Timbuktu (2014) : Abderrahmane Sissako ♥♥♥♥
Timbukto ศัพท์แสลงของชาวตะวันตก แปลว่าดินแดนห่างไกลโพ้น แท้จริงแล้วคือเมืองโบราณของประเทศ Mali ระหว่างปี ค.ศ. 2012-13 เคยถูกยึดครองโดยกลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine (AAD) บีบบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ของศาสนาอิสลาม แต่พวกมันกลับปากว่าตาขมิบตูด เก่งกับเพียงประชาชนตาดำๆ
Timbukto (2014) นำเสนอประวัติศาสตร์ช่วงสั้นๆที่ชาวเมือง Timbukto ถูกกลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine (หนึ่งในพันธมิตรของอัลกออิดะฮ์, Al-Qa’ida) เข้ายึดครองหลากหลายพื้นที่ในประเทศ Mali แล้วทำการบีบบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ (Sharia/Shariah) อ้างอิงหลักคำสอนในคัมภีร์อัลกุรอ่าน
พวกนักรบญิฮาด (Jihadism) แม้พยายามบีบบังคับให้ชาวมุสลิมปฏิบัติตามหลักกฎหมายอิสลาม แต่พวกมันเองกลับปล่อยปละละเลิก เพิกเฉยเฉื่อยชา ปากว่าตาขยิบ หาความน่าเชื่อถือไม่ได้เลยสักนิด เต็มไปด้วยความฉ้อฉล คอรัปชั่น พฤติกรรมไม่แตกต่างจากเผด็จการเบ็ดเสร็จ หรือจะตีความถึงลัทธิอาณานิคมเก่า+ใหม่ (Colonialism และ Neo-Colonialism) ก็ได้กระมัง
ผมมีความหลงใหลในโปสเตอร์หนัง ต้นไม้เดี่ยวๆแบบนี้ชวนให้นึกถึงผลงานของผกก. Abbas Kiarostami แม้เนื้อเรื่องราวไม่ได้ละม้ายคล้ายคลึง แต่ต้องชมภาพถ่ายภูมิทัศน์ ท้องทะเลทราย มีความงดงาม เพลิดเพลินสายตา (มีนักวิจารณ์เปรียบเทียบกับ The Sheltering Sky (1990) ของผกก. Bernardo Bertolucci) ขณะที่ไฮไลท์ยกให้โครงสร้างดำเนินเรื่องที่กระโดดไปมา สลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละคร ร้อยเรียงหลากหลายเรื่องราว ผู้ชมต้องแปะติดปะต่อจิ๊กซอว์ กระเบื้องโมเสก ถึงสามารถทำความเข้าใจภาพรวมทั้งหมด
عبد الرحمن سيساكو, Abderrahmane Sissako (เกิดปี 1961) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Mauritanian เกิดที่ Kiffa, Mauritania ก่อนย้ายสู่บ้านเกิดบิดาที่ Mali โตขึ้นเดินทางสู่ Moscow ร่ำเรียนภาพยนตร์ยัง All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) จากนั้นปักหลักอยู่ฝรั่งเศส กำกับหนังสั้น ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกแจ้งเกิด Life on Earth (1998), ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Waiting for Happiness (2002), Bamako (2006), Timbuktu (2014) ฯ
เมื่อประมาณปี ค.ศ. 2013 ผกก. Sissako ได้รับการติดต่อจากประธานาธิบดี Mohamed Ould Abdel Aziz แห่ง Mauritania ชักชวนมาร่วมสรรค์สร้างภาพยนตร์ โดยรัฐบาลจะช่วยออกทุนสร้างให้
ในตอนแรกผกก. Sissako นำเสนอโปรเจคเกี่ยวกับการค้าทาสในประเทศ Mauritania แต่ได้รับการคำตอบปฏิเสธทันควัน! ภายหลังตอบตกลงโปรเจคเกี่ยวกับนักรบญิฮาดที่เข้ายึดครอง Timbuktu, Mali ระหว่างปี ค.ศ. 2012-13
I read a very, very small [newspaper] article in July 2012 about this couple that had been stoned to death in Northern Mali. I learned in the article that an image of that couple could be seen on the Internet and it really shocked me to know that this couple had died because they had done nothing. They had just loved each other. And it’s really appalling to know that overall, people are very indifferent to such atrocity. The act of stoning is one of the most barbaric acts one could do. The role of a filmmaker is to tell the stories of the world around us, so that’s what I wanted to do.
Abderrahmane Sissako
ผกก. Sissako เป็นคนที่ไม่ชอบพัฒนาบทหนัง ร่วมงานนักเขียน Kessen Tall เพียงร่างหัวข้อ/รายละเอียดคร่าวๆว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หลายๆเรื่องราวได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง หนึ่งในนั้นอ่านพบเจอในหนังสือพิมพ์ คู่รักหนุ่ม-สาวยังไม่ได้แต่งงาน แต่อาศัยอยู่ร่วมกันจนมีบุตร แล้วถูกพวกมุสลิมหัวรุนแรงจับฝังดิน เหลือเพียงศีรษะโผล่พ้นพื้น แล้วใช้ก้อนหินขว้างปาจนทั้งสองเสียชีวิต
เมื่อตอนเริ่มเตรียมงานสร้าง สถานการณ์ถือว่าสงบลง เพราะฝรั่งเศสส่งกองกำลังทหารเข้ามาแทรกแซง ขับไล่พวกมุสลิมหัวรุนแรง ครุ่นคิดว่าน่าจะปลอดภัย จึงวางแผนจะเดินทางเข้าไปถ่ายทำยัง Timbuktu, Mali แต่แล้วเกิดเหตุการณ์ระเบิดพลีชีพในสนามบิน (กว่าที่ Ansar al-Dine จะยุติการเคลื่อนไหวก็เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017) มันเลยเป็นความเสี่ยงอันตรายเกินไป สุดท้ายจำใจเลือกใช้ Oualata, Mauritania เป็นสถานที่ถ่ายทำ
You can’t make a documentary where people aren’t free to speak. And the risk is that you make a film for the jihadists – because they’re the ones who are going to do the talking… They never left.
เกร็ด: หนังใช้การสื่อสารทั้งหมด 5 ภาษา ประกอบด้วย Arabic, French, Tamasheq, Bambara และ English แต่เหมือนว่าซับไตเติ้ลจะแปลทั้งหมด อาจทำให้คนไม่มักคุ้นภาษาเหล่านี้แยกแยะไม่ออกสักเท่าไหร่
กองกำลังติดอาวุธ Ansar al-Dine (AAD) เข้ายึดครอง Timbukto, Mali จากนั้นออกคำสั่งผ่านโทรโข่ง บีบบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์อย่างเคร่งครัด ผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ห้ามดูโทรทัศน์ วิทยุ เล่นดนตรี กีฬา ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเดินเตร็ดเตร่อย่างไร้จุดมุ่งหมาย ใครต่อต้านขัดขืนจะถูกตัดสินโทษด้วยความรุนแรง
ห่างออกไปจากเมือง Timbuktu ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับชาวเร่ร่อน (Nomad) แต่หลังจากถูกรุกรานโดยกลุ่มนักรบญิฮาด ทำให้ต่างอพยพหลบหนีหายไปแทบหมดสิ้น หลงเหลือเพียงครอบครัวหนึ่งประกอบด้วยสามี Kidane, ภรรยา Satima, บุตรสาว Toya และบุตรชายบุญธรรม Issan ทำอาชีพปศุสัตว์ เลี้ยงวัวทั้งหมดแปดตัว หนึ่งในนั้นชื่อ GPS แม่วัวกำลังตั้งครรภ์ วันหนึ่งระหว่างกำลังลงอาบน้ำในทะเลสาป ข้ามฟากไปย่ำเหยียบแหดักปลาชาวประมง Amadou สร้างความไม่พึงพอใจจึงใช้ไม้ปลายแหลมทิ่มแทงแม่วัวจนเสียชีวิต ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ต่อสู้ระหว่างผู้นำครอบครัวทั้งสอง ก่อนจบลงด้วยความตายของชาวประมง ทำให้ Kidane ถูกพวกนักรบญิฮาดไล่ล่า จับกุมตัว ตัดสินโทษประหารชีวิต ไม่มีโอกาสพบเจอหน้าภรรยาและบุตรอีกต่อไป
ในส่วนของนักแสดง ตัวประกอบส่วนใหญ่ก็คือชาวบ้านในละแวก Oualata, Mauritania ไม่เคยมีประสบการณ์ภาพยนตร์มาก่อน แต่จะมีนักแสดงรับเชิญหลายคนแวะเวียนเข้ามา อยากร่วมงานผกก. Sissako
วิธีการกำกับนักแสดงสมัครเล่นของผกก. Sissako ไม่ใช่แนวออกคำสั่งให้ทำโน่นนี่นั่น แต่เริ่มจากชักชวนมาจิบชา พูดคุย สานสัมพันธ์ เรียนรู้จักตัวตนอีกฝั่งฝ่าย เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น อันจะทำให้บุคคลนั้นถ่ายทอดบทบาทการแสดงออกมาอย่างสุดความสามารถ
I treat each person as an exceptional personality. Before shooting, I talk to my actors about the film. I visit them as a guest or have tea with them. You must develop trust—not necessarily friendship, but trust is essential. This is like any couple in a relationship. If there is trust, the relationship flourishes. The “actors” also give their best at that moment.
Abderrahmane Sissako
มีตัวละครหนึ่งที่ผมต้องกล่าวถึงให้จงได้คือแม่วัว GPS มันช่างเป็นการตั้งชื่อที่แปลกประหลาด แต่เห็นว่าชาวแอฟริกันชอบตั้งชื่อแปลกๆ โกอินเตอร์แบบนี้ ซึ่งแฝงนัยยะถึงเครือข่าย การติดต่อสื่อสาร เมื่อมันถูกฆาตกรรม ก็เท่ากับความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สูญสลาย พังทลาย
เกร็ด: แม่วัวตัวนี้ไม่ได้ถูกฆ่า ล้มตายลงจริงๆ แค่เพียงถูกยิงยาสลบ โดยการดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด แล้วใช้ CG (Computer Graphic) เพิ่มหอกไม้ปลายแหลมเข้ามา
That was my idea. In Africa, we frequently use nicknames. They’re like childhood friends that we call like Carter or Dick Cheney. And calling that calf GPS was a way to show that the world is connected and that we’re all connected. The fact that [these characters are] looking for a network and they have phones is to show it’s not a completely wild place. That world is connected. So when GPS dies, those structures and those references are gone too.
ถ่ายภาพโดย Sofian El Fani (เกิดปี 1974) ตากล้องสัญชาติ Tunisian ขาประจำผู้กำกับ Abdellatif Kechiche ผลงานเด่นๆ อาทิ Late December (2010), Blue Is the Warmest Colour (2013), Timbukto (2014), It Must Be Heaven (2019), Aga’s House (2019) ฯ
ใครเคยรับชมผลงานของผกก. Kechiche น่าจะรับรู้สไตล์การถ่ายภาพของ El Fani ที่นิยมใช้กล้อง Hand-Held, ระยะภาพโคลสอัพ (Close-Up) และอัตราส่วนภาพ Anamorphic Widescreen (2.35:1) แต่นั่นไม่ใช่แนวทางของผกก. Sissako ทำตรงกันข้ามเกือบจะทุกสิ่งอย่าง!
เหตุผลที่เลือกใช้บริการตากล้อง El Fani เพราะความโดดเด่นในการใช้พื้นที่ว่าง สำหรับถ่ายทำด้วยของเลนส์ Anamorphic Widescreen (2.35:1) นี่เป็นสิ่งไม่จำกัดแค่ภาพระยะใกล้ (Close-Up) สามารถปรับตัวเข้ากับการถ่ายภาพระยะไกล (Long และ Extreme-Long Shot) รวมถึงทิวทัศน์ ทะเลทราย (Landscape Shot) ได้อย่างน่าอึ้งทึ่ง มีความงดงาม เพลิดเพลินสายตา
I don’t really like closeup shots in cinema. I always want to create space because, for me, that space is an invitation, to enter into it. When I make a film I don say, “look!” I say, “come in”.
Abderrahmane Sissako
เกร็ด: ถึงแม้จะตกลงปลงใจถ่ายทำยัง Oualata, Mauritania แต่ทว่าผกก. Sissako ก็หาหนทางเข้าไปยัง Timbuktu ตามลำพัง ใช้กล้องแอบถ่ายสถานที่ต่างๆ นำมาเป็นต้นแบบ แรงบันดาลใจ มองหาจุดเชื่อมโยงในการถ่ายทำ
หนังเริ่มต้นด้วยกลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine ขับรถไล่ล่า กราดยิงใส่ละมั่ง/กาเซลล์ (Gazelle) สัตว์สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา พวกมันไม่เคยบุกรุกราน สร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่มักตกเป็นเหยื่อของผู้ล่า สัญลักษณ์การใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงบุคคลต่ำต้อยด้อยค่ากว่าตนเอง
จากนั้นยังกราดยิงรูปแกะสลักไม้สไตล์ Bambara (หนึ่งในชาติพันธุ์ของ Mali) นี่ไม่ใช่แค่การทำลายวัตถุโบราณ แต่ยังเหมารวมถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม การเข้ามาของพวกอิสลามหัวรุนแรง พยายามปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่นให้สอดคล้องอุดมการณ์ อ้างกฎหมายชารีอะห์ในการปกครองดินแดนอาณานิคม
หนึ่งในซีเควนซ์ที่ผมชื่นชอบมากๆ ระหว่างการถ่ายทำโฆษณาชวนเชื่อ แต่นักแสดง(เหมือนจะเคยเป็นนักร้องมาก่อนเข้าร่วมกลุ่ม)กลับมีท่าทางรุกรี้ร้อนรน กระวนกระวาย ไม่สามารถโกหกตนเอง พูดบอกความรู้สึก แสดงความเชื่อมั่นต่ออุดมการณ์ของ Ansar al-Dine
สิ่งหนึ่งในซีเควนซ์นี้ที่ทำให้ผมขบขำกลิ้ง คือสปอร์ตไลท์ที่จู่ๆดับลง พอดิบพอดีกับนักแสดงไม่สามารถพูดชวนเชื่อออกมา นั่นแปลว่าแม้แต่อุปกรณ์ไฟฟ้ายังไม่มีความเชื่อมั่นในการถ่ายทำครั้งนี้ … จะว่าไปภาพยนตร์เรื่องนี้มีกลิ่นอาย Dark Comedy อยู่ไม่น้อยเลยนะ!
หนึ่งในซีเควนซ์ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากสุดของหนัง คือเตะฟุตบอลในจินตนาการ เพราะถูกสั่งห้าม ยึดลูกฟุตบอล แต่เด็กๆเหล่านี้ยังสามารถวาดฝัน จินตนาการ มองโลกในแง่ดี ซึ่งดูไปดูมา ท่าทางการเล่นของพวกเขา ไม่ต่างจากการโยกเต้น เริงระบำ
The film talks about forbidden things. During the events shown in the film, an Islamic state had come to power in the region, so life became much stricter. I wanted to tackle this, but not through a simple narrative. I wanted to depict the innate existence of some things, like music. You can “forbid” it, but you can’t forbid someone singing in their mind. Soccer, or play, is the same. That scene shows human power and the capability of staying optimistic. A fight is not just about arms. It’s also about spirit and believing in oneself with patience.
Abderrahmane Sissako
ถือเป็นช็อตงดงามที่สุดในหนัง ภายหลังความชุลมุน ชกต่อย แล้วจู่ๆคาดว่าปืนลั่น ทำให้ชาวประมง Amadou เสียชีวิตโดยพลัน Kidane เลยออกเดิน-วิ่งข้ามทะเลสาปมาอีกฟากฝั่ง เหมือนพยายามจะหลบหนีจากสถานที่เกิดเหตุ แต่สุดท้ายกลับไม่สามารถเอาตัวรอดพ้น
การแช่ภาพช็อตนี้ค้างไว้จนกระทั่ง Kidane ออกเดิน-วิ่งข้ามทะเลสาป เป็นการให้เวลาผู้ชมค่อยๆขบครุ่นคิด ตระหนักถึงการแบ่งแยก ความขัดแย้งระหว่างสองฟากฝั่ง ไม่ใช่แค่ Kidane vs. ชาวประมง Amadou ยังสามารถเหมารวมถึงชาวเมือง Timbuktu vs. กลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine
ภาพสุดท้ายของหนังจบลงด้วยการออกวิ่ง หลายคนคงเอาแต่สงสัยว่าเด็กหญิงกำลังจะไปไหน? ติดตามหาบิดา-มารดาหรือไร? แท้จริงแล้วมันคือการเปรียบเทียบกับตอนต้นเรื่องที่กลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine ขับรถไล่ล่า กราดยิงใส่ละมั่ง/กาเซลล์ (Gazelle) ที่กำลังวิ่งหลบหนี สัญลักษณ์ของการกดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ
ตัดต่อโดย Nadia Ben Rachid สัญชาติ Tunisian ขาประจำผกก. Abderrahmane Sissako ตั้งแต่ภาพยนตร์ Life on Earth (1998), ผลงานเด่นๆ อาทิ Waiting for Happiness (2002), Bamako (2006), Le Professeur (2012), Timbuktu (2014) ฯ
หนังไม่ได้ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละครหนึ่งใด แต่ใช้เมือง Timbuktu, Mali ระหว่างที่ถูก Ansar al-Dine เข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 2012-13 เป็นจุดศูนย์กลางเรื่องราว! ร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่มีความต่อเนื่อง (ลักษณะคล้ายๆจิ๊กซอว์ กระเบื้องโมเสก) แต่แสดงให้เห็นถึงความคอรัปชั่นของพวกนักรบญิฮาด หย่อนยานต่อกฎหมายที่ตนเองบีบบังคับใช้ประชาชน
และในบรรดาเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้นในเมือง Timbuktu จะมีเรื่องราวของครอบครัว Kidane และความขัดแย้งกับชาวประมง Amadou ถือเป็นแกนกลางหลักของหนัง
- อารัมบท, พวกนักรบญิฮาดขับรถไล่ล่าละมั่ง/กาเซลล์ (Gazelle) จากนั้นกราดยิงรูปแกะสลักไม้สไตล์ Bambara
- พวกอิสลามหัวรุนแรงเข้ายึดครอง Timbukto, Mali
- สมาชิกนักรบญิฮาดถือโทรโข่ง ป่าวประกาศ บีบบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์
- แนะนำชาวประมงหาปลา และครอบครัว Kidane ที่ต่างอาศัยอยู่นอกเมือง
- ผู้นำศาสนาพยายามอธิบายพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักรบญิฮาด
- หนึ่งในนักรบญิฮาด ขับรถปิคอัพมาเกี้ยวพาราสี Satima ขณะสามีไม่อยู่บ้าน
- สมาชิกนักรบญิฮาดต้องการถ่ายภาพโฆษณาชวนเชื่อ แต่เขากลับไม่สามารถชวนเชื่อตนเอง
- ยามค่ำคืนนักรบญิฮาดออกลาดตะเวรในเมือง เพราะได้ยินเสียงเพลงดังมาจากแห่งหนหนึ่ง
- ความขัดแย้งระหว่าง Kidane กับชาวประมงหาปลา
- แม่วัว GPS ระหว่างเล่นน้ำ วิ่งข้ามฟากไปทำลายแหของชาวประมง สร้างความไม่พึงพอใจ จึงใช้ไม้ปลายแหลมทิ่มแทงจงเสียชีวิต
- เด็กชาย Issan วิ่งกลับมาร่ำร้องไห้ บอกกล่าวความจริงกับ Kidane
- แม้ถูกนักรบญิฮาดยึดลูกฟุตบอล แต่เด็กๆยังคงแอบไปเล่น(ทั้งๆไม่มีลูกฟุตบอล)
- การต่อสู้ระหว่าง Kidane กับชาวประมงหาปลา
- การตัดสินโทษทัณฑ์
- Kidane ถูกจับคดีฆาตกรรม ค่ำคืนนี้ถูกขังในเรือนจำ
- นักดนตรีถูกจับกุม
- Kidane ให้การกับเจ้าหน้าที่
- บรรดานักดนตรีถูกตัดสินโทษเฆี่ยนตี
- สามี-ภรรยาคู่หนึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงาน ถูกจับกลบฝัง ใช้ก้อนหินขว้างปาจนเสียชีวิต
- สมาชิกนักรบญิฮาดเดินทางไปสู่ขอหญิงสาวคนหนึ่ง แต่มารดากลับตอบปฏิเสธ
- การพิจารณาคดีความของ Kidane และตัดสินโทษประหารชีวิต
- มาชิกนักรบญิฮาดลักพาตัวหญิงสาวเข้าห้องหอ แล้วสรรหาข้ออ้างเรียกร้องว่าตนเองกระทำสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย
- การประหารชีวิตของ Kidane และความวุ่นวายหลังจากนั้น
สำหรับคนช่างสังเกตจะพบว่าแต่ละซีเควนซ์ของหนัง แม้สลับสับเปลี่ยนมุมมองดำเนินเรื่อง กระโดดไปกระโดดมา ไม่ได้ต่อเนื่องเป็นเส้นตรง (Non-Linear Narrative) แต่จะมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์เข้าด้วยกัน หรือจะเรียกว่าสัมผัสนอก-ใน ทำให้เรื่องราวมีความลื่นไหล ลักษณะคล้ายกวีภาพยนตร์ (Poetry Film)
แม้ว่าพวกนักรบญิฮาดจะออกคำสั่งไม่ให้เปิดเพลง เล่นดนตรี แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสามารถบีบบังคับกันได้! จึงพบเห็นนักร้อง/นักแสดงรับเชิญ Fatoumata Diawara (เกิดปี ค.ศ. 1982) เกิดที่ Ivory Coast ในครอบครัว Malian เติบโตยัง Bamako, Mali แล้วมาเป็นศิลปินอยู่ฝรั่งเศส
บทเพลงขับร้อง/แต่งโดย Diawara ชื่อว่า Timbuktu Fasso คำรำพันถึงผืนแผ่นดินบ้านเกิด Timbuktu ไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น เหตุการณ์เลวร้ายลงสักเพียงไหน สถานที่แห่งนี้จักยังมั่นคงอยู่ตลอดไป … เมื่อตอนที่ตัวละครถูกเฆี่ยนตีแล้วยังขับร้องบทเพลงนี้ ถ้ามีแปลเนื้อร้องสักหน่อย ผู้ชมอาจได้น้ำตาเล็ดไหลอย่างแน่แท้ น้ำเสียงของ Diawara ช่างมีความอ่อนไหว ทำให้หัวใจสั่นสะท้านยิ่งนัก!
ต้นฉบับ Bambara | คำแปลอังกฤษ |
---|---|
Ko o ye ne faso ye n balimalu Tonbuktu ye ne faso ye mmm ko o ye ne faso ye sinjilu, Tonbuktu ye ne faso ye ko denmisennu be kasi la Ala badenya, badenya dugu ye Tonbuktu ye sinjiya, sinjiya dugu ye Maliba ye yankalu yan ye ne faso ye oo bo oo boo ooo Ko o ye ne faso ye n balimalu Maliba ye ne faso ye aw be kasi la mun na? denmisennu be ka si la mun na? aw be kasi la mun na? kamalennu be kasi la? Maliba don do be se Ko yan ye ne faso ye n sinjilu Tonbuktu ye ne faso ye ko sininesigi joro de be an na n ko denmisennu be kasi la yen, denmisennu be kasi la yen mun na? aw ye hami na mun na yen? aw kana kasi la Ala Maliba don do be se Aw be aw be kasi la yen mun na yen? N ko anw be kasi la eee mun na n ba eee Ala? n ko denmisennu be kasi la yen Ala? Maliba n ko don do be se. | This is my homeland, my friends, Timbuktu is my homeland this is my homeland, my brothers and sisters, Timbuktu is my homeland the children are crying, Allah, my brothers and sisters, Timbuktu is our homeland my brothers and sisters, great Mali is my homeland people from here, my homeland is here oo bo oo boo oo This is my homeland, my brothers and sisters, great Mali is my homeland you are crying, why? The children are crying, why? You are crying, why? The young people are crying, why? Great Mali is bound to win My homeland is here, my brothers and sisters, Timbuktu is my homeland we are afraid of the future, the children down there are crying, why? You are so much worried, why? Don’t cry, Allah, great Mali is bound to win You are crying, you are crying down there, why? You are crying down there, why, Allah? The children down there are crying, why, Allah? Great Mali, I tell you, is bound to win. |
เห็นว่าก่อนหน้านี้ผกก. Sissako ไม่เคยใช้ Original Score มักทำออกมาในลักษณะ ‘diegetic music’ เลือกบทเพลงมีชื่อ หรือไม่ก็ให้นักแสดงขับร้อง บรรเลงดนตรี มุ่งเน้นเสียงจากธรรมชาติ, Timbuktu (2014) ถือเป็นครั้งแรกติดต่อหา ต้องการบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ ให้มีความสอดคล้องเข้ากับบรรยากาศพื้นหลัง สำหรับสร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์
เพลงประกอบโดย Amine Bouhafa (เกิดปี ค.ศ. 1986) สัญชาติ Tunisian ฝึกฝนเล่นเปียโนตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โตขึ้นเข้าศึกษา Tunis Conservatory ต่อด้วย Paris Conservatory ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Timbukto (2014), A Son (2019), The Man Who Sold His Skin (2020), The Summit of the Gods (2021) ฯ
We almost never talked about music, we never talked about instruments, notes, musical atmospheres. The exchange was more about emotions, the reasons for making this film. We talked about the messages he wanted to convey, the filming locations, and we also talked about the general artistic orientation which was to start with rather local colors, a local sound identity rather world, ethno and the accompany with a more Western, more universal arrangement, with a symphonic arrangement, with an orchestra.
The use of music had to be with a certain distance from the images, for a side of sublimation. We are not in music that will accompany the action, or accompany events in the film. We are rather in music with a slightly violent but poetic character at the same time. The music softens the violent character, and further enhances the poetic character of the film.
Amine Bouhafa
งานเพลงมีส่วนผสมของเครื่องดนตรีพื้นบ้าน Malian เข้ากับวงออร์เคสตรา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และมีความเป็นสากลให้กับหนัง
In terms of instrumentation, there are Kora (a kind of Malian harp), we had Ngounis (Malian guitars), we had Oud, Duduk, Clarinet, Percussion, and all of that was bathed in orchestral accompaniment with Strings, Woodwinds, Piano. It’s a mix of local identities and rather universal trends.
หนึ่งในบทเพลงที่ผมชื่นชอบมากๆ Football Without A Ball เด็กๆวิ่งเล่นฟุตบอลในจินตนาการ เพราะถูกนักรบญิฮาดยึดลูกฟุตบอลไป แต่ก็ยังพยายามวิ่งไล่ แย่งบอล ยิงเข้าประตู ดูไปดูมาเหมือนกำลังเริงระบำ ท่วงทำนองเพลงก็สร้างสัมผัส ‘symphonic dance’
อีกบทเพลงไฮไลท์ก็คือ The Lake เสียงเครื่องเป่า Duduk (เครื่องดนตรีสัญชาติ Armenia) ช่างมีความโหยหวน คร่ำครวญ วาบหวิวทรวงใน หายใจไม่ทั่วท้อง เพราะความขัดแย้งนำสู่การต่อสู้ แล้วสิ้นสุดลงด้วยความตาย กลายเป็นโศกนาฎกรรมไม่มีใครคาดคิดถึง
Timbuktu เป็นเมืองที่มีความเก่าแก่ โบร่ำราณ เต็มไปด้วยโบราณสถานสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12-13th ไล่เรียงจาก Mali Empire สู่ Songhai Empire ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Morocco แล้วถูกยึดครองโดยอาณานิคมฝรั่งเศส ค.ศ. 1893 และประกาศเอกราช Republic of Mali เมื่อปี ค.ศ. 1960
เกร็ด: เมือง Timbukto ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988
Timbuktu is an old city and it’s historic. It’s always been a meeting place, situated at a crossroads. People from different cultures have always lived there. And that was one of the reasons why they had decided to take Timbuktu, as a symbol.
Abderrahmane Sissako
สาเหตุผลที่เมือง Timbuktu คือจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ไม่ใช่แค่ตั้งอยู่ทางตอนกลางแม่น้ำ Niger (จิตวิญญาณของ West Africa) แต่ยังถือเป็นชายแดนสุดท้ายก่อนเข้าสู่ทะเลทราย Sahara ถ้าจักรวรรดิ/กลุ่มผู้ก่อการร้ายไหนอยากยึดครอง Mali มักต้องเริ่มต้นจากดินแดนห่างไกลปืนเที่ยงแห่งนี้
ผกก. Sissako นับถือศาสนาอิสลาม แต่ไม่ได้มีความเชื่อสุดโต่งแบบพวกนักรบญิฮาด Ansar al-Dine สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามนำเสนอพฤติกรรมคอรัปชั่น กลับกลอกปอกลอก ปากว่าตาขยิบ บีบบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายชารีอะห์อย่างเคร่งครัด แต่ตนเองกลับปล่อยปละละเลย เพิกเฉยเฉื่อยชา เต็มไปด้วยข้ออ้างข้างๆคูๆ ละเว้นความผิดของพวกพ้อง แสดงออกไม่ต่างจากพวกบ้าอำนาจ เผด็จการนิยม ลัทธิอาณานิคม เพียงอุดมการณ์จอมปลอม หาความน่าเชื่อถือไม่ได้สักนิด!
สิ่งที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนังนอกจากภาพถ่ายสวยๆ คือการร้อยเรียงแปะติดปะต่อเหตุการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอสารพัดพฤติกรรมคอรัปชั่นของพวกอิสลามหัวรุนแรงที่มีมากมายเต็มไปหมด จนสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ แล้วใช้เรื่องราวความขัดแย้ง การเผชิญหน้าระหว่าง Kidane vs. ชาวประมง Amadou เทียบแทนความรู้สึกของชาวเมือง Timbuktu vs. กลุ่มนักรบญิฮาด Ansar al-Dine เต็มไปด้วยความอดกลั้น อารมณ์เกรี้ยวกราด ใกล้จะถึงจุดแตกหัก
ในมุมมองของผู้ชมต่างชาติที่มาจากโลกเสรี อาจรู้สึกผิดหวังที่หนังไม่ได้ทำการโต้ตอบ เอาคืน ผิดหวังกับ Kidane และชาวเมือง Timbuktu เพียงก้มหน้าก้มตา ศิโรราบต่อโชคชะตากรรม แต่นั่นคือวิถีชาวมุสลิมที่แท้จริง! เก็บกด อดกลั้น ยินยอมรับความผิดพลาด เรียนรู้จักเห็นอกเห็นใจ ยกโทษให้อภัย เพื่อโอกาสในการฟื้นคืนชีพหลังความตาย
“Timbuktu” shows that Islam has nothing to do with barbarism and jihadists. Islam has been held hostage. And that’s why the imam in the film tells the fundamentalists: When is God is all this? When is the compassion? Where is forgiveness? You’re traumatizing people, you’re arrogant. What you’re doing to our people has nothing to do with Islam.
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับดีล้นหลาม ได้รับการยืนปรบมือ (Standing Ovation) นานถึง 10 นาที แม้ไม่ได้รับรางวัลใดๆในสายการประกวด แต่สามารถคว้าสองรางวัลต่อไปนี้
- Prize of the Ecumenical Jury
This film tells the story of the life and dignified resistance of men and women in Timbuktu who seek to live according to their culture and traditions while at the same time integrating modern communication media. The film is a strong yet nuanced denunciation of an extremist interpretation of religion. The Ecumenical Jury Prize honours the film’s high artistic achievement and its humour and restraint. While offering a critique of intolerance, the film draws attention to the humanity inherent in each person. - François Chalais Award
ความสำเร็จเล็กๆดังกล่าวทำให้ Mauritania ตัดสินใจส่ง Timbukto (2014) เป็นตัวแทนประเทศ เรื่องแรก จนถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2024 ก็ยังคือเรื่องเดียว เข้าลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film สามารถเข้าถึงรอบห้าเรื่องสุดท้าย แต่พ่ายแพ้ให้กับ Ida (2014) จากประเทศ Poland
นอกจากนี้ หนังยังได้เข้าชิงภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากหลากหลายสถาบัน โดยเฉพาะ César Awards (ของฝรั่งเศส) สามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว!
- Academy Award: Best Foreign Language Film
- BAFTA Award: Best Film not in the English Language
- César Awards
- Best Film ** คว้ารางวัล
- Best Director ** คว้ารางวัล
- Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
- Best Cinematography ** คว้ารางวัล
- Best Editing ** คว้ารางวัล
- Best Production Design
- Best Original Music ** คว้ารางวัล
- Best Sound
หนังสามารถหารับชมทางออนไลน์ไม่ยาก พบเจอใน iTunes, Amazon Prime หรือใครต้องการหาแผ่นสะสม มีฉบับของ Artificial Eye และ Cohen Media Group
ส่วนตัวมีความชื่นชอบภาพถ่ายทิวทัศน์ทะเลทรายสวยๆ งดงาม เพลิดเพลินสายตา และโครงสร้างดำเนินเรื่องที่เหมือนจะดูยาก แต่เนื้อหาไม่ได้สลับซับซ้อน นั่นช่วยเสริมความน่าหลงใหล ประทับใจ ดั่งกระเบื้องโมเสก ร้อยเรียงพฤติกรรมคอรัปชั่น จุลภาคเผด็จการ น่าจะจัดเป็นผลงานชิ้นเอกของผกก. Sissako ได้เลยกระมัง
เอาจริงๆผมก็อยากหารับชมผลงานเลื่องชื่ออื่นๆของผกก. Sissako อย่าง Waiting for Happiness (2002) และ Bamako (2006) แต่คงต้องหักห้ามใจเอาไว้เท่านี้ก่อน ถึงเวลาไปหาดูหนังจากภูมิภาคอื่นบ้างแล้ว
จัดเรต 13+ กับจุลภาคเผด็จการ ความรุนแรง สถานการณ์ขัดแย้ง
Leave a Reply