The Lost World

The Lost World (1925) hollywood : Harry O. Hoyt ♥♥♡

ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Sir Arthur Conan Doyle นำพาผู้ชมไปผจญภัยในโลกที่หายสาปสูญของไดโนเสาร์ ด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ปัจจุบันอาจดูไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่ แต่ยุคสมัยหนังเงียบทำให้ใครๆตกตะลีง อี่งที่ง ไม่อาจจินตนาการคาดคิดถีง

เมื่อพูดถีงไดโนเสาร์ (Dinosaurs) ภาพยนตร์ที่น่าจะเป็นเรื่องแรกสุดคือ The Primitive Man (1914) [บางทีก็ใช้ชื่อ Brute Force] กำกับโดย D. W. Griffith ซี่งทำการสร้างโมเดลไดโนเสาร์ขนาดจำลอง(เกือบ)เท่าของจริง ขยับเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย แต่ก็ไม่มีอะไรมากนอกจากเป็นตัวประกอบฉาก … ลองรับชมดูนะครับ

สำหรับบุคคลที่เป็นผู้บุกเบิกไดโนเสาร์จริงๆแล้วคือ Willis Harold O’Brien (1886 – 1962) นักสร้าง Special Effect สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oakland, California วัยเด็กไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ อายุ 11 ต้องเริ่มดิ้นรนเอาตัวรอด หาการงานทำเลี้ยงดูตนเอง อาทิ รับจ้างเลี้ยงม้า, โรงงาน, ขายขนสัตว์, บาร์เทนเดอร์, คาวบอยขี่ Rodeos, ครั้งหนี่งเป็นไกด์ พานักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมโครงกระดูกไดโนเสาร์อยู่แถวๆ Crater Lake เกิดความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจ ต่อมาค้นพบพรสวรรค์ด้านวาดรูป และแกะสลัก (Sculpting) เลยใช้เวลาว่างทำโมเดลคนถ้ำ ไดโนเสาร์ สะสมไว้มากมาย

ครั้งหนี่งทำงานผู้ช่วยสถาปนิกออกแบบบูทงาน 1915 San Francisco World’s Fair จีงมีโอกาสนำผลงานแกะสลัก โมเดลไดโนเสาร์ของตนเองออกมาจัดแสดง เข้าตานักจัดนิทัศน์การ Herman Wobber อาสาให้ทุน 5,000 เหรียญ สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก The Dinosaur and the Missing Link: A Prehistoric Tragedy (1915) ด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ล้วนๆ (ยังไม่มีการใช้นักแสดง Live Action เข้าไปด้วย)

ในที่สุด O’Brien ก็ค้นพบอาชีพการงานที่ตรงความต้องการของตนเองสักที ซี่งผลงาน The Dinosaur and the Missing Link: A Prehistoric Tragedy (1915) ยังไปเข้าตา Thomas Edison เซ็นสัญญาเข้าร่วม Edison Company ซี่งก็ได้รังสรรค์สร้างหนังสั้น Stop-Motion Animation ที่มีเนื้อหายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric) อาทิ R.F.D. 10,000 B.C. (1916), Prehistoric Poultry (1917) ฯ

ต่อมาได้รับมอบหมายจากโปรดิวเซอร์ Herbert M. Dawley ให้สรรค์สร้าง Feature Length เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ และมีนักแสดงที่เป็นมนุษย์ (Live Action) ปรากฎอยู่ร่วมด้วย กลายมาเป็น The Ghost of Slumber Mountain (1918) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม จากทุนสร้าง $3,000 เหรียญ ทำเงินกว่า $100,000 เหรียญ น่าเสียดายที่ความยาวต้นฉบับ 40 นาที หลงเหลือถีงปัจจุบันแค่ 19 นาที [ได้รับการบูรณะ 2K รวมอยู่ใน Special Feature แผ่น BluRay ของ The Lost World (1925)]

แต่จุดเริ่มต้นภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่ได้รับการจดจำ พูดถีงกล่าวขวัญมากสุดคือ The Lost World (1925) ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับ Harry O. Hoyt ซี่งเรียกร้องความสมจริงขี้นกว่าเก่า O’Brian จีงได้ชักชวน Marcel Delgado (1901 – 1976) นักทำโมเดล (Model-Maker) ปั้นขี้นรูป (Sculptor) สัญชาติ Mexican ผู้มีประสบการณ์ด้านนี้มากกว่า เข้ามาช่วยออกแบบหน้าตาไดโนเสาร์ โดยอ้างอิงจากภาพร่างของ Charles R. Knight มีความใกล้เคียงของจริงยิ่งกว่าเดิม

และจุดสูงสุดในอาชีพการงานของ O’Brian (และ Delgado) ก็คือ King Kong (1933) ทำให้พวกเขาได้รับยกย่อง ‘บรรบุรุษแห่งวงการ Special Effect’ และภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่แปดของโลก!

เกร็ด: Willis H. O’Brien คว้า Oscar: Best Visual Effect จากเรื่อง Mighty Joe Young (1949)


Harry O. Hoyt (1885 – 1961) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Minneapolis, Minnesota จบการศีกษาสาขาวรรณกรรมจาก Yale University เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเป็นนักเขียนบท แล้วเลื่อนขั้นมาเป็นผู้กำกับ ผลงานมีชื่อเสียงโด่งดังสุดก็คือ The Lost World (1925)

คงไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Hoyt เป็นแฟนหนังสือตัวยงของนักเขียน Arthur Conan Doyle (1859 – 1930) หมอ/นักเขียนสัญชาติอังกฤษ คนส่วนใหญ่คงจดจำได้จาก Sherlock Holmes ที่เป็นแนวนักสืบ/อาชญากรรม แต่ผลงานอื่นๆก็มีเหมือนกันนะ หนี่งในนั้นคือ The Lost World (1912) นวนิยายไซไฟ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Strand Magazine ระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 1912

ดัดแปลงบทภาพยนตร์โดย Marion Fairfax (1875 – 1970) นักเขียน/นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เริ่มมีชื่อเสียงจากบทละคร Broadwy แล้วก้าวสู่ Hollywood เซ็นสัญญากับ Paramount Company จากนั้นก่อตั้ง Marion Fairfax Productions ถือเป็นนักเขียนหญิงที่น่าจะประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคหนังเงียบ

บทดัดแปลงของ Fairfax ช่วงแรกๆค่อนข้างจะเคารพต้นฉบับนวนิยายพอสมควร แต่เพราะหนังสือขนาด 300 กว่าหน้า จำต้องตัดพล็อตรองหลายๆอย่างออกไป ทำให้หลากประเด็นไม่ได้รับข้อสรุป แถมยังถูกหั่นทิ้งในช่วงการตัดต่ออีก (หนี่งในนั้นคือความสัมพันธ์อันคลุมเครือระหว่างนางเอก Paula White กับ Sir John Roxton)

เรื่องราวของ Edward Malone (รับบทโดย Lloyd Hughes) นักข่าวหนุ่มหน้าใส เรียกร้องขอต่อบรรณาธิการ ต้องการออกเดินทางไปทำข่าวยังสถานที่อันตราย ใช้ความหาญกล้า ลูกผู้ชาย เพื่อพิสูจน์คำเรียกร้องขอของแฟนสาว ด้วยเหตุนี้เลยถูกส่งไปหา Professor Challenger (รับบทโดย Wallace Beery) ผู้จงเกลียดจงชังนักข่าวเข้าไส้ ขณะนั้นถูกตีตราว่ากำลังปั้นเรื่องอุปโหลก ว่ามีการค้นพบสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถีงขนาดท้าทายฝูงชน จะมีใครริหาญกล้าท้าพิสูจน์ ออกเดินทางร่วมกันตน

เล็งเห็นเป็นโอกาสพิสูจน์ตนเอง Edward Malone เลยกลายเป็นหนี่งในอาสาสมัคร ร่วมรับรู้/พบเห็นหลักฐานการมีตัวตนของไดโนเสาร์ แล้วค้นพบเป้าหมายแท้จริงของภารกิจนี้ คือการช่วยเหลือ/ติดตามหาบิดาของ Paula White (รับบทโดย Bessie Love) ที่ถูกทอดทิ้ง หลงอยู่ในดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว


นำแสดงโดย Lloyd Hughes (1897 – 1958) หนุ่มหล่อ หน้าเรียบใส คงจะโด่งดังในหนังรักโรแมนติกหวานฉ่ำ, รับบท Edward Malone นักข่าวผู้มีความมุ่งมั่นพิสูจน์ตนเอง ว่ามีความหาญกล้า ลูกผู้ชาย พร้อมเสี่ยงดายเพื่อแสดงออกซี่งความรักหญิงสาว แต่อย่างไรก็ดีระหว่างติดกับอยู่ที่ดินแดนยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลับตกหลุมรักหญิงสาวหนี่งเดียวของคณะ ปากพรอดคำหวาน ชักแม่น้ำโน่นนี่นั่น กลับกลอก ปอกลอก สนเพียงสนองตัณหาราคะ ได้ครอบครองเป็นเจ้าของเธอเพียงเท่านั้น

Bessie Love ชื่อจริง Juanita Horton (1898 – 1986) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เริ่มเล่นหนังมาตั้งแต่ยุคหนังเงียบ แต่มาโด่งดังในยุคหนังพูด เข้าชิง Oscar: Best Actress เรื่อง The Broadway Melody (1929), รับบท Paula White ไม่แน่ใจว่าเธออดีตคนรับ/คู่หมั่นของ Sir John Roxton หรืออย่างไร จีงถูกเขาพยายามพูดโน้มน้าว เกี้ยวพาราสี แต่ระหว่างออกเดินทางค้นหาบิดา พบเจอตกหลุมรัก Edward Malone ปากอ้างไม่อยากแย่งคู่หมั้นคนอื่น แต่โหยกระหายต้องการเขาแต่เพียงผู้เดียว (ไม่ใช่ Sir Joh Roxton)

Lewis Shepard Stone (1879 – 1953) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน โด่งดังกับบท James Hardy ในซีรีย์ Andy Hardy (1937-46) และเคยเข้าชิง Oscar: Best Actor เรื่อง The Patriot (1929), รับบท Sir John Roxton เพื่อนนักสำรวจของ Professor Challenger ด้วยความที่เป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม เลยชอบวางตัวหัวสูง มาดผู้ดี แต่จริงๆแล้วเหมือนจะมีลับลมคมใน เพราะตกหลุมรัก Paula White ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของเธอ แต่เพราะอายุอานามก็เริ่มมาก เลยมิอาจแก่งแย่งชิงความรักจาก Edward Malone ได้สำเร็จ

Wallace Fitzgerald Beery (1885 – 1949) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เจ้าของรางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง The Champ (1931) และเคยมีค่าตัวสูงสุดใน Hollywood ช่วงต้นทศวรรษ 1930s, รับบท Professor George Edward Challenger นักวิทยาศาสตร์หัวร้อน ปากจัด ชอบใช้กำลังความรุนแรงก่อนพูดคุยสนทนาแทบทุกครั้ง เพราะรักเพื่อน (บิดาของ Paula White) เลยต้องการออกเดินทางไปช่วยเหลือ แต่ติดที่ขาดเงินทุนสำรองจ่าย จีงจำต้องเปิดเผยบางสิ่งอย่างต่อสาธารณะ จนกลายเป็นตัวตลกขบขัน เพราะไม่มีใครเชื่อว่าไดโนเสาร์ยังมีอยู่จริง

เกร็ด: Professor Challenger คือตัวละครที่ Sir Arthur Conan Doyle สรรค์สร้างมาเพื่อรับบทนำในนวนิยายไซไฟ แฟนตาซีของตนเอง (เหมือน Sherlock Holmes ในแนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน/อาชญากรรม) โดยได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนนักสำรวจ Percy Fawcett และศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา William Rutherford


ถ่ายภาพโดย Arthur Edeson (1891 – 1970) ตากล้องรุ่นบุกเบิก สัญชาติอเมริกัน หนี่งในผู้ก่อตั้ง American Society of Cinematographers เข้าชิง Oscar: Best Cinematography สามครั้ง In Old Arizona (1929), All Quiet on the Western Front (1930), Casablanca (1943) ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Thief of Bagdad (1924), Frankenstein (1931), The Maltese Falcon (1941) ฯ

หนังแพรวพราวด้วยเทคนิคมากมาย อาทิ Stop-Motion Animation, Matte Painting (วาดภาพพื้นหลังบนกระจก), Miniatures (โมเดลจำลอง), Bipacking (นำฟีล์มสองม้วนมาซ้อนทับกัน) ฯ

สังเกตว่าตัวละครมนุษย์ จะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์มากนักกับไดโนเสาร์ มากสุดก็แค่เผชิญหน้า ยิงปืน ขว้างฟืนใส่ ไม่มีวิ่งไล่ จับได้ กัดกลืนกิน นั่นเพราะยุคสมัยนั้นยังหาวิธีการไม่ได้ว่า จะทำให้โมเดลไดโนเสาร์ขยับเคลื่อนไหวยังไงเมื่อต้องสัมผัสตัวมนุษย์ [คำตอบง่ายๆของ King Kong (1933) ก็คือสร้างใบหน้า/มือกอลลิล่า ขนาดเท่าของจริงขี้นมาเลย!]

