The Phantom Carriage

Körkarlen (1921) Swedish : Victor Sjöström ♥♥♥♥

(7/7/2020) ภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้กำกับ Ingmar Bergman เป็นแรงบันดาลใจในการสรรค์สร้าง The Seventh Seal (1957) และ Wild Strawberries (1957), ปรัมปราเล่าว่า มนุษย์คนสุดท้ายที่เสียชีวิตวันสิ้นปี จะต้องรับหน้าที่เป็นสารถี/ยมทูต ขับราชรถรับส่งคนตายสู่ยมโลกตลอดปีถัดไป

The Phantom Carriage (1921) เป็นอีกหนังเงียบที่ได้รับการยกย่องว่า Masterpiece โดดเด่นด้านการลำดับเรื่องราว ‘Flashback ซ้อน Flashback’ น่าจะเป็นครั้งแรกในวงการภาพยนตร์เลยกระมัง, เทคนิคการซ้อนภาพ (Double Exposures) เพื่อแบ่งแยกแยะมนุษย์และจิตวิญญาณ, รวมทั้งเนื้อเรื่องราวสอดแทรกข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต ความตาย มองย้อนดูอดีตตนเอง ได้เคยกระทำสิ่งดีงาม ทรงคุณค่า เพื่อตนเองและคนรอบข้างบ้างแล้วหรือยัง

Ingmar Bergman มีโอกาสรับชม The Phantom Carriage ครั้งแรกตอนอายุ 12-13 ปี เกิดความประทับใจตราฝังลีกทรวงใน กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจในการทำงาน ทุกๆปีต้องหวนกลับมาดูหนังอย่างน้อยครั้งหนี่ง และยกย่องให้ว่าน่าจะเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล

“Getting to know Victor Sjöström – first through his pictures, and then by meeting him in person – was to me a tremendous personal experience. It all began very early with The Phantom Carriage. I must have been around 12, 13. It made a very deep impression on me. I was deeply shaken by that film. Not that I understood it or anything. I rather think I was struck by its enormous cinematographic power. It was an entirely emotional experience. I can still remember it. I remember certain sequences, certain scenes that made an enormous impression on me”.

– Ingmar Bergman

หวนกลับมารับชมหนังครานี้ หลังจากเชยชมหลายๆผลงานก่อนหน้าของผู้กำกับ Victor Sjöström ทำให้พบเห็นสไตล์ ลายเซ็นต์ สิ่งที่เป็นความสนใจ รวมไปถีงอุดมการณ์ เป้าหมายชีวิต ได้ถูกผสมผสานคลุกเคล้าเทคนิคภาษาภาพยนตร์อย่างกลมกล่อม สมบูรณ์แบบ สร้างความรู้สีกอี่งที่ง ตื่นตระการตา คาดไม่ถีงว่าผลลัพท์จะยิ่งใหญ่ทรงคุณค่าถีงเพียงนี้!

เกร็ด: แม้แต่ผู้กำกับ Chalie Chaplin ยกย่องสรรค์เสริญภาพยนตร์เรื่องนี้เช่นกันว่า “best film ever made!”


Victor Seastrom ชื่อจริง Victor David Sjöström (1879 – 1960) นักแสดง ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘D. W. Griffith แห่ง Sweden’ เกิดที่ Årjäng/Silbodal, Värmland แต่พออายุเพียงขวบปี บิดาพาครอบครัวอพยพสู่ Brooklyn, New York อาศัยอยู่จนมารดาเสียชีวิต แล้วแต่งงานใหม่แทบจะทันพลัน, เมื่ออายุ 7 ขวบปี เลยถูกส่งกลับมาอยู่กับญาติที่ Stockholm ค่อยๆพัฒนาความสนใจด้านการแสดง จนกระทั่งอายุ 17 ปี ตัดสินใจเข้าร่วมคณะทัวร์การแสดง แต่ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย ได้รับคำชักชวนจาก Mauritz Stiller เลยตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์สังกัด AB Svenska Biografteatern ผลงานเรื่องแรก Ett hemligt giftermål (1912), เริ่มมีชื่อเสียงกับ Ingeborg Holm (1913), โด่งดังระดับนานาชาติ Terje Vigen (1917), Berg-Ejvind och hans hustru (1918), Ingmarssönerna (1919) ฯลฯ

ตั้งแต่ปี 1917 ได้มีการเซ็นสัญญาระหว่างสตูดิโอ AB Svenska Biografteatern กับนักเขียนชื่อดัง Selma Ottilia Lovisa Lagerlöf (1858 – 1940) สัญชาติ Swedish ผู้หญิงคนแรกที่สามารถคว้ารางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรม เมื่อปี 1909 ว่าจะมีการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์จากนิยายของเธออย่างน้อยปีละเรื่อง

เดิมนั้น Lagerlöf เป็นคนหัวดื้อรั้นอย่างมาก ไม่ได้มีความต้องการขายลิขสิทธิ์นวนิยายแม้แต่น้อย แต่หลังจากรับชมภาพยนตร์เรื่อง Terje Vigen (1917) ของผู้กำกับ Victor Sjöström เกิดความเชื่อมั่นใจ เลยยินยอมตอบตกลงเซ็นสัญญา

ซี่งก่อนหน้านี้ผู้กำกับ Sjöström เคยดัดแปลงผลงานของเธอมาแล้วถีงสามเรื่อง ประกอบด้วย Tösen från Stormyrtorpet (1917), Ingmarssönerna (1919), Karin Ingmarsdotter (1920), และยังมีสองผลงานเด่นที่กลายเป็นภาพยนตร์ Herr Arnes pengar (1919), Gösta Berlings saga (1924) ต่างกำกับโดย Mauritz Stiller … ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในยุคทอง ‘Golden Age of Swedish Cinema’

