
In Spring (1929)
: Mikhail Kaufman ♥♥♥♥♡
Mikhail Kaufman คือน้องชายของ Dziga Vertov เคยเป็นตากล้องถ่ายทำ Man with a Movie Camera (1929) แต่เพราะความครุ่นคิดเห็นแตกต่าง เลยแยกตัวออกมาสรรค์สร้าง In Spiring (1929) ร้อยเรียงภาพการมาถึงของฤดูไม้ผลิ ณ กรุง Kyiv, Ukraine ได้อย่างงดงาม บริสุทธิ์ (Cinéma Pur)
ระหว่างที่ผมกำลังด้อมๆมองๆ ครุ่นคิดอยากเขียนถึงภาพยนตร์อีกสักเรื่องของ Dziga Vertov (ชื่อจริงๆ Denis Kaufman) แต่กลับมาค้นพบเจอ In Spring (1929) ผลงานของน้องชายแท้ๆ Mikhail Kaufman คะแนนจากเว็บ imdb.com สูงถึง 7.6 แถมได้รับยกย่อง “Masterpieces of the Ukrainian Avant-Garde” เลยเกิดความสนอกสนใจอย่างมากๆ
ทีแรกผมเกือบจะล้มเลิกความตั้งใจ เพราะไม่สามารถค้นหาคลิปหนังที่มีซับไตเติ้ล (ก็กลัวจะดูไม่รู้เรื่อง) แต่ไม่รู้คิดยังไงลองเปิดแบบผ่านๆ ก่อนเกิดความเอะใจ เหมือนไม่พบเห็น Title Card/Intertitles หรือว่าใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพทั้งหมด???
I wanted to make a film that was purely visual. I wanted the audience to experience the film through their eyes, without any words to get in the way. I believe that images can tell a story just as well as words, and sometimes even better.
Mikhail Kaufman
มีหนังเงียบน้อยเรื่องมากๆที่โอบรับแนวคิด Cinéma Pur (หรือ Pure Cinema) ใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพ-ตัดต่อ โดยแทบไม่มีการปรากฎขึ้นของข้อความ (Title Card/Intertitles) นั่นเองทำให้ผมมีความชื่นชอบหลงใหล In Spring (1929) แถมสิ่งที่หนังนำเสนอสร้างความรู้สึกเพลิดเพลิน บรรยากาศผ่อนคลาย แอบฉงนสงสัยทำไมไม่มีใครลองนำเอา Vivaldi: Four Season มาทำเพลงประกอบพื้นหลัง
Mikhail Abelovich Kaufman (1897-1980) ผู้กำกับ/ตากล้องชาวรัสเซีย เกิดที่ Białystok, Grodno Governorate ส่วนหนึ่งของ Russian Empire (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) ในครอบครัวเชื้อสาว Jews มีศักดิ์เป็นน้องชาย Dziga Vertov (Denis Kaufman) และเป็นพี่ของ Boris Kaufman, ภายหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมือง Russian Civil War (1917-23) เดินทางสู่ Moscow ทำงานกับพี่ชายเป็นตากล้อง Newsreel เริ่มจากซีรีย์ Kino-Pravda (1922), A Sixth Part of the World (1926), Man with a Movie Camera (1929)
ช่วงระหว่างสรรค์สร้าง Man with a Movie Camera (1929) เป็นครั้งแรกที่สองพี่น้อง Michael Kaufman และ Dziga Vertov เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นแตกต่าง Kaufman ไม่เข้าใจวิธีการทำงาน ‘experimental film’ ที่ไร้ระเบียบแบบแผน ไม่มีโครงสร้างดำเนินเรื่อง เพียงนำฟุตเทจต่างๆมาปะติดปะต่อกันเท่านั้น
I wanted Denis [Dziga Vertov] to make a more traditional documentary film. I thought that the film would be more accessible to a general audience if it had a more traditional narrative structure. I also thought that the film would be more effective if it focused on the Soviet Union’s economic and industrial progress.
Michael Kaufman
I wanted to make a more experimental film that would use montage and other techniques to create a new kind of cinema. I thought that the film would be more powerful if it was abstract and poetic. I also thought that the film would be more relevant to the Soviet people if it focused on everyday life and the arts.
Dziga Vertov
ด้วยมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้ Kaufman หลังเสร็จจาก Man with a Movie Camera (1929) ตัดสินใจแยกตัวออกมาเพื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์สารคดีที่ตอบสนองแนวคิด วิสัยทัศน์ส่วนตน ซึ่งขณะนั้นเกิดความสนใจบันทึกภาพวิถีธรรมชาติ จิตวิญญาณมนุษย์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูกาล ระหว่างการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ
I was inspired to make In Spring by the beauty of the natural world and the power of the human spirit. I wanted to create a film that would capture the essence of springtime and the hope that comes with a new season. I also wanted to make a film that would celebrate the human spirit and its ability to overcome adversity.
Michael Kaufman
สำหรับสถานที่ถ่ายทำ ณ กรุง Kyiv ขณะนั้นคือส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันยังก้ำๆกึ่งๆ แก่งแย่งไปมาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน) เหตุผลในการเลือกเพราะเป็นเมืองที่สวยงาม มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เต็มไปด้วยผู้คน เอ่อล้นด้วยจิตวิญญาณ
I chose to film In Spring in Kyiv because it is a beautiful city with a rich history. I wanted to capture the beauty of the city and the spirit of the people who live there. Kyiv is also a city that is full of life, and I wanted to capture that energy on film.
แรงบันดาลใจของ In Spring (1929) ไม่ใช่แค่อิทธิพลจากภาพยนตร์ของพี่ชาย Dziga Vertov แต่ผกก. Kaufman ยังเล่าว่าชื่นชอบประทับใจ Nanook of the North (1922) ของ Robert J. Flaherty สารคดีที่บันทึกภาพวิถีชีวิตผู้คน ความเป็นจริงของโลกใบนี้ ต้องการผสมผสานแนวคิดของทั้ง Vertov และ Flaherty เข้าด้วยกัน
I admired their use of documentary techniques to capture the real world, and I wanted to use those techniques to make a film that would be both informative and entertaining. Vertov’s Man with a Movie Camera was a groundbreaking film that used montage and other techniques to create a new kind of cinema. Flaherty’s Nanook of the North was a beautifully made film that captured the life of an Inuit family.
I wanted to make a film that was as innovative as Man with a Movie Camera and as beautifully made as Nanook of the North.
แม้ว่าหนังจะไม่มีปรากฎขึ้นข้อความ Title Card/Intertitles แต่สำหรับคนช่างสังเกตจะสามารถแบ่งแยกแยะ จัดหมวดหมู่ชุดภาพเหตุการณ์ เริ่มจากสภาพอากาศหนาวเหน็บ (Winter) หิมะขาวโพลน พอแสงอาทิตย์สาดส่อง น้ำแข็งก็เริ่มละลาย กลายเป็นสายน้ำ ไหลท่วมเอ่อนอง ช่วยกันซ่อมแซมสิ่งสึกหรอ ในที่สุดก็มาถึงฤดูกาลใหม่ ใบไม้ผลิบาน (Spring) ทั้งมนุษย์และสรรพสัตว์ หวนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ในคำอธิบายหนังของผกก. Kaufman จะมีการแบ่งโครงสร้างออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน (แต่อย่างที่บอกไปว่า จะไม่มีข้อความขึ้นชี้นำใดๆ ให้อิสระผู้ชมในการสังเกต ครุ่นคิด ทำความเข้าใจด้วยตนเอง) ประกอบด้วย At the Turn, Spring Vexation, Life, National Holidays และ Spring is Coming
บางคนอาจจะแบ่งหนังออกเป็นแค่สามส่วน ประกอบด้วย
- นำเสนอภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจากฤดูหนาวสู่ใบไม้ผลิ หิมะละลาย กลายเป็นสายน้ำ ไหลท่วมเอ่อนอง ช่วยกันซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาวะปกติ จะมีการร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต กิจวัตรของผู้คน สรรพสัตว์ทั้งหลาย สถานที่สำคัญๆ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล สวนสาธารณะ ฯ
- ส่วนสุดท้ายคือร้อยเรียงภาพการทำกิจกรรม ปิคนิก เล่นกีฬา โชว์การแสดง ฯ ยังสถานที่สาธารณะ สร้างความบันเทิง ช่วงเวลาพักผ่อนคลาย และปิดท้ายด้วยเครื่องบินพุ่งทะยานขึ้นบนฟากฟ้า
เทคนิคการถ่ายภาพของหนังอาจไม่ได้มีเทคนิคแพรวพราวเหมือน Man with a Movie Camera (1929) แต่ก็มีมุมมอง ‘วิสัยทัศน์’ หลากหลายลูกเล่นที่ดูแปลกตา เรียกได้ว่าเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ ภาพถ่ายจากเครื่องบิน (Bird Eye View), Stop-Motion, Split-Screen, มุมเอียง (Dutch Angle), ภาพสะท้อนพื้นผิวน้ำ ฯ
Cinema is an illusion. Therefore, it is important to always to remember that we do not copy life, we create an image of reality, and all the techniques, nuances, effects in shooting serve to create that image. I used telephotography emphasizing a big role of medium and long shots, made tracking shots which were allowed to ‘track’, observe people in the frame not letting them out of sight of the lens.
Mikhail Kaufman




ช่วงระหว่างร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ฤดูหนาว หลายครั้งพบเห็นกล้องค่อยๆหมุนสู่มุมเอียง (Dutch Angle) น่าจะสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล … นี่ไม่ใช่เทคนิคอะไรหวือหวา แต่สร้างความแปลกตา (และแปลกใจ) ให้ผู้ชมได้พอสมควร


ใครเคยรับชมหนังเงียบสหภาพโซเวียตมาพอสมควร น่าจะมักคุ้นเคยอย่างดีกับภาพพื้นผิวน้ำแข็งกำลังแตกหัก Mother (1926), By the Law (1926) ฯ นี่ไม่ใช่แค่เทรนด์แฟชั่น แต่ต้องถือเป็นสัญลักษณ์ ‘วิถีชาวรัสเซีย’ เพราะคือสิ่งประเทศนี้ประสบพบเจออยู่ทุกๆปี เมื่อฤดูหนาวเคลื่อนพานผ่าน หิมะละลาย น้ำแข็งแตกสลาย สำหรับเตรียมพร้อมเริ่มต้นฤดูกาลใหม่

ช่วงระหว่างหิมะ/น้ำแข็งกำลังละลาย บ่อยครั้งจะมีการถ่ายมุมก้ม เพื่อให้เห็นความชอุ่ม ชุ่มชื่น กระแสน้ำไหล รวมถึงภาพสะท้อนพื้นผิวน้ำ ซึ่งหนึ่งในไฮไลท์ของหนังก็คือพบเห็นผู้กำกับ/ตากล้อง Mikhail Kaufman กำลังถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้!

อีกหนึ่งไฮไลท์ของหนังที่น่าจะได้รับรางวัลขวัญใจช่างภาพ มีความติดตาตรึงใจ นักวิจารณ์พูดกล่าวถึงมากที่สุด คือการผสมพันธ์ุระหว่างหอยทาก –” ในช่วงระหว่างการร้อยเรียงชุดภาพสรรพสัตว์ในเมืองใหญ่ ฤดูใบผลิคือช่วงเวลาที่สรรพชีวิต(รวมถึงมนุษย์ที่พบเห็นโอบกอดเป็นคู่ๆ) ต่างเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่


สำหรับลีลาตัดต่อต้องถือว่าไม่เป็นสองรองใคร แทบทุกสิ่งอย่างจะต้องพบเห็นปรากฎซ้ำๆอย่างน้อย 2-3 ครั้งติดต่อกัน (ไม่ใช่การฉายภาพซ้ำ แต่คือร้อยเรียงภาพเหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน) เพื่อให้ผู้ชมสามารถสังเกต แบ่งแยกแยะ จัดหมวดหมู่ เข้าใจรายละเอียดที่ผู้สร้างนำเสนอให้พบเห็น
ผมนำตัวอย่างภาพแอบถ่ายหนุ่ม-สาว พบเห็นนั่ง-ยืน-เดิน ควงแขนกันเป็นคู่ๆ นี่ก็ชัดเจนว่าต้องการสื่อถึงการหาคู่ครองของมนุษย์ (สรรพสัตว์ก็เช่นกัน) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ



In Spring (1929) คือภาพยนตร์สารคดีแนวทดลอง เพื่อทำการเฉลิมฉลองความงดงามของฤดูใบไม้ผลิ (Springtime) ด้วยการร้อยเรียงชุดภาพสรรพชีวิต ณ กรุง Kyiv หลังพานผ่านช่วงเวลาแห่งความหนาวเหน็บ (Wintertime) กำลังเตรียมพร้อมรอรับอรุณรุ่ง จุดเริ่มต้นชีวิต ราวกับการได้ถือกำเนิดใหม่
The film is a celebration of the beauty of springtime and the power of the human spirit. It is a reminder that even in the darkest of times, there is always hope for a new beginning.
Mikhail Kaufman
ความตั้งใจของผกก. Kaufman อาจต้องการเหมารวมถึงสหภาพโซเวียต ภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย Russian Revolution (1917) และสงครามกลางเมือง Russian Civil War (1917-23) นั่นคือช่วงเวลาแห่งความมืดมิด (เปรียบดั่งสภาพอากาศหนาวเหน็บ) จนเมื่อถึงความขัดแย้งสิ้นสุด ปัจจุบันนั้นค.ศ. 1929 ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ ฤดูใบไม้ผลิของชาวรัสเซีย ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
นอกจากนี้ In Spring (1929) สามารถมองเป็นการเริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่ของผกก. Kaufman ก้าวออกมาจากร่มเงาพี่ชาย Dziga Vertov สรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยแนวคิด วิสัยทัศน์ ที่แม้ยังได้รับอิทธิพลหลายๆส่วน แต่ก็ด้วยสไตล์ลายเซ็นต์ มุมมอง วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นของตัวตนเอง
เมื่อตอนหนังออกฉายในสหภาพโซเวียต เสียงตอบรับเหมือนจะไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แถมพี่ชาย Vertov ก็ยังตำหนิน้องชาย Kaufman ว่าไม่ได้ทำอะไรผิดแปลกแตกต่างไปจาก Man with a Movie Camera (1929)
I have seen In Spring. It is a beautiful film, but it is not new. It does not say anything that I have not already said in Man with a Movie Camera. I am disappointed.
Dziga Vertov
แต่กาลเวลาทำให้หนังได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากบรรดานักวิจารณ์ บางคนเยินยอยิ่งกว่าผลงานของพี่ชาย Dziga Vertov เสียด้วยซ้ำ!
In Spring is a lyrical, poetic film that captures the beauty and fragility of nature. The film’s snail is as beautiful as Greta Garbo, and the ants battling for the cocoon is a tragedy that will stay with you long after the credits have rolled. This is a film that everyone should see.
นักวิจารณ์ Peter Travers เขียนบทความลงนิตยสาร Rolling Stone
In Spring is one of the most beautiful, lyrically delicate and plastically perfect documentaries ever made. It is a lyrical poem about the awakening of nature in spring, and it is a visual feast for the eyes. The film is beautifully shot and edited, and it features some of the most stunning cinematography of the silent era.
The pupil has learned a lot … It was Kaufman’s victory but Vertov could also be proud of it.
นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ Lev Roshal
ตามรายงานข่าวของสื่อรัสเซีย เชื่อกันว่าฟีล์มหนัง In Spring (1929) ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่พบเจอในคลังเก็บ เลยได้รับการพิจารณาว่าสูญหาย (lost film) จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2005 มีการค้นพบยัง Eye Filmmuseum ณ Amsterdam นำมาบูรณะโดย VUFKU (The All-Ukrainian Photo-Cinema Administration) ร่วมกับ Oleksandr Dovzhenko National Film Centre คุณภาพ 2K จัดจำหน่าย DVD เมื่อปี ค.ศ. 2011 ในคอลเลคชั่น Ukrainske Nime (Ukrainian Re-Vision) ทำเพลงประกอบโดย Oleksandr Kokhanovsky
ส่วนตัวมีความชื่นชอบหลงใหลหนังอย่างมากๆ รู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย ภาพถ่ายสวยๆ ร้อยเรียงแปะติดปะต่อด้วยภาษาภาพยนตร์ที่อ่านง่าย ไม่ต้องใช้ข้อความอธิบาย และไม่มีนัยยะชวนเชื่อใดๆเคลือบแอบแฝง … เทคนิคภาพยนตร์อาจไม่ยิ่งใหญ่เท่า Man with a Movie Camera (1929) แต่สร้างสุนทรียะทางจิตใจเหนือกว่าเป็นไหนๆ
สำหรับคนที่สนใจภาพยนตร์แนว ‘City Symphony’ แนะนำให้ลองหารับชม Manhatta (1921), Rien que les heures (1926), Berlin: Die Sinfonie der Großstadt (1927), Man with a Movie Camera (1929), Regen (1929), A propos de Nice (1930), หรือถ้าต้องการแบบ Modern สักหน่อยก็อย่าง Calcutta (1969), Roma (1972), News from Home (1976), Tokyo-Ga (1985), Salaam Bombay! (1988), Of Time and the City (2008) ฯลฯ
จัดเรตทั่วไป รับชมเพลินๆได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply