I handed my fedora to a hat-check girl with all that Venus de Milles had got, and then more, and I was admiring the more when I glimpsed something in the back of this frail that set my underwear creeping up on me like it had legs. A guy had soft-shoed out of the door from the gaming room as quite as a snake on tip-belly. And I didn’t need my case history of smiling Ed Montana to know that Sonny Boy was his number-one triggerman, Ricci the Filipino.
If ever I felt like putting up a new high for the mile of the century, ‘this was the time. And then I thought again of those 10,000 smackeroos.
แซว: ชื่อหนังสือ You’d Look Swell in a Shroud พาดพิงถึง Henry Holland ได้ชัดเจนมากๆ

ใครสักคนวางกับดักหนูไว้บนโต๊ะ แล้วจู่ๆ Henry วางหมวกลงมาพอดิบดี นั่นกลายเป็นแรงบันดาลให้เขาครุ่นคิดหาผู้สมรู้ร่วมคิด (ขณะนั้นยังมีแค่ Henry กับ Alfred) ด้วยวิธีการวางเหยื่อล่อ หลอกให้หัวขโมยอาชีพมาติดกัปดัก แล้วชักชวนมาร่วมแผนการปล้นธนาคาร

ระหว่างเฝ้ารอคอยหัวขโมยมืออาชีพให้มาติดกัปดัก Henry มีการละเล่นกับเงา ทำมือรูปสัตว์ ดูคล้ายๆสุนัขจิ้งจอกล่อกำลังหลอกเหยื่อ

ใครรับชมหนังนัวร์มาเยอะ น่าจะมักคุ้นกับช็อตโคตรคลาสสิกนี้! สมาชิกกลุ่มอาชญากรรมห้อมล้อมวง หลอดไฟแขวนอยู่เหนือศีรษะ และบริเวณโดยรอบปกคลุมด้วยความมืดมิด นี่คือช่วงเวลาการวางแผน ตระเตรียมการ มอบหมายหน้าที่ ก่อนเตรียมปฏิบัติภารกิจ

ระหว่างการปล้นทองแท่ง Henry เกาะอยู่ตรงกรงขังหลังประตูรถ (แสร้ง)ส่งเสียงร้องเรียก Help Me! แต่หลายคนน่าจะรับรู้สึกว่าไม่แตกต่างจากเวลาโจรถูกตำรวจจับกุม และกำลังส่งตัวไปเรือนจำ … มันช่างมีความละม้ายคล้าย ในทิศทางกลับตารปัตร หรือจะมองว่าเป็นการพยากรณ์สิ่งบังเกิดขึ้นในอนาคต

ฉากที่ Henry ถูกมัดเชือก ปิดตา กลิ้งเกลือกลงพื้น และพลัดตกแม่น้ำ แม้ทั้งหมดคือการเสแสร้งสร้างภาพ เล่นละคอนตบตา แต่ล้วนบอกใบ้สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเขาต่อไป ได้ความรู้สึกเหมือนผลกรรมตามสนอง
- อยากฉากมัดเชือกแล้วหมุนๆ ก็ล้อกับตอนลงบันไดวนหอไอเฟล
- ส่วนการพลัดตกน้ำ ล้อกับซีเควนซ์ขึ้นเรือไม่ทัน


เห็นข้อความ Hue and Cry ไหมเอ่ย? นั่นเป็นการอ้างอิงผลงาน Hue and Cry (1947) ซึ่งได้รับการเชิดชูว่าคือภาพยนตร์สไตล์ Ealing Comedy เรื่องแรกของผู้กำกับ Charles Crichton

ยุคสมัยนั้นคนชั่วได้ดีแบบ Henry Holland มันช่างเป็นเรื่องไร้สาระ (Absurdity) บ้าบอคอแตก เรียกเสียงหัวเราะขบขัน ย้อนกลับมาดูในโลกปัจจุบัน เรื่องพรรค์นี้ช่างมีความธรรมดาสามัญ พบเห็นได้ทั่วไปในสังคม (ไม่เชิงว่าสังคมให้การยินยอมรับ แต่คือสิ่งที่ผู้มีอำนาจต่างลุ่มหลงระเริง เต็มไปด้วยความบาดใหญ่)

ฉากที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง คือระหว่างวิ่งลงบันไดวนหอไอเฟล ผมเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะตระหนักได้อยู่แล้วว่าถ่ายทำในสตูดิโอ แต่วิธีการนำเสนอ รวมถึงภาพ POV (Point-of-View) จักสร้างความวิงเวียน มึนงง สับสน และพอลงมาถึงชั้นล่าง ทั้งคน ทั้งกล้อง (และผู้ชม) ก็ยังเกิดอาการหน้ามืดตาลาย คล้ายอยากเป็นลม
นัยยะการนำเสนอฉากนี้ เพื่อสื่อถึงความผิดพลาดเพียงครั้งเดียว จาก R เป็น Ahhh ทำให้ชีวิตของหัวขโมยทั้งสองกำลังค่อยๆตกต่ำลง ราวกับกรรมสนองกรรมที่เคยพยายามปั่นหัวตำรวจ คราวนี้พวกเขาจึงโดนเข้ากับตนเองอย่างสาสม

เรื่องวุ่นๆกับเหตุการณ์ที่ท่าเรือ ต้องติดต่อช่องขายตั๋ว ปั๊มพาสปอร์ต ผ่านด่านศุลกากร จ่ายค่าธรรมเนียม ฯลฯ เหล่านี้ไม่ใช่แค่สื่อถึงกระบวนการทำงานราชการ ที่มีลำดับขั้นตอน มีความยุ่งยาก ต้องใช้เวลา ยังสะท้อนการไล่ล่าของตำรวจ จับไม่ได้ไล่ไม่ทันอาชญากรทั้งสอง (เหมือนที่พวกเขาไม่สามารถติดตามขอคืน ของที่ระลึกหอไอเฟลจากเด็กๆได้ทัน)

ไคลน์แม็กซ์ของหนังต้องชมเลยว่า คิดได้ไง! เมื่อสองหัวขโมยไล่ล่าติดตามของที่ระลึกหอไอเฟล มาถึงสถานจัดงานนิทรรศการ Police Exhibition ซึ่งเมื่อพวกเขาตัดสินใจลักขโมยของกลาง ทำการหลบหนีพานผ่านสถานที่จำลอง ถูกรถตำรวจไล่ล่า ปีนป่ายหลังคา มาจนถึงห้องขัง และหลบหนีหายออกจากเรือนจำ … ทั้งหมดทั้งมวล แสดงให้เห็นผลกรรมที่กำลังจะติดตามทันหัวขโมยทั้งสอง


ทิ้งท้ายกับบทเพลงกล่อมเด็ก Old MacDonald Had a Farm ลองไปดูเนื้อร้อง มันเป็นความ Absurdity ที่ผมเอาแต่หัวเราะ จนก็ไม่รู้ว่ามันจะสื่อนัยยะถึงอะไร!
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
And on his farm he had some cows
Ee i ee i oh
With a moo-moo here
And a moo-moo there
Here a moo, there a moo
Everywhere a moo-moo
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
And on his farm he had some chicks
Ee i ee i o
With a cluck-cluck here
And a cluck-cluck there
Here a cluck, there a cluck
Everywhere a cluck-cluck
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
And on his farm he had some pigs
Ee i ee i o
With an oink-oink here
And an oink-oink there
Here an oink, there an oink
Everywhere an oink-oink
Old MacDonald had a farm
Ee i ee i o
แซว: ตอนจบของหนัง ผู้เขียนบท T.E.B. Clarke ครุ่นคิดอยากให้ Henry เอาตัวรอดหลบหนีพ้น แต่ถูกโปรดิวเซอร์ทัดทาน เพราะกลับถูกตำรวจจับ –“

ตัดต่อโดย Seth Holt (1923-71) ผู้กำกับ/นักตัดต่อ เกิดที่ Mandatory Palestine แล้วมาเติบโตยังประเทศอังกฤษ ร่ำเรียนการแสดงที่ Royal Academy of Dramatic Art (RADA) แต่เมื่อเข้าวงการภาพยนตร์เปลี่ยนมาเป็นนักตัดต่อ ร่วมงานขาประจำ Ealing Studios อาทิ Dead of Night (1945), Kind Hearts and Coronets (1949), The Lavender Hill Mob (1951) ฯลฯ
หนังดำเนินเรื่องผ่านการเล่าย้อนอดีต (Flashback) ของหัวโจ๊ก Henry ‘Dutch’ Holland ขณะหลบลี้หนีภัย อาศัยอยู่ยัง Rio de Janeiro เมืองหลวงของ Brazil กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อปีกว่าๆ เมื่อครั้นยังทำงานเป็นนายธนาคาร ครุ่นคิดแผนการโจรกรรมทองแท่ง รวบรวมสมัครพรรคพวก แต่หลังกระทำการสำเร็จ ก็เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ จนความจริงถูกเปิดโปงออกมา
- อารัมบท เริ่มต้นเล่าเรื่อง ณ Rio de Janerio
- กิจวัตรประจำวันของพนักงานธนาคาร
- Henry คือพนักงานธนาคารทำหน้าที่ขนส่งทองคำแท่ง ปฏิบัติภารกิจอย่างซื่อสัตย์ ไม่เคยเกิดความผิดพลาดตลอดระยะเวลา 20 ปี
- เมื่อเสร็จงานเดินทางกลับบ้านพักที่ Lavender Hill
- พบเจอกับลูกบ้านคนใหม่ Alfred ‘Al’ Pendlebury ซึ่งเป็นนักหลอมเหล็ก พบเห็นความละม้ายคล้ายคลึงระหว่างทอง-เหล็ก จึงเกิดความครุ่นคิดแผนการชั่วร้ายบางอย่าง
- ตระเตรียมแผนการปล้นธนาคาร
- รวบรวมสมัครพรรคพวกได้อีกสองคน มอบหมายหน้าที่ ซักซ้อมแผนการ
- การปล้นธนาคาร
- Henry ได้รับมอบหมายให้ขนทองคำแท่งงวดสุดท้าย
- เรื่องวุ่นๆระหว่างการปล้นธนาคาร
- หลอมทองแท่งให้กลายเป็นสิ่งของที่ระลึก
- หลังจากการปล้นสำเร็จลุล่วง ก็ถึงช่วงเวลาหลอมทองให้กลายเป็นสิ่งของที่ระลึก
- Henry และ Alfred ออกเดินทางสู่ Paris แต่กลับมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น
- ความพยายามแก้ไขข้อผิดพลาด
- Henry และ Alfred พยายามออกติดตามหาสิ่งของที่ระลึกที่สูญหาย
- มาจนถึงงานจัดแสดง Police Exhibition
- เมื่อความแตกพวกเขาจึงถูกตำรวจไล่ล่า
- ปัจฉิมบท หวนกลับมา Rio de Janerio เพื่อนำเสนอบทสรุปของการก่ออาชญากรรม
หนังมีการดำเนินเรื่องที่กระชับมากๆ ไม่มีส่วนขาดส่วนเกิน นี่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเพลิดเพลิน เกิดแรงดึงดูดให้อยากติดตามต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ พลาดไม่ได้สักวินาทีเดียว … ผมเองก็รู้สึกเหมือนถูกแรงดึงดูดบางอย่าง รอยต่อระหว่างฉากถือว่าแนบเนียน ต่อเนื่อง ลื่นไหลมากๆ
ไฮไลท์การตัดต่อผมยกให้ตอนไคลน์แม็กซ์ ฉากไล่ล่าบนท้องถนน เอาจริงๆมันแทบจะไม่มีอะไรน่าตื่นตาเทียบเท่าหนังบู๊แอ๊คชั่นสมัยนี้ แต่ด้วยลีลาตัดสลับไปสลับมาสไตล์ Dr. Strangelove (1964) [จริงๆเทคนิคดังกล่าวมันมีมาตั้งแต่ยุค Soviet Montage แต่ผมเปรียบเทียบถึง Dr. Strangelove เพื่อให้หลายคนเห็นภาพชัดกว่า] ระหว่างรถผู้ต้องหา รถตำรวจ ศูนย์สื่อสาร และทิวทัศน์ที่รถวิ่งผ่าน เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาแค่นี้ แต่กลับสามารถสร้างตื่นเต้น ลุ้นระทึก และดูมีความเป็นศิลปะ
เพลงประกอบโดย Georges Auric (1899 – 1983) คีตกวีอัจฉริยะชาวฝรั่งเศส เริ่มแต่งเพลงตั้งแต่อายุ 10 ขวบ มีความเชี่ยวชาญเปียโน ชื่นชอบเขียนบัลเล่ต์ กระทั่งการมาถีงของภาพยนตร์ สนิทสนม Erik Satie และ Jean Cocteau ผลงานเด่นๆ อาทิ À nous la liberté (1931), La Belle et la Bête (1946), Moulin Rouge (1952), Roman Holiday (1953), Le Salaire de la peur (1953), Rififi (1955), The Innocents (1961) ฯ
งานเพลงของหนัง คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Baroque ยุคสมัยแห่งความขัดแย้ง (Tension) มักใช้เครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดเล่นท่วงทำนองสะท้อนกันและกัน คนละระดับเสียง สลับเสียง หรือย้อนแก่นสาร (Reversing) โดยจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆ ภายนอกดูหรูหรา โอ่อ่า อลังการ แต่วิถีชีวิตผู้คนสมัยนันกลับยากจนข้นแค้น … นี่สะท้อนเข้ากับสไตล์ของ Ealing Comedy ได้อย่างเปะๆเลยนะ Man vs. Society
นอกจากนี้ท่วงทำนองเพลง ยังมักมีความขัดแย้งกับภาพพบเห็น/เรื่องราวบังเกิดขึ้น อย่างการปล้นทอง The Robbery กลับมีท่วงทำนองน่าตื่นเต้น เน้นความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง (ขัดแย้งกับความครุ่นคิดเห็นทางสังคม ว่าคือสิ่งไม่ถูกต้องเหมาะสม)
ปล. ฉบับบันทึกเสียงใหม่โดย BBC Philharmonic Orchestra กำกับวงโดย Rumon Gamba ไม่ใช่ว่าไม่ไพเราะนะครับ แต่มันคนละสัมผัสอารมณ์กับที่ได้ยินในหนังโดยสิ้นเชิง
เรื่องราวของ The Lavender Hill Mob (1951) อาจไม่ได้สอดแทรกเนื้อหาสาระ ข้อคิดคติสอนใจอะไร แต่ภาพยนตร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (post-Wars) มักมีลักษณะหลบหนีจากโลกความจริง (Escapist) ความบันเทิงแบบสุดโต่ง วิธีนำเสนอเว่อวังอลังการ ความสำเร็จของ Erling Comedy สะท้อนความสนใจผู้ชมสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
แต่ใช่ว่าเรื่องราวของหนังไม่มีข้อคิดอะไรนะครับ การเผชิญหน้าระหว่างบุคคลธรรมดา vs. องค์กร/สถาบัน ในที่นี้ก็คือธนาคารแห่งอังกฤษ (Bank of England) แสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ระบบรักษาความปลอดภัย เงินทองคือสิ่งล่อตาล่อใจ ต่อให้บุคคลซื่อสัตย์ขนาดไหนล้วนมีความน่าจะเป็นไปได้ รวมถึงยังเป็นการย้ำเตือนสติผู้ชม การก่ออาชญากรรมไม่มีทางที่ผู้กระทำผิดกฎหมายจะสามารถดิ้นหลุดรอดพ้น ท้ายสุดก็ต้องชดใช้ผลกรรม
สิ่งที่ทำให้หนังได้รับการยกย่องชื่นชม นั้นคือลวดลีลา วิธีการนำเสนอ เต็มไปด้วยลูกล่อลูกชน เทคนิคภาพยนตร์ และความคิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด ที่สามารถสร้างอิทธิพล แรงบันดาลใจให้ผลงานถัดๆมา นั่นคือความงดงามทรงคุณค่าทางศิลปะ คลาสสิก ขบขำกลิ้งเหนือกาลเวลา