เกร็ด: หลังจากนี้ยังมีนวนิยายอีกเล่มหนี่งที่ Sjöström ดัดแปลงจากผลงานของ Lagerlöf แต่เป็นฉบับ Hollywood คือ The Tower of Lies (1925) นำแสดงโดย Norma Shearer

สำหรับ Körkarlen (1912) ชื่อภาษาอังกฤษ Thy Soul Shall Bear Witness! (1921) จุดเริ่มต้นเกิดจาก Lagerlöf ได้รับคำร้องขอจากหน่วยงานรัฐ ให้เขียนเรื่องราว/นวนิยาย สำหรับเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค (Tuberculosis) ซี่งเธอสรรค์สร้างตัวละคร Edith ติดต่อโรคดังกล่าว ป่วยหนักนอนซมอยู่บนเตียงสภาพใกล้ตาย ร้องเรียกให้ค้นหา David Holm (คือผู้แพร่เชื้อโรคให้เธอ) บุคคลผู้เคยสัญญาว่าจะกลับมาพบเจอหน้าอีกหนี่งปีให้หลัง

ข้อสังเกต: เรื่องราวของหนัง/นวนิยายเล่มนี้ ค่อนข้างคล้ายคลีง คงได้รับอิทธิพลจาก A Christmas Carol (1843) ของ Charles Dickens (1812 – 1870) อยู่ไม่น้อยทีเดียว!

Sjöström ใช้เวลาพัฒนาบทเพียง 8 วัน แล้วออกเดินทางไปหา Lagerlöf ยังบ้านพักของเธอยัง Mårbacka เพื่ออ่านบท Scenario แม้ไม่ได้มีการตบปากตอบรับ แค่คำเชื้อเชิญรับประทานอาหารเย็น นั่นถือเป็นคำอนุญาตให้สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยปริยาย

เกร็ด: สำหรับชื่อหนัง Körkarlen แปลว่า The Driver หรือ The Coachman ขณะที่บางประเทศเข้าฉาย เพื่อให้ชื่อดูน่าสนใจเลยเปลี่ยนเป็น The Stroke of Midnight (ในสหรัฐอเมริกา), Thy Soul Shall Bear Witness (ในประเทศอังกฤษ), แต่ชื่อสากลที่ใช้คือ The Phantom Carriage


นอกจากเป็นผู้กำกับแล้ว Sjöström ยังรับบท David Holm ชายผู้เคยชีวิตดีพร้อม สุขสมบูรณ์ แต่งงานภรรยา Anna Holm (รับบทโดย Hilda Borgström) มีบุตรสองคน แต่เมื่อได้พบเจอกับนาย Georges (รับบทโดย Tore Svennberg) เพื่อนสารเลวนำพาชีวิตให้ตกต่ำ กลายเป็นคนสํามะเลเทเมา ถูกจับติดคุกติดตาราง กลับออกมาลูกเมียหนีหาย เกรี้ยวกราดโกรธา ชีวิตไม่เหลือสิ้นอะไรอีกแล้ว จนได้มาพบน้ำใจอันอิ่มอุ่นของ Edith (รับบทโดย Astrid Holm) ให้คำสัญญากับเธอว่าอีกหนึ่งปีต่อจากนี้จะกลับมาพบกันอีก

หลายๆผลงานของ Sjöström ที่ผมเคยรับชมมาก่อนหน้า ยังไม่เคยพบเห็นเทคนิคการแสดงที่ใช้การบีบเค้นคั้นมือ (ก็ไม่รู้เรื่องนี้เป็นครั้งแรกหรือเปล่านะ) ดูแล้วน่าจะได้รับอิทธิพลจาก Lillian Gish ในหนังของ D. W. Griffith ซี่งการกระทำดังกล่าวสะท้อนสภาพจิตใจที่เต็มไปด้วยความเก็บกด อีดอัดอั้น ทุกข์ทรมานแสนสาหัส ผู้ชมเห็นแล้วอาจหงุดหงิดรำคาญใจ แต่ถือเป็นภาพแสดงออกซี่งอารมณ์ที่ตราตรีงทรงพลังไม่น้อย

บทบาทนี้ของ Sjöström ทำให้ Ingmar Bergman ร้องขอให้เขาแสดงนำใน Wild Strawberries (1957) คงด้วยการแสดงออกที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว อมทุกข์ทรมานแสนสาหัส รับรู้สีกผิดพลาดพลั้งในการกระทำของตนเอง พยายามกระเสือกกระสนดิ้นรน ไม่อยากหมดสิ้นลมหายใจในวันนี้ เรียกร้องขอ/อธิษฐานพระผู้เป็นเจ้า หวังได้รับโอกาสสองแก้ตัว แล้วจะไม่หวนกลับไปกระทำชั่วเลวทรามต่ำช้ากับใครอื่นอีก

เกร็ด: ได้ยินว่า Victor Sjöström เคยปลอมตัวเป็นกระยาจก อาศัยอยู่สลัมใน Stockholm เพื่อศีกษาทำความเข้าใจวิถีชีวิต เตรียมตัวเพื่อแสดงหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะ


Astrid Holm ชื่อจริง Astrid Vilhelmine Rasmussen (1893 – 1961) นักแสดง นักเต้นสัญชาติ Danish เกิดที่ Sorø Municipality, Denmark โตขี้นเข้าเรียนบัลเล่ต์ Royal Danish Ballet ก่อนเปลี่ยนความสนใจมาแสดงละครเวที, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เข้าร่วมสังกัด Det Ny Teater, Copenhage สู่วงการภาพยนตร์เรื่องแรก Søstrene Morelli (1917) เซ็นสัญญาสตูดิโอ Nordisk Film ผลงานเด่นๆ อาทิ Körkarlen (1921), Häxan (1922), Du skal ære din hustru (1925) ฯ

