Utamaro and His Five Women (1946)
: Kenji Mizoguchi ♥◊
(mini Review) ปรมาจารย์ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น Kenji Mizoguchi สร้างหนังชีวประวัติ Kitagawa Utamaro จิตรกรเอกของญี่ปุ่น ชื่อชอบการวาดภาพเปลือย (Ukiyo) ดัดแปลงจากนิยายของ Kanji Kunieda มีช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตของ Utamaro ที่ชื่นชอบการวาดภาพศิลปะบนเรือนร่างหญิงสาว (Tattoo) เกิดเป็นเรื่องราวของเขาและหญิงสาวอีก 5 คน
นี่เป็นหนังที่ดูน่าสนใจมากๆ เพราะเมื่อพูดถึงภาพวาดของจิตรกรเอกแล้ว ถ้ากลายเป็นรอยสัก (Tattoo) มันคงสวยงามมากๆ, ผมลองมองหาหนังเกี่ยวกับศิลปิน Tattoo ด้วยนะครับ แต่ไม่เจอหนังเรื่องใดที่น่าสนใจเลย, ภาพวาดของ Utamaro เป็น Ukiyo หรือ Floating World สไตล์นี้ไม่ได้มีแต่ภาพเปลือยนะครับ, อุกิโยะ (ukiyo) แปลตรงตัวว่า โลกแห่งความล่องลอย หมายถึงโลกที่ไม่เที่ยงแท้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความงดงามที่มีอยู่เพียงชั่วขณะก่อนที่จะอันตรธานหายไป และโลกของการหาความสำราญ, ยุคนั้นความนิยมในภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่นเริ่มแพร่หลาย (ศตวรรษ 17-20) ภาพวาดภูมิทัศน์, เรื่องราวอิงประวัติศาสตร์, ภาพบทละคร และแหล่งของความสำราญ (pleasure quarters) จึงถือว่าเป็นรูปแบบของศิลปินยุคนั้นที่จะนำเสนอไม่ใช่แค่ภาพวาด แต่เรื่องราว กิจวัตร, Life Style, Sex Style ฯ สอดแทรกอยู่ด้วย นี่ทำให้มีคำว่า ‘World’ อยู่ในชื่อนะครับ ผมสังเกตดูแนวภาพอุกิโยะนี้ มีเห็นเฉพาะฝั่งเอเชียเท่านั้น (โดยเฉพาะ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย ไม่ค่อยเห็นในฝั่งยุโรปหรืออเมริกา)
Kenji Mizoguchi ผู้กำกับขึ้นชื่อเรื่องการนำเสนอหนังที่เกี่ยวกับแนวคิดของความแตกต่าง ชนชั้น วิถีชีวิต ที่สำคัญต้องมีโสเภณี, คงมีคนสมัยก่อนไม่มากที่กล้าสักลายบนผิวหนัง จะมีก็แค่หญิงสาวโสเภณีที่ขายเรือนร่างเท่านั้นแหละที่กล้า ภาพวาดของ Utamaro แม้ชื่อหนังจะเป็น and His Five Women แต่ไม่ใช่ว่าวาดภาพสักลายกับผู้หญิง 5 คนนะครับ เป็นผู้หญิง 5 คนที่พัวพันกับเขา เกิดเป็นเหตุการณ์ต่างๆ (ที่ไม่เกี่ยวกับการวาดภาพเลย), หนังพูดถึงวิถีชีวิตของศิลปินในญี่ปุ่นสมัยก่อน ที่คนหนึ่งเป็นอัจฉริยะ อีกคนหนึ่งเป็นคนธรรมดา ทั้งสองมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน แนวคิด การกระทำ ด้วยช่องห่างระหว่างฝีมือที่มากนัก เป็นไปได้ยากที่คนระดับกลาง (middle class) จะสามารถอยู่รอดได้ด้วยการขายงานศิลปะอย่างเดียว
แต่หนังเรื่องนี้ถือว่าน่าผิดหวังมาก ฉากเปิดเรื่องสวยๆตอนต้นเรื่องไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะมีการเล่าเรื่องที่เละเทะ ครึ่งหลังแบบว่าอะไรก็ไม่รู้มั่วไปหมด Mizoguchi เหมือนพยายามสร้างสถานการณ์เพื่อเปรียบเทียบวิถีชีวิตศิลปิน 2 ประเภท แต่เขากลับให้น้ำหนักไปที่คนธรรมดามากกว่า Utamaro ซึ่งควรจะเป็นตัวละครหลัก และผู้หญิง 5 คนมีใครบ้าง น้อยคนคงจะตอบได้ แถมความสัมพันธ์ของแต่ละตัวละครเป็นอะไรพัวพันกันอย่างหาจุดร่วมไม่ได้เลย นี่เป็นความผิดพลาดที่ผมให้อภัยไม่ได้นะครับ (ตอน Sansho the Bailiff นั่นก็ทีแล้ว สงสัย Mizoguchi มีปัญหากับตั้งชื่อหนังมากทีเดียว)
ผมสรุปผู้หญิงของ Utamaro ทั้ง 5 ประกอบด้วย
Yukie – คู่หมั้นของ Seinosuke
Orui – สาวที่สักลาย tattoo ตอนต้นเรื่อง
Okita – คู่หมั้นของ Shozabura
Oran – ลูกของซามูไร
Oshim – หญิงสาวผู้ดูแลซ่อง ที่กลายมาเป็นคู่หมั้นของ Take (คนใช้ของ Utamaro)
มีประเด็นหนึ่งที่ขอปิดท้ายให้ไปมองหาความสัมพันธ์ต่อเองนะครับ ด้วยเพราะ Mizoguchi ถือว่าเป็นศิลปิน การสร้างหนังเรื่องนี้เลยสามารถมองใจความแฝงในจุดที่เป็นหนังชีวประวัติของ Mizoguchi เอง, คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นจะรู้ว่า Utamaro เป็นหนังเรื่องแรกของ Mizoguchi ที่สร้างขึ้นหลังจากอเมริกาชนะสงครามโลก และเข้ามาออกกฎควบคุมการสร้างหนังในญี่ปุ่น (กองเซ็นเซอร์) หนังเรื่องนี้จึงมีเหตุการณ์ที่ทำให้ Utamaro ถูกจับ มัดมือไม่ให้สามารถวาดรูปได้ ซึ่งก็เหมือนกับ Mizoguchi ที่ถูกกองเซ็นเซอร์ควบคุมอย่างหนัก ซึ่งเมื่อไหร่ที่ฉันถูกปลดปล่อยนะ … (Utamaro คันไม้คันมืออยากวาดรูป พอถูกปล่อยก็วาดแบบไม่เห็นเดือนเห็นตะวันเลย)
แนะนำให้กับคนที่ชื่นชอบผลงานของ Kenji Mizoguchi, คนชื่นชอบในงานศิลปะ อยากเห็นภาพวาดลงบนเนื้อหนังสวยๆ (แต่หนังไม่ได้แนะนำวิธีสักลายนะครับ) และคนอยากรู้วิถีชีวิตของศิลปินในญี่ปุ่นสมัยก่อน, จัดเรต PG เพราะฉากเปลือยหลัง และการแสดงออกในความอิจฉาริษยาของผู้หญิง
[…] อาทิ Rembrandt (1936), Utamaro and His Five Women (1946), An American in Paris (1950), Vincent & Theo (1990), La vie de bohème (1992), A Soul Haunted […]