The Shape of Water

The Shape of Water (2017) hollywood : Guillermo del Toro ♥♥♥♥

มีฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ถ้าคุณรับได้ มันจะเปลี่ยนแปลงมุมมอง โลกทัศนคติ ต่อความรักและจักรวาลสัตว์ประหลาดไปโดยสิ้นเชิง คู่ควรกับคำว่า Masterpiece, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ตอนที่ผมดูหนังจบออกจากโรง ค่อนข้างหงุดหงิดหัวเสียเล็กๆ พบเจอสองปัญหาใหญ่ๆคือ ตัวร้ายมันโฉดชั่วแรงเว่อเกิ้น และการตัดต่อช่วงท้ายไม่รู้จะรีบเร่งไปไหน สูญเสียเหตุผลรองรับหลายๆอย่างแบบไม่น่าให้อภัย ครุ่นคิดหัวแทบแตกก็ไม่เข้าใจทำไมถึงคว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice และนักวิจารณ์หลายสำนักยกย่องว่าคือ Masterpiece

แต่ตอนที่ทำให้ผมเข้าใจหนังเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ คือหลังจากได้รับชมภาพยนตร์เรื่อง Creature from the Black Lagoon (1954) ที่เป็นจุดเริ่มต้นกำเนิดแรงบันดาลใจของ The Shape of Water ให้ตายเถอะ! บอกเลยว่าโดยไม่รู้ตัว ผมเชียร์ให้สัตว์ประหลาดได้ครองรักกับนางเอก

Beauty and the Beast, King Kong หรือมนุษย์กับเอเลี่ยนอย่าง Superman, Starman, Star Trek, Avatar ฯ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ ‘มนุษย์’ จะยินยอมรับสัมพันธภาพรักระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีย์/สายพันธุ์ ไม่ต้องมองไกล Homosexual, คนผิวขาว-ผิวสี, กษัตริย์-จัณฑาล ฯ พวกเราถูกบริบททางสังคมครอบงำ ด้วยความเย่อหยิ่งทะนงในเกียรติ ศักดิ์ศรี สถานะภาพของตนเอง ปฏิเสธความเสมอภาคเท่าเทียมมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เพราะการมาถึงของยุคสมัยแห่งเสรีภาพทางความคิด โลกเปิดกว้างขึ้นในหลายๆเรื่อง ชาย-ชาย หญิง-หญิง ร่วมรักแต่งงานได้โดยไม่ถูกกีดกันผิดกฎหมาย ค่านิยมเริ่มเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจสามารถเหมารวมถึงความรักที่ผิดแผกแปลกพิศดารอื่นๆ อาทิ มนุษย์-สัตว์, หุ่นยนต์, ปัญญาประดิษฐ์, ตัวละครสอง-สามมิติ ฯ

The Shape of Water อาจไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำเสนอความรักต่างสายพันธุ์ แต่น่าจะคือเรื่องแรกๆที่ทำให้ผู้ชมเกิดทัศนคติยินยอมรับได้ ไม่ได้แปลว่าเป็นความวิปริต แต่คือเสรีภาพในการแสดงความรู้สึกและแสดงออก นี่คือทศวรรษ’ยุคทอง’แห่งความรักไร้พรมแดนจริงๆ

Guillermo del Toro Gómez (เกิดปี 1964) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Mexican เกิดที่ Guadalajara, Jalisco, ในครอบครัว Catholic ที่เคร่งครัด ตั้งแต่เด็กชื่นชอบหยิบกล้อง Super 8 ของพ่อ สร้างหนังสั้นเป็นสิบเรื่องๆมักเกี่ยวกับสัตว์ประหลาด โตขึ้นเข้าเรียน Universidad de Guadalajara Centro de Investigación y Estudios Cinematográficos จบออกมาทำงานเป็นนัก Special Make-Up Effect อยู่สิบปี ได้อาจารย์ระดับตำนาน Dick Smith (เจ้าของฉายา The Godfather of Make-Up)

เกร็ด: Dick Smith หรือ Richard Emerson Smith (1922 – 2014) นัก Special Make-Up Effect ผู้เป็นตำนานกับผลงาน The Godfather Trilogy, The Exorcist (1973), Taxi Driver (1976), คว้า Oscar: Best Makeup เรื่อง Amadeus (1984) และได้ Honorary Award อีกครั้งเมื่อปี 2012

สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Cronos (1993) แม้ขาดทุนย่อยยับ แต่ได้กระแส Cult ตามมา และไปเข้าตาสตูดิโอ Miramax ให้ทุนสร้างถึง $30 ล้านเหรียญ กับผลงานเรื่องถัดไป Mimic (1997) แต่ก็ยังคงขาดทุนย่อยยับอีก แล้วได้กระแส Cult ตามมา ทำให้มีอีกสองภาคต่อ (แต่ del Toro ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไร) ดิ้นรนไปประเทศสเปนสร้าง The Devil’s Backbone (2001) ได้เพื่อนสนิท Pedro Almodóvar จัดหาทุนให้ เสียงตอบรับดีล้นหลามทำเงินได้นิดหน่อย, ตามด้วย Blade II (2002), Hellboy (2004) และกลายเป็นตำนานกับ Pan’s Labyrinth (2006)

ผลงานของ del Toro ค่อนข้างจะเฉพาะกลุ่มความสนใจ Dark Fantasy, Monster, Horror เคยได้รับโอกาสสร้างไตรภาค The Hobbit แต่เพราะโปรดักชั่นที่ล่าช้าและอยู่ไกลบ้านจึงขอถอนตัว เปิดแฟนไชร์ Pacific Rim แต่ทุนสูงเว่อกำไรน้อยนิด เขียนบทภาคต่อไว้แต่ถูกผลักดันให้ผู้อื่นกำกับแทน ชีวิตจริงค่อนข้างมืดหม่นดั่งผลงานของตนเอง

เกร็ด: del Toro เคยให้สัมภาษณ์ถึงสัตว์ประหลาดในภาพยนตร์ที่ชื่นชอบประกอบด้วย Frankenstein, Alien, Gill Man, Godzilla และ The Thing

สำหรับ The Shape of Water เป็นความสนใจตั้งแต่ del Toro อายุได้ 6 ขวบ เมื่อมีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่อง Creature from the Black Lagoon (1954)

“The creature was the most beautiful design I’d ever seen,” he recalls. “And I saw him swimming under [actress] Julie Adams, and I loved that the creature was in love with her, and I felt an almost existential desire for them to end up together. Of course, it didn’t happen.”

