Tsotsi

Tsotsi (2005) South African : Gavin Hood ♥♥♥♥

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมทราม สลัมในประเทศ South Africa ชายหนุ่มร่วมกับผองเพื่อนก่ออาชญากรรม ปล้น-ฆ่า จนกระทั่งวันหนึ่งบังเอิญลักพาตัวทารกน้อยไร้เดียงสา โดยไม่รู้ตัวกำลังทำให้ชีวิตของเขาปรับเปลี่ยนแปลงไปชั่วนิรันดร์, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ไม่รู้มีใครเป็นแบบผมหรือเปล่า เห็นชื่อหนัง Tsotsi ชวนให้เข้าใจผิดว่าคือ Tootsie (ตุ๊ดซี่) แต่แท้จริงแล้วมาจากคำว่า Tsotsitaal ศัพท์แสลงของชาว Sesotho, Pedi, Tswana (South Africa) แปลว่า Thug, Robber, Criminal, ซึ่งสามารถสื่อถึงตัวละคร นักเลงหัวไม้ อาชญากร ปล้น-ฆ่า

ผมรับรู้จัก “เสี้ยวบุญของคนบาป” ตั้งแต่เข้าฉายประเทศไทยในเทศกาล 2006 Bangkok International Film Festival ปีนั้นจัดงานที่ Siam Paragon คุ้นๆว่าฮือฮากันมากเพราะหนังเพิ่งได้เข้าชิง Oscar (ยังไม่ได้ประกาศรางวัล) และยังสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชาย (Presley Chweneyagae)

ตอนนั้นผมไม่ได้รับชมในโรงภาพยนตร์ (คุ้นๆว่าไม่มีรอบฉายปกติด้วยนะ) แต่หลังจากคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film ก็ขวนขวายหาเช่า CD พอดูได้ประมาณสิบกว่านาทีก็เริ่มทนไม่ไหว ไอ้เวรตะไลทำไมมันเลวทรามต่ำช้าสามานย์เพียงนี้

หวนกลับมารับชมครานี้ผมก็ยังคงรู้สึกแบบเดิม แต่พยายามอดรนทนเพราะเชื่อว่าหนังต้องมีดี ไม่งั้นจะคว้ารางวัล Oscar ได้อย่างไร! พานไปเกินครึ่งชั่วโมงถึงค่อยๆค้นพบความงดงาม ประกายความหวังซุกซ่อนเร้นไว้ ทุกสิ่งอย่างล้วนมีเหตุผล ที่มาที่ไป ไม่ใช่ทุกคนอยากเป็นชั่วช้าสามานย์ ขอเพียงแค่เราไม่ปิดกั้น เปิดรับฟัง ทำความเข้าใจอีกฝั่งฝ่าย … เอาจริงๆหนังควรค่าแก่ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่คงไม่ใช่ทุกคนจะสามารถพานผ่านสิบกว่านาทีแรกไปได้


Gavin Hood (เกิดปี 1963) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ South African เกิดที่ Johannesburg, บิดามาจากอังกฤษ อาศัยอยู่ย่านคนขาว Hillbrow มีแม่บ้านชาว Zulu สนิทสนมกับบุตรชายรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่พอพวกเขาเติบโตขึ้นกลับค่อยๆเหินห่าง เพราะความแตกต่างสีผิว ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าโรงเรียนเดียวกัน

เมื่อตอนสิบขวบ Hood มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ e’Lollipop (1975) ชื่อภาษาอังกฤษ Forever Young, Forever Free (1975) เรื่องราวของสองเด็กชาย คนหนึ่งผิวขาว อีกคนผิวสี แม้มีความสนิทสนม แต่เกิดเหตุบางอย่างให้พวกเขาต้องพลัดพรากแยกจาก จึงพยายามออกติดตามหากันและกัน

I always thought films were made by people overseas and that’s how we learned about them. It never occurred to me that the films could be about us, South Africans, and I never thought we could learn about ourselves.

Gavin Hood

เมื่อโตขึ้นเข้าเรียนกฎหมาย University of the Witwatersrand ทำงานเป็นทนายความ จนกระทั่งอายุ 29 ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ออกเดินทางตามความฝันสู่สหรัฐอเมริกา ศึกษาต่อสาขาภาพยนตร์ University of California กลับมาบ้านเกิดได้ทำงานกระทรวงสาธารณสุข สรรค์สร้างภาพยนตร์การศึกษา ‘educational dramas’ เกี่ยวกับผู้ป่วยโรค AIDS พบปะผู้คนในเขตสลัม ทำให้พบเห็นวิถีชีวิตแท้จริงของชาวแอฟริกันผิวสีในประเทศ South Africa

That’s how I got to know very well kids like the ones in Tsotsi. That was my real introduction into what life was like that I had been fortunate enough not to experience.

ผกก. Hood เคยอ่านนวนิยาย Tsotsi (1980) แต่งโดย Athol Fugard ตั้งแต่เมื่อครั้นวางแผงจัดจำหน่าย แม้มีความชื่นชอบหลงใหล แต่ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษากฎหมาย เลยไม่เคยวาดฝันอยากดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ จนกระทั่งหลังเสร็จสร้าง A Reasonable Man (1999) และ In Desert and Wilderness (2001) ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Peter Fudakowski มองเห็นเป็นโอกาสครั้งสำคัญของชีวิต

เกร็ด: Athol Fugard (เกิดปี 1932) นักเขียนสัญชาติ South African ได้รับฉายา “South Africa’s Greatest Playwright” มีผลงานละคอนเวทีมากมาย แต่ตลอดทั้งชีวิตเขียนนวนิยายแค่เล่มเดียวเท่านั้น Tsotsi (1980)

I think it’s a book that deals with timeless and universal themes about redemption, self-discovery, coming of age and forgiveness and self-forgiveness. It’s essentially a universal and timeless story of a young man’s journey from a position of being very angry with the world to a place where the character achieves clarity and self-awareness.

ในส่วนของบทหนัง ผกก. Hood ใช้เวลาอยู่หลายเดือนในการปรับปรุง แก้ไขรายละเอียดให้เป็นปัจจุบัน (ต้นฉบับนวนิยายมีพื้นหลังทศวรรษ 70s) เห็นว่าพัฒนาบทร่างจำนวนถึง 41 ฉบับ กว่าจะได้รับความพึงพอใจ จากนั้นส่งไปแปลภาษา (ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาอังกฤษ) ในเครดิตมีทั้ง Setswana, Zulu, Sesotho, Afrikaans ถ้าไม่ใช่คน South African แท้ๆคงแยกแยะไม่ออก


ณ สลัมในเมือง Alexandra, Johannesburg นำเสนอเรื่องราวของ Tsotsi ร่วมกับผองเพื่อน Butcher, Asp และ Boston ออกหาเหยื่อบริเวณสถานีรถไฟเพื่อทำการโจรกรรม แต่วันนั้น Butcher พลั้งพลาดเข่นฆาตกรรมเป้าหมาย สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Boston ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ชกต่อยกับ Tsotsi จนเลือดตกยางออก

ค่ำคืนนั้น Tsotsi เดินทางไปย่านชานเมือง ดักรอปล้นรถหรูของหญิงผิวสีมีฐานะคนหนึ่ง โดยไม่รู้ตัวทารกน้อยวัยสามเดือนนั่งอยู่เบาะหลัง แทนที่จะนำไปคืนกลับตัดสินใจเก็บนำมาเลี้ยง โดยไม่รับรู้ตัวว่ากำลังต้องประสบความยุ่งยากลำบาก ขณะเดียวกันตำรวจก็ออกหมายจับ ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์ … การกระทำเช่นนี้มันคุ้มค่าแล้วหรือ?


Presley Chweneyagae (เกิดปี 1984) นักแสดงสัญชาติ South African เกิดที่ Mafikeng มีเชื้อสาย Tswana มารดาตั้งชื่อตามศิลปินคนโปรด Elvis Presley ทั้งยังส่งบุตรชายเข้าร่วมคณะการแสดงละคอนท้องถิ่น พอมีโอกาสมาออดิชั่นบทบาท Tsotsi เลยเป็นที่ถูกใจผกก. Gavin Hood อย่างมากๆ

I hasten to say, I wasn’t trying to deliberately find actors without experience, because you are trying to find the best actors for every role, but in the case of Presley, he’d never done a film. He’s 19 years old, so a lot of young actors haven’t. But he has been doing a lot of theater. He comes from a township, a tough neighborhood, and his mom sent him down to the community theater center and put him in some plays

Gavin Hood

รับบท David เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก ระหว่างมารดาล้มป่วยหนัก ถูกบิดาใช้ความรุนแรง กระทำร้ายไม่ต่างจากเจ้าสุนัขขาพิการ ตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้าน อาศัยหลบนอนอยู่ตามท่อคอนกรีตที่ถูกทิ้งร้าง ปรับเปลี่ยนชื่อ Tsotsi กลายเป็นหัวหน้ากลุ่มโจรกระจอก ออกโจรกรรมโดยมักมองหาเหยื่อตามสถานีรถไฟ

แม้ไม่ใช่ด้วยความตั้งใจจะลักพาตัวทารกน้อย แต่ทว่า Tsotsi กลับมองเห็นตัวตนเองที่เคยถูกทอดทิ้งขว้าง จึงตั้งใจจะรับเลี้ยงดูแล แต่ไม่เคยครุ่นคิดว่าต้องประสบปัญหาวุ่นๆวายๆ ทั้งเรื่องน้ำนม ผ้าอ้อม กล่อมเข้านอน อีกทั้งยังต้องคอยดูแลเอาใจอยู่ตลอดเวลา โชคดีได้รับความช่วยเหลือจากแม่หม้าย Miriam ถึงอย่างนั้นเธอก็รับรู้ว่าเขาขโมยเด็กคนนี้มา

ช่วงระหว่างที่ Tsotsi ต้องเลี้ยงดูแลทารกน้อย ทำให้เขาแทบไม่เหลือเวลาให้กับพรรคพวกพ้อง ก่อนค้นพบว่าทุกสิ่งอย่างจำเป็นต้องใช้เงิน จึงครุ่นคิดแผนการโจรกรรมครั้งสุดท้าย โดยมีเป้าหมายคือบ้านครอบครัวของทารกน้อย แต่แล้วกลับเกิดเหตุวุ่นๆวายๆ นำสู่ความตายของ Butcher และ Asp เลือกที่จะตีตนออกห่าง ท้ายที่สุด Tsotsi จึงตัดสินใจนำทารกน้อยหวนกลับคืนอ้อมอกบิดา-มารดา

ไม่ใช่แค่ Chweneyagae แต่ยัง Zenzo Ngqobe (รับบท Butcher) และ Terry Pheto (รับบท Miriam) ต่างเป็นเพื่อนร่วมคณะละคอนเวทีเดียวกัน จึงมีความเข้าขา เคมีที่ลงตัว ฝึกฝนเพียงเล็กน้อยย่อมสามารถปรับตัวเข้ากับสื่อภาพยนตร์

ด้วยภาพลักษณ์ที่ยังเหมือนวัยรุ่น (เพิ่งอายุ 19 เองนะ) สายตาเต็มไปด้วยความครุ่นสงสัย นั่นแสดงให้เห็นว่าตัวละครของ Chweneyagae ไม่ได้คิดอยากเป็นนักเลง อาชญากร กระทำสิ่งชั่วช้าสามานย์ แต่เพราะอิทธิพลรอบข้าง ครอบครัว สังคม สภาพแวดล้อมสลัม หล่อหลอมให้เขาดำเนินชีวิตในทิศทางที่ไม่ได้เลือกเดิน เพียงต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดไปวันๆ

ตอนรับชมผมไม่ชอบซีเควนซ์ที่ Tsotsi กลั่นแกล้งชายขาพิการ แต่หลังจากมีการหวนระลึกอดีต ภาพสุนัขที่ถูกบิดากระทำร้ายจนเดินลากขากระโผกกระเผก นั่นอธิบายเหตุผลทุกสิ่งอย่าง เขาไม่ได้อยากกลั่นแกล้ง กระทำร้าย แต่คือความฉงนสงสัย ลำบากขนาดนี้ยังต่อสู้ดิ้นรน อยากมีชีวิตอยู่ไปทำไม? คำตอบได้รับคือบทเรียนที่จักทำให้ครุ่นคิดทบทวน และสามารถค้นพบตัวตนเอง

หลังความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ Chweneyagae ก็มีงานการแสดงไหลมาเทมา ทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์ แต่เขาให้เวลากับฟากฝั่งละคอนเวทีมากกว่า ส่วนผลงานโด่งดังล่าสุดคือรับบทนำซีรีย์โทรทัศน์ The River (2018-24) จำนวนกว่า 1,560 ตอน


ถ่ายภาพโดย Lance Gewer ตากล้องสัญชาติ South African จากเด็กตอกสเลท มาเป็นผู้ช่วยตากล้อง ถ่ายทำหนังสั้น สารคดี เริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ Beat the Drum (2003), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Tsotsi (2005) ฯ

He has a very classical eye, as well as a certain restraint that really allows the performances in the pieces he photographs to shine, and that’s very much what I needed for Tsotsi. I wanted to achieve a beautiful film that you only think about as beautiful after you’ve come out of the story.