แม้หนังอาจดูไม่มีความเป็นส่วนตัวของผกก. Crichton แต่ผมอ่านเจอว่าปู่แกเป็นคนเงียบๆ เรียบง่าย อ่อมน้อมถ่อมตน ไม่ชอบคุยโวโอ้อวด เวลาพูดล่อแหลมหรือไม่สุภาพก็มักกล่าวคำขอโทษโดยทันที อีกทั้งผลงานส่วนใหญ่ก็ตามใบสั่งสตูดิโอ ไม่ได้มักใหญ่ใฝ่สูงหรือทะเยอทะยานสักเท่าไหร่ … เหล่านี้ช่างละม้ายคล้ายตัวละคร Henry ‘Dutch’ Holland อยู่ไม่น้อยเลยนะ
แซว: ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ Charles Crichton นั้นคือ A Fish Called Wanda (1988) ก็เป็นแนว Heist Comedy แบบเดียวกับ The Lavender Hill Mob (1951) มีความน่าดูเหลือเกินนะ!
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Marble Arch Odeon ณ กรุง London ได้เสียงตอบรับดีมากๆ ไม่มีรายงานทุนสร้างหรือรายรับ เพียงบอกว่าได้รับความนิยม ‘popular’ ในประเทศอังกฤษ และเมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกา ทำเงินได้ $580,000 เหรียญ ก็น่าจะเพียงพอคืนทุนแล้วนะ!
นอกจากนี้หนังยังเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice และมีลุ้นรางวัลจาก Academy Award และ BAFTA Award ประกอบด้วย
- Academy Award
- Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
- Best Actor (Alec Guinness)
- BAFTA Award
- Best Film from any Source พ่ายให้กับ La ronde (1950)
- Best British Film ** คว้ารางวัล
- Venice Film Festival
- International Award: Best Screenplay ** คว้ารางวัล
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ คุณภาพ 2K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2011 (ครบรอบ 60 ปี) สามารถหาซื้อ Blu-Ray จากค่าย Kino Lorber และ Optimum Home Entertainment หรือคอลเลคชั่น The Ealing Studios Rarities Collection: Volume 1 (มีทั้งหมด 14 Volumn) ประกอบด้วย Kind Hearts and Coronets,The Lavender Hill Mob และ The Man in the White Suit
ผมรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างมากๆกับ The Lavender Hill Mob (1951) มันเหมือนมีแรงดึงดูดบางอย่าง ชวนให้ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ โดยไม่รับรู้สึกเบื่อหน่ายเลยสักวินาทีเดียว! (ผิดกับ Hobson’s Choice (1954) ที่แม้เทคนิคจัดจ้าน แต่เต็มไปด้วยความยืดยาด น่าเบื่อหน่าย) ถ้าในคอลเลคชั่น Ealing Comedy ส่วนตัวชื่นชอบพอๆกับ The Ladykillers (1955) เหมาะสำหรับรับชมเวลาเครียดๆ ต้องการพักผ่อนคลาย ไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรสักเท่าไหร่
แนะนำคอหนังตลกคลายเครียด สไตล์ Ealing Comedy แนวปล้นธนาคาร (Heist Film) ด้วยแผนการอันชาญฉลาด แต่ก๊วนโจรกลับมีความกระจอกแดก บ้าๆบอๆ ทำลายเซลล์สมอง ใครเป็นแฟนๆนักแสดง Alec Guinness ไม่ควรพลาดเลยนะ!
จัดเรต pg กับการปล้นธนาคาร
Leave a Reply