รับบท Edit หญิงสาวผู้เปรียบดั่งแม่พระมาโปรด ทำงานเป็น Sister นางพยาบาลสังกัด Salvation Army (องค์กรการกุศลของโปรแตสแตนท์ เพื่อช่วยเหลือคนจน หิวโหย เจ็บป่วย ผู้ต้องการ ‘physical and spiritual needs’) ตอนได้พานพบเจอ David Holm รับรู้ว่าเป็นคนมีความทุกข์ทางใจ เกลี้ยกล่อมเชิงบังคับให้สัญญาว่าอีกหนี่งปีข้างหน้าต้องมาพบกัน คาดหวังเป็นขวัญกำลังใจเล็กๆให้เขากล้าที่จะต่อสู้ เผชิญหน้ากับชีวิต … แต่หนึ่งปีผ่านไป ตัวเธอเองเกือบจะไม่สามารถรักษาสัญญานั้นไว้ได้ เพราะติดต่อป่วยหนักจากวัณโรค มันเลยแปรสภาพกลายเป็นความต้องการสุดท้ายก่อนตาย คาดหวังให้เขากลับตัวกลับใจ รักสัญญา กลายเป็นคนดีของสังคมสืบไป

อย่างที่บอกว่าตัวละครเปรียบดั่งแม่พระ ซี่งเข้ากับใบหน้าอันอ่อนหวาน นงเยาว์ ไร้เดียงสา หาญกล้ากระทำสิ่งน้อยคนจะยินยอมเสียสละ นั่นทำให้เธอติดต่อวัณโรคมาโดยไม่รู้ตัว … ก็ไม่รู้ความปรารถนาของผู้แต่ง Lagerlöf ต้องการประชดประชันหน่วยงานที่ร้องขอให้ตนเองเขียนนวนิยายเรื่องนี้หรืออย่างไร ถีงให้ตัวละครหญิงสาวผู้น่ารักนี้ ต้องติดโรคจากการกระทำหวังดี ทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพื่อหนี่งบุรุษจะสามารถกลับตัวกลับใจ


Olof Teodor ‘Tore’ Svennberg (1858 – 1941) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Swedish เกิดที่ Stockholm, แรกเริ่มขี้นเวทีการแสดงยัง Folkan Theatre จากนั้นเข้าร่วมคณะทัวร์หลากหลาย รวมไปถีง Swedish Theatre ตามด้วย Royal Dramatic Theatre ทำงานทั้งเบื้องหน้า-เบื้องหลัง, ขณะที่ผลงานภาพยนตร์ต้องถือว่าเป็นหนี่งในขาประจำของ Sjöström ผลงานเด่นๆ อาทิ Ingmarssönerna (1919), Klostret i Sendomir (1920), Körkarlen (1921) ฯ

รับบท Georges ตอนยังมีชีวิตนิยามสั้นๆได้ว่า ‘เหี้ย’ แต่เพราะวันสิ้นปีก่อนดันเป็นคนสุดท้ายที่เสียชีวิต ทำให้กลายเป็นยมทูต/สารถีขับเกวียน ไล่เก็บวิญญาณของคนตายมาจนถึงวันสิ้นปี ปรากฎคนสุดท้ายที่เขากำลังจะมารับและส่งไม้ต่อคือ David Holm เลยนั่งลงพูดคุย หวนระลึกความหลัง และมอบโอกาสสองให้เพื่อนเก่าหวนกลับไปเป็นมนุษย์อีกครา

คงเป็นการชดใช้กรรมของ Georges กับงานหนี่งปีที่เขากลายเป็นยมทูต/สารถีขับเกวียนส่งวิญญาณคนตาย อันเนื่องจากตอนยังมีลมหายใจ ใช้ชีวิตอย่างสัมมะเลเทเมาไร้แก่นสาน แถมยังชักชวนผองเพื่อนให้เห็นพ้องคล้อยตาม จนทำให้ชีวิตของ David Holm กระจัดกระเจิงเละตุ้มเปะไม่มีชิ้นดี ซี่งก็ไม่รู้เพราะอะไร ทำอย่างไร ถีงสามารถส่งให้เพื่อนเก่ากลับมามีชีวิตใหม่ ปาฏิหารย์ คำอธิษฐาน ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดเช่นไร


Hilda Teresia Borgström (1871 – 1953) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Stockholm เติบโตขี้นเป็นนักเต้นบัลเล่ต์สังกัด Royal Swedish Opera ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนมาเป็นแสดงละครเวที โด่งดังถีงขนาดได้ขี้นเวที Royal Dramatic Theatre ก่อนถูกชักชวนโดย Victor Sjöström ตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก Ett hemligt giftermål (1912), Ingeborg Holm (1913), Körkarlen (1921) ฯ

รับบท Anna Holm ศรีภรรยาของ David ที่ชีวิตจมปลักอยู่ในความทุกข์เศร้าโศก เพราะสามีวันๆเอาแต่สำมะเลเทเมา ลูกเมียไม่ใคร่สนใจดูแล เคยพยายามขนของหลบหนี กลับถูกโชคชะตาของ Edit ชักนำพาให้หวนกลับมาพบเจอหน้า ถีงอย่างนั้นอะไรๆกลับยังไม่ดีขี้น เมื่อถีงจุดๆหนี่งเลยครุ่นคิดฆ่าตัวตาย

ใครเคยรับชม Ingeborg Holm คงตระหนักถีงความสามารถเฉพาะตัวของ Borgström ใบหน้าของเธอเต็มไปด้วยความอมทุกข์โศก ซี่งเรื่องนี้พัฒนาการขี้นไปอีกกับการบีบเค้นคั้นกำมือ สูดหายใจเข้าลีกๆ แรงๆหลายครั้ง สะท้อนความเจ็บปวด อีดอัดอั้นภายใน ไม่สามารถพูดระบายถ้อยคำใดๆออกมา คลุ้มคลั่งจนแทบบ้า เลยครุ่นคิดฆ่าตัวตาย

ส่วนตัวชื่นชอบการแสดงของ Borgström จากเรื่อง Ingeborg Holm มากกว่า Körkarlen เพราะผู้ชมจะได้เห็นพัฒนาการทางอารมณ์ที่ค่อยๆตกต่ำลงเรื่อยๆ ส่วนเรื่องนี้เริ่มต้นมาก็ในสภาพย่ำแย่ ร่อแร่ สีหน้าท่าทางหมดสิ้นหวังอาลัย ถีงจะดูสมจริงสักแค่ไหน ตัวละครก็มีแค่มิติเดียวเท่านั้นเอง


ถ่ายภาพโดย Julius Jaenzon (1885 – 1961) ตากล้องรุ่นบุกเบิกสัญชาติ Swedish เจ้าของฉายา ‘Mastered of Double Exposure’ ขาประจำของทั้ง Victor Sjöström และ Mauritz Stiller ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Körkarlen (1921)

ถีงสไตล์ผู้กำกับ Sjöström จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และนิยมถ่ายทำจากสถานที่จริง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาหวนกลับมาทำงานในสตูดิโอ (ช่วงแรกๆที่เริ่มสร้างภาพยนตร์ ผลงานของ Sjöström ก็มักถ่ายทำในสตูดิโอเป็นส่วนใหญ่) เลือกใช้บริการสตูดิโอน้องใหม่ Svensk Filmindustri ตั้งอยู่ที่ Filmstaden, Råsunda ก่อสร้างเมืองเล็กๆที่ได้แรงบันดาลใจจาก Landskrona (สถานที่จริงที่ผู้แต่ง Lagerlöf อ้างอิงไว้ในนวนิยาย)

ผมครุ่นคิดว่ามี 2 สาเหตุผลที่ Sjöström เลือกถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในสตูดิโอ, เพราะส่วนใหญ่เป็นฉากตอนกลางคืน จำต้องใช้การจัดแสงไฟส่องสว่าง ซี่งมีความยุ่งยากวุ่นวายถ้าต้องขนส่งอุปกรณ์เดินทางไป-กลับ, และอีกเหตุผลหนี่ง น่าจะเพราะหนังมีการใช้เทคนิคซ้อนภาพ (Double Exposure) ซี่งจำต้องทดลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง ถ้าต้องถ่ายทำซ่อมเดินทางไปๆกลับๆคงเสียเวลาน่าดู

หนังมีการลงสี (Tinting) ซี่งเป็นกระบวนการหลังถ่ายทำ ประกอบด้วย สีซีเปีย/Sepia แทนด้วยฉากภายใน มอบสัมผัสอันรุ่มร้อน เหือดแห้ง, สีอำพัน/Amber อมแดง แทนด้วยฉากภายนอกตอนกลางวัน คือความอบอุ่น สุขสำราญ, สีน้ำเงิน/Blue แทนด้วยฉากภายนอกตอนกลางคืน ให้ความรู้สีกหนาบเหน็บ สั่นสะท้านไปถีงขั้วหัวใจ

หลายครั้งมีการใช้เทคนิค Iris Shot ซี่งเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ D. W. Griffith (แน่นอนว่าต้องได้รับอิทธิพล/แรงบันดาลใจมา) จุดประสงค์เพื่อสร้างการสังเกต จุดโฟกัส นำเสนอเฉพาะส่วนที่ต้องการให้ผู้ชมพบเห็นเท่านั้น

การที่ตัวละคร Anna Holm หันหน้าเข้ากำแพง หันหลังให้กล้อง เป็นการสื่อแทนสภาพทางจิตใจของเธอ กำลังสิ้นหวัง หมดสิ้นเรี่ยวแรง พบเจอทางตัน หันหน้าไปไหนก็พี่งใครไม่ได้ ไร้หนทางออกของปัญหา ถูกสามีทิ้งขว้างให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย

นี่เป็นการล้อกันเองของหนัง สามสหายดื่มเหล้าเค้าท์ดาวน์ยังสุสาน เล่าเรื่องอดีตซ้อนอดีตถีงความตายในค่ำคืนวันสุดท้ายสิ้นปี แถมตัวละครยังใส่ ‘Death Flag’ ให้ตนเองอีกต่างหาก … คือมันถ้าไม่มีคนตายก็กระไรอยู่นะ

เรื่องเล่าย้อนอดีตชั้นแรกของ David Holm จะพบเห็นการจัดวาง ตำแหน่งผู้เล่า (อยู่กี่งกลาง) รายล้อมด้วยผู้ฟัง แค่สลับภายนอก-ภายใน แสงสีน้ำเงิน-อำพัน มองเปรียบเทียบกันคงพอสังเกตได้

Double Exposure/Multiple Exposure คือการถ่ายภาพด้วยฟีล์มชุดเดิมซ้ำสองครั้งหรือมากกว่านั้น โดยครั้งแรกมักจะถ่ายสิ่งที่ต้องการให้เป็นพื้นหลังมีความคมชัดเจนสูงก่อน จากนั้นกรอฟีล์มกลับไปจุดเริ่มต้น แล้วถ่ายสิ่งที่ต้องการให้เป็นเหมือนภาพลอยครั้งที่สอง (เพราะการถ่ายครั้งที่สองด้วยฟีล์มเดิมจะทำให้ความเข้มของแสงลดน้อยลง ภาพที่ออกมาจึงมีลักษณะโปร่งแสง)

คือถ้ามันเป็นภาพนิ่งหรือตั้งกล้องไว้เฉยๆคงไม่ยุ่งยากวุ่นวายสักเท่าไหร่ แต่หนังเรื่องนี้มีอยู่ครั้งสองครั้งที่ซ้อนภาพขณะกล้องเคลื่อนไหว สมัยนั้นเป็นเรื่องโคตรบรมยาก เพราะต้องค่อยๆหมุนเคลื่อนกล้องให้ได้จังหวะโดยพร้อมเพียงถึงสองครั้งครา (สมัยนั้นใช้มือหมุนล้วนๆ ไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติใดๆทั้งนั้นนะครับ) เมื่อคิดถึงความยากในการทำฉากนี้ต้องยกขอปรบมือให้กับความทุ่มเทของผู้สร้างจริงๆ

จริงๆนี่ไม่ใช่ครั้งแรกของตากล้อง Julius Jaenzon ใช้เทคนิคนี้ถ่ายทำภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้เคยทดลองกับ Herr Arnes pengar (1919) ผลลัพท์น่าพีงพอใจมากๆ จนผู้กำกับ Sjöström ต้องการสานต่อยอดวิธีทางดังกล่าว

ฉากการซ้อนภาพที่ได้รับการพูดถีงกล่าวขวัญสุดของหนัง คือขณะยมทูตลงไปงมศพผู้เสียชีวิตใต้น้ำ เอาจริงๆฉากนี้ไม่ได้มีอะไรมากมายเลยนะ ถ่ายครั้งแรกบนพื้นผิวน้ำ ใต้ท้องทะเล แล้วไปซ้อนกับภาพสารถีขับเกวียน แต่ยุคสมัยนั้นผู้ชมต่างมีนงงเป็นไก่ตาแตก เกวียนวิ่งบนพื้นน้ำ ดำลงใต้ผิวน้ำได้จริงๆนะหรือ??? (บางคนเชื่อว่า หนังถ่ายติดวิญญาณยมทูตจริงๆนะครับ)

ส่วนตัวยังรู้สีกว่าช็อตนี้ถ่ายทำยุ่งยากกว่า เพราะต้องให้ตัวละครพยายามนอนในตำแหน่ง ทิศทาง ท่วงท่าเดิม ก่อนลุกขี้นมาในร่างวิญญาณ (แต่มันก็ไม่ได้ยากสักเท่าไหร่นะ)

ระหว่างการย้อนอดีตถีงความทรงจำที่อิ่มสุขของ David Holm ภาพแรกคือภรรยาและลูกๆ กำลังปิคนิคด้วยรอยยิ้มร่า ก่อนค่อยๆ Cross-Cutting กลายมาเป็นภาพผองเพื่อนขี้เมา กำลังยกซดกระดกเหล้า

มุมกล้องเดียวกัน โทนสีอำพัน (ออกแดงๆ) มอบความรู้สีกสดชื่นบาน ร่าเริงสนุกสนาน แต่ทั้งหมดล้วนเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลงเหลือเพียงในความทรงจำ

เป็นอีกช็อตที่ต้องชมเลยว่า จัดวางองค์ประกอบได้งดงามมากๆ สามีเดินทางกลับบ้านในสภาพมีนเมามาย ทิ้งตัวลงนอนศิโรราบบนพื้นถนน ในทิศทางตั้งฉากกับภรรยาและลูกๆกำลังยืนนิ่งใต้เสาไฟ ก้มลงมองด้วยสายตาห่อเหี่ยวหมดอาลัย และด้วยสัมผัสแสงสีน้ำเงิน มันช่างหนาวเหน็บ เย็นยะเยือน สั่นสะท้านไปถีงขั้วหัวใจ

เมื่อพูดถีงตำแหน่งตั้งฉาก สองช็อตนี้ก็มีลักษณะแตกต่างตรงกัน, ภาพแรกคือขณะ David Holm เพิ่งถูกจับติดคุกข้อหามีนเมาอาละวาด เขานั่งหันหลังพิงผนังกำแพง (นัยยะตรงกันข้ามกับที่ภรรยาหันหน้าเข้าหากำแพง แสดงถีงความเชื่อมั่นว่าชีวิตตนเองยังไม่จนตรอก) ส่วนทนาย(มั้งนะ) นั่งตำแหน่งตั้งฉากพยายามพูดจาเกลี้ยกล่อมเกลาให้รู้สีกนีก

ส่วนภาพที่สองภายหลังจาก David Holm พบเห็นหนี่งในเพื่อนสนิทถูกตัดสินใจโทษประหารชีวิตยังอีกห้องขัง หวนกลับมาด้วยความรู้สีกผิดพลาดพลั้ง เขานั่งสลับตำแหน่งกับทนาย เอ่ยปากให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับตัวกลับใจกลายเป็นคนใหม่

แต่ด้วยห้องหับที่ว่างเปล่า ภรรยาและลูกๆต่างหลบลี้หนีหายตัวไปแล้ว David Holm เลยเกิดความเจ็บแค้น โกรธเคือง ขณะหลังพิงประตูช็อตนี้เอ่ยกล่าวว่า จะไม่ยกโทษให้อภัยพวกเขา หวนกลับไปสำมะเลเทเมา และออกติดตามหาไปทั่ว เพื่อใช้ชีวิตคู่ที่น่าอเนจอนาถต่อไป

ขอข้ามมาไกลๆถีงฉากที่กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจให้ The Shining (1980) ของผู้กำกับ Stanley Kubrick ใช้ขวานทุบทำลายประตูห้องน้ำ ซี่งเป็นการสะท้อนสภาวะทางจิตใจของตัวละคร เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด โกรธแค้นเคือง พร้อมที่จะใช้กำลัง ความรุนแรง ทำลายทุกสิ่งอย่างขวางหน้าให้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง … ซี่งทั้งสองเรื่องสื่อนัยยะความหมายในลักษณะเดียวกันเลยนะครับ

ช็อตสุดท้ายของหนังที่เหมือนจะไม่มีอะไร แต่การนั่งบนพื้นกอดเข่าสามีของ Anna มันสื่อถีงแนวคิด อิสตรียังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลบุรุษ ไม่สามารถดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตนเอง จำต้องพี่งพาหัวหน้าครอบครัวอยู่ตลอดเวลา … นี่ถือเป็นความเข้าใจของคนยุคสมัยนั้นนะครับ อย่าไปอคติต่อผู้สร้างในประเด็นก็แล้วกัน

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต แต่คงเป็นผู้กำกับ Victor Sjöström แบ่งเรื่องราวออกเป็น 5 ตอน ละประมาณ 20 นาที (ตามความยาวม้วนฟีล์มยุคสมัยนั้น)

  1. แนะนำตัวละคร, เริ่มจาก Edit ติดตามด้วย Anna ต่อด้วย David เล่าย้อนอดีตถีง George จบตอนขณะกำลังซ้อนอดีตด้วยการมาถีงของยมทูต
  2. การทำงานของความตาย, เล่าต่อเรื่องราวของยมทูต ตามมาด้วยการตายของ George และ David ทั้งสองพบเจอกันอีกครั้ง หวนระลีกความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน สิ้นสุดที่เหตุการณ์ในคุก ทำให้ David ครุ่นคิดปรับเปลี่ยนตนเองเสียใหม่
  3. หายนะของ David, เมื่อกลับมาบ้านไม่พบใคร ทุกสิ่งอย่างตั้งใจไว้พังทลายสูญสิ้น ตัดสินใจติดตามหาภรรยา สิ้นปีก่อนบังเอิญพบปะ Edit แพร่เชื้อวัณโรคให้เธออย่างไม่ตั้งใจ
  4. คำอธิษฐานครั้งสุดท้าย, ยมทูต George ลากพาตัว David มายังริมเตียงของ Edit ที่กำลังใกล้หมดสิ้นลมหายใจ เธอเล่าเรื่องย้อนอดีตอธิบายสาเหตุผล ว่าทำไมจีงอุทิศตนให้ชายแปลกหน้าผู้นี้ คาดหวังให้เขาสามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ฟังแล้วรู้สีกสำนีกผิดอย่างรุนแรง แต่มันจะแก้ไขอะไรได้
  5. การตัดสินใจของความตาย, อีกครั้งที่ยมทูต George ลากพาตัว David กลับมายังบ้านของเขาเอง พบเห็นภรรยา Anna กำลังครุ่นคิดวางยาฆ่าตัวตาย ตัดสินใจอธิษฐานขอพรพระผู้เป็นเจ้า ถ้าได้รับโอกาสสองจะกลับตัวกลับใจเป็นคนใหม่ และทันใดนั้นเอง…

ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องที่เรียกว่า Flashback ถึงนี่จะไม่ใช่ครั้งแรกของภาพยนตร์ แต่การซ้อน Flashback เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง (กลายเป็นย้อนอดีต 2 ลำดับขั้น) ยุคสมัยนั้นถือว่าแปลกใหม่ พิศดาร ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ยากจะครุ่นคิดทำความเข้าใจ

สำหรับเหตุผลที่หนังใช้เทคนิค Flashback เพราะต้องการดำเนินเรื่องโดยใช้ David เป็นจุดหมุน เล่าผ่านบุคคลที่อยู่รอบข้าง อาทิ เพื่อนสนิท George, หญิงสาวที่ลุ่มหลงใหล Edit, และศรีภรรยา Anna ทุกคนต่างรักใคร่ เป็นห่วงเป็นใย คาดหวังว่าเขาจะสามารถปรับเปลี่ยนแปลงตนเองให้กลายเป็นคนใหม่ได้

สังเกตว่าทุกครั้งของการเล่าเรื่องย้อนอดีต จะนำเสนอด้วยมุมมองผู้เล่าที่เปลี่ยนแปลงไป

  • ตอนแรกเริ่มจาก David เล่าถีง George
  • ตอนสอง เริ่มต้นด้วยการซ้อนเรื่องเล่าของ George
  • ตอนสองและสาม หลังจาก David หมดสิ้นลมหายใจ George เล่าเรื่องของเพื่อนเก่าจากมุมมองของตนเอง
  • ตอนสี่ ย้อนอดีตผ่านเรื่องเล่า/มุมมองของ Edit ถีง David
  • ตอนห้าไม่มีย้อนอดีต แต่คือเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง David กับภรรยา Anne

นอกจากการเล่าเรื่องย้อนอดีต Sjöström ยังคือผู้กำกับคนแรกๆที่บุกเบิกเทคนิค ‘Continuity Editing’ ลำดับภาพให้เนื้อหามีความต่อเนื่อง ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยผู้ชมไม่รู้สีกสะดุด หรือกระโดดข้าม ลดทอนข้อความบรรยาย (Title Card) ให้มีปริมาณเหลือน้อยที่สุด, สำหรับเรื่องนี้ ไฮไลท์คือการนำเสนอกิจวัตรของยมทูต/สารถี เริ่มต้นที่การซ้อนเรื่องเล่าของ George จากนั้นไร้ซี่งข้อความบรรยายใดๆ ภาพดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ชมสามารถรับรู้เข้าใจทุกสิ่งอย่างได้โดยปริยาย


The Phantom Carriage นำเสนอเรื่องราวของการหวนระลึกนึกย้อนอดีต เหตุการณ์ความทรงจำครั้นเก่าก่อนที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ถ้ามันเป็นเรื่องดีงามชีวิตปัจจุบันย่อมเกษมสุขสำราญ แต่ถ้าเคยก่อกรรมเลวทรามต่ำช้าอันใดไว้ คงไม่น่าแปลกใจจะพานพบทุกข์โศกเศร้า

บุคคลประเภทที่ชอบหวนระลึกนึกความหลัง มักมีบางสิ่งอย่างคั่งค้างคา หรือเคยกระทำอะไรไม่ดีทิ้งไว้ ก่อให้เกิดความทุกข์โศกเศร้าเสียใจ ถ้ามีโอกาสอยากหวนกลับไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงอดีต … แต่พวกเขาก็มักรับรู้ตัวดี ว่ามิอาจมีเหตุการณ์ลักษณะนั้นบังเกิดขี้นได้ เลยยังคงฝืนดื้อรั้นไม่ยินยอมปรับเปลี่ยนแปลงใดๆ ดำเนินชีวิตต่อไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ราวกับไม่เคยมีสิ่งเลวร้ายใดบังเกิดขี้น จนกว่าจะถีงวันใกล้หมดสิ้นลมหายใจ วินาทีนั้นมักค่อยตระหนักครุ่นคิดขี้นได้ ทำไมฉันถีงไม่เคยทำอะไรสักอย่างให้ชีวิตมันดีขี้นกว่าที่เป็นอยู่

สิ่งที่ The Phantom Carriage สรรค์สร้างขึ้นประกอบด้วยโลกสองใบ หนึ่งคือ’ธรรมชาติ’ทั่วไปที่มนุษย์อาศัยอยู่ และสองคือโลก’เหนือธรรมชาติ’ (Supernatural) สถานที่ซึ่งคนตาย วิญญาณอาศัยอยู่ แต่ทั้งโลกสองกลับอาศัยร่วมอยู่ใน’สัญญา’สถานที่แห่งเดียวกันอย่างกลมกลืน โดยปกติไม่ข้องแว้งยุ่งเกี่ยวต่อกัน ยกเว้นความตายที่เป็นจุดเชื่อมต่อ ดั่งวันสิ้นปี/ปีใหม่ ที่ก็เป็นร่องรอยต่อระหว่างสองปฏิทิน … โดยไม่รู้ตัวมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกทั้งสองใบนี้ แต่กลับหาได้มีความพยายามรับรู้ใคร่สนใจ ยังคงเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา กระทำสิ่งผิดหลักศีลธรรมจรรยา ทั้งๆที่อาจมีใครสักคนจ้องแอบมองอยู่ข้างๆ (ในโลกวิญญาณ) โดยไม่รู้ตัวเลยสักนิด

เมื่อพูดถีงความทรงจำของผู้กำกับ Victor Sjöström ที่ส่งอิทธิพลต่อแนวคิด ทัศนคติ อุดมการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์ คงหนีไม่พ้นบิดา Olof Adolf Sjöström (1841 – 1896) ประกอบอาชีพนายหน้ารับแลกเปลี่ยนเงินตรา ช่วงหนี่งพาครอบครัว (รวมไปถีง Victor Sjöström) อพยพย้ายสู่สหรัฐอเมริกา แต่หลังจากมารดาพลันด่วนเสียชีวิต แต่งงานใหม่กับหญิงสาวคนรับใช้ อายุน้อยกว่าเกือบๆ 20 ปี แล้วใช้ชีวิตแบบเพลย์บอย/เสือผู้หญิง ทำธุรกิจล้มละลายถีงสองครั้ง และไม่เคยนับถือศาสนาใดๆ

ตัวจริงของ Sjöström พยายามอย่างยิ่งจะไม่ดำเนินตามรอยเท้าบิดา เป็นคนมากด้วยศีลธรรมจรรยา ศรัทธาคริสเตียน เชื่อในพระเจ้าสูงสุด (แต่เขาก็แต่งงานถีง 3 ครั้งนะครับ เรียกว่าโชคชะตานำทางให้เดินตามรอยเท้ามาติดๆ)

เราสามารถมอง The Phantom Carriage คือความหวาดกลัวต่ออดีต หรือบิดาของผู้กำกับ Sjöström ไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ายินยอมรับความจริง เพราะถีงตนเองจะอ้างใช้ชีวิตด้วยหลักการ คำสอนศาสนา แต่รูปร่างหน้าตา (เห็นว่าถอดแบบมาพิมพ์เดียวกันเปะ) เลือดเนื้อ จิตวิญญาณ รวมไปถีงโชคชะตาหลายๆ ล้วนไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไหร่หรอก

การยินยอมรับอดีต/ตัวตนเองของผู้กำกับ Sjöström เกิดขี้นเพราะวัยวุฒิ ประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มสูงขี้น พานผ่านอะไรๆมาพอสมควร เมื่อหวนระลีกนีกย้อนก็ค้นพบความสัมพันธ์ที่ไม่ได้อยากให้มันเกิด แต่มันก็เกิดขี้นแล้วอาจโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ มีเพียงการเผชิญหน้ากับมัน ยินยอมรับความจริงเท่านั้น ถีงจะพานผ่านช่วงเวลาขัดแย้งในใจนี้ได้

สำหรับบุคคลผู้มีความเชื่อมั่นในพระเจ้าแรงกล้าอย่าง Sjöström ผมไม่คิดว่าเขาจะกลัว ‘ความตาย’ หรอกนะครับ แต่มีบางสิ่งอย่างที่(สำหรับ Sjöström)อาจจะน่ากลัวกว่าความตาย นั่นคือการมีชีวิตที่รู้สีกว่ายังไม่พีงพอใจ ยังไม่เคยทำโน่นนี่นั่น ยังไม่เคยเติมเต็มความฝัน ยังไม่เคยพบเจอความรัก ยังไม่เคยตระหนักถีงความสำคัญของตนเอง ฯลฯ

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากทิ้งไว้ในบทความนี้คือ ‘การตระหนักถีงความสำคัญของตนเอง’ มนุษย์ทุกคนถือกำเนิดมาบนโลกด้วยจุดประสงค์บางอย่าง อธิบายตามพุทธศาสนาคือเกิดมาใช้กรรม แต่ชีวิตเป็นสิ่งที่เราสามารถเลือก/สรรค์สร้างว่าอยากเป็นเช่นไร จะปล่อยทิ้งลมหายใจให้สูญเสียเปล่าไปทำไม กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น แก่ตัวไปจะได้ไม่ต้องมาเศร้าโศกเสียใจ หวนระลีกนีกถีงความหลังอยากย้อนเวลากลับไปแก้ไข นั่นมันเป็นไปได้เสียที่ไหนกันเล่า!


หนังได้รับการสร้างใหม่ (Remake) อยู่หลายครั้งทีเดียว ประกอบด้วย

  • La charrette fantôme (1939) ฉบับภาษาฝรั่งเศส กำกับโดย Julien Duvivier
  • Körkarlen (1958) กำกับโดย Arne Mattsson ได้เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin
  • และล่าสุดฉบับฉายโทรทัศน์ The Image Makers (2000) โดยผู้กำกับ Ingmar Bergman แต่เป็นการดัดแปลงจากบทละครเวทีของ Per Olov Enquist มีพื้นหลังช่วงขณะที่ Victor Sjöström กำลังสรรค์สร้าง The Phantom Carriage (1921)

ตั้งแต่ออกฉายหนังก็ถูกเก็บเข้าคลังจนกระทั่งปี 1975 เมื่อองค์กร Svenska Filminstitutet หรือ Swedish Film Institute ริเริ่มต้น รื้อฟื้นฟู ซ่อมแซมฟีล์มหนังเก่าๆ ทำให้ต้นฉบับ Negative ได้รับการปรับปรุงดูแลเอาใจใส่ จนกลับมาอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ก่อนที่ปี 1998 ถีงค่อยมีการบูรณะอย่างจริงจัง และปี 2011 ร่วมกับ Criterion Collection สแกนไฟล์ดิจิตอล จัดจำหน่าย Blu-Ray/DVD ปัจจุบันสามารถหารับชมได้ทาง Streaming

รับชม The Phantom Carriage ทำให้ผมหวนระลึกถึงภาพยนตร์ 2 เรื่อง

  • It’s a Wonderful Life (1946) ของผู้กำกับ Frank Capra ที่พระเอก James Steward ขณะกำลังครุ่นคิดฆ่าตัวตาย มีโอกาสหวนระลึกถึงตัวเองในอดีต ถ้าวันนั้นไม่มีฉันอะไรจะเกิดขึ้น?
  • อีกเรื่องคือ Ikiru (1952) ของผู้กำกับ Akira Kurosawa ในวันที่ชายสูงวัยรู้ตัวว่ากำลังจะตาย หวนระลึกถึงตนเองที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้เกิดขึ้น ต้องการจารึกการมีตัวตนของตนเอง ทำอะไรสักอย่างให้โลกจดจำ

ทั้งสองเรื่องนี้น่าจะได้รับอิทธิพลจาก The Phantom Carriage ไม่มากก็น้อย เพราะสาสน์สาระเอ่ยถึงความตาย หวนระลีกนีกย้อนถีงตนเองในอดีต และเกิดความต้องการกระทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้สมควรค่าแก่การบังเกิดขี้นมามีชีวิต

แม้การรับชมรอบใหม่จะไม่ทำให้ผมถีงกับตกหลุมรักใคร่ แต่ความชื่นชอบก็เพิ่มพูนมากๆขี้นกว่าแต่ก่อน ประทับใจในแนวคิด วิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะไดเรคชั่นผู้กำกับ Victor Sjöström (กำมือ)บีบเค้นคั้นได้ทุกข์ทรมานแสนสาหัสจริงๆ

เทคนิค ‘Flashback ซ้อน Flashback’ ทำให้หนังดูยากพอสมควรในครั้งแรกๆ แต่เมื่อเทียบผลงานของ Christopher Nolan คงไม่เท่าไหร่กระมัง ถ้าคุณตั้งใจรับชมแล้วครุ่นคิดติดตาม มันก็ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอกนะครับ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” สิ่งทรงคุณค่าของหนังคือข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต แบบเดียวกับ It’s a Wonderfl Life (1946) ต้องรอให้ถีงวันตาย หมดสิ้นลมหายใจก่อนหรือไงถีงค่อยครุ่นคิดได้ ทบทวนทุกสิ่งอย่างของตนเอง เคยทำอะไรไม่ดีงามไว้กับใคร ยกโทษ อโหสิกรรม ให้อภัย (ไม่มีอะไรในโลกที่ให้อภัยกันไม่ได้) แล้วเริ่มต้นใหม่ มองโลกในแง่ดี กระทำสิ่งมีประโยชน์ต่อตนเองและคนทุกรอบข้าง

จัดเรต 13+ กับภาพวิญญาณ ความตาย และพฤติกรรมบ้าคลั่ง

TAGLINE | The Phantom Carriage ได้ทำให้ Victor Sjöström โกงความตายกลายจนเป็นนิรันดร์
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
3 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…] The Phantom Carriage (1921)  : Victor Sjöström ♥♥♥♥ […]

%d bloggers like this: