Mirror (1975) : Andrei Tarkovsky ♠♠♠♠♠
(11/12/2023) กระเบื้องโมเสก/กระจกสะท้อนความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Andrei Tarkovsky ที่มีความเป็นส่วนตัว อารมณ์ศิลปิน งดงามวิจิตรศิลป์ โดยไม่สนใจว่าผู้ชมจะดูรู้เรื่องหรือไม่ ใครสามารถปีนป่ายบันไดก็อาจหลงใหลคลั่งไคล้ แต่ตัวหนังไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรนอกจากระบายความรู้สึกอัดอั้นภายในของผู้สร้าง
Look at me. Only at me. Look right in my eyes. Corning forward. Turn around. Concentrate on my hand. You’ll feel it drawing you back. Good. Spread your fingers. Like this. Now concentrate, Yuri. Send all the tension from up here down to your hands. More. Your hands are getting more and more tense… Concentrate. On “three,” your hands will freeze in place. Ready? Look at your hands. One… two… three! Your hands are frozen stiff… Now I’ll bring you out of it, and you’ll speak clearly and effortlessly, unafraid of your own voice and words. If you can do that now, you’ll speak that way all your life. Clearly and loudly. Here we go. Look at me. On three… I’ll lift the tension from your hands and speech. One… two… three! Loud and clear! “I can speak.”
จิตแพทย์ทำการสะกดจิตเด็กชายติดอ่าง (Stuttering)
ลองสังเกตตนเองระหว่างรับชม Mirror (1975) ว่ามีลักษณะอาการเปรียบเทียบคล้ายๆคนติดอ่างหรือเปล่า? เคร่งเครียด ปวดหัว กุมขมับ ดูไม่เข้าใจ ไม่สามารถแปะติดปะต่อเรื่องราวใดๆ แนะนำให้ทดลองทำตามคำแนะนำจิตแพทย์ตอนต้นเรื่อง ผ่อนลมหายใจ ทำตนเองให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่ต้องขบครุ่นคิดอะไรมากมาย ค่อยๆซึมซับภาพพบเห็น ไม่แน่ว่าอาจทำให้สามารถเข้าใจอะไรๆมากขึ้นกว่าเก่า
ผกก. Tarkovsky ได้รับจดหมายจากผู้ชม(ชาวรัสเซีย)ส่งมาขอบคุณมากมายหลายฉบับ บอกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ช่วยชีวิต หวนระลึกความทรงจำ ระบายสิ่งอึดอัดอั้นภายใน เพราะพวกเขาเหล่านั้นล้วนเคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆคลึงกัน เลยสามารถสัมผัสจับต้อง เข้าใจความรู้สึก รับรู้ด้วยจิตวิญญาณ
I’ve seen your film four times in the last week. And I didn’t go simply to see it, but in order to spend just a few hours living a real life with real artists and real people … Everything that torments me, everything I don’t have and that I long for, that makes me indignant, or sick, or suffocates me, everything that gives me a feeling of light and warmth, and by which I live, and everything that destroys me—it’s all there in your film, I see it as if in a mirror. For the first time ever a film has become something real for me, and that’s why I go to see it, I want to get right inside it, so that I can really be alive.
ข้อความส่วนหนึ่งจากจดหมายของหญิงสาวโรงงานแห่งหนึ่งยัง Novosibirsk, อ้างอิงอยู่ในหนังสือ Sculpting in Time (1986)
สำหรับผู้ชมสมัยใหม่ที่ไม่เคยพานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมไม่สามารถสัมผัสถึงประสบการณ์ดังกล่าวอย่างแน่นอน! ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องไปขบครุ่นคิดอะไรมากมายให้เสียเวลา วิธีการง่ายที่สุดคือมองแต่ละเหตุการณ์บังเกิดขึ้นในลักษณะแบ่งเป็นตอนๆ (Episodic) เหมือนจิ๊กซอว์ที่มีความสะเปะสะปะ ดูจบแล้วค่อยลองนำแต่ละชิ้นส่วน/เรื่องราวมาแปะติดปะต่อ มองหาความต่อเนื่อง ได้แค่ไหนแค่นั้น แล้วลองหาอ่านบทความวิจารณ์เพิ่มเติม ก็จักเริ่มเข้าใจอะไรๆหลายสิ่งอย่าง
Mirror (1975) เปรียบดั่งความทรงจำของผกก. Tarkovsky ที่มีความสะเปะสะปะ ระเกะระกะ กระโดดไปกระโดดมา (Non-Linear Narrative) ร้อยเรียงเหตุการณ์ตั้งแต่
- เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก อาศัยอยู่กับมารดายังกระท่อมชนบท (Pre-Wars)
- พานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง (WW2) แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาพจาก Archive Footage
- และเมื่อเติบใหญ่ แต่งงาน หย่าร้าง (Post-Wars) พยายามต่อรองภรรยาในการเลี้ยงดูแลบุตรชาย ก่อนล้มป่วยในสภาพปางตาย
ซึ่งความท้าทายคือผู้ชมต้องสังเกตบริบทรอบข้างด้วยตนเองว่าแต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน และที่บ้าคลั่งเข้าไปใหญ่ก็คือใช้นักแสดงคนเดียว Margarita Terekhova รับบทเป็นทั้งมารดา (ในช่วง Pre-Wars) และภรรยา (ในช่วง Post-Wars)
มีผู้อ่านหลายคนเรียกร้องขอให้ปรับปรุงบทความ Mirror (1975) เอาจริงๆผมก็แอบหวาดหวั่น กลัวว่าจะยังดูไม่รู้เรื่อง! ซึ่งระหว่างรับชมก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ จนกระทั่งพอหาอ่านหลายๆบทความวิจารณ์ต่างประเทศ โดยไม่รู้ตัวบังเกิดวินาทียูเรก้า! หรือว่ามันคล้ายๆแบบ As I Was Moving Ahead Occasionally I Saw Brief Glimpses of Beauty (2000) โคตรหนังทดลองของ Jonas Mekas ที่นำเอาฟุตเทจสั้นๆมาแปะติดปะต่อ ร้อยเรียงติดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ไม่เรียงลำดับเวลา ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีเนื้อเรื่องราว ลักษณะเหมือนกระเบื้องโมเสก ซึ่งเป็นความพยายามสร้างเครือข่ายระบบประสาท จำลองภาพความทรงจำของมนุษย์ด้วยสื่อภาพยนตร์
Mirror (1975) ไม่ได้ลงรายละเอียดถึงระดับเซลล์สมอง ช็อตต่อช็อต แต่ทำการเล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งจนจบ แล้วค่อยกระโดดสู่เหตุการณ์ตอนต่อไป ก่อน-หลังสงคราม โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ถ่ายทำภาพยนตร์-ฟุตเทจเหตุการณ์จริง (Archive Footage) ถ้าคุณสามารถนำเหตุการณ์แต่ละตอนๆมาแปะติดปะต่อ เหมือนจิ๊กซอว์ กระเบื้องโมเสก แล้วมองจากไกลๆ ย่อมสามารถพบเห็นภาพโดยรวมที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอออกมา
พอสามารถทำความเข้าใจลูกเล่น ลีลา วิธีการดำเนินเรื่องดังกล่าว ผมก็ตัดสินใจหวนกลับมารับชมอีกรอบ คราวนี้ค้นพบว่าตนเองไม่ได้ชื่นชอบหนังสักเท่าไหร่ นั่นเพราะผกก. Tarkovsky เพียงระบายความรู้สึกอัดอั้นภายใน ความทรงจำที่ติดค้างคาใจ อัตชีวประวัติ ไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไร เพียงอารมณ์ศิลปินถ่ายทอดออกมาเท่านั้นเอง!
แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมตระหนักได้ระหว่างการรับชม Mirror (1975) น่าจะเป็นภาพยนตร์ ‘Narrative Film’ ที่มีอิสรภาพในการดำเนินเรื่องมากที่สุด! (As I Was Moving Ahead (2000) ไม่ถือเป็น ‘Narrative Film’ เพราะไม่มีเรื่องราวใดๆที่จับต้องได้) เพราะลีลาการนำเสนอที่กระโดดไป-มา ไม่เรียงลำดับเวลา ไม่มีโครงสร้างยึดเหนี่ยว เพียงจุดเชื่อมโยงเล็กๆระหว่างเหตุการณ์ เพื่อสร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์เท่านั้นเอง
Andrei Arsenyevich Tarkovsky, Андрей Арсеньевич Тарковский (1932-86) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Russian เกิดที่ Zavrazhye, Yuryevetsky District บิดาคือนักกวี Arseni Tarkovsky (1907-1989) มารดาชื่อ Maya Ivanovna Vishnyakova หย่าร้างกันเมื่อปี ค.ศ. 1935-36, ช่วงระหว่างสงครามโลกที่สอง มารดาจึงพาเขาและน้องสาว Mariana ไปอาศัยอยู่กับยายที่บ้านชนบท (ส่วนบิดาอาสาออกรบแนวหน้า สูญเสียขาข้างหนึ่ง) ก่อนหวนกลับสู่ Moscow เมื่อปี ค.ศ. 1943 ปักหลักอาศัยอยู่ Shchipok Street, Zamoskvorechye District หาเลี้ยงลูกๆด้วยการทำงานพิสูจน์ตัวอักษร (Proofreader)
Tarkovsky เป็นเด็กเกเร ชอบสร้างปัญหา ผลการเรียนย่ำแย่ แต่มีความสนใจในศิลปะ ดนตรี และบทกวี เคยล้มป่วยวัณโรค (Tuberculosis) รักษาตัวในโรงพยาบาลหลายเดือนกว่าจะหายดี, โตขึ้นเข้าเรียนต่อภาษา Arabic ณ Oriental Institute in Moscow แต่ไม่นานก็ตัดสินใจลาออกเพื่อเข้าร่วมคณะสำรวจเหมืองแร่ ณ แม่น้ำ Kureyka, Turukhansk
หลังทำงานได้ปีกว่าๆ ตัดสินใจสมัครเข้าเรียนภาพยนตร์ State Institute of Cinematography (ปัจจุบันคือ Gerasimov Institute of Cinematography, VGIK) สรรค์สร้างผลงานนักศึกษา The Killers (1956), There Will Be No Leave Today (1959), The Steamroller and the Violin (1961) เรื่องสุดท้ายได้รับคำชมล้นหลามจนมีโอกาสเซ็นสัญญา Mosfilm กำกับ Ivan’s Childhood (1962) คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice Film Festival
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964, ผกก. Tarkovsky เริ่มจดบันทึกแนวคิดเกี่ยวกับความฝันที่ติดตามมาหลอกหลอนตนเอง เกี่ยวกับครอบครัว มารดา ยุคสมัย Stalinist (ช่วงทศวรรษ 30s) และหายนะสงครามโลกครั้งที่สอง “with only the vaguest idea that the film would be about his mother, his family, the Stalinist thirties, and World War II”
หลังเสร็จงานสร้าง Andrei Rublev (1966) ผกก. Tarkovsky และเพื่อนนักเขียน Aleksandr Misharin เดินทางไปปักหลักพักอาศัยอยู่ยังรีสอร์ทตากอากาศ ณ Repino ร่วมกันพัฒนาบทหนังตั้งชื่อว่า Белый, белый день (สามารถแปลได้ทั้ง A Bright, Bright Day หรือ A White, White Day) นำแรงบันดาลใจจากบทกวีของบิดา
By the jasmine lies a stone,
Beneath the stone lies treasure.
On the path stands Father.
It is a white, white day.The silver poplar’s flowering,
And the centifolia rose,
Beyond — grow curling ramblers,
And tender, milky grass.Never again have I been
As happy as then.
Never again have I been
As happy as then.There can be no returning,
บทกวี A White, White Day โดย Arseni Tarkovsky
Nor has it been given
To tell what perfect joy
Filled that garden heaven.
บทร่างของ A White, White Day ประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆสามส่วนด้วยกัน
- บทสัมภาษณ์มารดา(ของ Tarkovsky) เกี่ยวกับเรื่องราวชีวิต ตัวตนเอง ความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆรอบข้าง ยกตัวอย่าง
- When did you begin smoking?
- Do you like animals?
- Are you superstitious?
- Are men or women stronger, do you think?
- What do you think about space travel?
- What do you remember about the war with Spain?
- What is freedom?
- Are you scared of the dark?
- เรื่องราวความทรงจำตั้งแต่สมัยยังเด็ก(ของ Tarkovsky) ถ่ายทำโดยใช้นักแสดง (Live-Action)
- ภาพการสู้รบสงคราม ขุดคุ้ยนำจาก Archive Footage
ทั้งสองแบ่งกันพัฒนาเรื่องราวคนละ 14 เรื่อง (ดั้งเดิมวางแผนไว้ทั้งหมด 36 เรื่อง/คนละ 18 เรื่อง ก่อนลดลงมาเหลือ 28 เรื่อง/คนละ 14 เรื่อง) โดยอ้างอิงจากความฝัน ความทรงจำของ Tarkovsky และการสัมภาษณ์ถาม-ตอบกับมารดา ครุ่นคิดทำออกมาในลักษณะ ‘cinematic commentary’
ด้วยแนวคิดอันแปลกประหลาด เมื่อนำไปยื่นเสนออนุมัติกับ Goskino (USSR State Committee for Cinematography) คณะกรรมการตรวจสอบภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียต (เรียกง่ายๆว่ากองเซนเซอร์) เลยถูกบอกปฏิเสธแทบจะโดยพลัน ทำให้ผกก. Tarkovsky หันไปทุ่มเวลาให้กับ Solaris (1972) ซึ่งหลังเสร็จสร้างภาพยนตร์ และมีการเปลี่ยนผู้บริหาร(ของ Goskino)มาเป็น Filipp Ermash หาหนทางต่อรองจนบทหนังได้รับอนุมัติ ด้วยงบประมาณ 622,000 รูเบิล (เทียบค่าเงินสมัยนั้นประมาณ $2.5 ล้านเหรียญ) และฟีล์ม Kodak ความยาว 7,500 เมตร (24,606 ฟุต) ระยะเวลาประมาณ 110 นาที
ก่อนหน้าจะเริ่มต้นถ่ายทำ ผกก. Tarkovsky มีความหวาดกังวลในส่วนบทสัมภาษณ์มารดา (ที่ตั้งใจจะใช้กล้องแอบถ่ายโดยไม่ให้อีกฝ่ายรับรู้ตัว) เพราะกลัวจะไม่ประสบความสำเร็จจึงตัดทิ้งรายละเอียดส่วนนั้นทั้งหมด! จากนั้นทำการปรับปรุงบทหนังอยู่เรื่อยๆ วันต่อวัน ตลอดทั้งการถ่ายทำ และเพิ่มเติมเรื่องราวจาก 28 สู่ 32 เรื่อง
สำหรับชื่อหนังก็มีการปรับเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง อาทิ Confession, Redemption, Martyrology, Why Are You Standing So Far Away?, The Raging Stream, ก่อนสุดท้ายจะตัดสินใจเลือก Зеркало แปลว่า Mirror (ที่ถูกต้องจะไม่มี The นำหน้านะครับ) สามารถสื่อถึงภาพสะท้อนความทรงจำ (ของผกก. Tarkovsky)
I don’t like The Bright Day as a title. It’s limp. Martyrology is better, only nobody knows what it means; and when they find out they won’t allow it. Redemption is a bit flat, it smacks of Vera Panova. Confession is pretentious. Why Are You Standing So Far Away? is better, but obscure.
Andrei Tarkovsky
เรื่องราวของหนังดำเนินขึ้นผ่านมุมมองของเด็กชาย Aleksei และ Ignat (บุตรชายของ Aleksei) กระโดดไปกระโดดมาในสามช่วงเวลา
- Pre-War ค.ศ. 1935-36 ผ่านมุมมองของ Aleksei
- Wartime ช่วงทศวรรษ 1942-43 ส่วนใหญ่พบเห็น Archive Footage
- Post-War ประมาณทศวรรษ 1974 ผ่านมุมมองของ Ignat
ในส่วนนี้ผมจะเล่าเรื่องย่อ ไล่เรียงตามเหตุการณ์พบเห็นในหนัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นตอนๆได้ดังต่อไปนี้
- (Post-War) เริ่มต้นจาก Ignat เปิดโทรทัศน์ พบเห็นจิตแพทย์กำลังสะกดจิตเด็กหนุ่มติดอ่าง ให้สามารถพูดชัดเจน “I Can Talk”
- Opening Credit
- (Pre-War) มารดา Maria พูดคุยกับหมอแปลกหน้าที่เดินเข้ามาทักทาย พอพวกเขากลับไปเข้าไปรับประทานอาหารในบ้าน จู่ๆยุ้งข้าวก็ลุกมอดไหม้
- (ความฝัน) บิดากำลังสระผมให้มารดา Maria จากนั้นทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้างพลันพังทลาย ล่มสลาย
- (Post-War) Aleksei กำลังคุยโทรศัพท์กับมารดา ในอพาร์ทเม้นท์ว่างเปล่า
- (Wartime) มารดา Maria เร่งรีบร้อนไปทำงาน เพราะครุ่นคิดว่าตนเองตรวจทานเอกสารผิดพลาด ก่อนพบว่าทุกสิ่งอย่างถูกต้องแล้ว เลยถูกเพื่อนร่วมงาน Liza ตำหนิต่อว่า
- (Post-War) Aleksei พูดคุยอดีตภรรยา Natalia เกี่ยวกับการหย่าร้าง พยายามหาข้อตกลงว่าใครจะเลี้ยงดูบุตรชาย Ignat
- (Archive Footage) ภาพการสู้วัวกระทิง, Spanish Civil War, และอุบัติเหตุบอลลูนตก
- (คาบเกี่ยวระหว่าง Post-War/ความฝัน) Ignat อาศัยอยู่ในในอพาร์ทเม้นท์เพียงลำพัง จู่ๆพบเห็นหญิงแปลกหน้าเข้ามานั่งในห้อง แล้วบอกให้อ่านจดหมายของ Pushkin แต่ไม่นานเธอคนนั้นก็สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ
- (Wartime) วัยรุ่น Aleksei กำลังฝึกยิงปืนไรเฟิล พบเห็นเด็กชายจาก Leningrad และความหาญกล้าของครูผู้ฝึก
- (Archive Footage) ร้อยเรียงภาพสงครามโลกครั้งที่สอง และความขัดแย้งบริเวณพรมแดน Sino-Soviet
- (Wartime) บิดาเดินทางกลับบ้าน แต่ก็ได้สูญเสียขาข้างหนึ่ง
- (Post-War) Aleksei พูดคุยอดีตภรรยา Natalia สอบถามบุตรชาย Ignat ว่าอยากอยู่อาศัยกับใคร
- (Pre-War) เด็กชาย Aleksei ตื่นขึ้นมา วิ่งเล่นในบ้านชนบท แล้วไม่นานฝนก็ตก
- (Wartime) มารดา Maria เดินทางไปเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านกับบุตรชาย(วัยรุ่น) Aleksei เหมือนพยายามจะขายต่างหู และทำการเชือดไก่
- (ความฝัน) Aleksei (ผู้ใหญ่) ฝันเห็นมารดาลอยอยู่เหนือเตียงนอน
- (Pre-War) Aleksei (วัยเด็ก) เดินไปเดินมาในบ้านชนบท ตามด้วยแหวกว่ายในลำธาร
- (คาบเกี่ยวระหว่าง Pre-War/ความฝัน) มารดา (วัยชรา) Maria นั่งสูบบุหรี่อยู่นอกบ้านชนบท ได้รับการเรียกทักจาก Aleksei (วัยเด็ก)
- (Post-War) Aleksei ล้มป่วย นอนติดเตียง
- (คาบเกี่ยวระหว่าง Pre-War/ความฝัน) ย้อนกลับไปเมื่อ Maria เพิ่งตั้งครรภ์บุตรชาย จากนั้นพบเห็นเธออีกคน(สูงวัย)กำลังจูงมือบุตรทั้งสองจากไป
Margarita Borisovna Terekhova, Маргари́та Бори́совна Те́рехова (เกิดปี 1942) นักแสดงสัญชาติ Russian เกิดที่ Turinsk, Sverdlovsk Oblast วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬาบาสเกตบอล เคยเป็นกัปตันคว้ารางวัลเหรียญทองในกีฬาโรงเรียน, โตขึ้นเข้าศึกษาต่อคณะฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ Tashkent State University ระหว่างเรียนพยายามยื่นใบสมัคร VGIK กลับไม่ได้รับการตอบอนุมัติ ภายหลังมีโอกาสฝึกฝนการแสดงกับ Yuri Zavadsky ณ Mossovet Theatre จากนั้นทำงานนักแสดงละครเวที ภาพยนตร์เรื่องแรก Hello, That’s Me! (1965), มีชื่อเสียงจาก The Dog in the Manger (1978), D’Artagnan and Three Musketeers (1978), Monologue (1972), Mirror (1975), โกอินเตอร์กับ The Blue Bird (1976), Mama, I’m Alive (1977) ฯ
รับบท Maria/Masha/Marusya (มารดาของ Aleksei) เธอดูเคร่งขรึม ตึงเครียด วันๆชอบนั่งริมรั้ว เหม่อล่องลอย เฝ้ารอคอยการกลับมาของสามี บางวันก็แอบหลบมุม เช็ดน้ำตา คงเต็มไปด้วยความอ่อนล้า หวาดกังวล จนทำอะไรผิดๆพลาดๆ หวาดผวา (Hysteria) โหยหาใครสักคนสามารถเป็นที่พึ่งพักพิง
และบทบาท Natalia (ภรรยาของ Aleksei) สตรีหัวก้าวหน้า ผู้มีความเข้มแข็ง กล้าคิดกล้าทำ เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง พร้อมเลี้ยงดูแลบุตรชาย Ignat โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสามี
ในตอนแรกผกก. Tarkovsky พิจารณาอยากได้นักแสดง Alla Demidova ไม่ก็ Bibi Andersson ก่อนสุดท้ายตัดสินใจเลือก Margarita Terekhova เพราะใบหน้าละม้ายคล้ายมารดา (ของ Tarkovsky)
แม้รับเล่นถึงสองบทบาท แต่ภาพยนตร์ของผกก. Tarkovsky ไม่ได้มุ่งเน้นขายการแสดงสักเท่าไหร่ ทั้งสองตัวละครต่างมีเปลือกภายนอกที่ดูเข้มแข็ง จนเหมือนเย่อหยิ่ง หลงตัวเอง แต่ทั้งหมดเพียงการสร้างภาพ พยายามปกปิดซุกซ่อนด้านเปราะบางภายใน ไม่เคยพูดเปิดเผยมันออกมาให้ใครรับรู้ … แต่ผู้ชมสามารถสังเกตจากสีหน้า ท่าทาง และคราบน้ำตา
เกร็ด: มีคนทำการเปรียบเทียบ Margarita Terekhova ได้กับ “Meryl Streep แห่งสหภาพโซเวียต” แต่ผมยังไม่เคยรับชมผลงานอื่นๆของเธอเลยบอกไม่ได้ว่าใกล้เคียงสักแค่ไหน
ถ่ายภาพโดย Georgy Ivanovich Rerberg (1937-99) ตากล้องสัญชาติ Russian เกิดที่ Moscow, ร่ำเรียนการถ่ายภาพจาก State Institute of Cinematography (ปัจจุบันคือ Gerasimov Institute of Cinematography, VGIK) จากนั้นทำงานแผนก Newsreel ก่อนย้ายมาเป็นตากล้องสตูดิโอ Mosfilm ผลงานเด่นๆ อาทิ The Story of Asya Klyachina (1960), The First Teacher (1965), Mirror (1975) ฯ
หนังชื่อ Mirror (1975) แน่นอนว่าย่อมต้องเต็มไปด้วยกระจกสำหรับให้ตัวละครจับจ้อง มองภาพสะท้อนตนเอง พบเห็นอยู่แทบทุกๆซีเควนซ์ ไม่ใช่แค่ภายในบ้านพักหรืออพาร์ทเม้นท์ แต่ยังซุกซ่อนตามทุ่งหญ้า พงไพร ใครช่างสังเกตอาจพบเห็นแสงสะท้อนระยิบระยับจากไกลๆ
I so want to make A White, White Day [Working Title ของ Mirror], probably it should be mixed, black-and-white and colour depending on memory.
Andrei Tarkovsky
ตอนรับชมครั้งแรกๆผมพยายามสังเกตเฉดสีสันของหนังในการแบ่งแยกอดีต vs. ปัจจุบัน, Pre-War vs. Post-War แต่นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องนะครับ! เพราะการเลือกใช้ฟีล์มสี & ขาว-ดำ & ซีเปีย ล้วนขึ้นกับ ‘อารมณ์ศิลปิน’ ของผกก. Tarkovsky เหตุการณ์ไหนที่มีความชื่นชอบประทับใจก็มักถ่ายทำด้วยฟีล์มสี ส่วนซีเควนซ์ไหนอยากหลงลืมแต่กลับยังติดตราอยู่ในความฝันก็บันทึกภาพด้วยฟีล์มขาว-ดำ ไม่ก็ซีเปีย
สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Tarkovsky’ คือลีลาการเคลื่อนเลื่อนกล้อง เอื่อยเฉื่อย เรื่อยเปื่อย แต่มีความลื่นไหล ติดต่อเนื่อง ‘long take’ ชอบเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา วกไปวนมา ราวกับกำลังดำเนินอยู่ในเขาวงกต (ในความทรงจำ) ซับซ้อน คาดไม่ถึง และค่อยๆเปิดเผยรายละเอียด เป้าหมายปลายทางทีละเล็กๆ
ด้วยความที่บ้านชนบท ณ Yuryevetsky ทรุดโทรมพังทลาย แถมบริเวณรอบข้างมีสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ผุดขึ้นมากมาย ผกก. Tarkovsky เลยจำต้องมองหาสถานที่ถ่ายทำแห่งใหม่ ก่อนพบเจอชุมชนบท Tuchkovo, Moscow Oblast แล้วมอบหมายนักออกแบบ (Production Designer) Nikolay Dvigubskiy อ้างอิงจากภาพถ่าย ให้มีความใกล้เคียงบ้านหลังเก่ามากที่สุด!, ส่วนซีเควนซ์อื่นๆ สร้างฉากถ่ายทำยัง Mosfilm Studios
ผมเข้าใจผิดมานานว่าอารัมบทคือซีเควนซ์ที่ผกก. Tarkovsky ตระเตรียมไว้ให้ผู้ชมผ่อนคลายความตึงเครียด ปรับตัวเองก่อนเริ่มรับชมภาพยนตร์ แต่กลับค้นพบว่าไม่ใช่ความตั้งใจ หรือเคยครุ่นคิดไว้ เป็นความบังเอิญล้วนๆ เพราะนักตัดต่อ Lyudmila Feiginova คือผู้ให้คำแนะนำย้ายเรื่องราวตอนนี้มาไว้ยังอารัมบท
the only invented episode turns out to be a necessary prerequisite for other, completely true recollections.
Andrei Tarkovsky
แต่ผลลัพท์ก็อย่างวิเคราะห์ไปแล้วตั้งแต่ต้น ซึ่งต้องถือว่ามีความสำคัญต่อหนังและวงการภาพยนตร์อย่างมากๆ ผมมองว่ายิ่งใหญ่ทรงอิทธิพลเทียบเท่ากับ
- ฉากกรีดตาของ Un Chien Andalou (1929) สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ให้กับผู้ชมสมัยนั้น
- Newsreel แนะนำการเสียชีวิตของ Charles Foster Kane ภาพยนตร์ Citizen Kane (1942)
- เด็กชายเอื้อมมือไขว่คว้าภาพหญิงสาว/มารดา Persona (1966) อิหยังว่ะ?
- หน้าจอดำมืดสามนาทีของ 2001: A Space Odyssey (1968)
แซว: ลองสังเกตมุมบนซ้ายของภาพ จะพบเห็นเงาลางๆคล้ายๆไมโครโฟน แต่ดูแล้วอาจเป็นความจงใจ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักว่านี่คือรายการฉายทางโทรทัศน์
นี่น่าจะเป็นช็อตสวยสุดของหนัง! ถ่ายจากมุมมองเด็กชาย Aleksei ที่กำลังนอนหลับกับน้องสาวอยู่บนเปล หรือภาพติดตาผกก. Tarkovsky พบเห็นมารดานั่งอยู่บนรั้วไม้ เหม่อมองไปยังท้องทุ่งกว้างใหญ่ เหมือนเฝ้ารอคอยใครสักคน … คาดเดาไม่ยากว่ารอคอยการกลับมาของสามี
สังเกตจากคำพูด ปฏิกิริยาท่าทางชายแปลกหน้าคนนี้ ค่อนข้างชัดเจนว่าพยายามจะเกี้ยวพาราสี Maria แต่พอรั้วไม้หัก กลิ้งเกลือกลงบนพื้น ก็ผันเปลี่ยนมาสนทนาปรัชญา
Now that I’m down here … there are all kinds of things down here. Roots, bushes. Have you ever thought -Has it ever occurred to you that plants feel … and are aware … maybe even understand?
They’re not hurrying anywhere … while we rush around in a great fuss … spouting our banalities. All because we don’t trust nature within us. It’s all our mistrust and haste … our lack of time to stop and think.
หมอแปลกหน้าที่เข้ามาสอบถามทาง
ผมมาเอะใจตรงคำว่า ‘roots’ ไม่ใช่แค่แปลว่ารากของพืช แต่ยังสามารถสื่อถึงรากเหง้า ต้นกำเนิด หรือคือภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ผกก. Tarkovsky ทำการครุ่นคิดทบทวน หวนระลึกความทรงจำ ให้เวลากับตนเองค้นหาคำตอบของสิ่งต่างๆ อะไรเคยทำผิดพลาดพลั่ง ยินยอมรับ ปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงตนเองกลายเป็นคนใหม่
เมื่อตอนลมพัดครั้งแรกมันอาจเป็นความบังเอิญ (แบบที่พบเห็นบ่อยครั้งในหนังของผู้กำกับ John Ford) แต่ครั้งที่สองมันไม่ใช่แล้วละ! ผมอ่านเจอว่าใช้เฮลิคอปเตอร์สองลำจอดนอกเฟรม พอสตาร์ทเครื่อง ใบพัดหมุน จะเกิดกระแสลมแรงที่พร้อมพัดพาทุกสิ่งอย่างรอบข้าง
ครั้งแรกที่กระแสลมพัด ทำให้ชายแปลกหน้าหันหลังกลับมามอง ราวกับสวรรค์ชี้นำโอกาส แต่เขากลับเกิดความโล้เล้ลังเล สองจิตสองใจ ลมพัดครั้งสองแทนที่จะช่วยกระตุ้น เร่งเร้า กลับตัดสินใจร่ำลาจากไป อดแดก แห้วรับประทาน … สังเกตจากปฏิกิริยาของ Maria ดูผิดหวัง กลับเข้าบ้านแอบไปร่ำร้องไห้ คือถ้าเขามีความหาญกล้าสักเล็กน้อย คงไม่ต้องทนอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย เฝ้ารอคอยอดีตคนรักที่ไม่รู้จะหวนกลับมาไหม
แซว: จะว่าไปผู้ชาย(แทบ)ทุกคนในหนังเรื่องนี้ต่างมีความอ่อนแอ ขลาดเขลา เอาแต่ใจ รวมถึงผกก. Tarkovsky ด้วยเช่นกัน!
น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหาไฟล์ภาพเคลื่อนไหวของซีเควนซ์นี้ มันช่างเป็น ‘Long Take’ ที่มีการเคลื่อนเลื่อนกล้องได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก! เริ่มตั้งแต่ถ่ายใบหน้ามารดา Maria กำลังร่ำร้องไห้ เศร้าโศกเสียใจ จากนั้นได้ยินเสียงอื้ออึงอะไรบางอย่าง เดินออกมาดูพบเห็นโรงนากำลังมอดไหม้ เรียกเด็กๆวิ่งไปดูตรงประตู จากนั้นกล้องก็วกไปวนมา ราวกับอยู่ในเขาวงกต ภาพสะท้อนในกระจก ก่อนมาบรรจบช็อตสุดท้ายนี้
เอาจริงๆไฟไหม้โรงนาอาจไม่ได้มีนัยยะอะไรลึกล้ำ เพียงความทรงจำของผกก. Tarkovsky แต่หลายคน(รวมถึงผมเอง)มักครุ่นคิดตีความสะท้อนถึงสภาพจิตใจที่มอดไหม้ (ของมารดา) สอดคล้องกับบ้านในความฝันที่กำลังพังทลายซีเควนซ์ถัดไป … ใครเคยรับชม The Sacrifice (1986) ก็น่าจะจดจำฉากละม้ายคล้ายๆกันนี้
ทำไมเด็กชาย Aleksei ถึงลุกขึ้นจากเตียงสองครั้ง? ครั้งแรกถ่ายด้วยภาพสี ก่อนครั้งหลังเปลี่ยนมาเป็นขาว-ดำ? แล้วสิ่งเคลื่อนไหวในพงไพร คั่นระหว่างทั้งสองช็อตคืออะไรกัน?
ผมมองการตื่นซ้ำๆของ Aleksei สะท้อนถึงกิจวัตรประจำวันของเด็กชาย เฝ้ารอคอยการหวนกลับมาของบิดา ภาพแรกถ่ายด้วยฟีล์มสีคือวันธรรมดาๆ ตื่นเช้ามาไม่มีเหตุการณ์ใดๆบังเกิดขึ้น! แต่พอพบเห็น/ได้ยินเสียงสิ่งเคลื่อนไหวในพงไพร (ภาพขาว-ดำ) ครุ่นคิดรำพันว่านั่นอาจคือบิดา ลุกขึ้นมาอย่างเร่งรีบ กระตือรือร้น ก่อนค้นพบว่าทั้งหมดก็แค่จินตนาการเพ้อฝัน
ภาพในความฝันที่พบเห็น คือบิดากำลังเทน้ำใส่ศีรษะมารดา มองผิวเผินเหมือนการสระผม แต่จริงๆแล้วสะท้อนเข้ากับช็อตถัดมาที่ห้องแห่งนี้กำลังรั่วไหล ผนังกำแพงใกล้พังทลาย แฝงนัยยะเดียวกับโรงนากำลังมอดไหม้ นั่นคือครอบครัวแตกร้าว บิดา-มารดาเลิกราหย่าร้าง
นี่ยังคงเป็นซีนที่อยู่ในความฝัน แต่มีการล่อหลอกผู้ชมเล็กน้อยระหว่างกล้องถ่ายภาพ Maria (วัยสาว) แล้วตัดไปภาพสะท้อนกระจก Maria (วัยชรา) [รับบทโดยมารดาจริงๆของผกก. Tarkovsky] พยายามทำออกมาให้ดูเหมือนเธอกำลังจับจ้องมองตนเองในอนาคต … Vice Versa … เฉกเช่นเดียวกับ Maria (ผู้ชรา) มองเข้าไปในภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ โหยหาความบริสุทธิ์นงเยาว์ เมื่อครั้งยังเป็นสาวสวยสะพรั่ง
กล่าวคือสองช็อตนี้เป็นภาพสะท้อนอดีต vs. ปัจจุบัน, Pre-War vs. Post-War, Maria (วัยสาว) vs. Maria (วัยชรา) ต่างฝ่ายต่างโหยหา กระจกสะท้อนกันและกัน
แซว: เอาจริงๆซีเควนซ์นี้จะน่าอึ้งทึ่งยิ่งกว่า ถ้าถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ โดยให้กล้องเคลื่อนเลื่อนจาก Maria (วัยสาว) มาจนพบเห็นภาพสะท้อน Maria (วัยชรา) ใช้การล่อหลอกมุมกล้องสักหน่อย ไม่น่าจะยากเกินไป!
ได้ยินเพียงเสียงพูดคุยโทรศัพท์ระหว่าง Aleksei (ผู้ใหญ่) สนทนากับมารดา Maria (วัยชรา) แต่กล้องกลับขยับเคลื่อนเลื่อนไปโดยรอบอพาร์ทเมนท์ว่างเปล่า (ช่วงเวลา Post-War) ชวนให้นึกภาพยนตร์ Hiroshima mon amour (1959) และ Last Year at Marienbad (1961) [จริงๆต้อง India Song (1975) อีกเรื่อง แต่ทว่าออกฉายปีเดียวกับ Mirror (1975)]
การเคลื่อนเลื่อนกล้องในซีเควนซ์นี้ สร้างสัมผัสเวิ้งว้าง เดียวดาย เสียงพูดคุยโทรศัพท์กับมารดายังทำให้เกิดความครุ่นคิดถึง ห่วงโหยหา เหมือนว่าทั้งสองเคยอาศัยร่วมกันยังอพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน มันจึงหลงเหลือเพียงความทรงจำเลือนลาง
เกร็ด: ภาพโปสเตอร์ Andrei Rublev (1966) ไม่ใช่แค่อ้างอิงถึงผลงานเก่า แต่เรื่องนั้นก็ถือเป็นกึ่งอัตชีวประวัติของผกก. Tarkovsky ด้วยเช่นกัน!
ผมบังเอิญไปพบเจอว่า เสียงกระซิบซาบ คำที่ Maria ครุ่นคิดว่าตนเองอาจตรวจทานผิดจาก Stalin เป็นคำว่า Shralin ศัพท์แสลงที่แปลว่า Excrement, อุจจาระ … นั่นก็สมควรอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความหวาดผวา (Hysteria) ตื่นตระหนก ตกใจกลัว แต่ในมุมของคนอื่นมักมองว่าเธอมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบเรียกร้องโน่นนี่นั่น เปรียบเทียบกับจอมบงการ Maria Timofeyevna จากวรรณกรรม Demons (1871-72) ของ Fyodor Dostoevsky
แซว: ตรวจทานผิดจาก Stalin เป็นคำว่า Shralin แม้ผู้ชมจะไม่ได้ยิน มันก็ชัดเจนถึงทัศนคติทางการเมืองของผกก. Tarkovsky ที่โดยปกติไม่เคยแสดงความคิดเห็นใดๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขายินยอมศิโรราบต่อระบอบเผด็จการ
ในบทสัมภาษณ์น้องสาวของผกก. Tarkovsky บอกว่ามารดาไม่ใช่คนชอบเรียกร้องโน่นนี่นั่นเหมือนตัวละคร Maria แต่การแทรกใส่เหตุการณ์นี้เข้ามา เหมือนต้องการใช้เป็นข้ออ้างกล่าวโทษ เหตุผลที่(มารดา)เลิกราหย่าร้างบิดา เพราะความดื้อรั้น เอาแต่ใจ ใครกันไปอดรนทนไหว
การเป็นคนเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบเรียกร้องโน่นนี่นั่น สตรีหัวก้าวหน้ามันผิดตรงไหน? ผมว่าคนที่ผิดก็คือ ผกก. Tarkovsky พยายามอธิบายความด้านเดียว แถมไม่ลงรายละเอียดอะไรใดๆ ตีตราว่าร้าย กล่าวโทษมารดา เพื่อสรรหาข้ออ้าง ความชอบธรรมให้กับบิดา (และตนเอง) นี่แสดงถึงพฤติกรรมอ่อนแอ ขลาดเขลา สนเพียงเอาตัวรอด โลกต้องหมุนรอบตัวฉันเอง … พฤติกรรมของ Maria กลายเป็นภาพสะท้อนผกก. Tarkovsky ได้ชัดเจนกว่า Aleksei เสียอีก!
เมื่อตอนกล้องเคลื่อนเลื่อนภายในอพาร์ทเม้นท์ ช่วยกระตุ้นความทรงจำเมื่อวันวานของครอบครัว, สองข้างทางระหว่าง Maria วิ่งไปยังโรงพิมพ์ รวมถึงโถงทางเดินที่ดูรกๆ เศษกระดาษกระจัดกระจาย เห็นว่ามันก็ช่วยปลุกความรู้สึกของชาวรัสเซียสมัยนั้น หลายคนเคยพานผ่านค่ายนักโทษแรงงานนรก GULAG (คล้ายๆกับชาว Jews ถูกส่งไปค่ายกักกันในช่วง Holocaust)
นี่อาจดูเป็นสองช็อตที่ไม่ได้มีความต่อเนื่องกัน แต่เมื่อหนังนำมันมาวางติดกัน มันย่อมบังเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงบางอย่าง? ระหว่าง Maria กำลังอาบน้ำ จู่ๆฝักบัวหยุดไหล จากนั้นตัดไปภาพพุ่มไม้กำลังมอดไหม้ (นี่ไม่ใช่โรงนาตอนต้นเรื่องนะครับ แต่จะมีคำอธิบายภายหลังว่าอาจเป็นฝีมือของ Ignat) ผมมองว่าต่างเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องความสนใจ
ภาพจาก Archive Footage ประกอบด้วย ชายคนหนึ่งกำลังต่อสู้ ทิ่มแทง เข่นฆ่าวัวกระทิง นี่คือสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจเผด็จการ อันจะนำไปสู่สงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) ร้อยเรียงภาพเครื่องบินทิ้งระเบิด ผู้คนหนีตาย เด็กๆพลัดพรากจากผู้ใหญ่ ลูกหลานชาวรัสเซียถูกส่งกลับประเทศ
แซว: โดยปกติแล้ว ‘สไตล์ Tarkovsky’ ต้องมีม้า สัญลักษณ์แทนชีวิต! แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่รู้หลงลืม หรือจงใจไม่ใส่เข้ามา หรือาจเปลี่ยนมาเป็นวัวกระทิงกำลังถูกฆ่า แทนชีวิตที่เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน
ส่วนฟุตเทจที่ถือเป็นไฮไลท์แห่งความเข้าใจผิดๆ (เพราะนำเสนอแค่การปล่อยบอลลูนขึ้นฟ้า) หลายคนครุ่นคิดว่าบอลลูนคือสัญลักษณ์แห่งความหวัง แต่แท้จริงแล้วมันเป็นภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องจาก Spanish Civil War ต้องการนำเสนอโศกนาฎกรรม Osoaviakhim-1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1934 เป็นความพยายามสร้างสถิติโลกใหม่ ปล่อยให้บอลลูนไต่ระดับจนถึง 22,000 เมตร ซึ่งเกินกว่าที่ลูกเรือทั้งสามจะควบคุมการเคลื่อนไหว แรงโน่นนี่นั่นผลักดันให้พวกเขาตกลงลงสู่พื้นพสุธา ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต! … นี่เป็นเหตุการณ์ที่ชาวรัสเซีย(สมัยนั้น)จดจำไม่รู้ลืม พบเห็นแค่เพียงเศษเสี้ยวย่อมเกิดความวาบหวิว สั่นสะท้านทรวงใน แต่ผู้ชมชาติอื่นจะไปรับรู้เรื่องได้อย่างไร???
สำหรับฟุตเทจสุดท้าย มองไม่ค่อยเห็นอะไรสักเท่าไหร่ แต่ผมคาดเดาว่าน่าจะคือการเดินทางของ Adolf Hitler เพราะมีแต่ Nazi Germany จะแจกใบปลิวชวนเชื่อได้สิ้นเปลืองขนาดนี้! และนัยยะก็จะสอดคล้องกับทั้งสามฟุตเทจก่อนหน้า อารัมบทก่อนการมาถึงของหายนะสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากร้อยเรียง Archive Footage ก็มาเปิดตำราศิลปะในสไตล์ French New Wave รวบรวมผลงานของ Leonardo da Vinci (1452-1519) จิตรกรชาวอิตาเลี่ยน แห่งยุคสมัย High Renaissance ผมขี้เกียจหารายละเอียด แต่จะให้ข้อสังเกตว่ามักเปิดภาพหญิงสาว มารดา เลี้ยงดูแลบุตร ฯ
หญิงสูงวัยพร้อมคนรับใช้คือใคร? (รูปร่างหน้าตาเหมือนได้แรงบันดาลใจจากนักกวี Anna Akhmatova) จู่ๆปรากฎตัวขึ้นในอพาร์ทเม้นท์ แถมร้องขอให้ Ignat อ่านข้อความในจดหมายของ Alexander Pushkin เขียนถึง Pyotr Chaadayev วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1836
When asked how the arts and sciences influence people’s morals, Rousseau replied, ‘Negatively.’ … There’s no doubt that the division of the churches cut us off from Europe and that we have not taken part in any of the great events that shook Europe. But we had our own special destiny. It was Russia and its vast expanses that swallowed up the Mongol invasion. The Tatars dared not continue on across our western borders and leave us to their rear. They retreated to their wastelands, and Christian civilization was saved. To achieve this aim, we had to lead a very special way of life, which, while preserving us as Christians, left us completely alien to the Christian world. As for our historic insignificance, I cannot agree with you about that. Do you honestly not see anything significant in Russia’s present situation that would amaze a future historian? Though I’m deeply attached to the czar, I’m far from thrilled with everything I see around me. As a writer, I’m annoyed. As a man of discernment, I’m insulted. Yet I wouldn’t trade my fatherland for anything in the world, nor would I choose any other history than that of our forefathers, exactly as God gave it to us.
From Pushkin’s letter to Chaadayev, October 19, 1836.
นี่ถือเป็นคำแถลงการณ์ แสดงความจงรักภักดีต่อมาตุภูมิ ผมคุ้นๆว่าผกก. Tarkovsky เคยประกาศจะปักหลักอาศัยอยู่รัสเซีย ไม่ออกไปสรรค์สร้างภาพยนตร์นอกผืนแผ่นดินบ้านเกิด … แต่ภายหลังก็ออกไปอิตาลี สวีเดน เพราะอดรนทนไม่ได้ต่อกองเซนเซอร์ Goskino
ทั้งการเปิดตำราศิลปะ Leonardo da Vinci, อ้างอิงถึง Fyodor Dostoevsky, หรือซีนนี้ที่เต็มไปด้วยนักกวี ฯ ล้วนเพื่อให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เกิดขึ้นในหนัง กับประวัติศาสตร์(โลกและรัสเซีย) นี่คือลักษณะการสร้าง ‘ชีวประวัติร่วม’ อดีต-ปัจจุบันซ้อนทับ โลกความจริง-หลังความตาย คราบน้ำอาจเลือนหาย แต่ความทรงจำ/ประวัติศาสตร์บังเกิดขึ้น จักยังติดตราฝังใจไม่รู้ลืมเลือน
เกร็ด: ภาพถ่ายด้านหลัง Ignat ก็คือ Maria Vishnyakova มารดาจริงๆของผกก. Tarkovsky
เห็นว่าในชีวิตจริงไม่ได้มีการแกล้งโยนลูกระเบิดปลอม! คาดกันว่าผกก. Tarkovsky แทรกใส่เข้ามาเพื่อให้ผู้ชมรับรู้สึกถึงความ ‘Heroism’ ของครูฝึก แม้อีกฝ่ายจะมีอาการ Shell-Shock ไม่สามารถออกรบแนวหน้า แต่ก็พร้อมยินยอมเสียสละชีพเพื่อลูกหลานชาวรัสเซีย (ขัดแย้งกับการแสดงออกที่มีความเข้มงวดกวดขัน)
หลังจากการแกล้งโยนลูกระเบิดปลอม จะมีการแทรกภาพ Archive Footage ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สามารถสะท้อนความรู้สึกของเด็กชายจาก Leningrad อาจจะเคยพานผ่านเหตุการณ์หายนะ
- ทหารกำลังข้ามทะเลสาป Lake Sivash ใน Crimea
- รถถังรัสเซียเดินทางมุ่งสู่ Prague เพื่อปลดแอก Czechoslovakia จาก Nazi Germany
- ดูเหมือนภาพการเสียชีวิตของท่านผู้นำ Adolf Hitler
- ฟุตเทจทดลอง Bikini Atomic Test (1946) แต่สามารถสื่อถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลง Hiroshima และ Nagasaki ปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สอง
เด็กชายจาก Leningrad ปีนป่ายขึ้นบนเนินเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะของ Pieter Bruegel the Elder (1525/30-69) จิตรกรแห่งยุคสมัย Dutch and Flemish Renaissance อาทิ The Hunters in the Snow (1565) และ Winter Landscape with a Bird Trap (1565)
ผมครุ่นคิดว่ามันคือความรู้สึกผิดของเด็กชายหลังจากโยนลูกระเบิดปลอม เลยขึ้นมายังสถานที่แห่งเพื่อร่ำร้องไห้ ระบายอารมณ์อัดอั้น ซึ่งจะมีการแทรกภาพ Archive Footage หายนะจากสงครามที่ได้อธิบายไป พอมาถึงช็อตนี้มีนกตัวหนึ่งบินขึ้นมาเกาะบนหมวก นี่ถือเป็นอีกความมหัศจรรย์ ราวกับสวรรค์บันดาล เหมือนพระเจ้าทำการปลอมประโลม สัมผัสศีรษะเบาๆ ให้คลายความเศร้าโศกเสียใจ
เหตุการณ์ปะทะบริเวณพรมแดน Sino-Soviet ณ เกาะ Damasky เมื่อปี ค.ศ. 1969 ถือเป็นข่าวใหญ่ในสหภาพโซเวียตยุคสมัยนั้น แทบจะทุกสถานีโทรทัศน์นำฟุตเทจการเผชิญหน้ามาฉายแทบจะทุกวี่วัน ราวกับสงครามครั้งใหม่ใกล้ปะทุขึ้น (โชคดีที่สุดท้ายเหตุการณ์ไม่ได้บานปลาย) จุดประสงค์ของผกก. Tarkovsky คงต้องการสะท้อนภาพหายนะใกล้ตัว จากประเทศเพื่อนบ้าน (รวมถึงฟุตเทจสาธารณรัฐประชาชนจีน หนังสือแดง ประธานเหมาเจ๋อตุง) อีกไม่นานประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง!
ค.ศ. 1943, บิดา Arseny Tarkovsky ได้รับการปลดประจำการทหารเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ ขาพิการ จึงตัดสินใจเดินทางกลับมาเยี่ยมเยียนบุตรชาย-สาว คราบน้ำตาไหลอาบเป็นทาง แต่ปฏิกิริยาของภรรยา Maria สีหน้าดูไม่ค่อยพึงพอใจสักเท่าไหร่ ทำไมไม่ตายๆจากไป
ใบหน้ามารดา Maria = ภรรยา Natalia = ภาพเสมือน Ginevra de’ Benci (1457-1521) หญิงสาวจากตระกูลพ่อค้า Benci ในเมือง Florence วาดโดย Leonardo da Vinci ระหว่างปี ค.ศ. 1474-78 … เป็นภาพวาดก่อนแต่งงานกับ Luigi de Bernardo Niccolini ขณะอายุเพียง 16 ปี แต่ไม่นานก็เลิกราหย่าร้าง (แบบเดียวกับทั้ง Maria และ Natalia)
Ginevra shed tears as you go, Bembo.
Alessandro Bracess
May she desire long delays and
Beseech the Gods above that
Every difficulty may hinder your journey.
And may she wish that the kindly stars
With adverse winds and heavy storms
Prevent your departure
เดี๋ยวนะ! คนรักใหม่ของ Natalia คือนักเขียนชื่อ Dostoyevsky? มันใช่คนเดียวกับ Fyodor Dostoevsky (1821-81) โคตรนักเขียนแห่งรัสเซียหรือเปล่า? นี่อาจเป็นความบังเอิญ หรือเคลือบแฝงนัยยะตกหลุมรักผลงานของ Dostoevsky หรือสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Maria/Natalia กับ Dostoevsky ได้ด้วยเช่นกัน
ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้จะได้ยินเพียงเสียงของ Aleksei (ผู้ใหญ่) พยายามพูดโน้มน้าวอดีตภรรยา Natalia เรียกร้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตรชาย หรือไม่ก็เร่งรีบให้เธอแต่งงาน (เพื่อว่า Ignat จะได้มีบิดาเป็นต้นแบบอย่าง) แต่สังเกตว่ามุมกล้องเพียงจับจ้องใบหน้า Margarita Terekhova (และ Ignat ระหว่างถูกซักถามว่าอยากอาศัยอยู่กับใคร) เคลื่อนเลื่อนติดตามไปทุกแห่งหน จนเธอหลังผิงผนัง-กำแพง-กระจก ต้องการดิ้นหลบหนี ไม่อยากถูกอดีตสามีควบคุมครอบงำ เลิกกันแล้วยังจะบีบบังคับให้ฉันทำโน่นนี่นั่น
กองไฟนี้เป็นฝีมือของ Ignat อย่างแน่นอน! ซึ่งชวนให้ครุ่นคิดว่า Aleksei อาจเป็นคนจุดไฟเผาโรงนา? … แต่ก็ไม่น่าเป็นไปได้สักเท่าไหร่ เพราะตอนต้นเรื่อง Aleksei ยังเด็กเล็กเกินรับรู้ประสีประสาเกินไป (อาจเป็นเด็กอีกคนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น)
แต่ประสบการณ์จุดกองไฟของ Ignat น่าจะไล่ย้อนไปเมื่อตอนไฟไหม้พุ่มไม้ (หลังจาก Maria กำลังอาบน้ำแล้วฟักบัวไม่ไหล) มีแนวโน้มสูงมากว่าเด็กชายทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่มารดา Natalia กลับอ้างว่า “An angel in the form of a burning bush.” สัญญาณของพระเจ้าที่มีต่อ Moses ก่อนแหวกทะเลแดงก้าวข้ามมหาสมุทร
ผมไม่ค่อยได้กล่าวถึงบทกวีของ Arseny Tarkovsky และเสียงบรรยายของ Innokentiy Smoktunovskiy แต่ถ้าคุณตั้งใจรับฟัง จะพบเห็นความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำ นัยยะความหมาย สามารถเชื่อมโยงเข้ากับภาพพบเห็น เหตุการณ์บังเกิดขณะนั้นๆได้อย่างไพเราะ งดงาม
I keep having the same dream with amazing regularity. It’s like it’s trying to force me to return to that place so achingly dear where my grandfather’s house once stood … and where, over 40 years ago, I was born right on the dining room table with a starched white cloth thrown over it. And every time I try to go inside, something stops me. l have this dream a lot. I’ve gotten used to it. When I see those log walls darkened with age and the half-open door leading to the dark entryway, even in my dream I’m aware it’s just a dream. Then my overwhelming joy is clouded … by the expectation of awakening. Sometimes something happens, and I stop dreaming of my childhood home and the surrounding pines. Then I grow sad. I can’t wait to once again have this dream … in which I’ll be a child again … and in which I’ll be happy … knowing that everything still lies ahead … that everything is possible.
เมื่อได้ยินเสียงบรรยาย “I was born right on the dining room table” ภาพของหนังวินาทีนี้ย่อมคือสถานที่ที่ Aleksei = ผกก. Tarkovsky ถือกำเนิดขึ้นมา!
นี่เป็นอีกเสี้ยววินาทีหนึ่งที่อยากให้ลองสังเกตกัน เสียงบรรยายกล่าวถึงการตระหนักถึงความฝัน มันทำให้ความดีใจคลุมเคลือลง (I’m aware it’s just a dream. Then my overwhelming joy is clouded … by the expectation of awakening.) แสงสว่างที่สาดส่องเข้ามาในบ้าน ก็ราวกับถูกก้อนเมฆปกคลุม มีความมืดหม่นลงพอสมควร
ในขณะที่หนังทั้งเรื่องนำเสนอเรื่องราวความฝัน ความทรงจำผกก. Tarkovsky แต่นาทีนี้เด็กหนุ่ม Aleksei นั่งเหม่อลอย จับจ้องมองกระจก ปล่อยให้ตะเกียงมอดดับโดยไม่ลุกขึ้นไปจุดติด สาเหตุเพราะกำลังทบทวนอดีต (ถ่ายภาพสะท้อนในกระจก) และครุ่นคิดถึงอนาคต (สลับมาจับจ้องใบหน้าเด็กชาย)
He’s reminiscing about his life, the one that was and the one to be.
Andrei Tarkovksy
สาวผมแดง (รับบทโดย Olga Kizilova) คือรักแรกพบของ Aleksei พบเจอในหนังครั้งแรกกำลังซ้อมเต้นฟลามิงโก้ ต่อมาระหว่างฝึกซ้อมยิงปืน และครั้งสุดท้ายที่บ้านของเพื่อนบ้าน กำลังนั่งอยู่ข้างเตา เอามือผิงไฟ
แต่ถ้าเรียงลำดับตามเวลา (Timeline) ณ บ้านเพื่อนบ้านซีเควนซ์นี้ น่าจะเป็นการพบเจอกันครั้งแรก! ถึงอย่างนั้นทั้งสองเหมือนจะไม่เคยพูดคุยสนทนา Aleksei คงไม่มีความหาญกล้าเข้าไปทักทาย กลายเป็นแอบรักเธอข้างเดียว
ภาพบุตรชายของเพื่อนบ้าน ทำให้ผู้ชมบังเกิดความรัก ความเอ็นดู ตระหนักถึงความละอ่อน เยาว์วัย บริสุทธิ์ใส ไร้เดียงสา เด็กน้อยยังไม่รับรู้ความเป็นไป เข้าใจวิถีทางของโลก ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก
แซว: ทำไมเหรียญ 5 Kopeck ถึงขนาดใหญ่กว่า 10 Kopeck? ถ้าตอบในเชิงวิชาการก็คือวัสดุที่ใช้มีมูลค่าต่างกัน, ส่วนบริบทของหนังอาจเปรียบเทียบถึงผู้ใหญ่อายุมากขึ้น แต่มักเพ้อใฝ่ฝันอยากหวนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
หลังเชือดไก่ให้เพื่อนบ้าน Maria แสดงสีหน้าเย่อหยิ่ง ลุ่มหลงตัวเอง ทั้งๆก่อนหน้านี้พยายามปฏิเสธเสียงขันแข็ง แต่พอกระทำสำเร็จก็ดูภาคภูมิใจเสียเหลือเกิน ราวกับได้รับชัยชนะอะไรบางอย่าง ขายวิญญาณให้กับปีศาจ?
เกร็ด: เพื่อนบ้านของ Maria ชื่อว่า Nadezhda รับบทโดย Larisa Pavlovna ภรรยาคนที่สอง/คนปัจจุบันของผกก. Tarkovsky
การเชือดไก่ผมมองว่าเป็นสัญลักษณ์ ‘Loss of Innocence’ ทำให้ Maria จากที่เคยเอาแต่ร่ำไห้ เฝ้ารอคอยใครสักคน บังเกิดความตระหนักถึงชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน เผชิญหน้าความทุกข์ยากลำบากด้วยตนเอง เลิกหวาดกลัวเกรง พร้อมแล้วที่จะลุกขึ้นกระทำบางสิ่งอย่าง! … หลังจากนี้ทำให้เธอล้มเลิกแผนการขายตุ้มหู ลากพาบุตรชายเดินทางกลับบ้านโดยพลัน!
Andrei wrote a letter to Mr. Yermash, head of the Soviet cinema ministry. “Filip Timofeyevich … you’re a human being too. Perhaps you’ve experienced the same feeling as this mother, a feeling of love that lifts us up to the sky.” Yermash gave in, and the film was accepted with that scene.
Marina Tarkovsky กล่าวถึงเหตุผลที่ Mirror (1975) ได้รับการอนุมัติทุนสร้างจาก Goskino
ภาพที่ถือเป็น ‘Iconic’ ของหนัง! ถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ ในความฝันของ Aleksei (ผู้ใหญ่) พบเห็นมารดา Maria (ผู้ใหญ่) ล่องลอยอยู่เหนือเตียง ผมเคยตีความถึงจิตวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง กระทั่งบังเอิญพบเห็นบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ค่อยพบว่าแท้จริงความตั้งใจของผกก. Tarkovsky ต้องการสื่อถึงความรักที่เอ่อล้น จนราวกับล่อยลอยอยู่บนอากาศ พร้อมๆกับนกโบยบินสู่อิสรภาพ
นี่เป็นซีนที่อาจสร้างความฉงนสงสัยให้ใครหลายคน เพราะเด็กชายร้องเรียกหม่าม้า แต่เธอกลับอยู่ในวัยชรา สรุปแล้วมันคือ Pre-War หรือ Post-War? ผมมองซีเควนซ์นี้เกิดขึ้นในความฝัน คาบเกี่ยวระหว่าง
- (Pre-Wars) เด็กชาย Aleksei (วัยเด็ก)
- (Post-Wars) มารดา Maria (วัยชรา)
ถ้าจะตีความฉากนี้คงประมาณว่า มารดา (และบิดา) มักมองลูกๆหลานๆ ถึงแม้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่งงานมีครอบครัว ผมหงอกหัวล้าน ก็ยังคงติดตราภาพจำ เห็นพวกเขาเป็นเด็กไม่รู้ลืมเลือน!
จริงๆแล้วผกก. Tarkovsky เคยล้มป่วยวัณโรค (Tuberculosis) ตั้งแต่เมื่อครั้นวัยรุ่นอายุ 14-15 ปี (ระหว่างพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1948) ถึงขนาดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่นานหลายเดือน แต่เหมือนหนังปรับเปลี่ยนเป็น Aleksei (ผู้ใหญ่) หลังแต่งงาน หย่าร้างภรรยา (ในช่วง Post-War) มีมารดาสูงวัยนั่งเฝ้าอยู่ชิดใกล้
ซึ่งบุคคลนอนบนเตียง(ไม่ได้ถ่ายให้เห็นใบหน้า)ก็คือผกก. Tarkovsky, ส่วนหมอตรวจอาการวัณโรคคือนักเขียน Aleksandr Misharin ผู้ร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์ Mirror (1975), ขณะที่ผู้หญิงอีกคนพบเห็นเพียงด้านหลัง รับฟังคำวินิจฉัยของหมอ ผมอ่านเจอว่าคือหญิงสูงวัยลึกลับที่เคยปรากฎ-หายตัวเมื่อครั้น Aleksei ยังเป็นเด็ก
นี่น่าจะเป็นนกคนละตัวกับที่เคยบินเกาะบนศีรษะเด็กชายจาก Leningrad แต่จิตวิญญาณของมันยังคงอยู่ และสามารถเชื่อมโยง-สร้างสัมผัสบทกวี ส่งต่อให้กับ Aleksei โยนขึ้นท้องฟ้า ปลดปล่อยสู่อิสรภาพ ตัดไปกล้องแพนนิ่งทิวทัศน์ธรรมชาติ เคลื่อนเลื่อนมาถึงบ้านชนบท พบเห็น Aleksei และ Natalia กำลังนอนพร่ำเพ้อฝัน ภรรยาน่าจะเพิ่งตั้งครรภ์ บุตรคนแรกอยากให้เป็นชายหรือหญิง?
เราสามารถตีความอาการป่วย ตามด้วยปลดปล่อยนก ในเชิงความตาย/จิตวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง แล้วสามารถหวนกลับมาจุติในครรภ์มารดา … เวียนว่ายตายเกิด!
แต่ความตายในบริบทนี้ไม่ใช่ผกก. Tarkovsky เสียชีวิตหรืออย่างไรนะครับ มันคือจิตวิญญาณของเขาได้รับการปลดปล่อยจากความทรงจำ/เหตุการณ์ในอดีตที่ติดตามมาหลอกหลอก หลังเสร็จสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ราวกับได้ลอกคราบ ถือกำเนิด เกิดใหม่ ฝันร้ายทั้งหมดกำลังจะจบสิ้นไป
จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนไหล บันทึกภาพก้อนหิน ต้นไม้ ใบหญ้า เศษปรักหักพัง สิ่งข้าวของถูกทอดทิ้งไว้ เหล่านี้อาจคือสภาพบ้านชนบทที่ในปัจจุบันนั้น (Post-War) พังทลาย เสื่อมสลายตามกาลเวลา หรือคือทุกสิ่งอย่างของภาพยนตร์เรื่องนี้ล้วนอยู่ในความฝัน/ความทรงจำของผกก. Tarkovsky
มารดา Maria (วัยชรา) จูงมือบุตรทั้งสองพานผ่าน Maria (ยังสาว) เดินตัดหน้ากล้องที่ค่อยๆเคลื่อนถอยหลังเข้าพงไพร ก่อนถูกแมกไม้บดบัง พระอาทิตย์กำลังลาลับขอบฟ้า ก่อนที่จะหลงเหลือเพียงความมืด (Fade-To-Black) … เอาจริงๆผมไม่รู้จะตีความช็อตแปลกประหลาดนี้ยังไง อดีต-ปัจจุบันซ้อนทับ ราวกับอยู่ในความฝัน Aleksei หวนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ก้าวออกเดินสู่นิจนิรันดร์
ตอนจบลักษณะนี้เป็นการเปิดกว้าง ให้อิสระผู้ชมครุ่นคิดตีความ ผมอ่านบทวิเคราะห์อื่นๆมักมองถึงความตาย/ฝันสุดท้ายของ Aleksei ต้องการหวนกลับไปเป็นเด็ก อาศัยอยู่ร่วม/คืนดีกับมารดาอีกครั้ง (reconciliation) อะไรเคยกระทำผิดพลาดพลั้ง (forgiveness) จักได้รับการยกโทษให้อภัย และบังเกิดความสงบสุขขึ้นภายใน (peace)
ตัดต่อโดย Lyudmila Feiginova ขาประจำผกก. Andrei Tarkovsky ตั้งแต่ Ivan’s Childhood (1962) จนถึง Stalker (1979) [นั่นเพราะ Nostalghia (1983) และ The Sacrifice (1986) ย้ายไปทำโปรดักชั่นที่อิตาลี/สวีเดน]
แม้จะมีฟุตเทจเพียงแค่ 200+ กว่าช็อต 32 เรื่องราว (มีการตั้งชื่อแต่ละตอน อาทิ Selling Earrings, Typography, Hypnosis Session, Spaniards ฯ) แต่การเรียงลำดับเรื่องราวกลับเกือบเป็นหายนะของหนัง นั่นเพราะแต่ละเหตุการณ์ไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เชื่อมโยงอะไรกัน กล่าวคือผกก. Tarkovsky ไม่เคยครุ่นคิดมาก่อนว่าจะทำให้แต่ละเรื่องราวแปะติดปะต่อกันยังไง?
หลังพานผ่านการตัดต่อกว่า 20 ฉบับ (บางแหล่งข่าวว่า 32 ฉบับ) สลับเรื่องราวไปมา เลยตัดสินใจนำเสนอแบบ ‘Non-Linear Narrative’ ไม่สนห่าเหว เรียงลำดับตามอะไรแล้วทั้งนั้น กล่าวคือทุกสิ่งอย่างดำเนินไปตามอารมณ์ฉัน! ยกเว้นเพียง Hypnosis Session ที่ไม่เข้าพวกกับใคร นักตัดต่อ Lyudmila Feiginova เลยแนะนำให้แทรกใส่เข้ามาตอนต้นเรื่อง เสมือนอารัมบทก่อนเข้าสู่หนัง … ผกก. Tarkovsky เคยกล่าวถึงความสำเร็จในการตัดต่อหนังเรื่องนี้ราวกับปาฏิหารย์ (Miracle)
ผมไม่ขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆ เพราะมันทำไม่ได้อยู่แล้ว และการจะไล่เรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลามันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร หรือทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจใดๆมากขึ้น แต่สำหรับคนช่างสังเกต เรื่องราวในแต่ละตอนจะมีบางสิ่งอย่างสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์ หรือที่เรียกกันว่าสัมผัสของบทกวี (Ciné-Poem) อาทิ
- (Pre-War) โรงนาไฟไหม้ = (ความฝัน) เพดานรั่วไหล บ้านที่พังทลาย = (Post-War) กล้องเคลื่อนเลื่อนในอพาร์ทเม้นท์ที่ว่างเปล่าของ Aleksei
- (Post-War) ระหว่าง Aleksei คุยโทรศัพท์กับมารดา เธอเล่าถึงการเสียชีวิตของอดีตเพื่อนร่วมงาน Liza = (Wartime) มารดาเร่งรีบไปทำงาน ก่อนถูกตำหนิต่อว่าโดย Liza
- (Post-War) Aleksei คุยโทรศัพท์กับ Ignat โอ้อวดถึงรักแรกพบหญิงผมแดง = (Wartime) ภาพสาวผมแดงเดินผ่าน แต่ Aleksei กลับเพียงแค่ชายตามอง ไม่ได้มีความหาญกล้าเข้าหาเธอเลยสักนิด!
- (Wartime) ใครสักคนเขวี้ยงขว้างระเบิดระหว่างฝึกซ้อมยิงปีน = (Archive Footage) ภาพสงครามโลกครั้งที่สอง
- (Wartime) Aleksei ยืนอยู่บนเนินเขา หิมะขาวโพลน = (Archive Footage) เหตุการณ์ความไม่สงบยังพรมแดน Sino-Soviet รายล้อมรอบด้วยหิมะ พื้นน้ำแข็ง
- (Pre-War) เด็กชาย Aleksei วิ่งมาจะเปิดประตูไม่ออก แล้วจู่ๆมันกลับเปิดออกเองพบเห็นมารดากำลังเก็บหัวมันอยู่ภายใน = (Wartime) วัยรุ่น Aleksei เคาะประตูเพื่อนบ้าน เปิดออกมา ทักทายกับมารดา Maria
เกร็ด: ในส่วนเสียงอ่านบทกวีของบิดา Arseny Tarkovsky ก็ได้รับคำแนะนำโดยนักตัดต่อ Lyudmila Feiginova เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อให้เกิดสัมผัสเชื่อมโยงแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน!
ในส่วนของเพลงประกอบ ผกก. Tarkovsky เลือกใช้บทเพลงคลาสสิกของ J.S. Bach, Henry Purcell และ Giovanni Battista Pergolesi สามศิลปินจากยุคสมัย Baroque ที่ขึ้นชื่อเรื่องความขัดแย้ง (Tension) มักมีเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่สะท้อนกันและกัน คนละระดับเสียง สลับเสียงสะท้อน ไม่ก็ย้อนแก่นสาร (Reversing Theme) … สอดคล้องเข้ากับการนำเสนอหลากหลายเรื่องราว ช่วงเวลา กระโดดไปมา อดีตคือภาพสะท้อนปัจจุบัน (Vice Versa)
เริ่มที่ Opening Credit เลือกใช้ Bach: Das alte Jahr vergangen ist, BWV 614 (1713) [แปลว่า The Old Year Has Passed] ส่วนหนึ่งของ Orgelbüchlein [แปลว่า Little Organ Book, มีทั้งหมด 46 เพลง] บทเพลงแนวพิธีกรรม (Chorale Prelude) บรรเลงโดยออร์แกน (Organ) สำหรับใช้ในโบสถ์/วิหาร (Lutheran) มักมีท่วงทำนองชวนให้หวนรำลึกความหลัง เหตุการณ์เคยบังเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่ปีใหม่ เริ่มต้นชีวิตใหม่
ผมเลือกนำคลิปจาก Netherlands Bach Society สำหรับคนไม่เคยพบเห็นเครื่องดนตรีออร์แกน หน้าตาเป็นยังไง นักดนตรีเล่นอย่างไร ทำการแสดงโดย Bart Jacobs
Stabat Mater (1736) บทเพลงสวด/สรรเสริญ (Hymn) ของชาวคริสเตียน ความยาว 12 Movement ประพันธ์ขึ้นสัปดาห์สุดท้ายก่อนเสียชีวิตของ Giovanni Battista Pergolesi (1710-36) คีตกวีบาโรก สัญชาติอิตาเลี่ยน หลังล้มป่วยวัณโรค (Tuberculosis) จากไปก่อนวัยอันควรมากๆ
เกร็ด: Stabat Mater มาจากภาษาละตินแปลว่า ‘the sorrowful mother’ คำรำพันของพระแม่มารีย์ บรรยายความทุกข์ทรมานในฐานะมารดา ต่อเหตุการณ์ตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์
ฉบับได้ยินในหนังนำจาก Movement แรกชื่อว่า Stabat Mater Dolorosa มีคำร้องทั้งหมด 20 ย่อหน้า (ได้ยินในหนังเพียง 4 ย่อหน้า) ดังขึ้นหลังภาพจาก Archive Footage เหตุการณ์ Spainsh Civil War (1936-39) ปรากฎภาพการปล่อยบอลลูนยักษ์ ค.ศ. 1934 ที่ดูราวกับความหวังชาวรัสเซีย แต่แท้จริงแล้วกลับบังเกิดหายนะขึ้นหลังจากนั้น … เสียงร้องโหยหวนของบทเพลงนี้ จึงสามารถเหมารวมคำรำพันการสูญเสียบุตรหลาน โศกนาฎกรรมจากสงคราม
คำร้องละติน | คำแปลอังกฤษ |
---|---|
Stabat mater dolorósa juxta Crucem lacrimósa, dum pendébat Fílius. Cuius ánimam geméntem, contristátam et doléntem pertransívit gládius. O quam tristis et afflícta fuit illa benedícta, mater Unigéniti! Quae mœrébat et dolébat, pia Mater, dum vidébat nati pœnas ínclyti. Quis est homo qui non fleret, matrem Christi si vidéret in tanto supplício? Quis non posset contristári Christi Matrem contemplári doléntem cum Fílio? Pro peccátis suæ gentis vidit Jésum in torméntis, et flagéllis súbditum. Vidit suum dulcem Natum moriéndo desolátum, dum emísit spíritum. Eja, Mater, fons amóris me sentíre vim dolóris fac, ut tecum lúgeam. Fac, ut árdeat cor meum in amándo Christum Deum ut sibi compláceam. Sancta Mater, istud agas, crucifíxi fige plagas cordi meo válide. Tui Nati vulneráti, tam dignáti pro me pati, pœnas mecum dívide. Fac me tecum pie flere, crucifíxo condolére, donec ego víxero. Juxta Crucem tecum stare, et me tibi sociáre in planctu desídero. Virgo vírginum præclára, mihi iam non sis amára, fac me tecum plángere. Fac ut portem Christi mortem, passiónis fac consórtem, et plagas recólere. Fac me plagis vulnerári, fac me Cruce inebriári, et cruóre Fílii. Flammis ne urar succénsus, per te, Virgo, sim defénsus in die iudícii. Christe, cum sit hinc exire, da per Matrem me veníre ad palmam victóriæ. Quando corpus moriétur, fac, ut ánimæ donétur paradísi glória. Amen. | The sorrowful mother was standing beside the Cross weeping, while the Son was hanging. Whose moaning soul, depressed and grieving, the sword has passed through. O how sad and stricken was that blessed [woman], mother of the Only-begotten [one]! Who was mourning and suffering, the pious Mother, while she was watching the punishments of the glorious son. Who is the person who would not weep, if he had seen the mother of Christ in such great suffering? Who would not be able to be saddened to behold the Mother of Christ grieving with the Son? For the sins of his people she saw Jesus in torments, and subjected to lashes. She saw her sweet Son dying forsaken, while he sent forth [his] spirit. Come now, O Mother, fountain of love Make me feel the power of sorrow that I might mourn with you. Grant that my heart may burn in loving Christ the God that I might please him. O Holy Mother, may you do that, fix the wounds of the cross mightily in my heart. Of your wounded son, [who] so deigned to suffer for me, Share [his] penalties with me. Make me cry dutifully with you, to suffer (with him) on the cross, as long as I shall have lived. To stand by the Cross with you, to unite me to you in weeping [this] I desire. O noble Virgin of virgins, Be not bitter with me now, Make me mourn with you. Grant that I might bear the death of Christ, Make [me] kindred in the passion, and contemplate the wounds. Make me injured by the wounds, make me drunken by the Cross, and by the blood of the Son. Lest I be consumed burned by flames, through you, O Virgin, may I be defended on the day of judgement. O Christ, when it is time to depart hence, grant me to come through the Mother, to the palm of victory. When the body will decay, grant that it may be bestowed on [my] soul the glory of paradise. Amen. |
ช่วงระหว่างสงคราม Aleksei ถูกบังคับให้ฝึกยิงปืน และนั่งเหม่อล่องลอยท่ามกลางความมืด (ในบ้านของเพื่อนบ้าน) ได้ยินบทเพลง (Aria) They Tell Us That Your Mighty Powers Above จากกึ่งอุปรากร (Semi-Opera) เรื่อง The Indian Queen (1695) ประพันธ์โดย Henry Purcell (1659-95) คีตกวีบาโรกสัญชาติอังกฤษ โดยทำการดัดแปลงจากบทละครห้าองก์ The Indian Queen (1664) แต่งโดย John Dryden แต่กลับแต่งเสร็จเพียง Prologue, Act 2 และ Act 3
They Tell Us That Your Mighty Powers Above อยู่ใน Act 3, Movement 19, เรื่องราวของ Orazia และชายคนรัก Montezum ถูกจับกุมโดยผู้ร้าย Traxalla ให้คำสัญญาจะยินยอมปล่อยพระเอกถ้าฝ่ายหญิงยินยอมรับรักตนเอง เธอจึงขับร้องบทเพลงรำพันความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน …ทั้งสองครั้งที่บทเพลงนี้ดังขึ้น ล้วนในช่วงขณะที่ Aleksei พบเห็นสาวผมแดง แอบตกหลุมรักแรกพบ แต่ไม่เคยมีหาญกล้าเข้าไปพูดคุยทักทาย ก็ได้แต่เหม่อล่องลอย รำพันความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน
จริงๆแล้วบทเพลงนี้มีคำร้อง แต่ฉบับได้ยินในหนังกลับมีเพียง Soundtrack ผมก็เลยเอาคำรำพันของ Orazia มาให้อ่านผ่านตา จะได้เข้าใจความหมายของพลังอำนาจที่อยู่เหนือกว่า
They tell us that your mighty powers above
Make perfect your joys and your blessings by Love.
Ah! Why do you suffer the blessing that’s there
To give a poor lover such sad torments here?Yet though for my passion such grief I endure,
My love shall like yours still be constant and pure.
To suffer for him gives an ease to my pains
There’s joy in my grief and there’s freedom in chains;If I were divine he could love me no more
And I in return my adorer adore
O let his dear life the, kind Gods, be your care
For I in your blessings have no other share.
วินาทีที่ Aleksei ถาโถมเข้าไปในอ้อมอกบิดา จะได้ยินบทเพลง Bach: Johannes-Passion ท่อนที่ 33. Und siehe da, der Vorhang im Tempel zeriß in zwei Stück [แปลว่า And, behold, the veil of the temple was torn in two] คำร้องนำจาก Matthew 27:51 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ทำให้ม่านในพระวิหารฉีกขาด และบังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ชักชวนให้ตั้งคำถามถึงการสูญเสียคนที่เรารัก เหตุใดจึงเป็นเรื่องทุกข์ทรมานยากยิ่งนัก!
Bach: Johannes-Passion – BWV 245 หรือ Passio secundum Joannem แปลว่า St John Passion เป็นบทเพลงทางศาสนาแนว Passion (บทเพลงตอนมหาทรมาน) นำเนื้อหาจากพระคัมภีร์ไบเบิล ระหว่างการพิพากษาและการตรึงไม้กางเขนพระเยซู มีลักษณะจัดเต็มคอรัสและวงออร์เคสตรา เน้นความเว่อวังอลังการ ฟังแล้วขนลุกขนพอง เจ็บปวดรวดร้าว สั่นสะท้านทรวงใน ชื่นชมในการเสียสละของพระผู้มาไถ่
คำร้องเยอรมัน | คำแปลอังกฤษ |
---|---|
Und siehe da, der Vorhang im Tempel zeriß in zwei Stück von oben an bis unten aus. Und die Erde erbebete, und die Felsen zerrissen, und die Gräber täten sich auf, und stunden auf viel Leiber der Heiligen. | And behold, the curtain in the temple was torn in two pieces from top to bottom. And the earth shook, and the cliffs were rent, and the graves opened up, and many bodies of saints arose. |
สำหรับบทเพลงสุดท้ายของหนังนำจาก Bach: Johannes-Passion เช่นเดียวกัน แต่เลือกใช้ท่อนแรก Herr, unser Herrscher, dessen Ruhm in allen Landen herrlich ist! (แปลว่า Lord, our Lord, whose glory is magnificent in all the earth!) เนื้อคำร้องทำการสรรเสริญพระเป็นเจ้า ขอบพระคุณที่ทำให้มนุษย์รับรู้จักความเจ็บปวดจากมหาทรมาน
ผกก. Tarkovsky ใช้บทเพลงนี้ในการขอบคุณพระเจ้า ที่ทำให้ตนเองได้รับรู้ความเจ็บปวด พานผ่านช่วงเวลาทุกข์ทรมาน ฝันร้ายจากอดีตติดตามมาหลอกหลอน เมื่อเสร็จสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ราวกับได้พบเจอสรวงสวรรค์ สัมผัสความมหัศจรรย์ของพระองค์
เกร็ด: บทเพลงที่ใช้ในหนังจะมีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า (ตามสไตล์ Tarkovsky) กว่าฉบับที่ผมนำมาให้รับฟังเสียอีก ส่วนเนื้อคำร้องก็มีเพียงเท่าที่นำมานะครับ มันเป็นการร้องวนๆ ซ้ำๆ วกไปวนมา ใครอ่านโน๊ตเพลงจากในคลิปออก จะพบเห็นสไตล์ Baroque ที่มีความเหลื่อมล้ำ ซ้อนทับ ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน!
คำร้องเยอรมัน | คำแปลอังกฤษ |
---|---|
Herr, unser Herrscher, dessen Ruhm In allen Landen herrlich ist! Zeig uns durch deine Passion, Dass Du, der wahre Gottessohn, Zu aller Zeit, Auch in der größten Niedrigkeit, Verherrlicht worden bist! | Lord, our Ruler, whose Glory Is magnificent everywhere! Show us through your Passion, That you, the true son of God, At all times, Even in the most lowly state, Are glorified! |
Mirror (1975) คือภาพยนตร์อัตชีวประวัติ (ไม่ใช่ Semi- แต่ถือเป็น Autobiography ได้ตรงๆเลย) ร้อยเรียงเรื่องราวที่เคยบังเกิดจริงในชีวิตของผู้กำกับ Andrei Tarkovsky ด้วยวิธีการแบ่งออกเป็นตอนๆ (Episodic Memory) ไม่ได้มีความต่อเนื่อง ล้วนจบสิ้นในตัวมันเอง แล้วนำมากระจัดกระจาย ทำให้มีลักษณะคล้ายความทรงจำ/ฝันกลางวันของมนุษย์ สะเปะสะปะ ระเกะระกะ กระโดดไปกระโดดมา ไม่ได้เรียงลำดับตามเวลา
It is an autobiographical film. The things that happen are real things that happened to people close to me. That is true of all the episodes in the film. But why do people complain that they cannot understand it?
What people are looking for in cinema is a continuation of their lives, not a repetition. There are no entertaining moments in the film. In fact I am categorically against entertainment in cinema: it is as degrading for the author as it is for the audience.
Andrei Tarkovsky
ตอนรับชมหนังครั้งแรกๆ ผมยังคงติดภาพจำจาก Hollywood ภาพยนตร์ต้องมีโครงสร้าง เนื้อเรื่องราว สาระประโยชน์จับต้องได้ อคติต่อ Mirror (1975) บังเกิดขึ้นเพราะมันไม่อะไรสักสิ่งอย่าง ไร้เรื่องราว ไร้ความต่อเนื่อง และที่สำคัญคือไม่มีเนื้อหาสาระข้อคิดอะไร เลยไม่ค่อยอยากยินยอมรับว่านี่คือภาพยนตร์ติดอันดับ “Greatest Movie of All-Time” ได้ยังไงว่ะ?
แต่ภาพยนตร์มันจำเป็นต้องยึดตามกฎกรอบ โครงสร้าง เนื้อเรื่องราว มีสาระประโยชน์จริงๆนะหรือ? เมื่อไหร่ที่เราสามารถก้าวออกจาก ‘กบในกะลา’ เรียนรู้จักขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจมุมมองผู้สร้าง (ไม่ใช่แค่จากเนื้อหาภาพยนตร์) จักราวกับได้ค้นพบโลกอีกใบ สรวงสวรรค์รำไร หรือที่ใครๆเรียกว่าศิลปะภาพยนตร์ ความบันเทิงสำหรับชนชั้นสูง
Mirror (1975) ถือเป็นอีกภาพยนตร์ที่ผมอยากเรียกว่า ‘สิ่งมหัศจรรย์’ เพราะสามารถปลดปล่อยตนเองจากโครงสร้าง เนื้อเรื่องราว อิสรภาพในความคิดสร้างสรรค์ เพียงถ่ายทอดอารมณ์ศิลปิน อัตชีวประวัติผกก. Tarkovsky ที่มีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ กรูอยากจะนำเสนออย่างนี้ ก็เรื่องของมรึงว่าจะมีปัญญาพอดูเรื่องหรือไม่
เอาจริงๆ Mirror (1975) อาจไม่ได้ดูยากเย็นแสนเข็นขนาดนั้น บางทีผู้ชมบ้านๆ บุคคลธรรมดาทั่วไป เคยพานผ่านประสบการณ์ พบเจอเหตุการณ์ละม้ายคล้ายคลึงกับเรื่องราวของหนัง ย่อมสามารถสัมผัส รับรู้ เข้าใจจุดประสงค์ของผู้สร้างโดยพลัน! กลายเป็นพวกดูหนังมาเยอะๆ ชอบขบครุ่นคิดวิเคราะห์โน่นนี่นั่น ไม่สามารถทำความเข้าใจเพราะยึดติดกับรูปแบบ โครงสร้าง วิธีการ สไตล์ภาพยนตร์หนึ่งมากเกินไป
As I began work on Mirror I found myself reflecting more and more that if you are serious about your work, then a film is not the next item in your career, it is an action which will affect the whole of your life. For I had made up my mind that in this film, for the first time, I would use the means of cinema to talk of all that was most precious to me, and do so directly, without playing any kinds of tricks.
I wanted to tell the story of the pain suffered by one man because he feels he cannot repay his family for all they have given him. He feels he hasn’t loved them enough, and this idea torments him and will not let him be.
Andrei Tarkovsky
เรื่องราวของ Mirror (1975) คือภาพสะท้อนความทรงจำผกก. Tarkovsky หวนระลึกถึงบิดา-มารดา รวมถึงภรรยา(และบุตร) แม้อยู่กันคนละช่วงเวลา กลับพานผ่านประสบการณ์ พบเจอเหตุการณ์ละม้ายคล้ายคลึงกัน … ราวกับภาพสะท้อนในกระจก!
- บิดา-มารดาของผกก. Tarkovsky หย่าร้างกันตั้งแต่ปี 1935-36 ทำให้มารดาต้องเลี้ยงดูแลบุตรชาย-สาวเพียงลำพัง
- ผกก. Tarkovsky หย่าร้างภรรยาคนแรก Irma Raush เมื่อปี 1970 ซึ่งเธอพยายามเรียกร้องขอเลี้ยงดูแลบุตรชาย Ignat เพียงลำพัง
แซว: ผกก. Tarkovsky เคยครุ่นคิดจะให้อดีตภรรยา Irma Raush มาแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการรับบทเป็นตัวเอง แต่ก็ตระหนักว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่
การไม่เคยมีบิดาอยู่เคียงชิดใกล้ตั้งแต่เด็ก เติบโตในบ้านที่รายล้อมรอบด้วยผู้หญิง (มารดา, น้องสาว และย่า) สร้างอิทธิพล/ส่งผลกระทบต่อผกก. Tarkovsky ทำให้ขาดความเข้มแข็ง เชื่อมั่นในตนเอง (ไม่มีบิดาเป็นต้นแบบอย่าง ‘ลูกผู้ชาย’) สังเกตจากซ้อมยิงปืนไม่เคยเข้าเป้า นั่งเหงาๆอยู่ในบ้านคนอื่น ปล่อยให้ไฟมอดดับโดยไม่พูดอะไร พอเป็นผู้ใหญ่ยังชอบอวดอ้างกับบุตรชาย … นั่นอาจรวมถึงเหตุผลที่ผกก. Tarkovsky ไม่เคยเอ่ยปากชักชวนอดีตภรรยาให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ (ข้ออ้างฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่นะ) เพราะความอ่อนแอ ขลาดเขลาของตนเองเสียมากกว่า
ด้วยความที่ผกก. Tarkovsky เคยพานผ่านประสบการณ์เติบโตโดยไม่บิดาอยู่เคียงชิดใกล้ พอตนเองเติบใหญ่แล้วต้องเลิกราภรรยา จึงเกิดความวิตกกังวลต่อบุตรชาย จึงพยายามเกลี้ยกล่อม เรียกร้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตรถึงสองครั้งครา … แต่ผมไม่ครุ่นคิดว่าชีวิตจริงของผกก. Tarkovsky จะมีความหาญกล้าแบบนั้นนะครับ (เพราะแค่ชักชวนอดีตภรรยามาแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ยังขลาดๆเขลาๆ) เช่นนั้นแล้วเราสามารถมองภาพยนตร์เรื่องนี้คือคำสารภาพผิด จดหมายขอโทษต่อบุตรชาย Ignat ถึงเหตุผลที่ตนเองไม่สามารถทำหน้าที่บิดาเคียงข้างมารดา
ปล. การไม่ค่อยปรากฎตัวของบิดาในหนัง มักได้ยินเพียงเสียงพูดคุย อ่านบทกวี นั่นสอดคล้องเข้ากับชีวิตจริงที่ทั้ง(บิดา) Arseny และ(ผกก.) Andrei Tarkovsky ต่างไม่เคยอยู่ชิดใกล้บุตรชาย (และภรรยา)
แต่เรื่องราวของ Mirror (1975) ไม่แค่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างผกก. Tarkovsky กับบิดาเท่านั้นนะครับ! ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังนำเสนอความทุ่มเทเสียสละของมารดา (และอาจรวมถึงภรรยา) เพราะการไม่อยู่ของบิดา/สามี ทำให้เธอต้องเลี้ยงดูแลบุตรเพียงลำพัง อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง ไร้บุคคลเป็นที่พึ่งพักพิง นั่นต้องใช้พละกำลัง ความเข้มแข็งทั้งร่างกาย-จิตใจ ถึงสามารถอดรนทน ต่อสู้ฟันฝ่า พานผ่านช่วงเวลา/ประวัติศาสตร์โลกที่เหี้ยมโหดร้าย
ความเจ็บปวดรวดร้าวจากการสูญเสียชายคนรัก โดดเดี่ยวอ้างว้าง อัดอั้นทุกข์ทรมาน มันยังสามารถสะท้อนประวัติศาสตร์ยุคสมัยนั้น การมาถึงสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War), สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2), รวมถึงความขัดแย้งพรมแดน (Sino-Soviet) ฯ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงถือเป็น ‘ชีวประวัติร่วม’ ของชาวรัสเซียยุคสมัยนั้น รับชมแล้วบังเกิดความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ตราตรึง ประทับใจ
ผกก. Tarkovsky เล่าว่าความทรงจำตั้งแต่เด็กที่เคยติดตาฝังใจ ฝันร้ายคอยหลอกหลอนมานานหลายปี หลังเสร็จสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ไม่เคยครุ่นคิดฝันถึงมันอีก! ราวกับความรู้สึกอัดอั้น ทุกข์ทรมาน ถูกระบายออกไปหมดสิ้น จิตวิญญาณได้รับการปลดปล่อย ดิ้นหลุดพ้นพันธนาการจากอดีตเสียที!
ดั้งเดิมนั้นผกก. Tarkovsky วางแผนจะนำ Mirror (1975) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes แต่กลับถูกกองเซนเซอร์ Goskino ปฏิเสธส่งออก ห้ามฉายต่างประเทศ “We certainly have freedom of creativity! But not to such an extent!” ขนาดว่าประธานจัดงาน(เทศกาลหนังเมือง Cannes)ปีนั้น Maurice Bessy พยายามข่มขู่จะไม่อนุญาตให้หนังโซเวียตเรื่องอื่นเข้าฉาย จนแล้วจนรอดก็ไม่เป็นผลสำเร็จประการใด
เหตุผลหลักๆที่หนังถูกปฏิเสธส่งออกฉายต่างประเทศ เพราะความคิดเห็นของบรรดานักวิจารณ์ เมื่อทำการทดลองฉายช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ส่วนใหญ่มองว่าสลับซับซ้อน เป็นส่วนตัว เข้าใจยากเกินไป ภาพยนตร์สำหรับชนชั้นสูง ไม่เหมาะสำหรับเป็นตัวแทนประเทศออกฉายระดับนานาชาติ
สุดท้ายหนังเลยไม่ได้มีกระทั่งรอบปฐมทัศน์! จัดพิมพ์ฟีล์มแค่ 73 ก็อปปี้ ออกฉายช่วงต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1975 แต่เสียงตอบรับจากผู้ชมกลับดีล้มหลาม ชาวรัสเซียเข้าถึงภาพยนตร์ได้ง่ายกว่านักวิจารณ์ ผกก. Tarkovsky เคยสอบถามพนักงานทำความสะอาดโรงหนัง สรุปใจความได้ใกล้เคียงเนื้อหาสำคัญอย่างมากๆ
Everything is quite simple, someone fell ill and was afraid of dying. He remembered, all of a sudden, all the pain he’d inflicted on others, and he wanted to atone for it, to ask to be pardoned.
พนักงานทำความสะอาดโรงหนัง
เมื่อเริ่มทะยอยออกฉายในยุโรป เสียงตอบรับก็ค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา Mirror (1975) สามารถติดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลจากหลากหลายสำนึก แต่ผมขี้เกียจค้นหาข้อมูลเลยเอามาแค่ของ Sight & Sound ก็แล้วกัน
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 ติดอันดับ #19
- Sight & Sound: Director’s Poll 2012 ติดอันดับ #9
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ติดอันดับ #31 (ร่วม)
- Sight & Sound: Director’s Poll 2022 ติดอันดับ #8
เกร็ด: ผู้กำกับที่เคยลงคะแนนโหวตให้กับ Mirror (1975) เท่าที่ผมรู้จัก (รวบรวมจากทั้งฉบับ 2012 และ 2022) อาทิ Michael Haneke, Pawel Pawlikowski, Olivier Assayas, Joachim Trier, Ann Hui, Wang Bing และพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง (กระเบนราหู)
You’d think Mirror might be a heavy, intellectual film, but it is direct, even basic: remembering, childhood, loss, speculation… It talks to people not through words, but through images and emotions. Wonderfully shot and composed, it contains some of the most spectacular imagery ever captured on screen.
Barbara Schweizerhof
Many people grumble that Tarkovsky’s films are difficult, but I don’t think so. His films just show how extraordinarily sensitive Tarkovsky is. He made a film titled Mirror after Solaris. Mirror deals with his cherished memories in his childhood, and many people say again it is disturbingly difficult. Yes, at a glance, it seems to have no rational development in its storytelling. But we have to remember: it is impossible that in our soul our childhood memories should arrange themselves in a static, logical sequence.
A strange train of fragments of early memory images shattered and broken can bring about the poetry in our infancy. Once you are convinced of its truthfulness, you may find Mirror the easiest film to understand. But Tarkovsky remains silent, without saying things like that at all. His very attitude makes me believe that he has wonderful potentials in his future.
Akira Kurosawa กล่าวถึง Mirror (1975)
เกร็ด: Christopher Nolan เล่าว่า Oppenheimer (2023) [เหมารวม Dunkirk (2017) ก็น่าจะได้] ได้รับอิทธิพลการถ่ายภาพ และลีลาดำเนินเรื่องจาก Mirror (1975)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ บางแหล่งข่าวบอกว่าทำ 4K เสร็จสิ้นแล้ว! แต่ฉบับ Blu-Ray ของค่าย Criterion ที่เพิ่งวางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2021 กลับยังมีคุณภาพแค่ 2K เลยไม่รู้สรุปว่ายังไง? อาจกำลังรอคิวทำ 4K Ultra HD อยู่กระมัง!
มีหลายสิ่งอย่างที่ผมชมชอบ Mirror (1975) อาทิ การเคลื่อนเลื่อนกล้องที่มักล่อหลอกสายตา เต็มไปด้วยภาพสะท้อนกระจก บางครั้งแลดูเหมือนเขาวงกต, การผันเปลี่ยนของแสงแดด ความมืด ลมฟ้าฝน ธรรมชาติล้วนส่งผลกระทบต่อความรู้สึกผู้ชมอย่างมากๆ, ลีลาการตัดต่อ (Non-Linear Narrative) ท้าทายศักยภาพในการขบครุ่นคิดวิเคราะห์, บทกวีอันไพเราะ รวมถึงสัมผัสนอก-ในแต่ละซีเควนซ์, และการเลือกใช้ Sound Effect/เพลงประกอบ ดั่งคลื่นลมพายุถาโถมเข้าใส่!
แต่ทั้งหมดทั้งมวลยังไม่เพียงพอให้ผมเข้าถึงสาระประโยชน์ ค้นพบจุดเชื่อมโยงความสนใจ แต่ในส่วนนี้มันคือรสนิยมชื่นชอบส่วนบุคคล บางคนอาจหลงใหลเรื่องราวที่สะท้อนตัวตน ระบายอารมณ์อึดอัดอั้น สัมผัสถึงจิตวิญญาณของหนัง … ต่างคนก็ต่างกันไป!
สำหรับคนที่อ่านมาจนถึงจุดนี้แล้วยังจนปัญญาจะเข้าใจ ก็อย่าเพิ่งรีบร้อนปีนป่ายบันได ให้เวลากับตนเอง สะสมประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อีกสัก 2-3 ปี หรือลองมองหา Hiroshima mon amour (1959), Last Year at Marienbad (1961), Amarcord (1973), India Song (1975), As I Was Moving Ahead… (2000), The Tree of Life (2011) ฯ เผื่ออาจจะช่วยอะไรได้บ้าง
จัดเรต 15+ จากฟุตเทจสงคราม บรรยากาศเครียดๆ อึดอัดทุกข์ทรมาน
คำโปรย | Mirror กระเบื้องโมเสก/กระจกสะท้อนความทรงจำผู้กำกับ Andrei Tarkovsky มีความเป็นส่วนตัว อารมณ์ศิลปิน งดงามวิจิตรศิลป์ แต่ไม่สนใจว่าผู้ชมจะดูรู้เรื่องหรือไม่
คุณภาพ | มาสเตอร์พีซ
ส่วนตัว | อารมณ์ศิลปิน
The Mirror (1975) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥
(6/5/2016) ถืออะไรหนักไว้ให้ปล่อยวาง คิดอะไรปวดหัวให้ผ่อนออก วิธีดูหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจต้องพยายามไม่คิดอะไร ใช้ร่างกายสัมผัสให้มันซึมซาบผ่านเข้าผิวหนัง เพราะเมื่อใดที่เริ่มคิด ก็จะหาคำตอบไม่ได้ เมื่อไม่มีคำตอบก็จะหงุดหงิด บอกแล้วนี่ไม่ใช่หนังที่ต้องคิด ลองปล่อยวางความหงุดหงิด ไม่ต้องคิดก็เข้าใจได้
หนังเรื่องนี้บัดซบมากนะครับ ผมไม่คิดว่าจะมีใครในโลกนอกจากผู้กำกับ Andrei Tarkovsky จะสามารถเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในหนังได้ถ่องแท้เป็นแน่ เพราะนี่คือหนัง Auto-Biographical อัตชีวประวัติของผู้กำกับเอง เขาอยากเล่าอะไรก็เล่า เอาอะไรมาใส่ตรงไหนก็ใส่ ไม่มีเนื้อเรื่อง ไม่มีใจความ ไม่มีแก่นสาร ไม่มีอะไรที่สื่อถึงกัน ไม่ต่อเนื่อง ไม่สนรูปแบบ จะว่าโคตรมั่ว ยำใหญ่ใส่สารพัดก็ว่าได้ เป็นหนังที่แหกทุกกฎ ทุกแนวคิดของศาสตร์ภาพยนตร์ แต่ในความวุ่นวาย สับสนอลม่านนั้นมีอะไรบางอย่างที่คนดูสามารถจับต้องได้ เราสามารถชื่นชมงานศิลปะที่เหนือชั้น โดยไม่ต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริง ก็เห็นความสวยงามของมันได้
ใจความของหนังฉากแรก เด็กชายคนหนึ่งเปิดทีวี ชายหนุ่มที่พูดติดอ่างกับนักจิตวิทยา เริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน กว่าที่ชายหนุ่มจะพูดออกมาได้จบประโยค มันช่างยากเย็นแสนเข็น นักจิตวิทยาจึงทำการบำบัด ด้วยการนวดและสะกดจิต ให้เขารู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างที่หนักอึ้งถือไว้ และพอบอกให้ปล่อย ชายคนนั้นก็ไม่พูดติดอ่างอีกต่อไป ผมขอเปรียบชายที่พูดติดอ่างเหมือนคนดูหนังเรื่องนี้ ไม่ว่าคุณจะเก่งหรือฉลาดมาจากไหน ดูหนังเรื่องนี้จบปุ๊ปต้องกลายเป็นคนติดอ่างอย่างแน่นอน เพราะไม่มีทางที่จะเข้าใจหนังได้ทะลุปรุโปร่งอย่างถ่องแท้ จะมีอะไรบางอย่างที่ติดขัดไม่เข้าใจ คุณต้องปล่อยวาง นักจิตวิทยาสอนไว้ ให้ละทิ้งความคิด ความเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่าง และคุณจะสามารถกลับมาพูดได้ชัด เข้าใจได้ไม่ติดขัด
ฉากเปิดหนังแบบนี้ ทำเอาผมนึกถึง Persona (1966) ของ Ingmar Bergman (Persona เป็น 1 ใน 10 หนังเรื่องโปรดของ Tarkovsky ด้วยนะครับ) ที่เปิดเรื่องมามีอะไรสักอย่างหนึ่งที่เป็นการเกริ่น ไม่มีใจความเกี่ยวกับเนื้อเรื่องหลักสักนิด เป็น Intro เพื่อให้คนดูปรับสภาพของตนเองก่อนดูหนัง อะไรที่เคยเข้าใจมาให้โยนมันทิ้งไว้ เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม
คนที่รู้จัก Andrei Tarkovsky จะรู้ว่าสไตล์ของเขาคือ การสร้างอภิปรัชญา (characterized by metaphysical) ความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมถึง ชีวิต, โลก และภาวะเหนือธรรมชาติ, มีการถ่ายฉาก long-take ที่แสนยาว เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับคนดู เป็นเหมือนการฝึกสมาธิ (Mediation), และมีภาพความทรงจำส่วนตัวของผู้กำกับ จากวัยเด็ก Ivan’s Childhood (1962) ของศิลปิน Andrei Rublev (1966) กับธรรมชาติและจักรวาล Solaris (1972)
จุดเริ่มต้นนั้น เห็นว่า Tarkovsky ตั้งใจจะเขียนนิยายชื่อ Sculpting in Time เกี่ยวกับความทรงจำสมัยเด็กของเขา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เขาก็เบี่ยงเบนความสนใจจากการเขียนนิยายมาเป็นสร้างหนังแทน บทร่างแรกของหนัง Tarkovsky ให้คำนิยามว่า เต็มไปด้วยความระทมทุกข์ เศร้าหมองและหวนหา “full of elegiac sadness and nostalgia for my childhood” ชื่อหนังขณะนั้นคือ A White, White Day. แน่นอนว่ามันยังไม่ดีพอ บทร่างถัดมา เขาตัดสินใจใส่บทสัมภาษณ์ของแม่ ให้ออกแนวสารคดี เกี่ยวกับความทรงจำในช่วงเวลานั้น ภายหลังก็ละทิ้งไอเดีย แต่เปลี่ยนจากสัมภาษณ์เป็นให้แสดงในหนังแทนเลย เขาคัดเลือกนักแสดงโดยให้แม่ Maria Vishnyakova, ภรรยาคนที่สอง Larisa Tarkovskaya และพ่อ Arseny Tarkovsky (แต่จะได้ยินแค่เสียงเขาอ่านบทกลอนในหนัง) รับบทในหนังเป็นตัวของตัวเองในหนัง, แต่ไหนๆเล่าถึงอดีตทั้งที ทำไมต้องเลือกแค่ช่วงเวลาเดียว Tarkovsky ตัดสินใจสร้างเรื่องราวหลายช่วงเวลา ประกอบด้วย
1. ช่วงเวลา 1935-1936 เมื่อ Tarkovsky อายุ 3-4 ขวบ
2. ปี 1943-1945 เมื่อเขาอายุ 11-13
3. 1969 ขณะอายุ 37 ปี
ตัวละครที่ถือว่าแทนได้กับ Tarkovsky เลย ในหนังคือ Alexei ซึ่งปรากฎตัวในหนังแปปเดียวเท่านั้นตอนใกล้จบ นอนอยู่บนเตียง มือกำนกและปล่อยให้โบยบิน
เดี๋ยวก่อนยังไม่จบ Tarkovsky รู้สึกว่าถ้ามีแต่ตัวเองอย่างเดียวคงน่าเบื่อ เขาเลยเลือกเพิ่มจากมุมมองของบุคคลอื่น เปรียบได้กับภาพสะท้อนของตัวเอง (เคยได้ยินไหมเอ่ย? สิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวเรามากที่สุด คือความเข้าใจของคนอื่นต่อตัวเรา) นี่คือเศษเสี้ยวหนึ่งของความหมายชื่อหนัง The Mirror นะครับ ที่หมายถึงภาพสะท้อนของตนเอง, ซึ่งแทนที่ Tarkovsky จะสร้างตัวละครขึ้นมา เขาเอาเหตุการณ์จริง ใช้ภาพ Archival Footage (ภาพจากคลังเก็บหนัง) เพื่อเป็นการนำเสนอความทรงจำจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เล่าคู่ขนานเกิดขึ้นไปพร้อมกันกับช่วงเวลาในหนัง, documentary footage ที่ใช้มี 3 เหตุการณ์คือ
1. Spanish Civil War (1936-1939) เหตุการณ์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (Pre-World Wars 2)
2. World Wars 2 (1939-1945)
3. Sino-Soviet ความขัดแย้งระหว่างพรมแดนจีน-โซเวียต (1969) เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post-World Wars 2)
แบ่งแบบนี้น่าจะเห็นชัดขึ้นนะครับ ว่าช่วงเวลาของเหตุการณ์จาก Archive Footage เป็นช่วงเดียวกับเรื่องราวที่ใช้เล่าอดีตของ Tarkovsky เลย
สำหรับคนที่ยังไม่ได้ดูหนัง แต่หลงเข้ามาอ่านรีวิวนี้ เจอที่ผมเล่าไปอาจจะรู้สึกว่า มันก็ไม่ได้เข้าใจยากเท่าไหร่นิ… เดี๋ยวก่อนครับความติสต์แตกของ Tarkovsky ยังไม่หมดแค่นี้ สิ่งต่อไปคือนักแสดง ถึงเราจะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 3 ช่วงแล้ว แต่นักแสดงกลับใช้ซ้ำการ reuse เช่น Margarita Terekhova เธอรับบทเป็นแม่ของ Tarkovsky ในช่วง 1 กับ 2 และรับบทภรรยาของ Tarkovsky ในช่วงที่ 3, เอะ ยังไง? … คือนักแสดง 1 คน เล่น 2 บทบาทนะครับ ไม่ได้เล่นตัวละครเดียวกัน (ใครเคยดู Cloud Atlas-2012 คงจะพอจินตนาการออก) ระยะเวลาระหว่าง ช่วง 1, 2 กับช่วงที่ 3 ห่างกันประมาณ 20 ปี มันมีความเป็นไปได้ที่ จากหญิงสาวกลายเป็นหญิงแก่ จากเด็กหญิงกลายเป็นหญิงสาว หญิงสาวทั้งสองจะมีหน้าตา นิสัยคล้ายคลึงกัน, นี่เป็นอีกเหตุผลของชื่อหนัง Mirror ที่หมายถึงกระจกสะท้อนช่วงเวลา (ปกติกระจกจะสะท้อนแค่คน สัตว์ สิ่งของ แต่กระจกในหนังเรื่องนี้สะท้อนเวลาด้วย) อะไรๆที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 1 และ 2 มันอาจเกิดซ้ำรอยในช่วงที่ 3
ใครอ่านย่อหน้าที่ผ่านมางง ผมจะลองยกตัวอย่างดังนี้นะครับ
ช่วง 1 และ 2: Tarkovsky ยังเด็ก, Margarita Terekhova รับบทเป็นแม่ของ Tarkovsky
ช่วงที่ 3 (20 ปีผ่านไป): Tarkovsky โตแล้ว, Margarita Terekhova รับบทเป็นภรรยาของ Tarkovsky
แยกแบบนี้น่าจะพอเห็นภาพนะครับ แต่ในหนังมันไม่มีอะไรที่บอกเราว่า ฉากที่เห็นเป็น ช่วง 1,2 หรือ 3 นักแสดงหน้าตาเดิม แต่บทบาทเธอขณะนั้นเป็นใคร นี่ต้องใช้การสังเกตอย่างมากทีเดียวถึงจะแยกออก
กระนั้นเชื่อว่าบางคนอาจยิ้มกริ่ม พูดว่า ไม่เห็นยากเลย ดูโทนสีของหนังสิ… หนังเรื่องนี้ บางฉากก็เป็นภาพสี บางฉากเป็นภาพขาว-ดำ, ใครคิดแบบนี้แสดงว่าความเข้าใจของคุณต่อหนังเรื่องนี้ยังห่างไกลความถูกต้องอยู่มากนะครับ โทนสีของหนังเรื่องนี้ไม่สามารถเอามาแบ่งช่วงเวลาของหนังได้
ผมค้นพบจุดที่พบว่า สีของหนังมันเปลี่ยนไปตามอารมณ์ผู้กำกับ (แบบ JoJo) ไม่ได้ขึ้นกับช่วงเวลาแต่อย่างใด ในฉากที่ พ่อกลับมาบ้าน (นี่น่าจะเป็นช่วงที่ 3, Tarkovsky โตขึ้นแต่งงาน หย่าเมีย ไปสงครามกลับมาหาภรรยาและลูก) ฉากนี้ตอนแรกเป็นภาพสี (ขณะพ่อกลับบ้าน) จากนั้นไปๆมาๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว-ดำเฉยเลย ทั้งๆที่บ้านยังหลังเดิม ตัวละครเดิม เหตุการณ์ต่อเนื่อง ดูก็รู้ว่าไม่ได้ตัดย้ายไปช่วงเวลาไหน นี่เป็นการบอกว่า โทนสีที่เราเห็น ไม่ใช่เทคนิคที่ผู้กำกับใช้เพื่อแบ่งแยกช่วงเวลานะครับ
แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยนโทนสีหนัง? … ผมโชคดีที่ไปอ่านเจอบทความอธิบายจุดนี้ได้สมเหตุสมผลมากๆ … Tarkovsky เคยให้สัมภาษณ์หลังจากสร้างหนังเรื่อง Andrei Rublev เขาบอกว่า ภาพสีควรใช้เฉพาะกับฉากที่มีความสำคัญ กับเหตุกาณ์สำคัญหรือสถานที่สำคัญๆเท่านั้น “Tarkovsky believes that colour should be only used to empasise important events or places in film.” ถ้าเปรียบภาพสีกับชีวิตของคน ความทรงจำที่ไม่ลืมเลือนของมนุษย์มักเกิดขึ้นแค่ช่วงขณะ เฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนมากเราจะจดจำอะไรไม่ได้เลย ไม่มีความน่าสนใจเหมือนกับภาพขาว-ดำ “On the screen colour imposes itself on you, whereas in real life that only happens at odd moments, so it’s not right for the audience to be constantly aware of colour.” ภาพสีในหนังจึงมักดึงดูดความสนใจของผู้คน แต่กับภาพขาว-ดำ คนดูจะไม่สนใจรายละเอียดปลีกย่อย ให้ความสนใจกับการกระทำของตัวละครมากกว่า “In a black-and-white film there is no feeling of something extraneous going on, the audience can watch the film without being distracted from the action by colour.” Tarkovsky ยังรู้สึกว่า ภาพสีมันสวยเกินไป ไม่เหมือนกับชีวิต ซึ่งเขาจะถ่ายหนังที่เป็นภาพสี เฉพาะเพื่อเป็นตัวแทนของ ความแปลกใหม่ สวยงามเท่านั้น
ใน Andrei Rublev ทั้งเรื่องถ่ายด้วยภาพขาว-ดำ แต่มีเฉพาะฉากสุดท้ายที่ถ่ายด้วยภาพสี เหตุผลที่ทำแบบนี้ เพราะตอนจบเป็นการนำภาพวาดของ Andrei Rublev มาแสดงให้ได้เห็น ตอนผมเห็นฉากนี้ประทับใจมากๆ เพราะความสวยงามราวของสีสันที่สวยสด ถ้าหนังทั้งเรื่องเป็นภาพสี ตอนจบแบบนี้คงไม่อึ้งอะไร เพราะภาพสีในฉากต่างๆจะกลืนกินความน่าสนใจของตอนจบไป แต่เพราะหนังเป็นภาพขาว-ดำ มาโผล่ภาพสีเฉพาะตอนจบ โอ้… แม่เจ้า มันช่างสวยสดงดงาม นี่แหละที่รอคอย อยากเห็นมานานภาพวาดของ Rublev เป็นแบบนี้นี่เอง
นี่คือเหตุผลที่ผมเถียงไม่ออกเลย มันคือความเชื่อส่วนตัวของ Tarkovsky และเขาทำมันออกมาได้น่าทึ่งมากๆ คนที่ดู The Mirror น้อยคนจะเข้าใจถึงเหตุผลของการที่หนังมีหลายโทนสีได้ ลองไปสังเกตดูก็ได้ว่าจริงไหม เฉพาะช่วงเวลาที่มีความสำคัญ มีสีสัน เป็นที่ต้องจดจำฝังใจ เมื่อนั้นแหละครับ หนังจะเป็นภาพสี
อีกสิ่งหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายแล้วที่ Tarkovsky ใส่มา นั่นคือ Dream-like Sequence เรื่องราวกึ่งๆความฝัน จุดประสงค์การใส่ก็ชัดเจน อดีต ความทรงจำ ความฝัน มันแยกกันไม่ออกนะครับ (แบบเดียวกับ 8 1/2) ฉากที่เป็น Dream-Like สังเกตได้ง่ายมากๆ เช่น หญิงสาวนอนลอยอยู่เหนือเตียง (แบบโปสเตอร์), ฉากที่เด็กชายอ่านจดหมายให้หญิงแก่ๆ ที่อยู่ดีๆปรากฏตัวและหายตัวไป, ฉาก Ju-On สระผมแล้วเพดานกำลังถล่ม ฯ ฉากพวกนี้ล้วนมีความหมายแฝงอยู่ด้วยนะครับ คิดกันออกหรือเปล่าเอ่ย?
เมื่อเราสามารถวิเคราะห์แบ่งหนังออกได้เป็นส่วนๆดังที่กล่าวมานี้ ทีนี้ก็ถึงเวลาสังเคราะห์ มองกลับว่า อะไรเป็นใจความสำคัญที่แท้จริงของหนัง เพราะนี่เป็นหนัง Auto-Biographical ที่เล่นกับช่วงเวลา จะถือว่าใช้เวลาเป็นตัวดำเนินเรื่อง เปรียบเสมือนเป็นตัวแปรต้น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากความทรงจำ ความฝัน สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เหล่านี้คือตัวแปรตาม, Tarkovsky เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง ‘เวลา’ คนเราเข้าไปดูหนังเพื่ออะไร? คำตอบของเขาคือ เพื่อใช้เวลาสัมผัสกับประสบการณ์, ภาพยนตร์เป็นศาสตร์ที่ต่างจากงานศิลปะแขนงอื่น มีความยาว ต้องใช้การพินิจพิจารณา และความเข้าใจของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับประสบการณ์ชีวิต จะมากน้อยอยู่ที่ตัวคน นี่แหละคือพลังของ ภาพยนตร์
I think that what a person normally goes to the cinema for is time… He goes there for living experience; for cinema, like no other art, widens, enhances and concentrates a person’s experience – and not only enhances it but makes it longer, significantly longer. That is the power of cinema.
เวลาของหนัง เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น แต่ผู้กำกับสร้างเรื่องราวให้กับเวลา เขาตั้งโจทย์ ปี 1936 ชีวิตเขาเกิดอะไรขึ้นบ้าง, พ่อแม่เป็นอย่างไร ใครทำอะไรอยู่ เคยเจอกับใคร ตัวเขาเองเป็นยังไง มีความฝันอย่างไร จากนั้นมองภาพในมุมกว้างขึ้น โลกขณะนั้นเป็นอย่างไร มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้น นี่คือวิธีที่ Tarkovsky ใช้สร้างหนังเรื่องนี้นะครับ
ถ่ายภาพโดย Georgi Rerberg มีฉากหนึ่งที่กล้องเคลื่อนเข้าไปในบ้าน เราได้ยินเสียงสนทนา เสียงพูด แต่จะไม่เห็นตัวละคร, หรือฉาก long-take เปิดหนังสือความยาวร่วม 2 นาที ที่ไม่มีคำพูดอะไร, เหตุผลที่ Tarkovsky ใช้รองรับการถ่ายทำแบบนี้คือความเชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ไม่มีขอบเขต ในสถานที่แห่งหนึ่งมีคนนับไม่ถ้วนที่เคยผ่านไปผ่านมา ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ขณะนี้เราอาจเห็นเป็นแค่สถานที่เปล่าๆ แต่มันเคยอาจมีคนอยู่ ในอนาคตก็อาจมีคนกำลังจะมา มันคือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลก
Tarkovsky believes that “Juxtaposing a person with an environment that is boundless, collating him with a countless number of people passing by close to him and far away, relating a person to the whole world, that is the meaning of cinema.”
ในฉากที่ถ่ายกับธรรมชาติ เราจะรู้สึกเหมือนว่ามันมีความสงบ เหมือนกำลังทำสมาธิ (meditation) การพัดผ่านของลม, ต้นหญ้าที่พริ้วไหว, เปลวไฟที่ลุกโชติช่วง, สายน้ำที่ไหลผ่าน, ผืนดิน ทุ่งหญ้า ฯ เพื่อสนับสนุนความเชื่อนี้ หนังของ Tarkovsky จะมีฉากที่ตัดให้เราเห็นธรรมชาติคล้ายๆกันนี้ประกอบอยู่ทุกเรื่อง
ตัดต่อโดย Lyudmila Feiginova ไม่มีใครรู้ว่า Tarkovsky ตัดต่อหนังเรื่องนี้กี่เวอร์ชั่น มันเหมือนว่าเขาหาวิธีที่จะทำให้ผู้ชมไม่สามารถจับใจความอะไรของหนังได้เลย (ปกติมีแต่คนกลัวกันว่าคนดูไม่เข้าใจ แต่นี่กลัวว่าคนดูจะเข้าใจ!) ผมมาคิดดู การตัดต่อแบบนี้มันเหมือนความทรงจำของคนเรา ที่ไม่มีความต่อเนื่อง อยากคิดอะไรก็คิด อยากหวนระลึกถึงช่วงเวลาไหนก็คิดถึงเลย ไม่ได้จำเป็นต้องนึกย้อนนับไล่ลำดับเหตุการณ์แบบ 1-2-3 เวลาเราคิดถึงอดีตอาจจะเป็น 99-14-36 มั่วๆแบบนี้แหละ และบางครั้งขณะคิดย้อน เราก็จะพบความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ช่วงเวลา 10 อาจสัมพันธ์กับ 22 ประเด็นคือเราต้องจำเป็นต้องเข้า 1-2-3 … 99-100 เลยหรือเปล่า ผมคิดว่าไม่จำเป็นนะครับ ดังนั้นหนังเรื่องนี้ 1-3-5-7-11 เข้าใจแบบนี้ ไม่ต้องรู้ทั้งหมดก็เพียงพอแล้ว
เพลงประกอบโดย Eduard Artemyev คนเดียวกับที่ทำเพลงให้ Tarkovsky ตอน Solaris ในหนังเรื่องนี้บางฉากจะไม่มีเสียงเพลงเลย เป็นบทบรรยายล้วนๆ บ้างก็เป็นอ่านบทกลอน (ใครฟัง russia ออกก็เยี่ยมเลย) บางฉากมีแต่เสียง Sound Effect ส่วนเพลงจะใช้กับฉากเพื่อสร้างอารมณ์บางอย่างที่ไม่สามารถพูดได้ Tarkovsky ยึดหลักที่ว่า เพลงเป็น universal language แม้จะไม่เข้าใจเนื้อร้อง แต่คนดูส่วนใหญ่ก็สามารถเข้าใจความรู้สึก อารมณ์ของเพลงได้, ในหนังเรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่ามีเพลงที่แต่งขึ้นใหม่หรือเปล่า แต่ในเครดิตเห็นว่ามีเพลงอย่าง J.S. Bach: Das alte Jahr vergangen ist, BWV. 614 ตอนต้นเรื่อง และเพลง J.S. Bach: St John Passion, BWV 245 ในตอนจบที่ทรงพลังมากๆ ผมไม่เคยฟังทั้งสองเพลงมาก่อน แต่พอได้ยินในหนังบอกเลยว่าขนลุก โดยเฉพาะตอนจบที่พอเสียง Chorus ขึ้น มันแบบว่าสะท้านลึกไปถึงทรวง ความยาวเพลงนี้ในหนังไม่ถึง 5 นาทีนะครับ ไม่ต้องฟังจนจบก็ได้
เพลง St John Passion ของ Bach เพลงนี้ถูกเรียกว่า Passion Song หรือ Oratorio** คำแปล Chorus ท่อนแรกของเพลง
Lord, our ruler, Whose fame
In every land is glorious!
Show us, through Your passion,
That You, the true Son of God,
Through all time,
Even in the greatest humiliation,
Have become transfigured!
นี่น่าจะถือเป็นใจความตอนจบของหนังนะครับ เพราะฉากสุดท้าย เป็นภาพที่ให้เราเห็นสภาพของบ้าน ที่ถูกปล่อยทิ้ง รถร้างอยู่กลางป่า ตอนจบที่เด็กๆกำลังถูกจูงมืดเดินไปเรื่อยๆ ดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า ภาพี่ค่อยๆถอยเข้าไปในป่า ก้าวย่างสู่ความมืดก่อนจะเฟดภาพสู่เครดิตตอนจบ ผมไม่ขอตีความตอนจบแล้วกัน เพราะมันมองได้หลายอย่างมากๆ พูดถึงพระเจ้าผู้สร้างโลก, จักรวาล, ชีวิตที่ก้าวเดินต่อ, ความสัมพันธ์ของพ่อ-แม่-ลูก, จุดเริ่มต้น, จุดสิ้นสุด ฯ
**ออราทอริโอ (อิตาลี: Oratorio)เป็นบทเพลงที่ประกอบด้วยการร้องเดี่ยว หรือร้องกลุ่มของนักร้องระดับเสียงต่างๆ การร้องของวงขับร้องประสานเสียง โดยมีการบรรเลงของวงออร์เคสตราประกอบ ซึ่งบทร้องเป็นเรื่องราวขนาดยาวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ลักษณะของออราทอริโอนั้นมีความคล้ายกับโอเปร่า แต่ออราทอริโอนั้นไม่มีการแต่งตัวแบบละคร ไม่มีฉากหลัง และการแสดงประกอบ
โดยรวมผมไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้ ประเด็นคือดูไม่รู้เรื่อง หลังจากพยายามทำความเข้าใจมาสักพักใหญ่ ก็ไม่มีประเด็นอะไรให้ชอบสักอย่าง คงเพราะหนังมันไม่มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจนะครับ มีแต่เล่าเรื่องแบบผ่านๆ ใครใคร่สนใจเหตุการณ์อะไรเป็นพิเศษก็ยกสิ่งนั้นขึ้นมาเป็นประเด็นชอบ ผมมองหนังแค่ในภาพรวม เลยเห็นแต่เทคนิค ไม่เห็นเรื่องราวที่ดีพอให้ประทับใจ นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ก็จะพูดกันว่าไม่เข้าใจหนัง แต่ที่ยกย่องเพราะหนังสร้างมาให้มีความค้นหา ผมเชื่อว่าหนังเรื่องนี้ถ้าถูกสร้างโดยผู้กำกับไร้ชื่อ no-name สักแห่ง รับประกันว่าคงไม่มีใครสนใจแน่ๆ แต่เครดิตผู้กำกับ Andrei Tarkovsky เขาคือปรมาจารย์ที่ไม่ทำอะไรมั่วๆมาขายอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ถึงไม่เข้าใจก็ต้องชมไว้ก่อน เพราะมันอาจมีคนที่เข้าใจหนังได้จริงๆ ผมไม่ใช่นักวิจารณ์แบบนั้นนะครับ ประเมินความเข้าใจตัวเองต่อหนังเรื่องนี้ประมาณ 60% ไม่มีจุดไหนที่ทำให้ผมชอบเลย ไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ไม่ฝืนตัวเองให้ชอบหนังเรื่องนี้เด็ดขาด และผมไม่ได้มองหนังแค่ความเป็นศาสตร์แห่งศิลปะ แต่ประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต เอาว่าประวัติของ Tarkovsky และแนวคิดของเขาน่าสนใจ แต่วิธีการนำเสนอในหนังเรื่องนี้ มันมากเกินที่คนธรรมดาทั่วไปจะเข้าใจได้ และมันไม่มีอะไรที่ดูเป็นประโยชน์ต่อคนที่ไม่เข้าใจด้วย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาดูหนังเรื่องนี้ ถ้าคุณไม่ใช่คน “บ้า” หนังจริงๆนะครับ
กับหนังเรื่องอื่นๆ สิ่งที่ผมชอบในหนังของ Tarkovsky คือสื่อสัญลักษณ์ สิ่งเล็กๆน้อยๆที่แฝงอยู่ในหนัง ไม่มีอะไรในหนังของ Tarkovsky ที่ไม่มีความหมาย ทำไมต้องเคลื่อนกล้องแบบนี้, ทำไมสิ่งนี้ถึงเคลื่อนไหว, ทำไมถึงคุยกันเรื่องนี้ ฯ มีหลายอย่างใน The Mirror ที่ผมคิดได้ และหลายอย่างที่ผมไม่ได้คิดตาม (ขี้เกียจคิดเพราะเหนื่อย) หนังทิ้งเวลาให้เราคิด แต่สมาธิเราจะมากพอให้จดจ่อ หรือจะปล่อยตัวเองให้สัมผัสกับบรรยากาศอย่างเดียวโดยไม่คิดตามก็ได้ ผมขอยกตัวอย่าง เช่น เด็กชายเดินไปที่ประตู แต่เปิดไม่ออก เขาเดินกลับ ไม่นานนักประตูก็เปิดออก มีแม่นั่งอยู่ข้างใน ทำไมเด็กถึงเปิดประตูไม่ออก? ผมเปรียบประตูเหมือนจิตใจของคน เด็กชายยังไม่มีวัยวุฒิมากพอจะเข้าใจสิ่งที่อยู่ในใจแม่ของเขาได้ จึงไม่สามารถเข้าไปข้างในได้, ฉากปล่อยบอลลูน (คล้ายๆกับ Andrei Rublev) บอลลูน เปรียบได้ถึงความทรงจำที่ล่องลอย ไร้น้ำหนัก ไม่มีค่าให้จดจำ เดี๋ยวก็ลืม สะท้อนถึงสงครามได้ด้วย ว่าถึงตอนนั้นอาจจะเคยเป็นศัตรูกัน แต่สงครามจบก็ต้องทำเป็นลืมเสีย แล้วกลายเป็นพันธมิตรกัน, ฉากฆ่าไก่ ผมเปรียบไก่ที่ชอบขันตอนเช้า เป็นเหมือนเสียงหรือความคิดอะไรบางอย่างในใจมนุษย์ การฆ่าไก่คือเราต้องตัดใจทิ้งอะไรบางอย่าง หรือทำลายความคิด ความรู้สึกบางสิ่งบางอย่างนั้น ฯ เล็กๆน้อยๆพวกนี้แหละครับ คือวัตถุดิบสุดโปรดของผมในหนังของ Tarkovsky แม้จานหลังอาจจะเลิศหรูเกินไป ไม่ถูกรสสัมผัส แต่เครื่องเคียงใช้ได้ ก็พอไหวนะ
แล้วการดูหนังเรื่องนี้โดยไม่คิดอะไรจะทำให้เราเข้าใจหนังได้เหรอ … ถึงจะพูดว่าไม่คิดเลย ก็ไม่ใช่นะครับ จริงๆคือคิดแต่ไม่ต้องทำความเข้าใจทั้งหมดต่างหาก, หนังเรื่องนี้ถ้าไม่คิดก็จบกัน ดูยังไงก็ไม่รู้เรื่องหรอก วิธีคือ ขณะดูให้พิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ไม่ต้องคิดหาความสัมพันธ์ ปล่อยให้เรื่องราว, บรรยากาศ, ความรู้สึกซึมซับผ่านเข้ามาในกายดั่งลมหายใจเข้าออก มองให้เห็นสัมผัสของหนัง เห็นสัญลักษณ์ก็คิดตามว่าคืออะไร คิดได้ก็ดีคิดไม่ออกก็ปล่อยไป ไม่ต้องยึดติด ไม่ต้องกลับมาคิด อะไรผ่านไปแล้วผ่านไม่ต้องย้อนกลับมาดู รับรู้เรื่องราวไปจนจบเรื่อง นี่เป็นวิธีที่นักวิจารณ์แนะนำคนที่อยากดูหนังเรื่องนี้นะครับ ใครไม่ชอบความท้าทายแต่อยากลองดู ก็ลองใช้เทคนิคที่ว่านี้ดู (ได้ผลยังไงก็บอกด้วย)
นักวิจารณ์จัดอันดับ 19 ของนิตยสาร Sight & Sound Critic’s poll สูงสุดในบรรดาหนังของ Tarkovsky ทั้งหมด ถ้าคุณดูหนังเรื่องนี้ไม่เข้าใจก็อย่าฝืนนะครับ คนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าใจอยู่แล้ว เพิ่มไปอีกสักคนก็ไม่เห็นเป็นไร ค่อยๆสะสมประสบการณ์ให้มากพอ อีกสัก 10 ปีกลับมาดูใหม่ คุณอาจเห็นอะไรที่ต่างไปก็ได้ แต่ถ้าคุณเป็นคนส่วนน้อย ลองไปหา The Tree of Life (2011) หนังของ Terrence Malick มาดูได้เลยนะครับ (หนังถือว่ามีแนวทางคล้ายๆกัน) หรือหนังของ Béla Tarr อย่าง Sátántangó (1994) และ Werckmeister Harmonies (2000) ที่อาจทำให้คุณบรรลุกับหนังสไตล์นี้แน่นอน
ผมไม่แนะนำหนังเรื่องนี้ก็นักดูหนังทั่วๆไปนะครับ ต้องระดับแบบ Professional และ Veteran เท่านั้นที่มีโอกาสเอาตัวรอดกับหนังได้ แนะนำต้องเตรียมตัวมาอย่างดี ควรจะต้องเคยดูหนังของ Tarkovsky มาอย่างน้อย 2-3 เรื่อง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจสไตล์ของผู้กำกับ อ่านอัตชีวประวัติผู้กำกับมาด้วยอาจจะเข้าใจมากขึ้น จัดเรต PG-15 เด็กกว่านี้ดูไปคงไม่รู้เรื่อง
เรื่องนี้ควรให้ Legendary ผมว่าคุณควรกลับมาดูใหม่ถ้ามีประสบการณ์ดีกว่านี้