The Watermelon Woman (1996) : Cheryl Dunye ♥♥♥♥
นักแสดงสมทบผิวสีจากภาพยนตร์เรื่องนั้น ที่ได้รับเครดิต The Watermelon Woman คือใครกัน? ร่วมออกติดตามหาพร้อมผกก. Cheryl Dunye และหวนรำลึกถึงบรรดานักแสดงผิวสีที่ถูกลบเลือนหายตามกาลเวลา
ใครที่ยังไม่ได้รับชมหนัง สามสี่ย่อหน้าแรกนี้ผมจะยังไม่เฉลยว่า The Watermelon Woman คือใคร? เพราะตอนจบเมื่อเปิดเผยความจริงออกมา มันอาจสร้างความอึ่งทึ่ง ตกตะลึง คาดไม่ถึงอย่างรุนแรง! ใครชื่นชอบการหักมุม แนะนำไม่ควรอ่านสปอยย่อหน้าถัดๆไป
ผมเพิ่งมีโอกาสรับรู้จัก The Watermelon Woman (1996) จากการติดอันดับ 146 (ร่วม) ชาร์ท Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ทีแรกตั้งใจจะเขียนถึงตอนรวบรวมหนังแนว Race Film (ภาพยนตร์ชาติพันธุ์) แต่ด้วยคำโปรโมทว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกสร้างโดยผู้กำกับเลสเบี้ยนผิวสี (black lesbian) เลยเอามาเขียนช่วงนี้ดีกว่า
The Watermelon Woman (1996) เป็นภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนโปรเจคนักศึกษา ‘essay film’ ที่ทำการร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันผู้สร้าง ระหว่างค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับนักแสดงคนโปรดที่ตนเองสนใจ ผสมผสาน Archive Footage เข้ากับภาพถ่าย(บางครั้งแอบถ่าย)จากกล้องดิจิตอล และกล้องฟีล์ม 32mm คลุกเคล้ากันได้อย่างลงตัว กลมกล่อม ดูเรียบง่ายแต่โคตรทรงคุณค่า ชวนให้ผมนึกถึง Center Stage (1991) ภาพยนตร์ชีวประวัติหยวนหลิงอวี้ (Ruan Lingyu) อยู่ไม่น้อยเลยละ
Cheryl Dunye (เกิดปี 1966) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Liberian-American เกิดที่ Monrovia, Liberia แล้วมาเติบโตยัง Philadelphia, Pennsylvania โตขึ้นเข้าศึกษาทฤษฎีการเมือง Michigan State University ก่อนเปลี่ยนมาเรียนภาพยนตร์ Temply University ตามด้วยปริญญาโท Mason Gross School of Art, จบออกมาเป็นอาจารย์สอนมหาวัทยาลัย กำกับหนังสั้น สารคดีแนวทดลอง ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Watermelon Woman (1996)
ช่วงปี ค.ศ. 1993 ระหว่างที่ Dunye กำลังค้นหาข้อมูลสำหรับคาบเรียนประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ (Black Film) พบเจอว่าในยุคแรกๆของ Hollywood นักแสดงหญิงผิวสี แทบไม่เคยได้รับเครดิต ปรากฎชื่อในฐานะตัวประกอบสักเท่าไหร่
เกร็ด: ในยุคแรกๆของวงการภาพยนตร์ นักแสดงหญิงผิวสีหาได้ยากยิ่ง ส่วนใหญ่รับบทสาวรับใช้ (Maid) ไม่ก็แม่นม (Mammy) คอยดูแลกิจการงานบ้านให้กับครอบครัวคนขาว ถ้าไม่ใช่หนังที่สร้างโดยคนดำด้วยกันเอง (Black Film) ก็แทบไม่มีโอกาสแสดงนำ
That it’s going to take more than just my film for that picture to be corrected. There needs to be more work, there needs to be more Black protagonists. There are a lot of talented actresses that have nothing to do but “mammy” roles again and again, modern day mammies. There needs to be a focus that gets them working, getting some of those Academy Awards like they should.
Cheryl Dunye
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Dunye ครุ่นคิดพัฒนาบทภาพยนตร์ เพื่อออกค้นหานักแสดงผิวสีสักคนที่ถูกหลงลืม ลบเลือนหายไปจากความทรงจำ สำหรับเป็นต้นแบบ แรงบันดาลให้กับคนรุ่นใหม่ นำโปรเจคไปยื่นของบประมาณจาก National Endowment for the Arts (NEA) ส่วนที่เหลือเป็นการบริจาค ระดมทุน รวมๆแล้วประมาณ $300,000 เหรียญ
ระหว่างที่ Dunye พยายามมองหานักแสดงตัวตายตัวแทนนั้น กลับไม่พบเจอใครสักคนตรงตามความต้องการ (คือเธอต้องการนักแสดงผิวสีที่เป็นเลสเบี้ยน และเคยครองรักกับผู้กำกับ(หญิง)ผิวขาว) ด้วยเหตุนี้จึงครุ่นคิดสร้างตัวละคร Fae Richards หรือ The Watermelon Woman ล่อหลอกผู้ชมให้เข้าใจผิด จนกระทั่งขึ้นข้อความช่วงท้ายเครดิต
Sometimes you have to create your own history. The Watermelon Woman is fiction.
Cheryl Dunye, 1996
เกร็ด: ชื่อหนัง The Watermelon Woman ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Watermelon Man (1970) กำกับโดย Melvin Van Peebles
เรื่องราวของ Cheryl (ผู้กำกับเล่นเอง) ทำงานร้านเช่าวีดิโอแห่งหนึ่งใน Philadelphia ร่วมกับเพื่อนสาวคนสนิท Tamara พวกเธอมีความสนใจในภาพยนตร์ Hollywood ช่วงทศวรรษ 30s-40s ที่มีนักแสดงหญิงผิวสีเป็นตัวประกอบ พบเจอหนังเรื่องหนึ่ง Plantation Memories กำกับโดย(คนขาว) Martha Page ขึ้นเครดิตนักแสดงรับบท Mammy ว่า The Watermelon Woman เกิดความฉงนสงสัย ต้องการติดตามหาว่าเธอคนนั้นคือใคร?
การติดตามหา The Watermelon Woman ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด! Cheryl ใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะพบเจอชื่อจริง Fae Richards แล้วหลังจากค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากสถาบัน Center for Lesbian Information and Technology (CLIT) ได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า Fae อาจมีความสัมพันธ์เลสเบี้ยนกับผกก. Martha Page
ขณะเดียวกัน Cheryl ก็มีโอกาสรับรู้จักกับ Diana สาวผิวขาว หน้าตาดี เดินทางมาเช่าวีดีโอบ่อยครั้ง ด้วยสายตาอ่อยเหยื่อ ท่าทางยั่วเย้า วันหนึ่งจึงถูกชักชวนขึ้นห้อง เกี้ยวพาราสี ร่วมรักหลับนอน … มันช่างเป็นความละม้ายคล้ายกันอย่างจงใจ!
เพราะไม่ได้มีงบประมาณมากมาย อีกทั้งเรื่องราวก็พัฒนาขึ้นจากความสนใจของตนเอง ผกก. Dunye จึงเล่นเอง-กำกับเอง … หลายผลงานหนังสั้น/สารคดีทดลองก่อนหน้านี้ก็เล่นเอง-กำกับเอง เช่นเดียวกัน
รับบท Cheryl พนักงานร้านเช่าวีดิโอ อายุ 25 ปี ขณะนั้นโสดสนิท รสนิยมรักร่วมเพศ (เลสเบี้ยน) โกนศีรษะเหมือนทอมบอย นิสัยหัวรั้น ดื้อดึงดัน เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น เพ้อใฝ่ฝันอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ครุ่นคิดทำสารคดี ‘essay film’ เพื่อออกติดตามหา The Watermelon Woman สัมภาษณ์กูรู ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ จนกระทั่งได้รับรู้ชื่อจริง Fae Richards จินตนาการข้อสรุป/เบื้องหลังไม่มีใครคาดคิดถึง!
แม้ว่าผกก. Dunye จะเล่นเป็นตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าการแสดงออกทั้งหมดจะคือตัวเธอเอง หลายสิ่งอย่างพอสังเกตได้ว่าเกิดจากการปรุงแต่ง (ท่าทางรุกรี้ร้อนรน, ความขัดแย้งกับเพื่อนสนิท Tamara, สีหน้าไม่พึงพอใจเมื่อไม่ได้พบเจอ June Walker) แต่ด้วยวิธีการนำเสนอกึ่งๆสารคดี มันจึงมีความสมจริง(แบบสมัครเล่น) ดูเป็นธรรมชาติ
ระหว่างรับชมหนัง ผมเชื่ออย่างจริงจังว่าผกก. Dunye คงทำงานในร้านเช่าวีดิโอจริงๆ (แอบนึกถึง Quentin Tarantino) แต่พอมาค้นหาข้อมูลกลับพบว่าเธอเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย เลยเกิดความฉงนสงสัยว่าทำไมถึงต้องปรับเปลี่ยนอาชีพตัวละคร? ทำเป็นหนังกึ่งอัตชีวประวัติตนเองเลยก็ยังได้? ผมครุ่นคิดว่าถ้าบทบาทนี้คืออาจารย์มหาวิทยาลัย มันจะดูเป็นทางการ เชิงวิชาการ ผิดกับพนักงานร้านเช่าวีดิโอสามารถเข้าถึงง่าย จับต้องได้ ไม่ต่างจากคนดำทั่วๆไป เพิ่มความน่าสนใจขึ้นหลายเท่าตัว
Guinevere Jane Turner (เกิดปี 1968) นักเขียน/นักแสดง เกิดที่ Boston, Massachusetts ในครอบครัว The Lyman Family (มีเครือญาติหลักร้อย ลูกหลานอีกกว่า 60 คน) ตั้งแต่เด็กออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกา (ติดตามทัวร์ของ Mel Lyman) วัยเด็กแทบไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับใครอื่นนอกครอบครัว ชอบทำตัวเหมือนเด็กชาย จนกระทั่งอายุ 21 ประกาศตัวว่าเป็นเลสเบี้ยน และตัดสินใจไม่ยุ่งเกี่ยวกับวงศ์ตระกูลอีกต่อไป
That doesn’t sound like a commune—it sounds like a cult.
Guinevere Turner
เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากร่วมเขียนบท/ร่วมแสดง Go Fish (1996), ตามด้วยผลงาน The Watermelon Woman (1996), Chasing Amy (1997), Dogma (1999), โด่งดังจากเขียนบทภาพยนตร์ American Psycho (2000), BloodRayne (2005), ซีรีย์ The L Word (2004-05) ฯ
รับบท Diana สาวผิวขาว สวยสง่า เต็มไปด้วยแรงดึงดูดน่าหลงใหล พยายามส่งสายตาเย้ายั่ว เกี้ยวพาราสี Cheryl จนสามารถพาขึ้นห้อง ร่วมรักหลับนอน พร้อมให้การสนับสนุนโปรเจคติดตามหา The Watermelon Girl แต่ด้วยความหมกมุ่นจริงจังของอีกฝ่าย สุดท้ายทั้งสองจำต้องพลัดพรากจากกัน
จริงๆบทบาทนี้ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น นอกจากความสวยสาว สายตาเย้ายวน วัตถุทางเพศ (object of desire) สนแต่เรื่องเพศสัมพันธ์! (เป็นการสร้าง ‘stereotype’ ให้กับหญิงผิวขาว-เลสเบี้ยน) แต่หนังยังต้องการเปรียบเทียบตัวละครนี้กับผู้กำกับหญิง-ผิวขาว Martha Page ที่เชื่อว่าอาจแอบสานสัมพันธ์เลสเบี้ยนกับ The Watermelon Woman … เฉกเช่นเดียวกับผกก. Dunye = The Watermelon Woman
ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ต่างสีผิว/เชื้อชาติพันธุ์ระหว่าง Cheryl กับ Diana ยังเป็นการท้าทายขนบกฎกรอบทางสังคม (ยุคสมัยนั้นแม้กฎหมายเปิดกว้างเรื่อง Miscegenation มาหลายทศวรรษ แต่คนส่วนใหญ่ยังคงเต็มไปด้วยอคติ ไม่สามารถยินยอมรับความสัมพันธ์ดังกล่าว) ถึงขนาดว่าเพื่อนสนิท Tamara แสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ทำให้ค่อยๆเหินห่าง เต็มไปด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถาง สูญเสียมิตรภาพคบหากันมานาน
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอดพูดถึงไม่ได้ คือเคมีระหว่าง Turner และผกก. Dunye ไม่แน่ใจว่าทั้งสองเคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกันไหม แต่ฉาก Sex Scene มีความงดงาม อีโรติก โคตรๆจะเร้าร้อนรุนแรง (เห็นว่าได้รับกระแสต่อต้าน Controversy คล้ายแบบภาพยนตร์ Je Tu Il Elle (1974) ของ Chantal Akerman) ไม่ว่าชาย-หญิง รับชมแล้วย่อมอารมณ์พลุกพร่าน ควบคุมตนเองได้ยากยิ่งนัก
ถ่ายภาพโดย Michelle Crenshaw,
งานภาพของหนังสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน ดังต่อไปนี้
- กล้องดิจิทอล คุณภาพต่ำ มักถ่ายทำสิ่งที่ตัวละคร Cheryl ต้องการบันทึกภาพ พูดคุยสัมภาษณ์ บางครั้งเป็นการแอบถ่าย ไม่ก็หันกล้องเข้าหาตนเองเพื่ออธิบายการค้นพบ/ข้อสรุปต่อ The Watermelon Woman
- ฟีล์ม 35mm คุณภาพคมชัด สีสันสดใส สำหรับถ่ายทำกิจวัตรประจำวันทั่วๆไปของ Cheryl สานสัมพันธ์เพื่อนสนิท Tamara, ทำงานร้านเช่าวีดิโอ, และถูกตกโดย Diana
- ร้องเรียงภาพนิ่ง ภาพถ่าย ฟุตเทจจากภาพยนตร์ ผลงานที่ The Watermelon Woman เคยทำการแสดง … แต่ทั้งหมดทั้งมวลหาใช่ ‘Archive Footage’ แต่เป็นความพยายามเลียนแบบ ทำให้เหมือน (เรียกว่า Fake Footage สำหรับใช้ในภาพยนตร์)
เมื่อใดที่มีการถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทอล งานภาพจะมีความกวัดแกว่ง ส่ายไปส่ายมา เรียกว่ามือสมัครเล่น ดูไม่ค่อยเป็นมืออาชีพสักเท่าไหร่, ผิดกลับการถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm นอกจากคุณภาพคมชัด สีสันสดใส ยังมักไม่ค่อยมีการขยับเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่เพียงตั้งกล้องทิ้งไว้ มากสุดก็แค่แพนนิ่งเท่านั้นเอง … ผู้ชมสามารถสังเกตความแตกต่างได้อย่างชัดเจน!
หนังปักหลักถ่ายทำยัง Philadelphia, Pennsylvania โดยร้านเช่าวีดิโอ TLA Video ตั้งอยู่ถัดจาก Theater of the Living Arts (TLA) ย่าน South Street เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-2009 (ปัจจุบันปิดกิจการไปหมดสิ้น)
สำหรับคนที่ยังฉงนสงสัย ภาพยนตร์ Plantation Memories ไม่ได้มีอยู่จริงนะครับ นั่นรวมถึง Fae Richards/The Watermelon Woman (รับบทโดย Lisa Marie Bronson) รวมถึงผู้กำกับ Martha Page (รับบทโดย Alexandra Juhasz) ทั้งหมดเป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนนักแสดงหญิงผิวสี ที่ถูกหลงลืม เลือนหาย ไม่ได้รับเครดิตด้านการแสดงอย่างสมควร
The Watermelon Woman came from the real lack of any information about the lesbian and film history of African-American women. Since it wasn’t happening, I invented it.
Cheryl Dunye
บรรดาภาพนิ่ง ภาพถ่ายเก่าๆของ Fae Richards & Martha Page สร้างขึ้นโดยศิลปิน Zoe Leonard เพราะต้องทำให้ดูเหมือนมาจากทศวรรษ 30s-40s, ส่วนคลิปจากภาพยนตร์ Plantation Memories (รวมถึงฟุตเทจอื่นๆที่มาจากทศวรรษ 30s) กำกับโดย Douglas McKeown จากบทของ McKeown และ Cheryl Dunye, ถ่ายทำโดย Michelle Crenshaw
ฉากจากภาพยนตร์ Plantation Memories นำเสนอช่วงขณะที่คุณนายกำลังร้องไห้เศร้าโศก เพราะการจากไปของสามี ทำให้ Mammy (รับบทโดย Fae Richards/The Watermelon Woman) เข้ามาปลอบประโลม เช็ดน้ำตา พูดให้กำลังใจ อธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า เชื่อว่าสักวันหนึ่งเขาต้องหวนกลับคืนมา … ผมมองการจากไปของสามี = ความเลือนลางจางหายของนักแสดงหญิง-ผิวสี ที่มักไม่ค่อยปรากฎชื่นบนเครดิตหนัง เลยมักถูกหลงลืม เหลือเพียงในความทรงจำ (แบบเดียวกับชื่อหนัง เรือกสวนในความทรงจำ)
บ่อยครั้งจะมีการขึ้นข้อความ (Title Card) บ่งบอกวันเวลา สถานที่ รวมถึงรายชื่อบุคคลระหว่างการให้สัมภาษณ์ ด้วยลวดลายอักษรที่มีความบิดๆเบี้ยวๆ หนาบางไม่เท่ากัน ให้ความรู้สึกยียวนกวนประสาท สร้างความตลกขบขัน
ไฮไลท์คือเครดิตชื่อหนัง The Watermelon Woman พื้นหลังจะมีการแบ่งครึ่งชมพู-เขียว ซึ่งสามารถมองว่าคือสีของแตงโม (จริงๆมันควรจะแดง-เขียว แต่ด้วยความแปร๊ดของสี ก็เอาตามที่สบายใจ) ขณะเดียวกันการแบ่งสีออกเป็นสองฟากฝั่ง ยังแฝงนัยยะถึงรสนิยมรักร่วมเพศ (Homosexual) คาบเกี่ยวระหว่างชาย-หญิง ได้ด้วยเช่นกัน
- Cleopatra Jones (1973) ภาพยนตร์แนว Blaxploitation (มาจาก black+exploitation หนังของคนดำ โดยคนดำ เพื่อคนดำ) กำกับโดย Jack Starrett, นำแสดงโดย Tamara Dobson, Bernie Casey, Shelley Winters
- Jason’s Lyric (1994) ภาพยนตร์แนว Erotic Romantic Psychological Drama กำกับโดย Doug McHenry, นำแสดงโดย Allen Payne, Jada Pinkett (Smith)
- Personal Best (1982) หนังดราม่ากีฬา กำกับโดย Robert Towne นำแสดงโดย Mariel Hemingway, Patrice Donnelly
ทั้งสามเรื่องที่ Diane เลือกมานี้ ไม่ได้มีความเข้าพวกกันสักเท่าไหร่ Cheryl จึงแนะนำภาพยนตร์อีกสามเรื่องโดยยึด Cleopatra Jones (1973) ที่มีนักแสดงหญิงรับบทนำ ในบรรยากาศสยองขวัญ สั่นประสาท นำแสดงโดย Sigourney Weaver
- Carrie (1976) ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ (Supernatural Horror) กำกับโดย Brian De Palma, นำแสดงโดย Sissy Spacek
- Aliens (1986) ภาพยนตร์ Action Sci-Fi กำกับโดย James Cameron
- Repulsion (1965) ภาพยนตร์แนว Psychological Horror กำกับโดย Roman Polanski นำแสดงโดย Catherine Deneuve
สุดท้ายแล้ว Diane ตัดสินใจเลือก Cleopatra Jones (1973) [นำแสดงโดยนักแสดงผิวสี]และ Repulsion (1965) [นำแสดงโดยนักแสดงผิวขาว] ซึ่งผมมองว่าเป็นการบอกใบ้ความสัมพันธ์ระหว่าง Diane และ Cheryl
ครั้งหนึ่ง Cheryl ทำการลิปซิงค์ สวมบทบาทเป็นตัวละครที่ Fae Richards/The Watermelon Woman เคยแสดงในภาพยนตร์ Plantation Memories นี่อาจดูเหมือนฉากคอมเมอดี้ ล้อเลียน ตลกขบขัน แต่มันคือการอวตารในเชิงเปรียบเทียบ Cheryl = The Watermelon Woman แสดงถึงอิทธิพล แรงบันดาลใจ ความชื่นชอบหลงใหล กระจกสะท้อนตัวตนเองในหลายๆเหตุการณ์บังเกิดขึ้น
คุณรับรู้จักนักแสดงผิวสีเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน Hattie McDaniel, Lillian Randolph, Dorothy Dandridge, Juanita Moore, Ella Fitzgerald ฯ
แซว: ซีนนี้นอกจากนักแสดงผิวสีตัวจริงๆแล้ว ยังมีการแอบแทรก Fae Richards/The Watermelon Woman เข้ามาอย่างเนียนๆหลายภาพทีเดียว (ซึ่งภาพเหล่านั้นจะค่อยๆเปิดเผย แอบเฉลยอย่างเนียนๆ)
มันจะมีอยู่ 2-3 ครั้งที่ผกก. Cheryl แทรกใส่ภาพตัวเองลุกขึ้นมาโยกเต้น เก็กหล่อ ทำอะไรไร้สาระ ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องอะไรกับเรื่องราวของหนัง แต่แท้จริงแล้วซีนเล็กๆพวกนี้ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกใกล้ชิด เป็นกันเอง เหมือนมือสมัครเล่น (amateur) นำเสนอด้านสนุกสนาน เรียกเสียงหัวเราะขำขัน เป็นส่วนตัวตนเองของผู้สร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่าง Cheryl กับ Diane มีลักษณะลองผิดลองถูก เพียงอารมณ์ชั่ววูบ เปิดประสบการณ์ชีวิต (ไม่ใช่ One Night Stand แค่ลองดูใจกันสักพักหนึ่ง) จุดประสงค์เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Fae Richards/The Watermelon Woman กับผู้กำกับ Martha Page ร่วมรักกันด้วยผลประโยชน์ แต่ด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติพันธุ์ จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่คนรอบข้างยุคสมัยนั้นจะให้การยินยอมรับ
แม้เหมือนหนังพยายามจะเปิดกว้างแนวคิด Miscegenation (ความสัมพันธ์ต่างสีผิว/เชื้อชาติพันธุ์) แต่ผมกลับรู้สึกว่าผกก. Cheryl มีความสุดโต่งเกี่ยวกับสีผิว/เชื้อชาติพันธุ์ของตนเอง เพราะการทำให้ตัวละครคนขาว Diane ไม่ต่างจากวัตถุทางเพศ (Object of Desire) แค่ได้ลิ้มลอง เปิดมุมมอง รสชาติชีวิตใหม่ (ร่วมเพศสัมพันธ์กับคนขาว) เมื่อถึงจุดพึงพอใจแล้วก็แยกทางไป ไม่เคยครุ่นคิดเอาจริงจัง ใช้อีกฝ่ายเพียงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนเนื้อหาสาระที่ตนเองสนใจเพียงเท่านั้น
และเพราะหนังเล่าเรื่องในมุมมองคนผิวสี ความคิดเห็นของ Tamara ต่อ Diane จึงออกไปทางดูถูกเหยียดหยาม ยัยนี่เพียงชอบลิ้มลองของแปลก เก็บแต้มทำคะแนน ไม่เชื่อว่า Cheryl จะสามารถสานสัมพันธ์ยั่งยืนยาว … ความคิดเห็นดังกล่าวค่อนข้างจะตรงเผง! แต่ความดื้อรั้น ดึงดัน นิสัยเอาแต่ใจของ Cheryl ไม่ต้องการยินยอมรับความผิดพลาด จึงกลายเป็นประเด็นขัดแย้ง บาดหมางรุนแรง มองหน้ากันไม่ติด
โปสเตอร์ด้านหลังของ Diane คือหนังสั้น The Attendant (1993) กำกับโดย Isaac Julien ความยาวเพียง 8 นาที นำพาผู้ชมเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ Wilberforce House ณ Hull, England ซึ่งอุทิศให้กับประวัติศาสตร์การเป็นทาส (History of Slavery) ผสมผสานเข้ากับภาพแฟนตาซี เหนือจริง (Surreal) รสนิยม Sado-Masochistic
เกร็ด: หนังสั้นเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาด Slaves on the West Coast of Africa (1833) ของจิตรกรชาวฝรั่งเศส François-Auguste Biard
การที่โปสเตอร์อยู่เบื้องหลัง/ซ้อนทับตัวละครลักษณะนี้ มักต้องการจะสื่อถึงเบื้องหลัง ตัวตน รสนิยมของ Diane เหตุผลที่ลุ่มหลงใหลคนดำ เป็นเช่นไรแนะนำให้ลองรับชมหนังสั้นดูเองก็แล้วกัน
LINK: https://ubu.com/film/julien_attendant.html
ผมแอบประหลาดใจเล็กๆที่หนังสือ Hollywood Lesbians (1994) เขียนโดย Doug McGowden นั้นมีอยู่จริง! รวบรวมบทสัมภาษณ์กับ Sandy Dennis, Barbara Stanwyck, Marjorie Main, Nancy Kulp, Patsy Kelly, Agnes Moorehead, Edith Head, Judith Anderson และอีกหลายๆคนใน Hollywood ยุคสมัย Golden Age (ส่วนใหญ่เสียชีวิตไปหมดแล้ว) ที่ความชัดเจนในรสนิยมรักร่วมเพศ เลสเบี้ยน
แต่แน่นอนว่าในส่วนของ Martha Page และ Fae Richards/The Watermelon Woman ไม่ได้มีอยู่จริงในหนังสือเล่มนี้นะครับ
ตัดต่อโดย Cheryl Dunye, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Cheryl ต้องการสรรค์สร้าง ‘essay film’ ติดตามค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับ The Watermelon Woman มีการพูดคุยสัมภาษณ์กูรู ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เดินทางไปยังสถาบันต่างๆเพื่อค้นคว้าหาข้อมูล โดยระหว่างนั้นมักแทรกคั่นด้วยวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ทำงานร้านเช่าวีดิโอ รับงานนอกถ่ายทำสถานที่ รวมถึง Tamara พยายามหาคู่เดทให้กับ Cheryl แต่เธอกลับเลือกสาวผิวขาว Diane มองหน้าไม่ถูกชะตาเลยสักนิด!
- อารัมบท, แนะนำตัวละครและเป้าหมายของภาพยนตร์
- เริ่มต้นด้วย Cheryle และ Tamara ได้รับว่างจ้างบันทึกภาพงานแต่งงาน
- Cheryl สนทนาหน้ากล้อง อธิบายเป้าหมายของหนัง ต้องการค้นหาใครคือ The Watermelon Woman จากฟุตเทจภาพยนตร์ Plantation Memories
- ช่วงเวลางมเข็มในมหาสมุทร
- หลังเลิกงานร้านเช่าวีดิโอ Tamara ลากพา Cheryl มานัดบอดกับ Yvette
- Cheryl สัมภาษณ์ผู้คนตามท้องถนน เผื่อว่าจะมีใครรับรู้จัก The Watermelon Woman
- Cheryl สัมภาษณ์มารดา นึกว่าจะรับรู้จักเสียที่ไหน
- การมาถึงของ Diane ยังร้านเช่าวีดิโอ ส่งสายตาแสดงความสนอกสนใจ Cheryl
- Cheryl เดินทางไปสัมภาษณ์กูรู Lee Edwards เกี่ยวกับ Race Film แต่ก็ไม่รับรู้จัก The Watermelon Woman
- Cheryl และ Tamara เดินทางไปหาข้อมูลยังห้องสมุด Library of Congress ก็ไม่พบข้อมูลใดๆอีกเช่นเคย
- เบาะแสเกี่ยวกับ The Watermelon Woman
- Cheryl ได้สัมภาษณ์คนรู้จักของมารดา Shirley Hamilton บอกว่า The Watermelon Woman ชื่อจริงคือ Fae Richards
- Cheryl ถูกตกโดย Diane พาขึ้นห้อง ร่วมรักหลับนอน
- Cheryl สัมภาษณ์นักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรม Camille Paglia แต่เธอไม่รับรู้รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่าง Fae Richards กับผู้กำกับ Martha Page
- Tamara ดูไม่ค่อยถูกชะตากับ Diane ทำให้ความสัมพันธ์กับ Cheryl ค่อยๆเหินห่าง บาดหมาง มองหน้ากันไม่ติด
- ทฤษฎีสมคบคิด และบทสรุปเกี่ยวกับ The Watermelon Woman
- Cheryl เข้าไปแอบถ่ายระหว่างค้นหาข้อมูลยัง Center for Lesbian Information and Technology (CLIT) ทำให้ได้ข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง Fae Richards กับผู้กำกับ Martha Page
- Cheryl เดินทางร่วมกับ Diane ไปสัมภาษณ์ Mrs. Page-Fletcher น้องสาวของ Martha Page แต่อีกฝ่ายปฏิเสธทฤษฎีสมคบคิดความสัมพันธ์กับ Fae Richards เลยถูกเชิญให้ออกจากบ้าน
- Cheryl ตัดสินใจแยกทางกับ Diane ทำให้มีชีวิตขาลง รถเสีย ถูกตำรวจจับกุม (เพราะไม่พกบัตรประชาชน)
- Cheryl ติดต่อสัมภาษณ์ June Walker คนรักของ Fae Richards แต่อีกฝ่ายกลับล้มป่วยเข้าโรงพยาบาล
- Cheryl พยายามจะขอคืนดีกับ Tamara แต่เหมือนไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่
- ประมวลผลสรุป การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ The Watermelon Woman
โครงสร้างของหนังไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร ใช้การดำเนินเรื่องแบบเส้นตรง ‘Linear storytelling’ แต่หลายคนอาจประสบปัญหา สับสนมึนงง เพราะมัวแต่สังเกตการสลับไปมาระหว่างถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทอล vs. ฟีล์ม 32mm เดี๋ยวสัมภาษณ์คนโน้นนี่ เดี๋ยวเปลี่ยนมาเรื่องราวโรแมนติกคอมเมอดี้ เลยครุ่นคิดว่ามันคือการดำเนินเรื่องคู่ขนาน ทำให้ไม่สามารถปะติดปะต่อ มองหาจุดเชื่อมโยงสัมพันธ์
จริงๆแล้วสิ่งที่เป็นความคู่ขนานของหนังไม่ใช่โครงสร้างดำเนินเรื่อง! แต่คือสิ่งเคยเกิดขึ้นในอดีต (The Watermelon Woman คาดว่าอาจมีความสัมพันธ์เลสเบี้ยนกับผู้กำกับผิวขาว Martha Page) สะท้อนเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน (ตัวละคร Cheryl ถูกตกโดย Diane) โดยบางเรื่องราว(ปัจจุบัน) อย่างความแตกร้าวระหว่าง Cheryl กับ Tamara สามารถใช้อธิบายจุดจบความสัมพันธ์(อดีต) The Watermelon Woman และ Martha Page
เพลงประกอบโดย Paul Shapiro นักแซกโซโฟนแนว Avant-Garde Jazz และร่วมก่อตั้ง Brooklyn Funk Essentials สำหรับรวบรวมแนวดนตรี (music collective) Jazz, Funk, Hip Hop จากหลากหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม ผสมผสานคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
งานเพลงของหนังมีส่วนผสมทั้ง diegetic (ระหว่างถ่ายวีดิโอ, ขับร้องคาราโอเกะ, คลอประกอบพื้นหลังในร้านเช่าหนัง ฯ) และ non-diegetic ของ Shapiro เป่าแซกโซโฟน ท่วงทำนอง Jazz สร้างความผ่อนคลาย สนุกสนานครื้นเครง แต่ดังขึ้นไม่นานเท่าไหร่ก็สลับสับเปลี่ยนฉาก ตัดจบไปอย่างรวดเร็ว (ในอัลบัมเลยมีประมาณ 20+ กว่าเพลง)
ในร้านคาราโอเกะนัดบอด หลังจาก Boogie Oogie Oogie (1978) ของวง A Taste of Honey, อีกบทเพลงที่ใครหลายคนจดจำไม่รู้ลืมเลือนก็คือ Lovin’ You (1974) แต่ง/ขับร้องโดย Minnie Riperton (และ Richard Rudolph) เคยติดอันดับ 1 ชาร์ท US Billboard Hot 100 ทำยอดขายซิงเกิ้ลระดับ Gold (เกินล้านก็อปปี้) แต่เสียงสูงปรี๊ดของเธอไม่เหมาะสำหรับทุกคน
ผมมองนัยยะการขับร้องบทเพลงนี้ เสียงสูงปรี๊ดคือความคาดหวังในผลลัพท์ เพ้อใฝ่ฝันว่าฉันต้องทำได้ ประสบความสำเร็จ ค้นพบเจอเรื่องราวของ The Watermelon Woman (ขณะนั้นเพิ่งเริ่มต้นโปรเจค) แต่ความเป็นจริงแล้วกว่าผลงานเรื่องนี้จะสำเร็จลุล่วง ต้องพบเจออุปสรรคปัญหามากมาย แถมยังต้องแลกเปลี่ยนมากับหลายสิ่งอย่าง ผลลัพท์อาจไม่ได้สมดั่งใจหวัง (เหมือนดั่งเสียงร้องของ Yvette) ถึงอย่างนั้นก็อาจจดจำไม่รู้ลืมเลือน
Lovin’ you is easy cause you’re beautiful
Makin’ love with you is all i wanna do
Lovin’ you is more than just a dream come true
And everything that I do is out of lovin’ you
La la la la la la la… do do do do doNo one else can make me feel
The colors that you bring
Stay with me while we grow old
And we will live each day in springtimeCause lovin’ you has made my life so beautiful
And every day my life is filled with lovin’ youLovin’ you I see your soul come shinin’ through
And every time that we oooooh
I’m more in love with you
La la la la la la la… do do do do doNo one else can make me feel
The colors that you bring
Stay with me while we grow old
And we will live each day in springtimeCause lovin’ you has made my life so beautiful
And every day my life is filled with lovin’ youLovin’ you I see your soul come shinin’ through
And every time that we oooooh
I’m more in love with you
La la la la la la la… do do do do do
อีกบทเพลงที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Skin แต่ง/ขับร้องโดย Leslie Winer, ดังขึ้นในฉาก Sex Scene ระหว่าง Cheryl กับ Diane เนื้อคำร้องสะท้อนความสัมพันธ์ครั้งนี้อย่างตรงไปตรงมา
[Intro]
More confident than ever[Verse 1]
The night was Tyson
On cable, on a watchman, through a microscope
Close up ain’t ever that big of a [?] idea
An expensive compass runs its hand through my hair
I don’t know what to say, destination of mine
Honey you just went away
This is a spell, this is a spell
A drive by[Chorus]
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin[Verse 2]
Between the fury and the moment
Between the time and my confessions
Between everything and everything else
Between the vision and the madness
Between the something and something like that
Between what I mean and what I say
Between the stroke and the luck
Between exactitude and vagueness
Between skepticism and curiosity
Between the container and the content
Between the book and the cover
Between the music and the sheetsYou might also like
When I Was Walt Whitman
Leslie Winer
the grudge
Olivia Rodrigo
lacy
Olivia Rodrigo[Chorus]
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin[Verse 3]
Between obsession and cryptic
Between darkness and descent
Between the track and the choices
Between the destination and the journey
Between the Chuck and the Berry
Between the mind and its thoughts
Between the heart and the soul
Between the half and the whole[Verse 1]
The night was Tyson
On cable, on a watchman, through a microscope
Close up ain’t ever that big of a [?] idea
An expensive compass runs its hand through my hair
I don’t know what to say, destination of mine
Honey you just went away
This is a spell, this is a spell
A drive by[Chorus]
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin
I ain’t afraid of where you’re coming from
I ain’t afraid of where you’ve been
I ain’t afraid of what you’re giving in
I ain’t afraid of your skin
ประวัติศาสตร์คนผิวสีในสหรัฐอเมริกา ใครต่อใครย่อมรับรู้ดีว่าเคยถูกกดขี่ข่มเหง ใช้แรงงานเยี่ยงทาส จนกระทั่งปธน. Abraham Lincoln ประกาศเลิกทาสวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 แต่ก็ใช่ว่าพวกคนขาวในหลายๆรัฐ(โดยเฉพาะทางตอนใต้)จะให้การยินยอมรับ ยังต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษ(ถึงระดับศตวรรษ) กว่าที่คนผิวสีจะได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมอย่างแท้จริง
ในวงการภาพยนตร์ตั้งแต่จุดเริ่มต้น Hollywood ถือได้ว่าคืออาณาจักรคนขาว ยุคหนังเงียบไม่เคยมีที่ยืนของคนผิวสี (บทบาทตัวละครผิวดำ ยังทำการแสดงโดยให้คนขาวแต่งแต้มทาผิวให้สีคล้ำ แนะนำให้หารับชมภาพยนตร์ The Birth of a Nation (1915)) ยกเว้นเพียงภาพยนตร์สร้างขึ้นโดยคนดำ ถึงสามารถมีนักแสดงสีผิวเดียวกัน (ยกตัวอย่าง Within Our Gates (1920))
การมาถึงของยุคหนังพูด (Talkie) และหนังสี (Color Film) ทำให้วิธีแต่งแต้มทาผิวให้สีคล้ำ มันจึงดูไม่แนบเนียนอีกต่อไป คนผิวดำจึงเริ่มได้รับโอกาส บทบาทสมทบ ส่วนมากเล่นคนงาน สาวรับใช้ ไม่ก็แม่นม มีคำเรียก ‘mammy’ ถือเป็นลักษณะ ‘stereotype’ ไม่ค่อยเน้นขายความสามารถด้านการแสดงใดๆ จนกระทั่ง Hattie McDaniel สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress จากภาพยนตร์ Gone With The Wind (1939) พิสูจน์ให้เห็นว่าคนผิวสีก็มีศักยภาพ ความสามารถด้านการแสดงเฉกเช่นเดียวกัน
ผกก. Dunye ระหว่างค้นหาข้อมูลสำหรับสอนวิชาประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ พบเจอว่าในช่วงยุคทอง Golden Age of Hollywood (1927-69) มีนักแสดงผิวสีที่รับบทเป็นตัวประกอบ มักถูกมองข้าม ไม่ค่อยได้รับเครดิตบนรายชื่อนักแสดง นั่นทำให้พวกเขาและเธอค่อยๆเลือนหาย สาปสูญ ราวกับไร้ตัวตน
ความตั้งใจในการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ชม The Watermelon Woman คือตัวแทนนักแสดงผิวสีที่ถูกหลงลืม เลือนหายไปตามกาลเวลา เราอาจจะทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก แค่รับรู้การมีตัวตนของพวกเขาและเธอ ก็อาจจะเพียงพอแล้วละ
ผมรับชม The Watermelon Woman (1996) ก็ครุ่นคิดถึงหนังไทยที่หายสาปสูญไป ส่วนใหญ่ล้วนก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ เพราะถ่ายทำด้วยฟีล์ม 16mm ไม่ทนน้ำ-ลม-ฝน แถมการเก็บรักษายังถูกโยนทิ้งโยนขว้าง ไม่รู้จักคุณค่า นายทุนสนเพียงเงินตรา … อารมณ์คล้ายๆภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูจบแล้วรู้สึกเศร้าๆ ผิดหวัง แต่ก็ต้องทำใจยอมรับมัน
เรื่องราวของ The Watermelon Woman และความสัมพันธ์ระหว่าง Fae Richards และ Martha Page อาจไม่มีอยู่จริง (fiction story) แต่คำทิ้งท้ายของผกก. Dunye ไม่ได้จะบิดเบือน กลบเกลื่อน แค่ต้องการใช้ภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีต้นแบบอย่าง แรงบันดาลใจ สร้างอนาคตจากตัวเราเอง
The Watermelon Woman เป็นคำที่เหมือนไม่ค่อยสุภาพ ดูถูกเหยียดหยามคนผิวสี (เหมือนศีรษะกลมๆของผกก. Dunye) แต่อย่างที่นักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรม Camille Paglia แสดงความคิดเห็นเอาไว้ ทำไมไม่มองโลกในแง่ดี ถึงสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ (fruitfulness) ยินดีปรีดา (joy and pleasure) ตัวแทนวัฒนธรรม African-America
Looking at that as negative… why is that not instead a symbol of joy and pleasure and fruitfulness? After all, a piece of watermelon has the colors of the Italian flag… red, white and green, so I’m biased to that extent. But I think that, um, if the watermelon symbolizes African-American culture, rightly so, because look what white middle class feminism stands for… anorexia and bulimia.
Camille Paglia
หนังใช้ทุนสร้างประมาณ $300,000 เหรียญ น่าเสียดายไม่มีรายงานรายรับ เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin สามารถคว้ารางวัล Teddy Award: Best Feature Film (สำหรับภาพยนตร์เกี่ยวกับ LGBTQIAN+)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 2K ตรวจอนุมัติโดยผกก. Cheryl Dunye, ตากล้อง Michelle Crenshaw และโปรดิวเซอร์ Alexandra Juhasz ซึ่งยังทำการปรับปรุงคุณภาพเสียงให้กลายเป็น DTS-HD Master เสร็จสิ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 สามารถหาซื้อ Blu-Ray หรือรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel
ส่วนตัวมีความชื่นชอบประทับใจ The Watermelon Woman (1996) ในความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา มีชีวิตชีวา Sex Scene ต้องยกนิ้วให้! แต่เพราะผมไม่ใช่เลสเบี้ยน ผิวสี หรือชนชาติอเมริกัน เลยไม่สามารถสัมผัสถึงความลึกซึ้ง (แต่ก็ตระหนักถึงความทรงคุณค่าของหนัง) … ผิดกับ Center Stage (1991) โศกนาฎกรรมของหยวนหลิงอวี้ (Ruan Lingyu) สั่นสะท้านทรวงในกว่ามากๆ
แนะนำอย่างยิ่งสำหรับคนผิวสี ชาวเลสเบี้ยน สัญชาติอเมริกัน นี่ถือเป็นภาพยนตร์ทรงคุณค่าทางชาติพันธุ์ สร้างความตระหนัก หวนรำลึก เคารพคารวะบรรดานักแสดงผิวสีที่ถูกลบเลือนหายตามกาลเวลา
จัดเรต 13+ กับฉากร่วมรักเลสเบี้ยน
Leave a Reply