ด้วยความผิดหวังที่สัตว์ประหลาดไม่ได้ครองรักกับหญิงสาว ทำให้เขามีความต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง จนเมื่อได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ พยายามอย่างยิ่งจะนำเสนอแนวคิดมุมมองใหม่ของ Black Lagoon ในวิสัยทัศน์ของตนเองให้กับสตูดิโอ แต่กลับไม่เคยได้รับความสนใจ

“When I was in my 30s, I went to Universal and I said, ‘Can we do the movie from the point of view of the creature?’ They didn’t go for it. I said, ‘I think they should end up together.’ They didn’t go for that, either.”

จนกระทั้งเมื่อปี 2011 ได้มีโอกาสรับประทานอาหารเช้ากับนักเขียน Daniel Kraus สอบถามถึงงานที่เขากำลังทำอยู่ได้ตอบว่า มีแนวคิดเกี่ยวกับภารโรงในหน่วยงานลับของรัฐบาล ได้พบเจอสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง แล้วแอบลักพานำกลับบ้าน

“I thought, ‘That’s the road! I said, ‘Can I buy that idea from you? Can I literally buy that paragraph?’ And I made a deal to buy the idea and started working on the screenplay.”

หลังจากซื้อแนวคิดนี้มา ติดต่อ Vanessa Taylor (โปรดิวเซอร์ Game of Thrones ซีซัน 2-3 ล่าสุดดัดแปลง Aladdin ฉบับ Live-Action) เห็นว่าทั้งสองพบเจอกันแค่ 3 ครั้งในหกเดือน เรียกว่าแทบจะโยนงานนำบทที่ร่างที่เตรียมไว้ให้เธอเลย ปล่อยอิสระอย่างเต็มที่ ซึ่ง del Toro ก็ไม่มีข้อคับข้องขัดแย้งใดๆ เพราะวิสัยทัศน์ของพวกเขาตรงกัน

“I love the fact that his thing was ‘Beauty and the Beast,’ but not transformation. He’s right that that piece of ‘Beauty and the Beast’ is so corrosive and yucky.”

– Vanessa Taylor

เหตุผลที่เรื่องราวมีพื้นหลังในทศวรรษ 60s เพราะนั่นเป็นทศวรรษที่เต็มไปด้วยปัญหา สงครามเย็น, สงครามเวียดนาม ฯ เรื่องราวเทพนิยาย (Fairy Tale) จากช่วงเวลานั้น มันคงไม่เลิศหรูสวยงามแน่ๆ

“If I say once upon a time in 1962, it becomes a fairy tale for troubled times. People can lower their guard a little bit more and listen to the story and listen to the characters and talk about the issues, rather than the circumstances of the issues.”

ระหว่างรอบทเสร็จ del Toro ควักทุนส่วนตัวกว่า $200,000 เหรียญ เพื่อพัฒนาภาพร่างของสัตว์ประหลาดไปด้วย (จะได้ไปนำเสนอสตูดิโอ แล้วพวกเขาเห็นภาพตอบอนุมัติง่ายขึ้น)

“It’s not the creature [from Black Lagoon]. I don’t think that creature is designed in a way that he can be a romantic lead. It’s beautiful, but it’s not a romantic lead.”

ว่าจ้าง Mark Hill ที่เคยแกะสลักรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของ Frankenstein สะสมเป็นคอลเลคชั่นส่วนตัวของ del Toro ด้วยคำขอสั้นๆง่ายๆ

“I need you to give it a soul.”

ซึ่งสิ่งแรกที่ Hill เริ่มพัฒนาก่อนเลยนั่นคือส่วนปาก

“The [design] before that had a fish mouth. And who’d want to kiss that?”

หลังจากบทภาพยนตร์เสร็จสิ้น ภาพร่างสัตว์ประหลาดเป็นรูปเป็นร่าง จึงเริ่มหาสตูดิโอสนับสนุนทุนสร้าง ไปยัง Fox Searchlight เป็นที่แรก และได้รับการอนุมัติตอบตกลงโดยทันที

“I walked them through it. I read them [parts of it] and showed all the drawings and the models. And what gave me courage [was that] at the end of the pitch, everybody was crying. I thought, ‘Oh, I have something.'”

Elisa Esposito (รับบทโดย Sally Hawkins) พูดไม่ได้เพราะบาดเจ็บที่กล่องเสียง อาศัยอยู่คนเดียวอย่างโดดเดี่ยวในอพาร์ทเม้นท์เหนือโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง ทำงานเป็นภารโรงในห้องปฏิบัติการลับของรัฐบาลที่ Baltimore ในช่วงสงครามเย็น ทศวรรษ 60s, ทั้งชีวิตมีเพื่อนสองคน คือชายชรา Giles (รับบทโดย Richard Jenkins) นักวาดภาพโฆษณา น่าจะถูกไล่ออกจากที่ทำงานเก่าเพราะเป็นเกย์สังคมยังยอมรับไม่ได้ และเพื่อนร่วมงานผิวสี Zelda Delilah Fuller (รับบทโดย Octavia Spencer) คอยแปลภาษามือและร่วมด้วยช่วยเหลือกันทำงาน

วันหนึ่งมีสิ่งมีชีวิตประหลาด รูปร่างเหมือนมนุษย์แต่สามารถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ต้นกำเนิดจาก South American (น่าจะป่า Amazon) ถูกจับมาทดลองยังห้องปฏิบัติการ นำโดย Colonel Richard Strickland (รับบทโดย Michael Shannon) ผู้ชื่นชอบใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เมื่อ Elisa พบเห็นสัตว์ประหลาดตนนี้เข้าเกิดความตกหลุมรักหลงใหล พวกเขาสื่อสารกันด้วยสายตาและภาษามือ แสดงถึงทรงภูมิปัญญาของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ แต่เพราะ Colonel ไม่เห็นประโยชน์ชอบด้วยจึงต้องการกำจัดเข่นฆ่าทิ้ง ทำให้หญิงสาวและเพื่อนๆต้องหาทางช่วยเหลือ ลักพาตัวหนีมาหลบอาศัยอยู่ที่ห้องพักของเธอ

Sally Cecilia Hawkins (เกิดปี 1976) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Dulwich, London, เชื้อสาย Irish ตั้งแต่อายุ 3 ขวบสนใจด้านการแสดงหลังจากรับชมคณะละครสัตว์ หลงใหลใน Comedy แต่โชคชะตาผันสู่ดราม่า เรียนจบจาก Royal Academy of Dramatic Art ทำงานเป็นนักแสดงละครเวที พบเจอโดย Mike Leigh สู่ภาพยนตร์เรื่อง All or Nothing (2002) ตามด้วย Vera Drake (2004), Layer Cake (2004), Cassandra’s Dream (2007), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Happy-Go-Lucky (2008), Blue Jasmine (2013), Paddington (2014) ฯ

รับบท Elisa Esposito สาวใบ้ผู้อ้างว้างโดดเดี่ยวเดียวดาย ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยในความเพ้อฝันหวานของตนเอง จนกระทั่งวันหนึ่งพบเจอกับสัตว์ประหลาด ตกหลุมรักหลงใหล ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของโดยไม่สนว่าใครจะคิดอะไร เพราะนั่นคือสิ่งสวยงามที่สุดในชีวิตที่โชคดีได้พบเจอ

Hawkins เป็นตัวแรกและตัวเลือกเดียวของผู้กำกับ del Toro เขียนบทนี้เพื่อเธอโดยเฉพาะ

“Not only was she the first choice, she was the only choice. I wrote the movie for Sally. I wanted the character of Elisa to be beautiful, in her own way … That you could believe that this character, this woman would be sitting next to you on the bus. But at the same time she would have a luminosity, a beauty, almost magical, ethereal.”

ผมไม่คิดว่า Sally เป็นผู้หญิงที่รูปลักษณ์สวย แต่เต็มไปด้วยเสน่ห์ร่านรัก ยั่วยวน เร้าใจ มีความงดงามหลบซ่อนอยู่ภายใน ยิ่งพอตัวละครพูดไม่ได้ จำต้องสื่อออกมาทางสายตา ท่าทางภาษามือ นี่มันยากยิ่งกว่าการเอ่ยคำพูดออกมาเสียอีกนะ

วิวัฒนาการของตัวละครนี้ แรกสุดชีวิตช่างมีความเรื่อยเปื่อยไร้แก่นสาน (ไร้เสียง) แต่พอได้พบเจอตกหลุมรักก็เคลิบเคลิ้มหลงใหล กลัวหัวหดเมื่อถูก Colonel วางแผนจะลวนลาม แต่เมื่อช่วยเหลือได้ร่วมรักพบเจอความสุขของชีวิต ก็มีความหยิ่งผยองไม่กลัวเกรง (ราวกับคนมีเสียง/ฝันที่เป็นจริง) กระนั้นหัวใจแตกสลายรวดร้าวรานเมื่อต้องปลดปล่อยเขาให้หวนคืนกลับสู่ธรรมชาติ

ฉากที่ผมชื่นชอบสุดของ Hawkins คือทำภาษามือ Fuck You! เพราะบังเอิญผมอ่านภาษามือช็อตนี้ออกด้วย มองหน้าอันเริดเชิดไม่หวาดหวั่น เอ็งจะทำอะไรข้าได้

เกร็ด: กลางห้องของ Giles มีภาพวาดของ Audrey Hepburn ซึ่งหนังเรื่อง My Fair Lady (1964) รับบทตัวละครชื่อ Eliza Doolittle

Michael Corbett Shannon (เกิดปี 1974) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Lexington, Kentucky, เข้าสู่วงการจากเป็นตัวประกอบเล็กๆเรื่อง Groundhog Day (1993) เริ่มมีชื่อเสียงจาก Pearl Harbor (2001), 8 Mile (2002), Man of Steel (2013), The Shape of Water (2017) ฯ เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor มาแล้วสองครั้งจาก Revolutionary Road (2008), Nocturnal Animals (2016)

รับบท Colonel Richard Strickland นายพันผู้มีความดีความชอบจากการสงคราม แต่คงเพราะภาพความโหดร้ายของสงครามตราติดตึง ทำให้ตัวเขาเก็บสะสมความรุนแรง ชื่นชอบการใช้กำลัง มองโลกในแง่ร้าย รังเกียจสิ่งสกปรกโสโครก ไม่ค่อยพึงพอใจต่อการเป็นหัวหน้าผู้เก็บกวาดขยะที่ Baltimore อยากจะผลักไสหน้าที่การงานนี้ให้เสร็จลุล่วง แล้วพาภรรยาพร้อมลูกทั้งสองย้ายไปอยู่สถานที่มีอนาคตดีกว่านี้

สองนิ้วที่ถูกตัดไป
– นิ้วนาง สวมแหวนแต่งงาน สัญลักษณ์ของชีวิตคู่/ครอบครัว ที่เหมือนกำลังหมดสิ้นความหมายสำหรับเขา
– นิ้วก้อย สัญลักษณ์ของการเกี่ยวก้อยสัญญา เพื่อนสนิท/พันธมิตร … หมดสิ้นไม่มีใครเช่นกัน

del Toro คงติดภาพลักษณ์ General Zod จากหนัง Man of Steel (2013) เป็นแน่ ตัวละครมีความโหดเหี้ยมชั่วร้ายเกิดมนุษย์มนา จึงสร้างบทบาทนี้ให้ Shannon แสดงความเกรี้ยวกราดออกมาอย่างเต็มที่ ปฏิเสธอารยธรรม คุณธรรมความเป็นมนุษย์ จมปลักอยู่ในวิถีความคิดเชื่อมั่นของตนเอง ไม่ฟังคำใคร (นอกจากนายพลที่ประดับยศเหนือกว่า) หน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลาไม่เคยเห็นยิ้มแม้ขณะอยู่กับครอบครัว เมื่อหาทางแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ก็เหมือนหมาจนตรอก ถูกฆ่าตายโดยการ … หมดสิ้นความทะเยอทะยาน

ส่วนตัวมองว่า Shannon แรงมากไปกับบทบาทนี้ คือมันขาดระดับ ‘class’ แบบ Sergi López ที่รับบท Captain Vidal เรื่อง Pan’s Labyrinth (2006) นั่นมานิ่งๆเงียบๆ แต่เฉียบบาดทุกอณูขุมขน ขณะที่ตัวละครนี้มีแต่ความกร่าง จองหอง ดีแต่พูด เวลาเอาจริงกลับไม่มีอะไรดีทำสำเร็จสักอย่าง

แซว: ถึงตัวละครนี้พยายามอ่านหนังสือ The Power of Positive Thinking แต่ก็ไม่มีหวังอยู่ดี

Richard Dale Jenkins (เกิดปี 1947) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ DeKalb, Illinois, ก่อนมาเป็นนักแสดงเคยเป็นคนขับรถบรรทุก (ในบริษัทที่มีหัวหน้าคือพ่อของ John C. Reilly) หลังเรียนจบการแสดงจาก Illinois Wesleyan University ทำงานเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วยละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ที่พอสร้างชื่อ The Visitor (2008), Burn After Reading (2008) ฯ

รับบท Giles ชายสูงวัยที่เป็นนักวาดภาพโปสเตอร์/โฆษณา อาศัยอยู่ในห้องเช่าคนเดียว ห้องติดกับ Elisa Esposito ถูกไล่ออกจากงานคงเพราะการแสดงออกว่าเป็นเกย์แน่ๆ แบบเดียวกับที่เขาเอามือไปสัมผัสบาร์เท็นเดอร์ร้านขายพาย หมอนั่นเกย์แน่ๆเช่นกันแต่พยายามปกปิดตัวเองไว้ไม่ยอมรับ, เพราะชีวิตไม่เหลือใครนอกจาก Elisa เลยพยายามช่วยเหลือเธอในการลักพาตัวสัตว์ประหลาด แต่ทำอะไรๆก็เฟอะฟะ ผิดพลาดพลั้งไปเสียทุกอย่าง

เกร็ด: ชื่อ Giles คงเป็นการเคารพคารวะตัวละคร Gill Man สัตว์ประหลาดจากเรื่อง Creature from the Black Lagoon (1954)

เกร็ด 2: ภาพวาดในหนังเป็นผลงานของ James Jean ศิลปินสัญชาติ Taiwanese-American

เดิมนั้นบทบาทนี้ del Toro เล็ง Sir Ian McKellen (ปู่แกเป็นเกย์ด้วยนะ) แต่ไม่รู้ทำไมถึงบอกปัด ก่อนมาลงเอยที่ Jenkins ด้วยการส่งอีเมล์ไปหา พร้อมข้อความว่า

“I hope you love this [the script] as much as I do.”

Jenkins มีภาพลักษณ์ที่ดูซุ่มซ่าม เฟอะฟะ พึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ นี่น่าจะมาจากบริบทของสังคม กีดกันผลักไสให้ออกห่าง ไม่ยินยอมรับสถานภาพตัวตนของเขา ทุกอย่างมันเลยผิดที่ผิดทาง คิดทำอะไรไม่ได้ดั่งใจหวัง

เอาจริงๆผมจินตนาการเห็น Ian McKellen น่าจะรับบทบาทนี้ได้ดีกว่า เพราะพื้นหลังของปู่แก (ที่เป็นเกย์) ย่อมสามารถเข้าถึงจิตใจตัวละคร ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ต่อหลายๆสถานการณ์ออกมาได้อย่างสมจริงจัง

เห็นว่า del Toro เขียนพื้นหลัง Backstory ของทุกตัวละครสำคัญๆส่งให้กับนักแสดงเพื่อใช้ประกอบ ส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาและนำมาสร้างแรงผลักดัน แต่ Jenkins กลับปฏิเสธที่จะอ่านเรื่องราวของตนเอง บอกว่าที่มีอยู่ในบทหนังก็เพียงพอแล้ว แม้ผลลัพท์จะออกมาดีเยี่ยม แต่ยังไม่ใช่ที่สุดของตัวละครนี้อย่างแน่นอน

Octavia Lenora Spencer (เกิดปี 1972) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Montgomery, Alabama, ตอนอายุ 19 เป็นเด็กฝึกงานในกองถ่าย The Long Walk Home (1990) ได้รับการผลักดันจากเพื่อนๆให้กลายเป็นนักแสดง เรียนจบ Liberal Arts จาก Auburn University ตัวประกอบเรื่องแรก A Time to Kill (1996), คว้า Oscar: Best Supporting Actress เรื่อง The Help (2011), บทบาทเด่นอื่นๆ อาทิ Fruitvale Station (2013), Hidden Figures (2016), The Shape of Water (2017) ฯ

รับบท Zelda Delilah Fuller เพื่อนสนิท ร่วมงาน แปลภาษามือของ Elisa Esposito พบเห็นอยู่คู่กันตลอดเวลา ให้การช่วยเหลือรอคิวตอกบัตรเข้างาน พอเห็นหายตัวไปก็รีบตามหาติดตามอย่างเป็นห่วง แม้เป็นคนพูดมาก ปากจัด (ดีแต่พูด) แต่เมื่อเห็นเพื่อนตกทุกข์ได้ยากก็หาทางช่วยเหลือส่งเสริม ไม่เคยทรยศหักหลัง

ตัวละครนี้เป็นส่วนผสมของ The Help (2011) กับ Hidden Figures (2016) สองเรื่องที่ Spencer เข้าชิง Oscar สิ่งหนึ่งที่เธอบอกว่าชื่นชอบอย่างมากของหนัง เพราะ Zelda ถือเป็นปากเสียงของหนัง แทนคู่พระนางที่เป็นใบ้ นี่ถ้าเป็นในทศวรรษ 60s จริงๆละก็ เรื่องราวแบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นแน่

คงเป็นความจัดจ้านพูดมากตรงไปตรงมาของ Spencer ที่ถูกจิตถูกใจผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง เหมือนจะไม่ได้ใช้การแสดงด้านอื่นสักเท่าไหร่ แต่คอยแย่งซีนอยู่เรื่อยๆในหลายฉาก

เกร็ด: วันที่ Spencer เดินเข้าไปในกองถ่าย ตกตะลึงกับรายละเอียดโปรดักชั่นของหนังอย่างมาก สอบถาม del Toro ว่า หลังถ่ายทำเสร็จเอาอะไรกลับไปเป็นของที่ระลึกได้บ้าง

สำหรับสัตว์ประหลาด รับบทโดย  Doug Jones (เกิดปี 1960) ขาประจำของ del Toro ตั้งแต่ Mimic (1997) เกิดที่ Indianapolis, Indiana เรียนจบจาก Ball State University ชื่นชอบการแสดงเป็น Mime (ตัวละครใบ้) เข้าสู่วงการจากการเป็น Contortionist (นักดัดตน) และนักแสดงที่ใช้การแต่งหน้าด้วย Special Effect (Prosthetic Make-Up) โด่งดังกับ Abe Sapien ในซีรีย์ Hellboy, Faun/Pale Man เรื่อง Pan’s Labyrinth (2006)

Amphibian Man ครึ่งมนุษย์ครึ่งปลา ตาสีดำรีดวงใหญ่ มีเหงือกและจมูกสำหรับหายใจ ครีบแทนหูเหมือนไว้ข่มขู่สัตว์อื่น ริมฝีปากมีความเซ็กซี่ ผิวส่วนสีน้ำเงินเรืองแสงได้เมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึก (ทางเพศ) เล็บยาวแหลมคม พละกำลังเหนือมนุษย์ มีความเฉลียวฉลาดสามารถใช้ภาษามือสื่อสารเข้าใจ

คำแนะนำของ del Toro ต่อ Jones ในบทบาทนี้คือ Silver Surfer ผสม Matador (นักสู้วัว)

“He said, ‘I want you to channel two things: the Silver Surfer [the Marvel Comics hero], with his heroic strength and his understated sexiness, and a matador. When you watch them, they are very confident and lead with the hips and pelvis.'”

วันๆใช้เวลาแต่งองค์ทรงเครื่อง Amphibian Man ประมาณ 3 ชั่วโมง น้อยกว่าโดยเฉลี่ยหนังเรื่องก่อนๆพอสมควรซึ่ง Jones บอกว่าชิลมากๆ สวมชุดยางแปปเดียว เสียเวลาตรงติดกาว และสวมสายระโยงระยาง (น่าจะคือ Special Effect ที่ทำให้เกิดการเรืองแสง หรือครีบสั่นไหว)

ความท้าทายระดับของ Jones ในการรับบทนี้ ไม่ใช่การแต่งองค์ทรงเครื่อง แต่คือฉากเต้น Dream Sequence กับ Hawkins พวกเขาซ้อมกันอยู่สามสัปดาห์ พอถึงวันถ่ายจริง del Toro บอกว่า

“It was a once-in-a-lifetime opportunity and to just have fun,”

แต่สีหน้าของเขาบอกกับ Jones ประมาณว่า

“But the look on his face said, ‘Do you believe this?! Do you believe we’re actually doing this?'”

เพราะนั่นคือความฝันของเขาเลยก็ว่าได้ ที่อยากเห็นสัตว์ประหลาดได้เต้นรำกับนางเอกจริงๆ (ในเรื่อง Creature from the Black Lagoon ได้แค่แหวกว่ายระบำในสายน้ำ) ทั้งยังเคารพคารวะสไตล์การเต้นของ Fred Astaire กับ Ginger Rogers ออกมาราวกับ Beauty and the Beast

ถ่ายภาพโดย Dan Laustsen ตากล้องสัญชาติ Danish ที่เคยร่วมงานกับ del Toro เรื่อง Mimic (1997), Crimson Peak (2015)

ในตอนแรก del Toro ตั้งใจถ่ายทำหนังด้วยภาพขาว-ดำ ซึ่งสตูดิโอ Searchlight บอกว่า ก็ได้นะแต่จะให้งบที่ $16.5 ล้านเหรียญ … ถามกลับแล้วถ้าภาพสีละ $19.5 ล้านเหรียญ

“Color it is.”

แต่ก็มีฉากหนึ่งในความฝัน Dream Sequence ที่เลือกใช้ภาพขาว-ดำ (ปกติแล้วฉากความฝันแฟนตาซีมักมีสีสันสดใสเจิดจรัส) เหมือนเพื่อเคารพคารวะหนังของ Astaire & Rogers โดยเฉพาะ

95% ของหนังสร้างฉากขึ้นในสตูดิโอที่ Ontario, Canada (เพื่อลดภาษีและค่าใช้จ่าย ถูกว่าถ่ายทำที่ Hollywood) เห็นว่าถ่ายทำในช่วงคาบเกี่ยวฤดูหนาว จำเป็นต้องต้มน้ำในถังให้อุ่นก่อนเริ่มถ่ายทำเสมอ

งานภาพสวยงามโดดเด่นในเรื่องการจัดแสง (จากหลอดไฟทั้งหมด) และการเลือกใช้โทนสีเขียว + สีเขียวอมฟ้า (Teal) ที่ del Toro บอกว่ามันคือสีแห่งอนาคต (จริงๆเขียว มันคือสีแห่งความชั่วร้าย ธนบัตร โลกทุนนิยม หรือมองว่าเป็นสีของสัตว์ประหลาดก็ยังได้)

Prologue + Epilogue เห็นเหมือนตัวละครล่องลอยอยู่ใต้ผืนน้ำ แต่เนื่องจากหนังไม่ได้มีทุนสร้างสูงมหาศาลขนาดนั้น ต่อให้ถ่ายใต้น้ำก็มิอาจได้ภาพสมจริงขนาดนี้ จึงใช้การถ่ายบก แล้วจัดแสง พัดลมเป่า แล้วเพิ่ม Visual Effect ที่เหมือนฟองน้ำ หลอกตาผู้ชมได้อย่างแนบเนียนสมจริง

นี่คือแสงที่สาดส่องลงมาจากด้านบน

สังเกตช็อต Epilogue ของหนังดูก็ได้ แสงสาดส่องจากด้านบน มีฟองน้ำเป็น Visual Effect ผมเป่าให้ฟูๆหน่อย ถ้าไม่ได้ตั้งใจมองให้ดีๆ ก็คงไม่รู้หรอกว่าฉากนี้ถ่ายทำบนบก

เพราะนี่เป็นหนังเกี่ยวกับการโหยหาในรัก และ Sex หลายสิ่งอย่างจึงสามารถตีความได้คือ ลึงค์, อวัยวะเพศชาย/หญิง

ขัดรองเท้า … โด่เด่เลยนะ

ขัดจรวด เป็นคำแสลงของ Masturbate แถมมีสองปีก (อัณฑะ)

ขณะที่ไข่ เป็นสัญลักษณ์แทนของมดลูกของเพศหญิง
– ตอนต้นเรื่องมีต้มไข่ให้สุก เปรียบเทียบก็คือผู้หญิงในวัยพร้อมสืบพันธุ์
– หรือจะมองว่าการตั้งไข่เดิน จุดเริ่มต้นของการสานความสัมพันธ์ก็ยังได้

เพ้อฝันถึงรองเท้าแก้ว ไม่สิ! รองเท้าแดง ถ้าใครเคยรับชม The Red Shoes (1948) น่าจะพอเข้าใจแนวคิดของช็อตนี้ได้ ว่าคือความเพ้อฝันถึงความสำเร็จ เมื่อสวมแล้วก็หยุดเต้นถอดไม่ได้จนกว่าจะตาย … สุดท้ายเธอก็ตายจริงๆนะครับ ตอนพวกเขาจูบกันฉากจบ เห็นว่ารองเท้าแดงข้างหนึ่งหลุดออกไป (นึกไม่ออกดูจากภาพโปสเตอร์)

ห้องน้ำเป็นสถานที่แห่งความหมกมุ่น ร่านรักของพวกเขาทั้งสอง
– Elisa จะหันพิงอ่างด้านซ้ายขณะช่วยตนเอง
– Amphibian Man นอนสลบอยู่ฝั่งขวา

ตอนฉากร่วมรัก Elisa จะเดินเข้าทางฝั่งซ้าย ส่วน Amphibian Man ยืนรออยู่ฝั่งขวา, ตรงข้ามกับฉากจบที่ Elisa จะอยู่ฝั่งขวา ส่วน Amphibian Man จะอยู่ฝั่งซ้าย ราวกับว่าบทบาทของพวกเขากลับตารปัตร ได้รับรักคืนสนอง

สัมพันธภาพที่เกิดจากการลูบหัว … เพราะมันไม่ใช่ผู้ใหญ่กับเด็กที่จะสื่อถึงความน่ารักเอ็นดู แบบนี้ราวกับคือการตอบสนองทางเพศ สังเกตว่าจะมีเฉพาะ Giles (ที่เป็นเกย์)ลูบหัว Amphibian Man … คู่นี้ไปแอบไปจิ้นกันตอนไหนเนี่ย!

พาย … ใครอยู่ในวงการน่าจะรู้จัก Creampie แปลว่า น้ำขุ่นๆที่แตกใน, มันพายอะไรกัน ไส้ข้างในสีเขียว กินแล้วราวกับลิ้นจิ้งจก เปลี่ยนสีได้

The Shape of Water27

ฉากที่มีความสวยงามสุดในหนัง บนรถเมล์ระหว่างเดินทางไป-กลับทำงาน กล้องค่อยๆเลื่อนเข้าใกล้ แสงสีน้ำเงิน (เย็นยะเยือก) สาดส่องมาทั่วรถ เว้นแต่ตรงตำแหน่งที่ Eliza นั่งอยู่เป็นแสงตะวันสีส้ม (อบอุ่น) เธอถอดหมวกนำมาหนุนข้างหู ราวกับกำลังฟังเสียงจากความฝัน ภาพสะท้อนเลือนลางในกระจก สะท้อนโลกในจินตนาการของตนเอง

โรงภาพยนตร์เปรียบได้กับสถานที่แห่งความเพ้อฝันแฟนตาซี ซึ่งอพาร์ทเม้นท์ห้องพักของ Eliza อยู่ชั้นบนโรงหนัง สื่อนัยยะถึง ชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของโลกแห่งจินตนาการ

มีครั้งหนึ่งที่น้ำรั่วไหลทะลักลงมาจากชั้นบน ราวกับว่าโลกแห่งความฝันกำลังถึงจุดล่มสลาย … กลายเป็นเรื่องราวความจริง

แถมท้ายกับ Reference ที่มีในหนัง
– ภาพยนตร์ที่ฉายในโทรทัศน์ The Little Colonel (1935) [เต้น Tab]
– ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ The Story of Ruth (1960)
– อีกเรื่องที่ติดป้ายฉาย Mardi Gras (1958)

ตัดต่อโดย Sidney Wolinsky สัญชาติ Canadian โด่งดังกับการตัดต่อซีรีย์ หลายตอนของ The Sopranos (1999-2007), ตอน Pilot ของ Broadwalk Empire (2010) ฯ

“If I told you about her, what would I say?”

ประโยคแรกของหนังเป็นเสียงบรรยายของ Giles คล้ายๆกับ “Once upon a time…” ที่มักใช้เปิดภาพยนตร์/นิยายแฟนตาซี, แสดงว่าเรื่องราวดำเนินเรื่องในมุมมองของ Giles ทั้งหมด จากสายตาที่พบเห็นด้วยตนเอง เรื่องเล่าของ Elisa และผองเพื่อน ฯ

ถ้าอธิบายด้วยเหตุผลนี้ ครึ่งหลังของหนังที่มีการตัดต่อแบบกระโดดไปมาอย่างรวดเร็ว อาจเป็นสิ่งพอให้อภัยได้ เพราะเรื่องราวเล่าในมุมมองของ Giles ชายผู้ซึ่งพึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เฟอะฟะ ทำอะไรผิดพลาดพลั้งไปเสียทุกอย่าง นั่นรวมถึงการลำดับหนังด้วย

หลายครั้งของการเล่าเรื่อง มีลักษณะภาพประกอบเพลง(คลาสสิก) ร้อยเรียงประมวลเหตุการณ์ให้กระโดดดำเนินเดินหน้าอย่างกระชับรวบรัด เช่น กิจวัตรประจำวันของ Elisa, การทำงานของสาวๆ ฯ แต่รู้สึกว่าหลายครั้งไม่ค่อยเวิร์คสักเท่าไหร่ เห็นชัดเลยว่าเป็นการเร่งรีบรัดเพื่อควบคุมเวลา กระนั้นแค่นี้ก็กว่า 123 นาทีแล้ว ฉบับเต็มคงสามชั่วโมงขั้นต่ำเลยละ

เพลงประกอบโดย Alexandre Desplat สัญชาติฝรั่งเศส, ว่าไปมีผลงานของเขาไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่มีกลิ่นอาย ‘ความเป็นฝรั่งเศส’ หนึ่งในนั้น The Grand Budapest Hotel (2014) คว้า Oscar: Best Original Score แสดงถึงสไตล์ถนัดอย่างแท้จริง กลับมาอีกครั้งกับ The Shape of Water ไพเราะเพราะพริ้ง การันตีแน่นอนกับ Oscar และอาจรวมถึง Grammy Award

ทั้งๆที่พื้นหลังคืออเมริกาทศวรรษ 60s บรรยากาศสงครามเย็น(ยะเยือก) แต่เพราะนี่คือเรื่องของเทพนิยาย (Fairy Tale) ดนตรีที่สะท้อนกลิ่นอายสัมผัสนี้ได้ตรงสุด หนีไม่พ้น Accordion บทเพลงสัญชาติฝรั่งเศส

เสียงก้องกังวาลของบทเพลง The Shape of Water น่าจะมาจากเครื่องดนตรี Glass Harmonica ที่ให้สัมผัสลื่นไหลเหมือนสายน้ำพริ้วไหว ประสานเสียงด้วยผิวปาก (ผิวโดย Desplat เองเลย) กลางเพลงตามด้วย Accordion เป็นบทเพลงแห่งเทพนิยาย ในโลกที่ไม่มีความอภิรมย์ น่าอาศัยอยู่แม้แต่น้อย

บทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดของหนัง คือ Elisa’s Theme โดดเด่นด้วย Accordion สะท้อนชีวิต ตัวตน แม้ลึกๆจะโดดเดี่ยวเดียวดายอ้างว้างในโลกที่เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยากแสนสาหัส แต่เธอก็มีความเพลิดเพลินหลงใหลติดในความฝันหวานแฟนตาซีโลกสวย

บทเพลง La Javanaise (1963) [แปลว่า ชาวชวา] แต่งคำร้อง/ทำนองโดย Serge Gainsbourg ต้นฉบับขับร้องโดย Juliette Gréco ในหนังขับร้องโดย Madeleine Peyroux

เกร็ด: ชาวชวา คนไทยน่าจะคุ้นเคยว่าเป็นคำเรียกกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายมาจากเกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นชาวเกาะอาศัยอยู่กับทะเลเสมือนบ้าน

ตอนที่ Eliza เอาไข่วาง เปิดแผ่นเสียงให้ Amphibian Man ฟัง เกิดความเคลิบเคลิ้มหลงใหลสนใจ น่าจะคือบทเพลง I Know Why(And So Do You) ทำนองโดย Mack Gordon, คำร้องโดย Harry Warren บรรเลงโดย Glenn Miller Orchestra, Paula Kelly & The Modernaires ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Sun Valley Serenade (1941)

บทเพลง Let’s Face The Music And Dance ฉบับของ Fred Astaire & Ginger Rogers ขับร้องประกอบภาพยนตร์เรื่อง Follow the Fleet (1936)

คัทลอกมาทั้งฉาก ท่าเต้น และบทเพลงขับร้องโดย Sally Hawkins ในฉาก Dream Sequence นำมาให้เปรียบเทียบกันเลย

“Unable to perceive the shape of You, I find You all around me. Your presence fills my eyes with Your love, It humbles my heart, For You are everywhere.”

