
Titanic (1997)
: James Cameron ♥♥♥♥
วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียกตำนาน ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
ผู้กำกับ James Cameron มีความหลงใหลในโลกใต้น้ำมาตั้งแต่เด็ก ไม่เคยครุ่นคิดอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เสียด้วยซ้ำ! แต่เพราะต้องการหาเงินสำหรับใช้เป็นทุนสำรวจโลกใต้น้ำ Piranha II: The Spawning (1982), The Abyss (1989), ซึ่งเหตุผลในการสรรค์สร้าง Titanic (1997) เพียงเพราะต้องการดำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic ที่จมอยู่ใต้มหาสมุทร Atlantic แม้อับปางมาตั้งแต่ ค.ศ. 1912 กลับเพิ่งมีเทคโนโลยีที่สามารถค้นพบเจอเมื่อปี ค.ศ. 1985
RMS Titanic was the Mount Everest of shipwrecks.
James Cameron
ด้วยทุนสร้างที่ค่อยๆเบิกบานปลาย จากเริ่มต้นวางแผนไว้ไม่กี่สิบล้านเหรียญ พุ่งทะยานถึง $200 ล้านเหรียญ! นั่นเป็นตัวเลขมหาศาล (มากกว่าค่าก่อสร้างเรือ Titanic ถ้าเทียบค่าเงินปัจจุบันนั้นเสียอีก) ด้วยความยาวเกินกว่าสามชั่วโมง แถมเสียงตอบรับรอบทดลองฉายค่อนข้างย่ำแย่ แทบทุกสำนักต่างคาดการณ์ว่าคงขาดทุนย่อยยับ สัปดาห์แรกทำเงินเพียง $28.6 ล้านเหรียญ ก็เกิดอาการร้อนๆหนาวๆ ใครจะไปคาดคิดว่าสามารถติดอันดับหนึ่งนับสิบสัปดาห์ จนทุบทำลายสถิติ Jurassic Park (1993) และกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกทำเงินทั่วโลกถึงหลักพันล้านเหรียญ!
เกร็ด: ค่าก่อสร้างเรือ RMS Titanic เมื่อปี ค.ศ. 1910-12 คือ £1.5 ล้านปอนด์ เทียบเท่ากับ $7.5 ล้านเหรียญ เมื่อนำมาเทียบค่าเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1997 จะประมาณ $120-150 ล้านเหรียญ
ผมไม่เคยรับชม Titanic (1997) ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้แต่ตอนแปลงภาพสามมิติ นำกลับมาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่ได้อินกับเรื่องราวโรแมนติก รักๆใคร่ๆ ไม่เห็นความน่าสนใจใดๆ ที่ตัดสินใจเขียนถึงเพราะเห็นฉบับบูรณะ 4K กำลังเข้าฉาย ลองดูว่าเมื่อประสบการณ์ชีวิตเพิ่มสูงขึ้น จะมีมุมมองอะไรที่แตกต่างออกไป
เอาจริงๆผมแอบเซอร์ไพรส์กับเรื่องราวที่แม้ไม่ได้เข้าชิง Oscar แต่มันมีมากกว่าแค่รักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ เราสามารถเปรียบเทียบ RMS Titanic คือส่วนย่นย่อ (microcosm) ของโลกทั้งใบ ความรักระหว่างชนชั้นยังเป็นสิ่งที่สังคมสมัยนั้นไม่ให้การยินยอมรับ แต่ต่อให้ฟ้าถล่มดินทลาย โลกทั้งใบล่มสลาย เรือชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลง ก็คงไม่สิ่งใดทำลายความรู้สึกอันมั่นคงที่ฉันมีต่อเธอ
Titanic is powerful as a metaphor, as a microcosm, for the end of the world in a sense … The juxtaposition of rich and poor, the gender roles played out unto death, the stoicism and nobility of a bygone age, the magnificence of the great ship matched in scale only by the folly of the men who drove her hell-bent through the darkness. And above all the lesson: that life is uncertain, the future unknowable … the unthinkable possible.
James Cameron
James Francis Cameron (เกิดปี 1954) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Kapuskasing, Ontario บิดาทำงานวิศวกรไฟฟ้า ส่วนมารดาเป็นนางพยาบาล, ช่วงวัยเด็กชอบครุ่นคิดประดิษฐ์โน่นนี่นั่น หลังเรียนจบมัธยมสอบเข้า Fullerton College ร่ำเรียนสาขาฟิสิกส์ แล้วเปลี่ยนมาภาษาอังกฤษ ก่อนตัดสินใจลาออกเพื่อหาทำงาน เริ่มจากรับจ้างทั่วไป เคยเป็นภารโรง ขับรถบรรทุก เวลาว่างๆเข้าห้องสมุดศึกษาเกี่ยวกับ Special Effect กระทั่งมีโอกาสรับชม Star Wars (1977) ถึงเกิดความมุ่งมั่นเข้าสู่วงการภาพยนตร์
จากนั้นทำการทดลองผิดลองถูก กำกับหนังสั้นเรื่องแรก Xenogenesis (1978) แล้วมีโอกาสทำงานผู้ช่วยกองถ่าย Rock ‘n’ Roll High School (1979) ต่อมากลายเป็นนักออกแบบโมเดลจำลอง (miniature) ในสังกัด Roger Corman Studios ดูแลในส่วน Art Director/Special Effect ให้กับ Battle Beyond the Stars (1980), Escape from New York (1981), Galaxy of Terror (1981), จนกระทั่งได้กำกับ Special Effect ภาพยนตร์เรื่อง Piranha II: The Spawning (1982) แล้วจู่ๆผู้กำกับคนเดิม Mike Drake ขอถอนตัวออกไป ส้มหล่นใส่ Cameron ถูกผลักดันขึ้นมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรกอย่างไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่
ฝันร้ายจากความล้มเหลวของ Piranha II: The Spawning (1982) ครุ่นคิดว่ามีนักฆ่าจากอนาคตย้อนเวลามากำจัดตนเอง นั่นกลายเป็นแรงบันดาลใจสรรค์สร้าง The Terminator (1984), ตามด้วยกำกับภาคต่อ Aliens (1986), เปลี่ยนมายังโลกใต้น้ำ The Abyss (1989), ภาคต่อคนเหล็ก Terminator 2: Judgment Day (1991) และสายลับจับบ้านเล็ก True Lies (1994)
ตั้งแต่ที่ซากเรือ RMS Titanic ได้รับการค้นพบโดย Robert Ballard เมื่อปี ค.ศ. 1985 และสารคดีสำรวจซากเรือถ่ายทำโดย National Geographic ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 1987 ทำให้ Cameron เกิดความมุ่งมั่นมองหาโอกาสเดินทางไปสำรวจโลกใต้น้ำ ครุ่นคิดแผนการล่อหลอกสตูดิโอ Fox ยื่นข้อเสนอโปรเจคภาพยนตร์เรื่อง Titanic โดยใช้คำโปรยว่า “Romeo and Juliet on the Titanic”
I made Titanic because I wanted to dive to the shipwreck, not because I particularly wanted to make the movie. The Titanic was the Mount Everest of shipwrecks, and as a diver I wanted to do it right. When I learned some other guys had dived to the Titanic to make an IMAX movie, I said, “I’ll make a Hollywood movie to pay for an expedition and do the same thing.” I loved that first taste, and I wanted more.
James Cameron
They were like, ‘Oooooohkaaaaaay — a three-hour romantic epic? Sure, that’s just what we want. Is there a little bit of Terminator in that? Any Harrier jets, shoot-outs, or car chases?’ I said, ‘No, no, no. It’s not like that.’
ปฏิกิริยาของ Peter Chernin ผู้บริหารสตูดิโอ Fox เมื่อรับฟังโปรเจค Titanic จากผู้กำกับ James Cameron
เมื่อได้รับไฟเขียวจากสตูดิโอ Fox แล้วต่อรองเบิกล่วงหน้า $4 ล้านเหรียญ แทนที่ Cameron จะเริ่มต้นพัฒนาบทภาพยนตร์ กลับติดต่อหา Robert Ballard หัวหน้าทีมค้นพบซากเรือ RMS Titanic แล้วใช้เวลาสำรวจ ด่ำดิ่งลงไปบันทึกภาพใต้น้ำ มีการพูดแซวกันว่า Cameron ใช้เวลาอยู่กับเรือยาวนานกว่าผู้โดยสารเมื่อปี ค.ศ. 1912 เสียอีก! (ลงไปสำรวจ 12 ครั้งละ 15-17 ชั่วโมง ในระยะเวลา 28 วัน)
เกร็ด: ว่ากันว่าการดำน้ำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic ครั้งแรกของ Cameron เมื่อกลับขึ้นมาบนเรือก็ร่ำร้องไห้อย่างหนักหน่วง ด้วยความรู้สึกเศร้าสลดต่อโศกนาฎกรรมที่เคยบังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
หลังเสร็จจากการสำรวจซากเรืออับปาง Cameron จึงทุ่มเวลากว่าหกเดือนในการค้นคว้าหารายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ RMS Titanic โดยแรงบันดาลใจหลักๆ ลักขโมยมาจากภาพยนตร์ A Night to Remember (1958) แต่ไม่ต้องการให้หนังออกมาเป็นแนวหายนะ (Disater film) พยายามสร้างเรื่องราวรักโรแมนติก ให้ซ้อนทับเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
All my films are love stories, but in Titanic I finally got the balance right. It’s not a disaster film. It’s a love story with a fastidious overlay of real history.
เห็นว่าในบทหนังมีเรื่องราวของ SS Californian เรืออีกลำที่อยู่ไม่ห่างไกลจาก RMS Titanic แต่แสร้งว่าไม่เคยได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือใดๆ เหตุผลที่ถูกตัดออกทั้งหมด Cameron อธิบายว่าต้องการให้ผู้ชมจับจ้องสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในโลกปิด/บนเรือ RMS Titanic มากกว่า
The story of the Californian was in there; we even shot a scene of them switching off their Marconi radio set. But I took it out. It was a clean cut, because it focuses you back onto that world. If Titanic is powerful as a metaphor, as a microcosm, for the end of the world in a sense, then that world must be self-contained.
ในปี ค.ศ. 1996 นักล่าสมบัติ Brock Lovett ขึ้นเรือวิจัย Akademik Mstislav Keldysh ออกสำรวจค้นหาซากเรือ RMS Titanic อับปางลงกลางมหาสมุทร Atlantic เมื่อปี ค.ศ. 1912 สามารถเก็บกู้ตู้นิรภัย ซึ่งมีภาพวาดหญิงสาวสวมใส่สร้อยคอ Heart of the Ocean สืบค้นพบว่าเธอคนนั้นคือ Rose Dawson Calvert (รับบทโดย Gloria Stuart) ปัจจุบันนั้นอายุ 100 ปี ยังมีชีวิตอยู่! จึงเชื้อเชิญขึ้นเรือเพื่อเล่าประสบการณ์โศกนาฎกรรมดังกล่าว
ย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1912 ณ ท่าเรือที่ Southampton เมื่อครั้น Rose DeWitt Bukater ยังเป็นหญิงสาวอายุ 17 ปี (รับบทโดย Kate Winslet) ถูกจับคู่หมั้นหมายกับ Caledon Hockley (รับบทโดย Billy Zane) ทายาทเจ้าของกิจการค้าเหล็ก กำลังเตรียมตัวโดยสารเรือชั้นหนึ่ง RMS Titanic เพื่อเดินทางไปแต่งงานยังสหรัฐอเมริกา, อีกฟากฝั่งหนึ่ง Jack Dawson (รับบทโดย Leonardo DiCaprio) ศิลปินกระยาจก สามารถเอาชนะพนันตั๋วโดยสารชั้นสาม RMS Titanic วิ่งขึ้นเรือได้ทันท่วงที
Rose มีความเบื่อหน่ายต่อสถานะทางชนชั้นของตนเอง ไม่พึงพอใจที่ถูกมารดาบีบบังคับให้แต่งงานกับ Caledon ค่ำคืนหนึ่งเลยครุ่นคิดจะฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงจากเรือ แต่ได้รับการโน้มน้าว ช่วยเหลือจาก Jack โดยไม่รู้ตัวทำให้พวกเขาตกหลุมรักแรกพบ สานสัมพันธ์ แอบคบชู้ ร่วมรักหลับนอน จนกระทั่ง RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง ต่างพยายามหาหนทางเอาตัวรอด เพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน
Leonardo Wilhelm DiCaprio (เกิดปี 1974) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ได้รับคัดเลือกแสดงรายการเด็ก Romper Room แต่ถูกไล่ออกเพราะไปสร้างความวุ่นวายให้ผู้อื่น หลังจากนั้นมีผลงานโฆษณา ซิทคอม ซีรีย์ The New Lassie (1989-92), ภาพยนตร์เรื่องแรก Parenthood (1989), สมทบ Poison Ivy (1992), This Boy’s Life (1993), แจ้งเกิดโด่งดัง What’s Eating Gilbert Grape (1993), The Basketball Diaries (1995), Romeo + Juliet (1996), พลุแตกกับ Titanic (1997), แล้วกลายเป็นขาประจำของ Martin Scorsese ตั้งแต่ Gangs of New York (2002), The Aviator (2004), The Departed (2006), The Wolf of Wall Street (2013), และคว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง The Revenant (2005)
รับบท Jack Dawson ชายหนุ่มกำพร้า ฐานะยากจน เกิดที่ Chippewa Falls, Wisconsin เดินทางมาร่ำเรียนศิลปะยังกรุง Paris ท้าเล่นโป๊กเกอร์จนชนะตั๋วโดยสารชั้นสาม RMS Titanic เพื่อเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา รีบออกวิ่งกับเพื่อนสนิทขึ้นเรือได้ทันท่วงที (เป็นคนสุดท้ายทั้งตอนขึ้นเรือ และทอดทิ้งเรือ) เรียกว่าเลือกใช้ชีวิตอย่างเสรีภาพ ชื่นชอบหลงใหลการวาดภาพร่าง ตกหลุมรักแรกพบ Rose DeWitt Bukater แม้รับรู้ตนเองไม่อาจเอื้อมดอกฟ้า แต่โชคชะตาก็นำพาให้พวกเขาพบเจอ สานสัมพันธ์ มอบคำมั่น ไม่มีสิ่งใดสามารถขัดขวางความรักของเราสอง
เกร็ด: Jack Dawson คือชื่อตัวละครสมมติที่ไม่ได้อ้างอิงจากอะไร แต่ภายหลังกลับพบว่ามีผู้เสียชีวิตในห้องเครื่องชื่อ J. Dawson มาจาก Joseph Dawson นั่นเป็นสิ่งคาดไม่ถึงทีเดียว! และมีผู้คนมากมายเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าหลุมฝังศพ J. Dawson คือของตัวละครนี้ ช่วงหนังออกฉายจึงมีดอกไม้วางมากมาย
It wasn’t until after the movie came out that we found out that there was a J. Dawson gravestone.
โปรดิวเซอร์ Jon Landau
ด้วยความต้องการ “James Stewart type” ตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Cameron คือ River Phoenix แต่เพิ่งมารู้ข่าวว่าอีกฝ่ายเสียชีวิตตั้งแต่ปี 1993, ต่อด้วยนักแสดงอย่าง Matthew McConaughey, Chris O’Donnell, Billy Crudup, Stephen Dorff, Jared Leto, Jeremy Sisto, Paul Rudd, Christian Bale, Johnny Depp หรือแม้แต่ Tom Cruise เรียกค่าตัวมหาศาล
สำหรับ DiCaprio ในตอนแรกไม่ได้อยากมาทดสอบหน้ากล้องด้วยซ้ำ แต่พอได้รับคำตักเตือนจาก Cameron เลยยินยอมอ่านบท แค่เพียงเสี้ยววินาทีก็สร้างความประทับใจเหลือล้น อีกทั้งเมื่อตอนรับ-ส่งกับ Winslet เธอยังอดไม่ได้ที่จะกระซิบบอกผู้กำกับ
He’s great. Even if you don’t pick me, pick him.
Kate Winslet
He read it once, then started goofing around, and I could never get him to focus on it again. But for one split second, a shaft of light came down from the heavens and lit up the forest.