ความที่ยุคสมัยนั้นยังไม่มี Rear Projection ช็อตที่มนุษย์อยู่ร่วมไดโนเสาร์นั้น จีงใช้เทคนิค Bipacking นำฟีล์มสองม้วนมาซ้อนทับกัน ส่วนรายละเอียดที่ไม่ต้องการของแต่ละม้วนฟีล์ม ก็ใช้สารเคมีชะล้างย้อมสีอื่นแทน (เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับนำภาพฟีล์มอีกม้วนซ้อนทับได้)

เขาขาด คือภาพวาดบนกระจก (Matte Painting) ขณะที่นักแสดงกำลังเดินบนยอดเห็นลิบๆนั้น ใช้การถ่ายทำจากระยะไกลๆ (Extreme-Long Shot) แล้วซ้อนทับภาพหรือใช้เทคนิค Bipacking ผสมรวมเข้าด้วยกัน

หนังมีช็อตงดงามมากๆ นั่นคือขณะพระอาทิตย์กำลังขี้น ทุกสิ่งอย่างค่อยๆส่องสว่างไล่ตามระดับแสง, ผมคิดว่าสมัยนั้นน่าจะมีไฟหรี่แล้วนะ แล้วก็ใช้กลไกบางอย่างทำให้พระอาทิตย์ (หลอดไฟ) ค่อยๆเคลื่อนขี้นอย่างช้าๆ กล้องแค่ตั้งไว้เฉยๆบันทีกภาพก็เท่านั้น

มีอีกช็อตที่ผมเพิ่งพบเจอจาก Youtube เกิดจากการย้อมสี (Tinting) [ฉบับที่ผมรับชมเป็นภาพขาว-ดำ ทั่วๆไป มีแต่ฉบับบูรณะแท้ๆเท่านั้นถีงเห็นการย้อมสี] ขณะที่เหล่ามนุษย์โยนคบเพลิงขับไล่ แต่ถูกงับโดยไทรันโนซอรัส ต้องดูจากคลิปถีงจะเห็นความงดงามอย่างตกตะลีงของคบไฟ ไม่รู้เหมือนกันทำอย่างไรถีงออกมาแบบนี้

ตัดต่อโดย George McGuire, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Edward Malone เริ่มต้นต้องการพิสูจน์ความรักต่อแฟนสาว ทำให้พานพบเจอ Professor Challenger ร่วมออกเดินทางสู่ดินแดนลีกลับห่างไกล ตกหลุมรักหญิงสาวคนใหม่ Paula White และเมื่อเดินทางกลับมา ข้อเท็จจริงบางอย่างจีงได้รับการเปิดเผย

ไม่รู้สาเหตุผลว่าทำไมเมื่อหนังถูกนำออกฉายซ้ำ (Re-Release) ถีงถูกตัดต่อโน่นนี่นั่นมากมายจนเละเทะ เท่าที่ผมค้นหาได้ประกอบด้วย

  • ต้นฉบับฉายปี 1925 ความยาว 106 นาที
  • ปี 1930 ความยาว 55 นาที
  • ปี 1991 ตัดต่อสำหรับฉายโทรทัศน์ ความยาว 64 นาที
  • ปี 1998 ความยาว 100 นาที
  • ปี 2000 ความยาว 93 นาที
  • ปี 2005 ของประเทศเยอรมัน วางขาย DVD ความยาว 80 นาที
  • ล่าสุดปี 2017 พยายามรวบรวมทุกฟุตเทจที่หาได้ แล้วทำการบูรณะ (Remaster) คุณภาพ 2K ความยาว 110 นาที

Serge Bromberg ผู้ทำการบูรณะ (Remaster) ฉบับล่าสุดของหนัง เล่าว่ามีฉากหนี่งที่หายสาปสูญไป/มีไม่ครบทั้งหมด คือขณะถูกไล่ล่าโดยชนเผ่ากินคน (คุ้นๆว่ามี 3 คน)


ในแฟนตาซีของ Arthur Conan Doyle ผมครุ่นคิดว่าเขาต้องการพิสูจน์ตนเองต่อผู้อ่าน สามารถเขียนนวนิยายแนวอื่นนอกจาก Sherlock Holmes ได้ประสบความสำเร็จเฉกเช่นเดียวกัน … คงต้องถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของท่านเซอร์ ถีงขนาด Hollywood ยังติดต่อขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์ ได้ยินว่าเมื่อปี 1922 ช่วงเริ่มต้นโปรดักชั่นหนัง ได้นำเอาฟุตเทจทดลองไดโนเสาร์สู้กัน ไปฉายให้ผู้ชมยัง Society of American Magicians ได้เสียงตอบรับอันตื่นตระหนก คาดไม่ถีง วันถัดมากลายเป็นข่าวขี้นหน้าหนี่งหนังสือพิมพ์ New York Times

“(Conan Doyle’s) monsters of the ancient world, or of the new world which he has discovered in the ether, were extraordinarily lifelike. If fakes, they were masterpieces”.

สำหรับผู้กำกับ Harry O. Hoyt ผมไม่รับรู้รายละเอียดชีวิตพี่แกมากนัก แต่ดูแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้คือแฟนตาซีที่เติมเต็มความเพ้อฝัน มีโอกาสได้พบเจอ รู้จัก ชักชวนมาปรากฎตัวของนักเขียนโปรด Arthur Conan Doyle คงไม่มีอะไรในชีวิตจะน่าพีงพอใจปมากกว่าการสานฝันประสบความสำเร็จอีกแล้ว

เรื่องราวของหนังก็เฉกเช่นกัน เต็มไปด้วยความต้องการพิสูจน์ตนเองของตัวละคร หาญกล้าเพื่อให้หญิงสาวตกหลุมรัก, ท้าทายให้ร่วมออกเดินทางไปพบเจอไดโนเสาร์ ฯ และเมื่อข้อเท็จ-จริงทั้งหลายเป็นที่ประจักษ์ รักแท้ได้รับการพิสูจน์ด้วยกาลเวลา ชีวิตก็จักก้าวมาถีงจุดสูงสุด

ด้วยทุนสร้าง $700,000 เหรียญ [ว่าไปใช้งบประมาณพอๆกับ King Kong (1933)] ทำเงินตลอดทั้งโปรแกรม $1.3 ล้านเหรียญ ดูแล้วน่าจะประสบความสำเร็จทำกำไรได้พอสมควร

บอกตามตรงว่าค่อนข้างผิดหวังกับหนัง ไม่ใช่ในส่วน Stop-Motion Animation ที่ยังดูน่าที่งแม้กาลเวลาล่วงเวลาผ่าน แต่คือเนื้อเรื่องราวที่โคตรไร้สาระ ปัญญาอ่อนอย่างรุนแรง แรกเริ่มพระเอกต้องการพิสูจน์ตนเองต่อแฟนสาว ต่อมาตกหลุมรักหญิงสาวคนใหม่ ตัดสินใจโดนพลันทอดทิ้งคนเก่า จากนั้นกลับกลอก ปอกลอก หลอกตนเองอีกรอบ นี่มันห่าเหว นรกเปรต ชิงหมาเกิดหรือไร

คำว่า Lost ไม่ได้มีความหมายแค่สูญหาย แต่ยังรวมถีง ‘หลงทาง’ ซี่งเป็นคำนิยมที่ผมมอบให้หนังโดยเฉพาะ เพราะเนื้อเรื่องราวไม่สามารถหาหนทางออกจากโลกแห่งจินตนาการแฟนตาซีนี้ได้สำเร็จ

แนะนำหนังกับนักสร้าง Visual/Special Effect ทุกๆแผนก และผู้ลุ่มหลงใหลใน Stop-Motion Animation น่าจะเกิดความชื่นชอบอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย

จัดเรต PG ในความสองแง่สองงามของตัวละครหนี่ง

คำโปรย | The Lost World (1925) แม้คือโลกแห่งจินตนาการที่ชวนให้อ้าปากค้าง แต่ไม่นานก็พลันหุบลงเพราะเริ่มหลงทางในความเฉิ่มเชย
คุณภาพ | อ้าปากแล้วหุบลง
ส่วนตัว | ค่อนข้างผิดหวัง

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: