Top 10 Andrei Tarkovsky Favorite Films
รวบรวม 10 ภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้กำกับชื่อดัง Andrei Tarkovsky ที่เป็นแรงบันดาลใจ รสนิยมและมีอิทธิพลแทรกอยู่ในผลงานหนังเรื่องต่างๆของเขา ลองตรวจสอบกันดูเลยว่า คุณรู้จักหนังโปรดของเขากี่เรื่อง?
Andrei Arsenyevich Tarkovsky เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1932 ที่หมู่บ้านเล็กๆในเมือง Zavrazhye ในเขต Yuryevetsky District, Soviet Union เป็นบุตรชายของกวีคนสำคัญของรัสเซีย Arseni Tarkovsky (1907-1989) และ Maya Ivanovna Vishnyakova ครอบครัวมีน้องสาว Mariana อีกคน ก่อนพ่อและแม่หย่าขาดกัน
ในช่วงสงครามโลกที่ 2 ครอบครัว Tarkovsky ย้ายไปอยู่ทางชนบทของเมือง Yuryevets กับตายาย เป็นบ้านไม้หลังเก่าๆ ในเขตชนบท หรือเรียกว่า Dacha (ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังของเขาแทบทุกเรื่อง) ส่วนพ่อไปรบอยู่แนวหน้า กลับมาหลังสงครามในสภาพเสียขาไปข้างหนึ่ง และไม่เคยมาหาครอบครัวอีกเลย แต่ยังส่งเงินมาให้อยู่ตลอด นั่นทำให้ Tarkovsky ทั้งเทิดทูนและเกลียดพ่อในเวลาเดียวกัน, ซึ่งต้องถือว่า พ่อเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในการทำงานของเขา มีบทกวีหลายชิ้นที่ปรากฎในหนัง อาทิ The Mirror (1975), Stalker (1979) และ Nostalgia (1983) ขณะที่แม่ตัวจริงปรากฏตัวใน The Mirror (1975)
ในปี 1954 Tarkovsky สมัครเรียนที่ State Institute of Cinematography (VGIK) สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ ในห้องเรียนเดียวกับ Irma Raush ที่ได้แต่งงานกันเมษายน ปี 1957, เนื่องจากช่วงเวลานั้น วงการภาพยนตร์ Russia อยู่ในช่วงขาลง ไม่มีผู้กำกับรุ่นใหม่เกิดขึ้นเลย ขณะที่ผู้กำกับรุ่นเก่าก็เริ่มโรยรา ทำให้นักเรียนสายภาพยนตร์จำต้องศึกษาภาพยนตร์ยุคใหม่จากยุโรป/อเมริกา อาทิ Italian Neorealists, French New Wave ฯ หรือหนังจากผู้กำกับดัง อาทิ Akira Kurosawa, Luis Buñuel, Ingmar Bergman, Robert Bresson, Andrzej Wajda และ Kenji Mizoguchi ฯ เหล่านี้ได้กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ให้กับบรรดาผู้กำกับรุ่นใหม่ของ Russia สร้างสรรค์ผลงานที่ถือว่า สร้างยุคสมัยใหม่ให้กับวงการ ในสไตล์ความชื่นชอบของตนเอง
ตลอดทั้งชีวิตของ Tarkovsky กำกับหนังเพียง 7 เรื่องเท่านั้น และ 2 เรื่องสุดท้ายสร้างที่ Italy และ Sweden ประกอบด้วย Ivan’s Childhood (1962), Andrei Rublev (1966), Solaris (1972), The Mirror (1975), Stalker (1979), Nostalghia (1983) และ The Sacrifice (1986)
สไตล์ของ Tarkovsky ที่เรียกว่า Tarkovskian มักจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ (ที่เขาเรียกว่า metaphor) ในเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual) และอภิปรัชญา (Metaphysics) นำเสนอด้วยการถ่ายภาพ Extremely Long Take มักเป็นภาพธรรมชาติที่ค่อยๆเคลื่อนไหว น้ำ ไฟ ลม แสงสะท้อน, ภาพความฝัน จินตนาการ ความทรงจำ ฯ
‘จุดร่วมระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินั้นไร้ขอบเขต นำมาเรียงต่อกัน เดินผ่านไปมา ใกล้ไกล เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนๆหนึ่งกับโลกทั้งใบ นี่คือความหมายของภาพยนตร์’
Juxtaposing a person with an environment that is boundless, collating him with a countless number of people passing by close to him and far away, relating a person to the whole world, that is the meaning of cinema.
เป็นผู้สร้างทฤษฎี Sculpting in Time เวลาคือศูนย์กลางของจักรวาล อดีต ปัจจุบัน อนาคต สามารถเชื่อมโยง ดำเนินต่อกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงต่อเนื่องกันแบบเวลาบนโลก เขาประยุกต์ทฤษฎีนี้มาใช้กับหนังเรื่อง The Mirror (1975)
Ingmar Bergman พูดยกย่อง Tarkovsky ว่า ‘สำหรับผมแล้ว เขาคือผู้กำกับที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด ผู้ซึ่งประดิษฐ์ทางภาษาทางภาพยนตร์ขึ้นใหม่ อธิบายความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของภาพยนตร์ จับภาพชีวิตสะท้อนราวกับความฝัน’
Tarkovsky for me is the greatest (director), the one who invented a new language, true to the nature of film, as it captures life as a reflection, life as a dream.
Ingmar Bergman
มารู้จักกับ 10 หนังโปรดของ Andrei Tarkovsky กันเลยดีกว่า (เรียงลำดับตามความชื่นชอบ) เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายนปี 1972 (ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Sight & Sound)
![]() |
1. Diary of a Country Priest (1951)
|
![]() |
2. Winter Light (1963)
|
![]() |
3. Nazarin (1959)
|
![]() |
4. Wild Strawberries (1957)
|
![]() |
5. City Lights (1931)
|
![]() |
6. Ugetsu (1953)
|
![]() |
7. Seven Samurai (1954)
|
![]() |
8. Persona (1966)
|
![]() |
9. Mouchette (1967)
|
![]() |
10. Woman in the Dunes (1964)
|
ทั้ง 10 เรื่อง ประกอบด้วย
– หนังญี่ปุ่น 3 เรื่อง
– หนังสวีเดน 3 เรื่อง
– หนังฝรั่งเศส 2 เรื่อง
– หนัง Hollywood และเม็กซิโก 1 เรื่อง
– เป็นหนังยุค 30s 1 เรื่อง
– เป็นหนังยุค 50s 5 เรื่อง
– เป็นหนังยุค 60s 4 เรื่อง
– หนังของผู้กำกับ Ingmar Bergman 3 เรื่อง
– และผู้กำกับ Robert Bresson 2 เรื่อง
ลิสนี้ของ Tarkovsky น่าสนใจทีเดียว ไม่มีหนัง Russia สักเรื่อง (คงเพราะ Tarkovsky ได้อิทธิพลการสร้างหนังมาจากยุโรป/อเมริกาเสียเยอะ), มีหนังก่อนยุค 50s เพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือ City Light (1931) นี่เพราะ Tarkovsky มองว่า ก่อนหน้านี้ยุค Classic Era ภาพยนตร์ยังเป็นแค่การทดลอง ลองผิดลองถูก ไม่มีความเป็นศิลปะเสียเท่าไหร่ (เขาเรียกว่า prelude) ซึ่งพอยุค 50s ภาพยนตร์ได้พัฒนามาถึงจุดที่กลายเป็นสื่อแห่งศิลปะโดยแท้
มองจากหนังโปรดในลิสนี้ สามารถเข้าใจรสนิยม ความชื่นชอบของ Tarkovsky ได้เลย เพราะมีหลายเรื่องที่ใจความคล้ายๆกัน อาทิ Diary of a Country Priest (1951), Winter Light (1963), Nazarin (1959) ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา พระเจ้า, Wild Strawberries (1957) กับ City Light (1931) คือความสวยงามของชีวิต, Ugetsu (1953) กับ Seven Samurai (1954) คืออุดมการณ์ของชีวิต และ Persona (1966) กับ Woman in the Dunes (1964) คือ ปรัชญาชีวิต
ขอปิดท้ายด้วยบทกวีที่แต่งโดย Arseni Tarkovsky ปรากฎใน The Mirror (1975)
On earth there is no death.
All are immortal. All is immortal. No need
To be afraid of death at seventeen
Nor yet at seventy. Reality and light
Exist, but neither death nor darkness.
All of us are on the sea-shore now,
And I am one of those who haul the nets
When the shoal of immortality comes in.
reference: http://www.liveindy.com/inspired/tarkovsky01.htm
reference: http://people.ucalgary.ca/~tstronds/nostalghia.com/TheTopics/Tarkovsky-TopTen.html
หมายเหตุ
♥ ที่อยู่หลังชื่อเรื่อง คือคะแนนความชอบของผมนะครับ เต็ม 5 ดาว (เรื่องโปรด)
♡ คือ 1/2 คะแนน
[…] Top 10 Andrei Tarkovsky Favorite Films […]