James Cameron กล่าวถึงการทดสอบหน้ากล้องของ Leonardo DiCaprio
DiCaprio ตอนหนุ่มๆไม่เพียงหล่อเหลา ยังมีแววตาชวนฝัน ก็ตั้งแต่ Romeo + Juliet (1996) ทำให้สาวๆสมัยนั้น(สมัยนี้ด้วยมั้ง)เคลิบเคลิ้มหลงใหล เกิดกระแส “Leo-Mania” นั่นคือสาเหตุที่ไม่อยากเล่น Titanic (1997) เพราะกลัวจะกลายเป็น ‘typecast’ พระเอกหนังโรแมนติก แต่เมื่อได้รับการเกลี้ยกล่อมจาก Cameron จึงยินยอมเซ็นสัญญารับค่าตัวล้านแรกในชีวิต!
ถึงอย่างนั้นฝีไม้ลายมือด้านการแสดงของ DiCaprio ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้หน้าตา สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวละครไม่ว่าขณะเป็นไอ้หนุ่มชั้นสาม หรือสวมสูทผูกโบว์ร่วมรับประทานอาหารกับไฮโซ ยังคงพบเห็นรากเหง้าตัวละครผ่านสำเนียงการพูด ท่าทางกระตือรือล้น พร้อมเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่สุดท้ายก็ยังเลือกใช้ชีวิตปล่อยไปตามโชคชะตา โหยหาเสรีภาพ ไม่ยินยอมก้มหัวศิโรราบต่อสิ่งอื่นใด
เอาจริงๆผมว่า DiCaprio ดีพอจะเข้าชิง Oscar: Best Actor แต่เหตุผลที่โดน SNUB เพราะถูกมองว่าเป็นพระเอกหนังโรแมนติก มีดีแค่หน้าตา โดดเด่นกว่าฝีไม้ลายมือด้านการแสดง
Kate Elizabeth Winslet (เกิดปี 1975) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Reading, Berkshire ปู่ของเธอเป็นนักแสดงและเจ้าของโรงละครเวที ด้วยความสนใจด้านนี้เลยตัดสินใจกลายเป็นนักแสดงตั้งแต่เด็ก อายุ 11 เข้าเรียน Redroofs Theatre School รับบทนำการแสดงโรงเรียนทุกปี จนมีโอกาสแสดงซีรีย์โทรทัศน์ Dark Season (1991), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Heavenly Creatures (1994) ของผู้กำกับ Peter Jackson, ตามด้วย Sense and Sensibility (1995), กลายเป็นดาวค้างฟ้ากับ Titanic (1997), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Iris (2001), Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004), Finding Neverland (2004), Little Children (2006), Revolutionary Road (2008), และคว้ารางวัล Oscar: Best Actress จากเรื่อง The Reader (2008)
รับบท Rose DeWitt Bukater คุณหนูไฮโซจาก Philadelphia เดินทางมาท่องเที่ยวอังกฤษ แล้วถูกมารดาหมั้นหมายกับชายที่ไม่ได้รัก เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของครอบครัว ตั้งแต่เด็กได้รับการเลี้ยงดูดั่งไข่ในหิน มีชีวิตราวกับนกในกรง เต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายต่อแวดวงไฮโซถึงขนาดเคยครุ่นคิดสั้น แต่นั่นทำให้มีโอกาสรับรู้จักไอ้หนุ่มชั้นสาม Jack Dawson เกิดความชื่นชอบหลงใหลในอิสรภาพของอีกฝ่าย ค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนแปลง ยินยอมเป็นนางแบบเปลือยกาย ร่วมรักหลับนอน และมอบคำมั่นสัญญาว่าจะหนีตามไปอยู่ด้วยกัน
ด้วยความต้องการ “Audrey Hepburn type” มีนักแสดงหลายคนถูกเรียกตัวมาทดสอบหน้ากล้อง Madonna, Gwyneth Paltrow, Winona Ryder, Claire Danes, Gabrielle Anwar, Reese Witherspoon, Jennifer Aniston, ขณะที่ Kate Winslet เมื่อได้อ่านบทมีความกระตือรือล้นเป็นอย่างมากๆ พยายามทำหลายสิ่งอย่างเพื่อสร้างความสนใจให้ผู้กำกับ Cameron อาทิ ส่งดอกกุหลาบและการ์ดข้อความเขียนว่า “From Your Rose” อีกครั้งหนึ่งโทรศัพท์หาเรียกร้องบอกว่า
I am Rose! I don’t know why you’re even seeing anyone else!
Kate Winslet
เพราะความดื้อรั้นเอาแต่ใจ ตื้อไม่ยอมเลิกของ Winslet ทำให้ Cameron เกิดความตระหนักว่าตัวละครก็มีอุปนิสัยไม่ต่างกัน เลยยินยอมมอบบทบาทนี้ให้โดยดี
ภาพลักษณ์ของ Winslet คือคุณหนูไฮโซ มีความสวยสาว เริดเชิดหยิ่ง แต่ตัวจริงไม่ต่างจากเด็กน้อย ละอ่อนเยาว์วัย สวยใสไร้เดียงสา ระริกระรี้แรดร่าน เต็มไปด้วยความสนุกสนานร่าเริง โหยหาเสรีภาพของชีวิต ไม่ต้องการถูกบีบบังคับ หรือใครบางคนชี้นิ้วออกคำสั่ง เพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ เมื่อตกหลุมรักก็พร้อมทุ่มเททั้งชีวิตและทุกสิ่งอย่าง
คนที่เคยแต่รับชมผลงานยุคหลังๆของ Winslet อาจไม่ค่อยมักคุ้นกับภาพลักษณ์นี้สักเท่าไหร่ อย่างผลงานคว้า Oscar ก็เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น ซุกซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวดร้าวไว้ภายใน เป็นการแสดงที่คนละขั้วตรงกันข้าม สาเหตุผลหนึ่งอาจเพราะความสำเร็จของ Titanic (1997) ทำให้เธอต้องเผชิญหน้าความคาดหวัง แรงกดดันที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต (นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาครอบครัว แต่งงาน-หย่าร้าง ฯลฯ) มีนักแสดงน้อยคนมากๆจะรักษาภาพลักษณ์เมื่อสมัยวัยรุ่นไว้ได้
ตรงกันข้ามกับ DiCaprio ผมไม่รู้สึกเลยว่า Winslet สมควรเข้าชิง Oscar: Best Actress เพราะการแสดงของเธอแทบไม่แตกต่างจาก Sense and Sensibility (1995) แถมระดับความน่ารำคาญเพิ่มขึ้นมากๆกว่าเก่า แต่อาจเพราะตัวละครมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดเจน จากเคยเป็นนกในกรงสามารถโบกโบยบินได้รับเสรีภาพ … ตามอุดมคติอเมริกันชน
Gloria Frances Stuart ชื่อเกิด Gloria Stewart (1910-2010) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Santa Monica, California ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย สามารถสอบเข้า University of California สาขาปรัชญาและการละคอน จบออกมามีผลงานละครเวที แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Street of Women (1931), จากนั้นได้รับเลือกเป็น WAMPAS Baby Star (นักแสดงที่มีแนวโน้ม “Most Likely to Succeed”) โด่งดังจากผลงาน The Old Dark House (1932), The Invisible Man (1933), Here Comes the Navy (1934), Gold Diggers of 1935 (1935), Poor Little Rich Girl (1936) ฯลฯ หลังจากแต่งงาน(ครั้งที่สอง)ก็ตัดสินใจออกจาวงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945
รับบทหญิงชรา Rose Dawson Calvert อายุกว่า 100+ ปี ยังเต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง เคลื่อนไหวกระฉับกระเฉง แถมคงความเริดเชิดตามแบบผู้ดีอังกฤษ (ตอนเดินทางมาถึงเรือวิจัย พบเห็นเต็มไปด้วยกระเป๋าสัมภาระ สัญลักษณ์ของความหมกมุ่นยึดติดกับสิ่งข้าวของต่างๆ รวมถึงอดีตที่ยังมิอาจปล่อยละวาง) เมื่อนั่งลงหวนรำลึกเล่าความหลัง สายตาดูโหยหาอาลัย แต่ก็รู้สึกซาบซึ้งกินใจ ที่ได้รับโอกาสเดินทางมาพบเห็นซากเรือ RMS Titanic
ผู้กำกับ Cameron บอกทีมงานว่าต้องการหญิงสูงวัยเฉียดร้อย ที่เคยมีประสบการณ์แสดงพานผ่านยุค Golden Age ช่วงทศวรรษ 30s-40s ในตอนแรกครุ่นคิดถึง Fay Wray (นางเอก King Kong (1933)) ไม่เคยรับรู้จัก/พบเห็นการแสดงของ Gloria Stuart จนกระทั่งรับชมการอ่านบทของเธอ พบเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจ และสายใยที่สามารถเชื่อมโยงกับ Kate Winslet ราวกับบุคคลเดียวกัน!
[Stuart] was just so into it, and so lucid, and had such a great spirit. And I saw the connection between her spirit and [Winslet’s] spirit. I saw this joie de vivre in both of them, that I thought the audience would be able to make that cognitive leap that it’s the same person.
James Cameron
ทุกครั้งที่หนังย้อนกลับมาปัจจุบัน สายตาของ Stuart จะเต็มไปด้วยความครุ่นคิดถึง โหยหาอาลัย เหมือนเธอได้ทำการเปรียบเทียบกับตนเองเมื่อครั้นยังสวยสาว เคยเป็นนักแสดงแห่งยุคสมัย Golden Age ทศวรรษ 30s-40s แม้ความทรงจำจะเลือนลาง แต่ความรู้สึกอิ่มสุขที่อยู่ภายในไม่มีวันจางหายไป
I was not the least bit nervous. I knew I would read Old Rose with the sympathy and tenderness that Cameron had intended.
Gloria Stuart
แม้เพียงบทบาทสมทบเล็กๆ แต่การแสดงของ Stuart สร้างความซาบซึ้งกินใจให้กับผู้ชม ถึงขนาดได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress ขณะอายุ 87 ปี 221 วัน … กลายเป็นนักแสดงอายุมากสุดที่ได้เข้าชิง Oscar จนกระทั่งการมาถึงของ Christopher Plummer เรื่อง All the Money in the World (2017) ขณะอายุ 88 ปี 41 วัน
และใครจะไปคาดคิดว่า Stuart เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อปี ค.ศ. 2010 จะอายุครบร้อยปีแบบเดียวกับตัวละคร Rose Dawson Calvert
ผกก. Cameron เลื่องลือชาถึงความเป็นเผด็จการในกองถ่าย ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ เมื่อมีใครทำอะไรไม่ได้ดั่งใจก็พร้อมจะขึ้นเสียง ใส่อารมณ์ ด่ากราดด้วยถ้อยคำรุนแรง จนได้รับฉายา “the scariest man in Hollywood” ในกองถ่ายจะมีคำเรียก “Mij” (สะกดกลับหลัง Jim) เพื่อสื่อถึง Alter-Ego ที่เต็มไปด้วยความโฉดชั่วร้าย
Filmmaking is war. A great battle between business and aesthetics.
James Cameron
แซว: เห็นว่า Kate Winslet มีอาการหวาดกลัวต่อความเผด็จการของ James Cameron อยู่ไม่น้อย! เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าไม่คิดอยากจะร่วมงานกันอีก แต่ถ้าได้เงินเยอะก็ไม่แน่ นั่นคงเป็นสิ่งเกิดขึ้นกับ Avatar: The Way of Water (2022) และเห็นว่าอีโก้ของ Cameron ก็ลดลงกว่าเดิมมากๆ หลังจากเคยไปเยี่ยมกองถ่ายของ Ron Howard แล้วเกิดอาการใบ้แดก (dumbfounded) พบเห็นอีกฝ่ายใช้คำพูดกับทีมงานอย่างโคตรสุภาพ อ่อนโยน เอ่ยชมทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
He demands excellence. If you don’t give it to him, you’re going to get chewed out. And that’s a good thing.
Sam Worthington
Jim knows exactly what he wants. Needless to say, when somebody felt a different way on the set of Titanic, there was a confrontation. Jim had it out with them right there in front of everybody. He lets you know exactly how he feels. But he’s of the lineage of John Ford. He knows what he wants his film to be.
Leonardo DiCaprio
มีอยู่ค่ำคืนหนึ่งระหว่างถ่ายทำบนเรือ Akademik Mstislav Keldysh ที่ Canada (เลยไม่มี DiCarpio และ Winslet) ใครสักคนคงเกิดความเคียดแค้นผู้กำกับ Cameron ถึงขนาดวางยา PCP (Phencyclidine) ในมื้ออาหาร ส่งผลให้ลูกเรือกว่า 50 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ Cameron อาเจียนออกมาก่อนยาเริ่มออกฤทธิ์ (คงจะทันเห็นอาการลูกเรือคนอื่นๆ) แต่ก็ทำให้ตาข้างหนึ่งของเขาแดงกล่ำ ไม่ต่างจากหุ่นเหล็ก Terminator … มีความพยายามสืบสวนสอบสวน แต่ก็ไม่พบเจอผู้กระทำความผิด
ถ่ายภาพโดย Russell Paul Carpenter (เกิดปี 1950) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน ตั้งแต่เด็กมีงานอดิเรกถ่ายหนัง Super 8 โตขึ้นสอบเข้า San Diego State University สาขากำกับโทรทัศน์ แต่ภายหลังเป็นมาภาษาอังกฤษ ระหว่างนั้นทำงานพาร์ทไทม์ยังสถานีแห่งหนึ่ง จบออกมามีผลงานภาพยนตร์ อาทิ Hard Target (1993), True Lies (1994), Titanic (1997), Charlie’s Angels (2000), Ant-Man (2015), Avatar: The Way of Water (2022) ฯลฯ
งานภาพของหนังเต็มไปด้วยเครนช็อตที่ทำการโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เคลื่อนไหลในทิศทางที่ชวนให้ผู้ชมอ้าปากค้าง นำเสนอทุกความเป็นไปได้ของเทคนิคภาพยนตร์ ผสมผสานระหว่างภาพถ่ายคนแสดงบนเรือ RMS Titanic สร้างขึ้นขนาดเท่าของจริง (แต่ก็ภายนอกเท่านั้นนะครับ) ร่วมกับโมเดลจำลอง (miniature) และภาพเสมือนด้วยคอมพิวเตอร์ CGI (Computer Generated Imagery)
เมื่อตอน A Night to Remember (1958) ยังพอมีเรือเก่าอายุ 40-50 ปีที่หลงเหลือจากทศวรรษ 1910s จึงสามารถติดต่อขอหยิบยืม ซ่อมแซม ทาสีใหม่ ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในส่วนนี้สักเท่าไหร่ แต่สำหรับ Titanic (1997) ทุกสิ่งอย่างต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง ก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยได้รับแบบแปลน/แม่พิมพ์เรือจาก Harland and Wolff (บริษัทอู่ต่อเรือที่ประกอบ RMS Titanic) อีกทั้งงานตกแต่งภายในก็ได้รับการสนับสนุนเฟอร์นิเจอร์ รูปภาพวาด ข้าวของเครื่องใช้ จากบริษัทเดินเรือ White Star Line (เจ้าของเรือ RMS Titanic)
เพราะต้องก่อสร้างเรือขนาดเท่าของจริง จึงไม่สามารถใช้พื้นที่อันคับแคบภายในสตูดิโอ Fox ที่ Hollywood จำต้องมองหาซื้อที่ดินติดชายหาด Rosarito, Baja California ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Mexico (ติดกับรัฐ California) ขนาด 40 เอเคอร์ มูลค่า $20 ล้านเหรียญ (บางแหล่งข่าวรายงาน 51 เอเคอร์ มูลค่า $57 ล้านเหรียญ) แล้วก่อตั้งสตูดิโอลูก Fox Baja Studios จากนั้นสร้างแท้งน้ำขนาดใหญ่ 17 ล้านแกลลอน (ที่สามารถสูบน้ำจากทะเลเข้า-ออก) และแท้งขนาดเล็กอีก 4 แห่งสำหรับฉากภายใน
เกร็ด: Fox Baja Studios นอกจาก Titanic (1997) ยังเคยใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ดังๆ อาทิ Tomorrow Never Dies (1997), Deep Blue Sea (1999), Pearl Harbor (2001), Master and Commander: The Far Side of the World (2003), All Is Lost (2013) ฯลฯ




หนังมีการสร้างเรือ RMS Titanic ทั้งหมด 3 ลำ (รวมมูลค่าประมาณ $40 ล้านเหรียญ) ประกอบด้วย
- ขนาดเท่าของจริง (สร้างขึ้นในแท้งน้ำขนาดใหญ่) แต่เฉพาะบริเวณลำตัวของเรือ พบเห็นด้านข้าง (แค่ฟากฝั่งเดียวด้วยนะ) และชั้นดาดฟ้า ส่วนหัวเรือจะแยกห่างออกมา ส่วนภายในเป็นเพียงเค้าโครงเหล็กสำหรับเป็นฐานรับน้ำหนักเท่านั้น
- เรือขนาด 1/8 มีทั้งแบบเต็มลำ, ส่วนหัว (bow section) และโดยเฉพาะส่วนท้ายเรือ (stern section หรือ poop desk) ออกแบบให้วางบนฐานที่สามารถเอนเอียงจนกระทั่งตั้งฉาก 90 องศา
- และโมเดลจำลองขนาด 1/20 มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการใช้งาน ความยาวตั้งแต่ 40-60 ฟุต





ส่วนฉากภายในเรือ RMS Titanic นำรายละเอียดจากแบบแปลน รูปวาด ภาพถ่ายที่ยังคงหลงเหลือเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ SeaCity Museum, Southampton ใช้บริการช่างฝีมือชาว Mexican และ British รวมถึงว่าจ้างนักประวัติศาสตร์มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ความ ‘authentic’ ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด!
LINK: เผื่อใครสนใจรายละเอียด https://ultimatetitanic.com/inside-titanic/



แม้จะมีการสร้างเรือขนาดจริง/ขนาดย่อ/โมเดลจำลอง RMS Titanic เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย แต่ในส่วน Visual Effect ก็ยังจำเป็นอย่างมากๆ ว่าจ้างบริษัท Digital Domain และ Pacific Data Images ที่เคยร่วมงานผู้กำกับ Cameron มาตั้งแต่ The Abyss (1989) และ Terminator 2: Judgment Day (1991) โดยงานหลักๆมีอยู่สองสามอย่าง
- เติมเต็ม Green Screen ผสมผสานระหว่างนักแสดง โมเดลจำลอง ผืนน้ำ ท้องฟากฟ้า รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของเรือ RMS Titanic ที่ไม่ได้ก่อสร้างขึ้น
- ทำการ Motion Capture บรรดาตัวประกอบทั้งหลาย เพื่อนำไปแต่งเติมฝูงชน (Digital Extra) และสารพัดหายนะที่บังเกิดขึ้นระหว่างเรือกำลังจะจม อาทิ ลื่นไถล ตกจากที่สูง ถูกสิ่งของหล่นทับ ฯ



หนึ่งในช็อตที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ทีมงาน VFX ก็คือคนตกหล่นจากเรือ กระแทกใบพัด แล้วหมุนติ้วๆก่อนสัมผัสพื้นผิวน้ำ ในตอนแรกเลือกมุมจากภายนอกเรือ (ดังภาพ Storyboard ที่นำมา) ความยาวแค่เสี้ยววินาที แต่ผู้กำกับ Cameron รู้สึกว่ามันรวดเร็วเกินไป! เลยมีการทดลองให้สตั๊นแมนกระโดดลงจากความสูงนั้นจริงๆ แล้วปรับเปลี่ยนมุมกล้องถ่ายจากบนดาดฟ้าเรือ แทนสายตาของ Jack พบเห็นคนตกหล่น ดูน่าหวาดสะพรึงและใช้ระยะเวลานานกว่า 2-3 วินาที
แซว: เพราะความโคตรๆวุ่นวายของช็อตนี้ ทำให้ทีม VFX เลือกใช้ใบหน้าของโปรดิวเซอร์ Jon Landau (ใครสามารถก็ลองไปสังเกตดูเองนะครับ)
The memorable thing about propeller guy was that I decided to put the producer’s face on him. So a scan of Jon was used as the basis of propeller guy. All in good fun, but a bit on the dark side of humour since he he falls to a brutal end.
แซว2: งานประกาศรางวัล Oscar พิธีกรปีนั้น Billy Crystal ยังมีการร้องเพลงแซว Propeller Guy ลองรับชมในคลิปเปิดงาน Opening Ceremony ดูนะครับ
LINK: https://www.youtube.com/watch?v=xYR2YJhRwTU&t=99s


ตั้งแต่เมื่อ RMS Titanic ชนภูเขาน้ำแข็ง อับปางลงเมื่อปี ค.ศ. 1912 มีความพยายามค้นหาซากเรือมายาวนาน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเงินทุนและเทคโนโลยี กว่าจะได้รับการค้นพบก็วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1985 โดยความร่วมมือระหว่างนักสมุทรศาสตร์ Jean-Louis Michel และนาวาเรือ Robert Ballard ยังตำแหน่งห่างจาก Queenstown ประมาณ 2,115 ไมล์ และ New York ประมาณ 1,200 ไมล์ ที่ระดับความลึก 12,500 ฟุต (3,800 เมตร, 2,100 ฟาทอม)
การค้นพบครั้งนั้นทำให้ได้ข้อสรุปวิธีจมลงของ RMS Titanic ว่าเกิดการแตกหักออกเป็นสองส่วนจริงๆ (พบส่วนหัวและเรือ อยู่ตำแหน่งห่างไกลกันพอสมควร) เนื่องจากรอยรั่วเกิดขึ้นที่บริเวณหัวเรือ แล้วซึมเข้าห้องพักผู้โดยสารชั้นล่าง ด้านหน้าจึงค่อยๆจมลงแล้วยกท้ายเรือขึ้นเหนือน้ำ พอรับน้ำหนักไม่ไหวก็แตกหักสองท่อน ทำให้ท้ายตั้งดิ่ง 90 องศา และจมลงอย่างรวดเร็ว
เกร็ด: มีการทดลองถ้า RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งแบบตรงๆ มีแนวโน้มสามารถล่องลอยคอได้นาน 1-2 วัน (เพราะด้านหน้าออกแบบให้รองรับการกระแทกมากกว่า) แต่เพราะมันชนแบบเฉี่ยวๆ โดนเฉพาะข้างๆ แถมหลายรู คือถ้ามันรั่วน้อยกว่านี้หน่อยก็คงไม่อับปางเร็วขนาดนี้!
กาลเวลาทำให้ซากเรือ RMS Titanic เต็มไปด้วยสนิมเกรอะกรัง เศษเหล็กเริ่มแตกหัก กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ในท้องทะเล ใครเงินหนาอยากลงไปสำรวจ พบเห็นกับตาของตนเอง เห็นมีทริปท่องเที่ยวดำน้ำอยู่เหมือนกัน ราคาถูกๆ $250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
LINK: https://oceangateexpeditions.com/tour/titanic-expedition/
ผู้กำกับ Cameron ต้องการเข้าไปถ่ายทำภายในซากเรือ RMS Titanic ไม่ใช่แบบสารคดี IMAX เรื่อง Titanica (1992) ทำได้เพียงถ่ายจากเรือดำน้ำภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงมอบหมายให้น้องชาย Mike Cameron ร่วมกับ Panivision ประดิษฐ์กล้อง ‘deep-sea camera’ ที่สามารถอดทนต่อแรงกดดัน 400 บรรยากาศ (5,878.38 psi)




บ้านพักของหญิงชรา Rose Dawson Calvert โทนสีส้มๆ บรรยากาศอบอุ่น เต็มไปด้วยรูปภาพถ่าย วัตถุโบราณ สิ่งของสะสมมากมาย (สื่อถึงความหมกมุ่นยึดติดอยู่กับอดีต ออกเดินทางไปไหนก็ต้องพกติดตัว ไม่สามารถปล่อยละวางได้ลง) แต่ที่โดดเด่นพิเศษคือโถปลาทอง (นัยยะเดียวกับนกในกรง เคยใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบทางสังคม) แต่ขณะนี้เธอนั่งขึ้นรูปดินเผาอยู่ภายนอกห้อง (หมายความว่าปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบปลาในโถอีกต่อไป! สามารถกระทำทุกสิ่งอย่างด้วยอิสรภาพ/สองมือของตนเอง)
และตัวละครชื่อ Rose ก็ต้องมีดอกกุหลาบซุกซ่อนเร้นอยู่ หากันเจอหรือไม่??

ภาพสะท้อนใบหน้าคุณยาย Rose ในจอโทรทัศน์ที่กำลังฉายภาพการสำรวจซากเรือ RMS Titanic หลายคนอาจมองนัยยะถึงการหวนรำลึกนึกย้อนความทรงจำ อดีตเคยยิ่งใหญ่ เลิศหรูอลังการ ปัจจุบันหลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัง แต่ผมมองความลอยๆดูเหมือนจิตวิญญาณ กำลังจับจ้องมองหา เผื่อว่าจะมีโอกาสพบเจอชายคนนั้นอีกสักครั้ง

สำหรับช็อตแรกของ Rose DeWitt Bukater กล้องถ่ายมุมก้มจากด้านบนเหนือศีรษะ (Bird’s Eye View) จากนั้นเคลื่อนเลื่อนหมุนมาจนพบเห็นใบหน้า นี่เป็นนำเสนอให้เห็นถึงความสูงส่ง เลิศเลอ ด้วยสถานะลูกคุณหนูไฮโซ ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง รวมถึงอุปนิสัยเริดเชิดเย่อหยิ่ง แต่ให้ความรู้สึกเหมือนชีวิตถูกครอบงำด้วยบางอย่างสิ่งอย่าง(ขนบกฎกรอบ วิถีทางสังคม)
ตรงกันข้ามกับ Jack กล้องจะค่อยๆเคลื่อนถอยจากวิวเรือ Titanic พบเห็นด้านหลังศีรษะตัวละคร ก่อนหมุนวนจนเห็นด้านข้างใบหน้า (สื่อถึงความเป็นคนธรรมดาสามัญ) กำลังท้าเล่นพนันโป๊กเกอร์ คาดหวังชัยชนะเพื่อโอกาสออกเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา ปล่อยชีวิตให้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา


ภาพเบื้องหลังงานสร้างที่ผมนำมาให้ชมก่อนหน้านี้ หลายคนน่าจะพอสังเกตออกว่าเรือลำใหญ่ขนาดเท่าของจริงในแท้งน้ำ Fox Baja Studio หันคนละด้านกับภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1912 แต่ในหนังกลับพบเห็น RMS Titanic กำลังเคลื่อนออกจากท่าเรือ Southampton ในเห็นทิศทางเดียวกัน เพราะมีการใช้เทคนิคกลับภาพ ‘inverted image’ สลับขวาเป็นซ้าย ซ้ายเป็นขวา คล้ายภาพสะท้อนในกระจกเงา เอาตัวรอดไปอย่างเนียนๆ


I’m the King of the World! นี่เป็นประโยคที่สามัญชนคนทั่วไปคงไม่มีใครพูดกัน แต่เห็นว่า DiCaprio ดั้นขึ้นมาสดๆตอนนั้น ซึ่งมันสะท้อน Ego อันสูงลิบลิ่ว (ช็อตนี้ถ่ายมุมเงยด้วยนะ! เพื่อบ่งบอกว่าฉันยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่นใด) ของผกก. Cameron ได้อย่างทรงพลัง บ้าระห่ำ แถมไม่น่าเชื่อว่าจะเอาตัวรอดจากหายนะ จนสามารถกลายเป็น King of the World! ประกาศกึกก้องระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ขึ้นรับรางวัล Oscar: Best Director
- คำพูดประโยคนี้ติดอันดับ(สุดท้าย) 100 ในชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
- และติดอันดับ 4 ชาร์ท The 100 Greatest Movie Lines ของนิตยสาร Premiere
LINK: คลิปขึ้นรับรางวัล Oscar: Best Director ของ James Cameron แล้วปิดท้ายด้วยประโยคที่เจ้าตัวเคยสารภาพหลายปีให้หลังว่า รู้สึกอับอายขายขี้หน้าตัวเองชิบหาย https://www.youtube.com/watch?v=xJp7Wd6Af2A
ปล. ผมค่อนข้างมีความเชื่อมั่นว่า “I’m Gonna Be King Of The Pirates!” คำพูดติดปากของ Monkey D. Luffy จากมังงะ One Piece น่าจะได้แรงบันดาลใจจากฉากนี้แหละ!

เปรียบดั่งดอกฟ้ากับหมาวัด ครั้งแรกที่ Jack พบเห็น Rose เธอเดินออกมายืนอยู่บนดาดฟ้าชั้นบน ส่วนเขานั่งอยู่จับจ้องมองอยู่ชั้นล่าง นี่เป็นการแสดงให้ถึงความแตกต่างของสถานะ ชนชั้นทางสังคม (สูง-ต่ำ) และสังเกตว่าจะไม่มีช็อตที่เขาและเธออยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน (เพื่อเป็นการแบ่งแยกระหว่างพวกเขา ไม่ควรมีปฏิสัมพันธ์ใดๆร่วมกัน)


ค่ำคืนนั้นระหว่าง Jack กำลังเหม่อมองท้องฟ้า ราวกับว่าเธอคนนั้นคือดวงดาวทอประกายแสง ที่เขาทำได้เพียงแค่เหม่อมอง พร่ำเพ้อจินตนาการ มิอาจเอื้อมมือไขว่คว้า ครอบครองเป็นเจ้าของ … แต่แล้วจู่ๆ Rose ก็วิ่งผ่านหน้าเขาไป นั่นคือโอกาสแห่งโชคชะตาที่ต้องรีบไขว่คว้าเอาไว้

จากเคยอยู่ห่างบน-ล่าง ชนชั้นสูง-ต่ำ แต่เมื่อชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์เป็น-ตาย ชาย-หญิง Jack-Rose จึงหลงเพียงขอบรั้วบางๆขวางกั้น แค่เพียงเอื้อมมือก็สามารถไขว่คว้า ฉุดเธอกลับขึ้นมา นำพาให้เรียนรู้จักโลกกว้าง เปิดมุมมองทัศนคติใหม่ๆ ชีวิตไม่จำเป็นต้องเหมือนนกในกรง ปลาทองในโถแก้ว สามารถกางปีกโบยบิน ครุ่นคิดกระทำสิ่งต่างๆสนองตัณหาพึงพอใจส่วนตน

Heart of the Ocean ในบริบทนี้ที่คู่หมั้น Caledon Hockley สวมใส่ให้กับ Rose แม้มันมีมูลค่ามหาศาล แต่ไม่ต่างจากปลอกคอหมา เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าค่ำเจ้าของ เธอคือภรรยาของฉัน ขณะเดียวกันก็เหมือนบ่วงรัดคอ ไม่ให้หลบหนี ดิ้นหลุดพ้น ต้องยินยอมศิโรราบ ทำตามคำสั่งทุกสิ่งอย่าง
สำหรับจี้ Heart of the Ocean ได้รับการจัดทำโดยบริษัทเครื่องประดับสัญชาติอังกฤษ Asprey & Garrard โดยใช้เซอร์คอเนีย (Cubic Zirconia, CZ) คนไทยมักเรียกว่า เพชรสวิส เพชรเบลเยี่ยม หรือเพชรรัสเซีย, ส่วนสร้อยคอทำออกมาให้สอดคล้องยุคสมัย Edwardian, มีทั้งหมดสามรูปแบบ Original Prop, J. Peterman necklace และ Asprey necklace แต่ใช้ในหนังแค่สองแบบแรก
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของหนัง Asprey & Garrard ได้รับมอบหมายให้ออกแบบ Heart of the Ocean ที่เป็นของจริงแท้ๆ โดยใช้ต้นแบบจาก Original Prop เปลี่ยนมาเป็นสร้อยคอ Platinum, Ceylon Sapphire เจียรูปหัวใจขนาด 171 กะรัต, ล้อมรอบด้วยเพชรอีก 103 เมตร, เคยพบเห็นออกสู่สาธารณะเพียงครั้งเดียวเมื่อตอน Céline Dion สวมใส่ระหว่างทำการแสดงงานประกาศรางวัล Academy Award จากนั้นได้รับการประมูล $1.4 ล้านเหรียญ มอบส่วนต่างให้องค์กรการกุศล Diana, Princess of Wales Memorial Fund และ Southern California’s Aid For AIDS

บันไดแห่งนี้มีคำเรียกว่า Grand Staircase ถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แบ่งแยกระหว่างห้องพักส่วนตัวที่อยู่บริเวณด้านบน กับพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ร้านอาหาร ห้องนั่งเล่น ฯลฯ ผมเลือกสองช็อตนี้ขึ้นมากล่าวถึงก่อน พบเห็นก่อน-หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น
- ก่อนรับประทานอาหารเย็น Jack ยืนรอคอยอยู่ชั้นล่างของบันได เฝ้ารอคอยให้ Rose เดินลงมา
- แม้เป็นการร่วมรับประทานอาหารกับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แต่ให้ความรู้สึกเหมือน Rose กำลังลดตัวลงมา นำพาเขาไปยังรังอสรพิษ พบเจอบุคคลมากด้วยจริต พร้อมฉกจิกกัด ทำร้ายจิตใจผู้อื่นไปทั่ว
- หลังรับประทานอาหารเย็น Jack ยืนรอคอยอยู่กลางบันได เฝ้ารอคอยให้ Rose เดินขึ้นมา
- หลังจากนี้ Jack จะนำพา Rose ไปเต้นเริงระบำกับเพื่อนผู้โดยสารชั้นสาม สร้างความสนุกสนาน ครื้นเครง ผู้คนเป็นกันเอง ทำให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา
(เหมือนผู้กำกับ Cameron ต้องการสื่อว่าสังคมของชนชั้นสูงมีความตกต่ำตม ตรงกันข้ามกับคนชั้นล่างที่มีความสูงส่งเลอค่า)
แซว: ใครเคยรับชม Gone With the Wind (1939) น่าจะรู้สึกมักคุ้นกับบันไดโค้งๆ ระหว่างการยักคิ้วหลิ่วตาระหว่าง Clark Gable และ Vivien Leigh ให้ความรู้สึกละม้ายคล้ายฉากนี้มากๆ


ผู้กำกับ Cameron แอบปรากฎตัว (Cameo) อยู่ในช็อตนี้ ตาดีได้ ตาร้ายเสีย! เห็นว่ายังมีอีกครั้งระหว่างเฝ้ารอคอยเรือชูชีพ เมื่อตอนเจ้าหน้าที่เริ่มกราดยิงปืน แต่ผมหาไม่เจอว่าหลบอยู่ตรงไหน
ซีนสุดท้ายของงานปาร์ตี้นี้ Jack & Rose จับมือแล้วกระโดดหมุนวงกลม สามารถสื่อนัยยะถึง ‘โลกหมุนรอบตัวเรา’ ไม่จำเป็นต้องครุ่นคิดกระทำอะไรตามใคร เสรีภาพคือความเป็นเราเอง

สมัยก่อนที่ยังไม่มีชุดชั้นใน กุลสตรีชนชั้นสูงมักสวมใส่ชุดรัดตัว (Corset) เพื่อเสริมความงาม อวดทรวดทรงองค์เอว แต่ขณะเดียวกันมันคือสัญลักษณ์ของการกดทับ บีบบังคับ เพราะหญิงสาวต้องถูกรัดแน่น สร้างความอึดอัด หายใจอย่างยากลำบาก … ในบริบทนี้ก็คือ Rose ถูกมารดา/บริบททางสังคมบีบบังคับให้ต้องแต่งงานกับคู่หมั้นที่เธอไม่ได้ตกหลุมรัก

หลายคนถกเถียงกันว่าฉาก Iconic ของหนังนี้ใช้ CGI หรือไม่? เพราะภาพเบื้องหลังเห็นถ่ายกับ Green Screen? แต่เท่าที่ผมอ่านจากเกร็ดหนังพบว่าแสงสว่างเกิดจากการถ่ายทำในช่วงเวลา Golden Hour ต้องรอคอยท้องฟ้าโปร่งนานถึง 8 วัน ไม่มีทางที่คอมพิวเตอร์จะสร้างภาพออกมาได้สวยงดงามขนาดนี้
สำหรับ Green Screen ถ่ายเพื่อเป็นต้นแบบช็อตอื่นๆ รวมถึงการเคลื่อนไหลกล้องรอบเรือ RMS Titanic … ว่ากันตามตรงช็อตเหล่านี้ผมว่าไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ มันคือการ ‘show off’ ขายเทคนิคสร้างภาพ CGI ล้วนๆเลยนะ!
สำหรับนัยยะของฉากนี้ อ้างอิงจากคำพูดตัวละคร “I’m flying”. สื่อถึงการที่ Rose หลังจากได้พบเจอ Jack ทำให้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่า ‘อิสรภาพของชีวิต’ สามารถก้าวออกมาจากกรงขัง แล้วกางแขน กางปีก รู้สึกเหมือนกำลังโบยบิน นี่คือสัมผัสแรกของเสรีภาพ
แซว: Winslet ออกกฎการจุมพิตกับ DiCaprio ว่าห้ามดื่มกาแฟ ห้ามกินหัวหอม กระเทียม หรือสูบบุหรี่ก่อนการถ่ายทำ เห็นว่าในตอนแรกตอบตกลง แต่เขากลับทำทุกสิ่งอย่างจนเธอตั้งฉายา “Stinky Leo” แถมยังชอบแนบลิ้นเพื่อเป็นการกลั่นแกล้ง
แซว2: ทั้งการตะโกน “I’m King of the World” และท่ากางแขนกางปีก ได้รับความนิยมจากผู้โดยสารเรืออย่างมากๆ จนถูกแบนบนเรือสำราญแทบจะทุกลำ! เพราะมันมีความเสี่ยงสูงที่จะพลาดพลั้งตกน้ำ


ตามบทเปะๆต้องพูดว่า “Lie on that couch”. แต่เพราะนี่เป็นฉากแรกของการถ่ายทำ (ฉากอื่นๆยังสร้างไม่เสร็จ ถ่ายอะไรได้ก็เลยถ่ายไปก่อน) เพิ่งพบเจอกันก็ต้องถ่ายฉากเปลือยเสียแล้ว Winslet เลยละลายน้ำแข็ง (สำนวน Breaking the ice) ด้วยการเปลือยกายล่อนจ้อนต่อหน้าต่อตา DiCaprio เกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ ทำตัวไม่ถูก พูดจาตะกุกตะกัก ผิดพลาดเป็น “Over on the bed … uh, the couch”. ถูกอกถูกใจผู้กำกับจอมเนี๊ยบอย่าง Cameron ยินยอมให้เทคเดียวผ่าน ไม่ต้องปรับแก้ไขอะไร!