The Shape of Water ในความเข้าใจของผมเอง คือความรักที่ไม่มีรูปร่างแน่นอนตายตัวเหมือนสายน้ำ จับต้องไม่ได้แต่รับรู้ว่ามีอยู่, เป็นชื่อหนังที่สะท้อนเรื่องราวระหว่าง Eliza กับ Amphibian Man ไม่ใช่เพราะพวกเขาหลงใหลกันและกันในรูปร่างหน้าตา แต่คือความรู้สึกที่มองไม่เห็นจับต้องสัมผัสไม่ได้ ราวกับสายน้ำที่โอบล้อมอยู่รอบๆตัว และยังมอบชีวิตที่สองให้กับพวกเขา

จริงๆผมไม่มีความจำเป็นต้องเฉลยด้วยซ้ำ กับฉากที่เกริ่นไปตั้งแต่ย่อหน้าแรก เชื่อว่าทุกคนที่รับชมหนังเรื่องนี้น่าจะรับรู้ได้โดยสันชาตญาณ คือฉากร่วมรักระหว่าง Eliza กับ Amphibian Man ด้วยความโรแมนติกแบบมีสไตล์ของหนัง มันอาจทำให้ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่รู้สึกเคอะเขิน ขัดขืน What-The-Fuck! เพราะสามารถคาดการณ์แนวโน้มความเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่แค่อาจสงสัยว่าพวกเขา จึก-จึก กันยังไง ก็ไม่ต้องคิดมาก มีคำอธิบายแบบไม่ได้ต้องใช้ภาษาพูดออกมาในฉากถัดไป

การร่วมรักกันของสิ่งมีชีวิตสองสายพันธุ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์โลกแทบทั้งนั้นไม่มีใครยินยอมรับได้ แต่ภาพยนตร์คือสื่อแห่งจินตนาการ ‘แฟนตาซี’ สร้างให้มันดูดี มีความสวยงามลึกซึ้ง ย่อมพอถูไถไปได้เสมอ

สำหรับความหมายเชิงสัญลักษณ์ของตัวละคร
– Amphibian Man คือสิ่งมีชีวิตสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก รูปร่างเหมือนปลา สะท้อนกับสิ่งที่อยู่ภายใต้จิตสำนึกตัวตนของมนุษย์ แม้รูปมันอาจดูอัปลักษณ์ แต่มีความอ่อนไหวใสซื่อบริสุทธิ์เหมือนเด็กน้อย
– Colonel Richard Strickland ถือเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทตรงกันข้าม หน้าตาเหมือนมนุษย์ทุกประการ แต่จิตใจโหดโฉดชั่วร้ายเหมือนสัตว์ประหลาด

ขณะที่เพื่อนสองคนและหนึ่งพันธมิตรของ Eliza เป็นตัวแทนของสัตว์ประหลาด สิ่งต้องห้ามในยุคสมัยก่อน
– Giles คือชายแก่ที่เป็นเกย์ ถูกสังคมกีดกันต่อต้าน ขับไล่จนต้องอาศัยอยู่ตัวคนเดียว
– Zelda Delilah Fuller ภารโรงผิวสี ดีแต่ปากจัดจ้าน ไม่ค่อยมีใครอยากคบหา สามียังทำทองไม่รู้ร้อน พูดบอกให้สนแค่เรื่องของตนเองก็พอแล้ว
– Dr. Robert Hoffstetler คือบุคคลที่อยู่ก้ำกึ่งกลาง สายลับรัสเซียทำงานในห้องปฏิบัติการของอเมริกา แต่จิตใจตกหลุมรักสัตว์ประหลาด

สรุปแล้วหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาด หนึ่งมาในรูปอัปลักษณ์ อีก 4-5 คือมนุษย์ผู้มีจิตใจชื่นชอบของแปลก ในโลกแคบๆใบนี้ ซึ่งคู่ที่สมหวังสุดกลับคือ สองสิ่งมีชีวิตที่ไม่พูดอะไรกันเลย แต่ใช้อารมณ์ความรู้สึก การกระทำตัดสินทุกสิ่งอย่าง แบบไม่สนใจสายตาใครอื่นด้วย

ถึงมันอาจดูน่ารังเกียจขยะแขยงสักแค่ไหน แต่นั่นคือการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของเราต่อสิ่งที่ผิดแผกแปลกจากวิถีของโลก จะสามารถยินยอมรับได้ไหม อย่าใช้แค่ดวงตามองเห็นภายนอก ใจมองใจเห็นความสวยงามที่อยู่ภายใน

ความตั้งใจของ del Toro ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการแสดงความรักออกมาจากก้นเบื้องหัวใจของตนเอง ต่อจักรวาลสัตว์ประหลาด ขณะเดียวกันก็เสมือนยารักษาแผลใจ เติมเต็มความฝันของตนเอง

“This movie is a healing movie for me. … For nine movies I rephrased the fears of my childhood, the dreams of my childhood, and this is the first time I speak as an adult, about something that worries me as an adult. I speak about trust, otherness, sex, love, where we’re going. These are not concerns that I had when I was nine or seven.”

แต่ไม่ใช่แค่ del Toro ที่เติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวกับหนังเรื่องนี้ แนวรักโรแมนติกของวงการภาพยนตร์ยังได้ก้าวมาถึงจุดสูงสุดของความเป็นไปได้เช่นกัน เทียบแล้วคล้ายกับตอนที่ Bonnie and Clyde (1967) เปิดโลกทัศน์ความรุนแรงหลังจุดสิ้นสุดของ Hays Code และ The Wild Bunch (1969) คือเรื่องไฮไลท์สูงสุดของความเป็นไปได้

เพราะเหตุนี้หนังเลยถือว่าเป็น Masterpiece ที่แม้เต็มไปด้วยตำหนิตำตามากมาย แต่ทรงคุณค่าทางจิตใจยิ่งกว่า

ด้วยทุนสร้าง $19.5 ล้านเหรียญ ถือว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับภาพยนตร์สมัยนี้ ดูแล้วคงทำกำไรได้พอสมควร (ถ้าคว้า Oscar: Best Picture น่าจะการันตีเกินร้อยล้านเหรียญแน่ๆ)

เข้าชิง Oscar ถึง 13 สาขา
– Best Film
– Best Directing
– Best Actress (Sally Hawkins)
– Best Supporting Actor (Richard Jenkins)
– Best Supporting Actress (Octavia Spencer)
– Best Original Screenplay
– Best Cinematography
– Best Film Editing
– Best Production Design/Art Direction
– Best Costume Design
– Best Sound Editing
– Best Original Score
– Best Sound Mixing

คาดการณ์ผลรางวัล Oscar ปีนี้
– สาขาที่การันตีเกิน 90% ไม่น่าพลาดแน่ๆคือ Best Director, Best Score
– 50/50 ประกอบด้วย Best Picture (ก้างขวางคอชิ้นใหญ่คือ Three Billboards Outside Ebbing, Missouri), Best Original Screenplay (แข่งกับ Get Out), Best Production Design, Best Sound Editing, Best Sound Mixing
– ไม่น่าได้แน่ๆ สามสาขาการแสดง, Best Cinematography (ต้องให้ Roger Deakins จาก Blade Runner), Best Film Editing (ตัวเต็งคือ Dunkirk), Best Costume Design (ตัวเต็งคือ Phantom Thread)

ถ้าไม่เพราะ Three Billboards Outside Ebbing, Missouri คว้า Golden Globe: Best Motion Picture – Drama จะทำให้ The Shape of Water เป็นตัวเต็งหนึ่งเดียวที่กวาดเรียบแทบทุกสถาบัน แต่ก็ถือว่าเป็นสีสันให้ได้ลุ้นกันมันส์หน่อย ว่าจะสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นภาพยนตร์สัญชาติอเมริกันเรื่องแรกที่คว้า Golden Lion ควบ Oscar: Best Picture

เกร็ด: ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์เรื่อง Hamlet (1948) ที่สามารถคว้าควบ Oscar กับ Grand International Prize of Venice (ชื่อเดิมของ Golden Lion) แต่นั้นเป็นหนังสัญชาติ British [และยังเป็นหนัง non-American เรื่องแรกอีกด้วย ที่คว้า Oscar: Best Picture มาครอบครองได้]

ความคลั่งไคล้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับผมโดยทันที แต่คือเมื่อกาลเวลาผ่านไปจึงเห็นผลกระทบ ‘impact’ ให้ได้รับรู้ซึ้ง นี่เป็นสิ่งการันตีความคลาสสิก ‘เหนือกาลเวลา’ ของหนังอย่างแน่นอน

กระนั้นโดยส่วนตัว Pan’s Labyrinth (2006) ยังคงเป็นเรื่องโปรดของ Guillermo del Toro ที่ผมชื่นชอบหลงใหลคลั่งไคล้มากกว่า เพราะนั่นคือ Masterpiece ที่จับต้องได้โดยทันที แต่สำหรับ The Shape of Water หลายคนคงรู้สึกคับข้องขัดแย้ง แต่กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เองว่านี่คือ Masterpiece จริงๆ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” โลกได้มาถึงยุคสมัยแห่งเสรีภาพไร้พรมแดน ถึงเวลาแล้วที่จักต้องเปิดอก โลกทัศน์แนวคิดของตนเองในด้านนี้เสียที ยินยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ให้ได้ เพราะถ้าไม่คุณก็จะกลายเป็นเหมือนตัวละครของ Michael Shanon มนุษย์ผู้อัปลักษณ์ยิ่งกว่าสัตว์ประหลาด

แนะนำกับคอหนัง Romantic Fantasy ชื่นชอบคลั่งไคล้สัตว์ประหลาด, หลงใหลในโปรดักชั่นทศวรรษ 60s และดนตรีกลิ่นอายฝรั่งเศสเพราะๆ, แฟนๆผู้กำกับ Guillermo del Toro และนักแสดงนำ Sally Hawkins, Michael Shanon ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับ Sex ความหื่นกระหาย รุนแรง และตัวร้ายโคตรโหด

TAGLINE | “The Shape of Water ของผู้กำกับ Guillermo del Toro จะทำให้โลกทัศนคติต่อความรักและสัตว์ประหลาดเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

3
Leave a Reply

avatar
2 Comment threads
1 Thread replies
2 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
2 Comment authors
tantawanpandawtypethai Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
tantawanpanda
Guest

—–ตอนที่ Eliza เอาไข่วาง เปิดแผ่นเสียงให้ Amphibian Man ฟัง ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มหลงใหล ให้ความสนใจ—–

อันนี้ความคิดเราเป็นเพลงนี้นะคะ
I Know Why(And So Do You)

https://twitter.com/ClassicHollywTH/status/958595967636443138

อยู่ในตัวอย่างหนังด้วยค่ะ
https://twitter.com/ClassicHollywTH/status/958591552225447936

tantawanpanda
Guest

เราได้ชมCreature from the Black Lagoon (1954)แล้วค่ะ เข้าใจเลยว่าถ้าสัตว์ประหลาดไม่ฆ่าคน คงจะเป็นไรที่น่ารักมาก แอบเชียร์ให้ได้ครองรักกับนางเอกด้วย แต่เวอร์ชั่นลุงโตโร่ เราคิดว่าผกก.เขายกสัตว์ประหลาดตนนี้ให้มีความศิวิไลซ์เท่าเทียมกับมนุษย์น่ะค่ะ เราเลยรู้สึกอิีนไปกับความรักของพระนางใน the shape of water โดยไม่ประดักประเดิดอะไรเท่าไหร่
ไม่ว่าจะเป็นการที่คุณสัตว์ประหลาดชื่นชอบดนตรี ชอบดูทีวี ทานอาหารบนโต๊ะอาหาร สื่อสารกับนางเอกด้วยภาษามือ เลยรู้สึกลึกๆว่าเหมือนเป็นนางเอกกับมนุษย์ต่างดาว มันเกิดความรู้สึกอยากเชียร์ให้ได้ครองรักกันกว่าเรื่องคิงคอง หรือCreature from the Black Lagoon ที่ออกแนวฝ่ายหญิงไม่เต็มใจ

โดยรวมแล้วก็ชอบหนังเรื่องนี้มากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ

ส่วนดาราในเรื่องอีกคนที่ชอบคุณนักวิทยาศาสตร์michael stuhlbarg (เล่นอีกบทเป็นพ่อน้องเอลิโอ้ จากคอลมีบายยัวร์เนม) อันนี้ก็มุ้งมิ้งมากค่ะ อุตส่าห์ช่วยนางเอก เสียใจที่มีจุดจบเศร้าค่ะ

%d bloggers like this: