
Wanda (1970)
: Barbara Loden ♥♥♥♥
ยัยเฉื่อย Wanda เป็นคนเชื่องชักช้า ขาดความกระตือรือร้น ตัวแทนชนชั้นแรงงาน (Working Class) โชคชะตานำพาให้กลายเป็นโจรปล้นธนาคาร ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี พูดขอบคุณผู้พิพากษา ทำให้ตนเองมีที่ซุกหัวนอนเสียที
(เรื่องราวในหนัง Wanda ไม่ได้ถูกจับติดคุกนะครับ แต่เหตุการณ์จริงที่ผกก. Loden ได้แรงบันดาลใจ เธอคนนั้นพูดขอบคุณผู้พิพากษา ทำให้ตนเองมีที่ซุกหัวนอน อาหารอิ่มท้อง ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความทุกข์ยากลำบาก)
Barbara Loden’s Wanda is anti-Bonnie and Clyde. It’s about a woman who doesn’t want anything, who hasn’t found anything to want, and who can accept life only on a day-to-day basis, without hope or plans, without fear or hatred. Wanda is a small, skinny, slovenly woman with bad teeth and straggly hair, who looks as if she’s never been loved, and never expected to be. She’s a real loser. But what the movie gets from her is something that we almost never get from a movie character—the feeling that Wanda could be any woman who ever lived.
นักวิจารณ์ Pauline Kael
การรับชม Wanda (1970) โดยไม่รู้ตัวทำให้ผมเกิดอคติต่อ Bonnie and Clyde (1967) [รวมถึง Breathless(1960) ที่ก็ไม่ได้ชอบสักเท่าไหร่อยู่แล้ว] เพราะรู้สึกว่าหนังทำการ ‘romanticize’ การเป็นอาชญากรให้เลิศหรูดูดี ชวนเพ้อฝัน แม้พยายามนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ (ถึงความหัวขบถ แหกนอกคอก ต้องการดิ้นหลุดพ้นจากขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพชีวิต) หรือตกตายหยังเขียดก็ตามเถอะ
เพราะถ้าคุณได้รับชม Wanda (1970) จะเกิดการเปรียบเทียบที่แตกต่างราวฟ้ากับเหว ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำลายอุดมคติ/ความงดงามของการเป็นอาชญากร ผ่านตัวละครหญิงสาวที่ไม่มีความน่าหลงใหล ส่วนฝ่ายชายแม้งก็โคตรเxย เผด็จการ ชอบบงการ เย่อหยิ่งทะนงตน เรื่องราวสะท้อนความเป็นจริงของชีวิต กว่าจะก้าวเดินจากฟากฝั่งหนึ่งสู่อีกฟากฝั่งหนึ่ง แม้งเยิ่นยาวนานชิบหาย!
เพราะความโคตรๆสมจริงนั้นเอง เป็นสิ่งที่ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ใคร่อยากดู รับรู้พบเห็น ภาพยนตร์ควรเป็นสื่อบันเทิง สร้างความผ่อนคลาย ไม่ใช่นำเสนอโลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย แม้สามารถคว้ารางวัล Pasinetti Award: Best Foreign Film จากเทศกาลหนังเมือง Venice กลับถูกหลงลืม “มาสเตอร์พีซที่เลือนหาย”
Barbara Ann Loden (1932-80) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Asheville, North Carolina บิดาเป็นช่างตัดผม หลังหย่าร้างส่งบุตรสาวไปอาศัยอยู่กับย่าผู้เคร่งศาสนา ณ Marion, North Carolina วัยเด็กเป็นคนเหนียงอาย ไม่ชอบพูดคุยกับใคร จนกระทั่งอายุ 16 เดินทางสู่ New York City ทำงานนางแบบ, นักเต้นไนท์คลับ, แม้ไม่ค่อยชื่นชอบภาพยนตร์ แต่กลับเลือกร่ำเรียนการแสดง Actors Studio เพราะครุ่นคิดอยากมีชื่อเสียงโด่งดัง
People on the screen were perfect and they made me feel inferior.
Barbara Loden
จากนั้นเริ่มมีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ เข้าตาผู้กำกับ Elia Kazan ชักชวนมาแสดงภาพยนตร์ Wind River (1960), Splendor in the Grass (1961), แล้วทั้งสองแต่งงานกันเมื่อปี ค.ศ. 1967
Barbara Loden was born anti-respectable … [She] was feisty with men, fearless on the streets, dubious of all ethical principles. [She]’s a bitch, bold, fearless, a sexual adventurer, maybe a gold-digger.
Elia Kazan กล่าวถึงอดีตภรรยา Barbara Loden
จุดเริ่มต้นของ Wanda (1970) เกิดขึ้นน่าจะช่วงต้นทศวรรษ 60s เมื่อ Loden อ่านข่าวหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่ง ถูกจับกุมข้อหาสมรู้ร่วมปล้นธนาคาร ได้รับตัดสินโทษจำคุก 20 ปี แต่เธอกลับพูดขอบคุณผู้พิพากษา ต่อจากนี้จะได้มีที่ซุกหัวนอน อาหารรับประทานอิ่มท้อง ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนทนทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป
ผกก. Kazan เล่าว่าตนเองคือผู้เขียนบทร่างแรกให้ Loden จากนั้นเธอทำการปรับแก้ไขนับครั้งไม่ถ้วน (“rewrote it many times, and it became hers”.) ผสมผสานเข้ากับตัวตนเอง จนกลายเป็นกึ่งๆอัตชีวประวัติ (Semi-Autobiography) ในอดีตก็เคยเป็นแบบตัวละคร Wanda ล่องลอยไปมา ไร้จุดมุ่งหมายอะไรใดๆในชีวิต
It was sort of based on my own personality … A sort of passive, wandering around, passing from one person to another, no direction—I spent many years of my life that way and I felt that … well, I think that a lot of people are that way. And not just women, but men too. They don’t know why they exist.
I wanted to create a character who was not traditionally likable, but who was still sympathetic. Wanda is not a hero, but she is someone who we can relate to and care about. She’s flawed, but so are we all.
Barbara Loden
ในตอนแรก Loden ไม่ได้ครุ่นคิดอยากจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ แต่หลังจากปรับแก้ไขบทอยู่หลายครั้ง คงทำให้เริ่มค้นพบเป้าหมายของตนเอง “to be an artist … is to justify her own existence” และยังได้รับการผลักดัน(ฟังดูกึ่งๆบีบบังคับ)จากสามี “You’re going to be a director”.
Loden ใช้เวลาถึง 7 ปี ในการมองหาทุนสร้าง แต่จนแล้วจนรอดกลับไม่มีใคร/สตูดิโอไหนให้ความสนใจ เคยตัดพ้อว่าอาจเพราะตนเองคือผู้หญิง โชคดีที่ได้สามี Kazan โน้มน้าวโปรดิวเซอร์เคยร่วมงาน Harry Shuster ยินยอมออกเงินให้ประมาณหนึ่งในสาม (น่าจะประมาณ $30,000 เหรียญ) อีกสองส่วนที่เหลือคือเงินเก็บของ Loden & Kazan และผองเพื่อน
I feel that I’ve had a lot of things against me, aside from the fact that I’m a woman. I’m not part of a group, like the film schools, where a lot of people work together and help each other. I’ve had to do everything myself, and it’s much harder that way. When I was trying to raise money for the film, people were reluctant to give me any because they thought it was a woman’s lib thing, or something like that.
พื้นหลังเหมืองถ่านหิน Pennsylvania, เรื่องราวของ Wanda Goronski (รับบทโดย Barbara Loden) หญิงสาวผู้มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ใช้ชีวิตด้วยความน่าเบื่อหน่าย จึงตอบตกลงหย่าร้างสามี แล้วออกเดินทางเตร็ดเตร่ เร่ร่อน ร่วมหลับนอนผู้ชาย One-Night Stand (ONS) ไร้งาน ไร้เงิน จับพลัดจับพลูพบเจอ Norman Dennis (รับบทโดย Norman Dennis) โจรกระจอกกำลังปล้นบาร์แห่งหนึ่ง
Norman เป็นคนเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ ท่าทางลุกลี้ร้อนรน รับประทานยาแก้ปวดหัวอยู่ตลอดเวลา ช่วงแรกๆก็เต็มไปด้วยความหวาดระแวงต่อ Wanda แต่ทั้งสองก็ร่วมออกเดินทาง ดักปล้นร้านรวงข้างทาง จนกระทั่งเขาครุ่นคิดวางแผนโจรกรรมธนาคาร ด้วยการให้เธอเป็นคนขับรถพาหลบหนี แล้วเรื่องวุ่นๆวายๆกลายเป็นหายนะก็บังเกิดขึ้น
ยัยเฉื่อย Wanda เป็นหญิงสาวไม่ค่อยเฉลียวฉลาดนัก เลยมักถูกเอารัดเอาเปรียบ บุรุษทั้งหลายสนเพียงเพศสัมพันธ์ข้ามคืน (One-Night Stand) ภายในจึงเต็มไปด้วยความอดกลั้น ขมขื่น แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรยังไง ไร้งาน ไร้เงิน ไร้การศึกษา ถูกสามีฟ้องหย่าร้าง ออกเดินทางร่อนเร่ เตร็ดเตร่ จนกระทั่งพบเจอ Norman Dennis แม้ถูกบีบบังคับ กระทำสิ่งขัดแย้งสามัญสำนึก กลับรู้สึกชีวิตเหมือนมีคุณค่า พบเจอใครสักคนสำหรับพึ่งพักพิง
I created Wanda as a woman who is very passive, and very accepting of the conditions of her life. She’s a woman who was born into a situation that she couldn’t escape from. And yet, I think there’s a strength in her, a certain resilience. She’s very much in touch with her own feelings and her own needs, and she’s very much a woman of the moment. She has an ability to find pleasure in small things, like the sun shining on her face, or a good cup of coffee. She’s very human, very real, and very much a product of her circumstances.
Barbara Loden
การปรับแก้ไขบทภาพยนตร์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้ Loden กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตัวละคร Wanda เวลาทำการแสดงเลยดูเหมือนไม่ต้องปรุงแต่งอะไร เพียงเล่นเป็นตนเอง ท่าทางทึ่มๆทื่อๆ สีหน้าเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย สายตาเหม่อล่องลอย สะสมอารมณ์เกรี้ยวกราดไว้ภายใน แต่ใครเคยรับชมผลงานอื่นๆของเธอ อาจรู้สึกเหมือนพลิกบทบาท ราวกับเป็นคนละคน (บทบาทอื่นๆต่างหากละที่เกิดจากปรุงแต่งการแสดง)
ตัวละคร Wanda ไม่ได้มีความสวยสาว ‘zombie-like beauty’ อุปนิสัยยังหาความน่าชื่นชอบไม่ได้ นักวิจารณ์บางคนเรียกว่า “Wanda is a totally loser”. แต่นั่นคือเป้าหมายของผกก. Loden เพราะเชื่อว่าผู้ชม/หญิงสาวสมัยนั้นจะสามารถจับต้อง เชื่อมโยงสัมพันธ์ รู้สึกสงสารเห็นใจ ตระหนักถึงสิ่งเลวร้ายบังเกิดขึ้น
Loden’s performance is one of the treasures of American cinema. She was the wife of the director, Kazan, and here shows the feeling of a person who is simply not making the grade in life, and who is too passive, or uncertain, or defeated, or whatever, to take steps to change things. The mystery of Wanda is that she is not unhappy. She accepts her lot, such as it is, and seems resigned to it. This acceptance is the key to the film’s greatness; Wanda is not a victim, but a woman who simply isn’t able to do better. Loden does not even seem to be acting; she seems to have made herself invisible and let the character come through.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
ต้องถือว่า Wanda เป็นตัวแทนหญิงอเมริกัน ชนชั้นทำงาน (Working Class) ช่วงทศวรรษ 60s-70s มีความยากจน ต้องต่อสู้ดิ้นรน ไร้งาน ไร้เงิน ใช้ชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย ถูกกดขี่ข่มเหงโดยเพศชาย ไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับตนเอง เพียงยินยอมรับโชคชะตากรรม ทอดถอนลมหายใจไปวันๆ
Michael Patrick Higgins Jr. (1920-2008) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหล Shakespeare, หลังได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจากสงคราม มีโอกาสแสดงละครเวที Broadway, ตามด้วยซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ The Arrangement (1969), Wanda (1970), The Conversation (1974), Angel Heart (1987) ฯ
รับบท Norman Dennis ชายผู้มีความเก็บกด อึดอัดอั้น เต็มไปด้วยอารมณ์เกี้ยวกราดกับชีวิต อาจเพราะไม่สามารถหางานทำ เลยจำใจกลายเป็นโจร จับพลัดจับพลูพบเจอ Wanda ในตอนแรกก็เต็มไปด้วยความหวาดระแวง วิตกจริต ไม่พึงพอใจที่อีกฝ่ายทึ่มทื่อ ซื่อบื้อ เชื่องชักชา ถึงอย่างนั้นกลับยินยอมให้ติดสอยห้อยตาม ออกคำสั่ง บีบบังคับโน่นนี่นั่น รู้สึกผ่อนคลายเล็กๆเมื่อได้อยู่เคียงข้าง
ตัวละคร Norman ถือเป็นขั้วตรงข้ามกับ Wanda แต่แม้เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แตกต่าง คนหนึ่งชอบบงการ อีกคนเพียงก้มหัวทำตามคำสั่ง ทั้งสองกลับสามารถเติมเต็มสิ่งขาดหาย กลายเป็นที่พึงพักพิงของกันและกัน
มีนักแสดงหลายคนที่ Loden & Kazan พยายามติดต่อหา ชักชวนมารับบท แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นว่าผู้หญิงสามารถกำกับภาพยนตร์ Higgins ในตอนแรกก็เฉกเช่นเดียวกัน เต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเลใจ จนกระทั่งมีโอกาสพูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายหลังให้สัมภาษณ์ชื่นชมการร่วมงานครั้งนี้อย่างออกนอกหน้า
I knew that Barbara was a gifted writer and actress, but I was really surprised at how gifted she was as a director. She had a real vision for the film and was able to create an atmosphere on set that was both supportive and challenging. She had a great eye for detail and was always looking for ways to make the scenes more authentic and true to life.
I was also really impressed by the way Barbara worked with the actors. She was very collaborative and always open to our ideas and suggestions. She had a real gift for bringing out the best in people and creating a sense of trust and camaraderie on set.
Michael Higgins
การแสดงของ Higgins ถือว่าน่าประทับใจอย่างมากๆ ผู้ชมสัมผัสได้ถึงความตึงเครียด เกรี้ยวกราด หวาดกังวล บ่อยครั้งแสดงอาการรุกลี้รุกรน กระวนกระวาย ไม่เชื่อวางใจใครง่ายๆ คำพูดจาก็มักดูถูกเหยียดหยาม ออกคำสั่งในเชิงบีบบังคับ เหล่านี้คงไม่ใช่บุรุษในอุดมคติที่หญิงสาวจะชื่นชอบหลงใหล
ฉากที่ถือว่าน่าประทับใจสุดๆ คือขณะพบเห็นเครื่องบินของเล่นร่อนไปร่อนมา แล้วจู่ๆทำตัวเหมือนเด็กน้อย ตะโกนโหวกเหวก ส่งเสียงเรียกหา ปีนป่ายขึ้นไปบนหลังคารถ ขัดแย้งภาพลักษณ์/พฤติกรรมแสดงออกก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง … เป็นการแสดงให้เห็นถึงด้านอ่อนแอ เปราะบางที่อยู่ภายใน
Michael Higgins, an actor I had not seen before, is unforgettable as Norman, conveying a complex mixture of anger, bitterness, and vulnerability that is both raw and deeply affecting. Loden is not afraid of showing us characters who are not particularly likable, and Higgins’ performance is a case in point – his Norman is often angry and even abusive, but we also see the hurt and fear that underlie his behavior.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
ถ่ายภาพ/ตัดต่อโดย Nicholas T. Proferes (เกิดปี 1936) ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานผกก. D. A. Pennebaker เป็นผู้ช่วยถ่ายภาพ/ตัดต่อสารคดี Primary (1960), แม้ไม่เคยมีประสบการณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ (Feature Film) แต่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้กำกับ Barbara Loden ชักชวนมาร่วมงาน Wanda (1970)
I was very reluctant. I had never shot any feature… Also, working with a woman, an actress – [that] didn’t seem a good idea, or even an interesting idea. I don’t know what made me do it
Nicholas Proferes
นั่นเพราะสิ่งที่ผกก. Loden ต้องการจาก Proferes คือความเรียบง่าย รวดเร็ว คนเดียวทำได้หลายอย่าง (jack-of-all-trade) เพราะงบประมาณจำกัด ในกองถ่ายจึงมีสมาชิกเพียง 4 คน (ผกก. Loden, ตากล้อง/ตัดต่อ Proferes, จัดแสง/บันทึกเสียง Lars Hedman, และผู้ช่วยกองถ่าย Christopher Cromin) ถ่ายทำโดยใช้กล้อง 16mm ด้วยแสงธรรมชาติ ยังสถานที่จริงทั้งหมด ในระยะเวลาประมาณ 10 สัปดาห์
งานภาพของหนังพยายามทำออกมาให้มีความเป็นธรรมชาติ (Naturalistic) นิยมถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ โดยกล้องมักขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องๆช้าๆ (ให้เข้ากับความเอื่อยเฉื่อยของ Wanda) บางครั้งดูสั่นๆจากกล้อง Hand-Held & Steadicam (เพื่อสะท้อนสภาวะทางอารมณ์/สภาพจิตใจตัวละคร) และถ่ายภาพระยะไกล Extreme-Long Shot (ให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง มนุษย์ตัวเล็กๆท่ามกลางโลกกว้างใหญ่)
I wanted to capture the barrenness and ugliness of the landscape, and also the interior lives of the characters. I wanted the camera to be unobtrusive, to let the actors be the focus, and to give the viewer a sense of being there with them. We used natural light and minimal lighting, and shot on 16mm film, which gave the images a grainy, raw quality that I think suited the story and the characters.
Barbara Loden
ตามบทหนังดั้งเดิม วางแผนจะเดินทางไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ แต่ด้วยงบประมาณจำกัด จึงปักหลักอยู่ Pennsylvania และ Connecticut ประกอบด้วย
- เหมืองถ่านหิน (Coal Mining) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ Olyphant, Pennsylvania ปัจจุบันเหมือนจะปิดกิจการไปแล้ว
- Trumbull Shopping Park ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Trumbull Mall ห้างสรรพสินค้าแบบปิดแห่งแรกในรัฐ Connecticut เปิดกิจการเมื่อปี ค.ศ. 1964
- Holy Land USA Theme Park ตั้งอยู่ Waterbury, Connecticut สถานที่ที่ Norman พบเจอบิดา
- ธนาคาร Third National Bank ตั้งอยู่ 120 Wyoming Ave. ณ Scranton, Pennsylvania
- ตอนจบของหนังถ่ายทำยัง Sandy Hook, Connecticut
มันช่างเป็นการก้าวเดินที่เยิ่นยาวนานยิ่งนัก Wanda ออกจากบ้านของพี่สาว เพื่อติดตามหา ต้องการขอหยิบยืมเงินบิดา หนังจงใจถ่าย ‘Long Take’ จากระยะไกลโคตรๆ Extreme-Long Shot ซึ่งจะมีทั้งการซูม และแพนนิ่งติดตาม … จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสถึงความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า และชีวิตที่ดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมายของตัวละคร Wanda
The walking sequence -it’s my favorite sequence in the film- was, for me, an affirmation of her life. Even though she’s walking toward something that’s not very hopeful, she’s walking and she’s alive and she’s looking around. She’s living in the present, not in the future, not in the past, but in the present. And I think that’s the way she lives her whole life.
Barbara Loden

ภาพยนตร์ที่ Wanda ซื้อตั๋วเข้าไปรับชมคือ El golfo (1969) ภาพยนตร์สัญชาติ Spanish & Mexican กำกับโดย Vicente Escrivá ในเว็บ IMDB ไม่มีรายละเอียดใดๆ


ผมเพิ่งรับชม Je Tu Il Elle (1974) เมื่อไม่กี่วันก่อน เลยตระหนักถึงอัตราส่วน/การมีตัวตนของหญิงสาวในเฟรมนี้ สังเกตว่าเตียงนอนออกจะกว้างใหญ่ แต่ฝ่ายชาย Norman กลับยึดครองสองในสาม หลงเหลือเพียงบริเวณอันคับแคบให้กับ Wanda ดิ้นสักนิดก็อาจตกเตียง

หลายๆเหตุการณ์ในหนังเห็นว่าเกิดจากการ ‘improvised’ พบเจออะไรน่าสนใจก็ปรับเปลี่ยนแก้ไขตามสถานการณ์ อย่างซีเควนซ์นี้บังเอิญพบเจอกลุ่มวัยรุ่นกำลังควบคุมรีโมท ขับเครื่องบินของเล่น ผกก. Loden เลยเสนอแนะ Higgins เห็นชอบด้วยเลยทำการดั้นสดคำพูดตรงนั้น
On the other side of the open field, there was a man with his son, playing with a toy plane guided by remote control. And Barbara said ‘Can you do something with that?’ I loved the idea and said ‘Yes, I can.’ So, while it was flying around, I was saying ‘Come back,’ waving my hand at the plane. Then I jumped on the [top of the] car, and raised my arms toward the sky.
Michael Higgins
ซีเควนซ์นี้ไม่ใช่แค่นำเสนอด้านอ่อนแอ เปราะบาง ทำตัวเหมือนเด็กน้อยของ Norman เท่านั้นนะครับ ก่อนหน้านี้เขาพูดคุยสอบถาม Wanda ว่ามีเป้าหมายอะไรในชีวิต? จากนั้นเปลี่ยนหัวข้อเกี่ยวกับทรงผมยุ่งๆของเธอ แล้วถึงพบเห็นเครื่องบินบนท้องฟ้า ทั้งสอง-สามสิ่งนี้ล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างคาดไม่ถึง! (เครื่องบิน=ทรงผม=เป้าหมายชีวิต)

แฟชั่นหมวก ทรงผม และเครื่องแต่งกายของ Wanda สะท้อนบุคลิก ตัวตนของเธอได้อย่างชัดเจน
- เสื้อลายดอก กางเกงสีพื้นขายาว ศีรษะยังมีโรลม้วนผม ดูเฉิ่มเชย บ้านนอก หรือจะมองว่าไม่ยี่หร่ากับภาพลักษณ์ของตนเอง
- หลังจาก Norman สั่งให้ Wanda ไปหาหมวกใส่
- ในตอนแรกสวมเสื้อแขนกุด ลายดอกไม้ กางเกงขายาว โทนเขียว-เหลือง และหมวกลวดลายดอกไม้ … นี่คือชุดที่มีความสดใส ความต้องการเลือกเองของ Wanda
- แต่กลับถูก Norman บีบบังคับไม่ให้สวมใส่กางเกง ต้องชุดเดรส กระโปรงสั้น รองเท้าส้นสูง … เป็นชุดที่ดูไฮโซ สร้างภาพให้หรูหรา



หนึ่งในความเฉื่อยของ Wanda หลังได้ยินข่าวการเสียชีวิตของ Norman คงยังมิอาจทำใจ สายตาเหม่อล่องลอยไป ไม่รับรู้ตัวด้วยซ้ำว่าถูกล่อลวงโดยทหารนายหนึ่ง ขับรถจะพาไปข่มขืน จนกระทั่งอีกฝ่ายเริ่มใช้กำลังถึงค่อยฟื้นคืนสติ ต่อสู้ดิ้นรน วิ่งหลบหนีหายเข้าไปในป่าใหญ่
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือข่าวในโทรทัศน์ พูดถึงระเบิดปลอมที่ Norman ตระเตรียมไว้ แต่เสียงบรรยาย(ทางโทรทัศน์)ดังต่อเนื่องมาจนขณะ Wanda กำลังถูกข่มขืน แสดงว่ายังสามารถสื่อถึงความเกรี้ยวกราดที่สะสมอยู่ภายในจิตใจ ทำไมฉันถึงประสบพบเจอแต่เหตุการณ์ร้ายๆ


ภาพสุดท้ายของ Wanda รายล้อมรอบด้วยบุคคลที่กำลังสังสรรค์ เฮฮาปาร์ตี้ ดนตรีบรรเลงอย่างสนุกสนานครื้นเครง แต่เธอกลับนั่งเหงาหงอย เศร้าซึม ไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งใดๆ ทำไมโลกใบนี้ช่างเหี้ยมโหดร้ายกับฉัน หลงเหลือตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยวจิตวิญญาณ
นี่เป็นช็อตที่สะท้อนตัวตน/ประสบการณ์ชีวิตของผกก. Loden เต็มไปด้วยความเก็บกด เกรี้ยวกราด ต่อโชคชะตาและโลกใบนี้ มันช่างไม่ยุติธรรมต่อฉันเอาเสียเลย
I have a lot of pain and suppressed anger in me, just like Wanda
Barbara Loden

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Wanda Goronski ในวันที่ต้องไปขึ้นศาลเซ็นใบหย่าร้างสามี จากนั้นเตร็ดเตร่ เร่ร่อน ออกเดินทางอย่างไร้จุดหมาย จนกระทั่งได้พบเจอ Norman Dennis จับพลัดจับพลูกลายเป็นโจรปล้นธนาคาร แต่แล้วโชคชะตาก็นำพาเธอให้ตกอยู่ในความหมดสิ้นหวังอีกครั้ง
- วันแห่งความสิ้นหวังของ Wanda Goronski
- ตื่นเช้ายังบ้านของพี่สาว สามีของเธอแสดงความไม่พึงพอใจ Wanda
- ก้าวออกเดินไปขอเงินจากบิดา
- มุ่งหน้าสู่ศาลเพื่อเซ็นใบหย่าสามี
- ไปที่ทำงานก็ถูกปฏิเสธว่าจ้าง
- ค่ำคืนนี้ยังถูกล่อหลอก One-Night Stand (ONS) แล้วโดนทอดทิ้งอย่างไร้เยื่อใย
- การพบเจอ Norman Dennis
- Wanda จับพลัดจับพลูเข้าไปในบาร์แห่งหนึ่ง โดยไม่รับรู้ว่ากำลังถูกปล้นโดย Norman
- ทั้งสองใช้เวลาค่ำคืนร่วมกันด้วยความหวาดระแวง
- เช้าวันถัดมา Norman ลักขโมยรถ ออกเดินทางหลบหนี จนกระทั่งอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ Wanda ถึงรับรู้ความจริง
- ด้วยความดื้อรั้นของ Wanda ทำให้ Norman ตัดสินใจยินยอมรับเข้าพวก บีบบังคับให้ปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น สวมเสื้อผ้าตามใจฉัน
- เรื่องวุ่นๆของการปล้นธนาคาร
- หลังจากดูลาดเลาที่ธนาคาร Norman เดินทางไปเยี่ยมเยียนบิดา แล้วซักซ้อมแผนการกับ Wanda
- เริ่มจากลักพาตัวนายธนาคารที่บ้านพักตากอากาศ
- ขับรถออกเดินทางสู่ธนาคาร แต่แล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้นกับ Wanda
- แม้ไร้หนทางหลบหนี Norman ยังคงตัดสินใจปล้นธนาคาร ก่อนถูกตำรวจห้อมล้อมจับกุมตัว
- เหตุการณ์หลังจากนั้น
- Wanda ในสภาพล่องลอย หมดอาลัยตายอยาก ถูกล่อลวงโดยชายคนหนึ่ง พยายามจะข่มขืนแต่สามารถดิ้นหลบหนี
- เดินเตร็ดเตร่ไปถึงยัง Sandy Hook, Connecticut ถูกลากพามายังงานเลี้ยงปาร์ตี้ ทุกคนช่างมีความสุขสันต์ แต่เธอกลับตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง
ลีลาการตัดต่อของหนังมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ได้มีเทคนิคอะไรหวือหวา มุ่งเน้นนำเสนอความต่อเนื่องด้านการแสดง ให้ผู้ชมติดตามตัวละคร พบเห็นทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับตัวเธอโดยไม่มีลับลมคมในอะไร
I wanted the film to be simple, direct, and uncluttered, and to avoid any unnecessary camera movements. It’s an extremely simple film, actually; there are long takes and very few camera movements. We edited very closely to the camera work, not just for rhythm but for the continuity of the actors’ performances.
I didn’t want to do the kind of editing that’s done in Hollywood, where you show somebody driving up to a house and then cut to them coming out of the car and going into the house. I wanted the camera to follow her and the audience to follow her, and to feel what she felt.
Barbara Loden
เพื่อสัมผัสความสมจริงของหนัง จึงไม่มีการใช้บทเพลงประกอบนอกเสียจาก ‘diegetic music’ ได้ยินจากวิทยุ ผับบาร์ และช่วงท้ายแสดงดนตรีสด ณ Sandy Hook, Connecticut
ยัยเฉื่อย Wanda แม้เป็นผู้หญิงพึ่งพาตัวเองไม่ค่อยได้ แต่สิ่งเลวร้ายยิ่งกว่าคือสภาพสังคม ผู้คนรอบข้าง ต่างพยายามฉกฉวยโอกาส เอารัดเอาเปรียบ One-Night Stand (ONS) ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากตัวเธอ (ทั้งๆก็ไม่มีอะไรจะให้อยู่แล้ว) รับชมภาพยนตร์หลายคนอาจรู้สึกสงสารเห็นใจ แต่ในชีวิตจริงเรากลับไม่เคยเหลียวแลคนประเภทนี้ด้วยซ้ำไป
ทศวรรษ 60s คือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่คลื่นลูกใหม่ในวงการภาพยนตร์ แต่ทั่วโลกกำลังมุ่งสู่การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ผู้คนรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม โค่นล้มล้างขนบประเพณี รูปแบบวิถีทางสังคม รวมถึงระบอบการเมือง(เผด็จการ)ที่พยายามควบคุมครอบงำ กดขี่ข่มเหงประชาชนให้จมอยู่แทบเท้า
แม้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือสิ่งถูกต้องเหมาะสม แต่ใช่ว่าผู้คนจะสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีทางรูปแบบใหม่ได้โดยทันที ผมครุ่นคิดว่าผกก. Barbara Loden สรรค์สร้างภาพยนตร์ Wanda (1970) เพื่อสะท้อนสภาพเป็นจริงของหญิงสาวยุคสมัยนั้น ล่องลอยเคว้งคว้าง ยังไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับเสรีภาพได้รับมา
เพราะอิสรภาพที่ Wanda ได้รับหลังจากเซ็นใบหย่า ทำให้เธอกลายเป็นคนเตร็ดเตร่ เร่รอน ไร้หลักแหล่งพึ่งพักพิง นั่นนะหรือสิทธิสตรี/เสรีภาพที่ใครต่อใครพยายามเรียกร้องหา อุดมคติดังกล่าวยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าคนส่วนใหญ่จะเรียนรู้จัก ยินยอมรับ เข้าใจแนวคิดเสมอภาคเท่าเทียม
สำหรับ Wanda ผู้ชายร้ายๆ ทรงอย่าง Norman (พฤติกรรมชายคนนี้ถือเป็นศัตรูของ Feminist) แต่กลับสามารถเติมเต็ม เข้าใจความต้องการ ที่พึ่งพักพิงของกันและกัน … นี่ไม่ใช่ลักษณะ Anti-Feminist แต่เป็นการสะท้อนสภาพความเป็นจริงของชีวิต ไม่ได้สวยเลิศหรูอย่างพวกสตรีนิยม(ยุคสมัยนั้น)เรียกร้องกัน
I didn’t think of it as a woman’s liberation film, but it is. I think I was more interested in the existential dilemma that Wanda found herself in.
Barbara Loden
วัยเด็กของ Loden เติบโตขึ้นด้วยความยากลำบาก ถูกบิดา-มารดาทอดทิ้ง มีชีวิตล่องลอยเคว้งคว้าง ไร้เป้าหมายความต้องการใดๆ จนกระทั่งจุดๆหนึ่งโหยหาการมีตัวตน ต้องการพิสูจน์ตัวเอง ออกเดินทางสู่ New York ร่ำเรียนการแสดงทั้งๆไม่ชอบสื่อภาพยนตร์ เกี้ยวพาราสี ตอบตกลงแต่งงานสามีคนแรก Laurence Joachim เพียงเพราะ “I want to be famous…” มีบุตรด้วยกันสองคน ก่อนตัดสินใจเลิกราหย่าร้างเมื่อมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ของ Elia Kazan
ผมครุ่นคิดว่าเราสามารถเปรียบเทียบตัวละคร Norman ได้ตรงๆกับ Elia Kazan ต่างเป็นจอมบงการ เลื่องลือเรื่องความเผด็จการในกองถ่าย เมื่อครั้นเตรียมงานสร้างภาพยนตร์ The Arrangement (1969) ให้คำนิยามว่า “an autobiographical study of him and his wife”. ตั้งใจจะให้ Loden รับบทนางเอกประกบ Marlon Brando แต่พอเปลี่ยนมานักแสดงฝ่ายชายมาเป็น Kirk Douglas เลยต้องเลือกนางเอกใหม่ Faye Dunaway นั่นสร้างความไม่พึงพอใจ อย่างไม่ให้อภัย
(เราสามารถเปรียบเทียบภาพยนตร์ The Arrangement (1969) กับการปล้นธนาคารของ Norman ที่หลังจากทอดทิ้ง Loden/Wanda พวกเขาต่างประสบความล้มเหลวระดับหายนะ)
ภายหลังจาก Wanda (1970) ไปคว้ารางวัลเทศกาลหนังเมือง Venice โดยไม่รู้ตัวทำให้ Loden ปรับเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคน
When I first met her, she had little choice but to depend on her sexual appeal. But after Wanda she no longer needed to be that way, no longer wore clothes that dramatised her lure, no longer came on as a frail, uncertain woman who depended on men who had the power… I realised I was losing her, but I was also losing interest in her struggle… She was careless about managing the house, let it fall apart, and I am an old-fashioned man
She had succeeded completely in making a life independent.
Elia Kazan เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของ Barbara Loden ภายหลัง Wanda (1970)
ผมหารายละเอียดไม่ได้ว่า Kazan หย่าร้าง Loden ตอนไหน? แต่ทั้งสองยังคงไปมาหาสู่ เพราะเขารับรู้ว่าเธอล้มป่วยมะเร็งเต้านม พยายามให้กำลังใจพัฒนาโปรเจคเรื่องถัดไป ถึงอย่างนั้นเธอก็ทำได้เพียงกำกับละครเวที หนังสั้นการศึกษา และสอนวิชาการแสดงกับเด็กๆที่เทิดทูนราวกับนักบุญ ก่อนจะสิ้นลมหายใจด้วยความเกรี้ยวกราด “Shit! Shit! Shit!” สิริอายุเพียง 48 ปี
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice น่าเสียดายที่ช่วงทศวรรษนั้นไม่มีการจัดประกวดแข่งขัน ถึงอย่างนั้น Wanda (1970) กลับยังสามารถคว้ารางวัล Pasinetti Award: Best Foreign Film เอาจริงๆก็ถือว่าไม่ต่างจาก Golden Lion เป็นที่หลงใหลคลั่งไคล้จากผู้ชม/นักวิจารณ์ฟากฝั่งยุโรป
ผิดกับเมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกา ทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ต่างมองข้าม ถูกต่อต้าน พยายามเปรียบเทียบกับ Bonnie and Clyde (1967) แม้ด้วยทุนสร้างเพียง $100,000 เหรียญ แต่ก็ไม่เคยทำกำไรคืนกลับมา
Wanda is not just dull and uninteresting, she is ungraspable. She is so insipid, so almost deliberately inarticulate, that one cannot even pity her, much less comprehend her.
Stanley Kauffmann นักวิจารณ์จาก The New Republic
The picture’s not much good, but it’s just slow enough and boring enough to make you think it’s supposed to be great… There’s no humor, no wit, no tension, no suspense, and no drama, and nothing happens that isn’t obvious from the start.
Rex Reed นักวิจารณ์จาก The New York Observer
แต่กระแสนิยมอย่างต่อเนื่องในยุโรป ทำให้ผู้ชมในสหรัฐอเมริกาค่อยๆตระหนักถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อหนัง ปัจจุบันได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างมากๆ ถึงขนาดติดอันดับ “Greatest Film of All-Times” ของนิตยสาร Sight & Sound โดยเฉพาะครั้งล่าสุด ค.ศ. 2022 เกาะกระแส Feminist ไต่ขึ้นถึง Top50
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 อันดับ 202 (ร่วม)
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 อันดับ 45 (ร่วม)
- Sight & Sound: Director’s Poll 2022 อันดับ 93 (ร่วม)
Barbara Loden’s Wanda is a gem of a film, with a touch of John Cassavetes and a hint of early Terrence Malick, yet a movie that is completely its own thing. Loden makes Wanda’s unvarnished world absolutely authentic: this is America, working-class America, the America of the gas station and the diner, the drab streets and the rundown hotel rooms, the one that has so often been neglected.
Peter Bradshaw นักวิจารณ์จาก The Guardian
Wanda (1970) is one of the great independent films of the nineteen-seventies, a landmark work of American realism. Loden’s direction, with its spare, observational style, is rigorous in its unpretentiousness; the camera remains, as it were, a respectful and empathetic but unyielding distance from Wanda, recording her with a vividness that, paradoxically, imparts a subtle sense of the inscrutability of her character. Loden’s performance, too, is a masterpiece of its kind: from her clothes to her posture to her way of speaking, she conveys the trapped and helpless condition of a woman who doesn’t know what she wants and is too battered and too resigned to try to find out.
Richard Brody นักวิจารณ์จาก The New Yorker
ความที่ต้นฉบับถ่ายทำด้วยฟีล์ม 16mm แถมยังเป็นหนัง Indy (ไม่มีสตูดิโอจัดจำหน่าย) การบูรณะจึงเต็มไปด้วยความยุ่งยากลำบาก โชคดีได้รับการสนับสนุนจาก The Film Foundation ร่วมกับ Gucci เข้าโครงการของ UCLA Film & Television Archive เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 คุณภาพ 2K, ปัจจุบันสามารถหาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel
ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังอย่างมากๆยิ่งกว่า Breathless (1960), Bonnie and Clyde (1967) สร้างความตระหนักถึงการเป็นอาชญากร ปัญหาสังคม สิทธิสตรีได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการแสดง/กำกับของ Barbara Loden ชวนให้รู้สึกสมเพศเวทนาแบบเดียวกับ Dog Day Afternoon (1975)
ในบรรดาภาพยนตร์แนว Feminist นอกจาก Jeanne Dielman (1975) ก็มี Wanda (1970) ทำให้ผมตระหนักถึงแนวคิดสิทธิสตรีที่จับต้องได้ เรียบง่ายแต่ทรงพลัง สร้างความเข้าใจ สั่นสะท้านทรวงใน
จัดเรต 15+ กับความเอื่อยเฉื่อย บรรยากาศตึงเครียด ก่ออาชญากรรม ปล้นธนาคาร
Leave a Reply