ศิลปินวาดภาพร่างของ Rose ก็คือผู้กำกับ Cameron เห็นว่ามี ‘photo session’ ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นโปรดักชั่น ขอให้เธอโพสท่าทางต่างๆเพื่อใช้สำหรับอ้างอิง แต่ไม่เปลือยกายนะครับ แค่สวมใส่บิกินี่ ก็เพียงพอให้จินตนาการภาพนู๊ดออกมา (มือที่เห็นในช็อตนี้ก็เป็นของ Cameron ปกติถนัดซ้าย แต่ตัวละครถนัดขวา รายละเอียดเล็กๆไม่ผิดพลาด)
เกร็ด: ภาพวาด Rose ถูกนำไปประมูลเมื่อปี ค.ศ. 2010 ได้ราคา $16,000 เหรียญ (ประมาณ 500,000 บาท)

ผมเพิ่งมาตระหนักได้ช็อตนี้ เมื่อพบเห็นกล้องซูมเข้าไปในด้วยตาของ Rose ว่ามีสีน้ำเงินเดียวกับจี้ Heart of the Ocean ซึ่งสอดคล้องกับสำนวน “ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ” และเมื่อตอนต้นเรื่องหญิงชรา Rose เคยพูดวลีเด็ด
A woman’s heart is a deep ocean of secret.
การสวมใส่จี้ Heart of the Ocean ระหว่างเปลือยกายเป็นนางแบบ จึงคือสัญลักษณ์ของการเปิดเผยธาตุแท้ตัวตน ปลดเปลื้องชีวิตที่เคยถูกควบคุมครอบงำให้ได้รับอิสรภาพ หลงเหลือเพียงร่างกายอันเปลือยเปล่า และหัวใจ/จิตวิญญาณของหญิงสาว ไม่มีความหวาดกลัวเกรงสิ่งอื่นใดอีกต่อไป


รถคันนี้คือ Renault Type CB Coupe de Ville รุ่นปี ค.ศ. 1912 ความเร็ว 25 แรงม้า มูลค่า 5,000 เหรียญ พบเห็นตั้งแต่ตอนยกขึ้นเรือ และขณะนี้กลายเป็นรังรักของ Jack & Rose แถมทิ้งรอยฝ่ามือประทับไว้ในความทรงจำ (เหมือนเวลาสุนัขยกขาปัสสาวะ ทำเครื่องหมายเพื่อบ่งบอกอาณาเขต เบ่งอำนาจ ฉันคือเจ้าของสถานที่แห่งนี้)
เกร็ด: รถคันนี้เป็นของ William E. Carter (1875–1940) มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ซึ่งพาครอบครัวไปเที่ยวยุโรปและซื้อรถคันนี้กลับมา เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต และมีการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย White Star Line ตามมูลค่าจริง
เกร็ด2: เมื่อตอนค้นพบซากเรือ RMS Titanic เหล่านั้นกู้สมบัติมีความพยายามหาซากรถคันนี้แต่กลับไม่พบเจอ คาดว่าอาจมีมูลค่านับล้านเหรียญในการประมูล เพราะแค่เมนูอาหารยังได้ราคาถึง 25,000 – 35,000 เหรียญ!


Rose รับรู้สถานะ RMS Titanic (ว่ากำลังจะอับปางลง) จากคำบอกกล่าวของวิศวกรออกแบบเรือ Thomas Andrews ยืนยันด้วยคำพูด “It’s a mathematical certainty”. (คัทลอกมาจาก A Night to Remember (1958)) ยังบริเวณบันได Grand Staircase สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง นั่นหมายถึงการกำลังจะล่มสลายของแวดวงไฮโซ กลุ่มชนชั้นสูง … นี่รวมไปถึงเมื่อน้ำไหลบ่าเข้ามาเวลา 2.15 AM (เรือจมสนิทเวลา 2.20 AM) บันไดถูกกระแสน้ำพัดพา ก็หมายถึงจุดสิ้นสุดของโลกยุคเก่า ที่แบ่งแยกมนุษย์ด้วยสถานะทางสังคม!
แซว: Grand Staircase เป็นบันได Prop ที่ไม่ได้ออกแบบให้มีความแข็งแกร่งทนทาน (จริงๆออกแบบมาให้สามารถพังทลาย ล่องลอยไปกับสายน้ำ) จึงมีโอกาสถ่ายทำฉากน้ำท่วมนี้ได้แค่เทคเดียวเท่านั้น


เพราะเป็นเพียงพลเมืองชนชั้นสาม Jack จึงมักถูกเข้าใจผิด โดนใส่ร้ายป้ายสี(จากบุคคลชนชั้นสูงกว่า)ถึงสองครั้งครา
- ครั้งแรกตอนต้นเรื่อง ลูกเรือเข้าใจผิดคิดว่า Jack กำลังจะข่มขืนใจ Rose
- ครั้งหลังถูกคู่หมั้นของ Rose ใส่ร้ายป้ายสีว่าทำการลักขโมยจี้ Heart of the Ocean
นี่แสดงให้เห็นถึงจิตใจที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว คอรัปชั่นของคนชนชั้นสูง ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจบารมี เกียรติยศศักดิ์ศรี สิ่งข้าวของ/บุคคลที่อยู่ในความครอบครอง หรือยินยอมรับสถานะอันต่ำต้อยของอีกฝั่งฝ่าย พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อธำรงรักษาความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง
กุญแจมือของ Jack ไม่ได้ถูกไขออกแต่ต้องใช้ขวานจาม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการใช้ความรุนแรง ซึ่งล้อกับตอนที่บรรดาผู้โดยสารชั้นสาม ใช้กำลังพังประตูเลื่อนออกไปยังดาดฟ้า สื่อถึงการอารยะขัดขืน ไม่ยอมก้มหัว ศิโรราบต่อความไม่ชอบธรรมอีกต่อไป … เมื่อความเป็น-ตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม สันชาติญาณคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์พยายามหาทางเพื่อธำรงชีพรอด

หนึ่งใน Deleted Scene ที่ผมอยากกล่าวถึงเป็นพิเศษ (โคลนนิ่งมาจาก A Night to Remember (1958)) เอาจริงๆเป็นฉากที่ไม่น่าตัดออก เพราะมีการกล่าวถึงรหัส SOS ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือนี้ แต่มันอาจเป็นคำพูดหยอกล้อที่ฟังดูไม่เหมาะสมกับสถานการณ์สักเท่าไหร่
Send SOS; it’s the new call, and it may be your last chance to send it.
เกร็ด: หลายคนอาจครุ่นคิดว่า SOS มาจาก Save Our Ship หรือ Save Our Soul แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้ย่อมาจากอะไร เพียงเพราะเมื่อแปลงเป็นรหัสมอร์ส ( ▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄ ) มันกดง่ายที่สุด แค่นั้นเองนะครับ! (ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บางครั้งสติสตางค์ไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว SOS มันเลยเคาะๆๆยาวๆๆง่ายที่สุด)
เมื่อตอนที่ Rose ยินยอมลงเรือชูชีพ เหมือนว่าคู่หมั้น Caledon จะสามารถคืนดีกับ Jack แต่แท้จริงแล้วชายคนนี้แอบยัดเงินให้ลูกเรืออีกลำ เพื่อว่าตนเองจะมีโอกาสลงเรือชูชีพลำอื่น … นี่มันหน้าไหว้หลังหลอกชัดๆ
แต่พอ Rose ปฏิเสธเอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้อีก Caledon น็อตหลุด ชักปืนขึ้นมาไล่ยิง Jack & Rose ต้องวิ่งหลบหนีลงยังห้องพักผู้โดยสารชั้นสาม หรือก็คือล่างสุดของบันได Grand Staircase พบเห็นกระแสน้ำกำลังเอ่อล้นขึ้นมา (นี่ก็สื่อถึงการกำลังล่มสลายของแวดวงไฮโซ กลุ่มชนชั้นสูง เช่นเดียวกัน!)
เกร็ด: Grand Staircase มีทั้งหมดหกชั้น Boat Deck, A-Deck ไปจนถึง E-Deck ซึ่งจะมีลวดลายรวมถึงความอลังการที่ลดหลั่นตามระดับชั้น ซึ่งช็อตนี้ย่อมคือ E-Deck เชื่อมต่อกับห้องพักผู้โดยสารชั้นสาม

ในฉากที่ Jack & Rose วิ่งหนีกระแสน้ำจนพัดมาติดประตูเลื่อน เห็นว่าเสื้อโค้ทของ Winslet เกี่ยวติดอะไรสักอย่าง ทำเอาเธอเกือบจมน้ำจริงๆสามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด แต่ระหว่างถ่ายทำก็ไม่เคยบอกกล่าวอุบัติเหตุนี้แก่ใคร ผกก. Cameron เองก็ไม่รับรู้ใดๆ
ประตูเลื่อนถูกล็อกกุญแจ แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยยืนเฝ้า เพื่อเป็นการแบ่งแยก ปิดกั้น กีดกันพลเมืองชั้นสาม ไม่ให้ขึ้นมาก่อการจราจล สร้างความวุ่นวาย แก่งแย่งสิทธิอันชอบธรรม(ในการขึ้นเรือชูชีพ)ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง จนกว่าจะถึงสถานการณ์คับขับประตูบานนี้ถึงสามารถเปิดออก

เมื่อตอน A Night to Remember (1958) มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับภาพวาดในห้องนั่งเล่นชั้นหนึ่ง เพราะอ้างอิงจากหนังสือของ Walter Lord กล่าวถึงภาพวาด Approach to the New World มุ่งสู่ท่าเรือ New York แต่แท้จริงแล้วภาพดังกล่าวจัดแสดงบนเรือ RMS Olympic (ที่เป็น ‘sister ship’ ของ RMS Titanic)
ผู้กำกับ Cameron เลยจัดให้ที่ถูกต้องก็คือ Plymouth Harbour ผลงานของจิตรกรชาวอังกฤษ Norman Wilkinson (1878–1971) คนเดียวกับที่วาด Approach to the New World แต่การจะมองหาคงต้องจับจ้องกันสักหน่อย เพราะหนังไม่การเปิดเผยให้เห็นแบบชัดๆ แต่สามารถสังเกตจากสถานที่สุดท้ายที่ Thomas Andrews วิศวกรผู้ออกแบบเรือ RMS Titanic เลือกอาศัยอยู่พร้อมขณะเรือกำลังอับปาง


As we have lived together, so we shall die together.
Isidor & Ida Straus สองคู่รักผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้า Macy’s Department ในสหรัฐอเมริกา (Isidor ยังเคยเป็น ส.ส. ของ New York City) ทั้งคู่ต่างเป็นผู้สูงวัยที่ได้รับอภิสิทธิ์ให้ลงเรือชูชีพเป็นกลุ่มแรกๆ แต่ Isidor ยืนกรานขอให้ผู้หญิงและเด็กได้รับสิทธิ์นั้นก่อน ซึ่ง Ida ก็ขอเลือกอยู่เคียงข้างสามี บรรดาผู้รอดชีวิตพบเห็นพวกเขานั่งกุมมือกันบนม้านั่งบนดาดฟ้าเรือก่อนจมหายไป ไม่ได้นอนกอดกันบนเตียงเหมือนที่หนังนำเสนอช็อตนี้

ในบทหนังไม่ได้มีฉากนี้ แต่ตัวประกอบสมทบชาว Irish เสนอไอเดียให้กับ Cameron เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน Celtic เรื่อง Niamh and Oisin เรื่องราวของชายสามัญชน Oisin ตกหลุมรักนางฟ้าสาว Niamh (เปรียบเทียบตรงๆกับ Jack & Rose) พวกเขาครองรักกันยาวนานกว่า 300 ปี ยังดินแดนในอุดมคติ Tír na nÓg (แปลว่า Land of Youth) ที่ทุกคนจะมีความเยาว์วัย สวยใส และเป็นนิรันดร์ ซึ่งหนทางจะไปสู่สถานที่แห่งนั้น ต้องใช้เส้นทางผ่านมหาสมุทร … นี่ถือว่าล้อกับปัจฉิมบทได้เลยนะ!

จริงๆแล้วไม่มีใครรับรู้ว่า Captain Edward John Smith (1850-1912) เสียชีวิตอย่างไร? แต่ฉากนี้อ้างอิงจาก A Night to Remember (1958) นำเสนอการตายอย่างหาญกล้า ยังห้องควบคุม จมพร้อมกับเรือ RMS Titanic ก่อนพบเห็นเป็นซากศพล่องลอยคอ … Cap. Smith ตั้งใจจะเกษียณอายุทำงานหลังการเดินทางครั้งนี้ แต่โชคร้ายมีเหตุอันเป็นไปเสียก่อน
เกร็ด: เห็นว่านี่คือฉากสุดท้ายของการถ่ายทำ! ต้องใช้สตั๊นแมนและนักประดาน้ำ ซึ่งผกก. Cameron ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมดำน้ำด้วยเช่นกัน
เกร็ด2: มีนักแสดงชื่อดังหลายคนบอกปัดปฏิเสธบทบาทนี้ อาทิ Robert DeNiro, Michael Caine ฯลฯ ก่อนส้มหล่นใส่ Bernard Hill ในบทบาทที่น่าจดจำไม่น้อยทีเดียว

ฉากเกี่ยวกับวงดนตรี แม้โคลนนิ่งแนวคิดมาจากภาพยนตร์ A Night to Remember (1958) แต่นักไวโอลินคนนี้อ้างอิงจากหัวหน้าวงดนตรี (Bandmaster) ที่มีตัวตนอยู่จริงๆ เสียชีวิตไปกับเรือ ชื่อว่า Wallace Hartley และคำกล่าวสุดท้ายต้องชมเลยว่าโคตรๆตราตรึง
Gentlemen, it has been a privilege playing with you tonight.
ส่วนบทเพลงสุดท้ายที่พวกเขาบรรเลงชื่อว่า Nearer, My God, to Thee ผมเรียกเพลงชาติประจำเรือ RMS Titanic ได้ยินมาตั้งแต่หนังพูดเรื่องแรกที่กล่าวถึงโศกนาฎกรรมนี้ Atlantic (1929)

นี่ถือเป็นอีกช็อตที่โคลนนิ่งจาก A Night to Remember (1958) ชายทั้งสองคนนี้ต่างตีหน้าเซ่อ ทำเนียนลงเรือชูชีพ แสดงความขี้ขลาดตาขาว หวาดกลัวตัวสั่น มิอาจหันหลังกลับไปมองเรือ RMS Titanic ที่กำลังอับปางลงด้านหลัง เป็นตัวละครสะท้อนว่าไม่ใช่ชายทุกคนจะมีความเข้มแข็ง กล้าหาญ สามารถเผชิญหน้าความตาย


แม้ควันพ่นออกจากปากจะใช้ลูกเล่นอะไรสักสิ่งอย่าง (อมเข้าไปในปากแล้วจะมีควันโพยพุ่งออกมา) แต่การถ่ายทำยามดึกดื่น อากาศหนาวๆ น้ำทะเลเย็นๆ ก็ทำให้ Winslat ป่วยเป็นปอดบวม มีอาการ Hypothermia (ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ) โชคดีไม่เป็นอะไรมาก … นี่ต่างจากตอนเธอถ่ายทำ Avatar: The Way of Water (2022) สระน้ำในสตูดิโอมีการควบคุมอุณหภูมิ ระยะเวลาทำงาน ความปลอดภัยในการทำงานแตกต่างกันอย่างมากๆ
ปล. มีความพยายามทดลองหาว่าจะทำอย่างไรถึงสามารถช่วยชีวิต Jack วิธีการก็คือให้พวกเขาถอดเสื้อชูชีพแล้วนำไปวางใต้แผ่นไม้ จะทำให้ทั้งสองสามารถขึ้นไปอยู่ด้านบนโดยไม่จมลง! … แต่ช่วงเวลาเฉียดเป็นเฉียดตายขนาดนั้น ใครกันจะไปครุ่นคิดได้ละครับ!

Heart of the Ocean มีวิวัฒนาการในเชิงสัญลักษณ์ที่น่าทึ่ง (ชวนให้นึกถึงต่างหูของ The Earrings of Madame De… (1953)) จากเคยเป็นสัญลักษณ์ปลอกคอหมา เธอคือภรรยาของฉัน! กลายมาเป็นสิ่งมีค่าของหัวใจ แทนช่วงเวลาแห่งความทรงจำ อดีตมิอาจลืมเลือน จนกระทั่งคุณยาย Rose หวนกลับมาพบเห็นภาพวาด และซากเรือ RMS Titanic ถึงทำให้เธอสามารถปล่อยละวาง ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง โยนให้มันจมหายกับสายน้ำ ไม่หลงเหลืออะไรติดค้างคาใจ
ก็เหมือนการที่ผู้กำกับ Cameron สามารถสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องได้สำเร็จ! … หรือจริงๆคือการได้ดำน้ำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน นั่นคือจุดสูงสุดของทุกสิ่งอย่าง!

เมื่อตอน Jack ยังมีชีวิตอยู่ เคยคุยโวโอ้อวด แนะนำการกระทำโน่นนี่นั่น ดื่มเบียร์ราคาถูก ขึ้นรถไฟเหาะ ควบขี่ม้าไม่ใส่อาน ฯลฯ (ต่างเป็นการแสดงออกที่สื่อถึงเสรีภาพของชีวิต เหมือนการติดปีกโบยบิน/ขึ้นเครื่องบินสู่ท้องฟากฟ้า) แต่แม้เขาตายจากไป Rose ก็ยังทำทุกสิ่งอย่าง ใช้ชีวิตแทนเขา พบเห็นจากบรรดาภาพถ่ายที่พกติดตัวมาบนเรือวิจัยลำนี้
We’ll drink cheap beer. Ride on the roller coaster till we throw up. We’ll ride horses on the beach, in the surf. But you have to do it like a real cowboy. No sidesaddle stuff. … Chew tobacco like a man. And spit like a man.
สารพัดคำโปรยอิสรภาพชีวิตของ Jack


ผู้กำกับ Cameron ให้อิสระผู้ชมในการตีความปัจฉิมบทนี้ว่า คือความเพ้อฝันของคุณยาย Rose หรือเสียชีวิตขณะนอนหลับ แล้ววิญญาณล่องลอยหวนกลับหาผู้เสียชีวิตบนเรือ RMS Titanic ณ เวลา 2.19 AM ตรงบันได Grand Staircase (ในบริบทนี้น่าจะสื่อถึงบันไดสู่โลกหลังความตายได้กระมัง)
และการเอื้อมมือสัมผัสระหว่าง Jack & Rose ทำออกมาให้ดูละม้ายคล้ายภาพวาด Michelangelo: The Creation of Adam (1508-12) นี่ไม่ใช่แค่วิญญาณคนตายกับคนเป็น (หรือกำลังจะตาย) ยังรวมถึงสถานะทางสังคม การจับมือของชนชั้นสูง-ต่ำ (ยืนสลับตำแหน่งล่าง-บน เพื่อล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Rose เป็นผู้ก้าวสู่โลกของ Jack) เพื่อสื่อถึงจุดสิ้นสุดยุคสมัยอดีต-ปัจจุบัน หรือจะมองว่าโลกหลังความตาย(หรือโลกในปัจจุบัน)ไม่มีการแบ่งแยกอะไรใดๆทั้งนั้น!

สำหรับทีมตัดต่อนำโดย James Cameron ร่วมงานกับสองขาประจำ Conrad Buff (The Empire Strikes Back, Raiders of the Lost Ark, E.T. the Extra-Terrestrial, T2, True Lies) และ Richard A. Harris (Downhill Racer, T2, The Bodyguard, True Lies)
หนังเริ่มต้นจากช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996 นักล่าสมบัติ Brock Lovett ดำน้ำสำรวจซากเรือ RMS Titanic เพื่อค้นหาจี้ Heart of the Ocean แต่กลับพบเจอเพียงภาพเปลือยของ Rose Dawson Calvert จึงอัญเชิญหญิงชราเดินทางมาเล่าเรื่องราว หวนรำลึกความทรงจำ ย้อนอดีตเหตุการณ์โศกนาฎกรรมเคยบังเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1912
- อารัมบท ช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996
- นักล่าสมบัติ Brock Lovett ดำน้ำสำรวจซากเรือ RMS Titanic พบเจอตู้เซฟ และภาพวาดเปลือยของ Rose Dawson Calvert
- Rose Dawson Calvert เดินทางมาถึงยังเรือสำรวจ หวนระลึกความทรงจำ เล่าเหตุการณ์โศกนาฎกรรมเคยบังเกิดขึ้น
- เตรียมตัวออกเดินทาง ขึ้นเรือ RMS Titanic
- การมาถึงอย่างเลิศหรูของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง Rose DeWitt Bukater พร้อมมารดาและคู่หมั้น
- Jack Dawson เอาชนะพนันได้รับตั๋วโดยสารชั้นสาม วิ่งทันขึ้นเรืออย่างหวุดหวิด
- โบกมือร่ำลา เรือออกจากท่า Jack ตะโกนบนดาดฟ้าหัวเรือ “I’m King of the World”.
- แรกพบเจอ สานสัมพันธ์ระหว่าง Jack & Rose
- วิถีไฮโซอันน่าเบื่อหน่ายของ Rose vs ชีวิตอันน่าตื่นเต้นของ Jack
- Rose พยายามจะฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการโน้มน้าว ช่วยเหลือโดย Jack
- Jack ได้รับการชักชวนให้ร่วมรับประทานอาหารเย็นร่วมกับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
- Jack พา Rose มาเริงระบำกับผู้โดยสารชั้นสาม
- ความรักเบ่งบานระหว่าง Jack & Rose
- แม้ว่า Rose จะถูกกีดกันจากมารดาและคู่หมั้น แต่เธอก็แอบสานสัมพันธ์กับ Jack กางแขนโบยบินอยู่บนดาดฟ้าหัวเรือ
- แอบเข้ามาในห้องพักชั้นหนึ่ง Rose เปลือยกายเป็นนางแบบให้ Jack
- จากนั้นวิ่งหลบหนีไปยังชั้นเก็บของ แล้วร่วมรักหลับนอนในรถ Renault
- การมาถึงของหายนะ/ความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง Jack & Rose
- RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง
- Jack ถูกจับกุมข้อหาลักขโมย Heart of the Ocean
- รายงานความเสียหายของ RMS Titanic พบว่าจะจมลงในอีก 1-2 ชั่วโมง จึงเริ่มต้นการอพยพ
- Rose พยายามช่วยเหลือ Jack แล้วหาหนทางกลับขึ้นมาลงเรือชูชีพ
- สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต/คำมั่นสัญญาระหว่าง Jack & Rose
- Rose แม้จะลงเรือชูชีพไปแล้วแต่ก็หาหนทางปีนป่ายกลับขึ้นมา ทำให้เธอกับ Jack ถูกไล่ล่าโดยคู่หมั้น
- ร่วมกับผู้โดยสารชั้นสาม ต่อสู้ดิ้นรนจนหวนกลับมาถึงชั้นดาดฟ้า
- ลำตัวเรือค่อยๆยกตัวขึ้น ก่อนแตกหักเป็นสองท่อน แล้วทิ้งดิ่งลงมา
- ผู้ยังรอดชีวิตต่างพยายามตะเกียกตะกาย แหวกว่าย เฝ้ารอคอยการช่วยเหลือ ที่กว่าจะมาถึงก็สายเกินเยียวยา
- ปัจฉิมบท ย้อนกลับมาช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996
- Rose ตัดสินใจร่ำลากับ Heart of the Ocean โยนมันทิ้งลงท้องทะเล
เหตุผลที่หนังเริ่มเล่าเรื่องจากปัจจุบัน เพราะผู้กำกับ Cameron ต้องการโชว์ฟุตเทจที่ตนเองลงไปสำรวจถ่ายทำซากเรือ RMS Titanic ขณะเดียวกันก็ถือเป็นอารัมบท แนะนำให้ผู้ชมสามารถปะติดปะต่อเหตุการณ์จากอดีต รับรู้สึกว่าโศกนาฎกรรมดังกล่าวเคยเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เรื่องเล่า ปรัมปรา สิ่งเลือนหายไปตามกาลเวลา
ลีลาการตัดต่อของหนังก็เต็มไปด้วยความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เพื่อสร้างความตื่นเต้น เร่งเร้าอารมณ์ เก็บรายละเอียดจากหลากมุมมอง หลายทิศทางมุมกล้อง แต่เรื่องราวหลักๆจะโฟกัสที่ Jack & Rose แตกต่างจาก A Night to Remember (1958) ที่ไม่รู้จะเชียร์ใครให้รอดชีวิต
หนังความยาว 3 ชั่วโมง 14 นาที (194 นาที) คิดแล้วเกือบนาทีละล้านเหรียญ! แม้สตูดิโอ Fox จะพยายามโน้มน้าวผู้กำกับ Cameron ตัดทอนรายละเอียดให้เหลือสักสองชั่วโมง (จริงๆถ้าตัดเหตุการณ์ในปัจจุบันทิ้งไป จะลดเวลาลงได้กว่าครึ่งชั่วโมง!) เพื่อสามารถเพิ่มรอบฉาย ลดความเสี่ยงการขาดทุน แต่พวกเขาได้รับคำตอกกลับ
You want to cut my movie? You’re going to have to fire me! You want to fire me? You’re going to have to kill me!
James Cameron บอกกับผู้บริหารสตูดิโอ Fox
เพลงประกอบโดย James Roy Horner (1953-2015) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน, เริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุห้าขวบ แล้วเดินทางไปร่ำเรียนดนตรียัง Royal College of Music, London แล้วกลับมาศึกษาต่อ University of Southern California และปริญญาโท University of California, Los Angeles (UCLA) จากนั้นเริ่มทำเพลงประกอบหนังเกรดบี The Lady in Red (1979), มีชื่อเสียงจาก Star Trek II: The Wrath of Khan (1982), ผลงานเด่นๆ อาทิ Commando (1985), Cocoon (1985), Glory (1989), Apollo 13 (1995), Braveheart (1995), A Beautiful Mind (2001), House of Sand and Fog (2003) ฯลฯ
ช่วงระหว่างเขียนบทหนัง Cameron รับฟังบทเพลงอัลบัม Far and Away (1992) ของศิลปิน Enya พยายามชักชวนเธอมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์แต่ได้รับคำบอกปัดปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจติดต่อหา Horner ที่ก่อนหน้านี้เคยร่วมงาน Aliens (1986) แต่พวกเขามีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันสักเท่าไหร่ ถ้าไม่เพราะความประทับใจจาก Braveheart (1995) จึงขอให้หลงลืมความขัดแย้งจากอดีต แล้วทั้งสองก็กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม และร่วมงานกันอีกครั้งสุดท้าย Avatar (2009)
Horner เมื่อรับชมฉบับตัดต่อ Rough Cut เดินทางกลับบ้านนั่งเขียน Main Theme ของหนังในระยะเวลาเพียง 20 นาที จากนั้นถึงเริ่มสร้าง Variation ปรับเปลี่ยนท่วงทำนอง เครื่องดนตรีประกอบ เต็มไปด้วยกลิ่นอาย Irish Folk Song (เพราะเรือ RMS Titanic สร้างขึ้นที่ Belfast, Northern Ireland) เพื่อให้สอดคล้องตัวละคร สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น
สำหรับ Main Title เริ่มด้วยเสียงปี่ Uilleann pipes (เครื่องดนตรีพื้นบ้าน Irish ที่มักได้ยินในพิธีศพ จะมองว่าเป็นสัญลักษณ์โศกนาฎกรรมของเรือ RMS Titanic ก็ได้กระมัง) ตามด้วยเสียงร้องโหยหวน แทนความเศร้าโศกจากหายนะที่ยังคงหลอกหลอนมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับเสียงร้องโหยหวนที่มีกลิ่นอาย New Age (เลียนแบบสไตล์เพลงของ Enya) เห็นว่า Horner ว่าจ้างศิลปินกว่า 25-30 คน ให้มาทดลองบันทึกเสียง แต่ก็ไม่เป็นที่พึงพอใจจนกระทั่งพบเจอกับ Sissel Kyrkjebø (เกิดปี 1969) นักร้องโซปราโนชาว Norwegian โด่งดังจากผลงานเพลง Eg Veit I Himmerik Ei Borg แปลว่า I Know in Heaven There Is a Castle ประกอบอัลบัม Innerst i sjelen (1994) แปลว่า Deep Within My Soul
ถ้าหลับตาฟังผมคงนึกว่าบทเพลงนี้ขับร้องโดย Enya ทั้งเทคนิค ลีลา น้ำเสียงร้อง รวมถึงท่วงทำนอง แทบจะโคลนนิ่งกันมาเหมือนเปี๊ยบ แต่เรียกว่าเป็นแรงบันดาลใจกันและกันดีกว่านะครับ สามารถทำให้ผู้ฟังล่องลอยราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ สั่นสะท้อนทรวงใน ไปถึงจิตวิญญาณ
ผมสองจิตสองใจว่าจะเลือกบทเพลง Leaving Port หรือ Take Her To Sea, Mr. Murdoch เพราะต่างเต็มไปด้วยท่วงทำนองอันฮึกเหิม เอ่อล้นด้วยพละกำลัง นำเสนอจุดเริ่มต้นการออกเดินทางของ RMS Titanic เรือแห่งความหวัง กำลังมุ่งสู่โลกใบใหม่ และเสียงตะโกนของ Jack Dawson หรือก็คือผู้กำกับ James Cameron ป่าวประกาศว่า “I’m King of the World!”
Rose หรือก็คือ My Heart Will Go On ฉบับเสียงร้องโหยหวนของ Sissel Kyrkjebø (เอาจริงๆผมชื่นชอบเพลงนี้กว่าฉบับขับร้องโดย Céline Dion เสียอีกนะ!) เป็นบทเพลงประจำตัวละคร Rose DeWitt Bukater ที่ถ่ายทอดความรู้สึกจากภายใน ความต้องการของหัวใจ หญิงสาวไม่ชอบการถูกบีบบังคับ เป็นนกในกรงขังของผู้ใด โหยหาอิสรภาพเสรี อยากโบกโบยบินอยู่บนท้องฟ้าไกล
Death of Titanic เป็นบทเพลงที่ผมรู้สึกว่า ‘underrated’ เมื่อตอนรับชบแทบจะไม่ได้ยิน ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะถูกกลบเกลื่อนด้วยสารพัด Sound Effect ทั้งจากผู้คน คลื่นลม สิ่งข้าวของแตกหัก ฯลฯ ช่างเป็นช่วงเวลาแห่งความโกลาหล สับสนวุ่นวาย แต่ถ้ามาฟังแยกในอัลบัมเพลงประกอบจะรู้สึกว่าโคตรๆทรงพลัง นำเสนอความพยายามต่อสู้ดิ้นรน ไม่ย่นย่อท้อ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ แต่จนแล้วจนรอดก็พบเพียงหายนะและความสิ้นหวัง
อัลบัม Soundtrack ของหนังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ติดชาร์ท(อัลบัม)ขายดีแทบทุกประเทศ กลายเป็นอัลเพลงประกอบภาพยนตร์ขายดีที่สุดตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา (และหลายๆประเทศทั่วโลก) ยอดทางการ 18.1 ล้านก็อปปี้ แต่ตัวเลขจริงๆอาจสูงถึง 27 ล้านก็อปปี้ จนปัจจุบันก็ยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนเฉียดใกล้ นั่นทำให้มีอัลบัมสะสมออกติดตามมาอีกมากมาย Standard Edition, Anniversary Edition, 20th Anniversary Edition ฯลฯ
ผมแอบแปลกใจไม่น้อยที่เพลงประกอบ Titanic (1997) ไม่ติดอันดับ AFI’s 100 Years of Film Scores อาจเพราะชาร์ทนี้เลือกมาแค่ 25 เรื่อง และคนส่วนใหญ่จดจำได้แต่บทเพลง My Heart Will Go On (ติดอันดับ 14 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Songs) โดดเด่นกว่า Soundtrack เสียอีกนะ!
ผู้กำกับ Cameron ไม่มีความต้องการบทเพลงขับร้อง เพราะครุ่นคิดว่าจะเป็นการทำลายบรรยากาศของหนัง แต่เป็น Horner มอบหมายให้ Will Jennings เขียนเนื้อคำร้อง และพยายามต่อรอง Céline Dion ที่ตอนแรกไม่ชอบการนำเสนอของ Hornor แต่ภายหลังได้รับการเกลี้ยกล่อมจากสามี René Angélil จึงยินยอมเข้าห้องอัด บันทึกเสียงเพียงเทคเดียวเท่านั้น! (แต่ความสำเร็จของหนังทำให้เธอเข้าห้องอัดเพลงนี้อีกนับครั้งไม่ถ้วน)
Horner เฝ้ารอคอยจน Cameron อยู่ในช่วงอารมณ์ดีๆถึงค่อยนำเสนอบทเพลงนี้ หลังรับฟังอยู่หลายรอบถึงยินยอมตอบตกลง ด้วยเหตุผลทางการตลาดในกรณีถ้าหนังขาดทุน ยอดขายอัลบัมเพลงประกอบอาจช่วยแบ่งเบาภาระได้ระดับหนึ่ง (จริงๆคือสตูดิโอจ่ายค่าลิขสิทธิ์อัลบัมเพลงประกอบไปล่วงหน้า $800,000 เหรียญ)
ความสำเร็จอันล้นหลามของบทเพลงนี้ คือตราประทับเคียงคู่กับภาพยนตร์ “imprinted on the movie’s legacy” อีกทั้งยังกลายเป็น “Signature Song” ประจำตัว Dion ติดอันดับหนึ่ง Billboard Hot 100 นานสองสัปดาห์ ยอดขายเฉพาะซิงเกิ้ลรวมทั่วโลกประมาณ 18 ล้านก็อปปี้ (เป็นรองเพียง I Will Always Love You ของ Whitney Houston ซิงเกิ้ลขายดีที่สุดตลอดกาลโดยนักร้องหญิง) รวมถึงกวาดรางวัลจากทุกสถาบันที่ได้เข้าชิง
- Academy Award: Best Original Song
- Golden Globe Award: Best Original Song
- Grammy Award คว้ามาอีก 4 รางวัล
- Record of the Year
- Song of the Year
- Best Female Pop Vocal Performance
- Best Song Written Specifically for a Motion Picture or Television
เกร็ด: ในประวัติศาสตร์ Oscar มีเพียง 5 เรื่องที่ภาพยนตร์รางวัล Best Picture สามารถคว้า Best Original Song ประกอบด้วย Going My Way (1944), Gigi (1958), Titanic (1997), The Lord of the Rings: The Return of the King (2003), Slumdog Millionaire (2008)
เนื้อร้องของบทเพลง My Heart Will Go On ราวกับการเพ้อรำพันของ Rose เพื่อบอกกับวิญญาณของ Jack ภายหลังการสูญเสีย เหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนั้น ดั่งเคยให้คำมั่นสัญญา ว่าจะยังคงมีชีวิต ทำทุกสิ่งอย่างเคยครุ่นคิดวาดฝันไว้ เฝ้ารอคอยจนกว่าจะถึงวันหมดสิ้นลมหายใจ ฉันและเธอจักได้อยู่เคียงข้าง ครองคู่รักกันอีกครั้ง
MTV ยกย่องการแสดงของ Dion ในงานประกาศรางวัล Academy Award ถือว่าสมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ สมควรค่าแก่การรับชม จึงนำคลิปดังกล่าวมาทิ้งท้าย
This performance of “My Heart Will Go On” deserves a rewatch. That smoke machine rolling out a wispy ocean fog, the orchestra in all white, and Dion wearing a dress that could definitely still pass as stylish and the Heart of the Ocean. Not to mention, she sounds flawless as she effortlessly belts out the Best Original Song-winner that would become one of the best-selling singles of all time and the world’s best-selling single in 1998. This is true perfection.
มองอย่างผิวเผิน Titanic (1997) นำเสนอเรื่องราวความรักต่างวรรณะ ระหว่างไอ้หนุ่มชั้นสาม Jack กับคุณหนูไฮโซ Rose ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พวกเขาจึงโดนกีดกัน ขวางกั้น แต่ต่อให้ฟ้าถล่มดินทลาย โลกทั้งใบล่มสลาย เรือชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลง ก็คงไม่สิ่งใดทำลายความรู้สึกอันมั่นคงที่ฉันมีต่อเธอ
เราสามารถเปรียบเทียบ RMS Titanic คือส่วนย่นย่อของโลกทั้งใบ (บางคนตีความถึง Noah’s Ark ก็ได้เช่นกัน) ซึ่งสามารถสะท้อนสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น (ช่วงต้นศตวรรษที่ 20th) ยังคงมีการแบ่งแยกชนชั้นสูง-กลาง-ล่าง แทนด้วยผู้โดยสารชั้นหนึ่ง-สอง-สาม ส่วนบรรดาลูกเรือก็คือชนชั้นผู้นำ กลุ่มผู้บริหารประเทศ (ให้เรือลำนี้สามารถเดินทางสู่เป้าหมาย) ก็มีจากระดับบนลงล่าง กัปตัน ต้นหน พนักงานสื่อสาร พ่อครัว พนักงานเสิร์ฟ ช่างเครื่อง และกรรมกรแรงงาน
การพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งของ RMS Titanic หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย ความโชคร้ายสามารถบังเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าใครเคยรับชม A Night to Remember (1958) ย่อมตระหนักถึงสาเหตุผลแท้จริง ชี้ชัดเลวว่าเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ประมาทเลินเล่อ เย่อหยิ่งทะนงตน ไม่มีใครเชื่อว่าเรือขนาดใหญ่ลำนี้จะจมลง กัปตัน/พนักงานสื่อสารหลับสบาย ไม่ได้สนใจโทรเลขเตือนภัย ไร้มาตรการรองรับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ
มองในเชิงสัญลักษณ์ก็คือความผิดพลาดในการบริหารจัดการ แทนที่ชนชั้นผู้นำจะใส่ใจผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งหน้าสู่เป้าหมายปลายทางแห่งความสำเร็จ มั่นคง ยั่งยืนยาวนาน กลับปล่อยปละละเลย เพิกเฉยเฉื่อยชา (ความคอรัปชั่นคือสิ่งที่ทำให้เรือลำนี้ค่อยๆรั่วไหล) เบิกบานปลายจนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมขึ้นมา เมื่อถึงเวลานั้นทุกสิ่งอย่างก็สายเกินแก้ไข ทำให้เกิดความ ‘ล่มจม’ กันถ้วนหน้า
บางคนมอง RMS Titanic คล้ายๆกับหอคอยบาเบล (Tower of Babel) สิ่งก่อสร้างตามปรัมปราในหนังสือปฐมกาล (11:1-9) โดยมีจุดหมายให้สูงถึงสรวงสวรรค์ ต้องการรวบรวมอารยธรรมมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน แต่ยิ่งสร้างกลับยิ่งเกิดความเย่อหยิ่งผยอง จองหอง หลงตัวเอง ครุ่นคิดว่าฉันเก่ง กลายเป็นความต้องการท้าทายพระเจ้า สุดท้ายพอถูก(พระเจ้าดลบันดาลให้)สายฟ้าผ่า หอคอยแห่งนี้เลยพังทลายลงมา … การอับปางลงของเรือ RMS Titanic ก็สะท้อนความเย่อหยิ่งผยอง จองหอง หลงตัวเองของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี!
ไม่ต้องถึงระดับพระเจ้ากับมนุษย์ ยุคสมัยนั้นที่ยังมีการแบ่งแยกสถานะสูง-กลาง-ล่าง ความรักต่างชนชั้นเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ วินาทีที่ Rose พูดคำมั่นสัญญาจะหนีตาม Jack พอดิบพอดี RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง! แต่เราสามารถตีความได้สองแง่สองง่าม
- (ฝั่งอนุรักษ์นิยม) การคบชู้นอกใจเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะจะทำลายทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา หรือคือสาเหตุให้เรือ RMS Titanic อับปางลง
- (ฝั่งเสรีชน) ความรักเป็นสิ่งไม่แบ่งแยกชนชั้นฐานะ โลกที่สร้างขึ้นจากพื้นฐานทางสังคมดังกล่าว/เรือ RMS Titanic (ที่แบ่งแยกผู้โดยสารชั้นหนึ่ง-สอง-สาม) สมควรถูกทำลาย อับปางลงได้แล้ว!
RMS Titatic ยังเป็นตัวแทนของชนชาวอังกฤษ ประเทศที่ยังคงยึดถือมั่นในขนบประเพณี วิถีทางสังคมที่สืบทอดต่อกันมาอย่างเคร่งครัด แต่กลับอับปางลงกลางมหาสมุทร Atlantic ไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทาง New York City, สหรัฐอเมริกาคือดินแดนแห่งเสรีภาพ
สำหรับผู้กำกับ Cameron การนำเสนอเรื่องราวความรักระหว่าง Jack & Rose ก็เพื่อเป็นตัวแทนความหลงใหลคลั่งไคล้ต่อการสำรวจซากเรือ RMS Titanic (เปรียบเทียบ Rose=Cameron, Jack=RMS Titanic ที่อับปางลง) อย่างที่อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่านั่นคือสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน สำคัญกว่าความสำเร็จ สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นเสียอีก!
ตั้งแต่ที่ทำบล็อคนี้มา บอกเลยว่าไม่เคยพบเจอผู้กำกับบ้าระห่ำอย่าง James Cameron ล่อหลอกสตูดิโอจ่ายเงินที่ควรไปนำสร้างหนัง มาเติมเต็มความเพ้อฝัน สำรวจโลกใต้น้ำ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” โดยตนเองไม่ต้องออกเงินสักแดงเดียว! และคงจะแต่มีบุคคลลักษณะนี้ ที่กล้าให้ตัวละครตะโกนโหวกเหวกบนดาดฟ้าหัวเรือ “I’m King of the World”.
เมื่อตอนที่ 20th Century Fox ตระหนักถึงความล่าช้าของโปรเจค (จากแผนงาน 138 วัน เพิ่มระยะเวลาโปรดักชั่นเป็น 160 วัน) และงบประมาณที่เบิกบานปลายไปไกล เคยครุ่นคิดจะขับไล่ผกก. Cameron แต่เพราะลงทุนไปเยอะแล้ว สายเกินกว่าจะทำอะไร จึงตัดสินใจเข้าหา Paramount Pictures เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ออกเงินคนละครึ่ง ในกรณีถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้ขาดทุนย่อยยับ ผลกระทบจะไม่สาหัสสากรรจ์แบบเมื่อครั้น Heaven’s Gate (1980)
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Tokyo International Film Festival ได้เสียงตอบรับอย่างจืดชืด (ใช้คำว่า tepid) จนกระทั่งเมื่อเข้าฉายช่วงสิ้นปีที่สหรัฐอเมริกา นักวิจารณ์ถึงเริ่มให้คำชื่นชม และมีการเปรียบเทียบ Leo & Kate กับ Clark Gable & Vivien Leigh จากภาพยนตร์ Gone With the Wind (1939)
It is flawlessly crafted, intelligently constructed, strongly acted, and spellbinding … Movies like this are not merely difficult to make at all, but almost impossible to make well.
นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4
Meticulous in detail, yet vast in scope and intent, Titanic is the kind of epic motion picture event that has become a rarity. You don’t just watch Titanic, you experience it.
นักวิจารณ์ James Berardinelli จาก Reelviews
Cameron’s magnificent Titanic is the first spectacle in decades that honestly invites comparison to Gone With the Wind.
นักวิจารณ์ Janet Maslin จาก The New York Times
ขณะที่คำวิจารณ์ในแง่ลบก็มีอยู่ไม่น้อยทีเดียว ส่วนใหญ่กล่าวถึงบทภาพยนตร์มีความเฉิ่มเชย น้ำเน่า บางสำนักถึงขนาดจัดให้ “the worst movie of all time”
The number of times in this unbelievably badly written script that the two [lead characters] refer to each other by name was an indication of just how dramatically the script lacked anything more interesting for the actors to say.
นักวิจารณ์ Barbara Shulgasser จาก The San Francisco Examiner ให้คะแนน 1/4
the most dreadful piece of work I’ve ever seen in my entire life.
ผู้กำกับ Robert Altman
I agree completely with what Jean-Luc said in this week’s Elle: it’s garbage. Cameron isn’t evil, he’s not an asshole like Spielberg. He wants to be the new De Mille. Unfortunately, he can’t direct his way out of a paper bag. On top of which the actress is awful, unwatchable, the most slovenly girl to appear on the screen in a long, long time. That’s why it’s been such a success with young girls, especially inhibited, slightly plump American girls who see the film over and over as if they were on a pilgrimage: they recognize themselves in her, and dream of falling into the arms of the gorgeous Leonardo.
ผู้กำกับ Jacques Rivette
จากทุนสร้างตั้งต้น $65 ล้านเหรียญ พุ่งทะยานถึง $200 ล้านเหรียญ ยังไม่รวมค่าประชาสัมพันธ์ ต้องทำเงินไม่น้อยกว่า $400-$500 ล้านเหรียญถึงคืนทุนทำกำไร แต่แค่สัปดาห์แรกในสหรัฐอเมริกาทำเงินได้เพียง $28.6 ล้านเหรียญ สร้างความหนาวๆร้อนๆต่ำกว่ายอดคาดหวังไว้ ถึงอย่างนั้นกลับสามารถยืนอันดับหนึ่งยาวนานถึง 15 สัปดาห์ (สิบสัปดาห์แรกล้วนทำเงินเกินกว่า $20 ล้านเหรียญ) รายรับ $600.7 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $1.843 พันล้านเหรียญ สร้างปรากฎการณ์ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาล! ก่อนถูกโค่นล้มโดย Avatar (2009) ซึ่งก็เป็นผลงานของผกก. Cameron ในอีกทศวรรษถัดมา
ภาพซ้าย George Lucas ทำโปสเตอร์แสดงความยินดีกับ James Cameron ภายหลังจาก Titanic (1997) ทำเงินแซงหน้า Star Wars (1977), ส่วนภาพขวาคือตอน Avengers: Endgame (2019) โค่นสถิติของ Titanic (1997)


ความสำเร็จของหนังไม่ใช่แค่ขณะฉายโรงภาพยนตร์ แต่ยังรวมถึง Home Video เห็นว่ามีการลงทุนทำการตลาดสูงถึง $50 ล้านเหรียญ สามารถทำยอดขาย VHS (Video Home System) สามเดือนแรกในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 25 ล้านก็อปปี้ คิดเป็นมูลค่า $500 ล้านเหรียญ, รวมทั่วโลก 58-59 ล้านก็อปปี้ $995 ล้านเหรียญ! (นี่ยังไม่รวม DVD, Blu-Ray, 3D, Boxset ครบรอบ 20 ปี, 25 ปี, บูรณะ 4K ฯลฯ)
ช่วงปลายปีก็กวาดรางวัลเป็นว่าเล่น สามารถเข้าชิง Oscar จำนวน 14 สาขา [ถูกมองข้ามนักแสดงนำชาย (Leonardo DiCaprio) และบทภาพยนตร์] ได้รับการคาดหมายไว้ 7-8 รางวัล แต่สามารถคว้ามาถึง 11 รางวัล สูงสุดเทียบเท่า Ben-Hur (1959) และ The Lord of the Rings: The Return of the King (2003)
- Best Picture
- Best Director
- Best Actress (Kate Winslet) พ่ายให้กับ Helen Hunt จาก As Good as It Gets (1997)
- Best Supporting Actress (Gloria Stuart) พ่ายให้กับ Kim Basinger จาก L.A. Confidential (1997)
- Best Art Direction
- Best Cinematography
- Best Costume Design
- Best Film Editing
- Best Makeup พ่ายให้กับ Men in Black (1997)
- Best Original Dramatic Score
- Best Original Song บทเพลง My Heart Will Go On
- Best Sound
- Best Sound Effects Editing
- Best Visual Effects
นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึงนี้ ปัจจัยหลักๆเกิดขึ้นจากกระแสปากต่อปากของวัยรุ่นสาว (45% ของผู้ชมหนังคือหญิงสาวอายุต่ำกว่า 25 ปี) ที่มีอาการคลั่งรัก “Leo-Mania” หวนกลับมาดูซ้ำนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะรอบดึกเต็มทุกที่นั่งถึงแถวหน้าสุด
It’s a great movie for 15-year-old girls.
นักวิจารณ์ Scott Meslow จาก The Atlantic
ขณะเดียวกันหนังยังสร้างความประทับใจให้ชายวัยกลางคน (Middle-Aged men) เพราะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่ทำให้หลายคนน้ำตาไหลพรากๆออกมา จึงมักแนะนำบอกต่อเพื่อนมิตรสหาย ญาติพี่น้อง ผู้แก่แม่เฒ่า แห่กันออกมาดูกันทั้งครอบครัว
Middle-aged men are not ‘supposed’ to cry during movies. The ending of Titanic as having generated such tears. If they have felt weepy during [this film], have often tried to be surreptitious about it.
นักวิเคราะห์ Finlo Rohrer จาก BBC
แซว: เพราะความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Titanic (1997) ทำให้ James Cameron ได้ส่วนแบ่งกำไรมากพอที่จะออกสำรวจ ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับถ่ายทำโลกใต้น้ำ สรรค์สร้างสารคดีฉาย IMAX อาทิ Ghosts of the Abyss (2003), Aliens of the Deep (2005) ฯลฯ
ส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ชื่นชอบ Titanic (1997) สักเท่าไหร่! เบื่อหน่ายในความพยายาม ‘romanticize’ ปรุงปั้นแต่งทุกอย่างออกมาให้สวยเลิศเลอ หญิงสาวเพ้อฝันถึงเจ้าชายขี่ม้าขาว เรื่องราวน้ำเน่าจนจับต้องไม่ได้ เต็มไปด้วยการชักจูงทางอารมณ์ ‘manipulate’ และเทิดทูนอุดมคติความรักมากเกินไป
ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องชื่นชมในวิสัยทัศน์ ความทะเยอทะยาน และเป็นส่วนตัวของผู้กำกับ James Cameron ไม่ใช่แค่หนังรักๆใคร่ๆ โรแมนติกน้ำเน่า ขาย Visual Effect ตื่นตระการตา แต่ยังแฝงนัยยะที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม เห็นเพียงความอิจฉาริษยา ประสบความสำเร็จเกินหน้าเกินตา ไม่อยากยินยอมรับว่านี่คือ “King of the world!”
Titanic (1997) ในสายตาของผมอาจไม่ใช่ภาพยนตร์สมควรค่าแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่ยังอยากแนะนำสำหรับผู้ชมทั่วๆไป หรือใครที่มีอคติต่อหนัง อยากให้ลองเปิดใจกว้างสักหน่อย หามารับชมสักครั้งหนึ่ง (ถ้าในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ IMAX จะคุ้มค่ามากๆ) อาจพบเห็นความงดงามแฝงนัยยะ เพลิดเพลินกับหายนะระดับ ‘ไททานิค’ แปลว่า ใหญ่โต มหึมา ขนาดยักษา
จัดเรต 13+ กับโศกนาฎกรรม ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
Leave a Reply