Vivre Sa Vie (1962) : Jean-Luc Godard ♥♥♥♥
(25/9/2022) บัญญัติสิบสองประการของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำเสนอความพยายามมีชีวิตของ Anna Karina (Vivre Sa Vie แปลว่า My Life to Live) เพื่อสร้างจิตวิญญาณให้สื่อภาพยนตร์, คว้ารางวัล Special Jury Prize (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Vivre Sa Vie (1962) คือผลงาน Masterpiece ยอดเยี่ยมที่สุดของ Jean-Luc Godard ด้วยความพยายามสร้างชีวิตให้กับสื่อภาพยนตร์ โดยการตัดทิ้งลูกเล่น ลวดลีลา รายละเอียดไม่จำเป็น หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ (Cinéma Pur) จนสามารถพบเห็นรูปแบบ โครงสร้าง แบ่งแยกแยะเนื้อเรื่องราวออกเป็นลำดับ ขั้นตอน ผู้ชมราวกับสามารถจับต้อง สัมผัสได้ถึง ‘จิตวิญญาณ’
ใครที่เคยรับชมหลายๆผลงานของผู้กำกับ Godard คงตระหนักว่าเป็นบุคคลที่โหยหาอิสรภาพ ครุ่นคิดกระทำสิ่งต่างๆโดยไม่สนกฎกรอบข้อบังคับ ปฏิเสธสรรค์สร้างภาพยนตร์ตามรูปแบบวิถีเคยมีมา … แต่ไฉน Vivre Sa Vie (1962) กลับพยายามบัญญัติกฎเหล็กสิบสองประการขึ้นมาห้อมล้อมรอบตนเอง?
ผมเคยอธิบายไว้ตอน Le petit soldat (1963) ถึงความบิดๆเบี้ยวๆของ Godard อุดมการณ์ของเขาคือเชื่อในเสรีภาพ แต่กับหญิงสาวคนรัก (Anna Karina) กลับพยายามบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง! … เช่นเดียวกับสื่อภาพยนตร์ เริ่มต้นด้วยทำลายการกฎกรอบข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมปฏิบัติเคยสืบต่อกันมา จากนั้นครุ่นคิดสร้างบทบัญญัติ/ภาษาภาพยนตร์ขึ้นใหม่ คล้ายๆการปรับปรุงจากพันธสัญญาเดิม (Old Testament) สู่พันธสัญญาใหม่ (New Testament) อัพเดทให้เข้ากับค่านิยมยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
วันก่อนผมเพิ่งเขียนถึงผลงานของผู้กำกับ Béla Tarr พบเห็น Vivre Sa Vie (1962) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดก็แอบฉงนสงสัยอยู่เล็กๆ แต่หลังจากรับชม The Turin Horse (2011) ก็ตระหนักว่าทั้งสองเรื่องนี้คือความพยายามสรรค์สร้าง ‘Cinéma Pur’ นำเสนอความเป็นธรรมชาติ ละทอดทิ้งสิ่งเจือปน ซึ่งความบริสุทธิ์(ของภาพยนตร์)นั้นเอง จักหลงเหลือสิ่งที่เรียกว่า ‘จิตวิญญาณ’
A bird is an animal with an inside and an outside. Take away the outside and the inside is left. Take away the inside and you see its soul.
André S. Labarthe ในบทบาท Paul (สามีของ Nana)
Jean-Luc Godard (1930-2022) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ French-Swiss เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นนายแพทย์ชาว Swiss ฐานะร่ำรวย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองหลบลี้ภัยอยู่ Switzerland, เริ่มรู้จักภาพยนตร์จากการอ่านบทความ Outline of a Psychology of Cinema เขียนโดย André Malraux ตามด้วยความสนใจนิตยสาร La Revue du cinéma จากนั้นเริ่มมีโอกาสพบปะผู้คนในวงการ, เมื่อปี 1950 สมัครเข้าศึกษาคณะมานุษยวิทยา University of Paris แต่ไม่เคยเข้าเรียนสักครั้ง เพราะไปหมกตัวอยู่ Ciné-Clubs ตามด้วย Cinémathèque Française รับรู้จักบรรดาพรรคเพื่อนผู้หลงใหลในศาสตร์ภาพยนตร์ François Truffaut, Jacques Rivette, Claude Chabrol, เคยร่วมกับ Éric Rohmer ก่อตั้งวารสาร La Gazette du cinéma แต่อยู่รอดแค่เพียงห้าฉบับ! จากนั้นได้รับคำชักชวนจาก André Bazin กลายเป็นนักวิจารณ์(คนแรกของกลุ่มที่ได้)ตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ระหว่างนั้นก็ทดลองทำหนังสั้น และกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Breathless (1960) ** ได้รับการยกย่องว่าคือจุดเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ (Modern Cinema)
ความล้มเหลวไม่ทำเงินของ A Woman Is a Woman (1961) ทำให้โปรดิวเซอร์ขาประจำ Georges de Beauregard ตีตนออกห่าง ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่าง Godard กับภรรยา Anna Karina แม้ขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์ กลับเริ่มเหินห่างไกล (ยังไม่ได้แท้งลูกนะครับ) มีข่าวลือหนาหูว่าระหว่างถ่ายทำ Le soleil dans l’oeil (1962) แอบเล่นชู้กับนักแสดงนำ Jacques Perrin ตระเตรียมวางแผนจะแต่งงานกัน
เมื่อเธอนำความไปพูดคุยกับ Godard แสดงความไม่พึงพอใจถึงขนาดทำลายสิ่งข้าวของทุกสิ่งอย่างในอพาร์ทเม้นท์แล้วร่ำลาจากไป ค่ำคืนนั้น Karina รับประทานยา barbiturates ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย! โชคดีที่ Perrin มาพบเห็นช่วยชีวิตไว้ได้ทัน นั่นกระมังทำให้ฝ่ายชายยินยอมถอยห่าง และท้ายสุด Godard ก็หวนกลับมาคืนดี Karina เมื่อเดือนมกราคม 1962 ประกาศต่อสาธารณะว่ากำลังจะมีผลงานถัดไปร่วมกัน Vivre sa vie
In Vivre sa vie I have attempted to film a mind in action, the interior of someone seen from outside.
Jean-Luc Godard
บทหนังที่ยื่นของบประมาณจากโปรดิวเซอร์คนใหม่ Pierre Braunberger ได้ยินว่ามีเพียง 1 หน้ากระดาษ จำนวน 12 ย่อหน้า ซึ่งคือชื่อตอนทั้ง 12 ปรากฎในหนัง ส่วนรายละเอียดอื่นๆ บทพูดสนทนา ผู้กำกับ Godard จะทำการครุ่นคิดสดๆตอนเช้าก่อนเริ่มต้นถ่ายทำ ในระยะเวลาถ่ายทำเพียง 4 สัปดาห์
หลายคนน่าจะสังเกตได้ว่าตอนแรกของ Vivre sa Vie (1962) ราวกับภาคต่อของ A Woman Is a Woman (1961) หลังจากตัวละครของ Karina ตั้งครรภ์ คลอดบุตร เริ่มต้นด้วยการเลิกราหย่าร้างสามี (และทอดทิ้งบุตร)
เกร็ด: เรื่องราวเกี่ยวกับโสเภณี ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Où en est: La Prostitution (1959) ของทนายความ/ผู้พิพากษา Marcel Sacotte เป็นบันทึกสังเกตการณ์ระหว่างทำคดีความให้บรรดาสาวๆโสเภณี
Anna Karina ชื่อจริง Hanne Karin Bayer (1940-2019) เกิดที่ Frederiksberg, Denmark โตขึ้นเริ่มจากเป็นนักร้อง-เต้นคาบาเร่ต์ ตามด้วยโมเดลลิ่ง แสดงหนังสั้นที่คว้ารางวัลเทศกาลหนังเมือง Cannes เลยตัดสินใจปักหลักอยู่กรุง Paris (ยังพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยซ้ำ) ได้รับการค้นพบโดยแมวมอง พามาถ่ายแบบ นิตยสาร กระทั่ง Jean-Luc Godra ชักชวนมารับบทนำ Breathless (1960) แต่กลับบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่อยากเข้าฉากนู๊ด ถึงอย่างนั้นก็ยินยอมร่วมงานตั้งแต่ A Woman Is a Woman (1961), My Life to Live (1962), The Little Soldier (1963), Band of Outsiders (1964), Pierrot le Fou (1965), Alphaville (1965) และ Made in USA (1966), ผลงานเด่นๆหลังจากนั้น อาทิ The Nun (1966), The Stranger (1967), Man on Horseback (1969), Chinese Roulette (1976) ฯ
รับบท Nana Kleinfrankenheim หลังจากเลิกราสามี ชีวิตก็อับจนหนทาง ค้างค่าเช่าห้องพัก ข้าวปลาไม่มีกิน งานขายแผ่นเสียงก็ได้เงินน้อยนิด อยากเป็นนักแสดงแต่ไม่เข้าตาผู้ใด เลยตัดสินใจขายตัวตามท้องถนน จนกระทั่งมีโอกาสรับรู้จักแมงดาหนุ่ม ให้คำแนะนำจนสามารถไต่เต้ากลายเป็นไฮโซโสเภณี ใช้ชีวิตอย่างหรูหราสุขสบาย ขณะกำลังพบรักครั้งใหม่ กลับถูกพ่อเล้าขายต่อให้เจ้าพ่อมาเฟีย ซวยชิบหาย!
เกร็ด: ชื่อตัวละคร Nana มาจากนวนิยาย Nana (1880) ประพันธ์โดยนักเขียนชาวฝรั่งเศส Émile Zola, เรื่องราวของหญิงสาว Nana Coupeau จากเคยขายตัวข้างถนน ไต่เต้าจนเป็นไฮโซโสเภณี, ก่อนหน้านี้เคยถูกดัดแปลงสร้างภาพยนตร์มาหลายเรื่อง โด่งดังสุดคือหนังเงียบ Nana (1926) กำกับโดย Jean Renoir
เกร็ด2: ขณะที่นามสกุล Kleinfrankenheim คือชื่อหมู่บ้านเล็กๆในเมือง Alsace, Germany อยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านเกิดตัวละครที่ Flexbourg, ภาษาเยอรมันแปลว่า ‘home for small francs’ หรือ ‘place for loose change’ ซึ่งสามารถสื่อถึงอาชีพโสเภณีของตัวละคร
Karina ดูจะไม่ชอบภาพลักษณ์ผมบ็อบสีดำนี้เอาเสียเลย ครุ่นคิดว่า Godard ต้องการทำให้ดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ (แต่นี่ไม่ใช่สาเหตุแรกที่ทำให้พวกเขาเลิกรากันนะครับ) แท้จริงแล้วคือการลอกเลียนแบบภาพลักษณ์นักแสดงสาว Louise Brooks จะว่าไปเรื่องราวของหนังก็แอบละม้ายคล้าย Pandora’s Box (1929) และ Diary of a Lost Girl (1929) อยู่ไม่น้อยทีเดียว
She was furious, because she thought I had made her look ugly, that I had done a considerable wrong by having made the film; that was the beginning of our breakup.
Jean-Luc Godard
แม้ Vivre Sa Vie (1962) จะเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดของผู้กำกับ Godard แต่ไม่ใช่การแสดงดีที่สุดของ Karina ผมรู้สึกว่าเธอเหมือนหุ่นยนต์ ไร้ชีวิตชีวา เพียงขยับเคลื่อนไหวตามคำสั่ง (ชวนให้นึกถึงนักแสดงในหนังของ Robert Bresson) สำหรับบทบาทนี้ก็เพียงพอแล้วนะครับ เพราะหนังไม่ได้ขายการแสดง วิธีการดังกล่าวก็เพื่อกำจัดส่วนเกินของแอ๊คติ้ง ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ เรียบง่าย ตรงไปตรงมา หรือคือธรรมชาติชีวิต (อันนี้ตามแนวคิดของ Bresson เองเลย)
ซึ่งวินาทีที่ตัวละครเริ่มขบครุ่นคิด เกิดข้อสงสัย พยายามทำความเข้าใจปรัชญาชีวิต มีการโยกเต้นเริงระบำไปตามอารมณ์เพลง นั่นคือสาเหตุให้ท้ายสุดต้องพบเจอโศกนาฎกรรม
So the first time he thought, it killed him.
Brice Parain
ผมรู้สึกว่าผู้กำกับ Godard พยายามทำให้ Karina กลายภาพยนตร์เรื่องนี้! เหมือนที่ตัวละครอ่านจากเรื่องสั้น The Oval Portrait (1842) ของ Edgar Allan Poe กล่าวถึงศิลปินวาดภาพภรรยา พอแล้วเสร็จก็พบว่าเธอได้ตกตายจากไป (ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการเสียชีวิตเท่านั้นนะครับ คือการไปจากชีวิต เลิกราหย่าร้างก็ได้เช่นกัน)
“This is indeed Life itself!” turned suddenly to regard his beloved: She was dead!
The Oval Portrait (1842) ของ Edgar Allan Poe
ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard (1924-2016) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของบรรดาผู้กำกับ French New Wave, สมัยเด็กตั้งใจร่ำเรียนเคมี แต่ไม่มีทุนการศึกษาเลยหันมาเป็นช่างภาพ เข้าร่วมสงคราม French Indichina War (1946-54) ในฐานะ ‘war photographer’ อาศัยอยู่เวียดนามถึง 11 ปี กลับมาฝรั่งเศสกลายเป็นฟรีแลนซ์ให้นิตยสาร Paris Match และ Look กระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Pierre Schoendoerffer ทั้งๆไม่เคยมีประสบการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่กลับได้เสียงชื่นชม The Devil’s Pass (1958), ติดตามมาด้วยผลงานแจ้งเกิดโด่งดัง Breathless (1960), Shoot the Piano Player (1960), Vivre sa Vie (1962), Jules et Jim (1962), Le Mépris (1963), Bande à part (1964), Pierrot le Fou (1965), Z (1969) ฯลฯ
ด้วยทุนสร้างที่ต่ำกว่า Breathless (1960) ครึ่งต่อครึ่ง! กองถ่ายหนังเรื่องนี้เลยยิ่งกว่ากองโจร ‘guerrilla unit’ เน้นความรวดเร็ว ประหยัด ทุกฉากถ่ายทำเพียงเทคเดียว (เพราะงบประมาณซื้อฟีล์มยังมีไม่พอ) และพยายามใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด (หนังเรื่องนี้ถ่ายทำตอนกลางวันทั้งหมด)
งานภาพของ Vivre sa Vie (1962) แตกต่างจากผลงานอื่นๆของผู้กำกับ Godard ตรงที่ไม่มีความหวือหวา ลูกเล่นลีลาที่น่าตื่นตาตื่นใจ เน้นความเรียบง่าย ดูเป็นธรรมชาติ กล้องขยับเคลื่อนไหวเหมือนตัวละครหนึ่ง เข้ามาส่วนร่วมพบเห็นเหตุการณ์ ระหว่างสองตัวละครพูดคุยสนทนาก็แพนนิ่งไปมา เดี๋ยวซ้าย-เดี๋ยวขวา คล้ายๆการขยับศีรษะของสิ่งมีชีวิต ฯ
The film was made by sort of a second presence, the camera is not just a recording device but a looking device, that by its movements makes us aware that it sees her, wonders about her, glances first here and then there, exploring the space she occupies, speculating.
Jean-Luc Godard
ส่วนไฮไลท์ผมยกให้ Tableau 8 ทำการเลียนแบบ ‘สไตล์ Bresson’ ได้อย่างใกล้เคียง มีความลื่นไหล และดูเป็นธรรมชาติมากๆ ร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต การทำงาน สลับสับเปลี่ยนลูกค้า เดินเข้า-ออกห้องพัก กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน พร้อมเสียงบรรยายคำถาม-ตอบเกี่ยวกับอาชีพโสเภณี รวบรัดตัดตอนหลงเหลือแค่ไม่กี่นาที
เกร็ด: ‘สไตล์ Bresson’ ถือว่าส่งอิทธิพลต่อหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะจุดประสงค์ของผู้กำกับ Bresson ต้องการความบริสุทธิ์ มนุษย์(และกล้อง)ขยับเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยสันชาตญาณ ไร้ซึ่งการปรุงแต่ง อารมณ์ร่วม หลงเหลือเพียงจิตวิญญาณภายใน
สามภาพแรกระหว่าง Opening Credit คือภาพถ่ายใบหน้า (mug shot) ของ Nana Kleinfrankenheim เหมือนเวลาตำรวจถ่ายภาพนักโทษ/ผู้ต้องหา จะมีจากด้านหน้า ด้านข้างซ้าย-ขวา ซึ่งสามารถสื่อถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ จะมีเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับหญิงสาวในทุกๆแง่มุม
Lend yourself to others, but give yourself to yourself.
Michel de Montaigne (1533-92) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ผมมองประโยคนี้ในสองแง่มุมขั้วตรงข้าม
- อย่างแรกคือสะท้อนความเห็นแก่ตัว เลือกที่จะให้ความสำคัญต่อตนเองมากกว่าอะไรอย่างอื่น
- แต่ก่อนจะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เราควรมองย้อนกลับมาดูตนเองว่ามีความพร้อมหรือเปล่า มีศักยภาพเพียงพอที่ให้หรือไม่ รับประทานอาหารจนอิ่มหนำค่อยแบ่งปันให้ผู้อื่น
มีคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่ผมจดจำฝังใจ พบเห็นใครคนหนึ่งกำลังจะจมน้ำ ถ้าเราว่ายน้ำไม่เป็นแล้วยังกระโดดลงไปนั่นคือคนโง่ ไม่ประมาณตนเอง แทนที่จะหาไม้หาเชือกมาให้เกาะเกี่ยว หรือตะโกนเรียกคนอื่นมาช่วย อย่างน้อยควรจะรู้ว่าตนเองทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้
TABLEAU 1 นำเสนอการบอกเลิกราหย่าร้างสามีของ Nana นี่คือสิ่งที่เธอต้องการทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ก็เลยถ่ายทำจากเพียงจากด้านหลังของทั้งสองตัวละคร … เอาจริงๆครุ่นคิดนัยยะแค่นี้ก็เพียงพอละครับ มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา
แต่ถ้าใครช่างสังเกตจะเห็นภาพสะท้อนในกระจก สองช็อตแรกจะเห็นแต่ภาพของตนเอง (เมื่อตอนพูดบอกเลิกรา) ส่วนสองช็อตหลังจะมีการขยับนิดหน่อยเพื่อเห็นอีกฝั่งฝ่าย (เมื่อกำลังจะลาจากจริงๆ ก็ยังแอบรู้สึกครุ่นคำนึง โหยหา ยังมีอีกฝั่งฝ่ายในหัวใจ)
งานอดิเรกของผู้กำกับรุ่น French New Wave โดยเฉพาะกลุ่มแก๊งค์ Cahiers du Cinéma ก็คือการละเล่นพินบอล (มีหนังหลายๆเรื่องที่ถ้าเข้ามาดื่มกาแฟในคาเฟ่ ก็มักพบเห็นตัวละครลุกขึ้นมาละเล่นพินบอลเสมอๆ) ผมว่าเพราะมันเป็นเกมที่ไม่ต้องใช้สมองมาก เพียงการกะจังหวะ และกระแทกกระทั้นอารมณ์ ระบายความรู้สึกอัดอั้น คงสร้างความผ่อนคลายได้กระมัง
ระหว่างอดีตสามีกำลังเล่าเรื่องเล่าก่อนจบตอนนี้ กล้องจะเคลื่อนแบบตะกุกตะกักมายัง Nana เพื่อสะท้อนถึงคำพูดประโยคดังกล่าว หมายถึงการพยายามมองหา’จิตวิญญาณ’ของหญิงสาว หรืออีกแง่มุมหนึ่งเธอก็คือจิตวิญญาณของหนังเรื่องนี้
A bird is an animal with an inside and an outside. Take away the outside and the inside is left. Take away the inside and you see its soul.
André S. Labarthe ในบทบาท Paul (สามีของ Nana)
TABLEAU 2 เริ่มต้นมีการกล่าวถึง Judy Garland เผื่อคนไม่รู้นอกจากเป็นนักแสดงแล้ว ยังนำบทเพลงที่ขับร้องมารวบรวมเป็นอัลบัม เท่าที่มีบันทึกไว้ 14 Soundtrack, 6 Live Albums, รวมๆเพลงอีก 31 อัลบัม, 67 ซิงเกิ้ล แต่ดูแล้วน่าจะมีมากกว่านี้ (เพราะคงมีบทเพลงที่ขับร้องในหนัง แต่ไม่ได้นำมารวบรวมเป็นอัลบัมอีกเยอะ)
เกร็ด: ตอนถ่ายทำหนังเรื่องนี้ Judy Garland ยังมีชีวิตอยู่ แต่คาดว่าผู้กำกับ Godard อาจต้องการอ้างอิงถึงผลงาน A Star Is Born (1954) ก็เป็นได้
ส่วนศิลปินอีกคนที่มีกล่าวถึงคือ Rafael Romeo (1910-91) นักร้องชาว Spanish แนว Flamenco ผมเห็นปกอัลบัมแวบๆเลยลองค้นหาพบเจอ Dos Maestros del Cante Grande (feat. Perico Del Lunar & Juanito Varea) เผื่อใครสนให้เห็นมีใน spotify, apple music, amazon music หาฟังไม่ยากนะครับ
He gazed at the turquoise, star-laden sky and then turned to me. ‘You live your life intensely, so logically… ‘
I interrupted him. ‘You attach too much importance to logic.’
For a few seconds I was filled with a bitter sense of triumph. No more broken heart, no more struggle to live again. No probing questions to face while masking one’s defeat. Yes, a truly elegant way of breaking this deadlock.
ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าข้อความนี้มาจากหนังสือเล่มใด แต่จะขอเปลี่ยนผู้พูดใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น
Jean-Luc Godard: You live your life intensely, so logically…
Anna Karina: You attach too much importance to logic.
วินาทีแห่งการโต้ตอบกลับของ Karina ถือว่าค้นพบเหตุผลพฤติกรรมน่ารำคาญของอีกฝั่งฝ่าย ย่อมเกิดความกระหยิ่มยิ้ม ภาคภูมิใจในชัยชนะที่ได้ครุ่นคิด ถกเถียง ทำให้(ตัวละคร Nana)ไม่รู้สึกอกหัก เจ็บปวดรวดร้าว หัวใจสลาย รับรู้ตนเองว่านั่นไม่ใช่ความรักที่ต้องการอีกต่อไป
ทั้งซีเควนซ์นี้นำเสนอแบบ Long Take โดยให้กล้องเลื่อนไหล แพนนิ่งวนไปวนมาซ้าย-ขวา แต่ระหว่างอ่านข้อความจากหนังสือ กล้องจะเคลื่อนหมุนถ่ายออกไปภายนอกร้านและหยุดสองครั้ง
- หยุดครั้งแรกถ่ายตึกที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ระยะประชิดใกล้ สร้างความอึดอัด ราวกับถูกห้อมล้อมด้วยกฎกรอบ(ของครอบครัว สามี-ภรรยา) พอดิบพอดีกับคำพูด You live your life intensely, so logically…
- และหยุดอีกครั้งพบเห็นผู้คน ท้องถนน และตึกสูงที่อยู่ห่างไกลออกไป ให้ความรู้สึกเหมือนตัวละครได้รับปลดปล่อย เสรีภาพ (แต่ยังอยู่ภายใต้กฎกรอบของสังคม) You attach too much importance to logic.
เป็นการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมาระหว่าง Nana กับ Renée Jeanne Falconetti จากเรื่อง La Passion de Jeanne d’Arc (1928) แต่สังเกตว่าสองช็อตนี้มีลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม! พื้นหลังขาว-ดำ ทรงผมสั้น-ยาว หน้าสด-เปลื้อนเครื่องสำอางค์ และน้ำตาแห่งเจ็บปวด(น้ำตาจริงๆเพราะ Falcontti ถูกผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer บังคับให้นั่งคุกเข่าหลายชั่วโมง) เมื่อเทียบกับการร้องไห้เพราะรู้สึกสงสารเห็นใจ มันคนละฟีลลิ่ง เทียบกันไม่ติดเลยนะ!
ช็อตนี้แอบซ่อน ‘easter egg’ ที่แนบเนียนมากๆ ผมเองก็หาไม่เจอหรอกแต่ไปอ่านพบเจอเกร็ดหนัง โปสเตอร์ที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์นั่นคือภาพยนตร์ Une femme est une femme แปลว่า A Woman Is a Woman (1961)
TABLEAU 4 จู่ๆ Nana ก็มาปรากฎตัวอยู่ในโรงพัก ถูกตำรวจซักความถามไถ่ (ใครเคยรับชม Le petit soldat (1963) ก็น่าจะมักคุ้นการสนทนาลักษณะนี้) รายละเอียดทางกายภาพเกี่ยวกับตัวเธอจักค่อยๆได้รับการเปิดเผย เกิดที่ไหน เมื่อไหร่ มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ซึ่งระยะภาพจะค่อยๆประชิดใกล้ตัวละครขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อความจริงไขกระจ่าง หญิงสาวจะหันหน้าไปทางซ้าย/ขวามือของภาพ ไม่เข้าใจว่าใครต่อใครถึงเย็นชากับตนเองเหลือเกิน (และการเปลี่ยนภาพก็จะใส่ลูกเล่น เคลื่อนเลื่อนไปทางขวา)
ผมไม่รู้ว่า 2,000 ฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินที่ไหมในสมัยนั้น (ก็น่าจะเยอะอยู่มั้ง) ใครช่างสังเกตคงพบว่าตั้งแต่ TABLEAU 1-3 หญิงสาวพยายามหยิบยืมขอเงินจากอดีตสามี เพื่อนร่วมงาน ชายแปลกหน้า แต่ทุกคนล้วนมีข้ออ้าง ไม่มี ไม่ให้ ถ้ามีก็จะให้ (นี่ก็สะท้อนสภาพเศรษฐกิจยุคสมัยนั้นได้เหมือนกัน) จนพอถึงตอนนี้ครุ่นคิดจะขโมยแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งหลังจากนี้เธอไม่หยิบยืมใครอีกต่อไป เปลี่ยนมาทำงานหาเงินด้วยตนเองดีกว่า!
โปสเตอร์ Spartacus (1960) คาดว่าน่าจะต้องการอ้างอิงถึงหนึ่งในประโยคอมตะของหนัง
When a free man dies, he loses the pleasure of life. A slave loses his pain. Death is the only freedom a slave knows. That’s why he’s not afraid of it.
Spartacus
ในบริบทนี้เราสามารถมองอาชีพโสเภณีไม่ต่างขี้ข้าทาสรับใช้ ต้องคอยปรนปรนิบัติผู้มาใช้บริการ ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียงอันใด แถมไม่มีทางดิ้นหลุดพ้นวังวน จากการถูกสังคมตีตราว่าเป็นผู้หญิงขายบริการ นอกเสียจากความตาย
การขายตัวครั้งแรกของ Nana นำเสนอใน ‘สไตล์ Bresson’ กล้องมักจับจ้องใบหน้าหญิงสาว แล้วตัดภาพไปยังมุมมองสายตา สิ่งที่เธอพบเห็น เตียงนอน สบู่ ผ้าเช็ดตัว ที่เขี่ยบุหรี่ ฯลฯ จะไม่พยายามโฟกัสชายที่มาซื้อบริการ (เห็นเพียงแวบๆราวกับไม่มีตัวตน ก็แค่บุคคลหนึ่งพานมาแล้วผ่านไป)
ส่วนการปฏิเสธจุมพิต ผมครุ่นคิดว่ามันคือความเชื่อของโสเภณีบางคน ครุ่นคิดว่าการจูบคือสิ่งพิเศษ ต้องการมอบให้เฉพาะบุคคลที่ชื่นชอบ ตกหลุมรัก ไม่ใช่ใครแปลกหน้า หรือคนไม่เคยรับรู้จัก … สำหรับ Nana มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พบเห็นการจุมพิต นั่นคือ Raoul แมงดา/พ่อเล้าถือว่าคือบุคคลมอบโอกาสให้เธอได้เรียนรู้จักวิถีไฮโซโสเภณี และการจูบครั้งนี้ยังพ่นควันบุหรี่ออกจากปาก (สัญลักษณ์ของความพึงพอใจสูงสุด)
ผมนำทั้งสองช็อตนี้มาเพื่อจะให้สังเกตรายละเอียดที่แตกต่าง ทั้งเสื้อผ้าและพื้นด้านหลังด้วยนะครับ
- เมื่อครั้น Nana ปฏิเสธจุมพิตลูกค้าคนแรก ด้านหลังคือชั้นวาง/ตู้เสื้อผ้าที่ว่างเปล่า เสื้อผ้าที่ขาวโพลน สะท้อนถึงสภาพจิตใจที่เคว้งคว้าง ชีวิตไม่หลงเหลืออะไรติดตัวทั้งนั้น
- การจุมพิตกับ Raoul ต่างสวมใส่ชุดสีเข้ม มีพื้นหลังคือภาพของ Champs-Elysées แม้คือจุดเริ่มต้นของการเป็นไฮโซโสเภณี แต่ราวกับว่าพวกเขากำลังจะได้ครอบครองเป็นเจ้าของทุกสิ่งอย่าง
คำกล่าวสุนทรพจน์ของ Nana/Anna แต่เอาจริงๆคือผู้กำกับ Godard แสดงทัศนะถึงเสรีภาพชีวิต ตนเป็นทึ่พึงแห่งตน ใครจะว่าฉันเห็นแก่ตัวไม่ใคร่สน ตัวกูของกู!
I think we’re always responsible for our actions. We’re free. I raise my hand – I’m responsible. I turn my head to the right – I’m responsible. I’m unhappy – I’m responsible. I smoke a cigarette – I’m responsible. I shut my eyes – I’m responsible. I forget that I’m responsible, but I am. I told you escape is a pipe dream. After all, everything is beautiful. You only have to take an interest in things, see their beauty. It’s true. After all, things are just what they are. A face is a face. Plates are plates. Men are men. And life, is life.
Nana Kleinfrankenheim
ฉากที่ต้องถือว่าใช้ประโยชน์จากเทคนิค ‘jump cut’ ได้ตราตรึงที่สุดในภาพยนตร์! เมื่อเสียงปืนดังขึ้นภายนอกคาเฟ่ จากกล้องกำลังแพนนิ่งเคลื่อนไหล ก็ใช้การตัดต่อตามจังหวะเสียงปืน!
ถ้าครุ่นคิดอย่างผิวเผิน นี่ก็แค่ลีลาการตัดต่อตามจังหวะเสียงปืน แต่ผมตระหนักว่าทุกครั้งที่เราได้ยินเสียงปืน มันจะเกิดความตื่นตระหนก ตกใจหายวาป ราวกับทุกสิ่งอย่างกลายเป็นสุญญากาศชั่วขณะ เพราะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ราวกับเสียงแห่งความตาย
ผมมีความพิศวงกับภาพถ่าย Champs-Elysées แบบสามมิติ (มีคำเรียกภาษาฝรั่งเศสว่า trompe-l’œil) มีขนาดอันใหญ่โต ประดับฝาผนัง แปลกที่ไม่มีรายละเอียดว่าคาเฟ่นี้ตั้งอยู่แห่งหนไหน? แต่มันสร้างความตราตรึง ประทับใจ ราวกับฝรั่งเศสอยู่แค่เอื้อมมือ ราวกับหญิงสาวและแมงดา/พ่อเล้า คือบุคคลผู้ครอบครองทุกสิ่งอย่าง
When the city lights go on, the streetwalkers’ desperate rounds begin.
Raoul
ในภาพยนตร์ Breathless (1960) จะมีเกมหนึ่งระหว่างเกี้ยวพาราสี ฝ่ายชายบอกให้หญิงสาวยิ้มใน 8 วินาที มาคราวนี้ Raoul ขอให้ Nana ยิ้มให้กับตนเอง ตอนแรกเธอตอบปฏิเสธเพราะไม่อยู่ในอารมณ์ แต่ประมาณ 7-8 วินาทีให้หลังจ้องหน้าสบตา ก็หลุดยิ้มออกมาในที่สุด!
TABLEAU 8 ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของหนัง รับอิทธิพลเต็มๆมาจาก ‘สไตล์ Bresson’ ร้อยเรียงชุดภาพ ประติดต่อวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันของสาวๆโสเภณี ตั้งแต่หาลูกค้า พาขึ้นห้อง ถอดเสื้อผ้า ร่วมรับหลับนอน มีความตรงไปตรงมา ไม่ได้เคลือบแฝงนัยยะซ่อนเร้น (แค่หลบหลีกภาพโป๊เปลือยเท่านั้น) พร้อมเสียงบรรยายคำถาม-ตอบ ข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับอาชีพนี้
ตอนนี้ตอนเดียวทำให้ผู้ชมรับล่วงรู้แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับอาชีพโสเภณี จะว่าไปชวนให้ผมนึกถึงอารัมบท Newsreel ของ Citizen Kane (1941) สิบนาทีแรกที่อธิบายความเป็นมาเป็นไป ในลักษณะสรุปรวดย่อ ใครกันคือพลเมือง Kane?
สนุ๊กเกอร์เป็นกีฬาที่แทงลูกขาวให้ไปกระทบลูกสีลงหลุม แต่สังเกตว่าชายหนุ่มคนกลับแทงเล่นเรื่อยเปื่อย คงเหมือนชีวิตที่ไร้เป้าหมาย แก่นสาระ เพียงหายใจเข้าออกทิ้งไปวันๆ … จะว่าไป Nana ก็เฉกเช่นเดียวกัน ในวันที่ไม่ได้ขายตัวนั้นแสนน่าเบื่อหน่าย ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยทำท่าอ่อยชายหนุ่มคนนี้ เรียกว่าเรียนรู้เข้าใจศาสตร์การเป็นโสเภณี มาถึงจุดสูงสุดของอาชีพการงานเลยก็ว่าได้
ผมชื่นชอบการแสดงชุดเป่าลูกโป่งนี้มากๆ ผู้ชมสามารถจินตนาการเห็นภาพ เมื่อลูกโป่งพองโตจนไม่สามารถรับลมก็แตะโพล๊ะ! เปรียบเทียบได้กับชีวิตที่ก้าวมาถึงจุดสูงสุด หลังจากนี้ก็จะตกต่ำลง หรือสูญเสียทุกสิ่งอย่างไป บอกใบ้ถึงสิ่งกำลังจะบังเกิดขึ้นกับ Nana ในอีกไม่ช้านาน
ความโอ้ลัลล้า โยกเต้น เริงระบำไปมาของ Nana ราวกับว่าเธอกำลังเพลิดเพลิดอยู่บนสรวงสวรค์/คาเฟ่ชั้นสอง/จุดสูงสุดของอาชีพการงาน เลยสามารถกระทำสิ่งตอบสนองใจอยาก โดยไม่ต้องยี่หร่าอะไรใคร ถึงอย่างนั้นช็อตสุดท้ายของการเต้นรำ กลับกอดแน่นอยู่ตรงเสา เพื่อจะสื่อว่า ณ จุดสูงสุดมันช่างเงียบเหงา เปล่าเปลี่ยว (แบบคฤหาสถ์ของ Citizen Kane) ต้องการใครสักคนสำหรับเป็นที่พึ่งพักพิง
แซว: เสื้อคลุมสีเข้มในตอนแรก ชวนให้ผมนึกถึงชุดสีน้ำเงินที่ Anna Karina เคยสวมใส่ใน A Woman is A Woman (1962) แนวโน้มสูงมากๆว่าน่าจะชุดเดียวกัน แต่เมื่อถอดออกมาข้างในคือเสื้อสีขาว สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา และบริเวณด้านหน้าเต็มไปด้วยกลีบผ้า (Ruffled) ที่มีความฟูฟ่อง เหมือนลวดลายดอกไม้ งดงามตา
Nana ยืนรอคอยลูกค้ายังบริเวณโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ มองผิวเผินช็อตนี้เหมือนไม่มีอะไร แต่เราสามารถเปรียบเทียบการขายตัว มองหาลูกค้า (ของโสเภณี) ไม่แตกต่างจากป้ายโฆษณา ขายสินค้าและบริการ … นี่เป็นการพยายามเชื่อมโยงโสเภณีในเชิงสัญลักษณ์ เทียบเท่ากับสินค้า การบริการ แทบทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนมีวิถีทางไม่แตกต่างจากอาชีพนี้
และเมื่อได้ลูกค้า สังเกตว่า Nana ทำมือเหมือนท่ายิงปืน ปัง! ปัง! นี่คงไม่ได้จะล้อกับ Shoot the Piano Player (1960) แบบที่เคยทำใน A Woman is A Woman (1962) คงต้องการสื่อถึงเธอคือเป้าหมาย แต่ขณะเดียวกันสามารถสะท้อนโชคชะตาของตัวละครตอนจบได้เช่นกัน
แม้ว่าจะได้ลูกค้าแต่เขาเรียกร้องจะสวิงกิ้ง (หญิงสองชายหนึ่ง) และพอมีหญิงสาวอีกคนเข้ามา กลับละทอดทิ้ง Nana อย่างไม่เหลือเยื่อใย ทำให้เธอนั่งลงสูบบุหรี่ เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง นี่ฉันกำลังทำอะไร?
โสเภณีเป็นอาชีพที่มีอายุค่อนข้างสั้น (ว่าไปก็คล้ายๆพวกนักกีฬา ที่พออายุมากขึ้นสังขารจึงเริ่มไม่เที่ยง) เมื่อหมดความสวยสาว ผิวพรรณแห้งเหี่ยว ราคาจักเริ่มตก คนใช้บริการก็ลดน้อยลง แถมมีคู่แข่งรายใหม่ๆขึ้นมาแทนที่ ไม่มีใครจะสามารถอยู่จุดสูงสุด บนสรวงสวรรค์ชั่วนิจนิรันดร์ … นั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้ Nana ครุ่นคิดถึงปรัชญาชีวิต
TABLEAU 11 นำเสนอการพูดคุย ถามตอบ ระหว่าง Nana กับนักปรัชญา Brice Parain (1897-1971) ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ของผู้กำกับ Godard และเห็นว่ายังมารับเชิญภาพยนตร์ My Night at Maud’s (1969) ของ Éric Rohmer ด้วยเช่นกัน
I once had a crisis of language. That’s why I filmed Brice Parain in Vivre sa vie.
Jean-Luc Godard
การสนทนาปรัชญาค่อนข้างมีความซับซ้อน ผมเองก็ขี้เกียจสรุป แต่จะขอนำเรื่องเล่าของ Parain เกี่ยวกับการเสียชีวิตโง่ๆของ Porthos (หนึ่งในสาม The Three Musketeers) ในหนังบอกว่ามาจากนวนิยายภาคสาม Twenty Years After แต่แท้จริงแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในภาคสอง The Vicomte of Bragelonne: Ten Years Later น่าจะเป็นความเข้าใจผิดๆ ที่ก็สอนผู้ชมแบบเพี้ยนๆเช่นกัน
Porthos is tall, strong, and a little dense. He’s never had a thought in his life. He has to place a bomb in a cellar to blow it up. He does it. He places the bomb, lights the fuse, and starts to run away. But just then he begins to think. How it’s possible to put one foot in front of the other. So he stops running. He can’t move forward. The bomb explodes, and the cellar caves in around him. He holds it up with his strong shoulders. But after a day or two, he’s crushed to death.
So the first time he thought, it killed him.
Brice Parain
ความครุ่นคิดที่ว่านี้ ไม่ได้สื่อถึงความคิดประจำวันทั่วๆไป อย่างมื้อนี้จะกินอะไร? บวกลบคูณหาร ข้อสอบนี้คิดยังไง? ปีใหม่นี้จะไปเที่ยวไหน? แต่สื่อถึงการตระหนักถึงสัจธรรมชีวิต รับรู้ข้อเท็จจริงบางอย่างที่เคยถูกปกปิด โดยเฉพาะการเมืองในประเทศสารขัณฑ์ ใครแสดงออกว่าต่อต้าน … ก็มักถูกจับเข้าซังเต และอาจถึงแก่ชีวิตได้ทันที!
เรื่องราวที่ชายหนุ่มอ่านจากหนังสือ Œuvres Complètes (แปลว่า Complete Work) คือเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ Le Portrait ovale ประพันธ์โดย Edgar Allan Poe (1809-49) นักเขียนชาวอเมริกัน แรกเริ่มตีพิมพ์นิตยสาร Graham’s Magazine ฉบับปี 1842 ใช้ชื่อว่า Life in Death หลังจากปรับแก้ไขถึงเปลี่ยนมาใช้ The Oval Portrait ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Broadway Journal ฉบับเมษายน 1845
ที่ถือเป็นแนวสยองขวัญ (Horror) เพราะจิตรกรวาดภาพภรรยาได้อย่างสมจริง หลังอุทานออกมาว่า “This is indeed Life itself!” เมื่อหันกลับไปมองหากลับพบว่าเธอเสียชีวิตจากไปแล้ว (ราวกับได้กลายเป็นภาพวาดรูปนั้น)
ความตั้งใจของผู้กำกับ Godard ไม่ได้จะเข่นฆ่า Anna Karina ในโลกความจริง (แต่สามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของการเลิกรา หย่าร้าง สุดท้ายพวกเขาก็ต้องแยกทางจากกัน) เพียงแค่ให้ตัวละครของเธอ Nana Kleinfrankenheim ต้องตกตายตอนจบ เพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ราวกับมีชีวิต/จิตวิญญาณขึ้นมา
แซว: เสียงที่ได้ยินจากการอ่านประโยคในหนังสือนี้ ไม่ใช่นักแสดงรับบทนะครับ แต่คือน้ำเสียงของผู้กำกับ Jean-Luc Godard ซึ่งเขายังได้เพิ่มเติมหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในหนังสือ “It’s our story”. เน้นย้ำว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นของเขาและ Anna Karina
ผมพยายามมองหาว่าหญิงสาวในภาพถ่ายด้านหลังของ Nana คือใคร? แอบนึกถึง Joan Crawford แต่ไม่ค่อยแน่ใจสักเท่าไหร่ ซึ่งช็อตนี้พบเห็นระหว่างที่ชายหนุ่มกำลังเล่าเรื่อง The Oval Portrait ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบถึงบุคคล=ภาพวาด/ภาพถ่าย นี้ได้เลยกระมัง!
ตอนจบของซีนนี้เมื่อเรื่องเล่าจบลง จะมีการ Fade-To-Black เพื่อสื่อถึงการจบชีวิต ความตาย (ของตัวละครในเรื่องสั้น) แถมหลังจากนี้จะไม่มีเสียงพูดสนทนา เพียงบทเพลงหลอนๆ ปรากฎข้อความแทนความครุ่นคิด และ Déjà Vu ภาพซ้ำสามครั้ง
ทีแรกผมไม่ได้เอะใจช็อตนี้หรอกนะ แต่พอมาดูซ้ำถึงค่อยพบเห็นการเสนอซ้ำสามครั้ง! Nana เข้าโอบกอดชายหนุ่ม/ชู้รัก แล้วปรากฎข้อความอธิบายความตั้งใจว่าจะบอกเลิกรา Raoul ยุติอาชีพโสเภณี แล้วหลบหนีไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
บอกตามตรงผมยังขบครุ่นคิดไม่ออกว่าทำไมต้องสามครั้ง? คือมันไม่มีคำบอกใบ้ ขลุ่ยปี่ใดๆก่อนหน้า แต่ถ้ามองว่าคือ Déjà Vu (นี่เป็นคำภาษาฝรั่งเศสนะครับ) ซึ่งเป็นเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ บางสิ่งอย่างเหมือนเคยบังเกิดขึ้นมาแล้วหวนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำอีก เลยมักถูกตีความถึงลางสังหรณ์ ‘precognition’ หรือ ‘prophecy’ พยากรณ์เหตุการณ์ร้ายๆ เท่ากับว่านี่คือการร่ำลา/ความตาย จากกันชั่วนิรันดร์
ผู้กำกับ Godard แทนที่จะพูดแสดงความยินดีต่อความสำเร็จอันล้นหลามของ Jules et Jim (1962) แต่กลับพูดแซว แสดงคิดเห็นระหว่างขับรถพานผ่านโรงภาพยนตร์ Vendôme Cinema บริเวณย่าน Avenue de l’Opéra
The movies are a drag. Weekdays we’re too busy, and on Sundays there’s always a line.
เท่าที่ผมหาข้อมูล Restaurant des Studios บริเวณถนน Rue Esquirol ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว! แต่ตำแหน่งที่ตั้งร้านอาหารแห่งนี้ช่างมีความน่าพิศวงยิ่งนัก สังเกตว่าอยู่คาบเกี่ยวระหว่างตึกปรับปรุงใหม่ vs. สภาพทรุดโทรมปรักหักพัก คงเพื่อทำการแบ่งแยกสองฝั่งฝ่าย Raoul vs. ศัตรูคู่ปรับ/เจ้าพ่อมาเฟีย หลังจากรับรู้ว่าถูกอีกฝ่ายคดโกง เบี้ยวเงิน หญิงสาวที่อยู่กึ่งกลางเลยพลัดโดนลูกหลง (เหมือนการถูกทรยศหักหลังจากทั้งสองฝั่งฝ่าย)
แนวคิดของการอยู่กึ่งกลาง ไม่ต้องการเลือกข้าง แล้วถูกทรยศหักหลังจากทั้งสองฝั่งฝ่าย แบบเดียวกันเป๊ะจากภาพยนตร์ Le petit soldat (1963)
ช็อตสุดท้ายของหนังหลังจาก Nana ทรุดล้มลง หมดสิ้นลมหายใจ กล้องมีการ ‘Tilt Down’ เลื่อนลงให้เห็นบริเวณพื้นถนน สื่อถึงชีวิตจากเคยไต่เต้าสู่จุดสูงสุด ราวกับอาศัยบนสรวงสวรรค์ ความตายทำให้ถูกฉุดคร่า พลัดตกหล่นลงมาจากฟากฟ้า กลับสู่ภาคพื้นพสุธา … สูงสุดกลับสู่สามัญ และความตายทำให้กลายเป็นอมตะ
ตัดต่อโดย Agnès Guillemot (1931-2005) รายหลังคือขาประจำผู้กำกับ Jean-Luc Godard ร่วมงานกันตั้งแต่ Le petit soldat (1963) แต่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายคือ A Woman Is a Woman (1961) จนถึงผลงานสิ้นสุดยุคสมัยแรก Week-end (1967)
เรื่องราวแบ่งออกเป็น 12 ตอน (เรียกว่า Tableau) ซึ่งจะมีคำอธิบาย(ชื่อตอน)เขียนบอกว่า Nana กำลังทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วนำเสนอเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอ้อมค้อมนอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าว
- TABLEAU 1: A BISTROT – NANA WANTS TO LEAVE PAUL – PINBALL
- Nana พูดบอกเลิกสามี (และบุตร) ต้องการออกไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ก่อนแยกย้ายพวกเขาไปเล่น Pinball
- คาเฟ่แห่งนี้คือ Rallye-Villiers ตั้งอยู่ยัง Levallois (ปิดกิจการถาวร)
- TABLEAU 2: THE RECORD SHOP – 2000 FRANCS – NANA LIVES HER LIFE
- Nana ทำงานยังร้านขายแผ่นเสียง แต่ไม่เพียงพอจ่ายค่าเช่าอพาร์ทเม้นท์ ต้องการหยิบยืมเงิน 2000 ฟรังก์ แต่ไม่มีใครยินยอมมอบให้
- ร้านขายแผ่นเสียงตั้งอยู่ยัง 25 avenue de Wagram (ปิดกิจการถาวร)
- TABLEAU 3: THE CONCIERGE – THE PASSION OF JOAN OF ARC – A JOURNALIST
- เมื่อไม่สามารถกลับห้องพัก เลยไปรับชมภาพยนตร์ La Passion de Jeanne d’Arc (1928) แล้วทอดทิ้งชายคนหนึ่ง เพื่อมาดื่มกาแฟกับอีกชายอีกคนหนึ่ง
- อพาร์ทเม้นท์ตั้งอยู่ย่าน Rue Verneuil, โรงภาพยนตร์ Cinéma du Panthéon (ยังเปิดบริการ), และคาเฟ่ L’ Escholier, Place de la Sorbonne (ยังเปิดบริการ)
- TABLEAU 4: THE POLICE – NANA IS QUESTIONED
- Nana ถูกตำรวจจับกุมข้อหาจะลักขโมยแต่ไม่ได้ลักขโมยเงิน
- น่าจะถ่ายทำในสตูดิโอภาพยนตร์
- TABLEAU 5: THE OUTER BOULEVARDS – THE FIRST MAN – THE HOTEL ROOM
- Nana ตัดสินใจขายตัว เริ่มจากมองหาลูกค้าตามท้องถนน แล้วพาขึ้นโรงแรม ปฏิเสธการจุมพิต
- ถนนเส้นดังกล่าวคือ Boulevard Pereire, ส่วนโรงแรม The Monaco (ปัจจุบันกลายเป็นไนท์คลับ)
- TABLEAU 6: YVETTE – A CAFÉ IN THE SUBURBS– RAOUL – MACHINE-GUN FIRE
- Yvette ชักชวน Nana มายังคาเฟ่แห่งหนึ่ง (คนละแห่งกับ Tableau 1) แนะนำให้รู้จัก Raoul ที่กำลังเล่นพินบอล แต่ได้เพียงแค่ทักทาย เพราะมีเหตุการณ์ยิงกันภายนอก
- คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ยัง Versailles, Rue Au Pain ใกล้ๆพระราชวังแวร์ซาย
- TABLEAU 7: THE LETTER – RAOUL AGAIN – THE CHAMPS ÉLYSÉES
- คาเฟ่อีกแห่งหนึ่งที่มีภาพถ่าย Champs-Elysées อยู่เบื้องหลัง Nana กำลังเขียนจดหมายแนะนำตัว แต่การมาถึงของ Raoul ทำให้รับรู้ว่าเขาคือพ่อเล้า
- คาเฟ่แห่งนี้เชื่อว่าน่าเคยตั้งอยู่แถวๆ Champs-Elysées
- TABLEAU 8: AFTERNOONS – MONEY – WASHBASINS – PLEASURE – HOTELS
- Raoul อธิบายการทำการของไฮโซโสเภณีในลักษณะคำถาม-ตอบ และร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน (ของโสเภณี)
- โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ย่าน Eiffel-Seine ปัจจุบันคงได้รับการปรับปรุงไปมาก
- TABLEAU 9: A YOUNG MAN – NANA WONDERS IF SHE’S HAPPY
- คาเฟ่อีกแห่งหนึ่ง Nana รับชมการแสดงตลกของเพื่อน Raoul จากนั้นเต้นระบำบทเพลง …
- TABLEAU 10: THE SIDEWALK – A MAN – THERE’S NO GAIETY IN HAPPINESS
- Nana ระหว่างเดินหางานได้ชายคนหนึ่ง แต่เขามีความต้องการสวิงกิ้ง
- เริ่มต้นที่ถนน Boulevard de Grenelle แล้วไปต่อโรงแรมที่ที่ Eiffel-Seine
- TABLEAU 11: PLACE DU CHÂTELET – THE STRANGER – NANA THE UNWITTING PHILOSOPHER
- Nana มาถึงยังคาเฟ่แห่งหนึ่ง พูดคุยกับชายแปลกหน้า สนทนานักปรัชญา Brice Parain
- คาเฟ่แห่งนี้ชื่อว่า Le Zimmer ตั้งอยู่ Place du Châtelet (กลายเป็นร้านอาหารหรู)
- TABLEAU 12: THE YOUNG MAN AGAIN – THE OVAL PORTRAIT – RAOUL SELLS NANA
- เริ่มต้นที่แฟนหนุ่มของ Nana อ่านข้อความจากนวนิยาย The Oval Portrait จากนั้นเธอครุ่นคิดจะเลิกราอาชีพโสเภณี แต่กลับถูก Raoul ทรยศหักหลังด้วยการขายให้เจ้าพ่อมาเฟีย
- ห้องพักอยู่ที่ Rue Verneuil, ส่วนถนนสายสุดท้ายคือ Rue Esquirol
การแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ ลักษณะคล้ายๆนวนิยาย มีมาตั้งแต่ยุคสมัยหนังเงียบโดยเฉพาะผลงานของ D. W. Griffith จนการมาถึงของหนังพูด (Talkie) ทำให้กระแสนิยมดังกล่าวเสื่อมถดถอยลงไป แต่เห็นว่าผู้กำกับ Godard ได้แรงบันดาลใจวิธีการนำเสนอนี้จากภาพยนตร์ The Flowers of St. Francis (1950) กำกับโดย Roberto Rossellini แบ่งออกเป็น 9 ตอน และใช้คำอธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้นแทนการตั้งชื่อที่หรูหรา
ส่วนจุดประสงค์แท้จริงของการแบ่งแยกเรื่องราวออกเป็นบัญญัติ 12 ประการ เพื่อให้ผู้ชมไม่ถูกซึมซับไปกับเรื่องราว เกิดความตระหนักรู้อยู่ตลอดเวลาว่านี่คือศิลปะ/ภาพยนตร์ … ลักษณะดังกล่าวคือแนวคิดของ Episches Theater (Epic Theatre) ไม่ได้หมายถึงสเกลในการสร้าง แต่คือรูปแบบวิธีการนำเสนอ พยายามทำให้ผู้ชมตระหนักรู้ถึงสภาพความเป็นจริง หนึ่งในนั้นที่นิยมใช้กันคือเทคนิค Verfremdungseffekt แปลว่า Estrangement effect (หรือ Distancing effect หรือ Alienation Effects) ด้วยการทำบางสิ่งอย่างเพื่อขัดจังหวะ ทำลายความต่อเนื่อง ก่อกวนความรู้สึกของผู้ชม จักทำให้ผู้ชมบังเกิดการครุ่นคิดด้วยสติ (ในจิตสำนึก) ไม่ใช่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ล่องลอยไปกับสิ่งที่ละคร/ภาพยนตร์นำเสนอออกมา (ในจิตใต้สำนึก)
Alienation Effects is playing in such a way that the audience was hindered from simply identifying itself with the characters in the play. Acceptance or rejection of their actions and utterances was meant to take place on a conscious plane, instead of, as hitherto, in the audience’s subconscious.
Bertolt Brecht (1898–1956) นักเขียนชาว German ผู้ให้คำนิยามของ Verfremdungseffekt
เพลงประกอบโดย Michel Jean Legrand (1932-2019) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris เป็นบุตรของนักแต่งเพลง/วาทยากรชื่อดัง Raymond Legrand มีอัจฉริยภาพด้านเปียโนตั้งแต่เด็ก พออายุ 10-11 ขวบ เข้าศึกษา Conservatoire de Paris ค้นพบความสนใจดนตรีแจ๊สและการประพันธ์เพลง จบออกร่วมทัวร์การแสดงของ Maurice Chevalier (เป็นนักเปียโน) จากนั้นออกอัลบัมแรก I Love Paris (1954) ได้รับความนิยมอย่างคาดไม่ถึง, สำหรับภาพยนตร์เริ่มต้นจาก Les Amants Du Tage (1954), โด่งดังกับ L’Amérique insolite (1958), A Woman Is a Woman (1960), ร่วมงานกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Jacques Demy ตั้งแต่ Lola (1961), The Umbrellas of Cherbourg (1964), The Young Girls of Rochefort (1966), กระทั่งคว้า Oscar: Best Score จาก Summer of ’42 (1971), The Thomas Crown Affair (1968) และ Yentl (1983)
บทเพลงที่กลายเป็นอีกตำนานของ Legrand ด้วยการบรรเลงโน๊ตเสียงทุ้มต่ำ (เครื่องเป่า+เปียโน) ย้ำๆซ้ำๆ (แทบทุกครั้งจะเล่นโน๊ตตัวเดียวซ้ำ 2-3 ครั้ง) เพื่อสร้างบรรยากาศอึมครึม มอบสัมผัสมืดหมองหม่น เหมือนว่าชีวิตพานผ่านอะไรๆมามาก รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ท้อแท้สิ้นหวัง ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศกำลังมาถึง แม้ตัดด้วยเสียงแอคคอร์เดียน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดประกายแห่งความหวังสักเท่าไหร่ (เพราะก็เล่นโน๊ตเสียงต่ำเช่นเดียวกัน)
บทเพลงดังกล่าวมักดังขึ้นระหว่างเปลี่ยนฉาก ขึ้นตอนใหม่ หรือขณะตัวละครรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง (จะไม่มีการดังแทรกระหว่างกำลังพูดคุยสนทนา) ซึ่งการได้ยินซ้ำๆ แค่เพียงรอบสองก็น่าจะสามารถจดจำท่วงทำนอง เพราะเสียงดนตรีถือว่ามีความโดดเด่น/เอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงๆ
Nana กดตู้เพลงใน TABLEAU 9 แล้วโยกเต้นเริงระบำไปรอบๆคาเฟ่ ในอัลบัมเพลงประกอบตั้งชื่อว่า Roger France et son Orchestre เท่าที่ผมหาข้อมูลได้น่าจะเป็นการเรียบเรียงใหม่ของ Legrand โดยนำแรงบันดาลใจจาก Roulé mo sega แต่ง/ขับร้องโดย Roger Augustin ศิลปินจากประเทศ Mauritius (ประเทศที่เป็นเกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์)
เกร็ด: ผมอ่านเจอว่าหนังเรื่องนี้บันทึกเสียง ‘sound-on-film’ ทั้งบทพูด เสียงพื้นหลัง ล้วนเกิดจากการบันทึกสดๆตรงนั้น รวมถึงบทเพลงที่ดังจากตู้เพลงนี้ด้วยนะครับ (ยกเว้นเพียง Main Theme ที่ทำการ Mixing เอาภายหลัง)
แถมท้ายกับอีกตู้เพลง(แจ้งเกิด)ที่กลายเป็นตำนานร่วมกับหนัง Ma Môme (1961) แต่ง/ขับร้องโดย Jean Ferrat (1930-2010) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ที่ยังชื่นชอบการเขียนบทกวี แล้วนำมาเป็นคำร้องในบทเพลง
เพลงนี้ดังขึ้น TABLEAU 6 ณ คาเฟ่แห่งหนึ่ง เมื่อมีคนกดตู้เพลง แล้วภาพถ่ายให้เห็นหนุ่ม-สาว ราวกับเจ้านกน้อย (Ma Môme แปลว่า My Bird) กำลังพรอดรัก เหมือนกำลังต้องพลัดพรากจาก (สังเกตจากเครื่องแบบทหาร เหมือนว่าอีกฝ่ายกำลังจะต้องไปสงคราม)
ต้นฉบับฝรั่งเศส | คำแปลอังกฤษ |
---|---|
Ma môme, elle joue pas les starlettes Elle met pas des lunettes De soleil Elle pose pas pour les magazines Elle travaille en usine À Créteil Dans une banlieue surpeuplée On habite un meublé Elle et moi La fenêtre n’a qu’un carreau Qui donne sur l’entrepôt Et les toits On va pas à Saint-Paul-de-Vence On passe toutes nos vacances À Saint-Ouen Comme famille on n’a qu’une marraine Quelque part en Lorraine Et c’est loin Mais ma môme, elle a vingt-cinq berges Et je crois bien que la Sainte Vierge Des églises N’a pas plus d’amour dans les yeux Et ne sourit pas mieux Quoi qu’on dise L’été quand la ville s’ensommeille Chez nous y a du soleil Qui s’attarde Je pose ma tête sur ses reins Je prends tout doucement sa main Et je la garde On se dit toutes les choses qui nous viennent C’est beau comme du Verlaine On dirait On regarde tomber le jour Et puis on fait l’amour En secret Ma môme, elle joue pas les starlettes Elle met pas des lunettes De soleil Elle pose pas pour les magazines Elle travaille en usine À Créteil | My bird, she doesn’t play the starlet She doesn’t put on Sunglasses She doesn’t pose for magazines She works in a factory At Créteil In an overpopulated suburb We live in a furnished flat She and me The window has but one pane Which overlooks the warehouse And the roofs We don’t go to Saint-Paul-de-Vence We spend every holiday At Saint-Ouen As a family we have but a godmother Somewhere in Lorraine And that’s far But my bird, she’s twenty-five And I really think that the Blessed Virgin Of the churches Hasn’t more love in her eyes And doesn’t smile better Whatever is said At Summer, when City falls asleep At home, there’s sun Which lingers I lay my head on her loins I slowly take her hand And keep it We tell each other all the things that come to us That’s as beautiful as Verlaine, It would seem We look at sunset And then secretly We make love My bird, she doesn’t play the starlet She doesn’t put on Sunglasses She doesn’t pose for magazines She works in a factory At Créteil |
Vivre Sa Vie (1962) นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาวจากจุดตกต่ำสุดของชีวิต (เลิกราสามี ทอดทิ้งบุตร ไม่มีเงินติดตัวสักฟรังก์) ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อสามารถไต่เต้าสู่จุดสูงสุด ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง ได้กระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ เพียงแต่อาชีพของเธอนั้นคือการขายเรือนร่างกายให้ชายอื่น (กลายเป็นไฮโซโสเภณี มั่งมีเงินทอง ชื่อเสียงโด่งดัง กระทำสิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตน)
มองมุมหนึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้คือบทกวีแห่งการด่าทอของผู้กำกับ Godard ตำหนิต่อว่าภรรยา Karina ที่เคยคบชู้นอกใจ (สานสัมพันธ์กับ Jacques Perrin) ว่าเป็นยัยโสเภณี! พร้อมทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อความสำเร็จ ชื่อเสียงเงินทอง ไต่เต้าสู่จุดสูงสุด แต่แล้วก็ถูกทรยศหักหลัง จน(เกือบ)ต้องจบชีวิตลง (และหวนกลับมาหาตนเองอีกครั้ง) สมน้ำหน้าชะมัด!
แต่ด้วยวิธีการนำเสนอที่ตัดทอดทิ้งรายละเอียด เนื้อหนังมังสา แม้แต่อวัยวะภายใน หลงเหลือเพียงโครงสร้าง/โครงกระดูก จนแทบจะมองเห็นจิตวิญญาณของนักแสดง/ภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื้อหาสาระแท้จริงจึงคือการต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาชีพรอด ภายใต้สภาพสังคมที่เหี้ยมโหดร้าย เศรษฐกิจย่ำแย่ แถมยังภัยสงคราม การก่อการร้าย ฯลฯ
เราสามารถมองอาชีพโสเภณีในเชิงสัญลักษณ์ ถึงบุคคล(ไม่ว่าจะชาย-หญิง-เพศอื่น)ที่พร้อมรองรับตัณหาอารมณ์ ความต้องการของลูกค้า กระทำตามข้อเรียกร้อง ยินยอมรับคำสั่งไม่ต่างจากขี้ข้า ทาสรับใช้ เช็ดเยี่ยวเช็ดอสุจิ ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียงโต้ตอบขัดแย้ง นั่นเพราะได้รับบางสิ่งอย่างไม่จำเป็นว่าต้องเงินทอง ความสุขคือหนึ่งในค่าตอบแทนทางจิตใจ
If I choose to portray prostitution, it’s because it seems to me that everyone around Paris lives more or less like a prostitute. If I work in advertising singing the praises of Simcas when I really love Ferraris, then I’m prostituting myself to Simcas.
Jean-Luc Godard
การตีความโสเภณีเชิงสัญลักษณ์ ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆได้อย่างครอบจักรวาล ลักษณะของเผด็จการ-ขี้ข้าทาสรับใช้ ในเชิงรูปธรรม-นามธรรม คน-สัตว์-สิ่งของ ระดับครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ประเทศชาติ หรือแม้แต่วิถีของโลก บุคคลใดหรืออะไรก็ตามที่มีพลังอำนาจเหนือกว่า ย่อมสามารถกดขี่ข่มเหงผู้อยู่ภายใต้ ต้องก้มหัวศิโรราบ ยินยอมกระทำตามคำสั่ง (ถ้ายังอยากรอดชีวิต)
ผู้กำกับ Godard เป็นคนที่โหยหาเสรีภาพ ไม่ชอบก้มหัวให้ใคร แน่นอนว่าต้องไม่ยินยอมเป็น ‘โสเภณี’ แต่สำหรับมนุษย์ตัวเล็กๆ ต่อให้พยายามต่อสู้ดิ้นรน ตะเกียกตะกายหลบหนี หรือปีนป่ายไปให้ถึงจุดสูงสุด ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีทางจักเอาชนะ ก้าวข้ามผ่านวัฏจักรชีวิต โชคชะตาฟ้าลิขิต มักถูกทรยศหักหลังจากทั้งพวกพ้องและศัตรู (แบบเดียวกับภาพยนตร์ Le petit soldat (1963)) พอตกตายจากไป ย่อมหวนกลับสู่ภาคพื้นพสุธา
เมื่อเกิดความเข้าใจเช่นนี้ ผู้กำกับ Godard จึงทำการบัญญัติหลัก 12 ประการ เพื่อนำทางผู้ชมให้เริ่มต้นครุ่นคิด ตระหนักถึงมูลค่าของชีวิต ไม่ใช่แค่รู้สึกสงสารเห็นใจตัวละคร แต่เข้าถึงสัจธรรมความจริง แบ่งแยกแยะถูก-ผิด และพบเห็นสิ่งที่เรียกว่า ‘จิตวิญญาณ’ ของทั้ง Anna Karina และภาพยนตร์ Vivre Sa Vie (1962)
เกร็ด: ภาษาฝรั่งเศสคำว่า Vivre แปลว่า ชีวิต, Life บางครั้งยังใช้กล่าวถึงโสเภณี เป็นอาชีพที่ทำแล้วรู้สึกเหมือน ‘มีชีวิต’
ชีวิต=ภาพยนตร์ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดที่ผู้กำกับ Godard พยายามผสมผสานสองสิ่งให้กลายเป็นอันหนึ่ง! นั่นทำให้ตอนจบของ Vivre Sa Vie (1962) เลยจำต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับสิ้นสูญ ซึ่งก็คือการตายของตัวละคร Karina เพื่อให้ภาพยนตร์นี้มีความสมบริบูรณ์
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ปรากฎว่าได้รับเสียงโห่ขับไล่ ผู้ชมส่วนใหญ่ดูไม่เข้าใจ แต่ยังสามารถคว้ามาสองรางวัล (พ่ายรางวัล Golden Lion ให้กับ Ivan’s Childhood (1962) และ Family Diary (1962))
- Special Jury Prize (รางวัลที่สอง, ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น Grand Jury Prize)
- Pasinetti Award: Competition
ด้วยทุนสร้างเพียง $40,000 เหรียญ (น้อยกว่าเท่าตัวของ Breathless (1960)) ไม่มีตัวเลขรายรับ รายงานข่าวแห่งหนึ่งบอกว่าหนังประสบความสำเร็จล้นหลามในฝรั่งเศส ติดอันดับ 4 ทำเงินสูงสุดประจำปี! แต่ผมไปค้นเจออีกลิสที่มีสถิติตัวเลขผู้เข้าชมปี 1962 กลับไม่มี Vivre Sa Vie (1962) ติดอันดับใดๆ สรุปแล้วกำไรหรือเจ๊งสนิทกันแน่??
Vivre Sa Vie seems to me a perfect film. That is, it sets out to do something that is both noble and intricate, and wholly succeeds in doing it.
Godard is the first director fully to grasp the fact that, in order to deal seriously with ideas, one must create a new film language for expressing them– if the ideas are to have an suppleness and complexity. This he has been trying to do in different ways: in Le Petit Soldat, Vivre Sa Vie, Les Carabiniers, Le Mépris, Une Femme Mariée, and Alphaville – Vivre Sa Vie being, I think, his most successful film.
Susan Sontag (1933-2004) นักเขียน นักวิจารณ์ นักปรัชญา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สัญชาติอเมริกัน
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ครั้งแรกเมื่อปี 2010 คุณภาพ High-Definition กลายเป็น DVD/Blu-Ray หารับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion, ล่าสุดเมื่อปลายปี 2021 มีการบูรณะ 4K ยังอยู่ในช่วงออกฉายตามเทศกาลหนัง
ย้อนอ่านบทความคราก่อน แม้พอมีความเข้าใจอะไรๆอยู่เยอะ แต่ยังขาดประสบการณ์ภาพยนตร์อยู่มาก หวนกลับมารอบนี้รู้สึกชื่นชอบประทับใจหนังมากๆๆขึ้นกว่าเก่า เพราะสามารถเข้าถึงเหตุผล ความตั้งใจ ผู้กำกับต้องการนำเสนออะไร จึงพบเห็นความสมบูรณ์แบบ ‘perfect’ ในทุกๆช็อตฉาก ให้กำเนิดจิตวิญญาณ มีความบริสุทธิ์ที่สุดตั้งแต่ผมเคยรับชม
การจะเข้าถึงจิตวิญญาณของ Vivre sa vie (1962) จำต้องใช้ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ค่อนข้างมากจริงๆ ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือต้องพานผ่านผลงานผลงานของผู้กำกับ Jean-Luc Godard มาปริมาณหนึ่งก่อนด้วย ถึงสามารถรับรู้เข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น ถ้าค่อยๆไล่เรียงจาก Breathless (1960), Le petit soldat (1963) และ A Woman is a Woman (1961) ก็มีแนวโน้มพบเห็นบางสิ่งอย่างได้เหมือนกัน
แนะนำคอหนังดราม่า (Drama), เกี่ยวกับโสเภณี (Prostitute), นักคิด นักปรัชญา (Philosophy), นักเรียน/นักศึกษา นักวิจารณ์ นักประวัติศาสตร์ ทำงานสายภาพยนตร์ นี่คือโคตรผลงานที่สามารถกลายเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจ ท้าทายกระบวนการครุ่นคิดให้ปรับเปลี่ยนแปลงไป
จัดเรต 13+ โสเภณีและโศกนาฎกรรม
คำโปรย | Vivre Sa Vie บัญญัติสิบสองประการของผู้กำกับ Jean-Luc Godard สรรค์สร้างชีวิตให้ Anna Karina และจิตวิญญาณแก่วงการภาพยนตร์
คุณภาพ | มาสเตอร์พีซ
ส่วนตัว | ประทับใจ
Vivre sa vie (1962) : Jean-Luc Godard ♥♥♥♡
(11/12/2016) สิ่งที่ Jean-Luc Godard สร้างขึ้นใน My Life to Live คือการเขียนทฤษฎีปรัชญาด้วยภาษาภาพยนตร์, ด้วยแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์คือการสื่อสาร ที่เมื่อทำให้ผู้ชมมีความเข้าใจเป็นสากล จะเรียกว่า ‘ภาษาภาพยนตร์’ แล้วไฉนจะไม่สามารถสร้างแนวคิด/ปรัชญา ด้วยภาษาสากลนี้ได้ละ
ตอนดูหนังจบ ผมมึนตึบเลยละครับ คิดว่าเข้าใจสิ่งที่อยู่ในหนังประมาณสัก 20% เท่านั้น จึงไปสรรหาอ่านบทความวิจารณ์/วิเคราะห์ จนเข้าใจความตั้งใจของผู้กำกับ แต่ก็ยังยากที่จะบรรลุถึงแก่นแท้ของหนัง, ไม่ใช่แค่คุณต้องมีความสามารถในการเข้าใจภาษาหนัง แต่ยังต้องเคยศึกษาปรัชญา ครุ่นคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถามกับการมีชีวิต และเป้าหมายสูงสุดของการเกิด ถึงจะสามารถเข้าใจอะไรๆของหนังได้
ในยุค French New Wave หลังจากที่ Truffaut และ Godard ได้แจ้งเกิดในหนังเรื่องแรกของทั้งสองไปแล้ว ใช่ว่านั่นคือความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคนี้นะครับ, สำหรับ Truffaut หนังเรื่องที่การันตีความยิ่งใหญ่คือ Jules et Jim (1962) [เรื่องที่ 3] ส่วน Godard จะคือ Vivre sa vie (1962) [เรื่องที่ 4] ที่ในนักวิจารณ์จะยกย่องว่า Jules et Jim คือหนังที่ชาวฝรั่งเศสหลงรักที่สุด ส่วน Vivre sa vie คือหนังที่มีอิทธิพลที่สุด
สำหรับบทความเรื่องนี้ จะเน้นการวิเคราะห์ในส่วนปรัชญาของหนังเป็นหลัก เพราะถือว่า ผู้ชมที่จะดูหนังเรื่องนี้ได้ ควรต้องมีความสามารถในการรับชมหนังระดับ Veteran เข้าใจภาษาภาพยนตร์ได้แล้วส่วนหนึ่ง จะได้ไม่เสียเวลาอธิบายมาก พูดถึงผ่านๆก็น่าจะพอจับใจความได้, ถ้าคุณยังทำความเข้าใจหนังอย่าง L’Avventura (1960), 8 1/2 (1963) หรือ Persona (1966) ไม่ได้ ก็ขอให้ผ่านไปเลยนะครับ
In Vivre sa vie I have attempted to film a mind in action, the interior of someone seen from outside.
– Jean-Luc Godard, Télérama, 1962
Vivre sa vie: Film en douze tableaux หรือ To Live Her Life: A Film in Twelve Scenes เล่าเรื่องราวของหญิงสาวชื่อ Nana (รับบทโดย Anna Karina ที่ขณะนั้นเป็นภรรยาของ Godard) สวมเสื้อผ้าสุด Chic ไว้ผมบ็อบ (ภาพลักษณ์ฺแบบเดียวกับ Louise Brooks ในหนังเรื่อง Pandora’s Box-1929) ชื่นชอบการสูบบุหรี่ อาศัยอยู่ในปารีส, ด้วยการแบ่งเรื่องราวออกเป็น 12 องก์/ตอน ขึ้นคั่นด้วยคำอธิบายที่บอกว่า ใคร/ทำอะไร/ที่ไหน/อย่างไร
ก่อนหนังจะเริ่มต้น Open Credit จะมีภาพ Mugshot ถ่ายภาพหน้าตรง 3 ด้าน ซ้าย,ขวา,หน้า ของหญิงสาว เหมือนถ่ายรูปผู้ต้องหาเพื่อทำบันทึกหลักฐาน (profile), ส่วนเครดิตชื่อที่ขึ้น มีการจัดเรียงในลักษณะชิดขอบซ้ายขวาเป็นสี่เหลี่ยม ขึ้นครั้งละ 4 บรรทัด ตรงกลางจอ บดบังใบหน้าของหญิงสาว (มันคงมีนัยยะอะไรสักอย่าง) แต่จะไม่มีชื่อผู้กำกับ และตบท้ายเครดิตด้วยข้อความขึ้นว่า
Lend yourself to others and give youself to yourself.
-Montaigne
ประโยคนี้มีนัยยะถึงอาชีพของหญิงสาวที่กลายเป็น, ความต้องการของเธอในตอนจบ และเป็นหลักปรัชญาใจความสำคัญของหนัง
วิธีการจะดูหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจ คือคุณต้องทำความเข้าใจหนังในระดับพื้นฐานก่อน คือ ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เกิดอะไรขึ้นในแต่ละฉาก ภาษาภาพยนตร์มีอะไรบ้าง เมื่อดูหนังจบก็ถึงนำแต่ละเรื่องราวมาคิดวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ มองหาภาพรวมและใจความสำคัญ ถ้าสามารถทำได้ตามนี้ ก็มีแนวโน้มจะเข้าใจหนังแล้วนะครับ แต่เพื่อให้ชัวร์ ลองเช็คดูว่าตรงกันไหม
Tableau 1: A BISTROT – NANA WANTS TO LEAVE PAUL – PINBALL
Separation: Nana กำลังเลิกกับสามีและทิ้งลูก ด้วยเหตุผลที่ต้องการเดินตามความฝัน เป็นดาราดัง, ภาพ 6 ช็อตถ่ายจากด้านหลังของหญิงสาวสลับกับชายหนุ่ม เห็นภาพสะท้อนใบหน้าในกระจก, ช็อตที่ 7 ตอนจบของฉากนี้ เห็นทั้ง 2 เดินไปเล่น pinball ด้วยกันครั้งสุดท้าย
เกร็ด: François Truffaut เคยบอกว่า ผู้กำกับยุค French New Wave มีสิ่งหนึ่งที่ชื่นชอบเหมือนกันคือ เล่น Pinball
Tableau 2: THE RECORD SHOP – 2000 FRANCS – NANA LIVES HER LIFE
Work: ถ่ายภาพ long-take แพนกล้องไปกลับในระหว่างที่ Nana ทำงานในร้านขายแผ่นเสียง กำลังมีความวิตกว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายค่าเช่าห้อง, ตอนจบของฉากนี้ กล้องแพนไปเห็นข้างนอกร้าน ผู้คนเดินไปมาบนท้องถนน
Tableau 3: THE CONCIERGE – THE PASSION OF JOAN OF ARC – A JOURNALIST
Passion: ที่โรงภาพยนตร์ Nana กำลังรับชมหนังเงียบเรื่อง The Passion of Joan of Arc (1928), กล้องตัดสลับระหว่างใบหน้าของ Renée Jeanne Falconetti (คนที่รับบท Joan of Arc) และ Nana ที่กำลังร้องไห้ ซาบซึ้งกับหนัง [หนังมีใจความ การตัดสินที่ไม่เป็นธรรมของผู้ชายต่อผู้หญิง], หลังดูหนังจบ Nana แยกจากชายคนที่จ่ายค่าตั๋วให้ เข้าไปหาชายอีกคนที่ร้านอาหาร (เป็นนักข่าวที่สัญญาว่าจะทำให้เธอเป็นดาราดัง) ช็อตนี้กล้องเคลื่อนไปมาซ้ายขวาตลอดเวลา สลับด้านสนทนา จบฉากด้วยการเคลื่อนกล้องไปบริเวณโต๊ะเก้าอี้เปล่าๆ ไม่มีใครนั่ง
Tableau 4: THE POLICE – NANA IS QUESTIONED
Identity: ที่สถานีตำรวจ Nana ถูกจับ กำลังให้ปากคำ ทำให้เรารู้ว่า นามสกุลของเธอคือ Kleinfrankenheim (นี่เป็นชื่อหมู่บ้านเล็กแห่งหนึ่งใน Alsace) เกิดที่ Flexburg วันที่ 15 เมษายน 1940 สถานที่อยู่ไม่ระบุ และสิ่งที่เธอต้องการ คือเกิดเป็นคนอื่น (to be someone else), Nana ก้มหน้าก้มตารับผิดระหว่างการให้ปากคำ เหตุผลที่ถูกจับ เพราะเธอมีความต้องการขโมยเงินของคนๆหนึ่งที่ทำตก แต่ถูกจับได้ แม้จะคืนเงินไปแล้ว แต่คนๆนั้นก็เอาเรื่องถึงที่สุด
ตีความ: นี่เป็นการนำเสนอ กายภาพ/ภายนอก ของ Nana
Tableau 5: THE OUTER BOULEVARDS – THE FIRST MAN – THE HOTEL ROOM
Street: Nana ได้ลูกค้าคนแรก บริเวณใกล้ๆโรงหนังที่กำลังฉายหนังของ Stanley Kubrick เรื่อง Spartacus (1960) มีคำโปรยขึ้นว่า ‘ความตายคืออิสระภาพเดียวของทาส’ (death is the only freedom a slave knows), ณ ห้องของโรงแรม เธอขอค่าตัวแค่เป็นค่าเช่าห้องพักเท่านั้น และขณะที่ชายคนนั้นกำลังจูบ เธอหันหน้าหนีไม่ยอม (เห็นว่าสถานที่ถ่าย ห้องเดียวกับหนังเรื่อง Pickpocket-1959 ของ Robert Bresson)
Tableau 6: YVETTE – A CAFÉ IN THE SUBURBS– RAOUL – MACHINE-GUN FIRE
Cafe: Yvette (เพื่อนโสเภณี) พา Nana ไปคาเฟ่แห่งหนึ่ง ส่งสายตายั่วเย้าชายคนที่เล่น pinball แนะนำให้เธอรู้จัก ชื่อ Raoul เป็นพ่อเล้า (แมงดา) ฉากในคาเฟ่ ภาพจะจับเฉพาะใบหน้าของ Nana ตัดไปเห็นเธอมองคู่รักที่จู๋จี้ (ความสุข) และเครื่องเล่นเพลง (สนุกสนาน), ตอนจบเกิดเสียงปืน ข้างนอกมีตำรวจกำลังจับกุมชายคนหนึ่ง เธอรีบเดินออกจากคาเฟ่สวนทางกับทหาร
Tableau 7: THE LETTER – RAOUL AGAIN – THE CHAMPS ÉLYSÉES
The Pimp: Nana กำลังเขียนจดหมายถึงใครบางคน (ถ่ายภาพ close-up ขณะเขียน) เมื่อ Raoul เข้ามาหา ทั้งสองสนทนากัน ภาพพื้นหลังใหญ่ๆนั่นคือถนน Champs-Elysées ตอนจบ Raoul ดูดบุหรี่ จูบ Nana แล้วเธอพ่นควันออกทางปาก
Tableau 8: AFTERNOONS – MONEY – WASHBASINS – PLEASURE – HOTELS
Sociology: บทสนทนาเป็นคำถาม-ตอบ กฎเกณฑ์ คำแนะนำ ชีวิตของโสเภณี, ส่วนภาพที่นำเสนอ คือเหตุการณ์ซื้อ-ขาย ใช้บริการโสเภณี, ช็อตสุดท้าย เห็นด้านหลังของ Nana เงาและไม้แขวนเสื้อ (โดดเดี่ยว อ้างว้าง)
เกร็ด: โสเภณี ในมุมของ Godard มักเปรียบเทียบกับ การกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์ มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ เศรษฐกิจ, สังคม ฯ
Tableau 9: A YOUNG MAN – NANA WONDERS IF SHE’S HAPPY
Dancing: คาเฟ่แห่งหนึ่งด้านบน Nana เต้นเพลง SWING! SWING! SWING! ของ Michel Legrand ไปรอบๆโต๊ะบิลเลียด (ที่ไม่มีรู) และชายสองคนที่นั่งคุยกันอยู่, ก่อนหน้านี้ ชายคนหนึ่งเห็น Nana ดูเศร้าๆ เลยเล่นตลก ทำท่าเด็กเป่าลูกโป่ง (ระเบิดออก)
ตีความ: ความเบื่อหน่ายในชีวิตที่เป็นอยู่ ต้องการค้นหาคำตอบของชีวิต
Tableau 10: THE SIDEWALK – A MAN – THERE’S NO GAIETY IN HAPPINESS
Sex: Nana ยืนอยู่ที่ถนน ได้รับงานขึ้นห้อง จ่ายเงินแล้ว ผู้ชายบอกต้องการผู้หญิงอีกคน ออกไปตามหา ได้มาแล้วผู้ชายบอกให้เธอไม่ต้องทำอะไร จึงนั่งสูบบุหรี่อยู่ริมหน้าตาง
ตีความ: การค้นหาความจริง (ค้นหาเพื่อนโสเภณี) แต่พบแล้วกลับยังไม่ใช่
Tableau 11: PLACE DU CHÂTELET – THE STRANGER – NANA THE UNWITTING PHILOSOPHER
Philosophy: ที่ Café อีกแห่ง ได้พบกับคนแปลกหน้า นักปรัชญาชื่อ Brice Parain (คนนี้เป็นอาจารย์ที่สอนปรัชญา Godard) ได้ตอบคำถามของเธอเกี่ยวกับ เหตุผลที่มนุษย์ต้องมีการสื่อสาร อะไรคือเป้าหมายชีวิต และแนะนำความรักคือหนทางออก (love can be a solution, if it is true), มีช็อตหนึ่งที่ Nana จ้องมองสบตากับกล้อง เหมือนเรียกร้องคนดูให้หลงรักกับเธอ (loving gaze)
ตีความ: นี่เป็นการอธิบายใจความของหนังออกมาเป็นคำพูด ที่ต้องใช้การตั้งใจฟังและทำความเข้าใจ (จริงๆเข้าใจแค่ช่วงนี้ช่วงเดียว ก็สามารถเข้าใจหนังได้ทั้งเรื่องเลย)
Tableau 12: THE YOUNG MAN AGAIN – THE OVAL PORTRAIT – RAOUL SELLS NANA
Love and Death: ชายคนหนึ่งตกหลุมรัก Nana ช่วงแรกจะไม่มีเสียง (เหมือนว่าไม่ใช้เสีย ก็สามารถเข้าใจกันและกันได้) จากนั้นเป็นเสียง Godard อ่านหนังสือ The Oval Portrait เรื่องราวของ จิตรกรที่วาดภาพภรรยาของตน แม้เขาจะรักเธอแค่ไหน แต่ภาพวาดที่ออกมานั้นกลับฆ่าเธอให้ตายได้, ต่อมา Nana ถูก Raoul ขายให้กับแมงดาคู่แข่ง แต่ขณะแลกเปลี่ยน เกิดความขัดแย้งกัน ทำให้เธอพลอยถูกลูกหลงเสียชีวิต
ตีความ: สิ่งที่ Nana ค้นพบ คือเป้าหมายชีวิต แต่ต้องแลกกับบางสิ่งบางอย่าง
ชื่อหนัง Vivre sa vie แปลว่า My Life to Live (การมีชีวิต ของชีวิตฉัน) [ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่เห็นมีคนพูดว่า Vivre แปลว่า โสเภณีได้ด้วย] มีเรื่องราวชีวิตของหญิงสาวชื่อ Nana ผู้มีความฝันอยากเป็นดารา แต่ไม่สามารถไต่เต้าไปถึงได้ กลับกลายเป็นดาวดิน (โสเภณี) ให้ผู้ชายได้เด็ดดมกิน
การแสดงของ Karina มันเหมือนว่าสิ่งที่เราเห็น คือสิ่งที่อยู่ภายในของตัวละคร มีสุขก็แสดงความสุข มีทุกข์ก็แสดงความซึมเศร้า แบบตรงไปตรงมา แต่เราจะยังไม่เห็นสิ่งที่เป็น ตัวตนแท้จริงของเธอที่หลบซ่อนอยู่ภายใน (จิตวิญญาณ), ซึ่งเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เมื่อเธอได้พบว่า เงินทอง ชื่อเสียง คำพูด ไม่ใช่สิ่งสำคัญค่าที่สุดในชีวิต จึงต้องการค้นหาสัจธรรม ความจริงแท้ ที่เป็นเป้าหมายสุดท้ายของมนุษย์, ได้พบกับนักปรัชญา ที่ช่วยชี้แนะด้วยคำพูด ทำให้เธอค้นพบความต้องการที่แท้จริง
แต่การค้นพบนั้น ต้องแลกมาด้วยบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือ ‘ชีวิต’ ของเธอ, ดังเรื่องเล่าของนักปรัชญาที่ว่า ชายคนหนึ่ง (หนึ่งใน The Three Musketeers) ที่อยู่ดีๆฉุกคิดขึ้นมา ‘ฉันจะก้าวเท้าซ้ายหรือท้าวขวาก่อนดี’ ณ วินาทีที่ครุ่นคิดขึ้น ขาทั้งสองกลับไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ จนตัวตาย, วินาทีที่มนุษย์ครุ่นคิด ค้นพบความจริงบางอย่างในชีวิต เขาจะเกิดความกลัว ต่อความเชื่อที่เคยมีมาเหมือนมันจะทรยศหักหลัง แล้วฉันจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ยังไง …
การตายของ Nana คือทางออกที่สมเหตุสมผลของหนัง เพราะเมื่อเธอได้พบกับความรัก (สัจธรรมของชีวิต) ตั้งใจจะเลิกเป็นโสเภณี ก็เหมือนเป็นการทรยศหักหลังจากสิ่งที่เธอเคยเป็นมา ต่อ Raoul และความต้องการเดิมของตน, จะมองว่า ความตาย เป็นอีกทางออกหนึ่งของชีวิตก็ได้ ดังคำพูดในหนังเรื่อง Spartacus ที่ว่า ‘ความตายคืออิสระภาพเดียวของทาส’
มันไม่ใช่ว่าหนังใส่บทสนทนาปรัชญาเข้ามา แล้วจะกลายเป็นหนังปรัชญานะครับ คือเนื้อเรื่อง ใจความสำคัญ วิธีการนำเสนอ ล้วนสื่อ นำเสนอไปในทางเดียวกัน นี่คือสิ่งที่ทำให้ผมมองว่า หนังเรื่องนี้เปรียบเสมือน ภาษาภาพยนตร์ปรัชญา ที่มีใจความสำคัญเพื่อเป็นการค้นหา สิ่งที่เรียกว่า เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard มีลักษณะเป็นเหมือนอีกตัวละครหนึ่ง, Godard อธิบายบอกว่า ในความเชื่อของเขา กล้องไม่ใช่แค่อุปกรณ์บันทึกภาพ แต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการมอง (the camera is not just a recording device but a looking device.) จับจ้องการเคลื่อนไหว สำรวจตัวตน ใคร่รู้ใคร่สงสัยในตัวเธอ
ตัดต่อโดย Jean-Luc Godard และ Agnès Guillemot, วิธีการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ คือ จะเรียงลำดับตามเหตุการณ์ และถ่ายเทคเดียวจบ, Godard บอกว่า ถ้ามีถ่ายหลายเทค แสดงว่าฉากนั้นใช้ไม่ได้ ต้องคิดใหม่ (แต่หนังไม่มีฉากไหนถ่ายซ้ำเลยนะครับ) การตัดต่อเลยแทบไม่ต้องทำอะไรเลย นำเอาภาพมาตัดแปะต่อกันเท่านั้น
เกร็ด: แอบเห็น jump-cut อยู่แววนึง เห็นกันหรือเปล่าเอ่ย (ตอนที่ 6 ขณะได้ยินเสียงปืน)
เพลงประกอบของ Michael Legrand ที่ดังขึ้นมีทำนองโหยหวน เหมือนจิตวิญญาณกำลังค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญที่สุดในชีวิต (สิ่งที่หนังเรื่องนี้ค้นหา คือปรัชญา เป้าหมายที่สุดของของชีวิต)
‘ความรัก คือหนทางแก้ปัญหาทุกสิ่งอย่าง’ นี่คือคำตอบปรัชญาที่เป็นใจความสำคัญของหนังเรื่องนี้, ในมุมของชาวตะวันตก ศาสนาคริสต์ นี่เป็นหลักคำสอน วิธีการใช้ชีวิตที่จับต้องได้ที่สุด มอบความรักความเมตตา เผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมโลก แม้แต่โสเภณีก็เช่นกัน (มอบร่างกายให้ความสุขแก่ผู้อื่น)
ถ้าคุณเป็นชาวพุทธ ก็น่าจะรู้ว่า ‘ความรัก’ ไม่ใช่ที่สุดของทุกทางออกนะครับ เพราะมี ‘รัก’ ก็ต้องมี ‘เกลียด’ เป็นของคู่กัน สิ่งเดียวเท่านั้นในโลกที่ไม่มีความตรงกันข้ามคือ ‘ทางสายกลาง’ (เพราะอยู่กึ่งกลางอยู่แล้ว) นี่ต่างหากที่แก้ปัญหาได้ทุกสิ่งอย่าง
ความประทับใจหลังดูหนังจบ คือเฉยๆ ไม่ชอบไม่เกลียด เพราะทีแรกยังไม่เข้าใจอะไรเสียเท่าไหร่, หลังจากได้อ่านบทวิจารณ์ คิดวิเคราะห์ มองเห็นอะไรหลายๆอย่าง ความเห็นส่วนตัว ก็ยังคงเดิม เฉยๆ ไม่ชอบไม่เกลียด ไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไรเพิ่มขึ้นเลย แค่ทึ่งเล็กน้อยในสิ่งที่ Godard คิด/วิเคราะห์/สร้าง ขึ้นมา นี่เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และคิดว่าอาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นบ่อยครั้งสักเท่าไหร่
ในส่วนทฤษฎีปรัชญาที่ Godard สร้างขึ้นมานี้ มันเป็นความเชื่อของหลักปรัชญาตะวันตก ที่ชาวตะวันออกอย่างเราๆคงจะมองออกว่า ไม่ใช่สัจธรรมที่ถูกต้องนัก แต่เพราะมันเป็นแนวคิดทฤษฎีส่วนตัว เลยไม่จำเป็นต้องถูกต้อง หรือมีผู้คนยอมรับเสมอไป (กระนั้นชาวตะวันออกก็ฮือฮากับหนังเรื่องนี้มาก ยกหนังให้เป็นการนำเสนอปรัชญาแห่งชีวิตเลย)
อิทธิพลจากหนังเรื่องนี้ที่เห็นได้ชัดคือ Pulp Fiction (1994) ของ Quentin Tarantino อาทิ ทรงผมบ็อบของ Uma Thurman, การเล่าเรื่องแบ่งเป็นตอนๆ, การเต้นในคลับบาร์ (แต่ท่าเต้นเหมือน Bande à part-1964 มากกว่า)
แนะนำกับนักปรัชญา ผู้ชื่นชอบการคิดวิเคราะห์ ค้นมองหาเป้าหมายชีวิต, คนทำงานสายภาพยนตร์ ศึกษา/เรียนรู้/วิเคราะห์ แฟนหนัง Jean-Luc Godard และ Anna Karina ไม่ควรพลาดเลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหญิงสาวที่คิดเป็นโสเภณีทั้งหลาย (และโสเภณีทั้งหลาย) จะมีสักกี่คนที่ไปถึงตอนที่ 11 และก้าวต่อไปตอนที่ 12 ได้
จัดเรต PG กับตัวละครโสเภณี
Leave a Reply