Gavin Hood กล่าวชื่นชม Lance Gewer

ผกก. Hood เล่าว่ามีการพูดคุยแนวทางของหนัง มักถูกมองว่ามีความละม้ายคล้ายภาพยนตร์ City of God (2002) แต่เอาจริงๆมีแค่จุดตั้งต้น เรื่องราวในสลัม เกี่ยวกับอาชญากร เนื้อหาสาระแท้จริงเกี่ยวกับการค้นหาตัวตนเอง มันจึงไม่เหมาะเท่าไหร่จะใช้กล้อง Hand Held หรือถ่ายทำในสไตล์สารคดี (documentary-style)

แนวทางของผกก. Hood ถือว่ามีความกล้าบ้าบิ่นไม่น้อย พยายามทำให้งานภาพออกมาในลักษณะปรัมปรา เทพนิยาย (Mythical Tale) จัดแสงสว่าง-เงามืด สร้างสัมผัสลึกลับ เหนือธรรมชาติ และเลือกใช้เลนส์ Anamorphic Widescreen (2.35:1) สร้างสัมผัสมนุษย์ตัวเล็กๆ เมื่อเทียบกับโลกกว้างใหญ่

Why can’t we say that this is a classical mythological tale about a young person encountering mentor figures in a classic mythological sense, where instead of meeting Yoda he meets a three-month-old baby, a woman, a man in a wheelchair and a father figure, and through this series of encounters he achieves a moment of self awareness and clarity if only for a brief moment. So if this is a mythic tale, what style might be appropriate?

It seems to me that the city broods over the entire film and is almost like a character that is indifferent to Tsotsi and that he is one story out of millions. So to use the widescreen to give that sense of his smallness against the vastness of this backdrop was appealing.

ด้วยความที่หนังมีบทพูดไม่มาก มุ่งเน้นการแสดงออกทางสีหน้า บ่อยครั้งมุมกล้องจึงถ่ายหน้าตรง โคลสอัพใบหน้านักแสดง แต่ไม่ใช่ให้สบตาหน้ากล้อง ผู้ชมพบเห็นทิศทางสายตา การขยับเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในออกมา

Because there’s minimal dialogue, you need to feel these struggles going on behind his eyes, which means you want to allow the audience to look into his eyes as much as possible. That seemed best achieved by keeping eyelines very tight to lens, which means that his eyeline is only a flick away from looking directly into the lens which would be looking directly into the audience, which means the audience is looking directly or almost directly right into his eyes which is where so much is happening.

หลายคนอาจครุ่นคิดว่าการถ่ายทำในสลัม Alexandria, Johannesburg คงมีความยุ่งยาก ท้าทาย เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ใช่สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ ผกก. Hood เคยเข้ามาถ่ายทำสารคดีการศึกษา จับรับรู้คนในท้องถิ่น มีการวางแผน พูดคุยต่อรอง ตัวประกอบก็ชาวบ้านละแวกนั้น ทุกคนให้ความร่วมมือกันดี เป็นประสบการณ์การทำงานอันยอดเยี่ยม

It was surprisingly easy. Obviously we didn’t rush in with a massive film crew. We prepared and planned and negotiated, and involved the local community. All the people you see in the shots of the shanty town are people who lived there. People on the street were employed as extras in the film, the people dancing in the illegal drinking house are folks from there, just having their Friday night party. It was actually a very humbling experience seeing how joyful people, who have very little, can be.


“ชีวิตคือการเดิมพัน” หนังเริ่มต้นฉากแรกด้วยการพบเห็นพวกพ้อง Tsotsi ประกอบด้วย Boston, Butcher และ Asp กำลังทอยลูกเต๋า ละเล่นพนันขันต่อ 5+4=11 แสดงถึงความไม่รู้หนังสือ ขาดการศึกษา เป็นเหตุให้ต้องเลือกดำเนินชีวิตด้วยความเสี่ยงเป็น เสี่ยงตาย อะไรก็สามารถบังเกิดขึ้นได้

สังเกตว่า Tsotsi ไม่ได้เข้าร่วมละเล่นการพนัน แต่ยืนอยู่ตรงหน้าต่าง เหม่อมองออกไปภายนอก ดูจากแสงสีน่าจะพระอาทิตย์กำลังเคลื่อนคล้อยตกดิน นี่สามารถสื่อถึงความสนใจของเขา ไม่ได้อยากก่ออาชญากรรม กระทำสิ่งชั่วร้าย แต่เพราะมันมิอาจหลีกเลี่ยง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง เลยได้เพียงเหม่อลอย เพ้อฝัน สักวันอยากออกไปจากสถานที่แห่งนี้

สิ่งหนึ่งที่ผมต้องเอ่ยปากชื่นชม Tsotsi (2005) ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ใช้ประโยชน์จาก Anamorphic Widescreen (2.35:1) ได้คุ้มค่ามากๆเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะการถ่ายทิวทัศน์มุมกว้าง (Landscape Shot) ทุกครั้งจะมีการเคลื่อนเลื่อนกล้อง Tilt Up ไม่ก็ใช้เครน (Crane Shot) จากภาคพื้นขึ้นสู่เบื้องบน สร้างสัมผัสจากบุคคลตัวเล็กๆ สู่โลกว้างใหญ่ โดยเฉพาะสลัม South African มันช่างสุดลูกหูลูกตา

นอกจากนี้ท้องฟ้ายังมีสีสันที่ดูแปลกตาไปมาก ผมไม่แน่ใจว่าเกิดจากการใช้ฟิลเตอร์ หรือ Computer Graphic ปรับแต่งโทนสีสัน แต่เอาจริงๆตากล้องเก่งๆก็สามารถถ่ายภาพท้องฟ้าสีแปลกๆเหล่านี้ (มันขึ้นกับช่วงเวลาและสถานที่) สร้างบรรยากาศที่ดูลึกลับ ชวนพิศวง ราวกับต้องมนต์

ระหว่างรับชมผมก็แอบฉงนสงสัย ทำไมถึงมีป้ายประกาศโรค AIDS พบเห็นอยู่หลายครั้ง? หรือมันกำลังแพร่ระบาดหนักขณะนั้น? จนกระทั่งระหว่างหาข้อมูลหนังก็พบว่าผกก. Hood เคยสรรค์สร้างสารคดีการศึกษาเกี่ยวกับการรณรงค์ ป้องกันเชื้อไวรัส HIV ซึ่งทำให้เขามีโอกาสคลุกคลีกับชาวสลัม South African ถือเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจดัดแปลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้!

ภายหลังการปล้น-ฆ่า นี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่เป้าหมายถูกฆาตกรรม ขณะที่ Butcher ดูไม่ยี่หร่าอะไร, Asp ไม่ได้สนใจใยดีสักเท่าไหร่, Boston มิอาจสงบจิตสงบใจ ใช้มีดกรีดแขน แล้วพูดบอกว่าจิตใจรู้สึกเหมือนโดนกรีดแทง เจ็บปวดรวดร้าวไม่แตกต่างกัน

สำหรับ Tsotsi มองผิวเผินไม่ได้สำแดงปฏิกิริยาใดๆ แต่พอถูกคำยั่วยุของ Boston เกี่ยวกับชื่อจริง มารดาและสุนัข นั่นทำให้เขาของขึ้น ไม่พึงพอใจ ลุกมาชกต่อยตาบวม จากนั้นวิ่งหลบหนีหายตัวไป … คนที่รับชมหนังจนจบแล้วก็อาจเกิดความตระหนักว่า คำพูดของ Boston ถือว่าจี้แทงใจดำ อารัมบทอดีตของ Tsotsi ที่พยายามปกปิด ซุกซ่อน ไม่ต้องการรื้อฟื้นความทรงจำเลวร้ายนั้น

ระหว่างรับชมผมไม่ทันสังเกตตอนที่ Tsotsi หลังชกต่อยกับ Boston แล้วออกวิ่งหนีหายตัวไป จะมีการตัดสลับภาพระหว่างเด็กชาย David & ชายหนุ่ม Tsotsi เพื่อเป็นการย้อนรอยอดีต-ปัจจุบัน เมื่อครั้นทำอะไรผิดพลาด เลยตัดสินใจออกวิ่งหลบหนี ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง

แซว: ผมไม่คิดว่าหนังจะสามารถบันทึกภาพฟ้าผ่า มันเลยน่าจะเป็น CG (Computer Graphic) แล้วใส่เอ็ฟเฟ็กฝนตก ซึ่งสามารถสะท้อนอาการร่ำไห้ภายในจิตใจตัวละคร เศร้าโศกเสียใจกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้น

ภาพที่ผมแคปเจอร์มาอาจไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ภายในห้องพักของ Tsotsi เมื่อมีทารกน้อยอาศัยอยู่ จะพบเห็นลำแสงสว่างสาดส่องเข้ามาจากภายนอก สร้างสัมผัสลึกลับ สิ่งมหัศจรรย์ ราวกับต้องมนต์ขลัง ทำให้เขารู้สึกเอ็นดู ทะนุถนอม มดไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม บังเกิดความรู้สึกบางอย่าง จิตสามัญสำนึกขึ้นภายใน

Tsotsi ติดตามชายขาพิการมาจนถึงบริเวณใต้สะพาน โดยปกติแล้วบริเวณนี้น่าจะเต็มไปด้วยผู้คน แต่ช็อตมุมกว้างถ่ายให้เห็นความเวิ้งว่างเปล่า มนุษย์ตัวเล็กๆเทียบกับสิ่งก่อสร้าง(สะพาน)ขนาดใหญ่ ชีวิตพวกเขาช่างดูไม่มีความสลักสำคัญประการใด

มองผิวเผินเหมือนว่า Tsotsi ทำการกลั่นแกล้งขอทานขาพิการ แต่แท้จริงแล้วสายตาของเขาเต็มไปด้วยความฉงนสงสัย เห็นชายคนนี้ไม่ต่างจากสุนัขที่เคยถูกบิดากระทำร้ายจนขาหัก สภาพทุกข์ทรมาน ปางตาย ถึงอย่างนั้นมันกลับยังกระเสือกกระสน ดิ้นรนอยากมีชีวิต ทำไมกัน?

โมบายในบ้านของ Miriam มีทั้งที่ขึ้นสนิมและเต็มไปด้วยสีสัน คำตอบของเธอคือทำขึ้นในช่วงเวลาเศร้าโศก-อารมณ์ดี สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่สามารถเติมเต็มกันและกัน หรือจะตีความว่าชีวิตย่อมมีขึ้นมีลง มีสุข-ทุกข์ มีความหลากหลาย เดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย … มนุษย์ทุกคนไม่ได้โฉดชั่วช้าสามาลย์ เลวทรามต่ำช้ามาตั้งแต่เกิด ทุกคนย่อมมีด้านดี-ร้ายของตนเอง

ระหว่างการปล้นบ้านของ Tsotsi, Butcher และ Asp หลายๆช็อตจะพบเห็นองค์ประกอบภาพมีลักษณะเหมือนซี่กรงขัง เงาจากมู่ลี่ โมบายประตู จะนับรวมขวดไวน์วางเรียงรายก็ได้เช่นกัน เพื่อสื่อถึงตัวละครเหล่านี้กำลังทำในสิ่งไม่สามารถดิ้นหลบหนี จมปลักอยู่ในวังวนอาชญากรรม

ในขณะที่ Butcher สนใจแต่ลักขโมยสิ่งของมีค่า (และต้องการจะฆ่าปิดปากเจ้าของบ้าน), Asp หมกมุ่นกับการดื่ม-กิน บริโภค(นิยม) ไส้กรอกอยู่ไหน ไวน์ไม่เห็นอร่อยตรงไหน

สำหรับ Tsotsi จุดประสงค์แท้จริงซุกซ่อนอยู่ในดวงตา เมื่อเข้ามาในห้องทารกน้อย เต็มไปด้วยความฉงนสงสัย ลุ่มหลงใหล บังเกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน (ช็อตโคลสอัพ ใบหน้าจะอาบฉาบด้วยแสงไฟดิสโก้เคลื่อนหมุนสลับไปมา เพื่อแทนความรู้สึกดังบางอย่างภายใน) มองผิวเผินดูเหมือนอิจฉาริษยา แต่ผมครุ่นคิดว่ามันคืออารมณ์โหยหา สูญเสียดาย ทำไมตนเองถึงไม่มีโอกาสเกิดในครอบครัวอบอุ่นแบบนี้บ้าง

มันมีเหตุผลมากมายร้อยแปดที่ Tsotsi ตัดสินใจฆาตกรรมเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด Butcher บ้างว่านี่คือวินาทีที่เขาสำแดงความมีมนุษยธรรม (แต่การฆ่าเพื่อนตัวเอง มันมีความเป็นมนุษย์ยังไงกัน?), ทำไปเพื่อปกป้องผู้บริสุทธิ์/ครอบครัวของทารกน้อย ฯลฯ

แต่สภาพการตายของ Butcher มีสองสิ่งที่น่าสนใจ หนึ่งคือท่านอนแบบเดียวกับพรมหนังเสือ (ตายอย่างไร้ลาย) และเงาเก้าอี้ที่มีลักษณะคล้ายๆซี่กรงขัง (ไม่สามารถดิ้นหลบหนีโชคชะตากรรม)

Tsotsi นำเงินที่ได้จากการขายรถหรูมามอบให้ Miriam แต่เธอกลับบอกปัดปฏิเสธ เพราะรับรู้ว่าเขาไปทำอะไรมาถึงได้เงินก้อนนี้ พยายามโน้มน้าวกล่อมเกลาให้เอาทารกน้อยไปคือ … สิ่งน่าสนใจคือตอนร่ำลา ขากลับ ใบหน้าครึ่งหนึ่งของ Tsotsi อาบฉาบด้วยเงามืด อาจจะสื่อถึงการถลำลึก ครึ่งดี-ครึ่งชั่ว นี่คือโอกาสครั้งสุดท้ายที่จักแก้ตัว ก้าวถอยหลังออกมาจากวังวนอาชญากรรม

นี่เป็นอีกช็อตที่แนวคิดเดียวกับเงามืดอาบฉาบครึ่งหนึ่งใบหน้า แสงน้ำเงิน-ส้ม มอบสัมผัสอบอุ่น-หนาวเหน็บ Tsotsi พูดกล่าวขอโทษ Boston แม้มันจะไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ครั้งแรกที่เขายินยอมรับความผิดพลาดของตนเอง

หลังกล่าวขอโทษ Boston ผมสังเกตว่าหลายๆซีนต่อจากนั้นของ Tsotsi พยายามนำเสนอการเปลี่ยนแปลง ก้าวข้ามขอบเขตของตนเอง อาทิ ก้าวผ่านเส้นเหลืองบนชานชาลา, เดินขึ้นบันไดจากด้านล่างถึงเบื้องบน, มอบเงินให้ชายขอทานขาพิการ (ราวกับผู้พิทักษ์/คนเฝ้าประตูทางผ่าน), กล้องเคลื่อนเลื่อนจากพื้นดินจนพบเห็นทิวทัศน์เมืองใหญ่ และระหว่างมุ่งสู่บ้าน(ครอบครัวของทารกน้อย)มีการปรับโฟกัสจากเบลอเป็นคมชัด

ช็อตสุดท้ายของหนัง Tsotsi ยกมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ นี่ไม่ใช่แค่การจำนน ทำตามคำสั่งตำรวจ หรือศิโรราบต่อโชคชะตา แต่ยังสื่อถึงการเผชิญหน้าอดีต ตัวตนเอง ยินยอมรับความผิดพลาด เพื่อจะได้ชดใช้หนี้กรรมเวร และโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ … จบปลายเปิดลักษณะนี้ สร้างประกายความหวังให้กับผู้ชม อิสรภาพในการครุ่นคิด จินตนาการไม่รู้จบ

ตัดต่อโดย Megan Gill สัญชาติ South African ผลงานเด่นๆ อาทิ Tsotsi (2005), X-Men Origins: Wolverine (2009), Eye in the Sky (2015) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Tsotsi/David เริ่มจากอารัมบทวิถีโจรกระจอก ขัดแย้งกับพวกพ้อง จากนั้นบังเอิญลักขโมยทารกน้อย ทำให้ต้องเสียเวลาดูแลเอาใจใส่ พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆ หวนระลึกความหลัง บังเกิดความมุ่งมั่นต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อแก้ไขโชคชะตาชีวิต

  • อารัมบท, วิถีโจรกระจอก
    • กลุ่มโจรกระจอกออกเดินทางไปยังสถานีรถไฟ มองหาเหยื่อ เข้ารุมล้อม ทำการโจรกรรม
    • Boston ไม่พึงพอใจที่ Butcher ฆาตกรรมเหยื่อ จนมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับ Tsotsi
  • ลักพาตัวทารกน้อย
    • Tsotsi ตั้งใจแค่เพียงจะปล้นรถ แต่กลับมีทารกน้อยอยู่เบาะหลัง จึงตัดสินใจอุ้มพากลับบ้าน
    • เช้าตื่นมาได้ยินเสียงทารกร้องไห้งอแง จึงเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อมนมข้นหวาน
    • ค่ำคืนนั้น Tsotsi มีความสนอกสนใจในชายขาพิการ ต้องการพูดคุยสอบถามทำไมถึงยังอยากมีชีวิต
    • เช้าวันถัดมา Tsotsi ไม่รู้จะทำยังไงกับทารกน้อย บังเอิญพบเห็นหม้ายสาว Miriam จึงใช้ปืนข่มขู่ ขอความช่วยเหลือให้นมเด็ก
  • ความหลังของ Tsotsi
    • เมื่อกลับมาที่ห้อง นั่งมองทารกน้อยบนเตียง Tsotsi หวนระลึกความหลัง (Flashback) เมื่อครั้งมารดาล้มป่วยหนัก ถูกบิดากระทำร้าย จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน
    • เช้าวันถัดมา Tsotsi นำทารกน้อยไปเยี่ยมเยียนท่อคอนกรีตเคยพักอาศัยหลังหลบหนีออกจากบ้าน ปัจจุบันถูกยึดครองโดยเด็กๆกลุ่มใหม่
    • Tsotsi แวะเวียนมาหา Miriam รับฟังเธอเล่าถึงสามีผู้ล่วงลับ แล้วตัดสินใจฝากทารกน้อยไว้ก่อน
    • แวะเวียนกลับมาหา Boston ชักชวนให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านพัก
  • โจรกรรมครั้งสุดท้าย
    • Tsotsi ต้องการหาเงินให้กับ Miriam และ Boston จึงชักชวน Asp และ Butcher กระทำการโจรกรรมครั้งสุดท้าย
    • เป้าหมายคือบ้านของครอบครัวที่เขาลักพาตัวทารกน้อย ในช่วงแรกๆก็ดำเนินไปโดยดี แต่เมื่อมีความผิดพลาดบังเกิดขึ้น Tsotsi ตัดสินใจฆ่าปิดปาก Butcher
    • หลังจากนำรถมาขาย Asp เลยบอกร่ำลา Tsotsi
    • Tsotsi นำเงินมามอบให้ Miriam แต่เธอปฏิเสธไม่ยินยอมรับ แนะนำให้เขานำเด็กกลับไปคืนครอบครัว
  • การตัดสินใจของ Tsotsi
    • Tsotsi กลับมาที่ห้อง กล่าวขอโทษกับ Boston
    • ตำรวจไล่ล่ามายังห้องพักของ Tsotsi แต่พบเจอแต่ Boston
    • Tsotsi ตัดสินใจนำทารกน้อยกลับมาคืนครอบครัว แต่จะทำสำเร็จหรือไม่

ตอนจบของหนังทำออกมาในเชิงปลายเปิด เพื่อเป็นประกายความหวังให้กับผู้ชม มอบอิสระจินตนาการโชคชะตาของ Tsotsi แต่เห็นว่าจริงๆแล้วผกก. Hood ได้ถ่ายทำ Alternate Ending ไว้สองฉบับ (สามารถหารับชมจากเบื้องหลัง Special Feature) ประกอบด้วย

  • Tsotsi ถูกตำรวจยิงโดนบ่า จึงตัดสินใจออกวิ่งหลบหนี ฝ่าดงกระสุน หวนกลับเข้าสู่สลัม Alexandra หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
  • Tsotsi ถูกยิงเข้าที่หน้าอกระหว่างกำลังเอื้อมหยิบขวดนม เลยทรุดล้มลงเสียชีวิต ทำเอาทุกคนมีสีหน้าซีดเผือก ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไปดี

ในส่วนของเพลงประกอบ มีทั้งแต่งขึ้นใหม่ (Original Score) โดย Mark Kilian & Paul Hepker แต่ส่วนใหญ่จะเลือกใช้บทเพลงคำร้องแนว Thug Rap (Hip Hop) และ Kwaito (แนวเพลงที่ถือกำเนิดขึ้นในย่าน Soweto, Johannesburg ช่วงทศวรรษ 80s) จากศิลปินแอฟริกันชื่อดังอย่าง Zola, Mafikizolo, Ishmael, Vusi Mahlasela ฯ

สไตล์เพลงของหนัง Thug Rap (Hip Hop) และ Kwaito ไม่เพียงเป็นตัวแทนวัฒนธรรม ยังสะท้อนวิถีของคนผิวสี/ชาวสลัม South African ชีวิตเต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ หลงใหลบทเพลงที่เต็มไปด้วยถ้อยคำพรรณา รำพันความทุกข์ยากลำบาก จังหวะสนุกสนาน ชวนลุกขึ้นมาโยกเต้น ราวกับได้รับการปลดปล่อย ระบายอารมณ์อัดอั้น

น่าเสียดายที่หนังไม่ได้การแปลเนื้อคำร้อง เชื่อว่าย่อมต้องมีความสอดคล้องเข้ากับเรื่องราวขณะนั้นๆ แต่แค่ท่วงทำนองก็เพียงพอสร้างบรรยากาศ บ่งบอกทิศทางดำเนินไป อย่างบทเพลงแรก Mdlwembe (แปลว่า uncouth, vulgar, dirty) แต่งโดย Kabelo Ikaneng, ขับร้องแร็ปโดย Zola, เนื้อคำร้องรำพันความทุกข์ยากลำบากของคนผิวสี/ชาวสลัม South African ถือเป็นการอารัมบทนำเข้าสู่หนังได้เป็นอย่างดี

เกร็ด: Zola หรือ Zola 7 ชื่อจริง Bonginkosi Dlamini (เกิดปี ค.ศ. 1977) นักร้องชาว South African เกิดในชุมชนสลัม Soweto ถูกบิดาทอดทิ้งไปตั้งแต่ยังเล็ก อาศัยอยู่กับมารดา พี่ชาย และน้องสาว, ตอนเด็กเห็นว่าไม่ได้มีความชื่นชอบสไตล์เพลง Kwaito เพราะมองว่าเอาแต่แร็ปไร้สาระ “had no message” แต่ไม่นานเขาก็เลือกใช้สไตล์เพลงนี้ในการพร่ำสอนผู้คน ผลงานของ Zola จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ว่ากันว่าเป็นรองเพียง Nelson Mandela เท่านั้นเอง! “The Second Biggest Brand in the country next to Nelson Mandela”

ต้นฉบับ Soweto คำแปลอังกฤษ
Yewena
Ungazongihlanyisa wena
Ungazongihlanyisa kawu uyabona
Kushuthi kumele wenze into yakho
Ngizakuphula ikhanda lova, ngikushaya inhloko baba
Phuu guluva ngiyakukhafulela
Bhade lami wena ukhomba mina?

Bhade lami uzongihlanyisa
Kuyofa inzizwa kuyosala abafelokazi
Ekasathani ekhosombeni ngithi khala mdlwembe
Ekasathani emakhoneni ngithi khala guluva
Uyangizwa bhade lami uhlale wazi yamadoda ayipheli
Ekasathani ekhosombeni ngithi khala mdlwembe

Ekasathani emakhoneni ngithi khala guluva
Bhade lami ukhomba mina?
Uhlale wazi yamadoda ayipheli
E bhade lami ukhomba mina?
Yewena yemdlwembe
Yelele ymdlwembe uhlale wazi yamadoda ayipheli

Bhade lami ukhomba mina uhlale wazi yamadoda ayipheli
Bhade lami uhlale wazi yamadoda ayipheli
Qhamuthushula omnyama, kusase yibo labafana base Zola
Bamba ibonda ‘yabona ukuthi umzala ufuna amakgekgeba
Bhekala phezukwama tafula sesibuzy siyaxovaxova
E slender woza la, bheka la ngithi woza uzosithola

Siphethe ibhola lomlilo xuvu siyashosholoza
Siboniseni omunye futhi umuzi onotshwala
Siyofika kuleyondawo kuyosala abafelokazi
Asifika kuleyondawo kuyosala abafelokazi
Kuyofa insizwa kosala abaguluva masifika kuleyondawo
Kuyofa aboguluva kusale ama beer masifika kuleyondawo

Bhade lami, bhade lami angithi vele wena vele ubheke mina
Ngoba nami vele mfana ngibheke wena, bhade lami bhade lami.
Ekasathani ekhosombeni ngithi khala mdlwembe
Ekasathani emakhoneni ngithi khala guluva
Bhade lami ukhomba mina? Uhlale wazi yamadoda ayipheli
Bhade lami ukhomba mina? Uhlale wazi yamadoda ayipheli

AmaGugu alelizwe ayosala emathuneni.
Hey You
Don’t embarrass me
Don’t embarrass me, you see
It’s necessary to do your own thing.
I’ll crack your skull, I’ll hit on the head
I’m tired of your nonsense.
My friend, will you look out for me?

My friend, you’ll embarrass me
The youth will die and leave behind the elderly
In dark places, I say Cry, Mdlwembe
In corners, I say Cry, Guluva
My friend, you hear me- stay alert, the men don’t finish
In dark places, I say Cry, Mdlwembe

In corners, I say Cry, Guluva
My friend, will you look out for me?
Stay alert, the men don’t finish
Hey, my friend, will you look out for me?
Hey Mdlwembe
Hey Mdlwembe, stay alert, the men don’t finish

My friend, look out for me, stay alert, the men don’t finish
My friend, stay alert, the men don’t finish
The black train comes, the boys from Zola are ready
Catch the vibe and you will see that the homie wants weed
Look up, there’s a plane flying low and we’re excited
Hey slender, come here and look, I say come you’ll find us

We move the ball like fire, Xuvu we’re running fast
Show me one more and a village with alcohol
We’ll arrive at that place and leave behind the elderly
We’ve arrived at that place and leave behind the elderly
A young person will die and leave behind foolish men, we’ve arrived at that place
Foolish men will die, leaving behind beer, we’ve arrived at that place

My friend, my friend, don’t you always look at me?
Because I always look at you too, my friend, my friend.
In dark places, I say Cry, Mdlwembe
In corners, I say Cry, Guluva
My friend, will you look out for me? Stay alert, the men don’t finish
My friend, will you look out for me? Stay alert, the men don’t finish

The Heritage of this country will remain in the cemetery

แม้ในอัลบัมเพลงประกอบ จะมีบทเพลงแร็ปเจ๋งๆอยู่พอสมควร แต่เพราะมันไม่ใช่แนว แถมฟังภาษาไม่รู้เรื่อง ผมเลยไม่ค่อยอินกับมันสักเท่าไหร่ จำเพาะเจาะจงเกินไป คงมีแต่ชาว South African เท่านั้นถึงสามารถเข้าถึงนัยยะซ่อนเร้นในเนื้อคำร้องบทเพลง

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกซาบซ่านทรวงใน เมื่อไหร่ Tsotsi จับจ้องมองทารกน้อย ด้วยสายตาลุ่มหลงใหล จักได้ยินท่วงทำนองเพลงคลาสสิกของ Mark Kilian & Paul Hepker และ(บางครั้ง)เสียงร้องโหยหวน คร่ำครวญ ไม่มีคำร้องแร็ปใดๆ สร้างสัมผัสราวกับต้องมนต์ บางสิ่งลึกลับ ทำให้จิตวิญญาณสั่นไหว

Tsotsi นักเลงหนุ่ม หัวหน้ากลุ่มโจรกระจอก ชื่นชอบกระทำสิ่งรุนแรง ก่ออาชญากรรมโดยไม่เคยครุ่นคิดอะไร อยู่มาวันหนึ่งหลังจากลักขโมยรถหรู พบเห็นทารกน้อยถูกทิ้งเบาะหลัง ทีแรกอยากกำจัดทิ้ง แต่บางสิ่งอย่างขัดขวางจิตสามัญสำนึก เลยตัดสินใจรับเลี้ยงดูแล และเหตุการณ์หลังจากนี้ทำให้เขาได้เรียนรู้ ทบทวน ค้นพบตัวตนเอง “self-discovery”

ไม่มีใครโฉดชั่วร้าย เลวทรามต่ำช้ามาตั้งแต่เกิด ล้วนได้รับอิทธิพลจากครอบครัว สังคม สภาพแวดล้อมสลัม หล่อหลอมให้เขาดำเนินชีวิตในทิศทางที่ไม่ได้เลือกเดิน เพียงต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดไปวันๆ การได้พบเจอทารกน้อยที่มีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา จึงทำให้เกิดความตระหนักว่าตนเองก็ไม่ได้แตกต่างกัน

การพบเจอบุคคลต่างๆ ภาพสะท้อนอดีต-ปัจจุบัน โดยไม่รู้ตัวทำให้ Tsotsi บังเกิดประกายความหวัง นี่ไม่ใช่ทำให้เขาละเลิกก่ออาชญากรรม แต่คือสามารถเริ่มครุ่นคิด ทบทวนในสิ่งที่ทำ ตระหนักถึงความสำคัญชีวิต (ไว้ชีวิตบิดาของทารกน้อย) การศึกษา (อยากหาเงินทุนสนับสนุน Boston เรียนต่อให้จบ) อยากออกไปจากวังวนสลัมแห่งนี้ (มอบเงินให้ชายขาพิการ) ก่อนท้ายที่สุดตัดสินใจส่งคืนทารกน้อยกลับสู่อ้อมอกครอบครัว (=ค้นพบตัวตนเอง หวนกลับสู่รากเหง้า)

And that story could be told in any nation. On the other hand, it was a story that was set in my home city of Johannesburg, which is a city that we don’t often get a chance to put on screen, and where we have some fantastic young actors who don’t often get to work in films, and where we have great music that’s not often heard outside of South Africa. So the combination of universal themes with a very specifically South African location and the ability to work with a very South African energy was very appealing.

Gavin Hood

ในมุมมองผกก. Hood เรื่องราวของ Tsotsi ถือว่ามีความเป็นสากล พบเจอได้ทุกแห่งหนบนโลกใบนี้ แต่สิ่งที่เขาสนอกสนใจมากเป็นพิเศษ คือการเลือกใช้สถานที่พื้นหลัง/บ้านเกิด Johannesburg, South Africa รวมถึงนักแสดง ทีมงาน สำแดงอัตลักษณ์ ศักยภาพ ความเป็น South African ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อนานาอารยะ

การเลือกตอนจบแบบเปิดกว้าง ให้อิสระในการครุ่นคิดจินตนาการ ไม่ตัดสินโชคชะตาของ Tsotsi เป็นหรือตาย ถูกจับหรือหลบหนี นั่นทำให้ผู้ชมบังเกิดประกายความหวัง บางคนสามารถยกโทษให้อภัย … เพราะวิธีการนำเสนอของผกก. Hood พยายามอธิบายรายละเอียด ที่มาที่ไป เหตุผลเพราะอะไร ทำไมถึงกลายเป็นอาชญากร นั่นทำให้ผู้ชมสามารถทำความเข้าใจตัวละคร บังเกิดจิตสามัญสำนึก เรียนรู้จัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ไม่ด่วนตัดสินคนแค่การกระทำ ณ ปัจจุบัน

I think that issues of redemption and forgiveness are themes and ideas that South Africans have wrestled with more than almost anyone else and have wrestled with very successfully. I think contemplating what it means to seek forgiveness’and there’s tremendous capacity in human beings to forgive provided they feel a genuine apology’is something South Africans are dealing with. And in a sense that’s what’s most appealing to me about the film is that it’s a story about a young person who does some pretty terrible things, but on the other hand, as we get to know him and understand where he’s from, we find he’s like any young person in the world and needs very basic things like affection and connection with others.

มีนักข่าวสอบถามผกก. Hood ว่ามุมมองคิดเห็นดังกล่าวมีความความไร้เดียงสา (naïve) เกินไปหรือเปล่า? คำตอบนี้น่าสนใจดีเลยนำมาให้อ่านทิ้งท้าย

Some people would say that this is a naïve idealistic view. I would accept that it’s an idealistic view but not that it’s naïve and the reason that I would not accept that it’s naïve is because it’s frankly insulting to suggest that those of us who have lived through violent crimes and the traumas of violent crimes are naïve. I mean I’ve been mugged, my mother’s been car jacked twice. I don’t know many South Africans who don’t have their eyes wide open to what it’s like to be exposed to some sort of violence. The question is whether we choose to be cynical about it or not.


ด้วยทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $2.9 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $11.5 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จใช้ได้ทีเดียว ช่วงปลายปีได้เข้าชิง-คว้าหลากหลายรางวัล อาทิ

  • Academy Award: Best Foreign Language Film **คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award: Best Foreign Language Film
  • BAFTA Award: Best Film not in the English Language
  • BAFTA Award: Carl Foreman Award for the Most Promising Newcomer (โปรดิวเซอร์ Peter Fudakowski)

เกร็ด: แม้ก่อนหน้านี้ Z (1969) [Algeria] และ Black and White in Color (1976) [Ivory Coast] จะเคยคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film แต่ทั้งสองเรื่องสร้างโดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส (Costa-Gavras ถือเป็น Greek-French) สื่อสารภาษาฝรั่งเศส, ผิดกับ Tsotsi (2005) ถือเป็นภาพยนตร์แอฟริกันแท้ๆเรื่องแรก สร้างโดยผู้กำกับเกิดบนผืนแผ่นดินแอฟริกา ใช้นักแสดง-ทีมงานชาวแอฟริกันทั้งหมด และพูดคุยสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่น

Nelson Mandela ร่วมแสดงความยินดีกับผู้กำกับและนักแสดง สำหรับรางวัลประวัติศาสตร์แห่งทวีปแอฟริกา

เกร็ด: ช่วงปี 2004-05 ถือเป็นปีทองของวงการภาพยนตร์ South African ประกอบด้วย

  • U-Carmen eKhayelitsha (2005) คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
  • Yesterday (2004) เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film
  • Tsotsi (2005) คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ระหว่างรับชมในช่วงแรกๆ ผมไม่ค่อยชอบความรุนแรงของหนังสักเท่าไหร่ ลักขโมยทารกน้อย กลั่นแกล้งคนพิการ ฆาตกรรมอย่างไร้เหตุผล ทำไมไอ้พวกเด็กเวรตะไลถึงทำตัวบัดซบเพียงนี้ แต่หลังจากรายละเอียดต่างๆได้รับการเปิดเผย มันสามารถอธิบายสาเหตุผล ที่มาที่ไป และทิศทางของหนังต้องการสร้างประกายความหวังเล็กๆให้กับผู้ชม เลยบังเกิดความชื่นชอบ ประทับใจ จบแบบนี้ดีกว่า Alternate Ending ฉบับไหนๆ

ถ้าคุณเป็นชาวแอฟริกัน (ไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องคือ South Africa) หรืออาศัยอยู่ในสลัม นี่เป็นภาพยนตร์แห่งความหวัง สมควรค่าแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่สำหรับผู้ชมทั่วไปแล้วแต่บุญวาสนาก็แล้วกัน

จัดเรต 18+ กับการก่ออาชญากรรม ปล้น-ฆ่า ลักพาตัว

คำโปรย | แม้ในสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมทราม Tsotsi คือภาพยนตร์แห่งความหวังของ South Africa
คุณภาพ | ความหวัง
ส่วนตัว | บังเกิดความหวัง

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: