Van Gogh

Van Gogh (1991) French : Maurice Pialat ♥♥♥♥♡

(20/8/2022) เป็นศิลปินต้องอดรนทนต่อเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ คำวิจารณ์เสียๆหายๆของใครต่อใคร ความพ่ายแพ้ของ Vincent van Gogh คือบทเรียนสอนผู้กำกับ Maurice Pialat ยิ่งถูกด่ายิ่งต้องเข้มแข็งแกร่ง บังเกิดภูมิต้านทานให้เอาชีพรอดในสังคมที่เหี้ยมโหดร้าย

นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ชีวประวัติจิตรกรเอกชาวดัตช์ Vincent van Gogh (1853-90) แต่คือ Van Gogh ใน’มุมมอง’ของผู้กำกับ Maurice Pialat ทั้งสองเหมือนจะมีหลายๆสิ่งอย่างละม้ายคล้ายกัน (ผลงานของศิลปินภาพยนตร์ ‘auteur’ สามารถเปรียบเทียบ Van Gogh = Pialat) แต่ความแตกต่างคือปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงเห่าหอนของนักวิจาณ์ ผกก. Pialat ให้ตายก็ไม่วันฆ่าตัวตาย!

I may express opinions through the character [of Van Gogh]’s mouth but he’s quite unlike me. I exercised restraint in the remarks about critics, I could have gone much further. As far as I’m concerned, the best pieces are demolition jobs. I prefer negative criticism of my own work. When someone who is reasonably silly and not very well-educated – I mean critics in general – decides to lay into a film, he turns quite nasty, he seeks out the flaws and often gets it right.

Perhaps I had to wait till I reached an advanced age before I could show men and women in a relaxed relationship. Before now, I’ve just depicted the bitches I’ve come across in my life

Maurice Pialat

วันก่อนที่ผมเพิ่งเขียนถึง Under the Sun of Satan (1987) เมื่อประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์! ทำให้เกิดทั้งเสียงปรบมือและโห่ขับไล่ ผู้กำกับ Pialat ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บนเวที “ถ้าคุณไม่ชอบผลงานผม ผมก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกคุณเหมือนกัน” นี่ชัดเจนถึงปฏิกิริยาโต้ตอบกลับเสียงวิพากย์วิจารณ์ ใครดีมาดีตอบ ร้ายมาร้ายตอบ พร้อมน้อบรับคำตำหนิติชมคือบทเรียนสำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ย้อนกลับมาอ่านบทความเก่า Van Gogh (1991) ก็พบว่าผมเองยังอ่อนด้อยประสบการณ์ทำความเข้าใจหนังอยู่มากๆ หวนกลับมารับชมรอบนี้บอกเลยว่าขนลุกขนพอง เป็นภาพยนตร์ที่ต้องใช้ประสบการณ์ดูหนังสูงมากๆ ยิ่งถ้าคุณรู้จักไดเรคชั่นผู้กำกับ Pialat น่าจะโคตรอึ้งทึ่งประทับใจ มีความลุ่มลึก สลับซับซ้อน นักแสดงดั้นสนกันได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือไร?

แซว: ผมเพิ่งรับชม Center Stage (1991) ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับนักแสดงสาวชาวจีน หยวนหลิงอวี้ (Ruan Lingyu) ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาต เพราะมิอาจอดรนทนต่อเสียงวิพากวิจารณ์ของสื่อ สังเกตว่าหนังออกฉายปีเดียวกับ Van Gogh (1991) มันจะบังเอิญไปไหม๋!!!

หนึ่งในบุคคลผู้คลั่งไคล้ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ Jean-Luc Godard เขียนจดหมายที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนสุดๆ ส่งให้ผู้กำกับ Pialat อ่านแล้วผมโคตรเห็นด้วยมากๆ ถ้าจัดอันดับความชื่นชอบส่วนตัว Van Gogh (1991) น่าจะติด Top10 ภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศสยอดเยี่ยมตลอดกาล!

My dear Maurice, your film is astonishing, totally astonishing; far beyond the cinematographic horizon covered up until now by our wretched gaze. Your eye is a great heart that sends the camera hurtling among girls, boys, spaces, moments in time, and colors, like childish tantrums. The ensemble is miraculous; the details, sparks of light within this miracle; we see the big sky fall and rise from this poor and simple earth. All of my thanks, to you and yours, for this success – warm, incomparable, quivering. Cordially yours,

Jean-Luc Godard
จดหมายของ Jean-Luc Godard ส่งให้ Maurice Pialat

Maurice Pialat (1925-2003) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Cunlhat, Puy-de-Dôme ในครอบครัวชนชั้นแรงงาน (Working Class) บิดาเป็นช่างไม้ ขายไวน์ ขุดถ่านหิน แต่หลังจากมารดาเสียชีวิต เลยถูกส่งไปอาศัยอยู่กับย่าที่ Villeneuve-Saint-Georges, วัยเด็กมีความเพ้อฝันอยากเป็นจิตรกร เข้าศึกษายัง École Nationale Supérieure des Arts Décoratifs แต่ช่วงขณะนั้นคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมองหางานรับจ้างทั่วๆไปที่จับต้องได้ เซลล์แมนขายแชมพู เครื่องพิมพ์ดีด จากนั้นเป็นนักแสดงละครเวที เก็บเงินซื้อกล้องถ่ายทำหนังสั้น จนกระทั่งเข้าตาโปรดิวเซอร์ Pierre Braunberger ได้รับงบประมาณสรรค์สร้าง L’amour existe (1960) ส่งเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ารางวัล Prix Lumière (ของหนังสั้น)

หนังสั้น L’amour existe (1960) สร้างความประทับใจผู้กำกับ François Truffaut อาสาจัดหาทุนภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Naked Childhood (1968) จากนั้นโอกาสก็ไหลมาเทมา ติดตามด้วย We Won’t Grow Old Together (1972), The Mouth Agape (1974), Graduate First (1978), Loulou (1980), Under the Sun of Satan (1987) ** คว้ารางวัล Palme d’Or, Van Gogh (1991) ฯลฯ

สไตล์ของ Pialat มีคำเรียกว่า ‘realist film’ มักจำลองสร้างสถานการณ์ขึ้นมา แล้วมอบเสรีภาพให้นักแสดงทำการดั้นสด (Improvised) บันทึกปฏิกิริยาแสดงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งหลายครั้งมักเต็มไปด้วยความรุนแรง ปะทุระเบิดทางอารมณ์ (คล้ายๆผลงานของ John Cassavetes), ส่วนความสนใจล้วนนำจากประสบการณ์ชีวิตส่วนบุคคล (Personal Film) ปฏิเสธนัยยะซ่อนเร้นทางการเมืองโดยสิ้นเชิง

ตั้งแต่แรกค้นพบความสนใจในงานศิลปะ เมื่อตอนอายุยี่สิบ Pialat เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลผลงานของ Van Gogh แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ความชื่นชอบดังกล่าวกลับลดน้อยถอยลง กลายเป็นคลุ้มคลั่งไคล้ภาพวาด Georges Seurat เสียมากกว่า!

When I started to paint, I was twenty years old, I adored Van Gogh. I grew to like him less and less. A long time ago, I wanted to make a film about him, not out of admiration but because the story his sister put together was good raw material. Otherwise, I’m more interested in Seurat.

Maurice Pialat

ช่วงระหว่างที่ Pialat ทดลองทำหนังสั้น หนึ่งในนั้นคือสารคดีความยาว 6-7 นาที ชื่อว่า Van Gogh (1965) ร้อยเรียงภาพชุมชนบท Auvers-sur-Oise ซึ่งคือสถานที่ที่ Vincent van Gogh เคยพักอยู่อาศัย 67 วันสุดท้ายระหว่างพฤษภาคม – กรกฎาคม ค.ศ. 1890 ก่อนกระทำอัตวินิบาตด้วยการยิงปืนตรงหัวใจ แล้วเสียชีวิต 30 ชั่วโมงให้หลัง โดยสุสานของ Vincent และน้องชาย Theodorus (เสียชีวิตหนึ่งปีถัดมา) ก็อยู่ที่เมืองนี้ด้วยเช่นกัน

ผู้กำกับ Pialat เคยพยายามผลักดันโปรเจคชีวประวัติ Georges Seurat แต่ก็ไม่มีโปรดิวเซอร์ไหนให้ความสนใจ แถมค้นหานักแสดงรับบทยังยากยิ่งนัก ผิดกับ Van Gogh ที่มีต้นแบบอย่างจากหนัง Hollywood อาทิ Lust for Life (1956), Vincent (1987), Vincent & Theo (1990), ไม่นานมานี้ก็เพิ่งมี At Eternity’s Gate (2018) นำแสดงโดย Willem Dafoe

หลังเสร็จจาก Under the Sun of Satan (1987) ซึ่งเป็นผลงานที่มีทั้งกระแสชื่นชม-ต่อต้านจากผู้ชม นักวิจารณ์อย่างรุนแรง ทำให้ผู้กำกับ Pialat รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย ต้องการหยุดพักเพื่อทบทวนตนเอง ซึ่งนั่นทำให้เขาหวนกลับมาหา Van Gogh พัฒนาเรื่องราว 67 วันสุดท้ายที่พักอาศัยอยู่ยัง Auvers-sur-Oise เพราะอะไร? ทำไม? จิตรกรเอกของโลกผู้นี้ถึงตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม?

What beginners like about Van Gogh, is the ease with which he works. You couldn’t buy pictures like that at the time, it would have been unimaginable.

Maurice Pialat

จริงๆแล้วผู้กำกับ Pialat ต้องการนำเสนอหลายๆผลงานภาพวาดของ Van Gogh แต่ติดที่งบประมาณแสนน้อยนิด แถมถูกสั่งหยุดถ่ายทำไปหลายเดือน (เพราะเงินหมด ใช้งบเกินกว่าที่ประเมินไว้) จึงต้องทำการ ‘improvised’ ได้แค่ไหนแค่นั้น ได้แค่นี้ก็ดีถมไปแล้ว


Jacques Dutronc (เกิดปี 1943) นักร้อง/นักกีตาร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Pairs สำเร็จการศึกษาด้านการออกแบบ (Graphic Design) จาก École Professionnelle de Dessin Industriel ซึ่งช่วงระหว่างร่ำเรียนอยู่ร่วมกับเพื่อนตั้งวงดนตรี El Toro et les Cyclones ออกได้สองบทเพลงไม่ประสบความสำเร็จเลยยุบวง แต่ Dutronc ได้กลายเป็นนักกีตาร์สำรอง (Backing) ทั้งยังมีโอกาสแต่งเพลงให้ศิลปิน ZouZou, Cléo และภรรยา Françoise Hardy, ต่อมาทำอัลบัมแรกของตนเอง Jacques Dutronc (1966) สไตล์ French rock ยอดขายกว่าล้านก็อปปี้, สำหรับวงการภาพยนตร์เริ่มต้นจาก Antoine et Sébastien (1973), ผลงานเด่นๆ อาทิ That Most Important Thing: Love (1975), Mado (1976), Van Gogh (1991), C’est la vie (2001) ฯ

รับบท Vincent Willem van Gogh (1853-1890) จิตรกรชาวดัตช์ แห่งยุคสมัย Post-Impressionist เริ่มต้นออกเดินทางสู่ชนบท Auvers-sur-Oise เพื่อพักผ่อนคลายจากความเครียด อาการปวดศีรษะ (จากโรคครุ่นคิดมาก) ภายใต้การดูแลของหมอ Paul Gachet ซึ่งมีบุตรสาว Marguerite พยายามเกี้ยวพาราสี แม้ถูกกีดกันจากบิดาแต่เธอก็ไม่ยี่หร่าอะไรใครทั้งนั้น

แทนที่จะมาพักผ่อนคลาย Van Gogh กลับใช้เวลาส่วนใหญ่ในการวาดภาพ ไม่เคยได้รับค่าจ้าง แต่มักถูกวิพากย์วิจารณ์ เปรียบเทียบกับศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งผลงานส่วนใหญ่ถูกส่งไปให้น้องชาย Theo ซึ่งเป็นพ่อค้างานศิลปะ (Art Dealer) มักเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมภรรยา ถึงอย่างนั้นเขากลับไม่เคยพยายามขายผลงานของพี่ จึงเกิดการทะเลาะโต้เถียงกันบ่อยครั้ง … น่าจะคือหนึ่งในเหตุผลที่ Van Gogh ตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย

ในตอนแรกผู้กำกับ Pialat ต้องการให้ Daniel Auteuil รับบทนำแต่ถูกบอกปัดปฏิเสธ จากนั้นมีการยื่นข้อเสนอให้ Jean-Hugues Anglade ก่อนมาลงเอย Jacques Dutronc ที่ไม่ได้มีความละม้ายคล้าย Van Gogh แต่มันจำอะไรที่ต้องรูปลักษณะเหมือนเปะๆ

การตีความตัวละคร Van Gogh ของ Dutronc ต้องชมเลยว่ามีความสลับซับซ้อน โดยเฉพาะการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางขยับเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การเดินยังดูเกร็งๆ เหมือนคนเบื่อหน่าย กร้านโลก สะสมความเก็บกด อึดอัดอั้น อมทุกข์มากมายไว้ภายใน เมื่อเปิดเผยระบายออกก็ไม่มีใครเข้าใจ ทั้งน้องชาย แฟนสาว โสเภณีขาประจำยังโดนปฏิเสธต่อต้าน หลังตระหนักว่าทุกสิ่งอย่างบนโลกล้วนกลับกลอก หลวงหลอก หลังปาร์ตี้ทิ้งท้ายก็ถึงเวลาฆ่าตัวตาย

ฉากที่ผมชื่นชอบประทับใจ ทำให้สามารถเข้าถึงสภาวะทางอารมณ์ของตัวละคร ไม่ใช่ตอนกระโดดน้ำ หรือแสดงอาการเกรี้ยวกราดกับน้องชาย Theo แต่คือระหว่างกำลังวาดภาพ Marguerite ถูกขัดจังหวะซ้ำแล้วซ้ำอีก แถมเมื่อผลงานเสร็จสิ้นก็ได้รับคำวิพากวิจารณ์จนน่าหงุดหงิด การแสดงออกของ Dutronc กลับพยายามเพิกเฉย ไม่แสดงความรู้สึกใดๆออกมา แต่ภายในย่อมเต็มไปด้วยอาการคลุ้มบ้าคลั่ง

อีกฉากที่ต้องพูดถึงคือลูกมือของ Van Gogh ไม่ใช่แค่พูดคำวิพากย์วิจารณ์ แต่ยังแต่งแต้มลงสีภาพวาดที่แล้วเสร็จ (ให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ของตนเอง) นั่นสร้างความเกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจ แสดงออกทางสีหน้าท่าทางอย่างชัดเจน ถือเป็นการก้าวข้ามเส้น ไม่รู้กาลเทศะ ถ้าเก่งจริงทำไมไม่สรรค์สร้างผลงานของตนเอง มายุ่งวุ่นวาย เสือกเรื่องของคนอื่นทำไม!


Bernard Le Coq (เกิดปี 1950) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Le Blanc บิดาเป็นช่างทาสี มารดาทำงานภารโรง ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการแสดง ได้รับบทนำครั้งแรก Du soleil plein les yeux (1969), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Les Feux de la Chandeleur (1972), มีผลงานทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์ อาทิ Van Gogh (1991), Beautiful Memories (2001), The Conquest (2011) ฯ

รับบท Theodorus van Gogh (1857-1891) น้องชายของ Vincent van Gogh เป็นพ่อค้างานศิลปะ (Art Dealer) ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พี่ชาย แต่กลับไม่เคยนำผลงาน(ของพี่)จำหน่ายแก่ผู้ใด เพราะไม่มีความเชื่อว่าจะขายได้! (แต่ Theo ก็เคารพในความสามารถของพี่ชายอย่างมากๆ ซึ่งนั่นอาจคือเหตุผลแท้จริงที่เขาไม่ยินยอมขายผลงานให้ใครอื่นใด) ซึ่งนั่นคือสร้างความบาดหมาง ร้าวลึก สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธาในกันและกัน มีเรื่องทะเลาะโต้เถียงบ่อยครั้ง

ขณะเดียวกัน Theo ยังแต่งงานกับ Johanna Bonger (รับบทโดย Corinne Bourdon) เรียกสั้นๆว่า Jo เป็นคนที่โคตรเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ เบื้องหน้าทำเป็นให้ความเคารพรัก Vincent แต่ลับหลับพยายามโน้มน้าวให้สามีตัดหางปล่อยวัด ช่างไม่ต่างจากนางอสรพิษร้าย

ปล. หลังการเสียชีวิตของ Vincent ทำให้ Theo เศร้าโศกเสียใจอย่างหนักจนร่างกายทรุดล้มป่วย ค้นพบอาการสมองเสื่อม คาดว่าน่าจะติดเชื้อจากเคยป่วยซิฟิลิส เสียชีวิตหนึ่งปีให้หลัง

การตีความ Theo ของ Le Coq ค่อนข้างจะซับซ้อนทีเดียว หนังพยายามนำเสนอทั้งเบื้องหน้าร่าเริงสนุกสนาน สนิทสนมชิดเชื้อกับพี่ชาย แต่ลับหลังเมื่อไหร่กลับแสดงสีหน้านิ่วคิ้วขมวด เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น เอาจริงๆภายในก็คลุ้มคลั่งไม่ต่างจาก Vincent ยิ่งถูกศรีภรรยาโน้มน้าวกล่อมเกลา จิตใจบังเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง

ซึ่งเมื่อพวกเขาเผชิญหน้ากันในอพาร์ทเม้นท์ ราวกับระเบิดเวลาที่ปะทุออก ทั้งขึ้นเสียง ใช้ความรุนแรง ชกต่อยตี เหมือนตั้งใจจะให้อีกฝั่งฝ่ายตกตายไปจริงๆ แต่มันก็แค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้นนะครับ หลังจากนั้น Theo ก็ออกไปปลดปล่อยกับโสเภณี (แต่ Vincent มาถึงจุดที่ไม่มีสิ่งใดระบายความรู้สึกภายในได้อีกแล้ว)


Alexandra London (เกิดปี 1973) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris มีผลงานเรื่องแรก Les Maris, les Femmes, les Amants (1989), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Van Gogh (1991), แต่หลังจากนี้พอมีชื่อเสียงระดับหนึ่งจากทั้งผลงานภาพยนตร์ โทรทัศน์ แต่หลังแต่งงานก็ค่อยๆเลือนลางจางหายไปจากวงการ

รับบท Margueritte Clémentine Elisa Gachet (1869–1949) บุตรสาวของหมอ Paul Gachet ที่ให้การดูแลรักษา Van Gogh ระหว่างพำนับอาศัยอยู่ Auvers-sur-Oise, ด้วยความที่เป็นสาวโสด วันๆว่างๆไม่รู้จะทำอะไร จึงเต็มไปด้วยความระริกระรี้ ชอบสอดรู้สอดเห็น วิพากย์วิจารณ์ภาพวาดตนเองขณะบรรเลงเปียโนอย่างตรงไปตรงมา พยายามเกี้ยวพาราสี Van Gogh เหมือนจะตกหลุมรัก แต่ก็รับรู้ว่าเขาไม่ได้มีใจให้ ยินยอมพลีกายถวายความบริสุทธิ์ สุดท้ายแล้วก็เป็นได้แค่เพื่อนกัน

ปล. สุดท้ายแล้ว Marguerite ก็ไม่เคยแต่งงาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1949

ดั้งเดิมนั้นผู้กำกับ Pialat อยากให้ Sandrine Bonnaire ที่เคยร่วมงาน À Nos Amours (1983) และ Sous le soleil de Satan (1987) มารับบทนี้ แต่เธอกลับบอกปัดน่าจะเพราะติดพันโปรเจคอื่นอยู่ จึงต้องมีการคัดเลือกนักแสดงใหม่

เอาจริงๆผมไม่ค่อยอยากเปรียบเทียบ London กับ Bonnaire แต่มันก็อดไม่ได้ เพราะบทบาท Margueritte แทบไม่แตกต่างจากตัวละครที่ Suzanne และ Mouchette (จริงๆอายุก็ไล่มาด้วยนะ Suzanne-15, Mouchette-16, Margueritte-19) เต็มไปด้วยความระริกระรี้ ใคร่อยากมีเพศสัมพันธ์ ต้องการทำตามเสียงเพรียกเรียกร้องของหัวใจ ขัดแย้งต่อครอบครัว/บริบททางสังคมก็ช่าง

สิ่งแตกต่างระหว่าง Margueritte กับสาวๆคนอื่น คือดูเหมือนว่าเธอจะสนใจแค่ Van Gogh (นั่นเพราะไม่มีบุรุษอื่นใดในละแวกนั้น) พร้อมมอบทุกสิ่งอย่างให้กับเขา แต่นั่นก็สะท้อนความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตนเอง เพราะเมื่อไม่ได้ดั่งคาดหวังก็แสดงอาการเหวี่ยงๆ เกรี้ยวกราด ทั้งรู้ว่าสุดท้ายแล้วคงเป็นได้เพื่อนร่วมหลับนอนเท่านั้น

แน่นอนว่า Margueritte คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Van Gogh ตัดสินใจฆ่าตัวตาย! แม้หลายคนอาจรู้สึกว่าเธอไม่ได้ทำอะไรผิดเสียหน่อย ก็แค่เด็กสาว(อายุ 19)นิสัยแก่นแก้ว พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา ยังบริสุทธิ์ใสซื่อไร้เดียงสา ไม่ได้มีจิตอาฆาตมาดร้าย แต่เราต้องทำความเข้าใจผ่านมุมมองของ Van Gogh ช่วงแรกๆอาจไม่ได้ครุ่นคิดอะไร แต่นานวันเมื่อถูกทับถมด้วยเรื่องร้ายๆ มันเลยเกิดการเหมารวม มิอาจแยกแยะสิ่งบังเกิดขึ้นได้อีกต่อไป

เกร็ด: มีสองภาพที่ Van Gogh วาดให้กับ Marguerite คือ Marguerite Gachet at the Piano (1890) และ Marguerite Gachet in the Garden (1890)

The wall in the background green with orange spots, the carpet red with green spots, the piano dark violet. It’s a figure I enjoyed painting – but it’s difficult.

Van Gogh เขียนจดหมายถึงน้องชาย อธิบายถึงความยากในการวาดภาพ Marguerite Gachet at the Piano (1890)

ถ่ายภาพโดย Emmanuel Machuel (The Rebel (1980) L’Argent (1983), Ossos (1997)) และ Gilles Henry (Hors de prix (2006), Coco (2009)), คาดว่าน่าจะเพราะหนังหยุดพักกองถ่ายหลายเดือน ทำให้ Machuel ติดพันโปรเจคอื่น Henry ที่เป็นผู้ช่วยตากล้องจึงก้าวขึ้นมารับเครดิตถ่ายภาพเป็นครั้งแรก

เมื่อตอนสรรค์สร้าง Under the Sun of Satan (1987) ผู้กำกับ Pialat คงเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เพราะต้องยึดตามต้นฉบับนวนิยาย ปรับเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่นได้แค่นิดๆหน่อยๆ แต่เมื่อกลับมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ในสไตล์ของตนเองเต็มรูปแบบ Van Gogh (1991) จึงราวกับนกที่ได้รับการปลดปล่อยสู่เสรีภาพ โบยบินออกจากกรงคุมขัง ด้วยเหตุนี้จึงเพียงจำลองสร้างสถานการณ์ มีคีย์เวิร์ด/คำบอกใบ้แก่นักแสดง แล้วอยากจะพูดคุยสนทนา แสดงอะไรออกมาก็ตามสบาย … ด้วยเหตุนี้กระมังงบประมาณจึงบานปลายไปไม่น้อยเลยละ!

ใครเคยรับชมภาพยนตร์เกี่ยวกับ Van Gogh แทบทั้งนั้นพยายามนำเสนอการถ่ายภาพให้ออกมามีสัมผัส Impressionist (สอดคล้องยุคสมัย Post-Impressionist) แต่นั่นไม่ใช่ความสนใจสไตล์ผู้กำกับ Pialat ที่มักถูกจัดเข้าพวกความสมจริง ‘Realism’ สังเกตว่าหลายๆช็อตฉากพยายามนำเสนอเหตุการณ์อย่างตรงไปตรงมา ตรงกับสภาพความเป็นจริง ไม่ได้มุ่งเน้นลูกเล่นรายละเอียด (mise-en-scène) แต่มีความเป็นรูปแบบแผนที่ชัดเจน (formalism)

Realism isn’t what’s happening today, or what happened yesterday. When the camera rolls, there’s no present, there’s no past . . . there’s just the moment we’re rolling. You have to get as close as possible to the truth of that instant.

Maurice Pialat

สถานที่ถ่ายทำหลักๆก็คือ Auvers-sur-Oise, Val-d’Oise ชุมชนเล็กๆทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุง Paris (ห่างไปเพียง 27.2 กิโลเมตร), แต่สถานีรถไฟกลับถ่ายทำยัง Gare de Richelieu, Indre-et-Loire ค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศส (เพราะเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่หลงเหลืออยู่ไม่มาก ก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884) และฉากริมชายฝั่งแม่น้ำ Creuse River เลือกบริเวณ Saint-Rémy-sur-Creuse, Vienne (เพราะยังมีความเป็นชนบท ความเจริญยังเข้าไม่ถึง)


ผู้กำกับ Maurice Pialat มารับเชิญ (Cameo) ตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง รอขึ้นขบวนรถไฟ เดินทางไปไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เขากำลังจะสวนทางกับ Vincent van Gogh ที่จักลงมายังสถานีแห่งนี้ Auvers-sur-Oise นี่แอบบอกใบ้เล็กๆว่าตัวเขาและ Van Gogh แม้จะมีอะไรหลายๆอย่างละม้ายคล้ายคลึง แต่ให้ตายฉันก็ไม่วันฆ่าตัวตาย!

ระหว่างกำลังวาดภาพ Wheatfield Under Thunderclouds (1980) ก็ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ดูบ้าๆบอๆ เหมือนสติไม่สมประกอบสักเท่าไหร่ (ในเครดิตเขียนว่า The Idiot) ตรงเข้ามาขอให้ Van Gogh วาดภาพเหมือนของตนเอง เขาเลยทำทรงผมยุ่งๆและให้คาบดอก Cornflower ตั้งชื่อว่า Young Man with Cornflower (1890)

การนำเสนอตัวละครไอ้บ้าคนนี้ แน่นอนว่าต้องการสื่อถึง Van Gogh ที่แม้ภายนอกดูเหมือนคนปกติ แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยความปั่นป่วน ว้าวุ่นวาย คลุ้มบ้าคลั่ง เคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวชมาแล้วด้วยซ้ำ (เมื่อตอนตัดหูซ้ายของตนเอง)

หนังพยายามสร้างใหม่ (re-create) รายละเอียดของภาพวาด Marguerite Gachet at the Piano (1890) โดยให้มีลักษณะใกล้เคียงกับมุมมองที่ Van Gogh รังสรรค์ผลงานชิ้นนี้ออก แต่ระหว่างการทำงานนั้นมักถูกขัดจังหวะ จากหญิงสาวที่มิอาจนั่งอยู่นิ่งเฉย หมอ Paul Gachet มาเชยชมภาพวาด และคนรับใช้ที่เรียกพวกเขาให้ไปรับประทานอาหาร

ไม่จำต้องเป็นศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ หลายๆคนน่าจะเข้าใจอารมณ์นี้เป็นอย่างดี เวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ อยู่ในสถานการณ์เข้าด้ายเข้าเข็ม หรือกำลังมีเพศสัมพันธ์ เมื่อไหร่ถูกใครขัดจังหวะ เคาะประตู เรียกให้มารับประทานอาหาร แม้งโคตรๆๆหงุดหงิดน่ารำคาญชิบหาย! นานๆครั้งยังอาจพออดรนทนไหว แต่ถ้าต้องพบเจอเรื่องพรรค์นี้ทุกๆวี่วัน ไม่แปลกที่ Van Gogh จักกลายเป็นคนคลุ้มบ้าคลั่ง

เอาจริงๆอย่างฉากนี้ ผู้กำกับ Pialat สามารถนำเสนอกระบวนการสรรค์สร้างงานศิลปะของ Van Gogh ตั้งแต่เริ่มจัดองค์ประกอบ ร่างเค้าโครง ลงรายละเอียด แต่งแต้มสีสีสัน แบบเดียวกับโคตรผลงาน La Belle Noiseuse (1991) ของผู้กำกับ Jacques Rivette แต่เพราะหนังไม่ได้ต้องการลงรายละเอียดเกี่ยวกับภาพวาดสักเท่าไหร่ (ประเด็นคืองบประมาณที่จำกัด) เลยมีลักษณะเพียงอุปกรณ์ประกอบฉากหนึ่งเท่านั้น

หลังเสร็จจากวาดภาพ Marguerite Gachet at the Piano (1890) ช็อตนี้คือปฏิกิริยาของ Van Gogh หลังรับฟังเสียงวิพากย์วิจารณ์ของ

  • Marguerite Gachet เต็มไปด้วยคำตำหนิต่อว่า พ่นพิษออกจากปาก ชุดที่ฉันสวมไม่ได้มีลวดลายแบบนี้ บลา บลา บลา
  • ขณะที่หมอ Paul Gachet ก็เต็มไปด้วยคำเยินยอสรรเสริญว่ามีความเหนือล้ำ ใครจะไปติดตามทัน

ดูใบหน้าของ Van Gogh สิครับ หาได้มีความอภิรมณ์เริงใจเลยสักนิด ทั้งคำตำหนิต่อว่าหรือสรรเสริญเยินยอ มันช่างจอมปลอมหลอกลวง เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว หยุดอยู่เงียบๆนิ่งเฉยไม่ได้เลยหรือไร

เท่าที่ผมอ่านชีวประวัติของ Van Gogh เป็นคนผิดหวังในรักบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เพราะครอบครัวไม่ให้การยินยอมรับ ด้วยเหตุนี้เลยต้องหันไปพึ่งพาโสเภณี เพื่อระบายความอึดอั้นออกมา แต่บางครั้งก็ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เมื่อต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล สภาพร่างกาย-จิตใจก็ย่ำแย่ลงทุกวี่วัน … จริงๆทั้งพี่และน้อง Vincent และ Theo ต่างมีรสนิยมเที่ยวโสเภณีคล้ายๆกัน แถมเคยติดโรคซิฟิลิส การแพทย์สมัยนั้นรักษาหายถือว่าโชคดีมากๆ

เวลารับชมหนังที่มีความสัมพันธ์บางอย่างกับกลุ่มเคลื่อนไหว Impressionist (และ Post-Impressionist) ต้องมีฉากคลาสสิกบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ/ทะเลสาป จุดเริ่มต้นน่าจะมาจาก Partie de campagne (1936) ของผู้กำกับ Jean Renoir แต่แรงบันดาลใจมาจากบิดาของตนเอง Pierre-Auguste Renoir ซึ่งเป็นจิตรกร Impressionist ชื่นชอบรังสรรค์ผลงานยังชานเมืองชนบท สถานที่ลักษณะคล้ายๆกันนี้เหลือเกิ้น

ใครเคยรับชม Under the Sun of Satan (1987) มันจะมีฉากหนึ่งที่ตัวละคร Mouchette จู่ๆกรีดร้องลั่นออกมา! ไม่แตกต่างจากชายคนนี้ขณะกำลังให้คำแนะนำวิธีการฆ่าตัวตายแก่ Van Gogh บอกใบ้ถึงเหตุผลที่เลือกยิงตำแหน่งกลางหัวใจ แทนที่จะยัดปากหรือเป่าขมอง (แบบการฆ่าตัวตายทั่วๆไป)

แซว: ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะรับรู้โชคชะตากรรมของ Van Gogh อยู่แล้วนะ แต่ต้องถือว่าฉากนี้ก็คือหนึ่งใน Death Flag บอกใบ้โศกนาฎกรรมที่จักบังเกิดขึ้นตอนจบ

การแสดงระหว่างหลังกิจกรรมรับประทานอาหารกลางวัน ทั้งหมดเหมือนเป็นการดั้นสด แต่ก็ผ่านการครุ่นคิดวางแผนเป็นอย่างดี และมีความสัมพันธ์บางอย่างกับเรื่องราวของหนัง (สัมพันธ์ยังไงก็ลองครุ่นคิดดูเองนะครับ)

  • การแสดงของ Vincent กับ Theo แต่งตัวล้อเลียน Count Henri de Toulouse-Lautrec (1864-1901) จิตรกรร่างเล็ก(คนแคระ)แห่งยุคสมัย Post-Impressionist มีความเชี่ยวชาญการเขียนโปสเตอร์ โด่งดังกับผลงานที่วาดให้ Moulin Rouge, โดยไฮไลท์ของการแสดงชุดนี้คือการเปิดโชว์ไส้กรอก (อวัยวะเพศ)
    • แซว: Toulouse-Lautrec (และหลายๆผลงานศิลปะ)แอบโผล่มาตอนปาร์ตี้ช่วงท้ายด้วยนะครับ
  • การแสดงของหมอ Paul Gachet ประกอบด้วย
    • ในตอนแรกกล่าวว่าตนเองเป็น King of Beggars แล้วเปรียบเปรยถึงชายหลังค่อม Quasimodo จากนวนิยาย The Hunchback of Notre-Dame (1831) ประพันธ์โดย Victor Hugo
    • ใช้เนคไทด์พันใบหน้าให้แลดูเหมือนอูฐ
    • ตามด้วยคนแคระภูเขา แล้วกระโดดขี่ไม้กวาดกลายเป็นนางแม่มด
  • สาวๆขับร้องประสานเสียงบทเพลง Le Temps des cerises (แปลว่า The Time of Cherries)

ในฝรั่งเศสจะมีคำเรียกร้านลักษณะนี้ว่า Guinguette หมายถึงร้านนั่งดื่มภายนอกอาคาร(มักบริเวณริมน้ำ)ที่สามารถลุกขึ้นมาโยกเต้น มักอยู่ตามต่างจังหวัดหรือชานเมืองกรุง Paris แต่สังเกตว่าร้านแห่งนี้มีเพียงรั้วไม้และโต๊ะเก้าอี้ไม่กี่ตัว อย่างตามมีตามเกิด นั่นเพราะหนังไม่มีงบประมาณสำหรับสร้างฉากนี้ขึ้นมา T_T

ผมคาดคิดว่าความตั้งใจจริงของผู้กำกับ Pialat อาจต้องการสร้างฉากร้านนั่งดื่ม Guinguette ที่เลียนแบบภาพวาดของ Van Gogh ชื่อว่า La Guinguette (1886) หรือไม่ก็อีกภาพวาดโด่งดังของ Pierre-Auguste Renoir ชื่อว่า Luncheon of the Boating Party (1881) … คือผมรู้สึกว่าภาพของ Renoir ดูเหมาะสมกับสถานที่ริมน้ำมากกว่า

นี่เป็นอีก Death Flag บอกใบ้ถึงเหตุผลที่ Van Gogh อาจตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย พูดบอกกับ Jo (ภรรยาของ Theo) ว่าไม่ต้องการเป็นภาระน้องชาย

I tell you, it can’t go on. Things must change. Listen to me: I don’t want my brother’s death on my conscience. He can’t die for my smudges that’ll never be worth a cent. No, I say that things will change. I must do something. Theo, you and the baby can’t go on this way.

Vincent van Gogh

เมื่อพูดจบก็เดินตรงไปยังเรือ ถอดเสื้อคลุม แล้วกระโดดลงน้ำ คนส่วนใหญ่อาจมองว่านั่นคือพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ แต่เห็นว่าคือความตั้งใจจริงๆของ Vincent ต้องการจบชีวิตเพื่อให้ Theo (และ Jo) หมดสิ้นภาระต่อตนเอง … แต่เพราะเขาได้รับการช่วยเหลือรอดชีวิต จึงต้องแสร้งว่าเหมือนละเล่นสนุกๆก็เท่านั้น

โดยปกติแล้ว Van Gogh จะเดินทางไปยังสถานที่จริง แต่ช็อตนี้กลับกำลังวาดภาพ Wheat Fields at Auvers Under Clouded Sky (1890) ภายในห้องเช่าโรงแรม ห้อมล้อมรอบด้วยผนังกำแพง ราวกับต้องการสื่อถึงภาพแห่งจินตนาการ สรวงสวรรค์ที่อยากให้เป็น

Marguerite Gachet in the Garden (1890) เป็นภาพที่แสดงถึงบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลาย ชีวิตดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย

ในช่วงปีสุดท้ายของ Van Gogh มีหลายผลงานที่วาดภาพทุ่งข้าวสาลี อาทิ Wheatfield Under Thunderclouds, Field with Wheat Stacks, Landscape near Auvers: Wheatfields, Wheatfields: The Plain of Auvers, Peasant Woman Against a Background of Wheat, Landscape at Auvers in the Rain ฯลฯ เลยไม่น่าแปลกใจที่จะมีช็อตถ่ายทำยังทุ่งข้าวสาลี สถานที่ราวกับสรวงสวรรค์แห่งสุดท้าย

แต่น่าสนใจที่สุดคือภาพวาดที่เชื่อกันว่าคือผลงานสุดท้าย Wheatfield with Crows (1890) เพราะการปรากฎขึ้นของอีกาสีดำ สัญลักษณ์ของสิ่งชั่วร้าย บอกใบ้ถึงความตาย จุดสิ้นสุดกำลังมาเยี่ยมเยือน … แต่หนังไม่ได้นำเสนอภาพนี้นะครับ แค่อยากพูดถึงเฉยๆ

Van Gogh วาดสองภาพ Portrait of Doctor Gachet (1890) ที่มีความแตกต่างกันพอสมควร (ฝั่งซ้ายคือภาพหนึ่ง, ฝั่งขวาคือภาพสอง) ซึ่งหมอ Paul Gachet ตัดสินใจเลือกภาพสอง แต่ภาพหนึ่งเคยได้รับการประมูลเมื่อปี ค.ศ. 1990 ราคาสูงถึง $82.5 ล้านเหรียญ (เทียบค่าเงินปี 2022 = $171.1 ล้านเหรียญ) ถือเป็นภาพวาดราคาแพงที่สุดขณะนั้น!

I’ve done the portrait of M. Gachet with a melancholy expression, which might well seem like a grimace to those who see it… Sad but gentle, yet clear and intelligent, that is how many portraits ought to be done… There are modern heads that may be looked at for a long time, and that may perhaps be looked back on with longing a hundred years later.

คำอธิบายของ Vincent van Gogh ต่อภาพวาด Portrait of Doctor Gachet (1890)

แซว: ช็อตนี้ยังมีหลบซ่อนอีกภาพวาด Self-portrait (1889) ก็คือหนึ่งใน 32 ภาพเหมือนของ Van Gogh ตลอดระยะเวลา 10 ปี ด้วยการส่องกระจกเงา (เพราะไม่ค่อยใครยอมเป็นแบบ ก็เลยวาดตนเองนี่แหละ) วาดขึ้นตอนอาศัย Saint-Rémy-de-Provence แล้วนำติดตัวมายัง Auvers-sur-Oise เพื่อเป็นตัวแบบอย่างให้หมอ Paul Gachet เห็นว่าภาพเหมือนของเขาจะออกมาในลักษณะไหน … เชื่อกันว่าน่าจะคือเป็นภาพเหมือนสุดท้ายของ Van Gogh เลยได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน กระมัง!

You will need to study [the picture] for a time. I hope you will notice that my facial expressions have become much calmer, although my eyes have the same insecure look as before, or so it appears to me.

Vincent van Gogh กล่าวถึงภาพวาด Self-portrait (1889) ในจดหมายเขียนถึง Theo van Gogh

อยู่ดีไม่ว่าดี ลูกมือของ Van Gogh ทำการแต่งแต้มลงสีสันภาพวาด Bank of the Oise at Auvers (1890) ต้องการปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่นให้สอดคล้องเข้ากับวิสัยทัศน์ตนเอง … สื่อถึงการถูกรุกราน คุกคาม บุคคลภายนอกล้ำเข้ามาในโลกของ Van Gogh ทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว เกิดความเกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง!

การกระทำดังกล่าวชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ที่มักถูกเซนเซอร์ หรือโดนโปรดิวเซอร์/สตูดิโอนำไปตัดต่อเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่น โดยไม่ขอคำปรึกษาผู้กำกับ มันคือการทำลายเลือดเนื้อเชื้อไข หยาดเหงื่อแรงกายของผู้สร้าง หาใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสม ไม่รู้จักกาลเทศะเลยสักนิด!

Almond Blossoms (1890) คือภาพที่ Van Gogh มอบให้กับ Jo หลังคลอดบุตรชาย เพราะเธออยู่ในช่วงอยู่ไฟ ยังไม่สามารถเดินทางออกไปไหน เมื่อพบเห็นภาพนี้จักสร้างความรู้สึกพักผ่อนคลาย ได้แรงบันดาลใจมาจากดอกอัลมอนด์ที่ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อถึงเวลาของมันก็จะแรกแย้ม เบิกบาน ผลิดอกออกผล (ให้เรารับประทานเอร็ดอร่อย)

How glad I was when the news came… I should have greatly preferred him to call the boy after Father, of whom I have been thinking so much these days, instead of after me; but seeing it has now been done, I started right away to make a picture for him, to hang in their bedroom, big branches of white almond blossom against a blue sky.

Vincent van Gogh เขียนในจดหมายถึงแรงบันดาลใจภาพวาด Almond Blossoms (1890)

แต่หลังจาก Vincent เดินทางมาเยี่ยมเยียน Theo และ Jo เมื่อเกิดการโต้เถียงเกี่ยวกับการขายผลงานให้นักวิจารณ์ เขาจึงนำนกสองตัวปักลงในภาพวาด (อันนี้หนังสร้างเรื่องขึ้นเองนะครับ ไม่มีหลักฐานว่าภาพนี้มีร่องรอยความเสียหายประการใด) ถ้ามองผิวเผินการกระทำดังกล่าวเหมือนทำให้ภาพวาดดูมีชีวิต กลายเป็นสามมิติ แต่ผมมองว่าคือสัญลักษณ์ของการทำลายภาพวาด/ความสัมพันธ์ แถมมีนกสองตัวสีขาว-ดำ จะมองว่าคือพี่น้อง Vincent-Theo หรือคู่ Theo-Jo ก็ได้ทั้งนั้น

เกร็ด: ในความเป็นจริงแล้วกุหลาบไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของวาเลนไทน์ แต่ชาวคริสต์นิยมมอบให้กันเพื่อแสดงถึงมิตรภาพและการแบ่งปันน้ำใจ, ซึ่งสัญลักษณ์แท้จริงนั้นคือดอกอัลมอนด์สีชมพู บ้างว่า Julia บุตรสาวผู้คุมเรือนจำมอบให้ Saint Valentine วันถูกตัดสินประหารชีวิต 14 กุมภาพันธ์ อีกปรัมปราบอกว่าเธอปลูกดอกอัลมอนด์สีชมพูไว้ข้างๆหลุมฝังศพ

ในห้องของ Theo เต็มไปด้วยภาพวาด (ก็แน่ละ เขาเป็นพ่อค้างานศิลปะ) ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานยุคแรกๆของ Vincent พวกดอกไม้ ผลไม้ หรืออย่างภาพนี้ Quinces, Lemons, Pears and Grapes (1887)

อีกสองภาพที่วางบนพื้นคือ Portrait of François Trabuc (1889) และ Pieta (after Delacroix) (1889) วาดขึ้นตอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช St Paul Hospital

หนังไม่ได้ระบุสถานที่ที่ Vincent เดินทางมาปาร์ตี้หลังมีเรื่องโต้เถียงกับ Theo แต่สังเกตจากตัวประกอบที่มีหน้าตาละม้ายคล้าย Count Henri de Toulouse-Lautrec และภาพวาด At the Moulin Rouge (1890) ผมว่ามันก็ชัดเจนอยู่นะว่าสถานที่แห่งนี้ก็คือ Moulin Rouge แถมได้ยินบทเพลงชาติ Offenbach: Cancan ด้วยนะ!

ซึ่งบทเพลง Cancan และท่าเต้นกระโดดเตะสูง ดังขึ้นพอดิบพอดีกับ Van Gogh กำลังร่วมรัก Marguerite นั่นสร้างความงอนตุ๊บป่องให้โสเภณีขาประจำ (แต่เธอก็ยังยินยอมร่วมรักกับเขาอีกครั้งสุดท้าย หลังเดินทางกลับสู่ Auvers-sur-Oise)

เมื่อกลับมายัง Auvers-sur-Oise จักพบเห็น Van Gogh ทำกิจวัตรต่างๆอย่างปกติทั่วไป แต่ทั้งหมดนี้คือการเตรียมความพร้อมก่อนลาจากโลกนี้ไป ทำความสะอาดอุปกรณ์ จัดเก็บพู่กัน เพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย อาบน้ำ โกนหนวด แล้วตัดไปหลังยิงตัวตาย แต่กลับไม่โดนหัวใจ

แซว: ระหว่างที่กำลังจัดเก็บพู่กัน ไอ้บ้าก็นำภาพวาด Young Man with Cornflower (1890) ไม่รู้ต้องการอะไร แต่สามารถสื่อถึงสิ่งที่ Van Gogh กำลังจะทำต่อไป มีความคลุ้มบ้าคลั่ง เหมือนคนสติแตก

จะมีอยู่ขณะหนึ่งที่ Van Gogh แสดงออกเหมือนว่าอาการกำลังดีขึ้น ล่อหลอกใครต่อใคร(รวมถึงผู้ชม)แช่มชื้นใจ แต่อีกไม่กี่เสี้ยววินาทีถัดมากลับพบว่านอนแน่นิ่ง หมดสิ้นลมหายใจ (ท่านอนขดตัวแม้เห็นไม่ชัดนัก แต่ก็แลดูเหมือนทารกในครรภ์ สัญลักษณ์ของความตาย=การถือกำเนิดใหม่) มุมกล้องช็อตนี้ดูไม่มีอะไร แต่กลับมอบความรู้สึกเวิ้งว่างเปล่า หมดสิ้นหวังอาลัย ไร้ความน่าประทับใจใดๆหลงเหลืออยู่ … จิตรกรที่สรรค์สร้างผลงานโลกตะลึง แต่กลับเสียชีวิตอย่างธรรมดาๆ สามัญชนทั่วๆไป

ผมสังเกตว่าความตายของ Van Gogh เพียงบรรยากาศทะมึนๆ สีหน้าเหน็ดเหนื่อย แต่กลับไม่มีใครร่ำร้องไห้ แสดงอาการสูญเสียใจออกมา ถึงอย่างนั้นจู่ๆกลับเกิดเหตุการณ์ภรรยาเจ้าของห้องเช่าแห่งนี้ กรีดร้องลั่นจากการถูกประตูหนีบเท้า สามารถสื่อถึงอาการเจ็บปวดภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ แทนความรู้สึกที่ไม่ใครสามารถเปิดเผยออกมา … เพราะร่างกายได้รับบาดเจ็บ พบเห็นรอยแผล สามารถรักษาพยาบาล แต่ความชอกช้ำภายในจิตใจ ไม่มีใครมองเห็น และไร้หนทางรักษาหาย

มีศิลปิน/จิตรกรมากมายที่เดินทางมาท่องเที่ยว พักอาศัยอยู่ยัง Auvers-sur-Oise แต่โด่งดังที่สุดนั้นคือ Vincent van Gogh น่าจะเพราะเสียชีวิตและมีสุสานอยู่ในเมืองแห่งนี้ โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญสำหรับคนรุ่นใหม่ๆ มองหาแรงบันดาลใจ เติมเต็มความฝันที่จะได้อยู่ใกล้ชิดศิลปินคนโปรด

หนังไม่ได้นำเสนอว่าชายคนนี้คือใคร ผมก็ดูไม่ออกว่าภาพวาดอะไร แต่เราสามารถตีความถึงคนรุ่นใหม่ที่ได้รับอิทธิพล แรงบันดาลใจ เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไป

ช็อตสุดท้ายและคำพูดของ Marguerite ราวกับเอ่ยออกมาจากปากผู้กำกับ Pialat ความเป็นเพื่อนไม่ได้หมายถึงต้องเคยพบเจอ รับรู้จัก หรือมีความสนิทสนม แต่คือสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกัน มีบางสิ่งอย่างเหมือนกัน สามารถเข้าใจกันและกัน … ซึ่งก็คือการที่ผู้กำกับ Pialat สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ รับรู้จัก Vincent van Gogh ราวกับเพื่อนแท้ๆของตนเอง

ตัดต่อโดย Yann Dedet (เกิดปี 1946) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ The Bride Wore Black (1968), แล้วกลายเป็นขาประจำ François Truffaut ตั้งแต่ Two English Girls (1971), ส่วนผู้กำกับ Maurice Pialat เริ่มที่ผลงาน Loulou (1980) จนถึง Van Gogh (1991)

หนังดำเนินเรื่องด้วยการติดตามตัวละคร Vincent van Gogh ในช่วงระยะเวลา 67 วันสุดท้าย ตั้งแต่เดินทางมาถึงยัง Auvers-sur-Oise พบเจอผู้คนหลากหลาย ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย รวมถึงถูกเกี้ยวพาราสีจาก Marguerite แต่ปมขัดแย้งจากอดีต สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ได้ยินเสียงวิพากย์วิจารณ์เสียๆหายๆ จนครุ่นคิดว่าใครต่อใครอาฆาตมาดร้าย เกิดการโต้เถียงขัดแย้งอย่างรุนแรงกับน้องชาย Theo จนในที่สุดตัดสินใจกระทำการอัตวินิบาตกรรม

  • องก์หนึ่ง: ช่วงเวลาแห่งความสุขของ Van Gogh
    • Van Gogh เดินทางมาถึง Auvers-sur-Oise แนะนำสถานที่ ตัวละครต่างๆ
    • การทำงานของ Van Gogh วาดภาพ Marguerite Gachet at the Piano
    • Marguerite พยายามเกี้ยวพาราสี Van Gogh ยินยอมพลีกายถวายความบริสุทธิ์
    • การมาถึงของ Theo ช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน เฮฮาปาร์ตี้ จากบ้านของหมอ Paul Gachet ไปต่อยังร้านริมแม่น้ำ
  • องก์สอง: ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ของ Van Gogh
    • หวนกลับสู่วิถีประจำวันอันน่าเบื่อหน่าย โลกความเป็นจริงที่แสนโหดร้าย เสียงวิพากย์วิจารณ์ยังพออดรนทนไหว แต่การแต่งแต้มลงสีภาพวาดของตนเอง นั่นสร้างความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง ล้ำเส้นเกินไป!
    • Marguerite พยายามหาเวลามาพรอดรัก Van Gogh แม้ถูกบิดากีดกั้นขวางความสัมพันธ์
    • เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับ Theo จนมีเรื่องชกต่อย ใช้ความรุนแรง
  • องก์สาม: การตัดสินใจของ Van Gogh
    • ปาร์ตี้สุดเหวี่ยงครั้งสุดท้ายของ Van Gogh (เหมือนตั้งใจให้เป็นงานเลี้ยงร่ำลา)
    • เดินทางกลับ Auvers-sur-Oise ในสภาพเหนื่อยอ่อนล้า แล้วจัดแจงเตรียมพร้อมจะฆ่าตัวตาย
    • แต่กระสุนกลับเฉี่ยวหัวใจ ไม่กล้าพอจะยิงซ้ำอีกนัด เลยต้องนอนซมซานอยู่บนเตียงจนกระทั่งหมดสิ้นลมหายใจ

หลายคนอาจรู้สึกว่าหนัง 158 นาที มีความเยิ่นยาวเกินไปนิด แต่ผมรู้สึกว่ามันพอดิบพอดีเอามากๆ เพราะเป็นการให้เวลาผู้ชมได้ซึมซับ เข้าใจความรู้สึกของ Van Gogh พบเห็นพัฒนาการทางอารมณ์ที่ค่อยๆสะสมความเกรี้ยวกราด ทวีความรุนแรงจนถึงระดับคลุ้มบ้าคลั่ง กระทั่งปะทุระเบิดเมื่อเผชิญหน้ากับ Theo จากนั้นลากยาวๆกับปาร์ตี้ครั้งสุดท้าย และเมื่อจัดแจงทุกสิ่งอย่างเสร็จสิ้นก็ถึงเวลาร่ำจากลา


หนังไม่มีเพลงประกอบนะครับ ทั้งหมดที่ได้ยินล้วนเป็น ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากการขับร้องประสานเสียง บรรเลงเปียโน เล่น-เต้นในผับบาร์และ Guinguette (คำเรียกร้านนั่งดื่มภายนอกอาคารที่สามารถลุกขึ้นมาโยกเต้น ตามต่างจังหวัดหรือชานเมืองกรุง Paris)

หลายคนอาจคุ้นเคยแต่บทเพลงสำหรับสร้างบรรยากาศ หรือสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ตัวละคร แต่แนวทางผู้กำกับ Pialat ต้องการสร้างความสมจริง ‘realism’ จึงไม่ได้มีความรู้สึกใดๆซุกซ่อนเร้น แค่เพียงความสัมพันธ์บางอย่างกับเรื่องราว หรือเหตุการณ์ขณะนั้นๆ

ขอพูดถึงบทเพลงที่ผมรู้สึกประทับใจมากที่สุดก่อนแล้วกัน (เพราะหามาให้รับฟังไม่ได้) คือขณะนักเปียโนได้แรงบันดาลใจจากภาพวาด Almond Blossoms (1890) ซึ่งบทเพลงที่บรรเลงมอบสัมผัส Impressionist (กลิ่นอายละม้ายคล้าย Claude Debussy อยู่เล็กๆ) มีความงดงาม แรกแย้ม ผลิดอกออกผล จุดเริ่มต้นชีวิตช่างเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก


Le Temps des cerises (แปลว่า The Time of Cherries) เป็นบทเพลงที่ผมหลงเข้าใจผิดมานาน เพราะเคยได้ยินแต่ฉบับขับร้องโดย Yves Montand แต่แท้จริงแล้วแต่งทำนองโดย Antoine Renard, คำร้องโดย Jean-Baptiste Clément ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1866 เพื่อเป็นบทเพลงของคณะปฏิวัติ (Revolutionary Song) โดยใช้ดอกซากูระคือสัญลักษณ์ของชีวิตที่จะเบ่งบานสะพรั่ง หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบทางการเมือง

ฉบับของ Yves Montand บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี 1957 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเนื้อคำร้องนิดๆหน่อยๆ จนได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม(น่าจะที่สุดของเพลงนี้แล้วนะ)

ในหนังเป็นการขับร้องประสานเสียงโดย Marguerite พร้อมบรรดาสาวใช้ ในกิจกรรมหลังรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งเนื้อคำร้องสอดคล้องช่วงเวลาแห่งความสุขของ Van Gogh เต็มไปด้วยความสนุกหรรษา เหมือนดอกซากูระกำลังเบ่งบานสะพรั่ง … ก่อนร่วงหล่นโรยราในอีกไม่กี่วันถัดมา (ดอกซากูระ คือตัวแทนฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่)

คำร้องภาษาฝรั่งเศสคำแปลภาษาอังกฤษ
Quand nous chanterons le temps des cerises,
Et gai rossignol, et merle moqueur
Seront tous en fête !
Les belles auront la folie en tête
Et les amoureux du soleil au coeur !
Quand nous chanterons le temps des cerises
Sifflera bien mieux le merle moqueur !

Mais il est bien court, le temps des cerises
Où l’on s’en va deux cueillir en rêvant
Des pendants d’oreilles…
Cerises d’amour aux robes pareilles,
Tombant sous la feuille en gouttes de sang…
Mais il est bien court, le temps des cerises,
Pendants de corail qu’on cueille en rêvant !

Quand vous en serez au temps des cerises,
Si vous avez peur des chagrins d’amour,
Evitez les belles !
Moi qui ne crains pas les peines cruelles
Je ne vivrai pas sans souffrir un jour…
Quand vous en serez au temps des cerises
Vous aurez aussi des chagrins d’amour !

J’aimerai toujours le temps des cerises,
C’est de ce temps-là que je garde au coeur
Une plaie ouverte !
Et dame Fortune, en m’étant offerte
Ne saurait jamais calmer ma douleur…
J’aimerai toujours le temps des cerises
Et le souvenir que je garde au coeur!
When we sing the season of cherries,
Cheerful nightingale and mocking blackbird
Will all celebrate!
Pretty girls will be madly happy
And lovers will have sun in the heart!
When we sing the cherries season
The mocking blackbird will whistle !

But how short is the season of cherries
When people, dreaming two by two,
Go gather earrings…
Cherries of love with the same dresses,
Falling under the leaves like blood drops
But how short is the season of cherries,
When dreaming people gather coral earrings !

When the season of cherries is here,
If you are afraid of heartaches,
Avoid the pretty girls !
If I am not afraid of cruel sorrow
I won’t live without suffering…
When the season of cherries is here
You will have heartaches too!

I will forever love the season of cherries,
As I keep from this time
An open wound in the heart!
If Lady Fortune is given to me,
She will never know how to soothe my pain…
I will forever love the season of cherries
And the memory I keep in my heart!

ระหว่างกำลังร้อง-เล่น-เต้นยังร้านอาหาร Guinguette ริมแม่น้ำ Paul Gachet ร้องขอให้ครูสอนเปียโนขับร้องบทเพลงจากอุปรากรสามองก์ Lakmé (1883) ประพันธ์โดย Léo Delibes (1836-1891) คีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส แห่งยุคสมัย Romantic Era

พระลักษมี (Lakshmi) คือเทวีแห่งความมั่งคั่ง โชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง เป็นพระมเหสีและศักติ(พลัง)ของพระวิษณุ ถือเป็นหนึ่งในสามเทวี (ตรีเทวี) ประกอบด้วยพระลักษมี, พระปารวตี, พระสรัสวตี นอกจากการนับถือในศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบการบูชาในศาสนาเชน, พุทธแบบทิเบต และเนปาล

ตามตำนานของฮินดู เชื่อกันว่าพระลักษมีเกิดจากการกวนมหาสมุทรเมื่อครั้งสร้างโลก (กวนเกษียรสมุทร) และได้รับเลือกจากพระวิษณุเป็นพระสวามีนิรันดร์, เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นพระสีดา, เมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็อวตารเป็นพระราธา หรือพระรุกมิณี, ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็นพระแม่ธรณี, ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็นพระนางกมลา เป็นต้น ซึ่งตามบันทึกอินเดียโบราณ จักถือให้สตรีทั้งปวงคือรูปแปลงของพระลักษมี การสมรสและความสัมพันธ์เชิงสามี-ภรรยา สามารถสื่อถึงพระลักษมีและพระวิษณุ

เรื่องราวของอุปรากรนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพระลักษมีที่เป็นพระมเหสีของพระวิษณุ แต่ใช้ชื่อของพระองค์สำหรับเสียดสีล้อเลียนแนวคิดรักนิรันดร์ (การล้อเลียนความเชื่อ วัฒนธรรม ถือเป็นเรื่องปกติสามัญของพวกประเทศผู้ล่าอาณานิคม) โดยให้หญิงสาวชื่อลักษมีตกหลุมรักนายทหารหนุ่มชาวอังกฤษ Gérald แต่จากกันไม่ทันไร จิตใจของเขาก็เปลี่ยนแปลงไป เธอจึงตัดสินใจเข่นฆ่าตัวตายด้วยการรับประทานดอกลำโพง (ที่เป็นยาพิษ)

หนึ่งใน Aria ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของอุปรากรนี้ชื่อว่า Bell Song (L’Air des clochettes) ฉบับในหนังขับร้องโดย Claudine Ducret, ดังขึ้นระหว่างองก์สอง ลักษมีถูกบิดาบังคับขับร้องบทเพลงนี้ เพื่อเรียกให้ Gérald เปิดเผยตนเองออกมา … จะว่าไปเรื่องราวของอุปรากรสอดคล้องความสัมพันธ์ระหว่าง Van Gogh กับ Marguerite เว้นเพียงตอนจบที่กลับตารปัตรบุคคลกระทำอัตวินิบาต

เกร็ด: บทเพลงนี้ยังเคยถูกใช้ในภาพยนตร์ Florence Foster Jenkins (2016)

คำร้องภาษาฝรั่งเศสคำแปลภาษาอังกฤษ
Ou va la jeune Indoue,
Filles des Parias,

Quand la lune se joue,
Dans le grand mimosas?
Elle court sur la mousse
Et ne se souvient pas

Que partout on repousse
L’enfant des parias;
Le long des lauriers roses,
Revant de douce choses, Ah!

Elle passe sans bruit
Et riant a la nuit.
Labas dans la foret plus sombre,
Quel est ce voyageur perdu?
Autour de lui
Des yeux brillent dans l’ombre,

Il marche encore au hasard, e perdu!
Les fauves rugissent de joie,
Ils vont se jeter sur leur proie,

Le jeune fille accourt
Et brave leur fureurs:

Elle a dans sa main la baguette
ou tinte la clochette des charmeurs! enchanter!
L’etranger la regarde,
Elle reste eblouie.
Il est plus beau que les Rajahs!
Il rougira, s’il sait qu’il doit
La vie a la fille des Parias.
Mais lui, l’endormant dans un reve,
Jusque dans le ciel il l’enleve,
En lui disant: ‘ta place et la!’
C’etait Vishnu, fils de Brahma!
Depuis ce jour au fond de bois,
Le voyageur entend parfois
Le bruit leger de la baguette
Ou tinte la clochette des charmeurs!
Where goes the young Indian girl,
daughter of the pariahs,

When the moon it plays,
On the tall mimosa trees?
She runs over the moss
And she doesn’t remember

That everywhere is shunned
The child of the pariahs;
Past the pink laurels,
Dreaming of sweet things, Ah!

She passes without noise
And smiles(laughs) at the night.
Over there in the forest more dark,
Who is the traveller, lost?
All around him
The eyes shine in the shadows,

He wanders on bewildered and lost!
The wild beasts roar with pleasure,
They go to pounce(jump) on their prey,

The young girl runs up
And braves their fury:

She has in her hand the wand
Where tinkle the bells of the enchanter!
The stranger looks at her,
She stands dazzled.
He is more beautiful than all the Rahjas!
He will blush, if he realizes(knows) that he owes
His life to the daughter of pariahs.
But he, lulling her to sleep in a dream,
He transports her to heaven,
And telling her: ‘your place is there!’
It was Vishnu, son of Brahma!
Since that day in the depths of the forest,
The traveller may sometimes hear
The faint sound of the wand
Where tinkle the bells of the enchanter!

สำหรับ Closing Song คือบทเพลง Symphony No. 2 (1942) ประพันธ์โดย Arthur Honegger (1892-1955) คีตกวีชาว Swiss แต่เกิดและเติบโตที่ฝรั่งเศส คือหนึ่งในสมาชิก Les Six เคยร่วมงานประพันธ์เพลงประกอบละครเวทีของ Jean Cocteau ช่วงระหว่าง 1924-27, เมื่อปี 1937 ได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ Symphony No. 2 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบสิบปีก่อตั้ง Basler Kammerorchester แต่ล่าช้ากว่ากำหนดเพราะการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง

บทเพลงนี้มีทั้งหมด 3 Movement ที่นำมาใช้ในหนังคือท่อนสาม Vivace non troppo เต็มไปด้วยเครื่องสายกรีดกรายอย่างสับสนวุ่นวาย จนกระทั่งการมาถึงของเสียงโซโล่ทรัมเป็ต ราวกับแสงสว่างแห่งความหวังปรากฎขึ้นปลายอุโมงค์ … ซึ่งหนังก็ใช้เมโลดี้ของทรัมเป็ต คือบทสรุปของภาพยนตร์เรื่องนี้

แซว: ได้ยินบทเพลงนี้ทำให้ผมระลึกนึกถึงโคตรคีตกวีชาวรัสเซีย Sergei Prokofiev เป็นท่วงทำนองมีความละม้ายคล้ายที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ Alexander Nevsky (1938)

เมื่อครุ่นคิดถึง Vincent van Gogh คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพวาดสวยๆ ‘Impressionist’ พริ้วไหวเหมือนสายลม สร้างความเคลิบเคลิ้มผ่อนคลาย ล่องลอยไปสู่สรวงสวรรค์ ด้วยลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ พบเห็นเพียงครั้งเดียวก็จดจำสไตล์ลายเซ็นต์ได้โดยทันที! แต่ใครต่อใครมักไม่ค่อยตระหนักรับรู้ กว่าจะมาเป็นภาพหรูๆเช่นนี้ สภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจของจิตรกร เต็มไปด้วยความสับสนว้าวุ่นวายสักเพียงใด … ผมเพิ่งมาตระหนักว่า Van Gogh ไม่แตกต่างจาก Robin Williams ทั้งสองต่างสร้างสีสันให้กับโลกใบนี้ แต่พวกเขาเองกลับจมปลักอยู่ในความมืดมิด เมื่อมิอาจอดรนทนไหวจึงตัดสินใจกระทำอัตวินิบาต

เอาจริงๆไม่มีใครตอบได้หรอกว่า Van Gogh ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะอะไร? หนังเรื่องนี้ก็ไม่พยายามให้คำตอบที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เต็มไปด้วยความคลุมเคลือ แล้วแต่’มุมมอง’ของผู้รับชม เท่าที่ผมสามารถสังเกตเห็นประกอบด้วย

  • Marguerite Gachet หญิงสาวที่ภายนอกมีความละอ่อนเยาว์วัย สวยใสไร้เดียงสา พยายามยัดเยียดตนเองเข้ามา เกี้ยวพาราสีให้เขาตกหลุมรัก แต่ไม่ว่าจะพลีกายถวายความบริสุทธิ์ คนที่ไม่ใช่ก็คือคนที่ไม่ใช่! รวมกับคำพูดตรงไปตรงมา ชอบวิพากย์วิจารณ์ ถากถางโน่นนี่นั่น ไม่เคยครุ่นคิดถึงหัวอกคนอื่น เห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง(ในมุมของ Van Gogh) เธอจึงแปรสภาพสู่ความอัปลักษณ์ น่าขยะแขยง มิอาจอดรนทนได้อีกต่อไป
  • หมอ Paul Gachet เป็นคนยึดถือมั่นในขนบกฎกรอบ องค์ความรู้ที่เคยร่ำเรียนมา ปากอ้างว่าตนเองคือเสรีชน กลับปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างบุตรสาวกับ Van Gogh ซึ่งเมื่อรับฟังคำพูดเสียดสีถากถาง ก็แสดงความหัวสูงเย่อหยิ่ง (ทั้งๆที่ตัวเองก็เป็นหมอ กลับไม่พยายามทำความเข้าใจคนไข้)
  • น้องชาย Theo แม้ให้ความอุปถัมภ์พี่ชาย แต่กลับไม่ยินยอมขายผลงานศิลปะ จนเกิดความเข้าใจผิด มีเรื่องทะเลาะเบาะแจ้งบ่อยครั้ง แถมสันดานธาตุแท้ของภรรยา Jo เป็นคนหน้าไหว้หลักหลอก กลับกลอกปลอกลอก สนเพียงเงินๆทองๆ ความสุขสบายในชีวิตตนเอง
  • เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก Van Gogh เคยถูกส่งไปโรงเรียนประจำ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้รู้สึกเหมือนโดนทอดทิ้ง ไม่ได้รับความรักจากครอบครัว แถมมารดายังเคยเผาทำลายภาพวาดของเขา
  • นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Van Gogh มิอาจอดรนทนต่อเสียงวิพากย์วิจารณ์ การเปรียบเทียบกับผลงานผู้อื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีใครพยายามเข้ามายุ่งวุ่นวายกับภาพวาดของตนเอง นั่นถือเป็นสิ่งเกินเลยเถิด สร้างความเกรี้ยวกราดอย่างรุนแรง
  • แม้แต่โสเภณีเคยพรอดรัก เกี้ยวพาราสี ในค่ำคืนต้องการมากที่สุด เธอกลับตอบปัดปฏิเสธ (เพราะอิจฉาริษยาที่เขามากับ Marguerite) นั่นทำให้ Van Gogh รู้สึกเหมือนสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ไม่หลงเหลืออะไรอีกแล้วในชีวิต

มันยังมีอีกเยอะเลยนะครับ แต่ผมคงไม่สามารถร่ายออกมาทั้งหมด! ถ้ามองหาจุดร่วมคือการที่ Van Gogh มิอาจอดรนทนต่อคำวิพากย์วิจารณ์ เสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ ไม่มีใครที่เขารับรู้จักแสดงความบริสุทธิ์จริงใจ ทุกคนล้วนกลับกลอกปอกลอก หน้าไหว้หลังหลอก ภายนอกสร้างภาพแสดงออกให้ดูดี แต่จิตใจกลับซุกซ่อนเร้นความโฉดชั่วร้าย … นี่ทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Age of Innocence (1993) ภาพยนตร์ที่มีความรุนแรงเหี้ยมโหดร้ายที่สุดของ Martin Scorsese ทั้งๆไม่มีฉากต่อสู้ เข่นฆ่า แต่ภายนอกดูสวยหรูระยิบระยับ จิตใจมนุษย์กลับมีเพียงความเลือดเย็นชา

ใครเคยรับชมหลายๆผลงานของผู้กำกับ Pialat น่าจะมักคุ้นการนำเสนอสภาพสังคม(อย่างตรงไปตรงมา ‘realist’)ที่มีความเหี้ยมโหดร้าย เต็มไปด้วยภยันตราย บางเรื่องนำไปสู่ความตาย/โศกนาฎกรรมของตัวละคร เพราะมิอาจอดรนทนต่อวิถีโลกยุคสมัยใหม่ จิตใจมนุษย์ปรับเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นต่าง เพื่อให้สามารถเอาชีพรอด จำต้องกลับกลอกปอกลอก สร้างภาพภายนอกให้ดูดี ใครอ่อนแอก็พ่ายแพ้ภัย

บั้นปลายชีวิตของ Van Gogh สามารถเป็นบทเรียนให้ศิลปิน จิตรกร บรรดานักสรรค์สร้างงานศิลปะทั้งหลาย ศัตรูคู่กายของพวกคุณก็คือผู้ชม นักวิจารณ์ ความคิดเห็นก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษภัย สำหรับเป็นบทเรียนแก้ไขปรับปรุงพัฒนา แต่ถ้าเก็บมาหมกมุ่นครุ่นยึดติด อาจทำให้จิตใจจมปลักอยู่ในความมืดมิด

จริงๆแล้วมันมีอยู่สองวิธีการแก้ปัญหา ถ้าไม่หลบลี้หนีหน้าไปให้ไกล (แต่ก็ไม่มีทางที่ใครไหนจะสามารถเอาตัวรอดพ้นโชคชะตากรรม) ก็ต้องเลือกเผชิญหน้าต่อสู้ ซึ่งวิธีการของผู้กำกับ Pialat คือพร้อมโต้ตอบกลับ ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ ยิ่งถูกด่าฉันต้องเข้มแข็งแกร่ง เอาอารมณ์เกรี้ยวกราดโกรธเคียดแค้นมาเป็นเชื้อเพลิงในการสรรค์สร้างผลงาน ระบายความรู้สึกอึดอั้นอั้น ถ่ายสิ่งปฏิกูลที่มีมูลค่ามากมายมหาศาล

Van Gogh (1991) อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น ไม่เชิงว่าเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติ Vincent van Gogh แต่คือผู้กำกับ Maurice Pialat หลังเคยได้รับประสบการณ์เสียงเห่าหอนจากผู้ชม/นักวิจารณ์ น่าจะครั้งรุนแรงสุดในชีวิตเมื่อครั้น Under the Sun of Satan (1987) สรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้เพื่อเป็นการเอาคืน โต้ตอบกลับ เปิดเผยสันดานธาตุแท้ ความโฉดชั่วร้ายของโลกใบนี้


ในช่วงแรกๆที่ผมเริ่มให้ความสนใจงานศิลปะ ก็เคยชื่นชอบหลงใหล Van Gogh เพราะความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ มอบสัมผัสบางอย่างเมื่อรับเชยชม แต่หลังจากเรียนรู้จักผลงานศิลปินคนอื่นๆ ศึกษายุคสมัยอื่นๆ เข้าใจความลุ่มลึกซึ้งของงานศิลปะ เมื่อหวนกลับมาหา Van Gogh ทำให้ผมสังเกตเห็นความอัปลักษณ์ ‘สวยแต่รูป จูบไม่หอม’ ข้างหลังภาพ/ชีวิตของจิตรกรคนนี้ มันช่างขัดย้อนแย้งกับ(ความงดงามของ)ภาพวาดโดยสิ้นเชิง!

ภาพวาดของ Van Gogh เหมือนจะไม่ใช่’ความประทับใจ’ของเขาต่อสิ่งพบเห็น แต่คือจินตนาการถึงโลกใบนี้ที่อยากให้เป็น ดินแดนแห่งความสงบสุข นิจนิรันดร์ ไม่ใช่สายน้ำที่เคลื่อนไหว หรือจิตใจมนุษย์ผันแปรเปลี่ยน แค่นั่งนิ่งๆยังมิอาจอยู่เฉย เลยเต็มไปด้วยข้อสงสัย แสดงความคิดเห็นวิพากย์วิจารณ์ ต้องฆ่าให้ตายก่อนหรืออย่างไร?

มองอีกมุมหนึ่งภาพวาดของ Van Gogh ไม่ต่างจากพายุมรสุม ให้ความรู้สึกเหมือนมีการเคลื่อนเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถสะท้อนมุมมองและสภาวะทางจิตใจ(ของ Van Gogh) ที่เต็มไปด้วยความสับสนว้าวุ่นวาย โลกใบนี้ช่างเต็มไปด้วยความขัดแย้ง อารมณ์ที่ผันแปรเปลี่ยน มิอาจสงบอยู่นิ่งแม้เพียงเสี้ยววินาที

ที่บรรยายมานี้คือมุมมองของผมเองเมื่อได้ศึกษาภาพวาดของ Van Gogh มาสักระยะเวลาหนึ่ง จากเคยมีความชื่นชอบประทับใจ ตอนนี้กลายเป็น Post-Impressionist (หลังประทับใจ)ไปเรียบร้อยแล้วละ … ถ้านับเฉพาะยุคสมัย Impressionism ปัจจุบันโดยส่วนตัวคลั่งไคล้ Claude Monet และ Pierre-Auguste Renoir มากกว่ามากๆๆ

ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวของผู้กำกับ Pialat ว่าผลงาน Van Gogh เหมาะสำหรับมือใหม่ในวงการศิลปะ (และบุคคลทั่วๆไป) สำหรับบังเกิดความแรกประทับใจ ‘first impression’ แต่เมื่อโลกทัศน์ของคุณเปิดกว้างมากขึ้น พบเห็นความหลากหลายศิลปิน หลากหลายยุคสมัย ไม่แปลกที่มุมมองคนเราจะเปลี่ยนแปลงไป … เหมือนกับภาพยนตร์ที่เคยเป็นเรื่องโปรด พอเราเติบโตขึ้น มีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น หลายปีถัดมาก็อาจไม่ได้ชื่นชอบคลั่งไคล้อีกต่อไป


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้ได้รับการยืนปรบมืออยู่หลายนาที แต่เสียงตอบรับกลับถูกโจมตีจากสื่อ (ก็แน่ละ หนังที่วิพากย์วิจารณ์การทำงานของสื่อ สำนักพิมพ์ไหนจะอยากเขียนบทความส่งเสริมสนับสนุน!) ผลลัพท์เลยไม่ได้คว้ารางวัลใดๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าปีนั้นสายแข็งจริงๆ Barton Fink (1991) ** คว้า Palme d’Or, La Belle Noiseuse (1991), Europa (1991), The Double Life of Véronique (1991)

ด้วยทุนสร้าง 60 ล้านฟรังก์ (ประมาณ $12,000 เหรียญ) เกินกว่างบประมาณตั้งไว้ 40 ล้านฟรังก์ แต่ยอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสสูงถึง 1.4 ล้านใบ ดูแล้วน่าจะทำกำไรได้พอสมควร เลยได้เข้าชิง César Awards หลายสาขาทีเดียว คว้ามาเพียง Best Actor (Jacques Dutronc)

  • Best Film
  • Best Director
  • Best Actor (Jacques Dutronc) ** คว้ารางวัล
  • Best Supporting Actor (Bernard Le Coq)
  • Best Supporting Actor (Gérard Séty)
  • Most Promising Actress (Alexandra London)
  • Most Promising Actress (Elsa Zylberstein)
  • Best Screenplay, Original or Adaptation
  • Best Cinematography
  • Best Production Design
  • Best Costume Design
  • Best Sound

หนังได้รับการบูรณะเมื่อปี 2013 คุณภาพ 2K จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดยบริษัท Eureka! เป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์ ‘Masters of Cinema’ พร้อมบทสัมภาษณ์ ฉากตัดออกไป และสารคดีสั้น Van Gogh (1965) หารับชมออนไลน์ได้ทาง Amazon Prime (ยังไม่เห็นมีใน Criterion นะครับ)


ในฐานะที่ผมเป็นนักวิจารณ์ ก็รับรู้ตัวเองนะว่าหลายๆบทความโจมตีผู้สร้างภาพยนตร์อย่างรุนแรง แต่ทั้งหมดที่เขียนไปคือการแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่จะมีชอบ-ไม่ชอบ ชื่นชม-ด่าทอ ก็แค่เสียงเห่าหอนดั่งสำนวน ‘หมาเห่าใบตองแห้ง’ มันอยู่ที่ตัวคุณเองจะเลือกรับฟัง-ปิดกั้น เก็บมาหมกมุ่นครุ่นยึดติด-ปล่อยละวางช่างหัวมัน เรื่องพรรค์นี้ไม่มีถูก-ผิด คือกฎของธรรมชาติ เข้มแข็งกว่าคือผู้ชนะ อ่อนแอก็พ่ายแพ้ไป

แต่มันก็เป็นกฎแห่งกรรมนะครับ เพราะเมื่อเราวิพากย์วิจารณ์ผู้อื่น ใครต่อใครก็สามารถโต้ตอบกลับเราได้เช่นกัน เขียนไม่รู้เรื่อง ดูเหมือนยังเข้าไม่ถึงหนัง สิ่งที่ผมทำก็เพียงน้อมรับและเงียบงัน “หมาเห่า อย่าเห่าตอบ เพราะจะทำให้มีหมาเพิ่มอีกหนึ่งตัว” ตามคำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

เหตุผลที่ผมทำ raremeat.blog ไม่ต่างจาก Van Gogh สรรค์สร้างผลงานศิลปะ คืออารมณ์ศิลปินที่ต้องการเข้าถึงศาสตร์ภาพยนตร์ ย้อนกลับไปอ่านบทความปีแรกๆ แม้งเขียนอะไรว่ะ? กว่าจะพัฒนาการมาถึงจุดนี้พานผ่านอะไรๆมามากจริงๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีโอกาสหวนกลับไปปรับปรุงบทความเก่าๆเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับโชคชะตา ถ้าฟ้าลิขิต

แม้ผ่านมาหลายปี raremeat.blog ก็ยังไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมากมาย แต่ผมไม่คาดหวังว่าเมื่อถึงจุดสิ้นสุด กาลเวลาเคลื่อนพานผ่านไป บล็อคนี้จะกลายเป็นแบบผลงานศิลปะของ Van Gogh ที่ได้รับกระแสคัลต์ติดตามมา ขอแค่ว่าถ้าใครหลงเข้ามาอ่านได้รับความรู้กลับไป เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แค่นั่นก็เพียงพอใจแล้วละ

แนะนำคอหนังดราม่า ไม่เชิงว่าเป็นชีวประวัติ Vincent van Gogh แต่ถ้าคุณเป็นศิลปิน จิตรกร สรรค์สร้างผลงานศิลปะ/ภาพยนตร์ หรือทำงานด้านสื่อ นักวิจารณ์ บอกเลยว่าห้ามพลาดเลยละ!

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศตึงเครียด พฤติกรรมบ้าคลั่ง โสเภณี และการกระทำอัตวินิบาต

คำโปรย | เป็นศิลปินต้องอดทน! บทเรียนของ Van Gogh ทำให้ผู้กำกับ Maurice Pialat และนักแสดงนำ Jacques Dutronc มีภูมิต้านทานเอาชีพรอดในสังคม
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตกหลุมรัก


Van Gogh (1991) French : Maurice Pialat ♥♥♥◊

(22/5/2016) 67 วันสุดท้ายของชีวิตจิตรกรเอก Vincent van Gogh เกิดอะไรขึ้นในจิตใจของเขา เรื่องราว การดำเนินชีวิต ถ่ายทอดออกมาในสไตล์หนังฝรั่งเศส โดยผู้กำกับ Maurice Pialat นำแสดงโดย Jacques Dutronc ชายผู้หน้าตาไม่เหมือน Van Gogh สักนิด แต่การแสดงของเขากินขาด

Van Gogh Trilogy เรื่องสุดท้ายนี้ เป็นหนังที่ดูยากเรื่องหนึ่ง กับคนที่ไม่ชินสไตล์หนังของฝรั่งเศสคงจะทนดูหนังเรื่องนี้ได้ไม่นานนัก มันช่างเรื่อยเปื่อย เล่าเรื่องไปเรื่อยๆ ใครดูตอนง่วงๆคงหลับสบาย นี่เป็นเหตุผลที่ผมแนะนำให้ดู Lust for Life หรือ Vincent & Theo ก่อนหนังเรื่องนี้นะครับ เพราะคุณจะได้เข้าใจว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในช่วงปลายๆชีวิตของ Van Gogh การได้ทำความเข้าใจมาก่อนนั้น จะทำให้คุณมองหาความสัมพันธ์ระหว่างหนัง รู้แล้วว่าตอนจบเกิดอะไรขึ้นกับ Van Gogh ไม่ต้องทำความเข้าใจอีก ทำให้สามารถซึมซับบรรยากาศและประเด็นของหนังได้อย่างเต็มที่, มันอาจมีหลายสิ่งที่ดูน่าหงุดหงิด เช่น นักแสดงนำหน้าไม่เหมือน Van Gogh เลยสักนิด ถ้าเรามองข้ามสิ่งที่อยู่ภายนอก ก็จะเห็นความสวยงามที่อยู่ภายใน, Van Gogh Trilogy ผมชอบหนังเรื่องนี้ที่สุดนะครับ

ผู้กำกับ Maurice Pialat ชาวฝรั่งเศส น้อยคนอาจจะรู้จัก แต่เขาเคยได้ Palme d’Or จากหนังเรื่อง Under the Sun of Satan (1987) ถือว่าเป็นผู้กำกับที่ควรรู้จักไว้, ยุคของ Pilate ไม่ใช่ French New Wave นะครับ เป็นยุคต่อมาที่เรียกว่า New French Extremity หรือ Extremism ขึ้นชื่อเรื่องการนำเสนอความรุนแรงจากแนวคิด การกระทำ Sexual, Violence ที่ส่งผลต่อจิตวิทยาของตัวละคร, สไตล์ของ Pialat มีคนเรียกเขาว่าเป็น realist หรือ Neorealism ลัทธินี้มักมีประเด็นสังคม อ้างอิงประวัติศาสตร์ หรือต่อตัวบุคคลแฝงอยู่, หนังเรื่อง Van Gogh ถือว่าเข้าข่าย Neorealism นะครับ มันมีใจความอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ชีวประวัติเพียงอย่างเดียว หนังยังสอดแทรกประเด็นทางสังคม วิถีชีวิต การคิดที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อจิตใจ มีอิทธิพลต่อการตายของ Van Gogh ด้วย

นำแสดงโดย Jacques Dutronc อาชีพหลักของเขาเป็นนักร้อง นักกีตาร์ มารับงานแสดงบ้าง, Dutronc เป็น Van Gogh ที่หน้าตา ภาพลักษณ์ภายนอกไม่เหมือน Van Gogh สักนิด และเขาก็ไม่พยายามทำตัวให้เหมือนด้วย ขนาดหูขอตัวละครนี้ยังไม่ขาดเลยนะครับ (เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจาก Van Gogh ตัดหูตัวเอง), กับคนที่ทำใจดูไม่ได้เพราะความที่ Dutronc หน้าไม่เหมือน Van Gogh เลย ผมแนะนำให้มองเขาเป็นตัวละครอื่นไปนะครับ ที่บังเอิญชื่อ Vincent van Gogh อย่าไปไปยึดติดกับภาพลักษณ์ของ Kirk Douglas ใน Lust for Life ให้มากนัก ผมว่านี่อาจเป็นความจงใจของผู้กำกับ ที่เลือก Dutronc เพราะเขาหน้าไม่เหมือน Kirk Douglas หรือ Tim Roth เพื่อเป็นการลบภาพความทรงจำของผู้ชมต่อภาพลักษณ์นั้น บอกว่าหนังเรื่องนี้ไม่เหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆที่เคยสร้างมา

Theo van Gogh รับบทโดย Bernard Le Coq นักแสดงสมทบชื่อดังของฝรั่งเศส, บท Theo ในหนังเรื่องนี้ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ บทน้อยที่สุดใน Van Gogh Trilogy เลย แต่ Theo เวอร์ชั่นนี้ จับต้องได้ที่สุดแล้ว เขาเข้าใจ Vincent แม้มีเรื่องขัดแย้ง โต้ถกเถียง ใช้กำลังความรุนแรง แต่ก็สามารถโอบกอดให้อภัย … ผิดกับแฟนสาว Jo เต็มไปด้วยความหน้าไหว้หลังหลอก เลวร้ายพอๆกับ Vincent & Theo 

Dr.Gachet รับบทโดย Gérard Séty หมอและจิตแพทย์คนสุดท้ายที่ดูแล Van Gogh ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ตัวละครนี้ใน Van Gogh Trilogy เรื่องอื่นแทบจะไม่มีความสำคัญอะไรเลย ปรากฏตัวนะครับแต่บทไม่เด่น กับหนังเรื่องนี้ เขาเป็นคนสำคัญ ในบริบทหนัง ผมรู้สึกว่า Dr.Gachet เป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่ทำให้ Van Gogh ฆ่าตัวตาย, เหมือนเขารู้มาตั้งแต่ต้นแล้วว่า อาการของ Van Gogh ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่หลายครั้งก็ทำเหมือนเป็นเพราะเขาที่ทำให้ Van Gogh อาการดีขึ้น, หมอคนนี้อาจจะเก่งจริง แต่ไม่ใช่เขาแน่นอนที่ทำให้อาการของ Van Gogh ดีขึ้น

ลูกสาวของ Dr.Gachet ต่างหากที่ทำให้อาการของ Van Gogh ดีขึ้น นำแสดงโดย Alexandra London รับบทเป็น Marguerite เด็กหญิงอายุ 16-17 ที่ไม่รู้ไปทำยังไงถึงตกหลุมรัก Van Gogh ได้ อาจเพราะภาพวาดของเขาถูกใจเธอ, Van Gogh ไม่ใช่คนที่สามารถรับผิดชอบอะไรได้ ขนาดเงินที่เลี้ยงดูตนเองยังต้องพึ่ง Theo อยู่ตลอด แน่นอนว่าเขาไม่เหมาะกับเธอ แต่ก็ไม่มีกะจิตกะใจ ไม่มีอะไรที่หักห้ามใจไม่ให้ทำในสิ่งที่ เด็กหญิงเรียกร้องได้, ผมไม่คิดว่า Vincent จะตกหลุมหลงรักเธอหรอกนะ ในหนังเราจะเห็น Vincent มีผู้หญิงมาพัวพันมากมาย โสเภณีที่เป็นคู่ขา, Sex ถือว่าไม่ใช่ปัญหาของ Van Gogh จิตใจของเขามีสิ่งอื่นที่เลวร้ายกว่านั้นแฝงอยู่ เด็กหญิงไม่มีทางรับรู้และเข้าใจได้ เพราะเธอยังอ่อนต่อโลก และ Van Gogh ก็แก่เกินไป ไม่มีทางที่รักครั้งนี้จะสมหวัง

ว่าไปหนังเรื่องนี้ สาวๆ บทเด่นกันหลายคนเลย ท่าทางก็ยั่วยวน แต่งตัวล่อตาล่อใจเหลือเกิน นี่แหละครับผู้กำกับในยุค New French Extremity พวกเขาโจ๋งครึ่มเรื่องพวกนี้มากๆ Sex, ความรุนแรง ถูกถ่ายทอดลงมาในหนัง คงเพราะผู้กำกับยุคนี้เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเติบโตขึ้นในช่วงสงครามเย็น โลกยุคนั้นมันฟ่อนเฟะ ราวกับ The End of the World คล้ายๆกับ German New Wave แบบหนังของ Wim Wenders แต่ Germany กับ France ถือว่าต่างกันคนละขั้ว เพราะฝ่ายหนึ่งแพ้สงคราม ฝ่ายหนึ่งชนะสงคราม

ถ่ายภาพโดย Gilles Henry และ Emmanuel Machuel สไตล์การถ่ายภาพถือว่าต่างกับ Lust for Life สุดขั้วเลย แทนที่จะให้กล้องเคลื่อนไหวจนเกิดความรู้สึก หนังใช้การตั้งกล้องทิ้งไว้ เน้นถ่าย mid-shot ให้ตัวละครเดินเข้าออก พูดคุย แสดงออกมาภายในรัศมีของกล้อง สไตล์แบบนี้คือ realist นะครับ เน้นถ่ายทอดความสมจริง ให้ดูมีความเป็นธรรมชาติ จับต้องได้ การตั้งกล้องไว้เฉยๆเหมือนการตั้งกรอบของภาพไว้ แล้วถ่ายการกระทำของนักแสดง

ใครเคยดู A Sunday in the Country (1984) จะรู้สึกกลิ่นอายบางอย่างของหนังสองเรื่องนี้คล้ายกันมากๆ ผู้กำกับคงได้แรงบันดาลใจจากหนังของ Bertrand Tavernier มาพอสมควร โดยเฉพาะบ้าน เมือง ฉากหลัง ผู้คน คงเพราะเป็นหนังฝรั่งเศสเหมือนกัน กลิ่นอาย อะไรหลายๆอย่างคงคล้ายกัน

ตัดต่อโดย Yann Dedet, Nathalie Hubert และ Hélène Viard เอาจริงๆผมแอบหงุดหงิด sex scene ของหนังเรื่องนี้นะ แบบว่ากำลังจะเข้าด้ายเข้าเข็มแล้ว ตัดฟับ กระโดดข้ามไปตอนเสร็จแล้วเลย ไม่รู้ติดกองเซนเซอร์หรือยังไง หรือเพราะผู้กำกับคิดว่ามันไม่มีความสำคัญอะไรที่จะต้องนำเสนอ, การทำแบบนี้ทรมานใจคนดูนะครับ คือเราได้เห็นตัวละครเปลือยทั้งที แต่เต็มที่ก็จูบกอด มันเหมือนว่าผู้กำกับถ่าย love scene ไว้ แต่เก็บไว้ดูคนเดียว ไม่ยอมเอามาใส่ในหนัง!, มีหลายฉากที่ใช้การตัดต่อห้วนๆ คืออยากจะจบซีนก็ตัดเปลี่ยนไปที่อื่นทันทีเลย หรือตัวละครอยากจะทำอะไรอยู่ดีๆก็ทำเลย เช่นตอนกระโดดน้ำ อยู่ดีๆพูดขึ้นมาลอยๆ วินาทีถัดมาเดินขึ้นเรือกระโดดน้ำทันที, อาการปุปปับแบบนี้ คงสื่อถึง Van Gogh ด้วยนะครับ ในเวอร์ชั่นนี้การกระทำของเขาแทบทุกอย่างก็ปุปปับแบบนี้ อยู่ดีๆก็ทำ อยู่ดีๆจะตายก็ตาย ไม่ทันตั้งตัวอะไรทั้งนั้น

หนังแนว realist ไม่มีเพลงประกอบหนังนะครับ เว้นกับฉากที่มีเครื่องเสียง วิทยุ เต้นรำ วงดนตรี ที่มันชัดอยู่แล้วว่าต้องมีเพลงบรรเลง ซึ่งส่วนใหญ่ทำนองก็จะคุ้นหู เคยได้ยิน ได้รู้จักกันมาบ้าง

60 กว่าวันสุดท้ายในชีวิตของ Van Gogh เริ่มต้นลงจากรถไฟสถานี Auvers-sur-Oise เขาก็ดูปกติเหมือนคนทั่วไป มีสุขมีทุกข์ มียิ้มมีหัวเราะ ทำอะไรติ๊งต๊อง น่าขายหน้าเยอะแยะ ทีแบบนี้ทำได้ ผมยังกระด้างใจอายแทนเลย นักแสดงกล้าทำอะไรบ้าๆแบบนี้ได้ยังไง, ดูเหมือนภาพรวมจิตใจของ Van Gogh จะดีขึ้น แต่ที่ไหนได้ภาพเหล่านี้มันก็แค่ผิวหน้า สิ่งที่อยู่ข้างในใจของเขากลับไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย เปรียบเหมือนระเบิดเวลาที่ดึงสลักออกแล้ว รอตัวกระตุ้นสุดท้ายก่อนที่จะระเบิดออกมา, ในหนังมีหลายจุดมากๆที่เป็นชนวนทำให้ข้างในของ Van Gogh ระเบิดออกมา เราจะเห็นว่า Van Gogh ซื้อปืนตั้งแต่ตอนต้นๆเรื่อง ได้มาแล้วก็ยังไม่กล้าใช้ แสดงว่ายังมีช่องว่าง ความลังเล มุมหนึ่งเขาคงอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย แต่จิตใจขณะวาดรูปมันทำให้เขาเห็นโลกที่มีความแตกต่าง ระหว่างความฝันกับความจริง, สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากๆคือตอนที่ Van Gogh ถูกยิง มันอยู่ดีๆ ตัดมาถึงเลย ไม่ทันตั้งตัว เห้ย! เอ็งไปโดนอะไรมา ปืนลั่นไก, ยิงตัวตาย, หรือโดนลูกหลง หนังไม่บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น รู้ว่าถูกยิง เดินมาเลือดอาบ นี่เป็นฉากที่เคารพ Van Gogh มากๆ ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องเห็นขณะที่เกิดขึ้น แค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

ในบริบทการวิเคราะห์จิตใจของคนที่กำลังจะฆ่าตัวตาย ผมรู้สึกหดหู่ตลอดทั้งเรื่อง เพราะเรารู้อยู่ในใจว่า Van Gogh จะต้องพยายามฆ่าตัวตายในตอนจบ ระหว่างนั้นก็มีหลายฉากที่เขาพยายามจะฆ่าตัวตาย ถึงมันไม่สำเร็จแต่ก็ใจหวิวๆ กลายเป็นภาพหลอนติดตา เห้ย! เอ็งมีปัญหาทางจิตอะไรรุนแรงขนาดนั้นว่ะ!, จิตใจของ Van Gogh ในหนังเรื่องนี้ ไม่เหมือนเด็กเรียกร้องความสนใจแบบ Lust for Life แล้ว มันมีความซับซ้อนมากกว่านั้น ผู้คน สังคม การใช้ชีวิต การวาดรูป อะไรก็ไม่รู้หลายอย่างมันสุมรวมๆกันเข้ามา คงเพราะเทคนิคการเล่าเรื่องที่ให้นักแสดงเล่นออกมาเป็นธรรมชาติที่สุด แบบนี้ทำให้เรารู้สึกว่าตัวละครมีมิติลึกล้ำซับซ้อน มองไม่เข้าใจว่าข้างในเขาคิดอะไร รู้สึกอย่างไร นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่าหนังเรื่อง Van Gogh ยอดเยี่ยมกว่า Lust for Life มากๆ และเป็นจุดที่ผมชอบมากกว่าด้วย คือเราสัมผัสได้ถึงความซับซ้อนในจิตใจ พยายามทำความเข้าใจแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น, จิตใจของมนุษย์ซับซ้อนมากนะครับ และหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดออกมาจนสัมผัสได้

หนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับเด็ก จัดเรตที่ 15+ ถ้านี่ไม่ใช่ชีวประวัติของจิตรกรเอกของโลก หนังเรื่องนี้จะคือเรื่องราว จิตใจของชายคนหนึ่งก่อนจะฆ่าตัวตาย แน่นอนไม่เหมาะกับเด็ก หนังไม่ได้ขายงานศิลปะ แนวคิด แรงบันดาลใจหรือผลงาน ผมแนะนำเหมาะกับคนที่เรียนหมอ นักจิตวิทยา จิตวิเคราะห์ คงสนุกไม่น้อยกับการคิดว่าเกิดอะไรขึ้นข้างในจิตใจของตัวละคร คนที่จะดูหนังรู้เรื่อง ต้องมีประสบการณ์ดูหนังพอสมควรด้วยนะครับ

TAGLINE | “ถึงหน้าตาของ Jacques Dutronc จะไม่ได้คล้าย Vincent van Gogh เลย แต่เราต้องมองลึกเข้าไปข้างใน จะเห็นความสวยงามที่สลับซับซ้อนในหนังของ Maurice Pialat เรื่องนี้”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
0 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Best of Painter & Artist Films | RAREMEAT BLOG Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…]  Van Gogh (1991)  : Maurice Pialat ♥♥♥◊ 67 วันสุดท้ายของชีวิตจิตรกรเอก Vincent van Gogh เกิดอะไรขึ้นในจิตใจของเขา เรื่องราว การดำเนินชีวิต ถ่ายทอดออกมาในสไตล์หนังฝรั่งเศส โดยผู้กำกับ Maurice Pialat นำแสดงโดย Jacques Dutronc ชายผู้หน้าตาไม่เหมือน Van Gogh สักนิด แต่การแสดงของเขากินขาด […]

%d bloggers like this: