Wavelength (1967) : Michael Snow ♥♥♥♥
ได้รับยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ทั้งๆมีเพียงการถ่ายภาพภายในห้องพัก 45 นาทีค่อยๆซูมเข้าไปยังรูปภาพ’คลื่น’ทะเลบนฝาผนัง แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดชวนให้ขบครุ่นคิด โดยเฉพาะการใช้เสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือภาพลวงตา ‘Strawberry Fields Forever’
Let me take you down
‘Cause I’m going to strawberry fields
Nothing is real
And nothing to get hung about
Strawberry fields forever
ระหว่างการรับชมจะมีขณะหนึ่งได้ยินบทเพลง Strawberry Fields Forever (1967) ของวง The Beatles แต่งโดย John Lennon ใครเคยรับชม Music Video หรือตั้งใจฟังเนื้อคำร้อง ย่อมตระหนักถึงทุ่งสตอเบอรี่ สถานที่แห่งความทรงจำของ Lennon (แท้จริงคือสถานสงเคราะห์เด็ก The Salvation Army) ด้วยท่วงทำนอง Psychedelic Pop/Rock มอบสัมผัสหวนระลึกความทรงจำ (Nostalgia) ล่องลอยเหมือนฝัน (Dream-like) … สื่อถึงทุกสิ่งอย่างในโคตรหนังทดลองเรื่องนี้ ล้วนคือภาพลวงหลอกตา
บทเพลง Strawberry Fields Forever ถือเป็นคำใบ้หนึ่งของโคตรๆหนังทดลองเรื่องนี้ เพื่อบ่งบอกสิ่งที่ผู้ชมพบเห็น-ได้ยิน อาจเป็นเพียงภาพ-เสียงลวงหลอก (Sight & Sound Illusion) มีนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นว่า นั่นคือการทำให้ห้องแห่งนี้คือพระเอกตัวจริง (Protagonist)
If a room could speak about itself, this would be the way it would go.
นักวิจารณ์ Manny Farber
การที่กล้องเริ่มถ่ายจากภาพระยะไกล พบเห็นสภาพโดยรวมของห้องพัก หน้าต่างสี่บาน ได้ยินเสียงรถรา พูดคุยสนทนา จากนั้นค่อยๆซูมเข้าหารูปภาพ’คลื่น’บนฝาผนัง เสียงได้ยินความถี่สูงขึ้นเรื่อยๆจนเงียบงัน (เกินกว่าระดับเสียงที่มนุษย์จะได้ยิน) เราสามารถตีความถึงการเปลี่ยนแปรสภาพ จากมหภาคสู่จุลภาค รูปธรรมสู่นามธรรม ภายนอกสู่ภายใน ร่างกายสู่จิตวิญญาณ ฯลฯ
หลายสิ่งอย่างในโคตรหนังสั้นเรื่องนี้เหมือนจะเข้าสูตรสี่ เริ่มจากหน้าต่างสี่บาน (ชวนให้นึกถึงงานศิลปะ Tetraptych หรือ Quadriptych) ตัวละครมนุษย์ปรากฎตัวทั้งหมดสี่ครั้ง และเหตุการณ์เกิดขึ้นสามารถแบ่งแยกแยะออกเป็น ตามองเห็น-ภาพลวงตา-เสียงลวงหู-และทุกสิ่งอย่างแปรสภาพสู่นามธรรม
The space starts at the camera’s (spectator’s) eye, is in the air, then is on the screen, then is within the screen (the mind).
Michael Snow
ผมเคยรับชม Wavelength (1967) เมื่อหลายปีก่อนแล้วก็เกาหัว นอกจากดูไม่รู้เรื่อง ยังครุ่นคิดไม่ออกว่าจะเขียนบทความออกมายังไง จนกระทั่งหลายวันก่อนเมื่อได้รับชม Chelsea Girls (1966) ติดตามด้วยทดลองเขียน Empire (1965) เลยเกิดความหาญกล้าหยิบภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา … เดี๋ยวจะติดตามด้วย ‘experimental film’ อีกหลายเรื่องเลยนะครับ
การจะรับชมภาพยนตร์แนวทดลอง เราต้องไม่นำเอาทัศนคติของ ‘narrative film’ ตัดสินด้วยอารมณ์/ความรู้สึกส่วนบุคคล แต่ต้องสังเกตรายละเอียด โครงสร้าง วิธีการนำเสนอ ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์/เป้าหมาย แม้ผลลัพท์อาจดูไม่สนุก ไร้สาระบันเทิง ทั้งหมดทั้งมวลคือการท้าทายศักยภาพ ขีดจำกัดสื่อภาพยนตร์ เปิดมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม มุ่งสู่อิสรภาพเป็นไปได้ไม่รู้จบ
Michael James Aleck Snow (1928-2023) ศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ Avant-Garde สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นวิศวกรโยธา ประสบอุบัติเหตุทำให้ตาบอดตอนบุตรชายอายุเพียง 5 ขวบ นั่นทำให้เขามีความสนใจเรื่องเสียง เล่นดนตรี Jazz โตขึ้นยังค้นพบความชื่นชอบวาดรูป แกะสลัก เลยเข้าศึกษาศิลปะ Upper Canada College ตามด้วย Ontario College of Art (ปัจจุบันคือ Ontario College of Art & Design University), จบออกมาทำงานบริษัทออกแบบ ‘graphic design’ แต่พบว่านั่นไม่สิ่งที่อยากทำสักเท่าไหร่ จนกระทั่งมีโอกาสออกท่องเที่ยวยุโรป คลั่งไคล้ผลงานของ Paul Klee กลับมาได้งานบริษัทอนิเมชั่น Graphic Associates กำกับหนังสั้นทดลองเรื่องแรก A to Z (1956)
My paintings are done by a filmmaker, sculpture by a musician, films by a painter, music by a filmmaker, paintings by a sculptor, sculpture by a filmmaker, films by a musician, music by a sculptor … sometimes they all work together. Also, many of my paintings have been done by a painter, sculpture by a sculptor, films by a filmmaker, music by a musician. There is a tendency towards purity in all of these media as separate endeavours.
Michael Snow
นอกจากศิลปิน จิตรกร แกะสลัก และนักดนตรี Snow ยังต้องการสำรวจความเป็นไปได้ของสื่อภาพยนตร์ ไม่ใช่ในแง่ของการเล่าเรื่อง (Storytelling) แต่คือการผสมผสานระหว่างภาพและเสียง เพื่อให้เกิดปรากฎการณ์บางอย่าง ท้าทายขอบเขตจำกัด ค้นพบรูปแบบใหม่ของสิ่งที่ต้องการนำเสนอออกมา
I’m interested in film as a medium, and in pushing the medium as far as it can go. I’m not interested in telling stories or in creating characters or plotlines. I’m interested in exploring the formal qualities of the medium – the way that light and sound can create meaning and emotion in the absence of narrative. For me, experimental film is a way of exploring the boundaries of cinema and discovering new forms of expression.
I wanted to create something that would make the viewer think about their own perceptions and the nature of the medium itself.
สำหรับแนวคิดของ Wavelength (1967) เริ่มต้นจากความต้องการใช้เทคนิคซูม (Zooming) เข้าไปในพื้นที่ว่าง เพื่อค้นพบบางสิ่งอย่างที่ในตอนแรกมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ค่อยๆชัดเจนขึ้นเรื่อยๆทั้งในเชิงรูปธรรม-นามธรรม ลักษณะคล้ายๆกล้องจุลทรรศน์ & กล้องโทรทรรศน์
The idea was to use a zoom to discover what was in the space, but then to discover something that was not apparent. It was a metaphor for the idea that the world around us is more than it seems. The zoom is like a microscope or telescope, bringing into focus things that are not normally visible. And the idea of the sine wave was to create a visual rhythm that would be both hypnotic and challenging.
สิ่งที่พบเห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น ไม่ได้มีพล็อตเรื่องราว (Narrative) เพียงกล้องเริ่มถ่ายจากภาพมุมกว้างในห้องพักสี่หน้าต่าง จากนั้นค่อยๆซูมเข้าหารูปภาพคลื่นทะเลบนฝาผนัง ซึ่งระหว่างนั้นจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับมนุษย์เกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง ประกอบด้วย
- เริ่มต้นหญิงสาว ออกคำสั่งให้พนักงานชายสองคนขนตู้มาวางในห้อง จากนั้นก็แยกย้ายจากไป
- หญิงสาวและเพื่อนสาวอีกคนเดินเข้ามาในห้อง คนหนึ่งนำยกซดเครื่องดื่ม อีกคนเปิดวิทยุฟังเพลง Strawberry Fields Forever สักพักพวกเธอก็แยกย้ายจากไป
- ได้ยินเสียงทุบกระจกแตก จากนั้นชายคนหนึ่งตรงเข้ามาในห้อง (เหมือนจะเป็นโจร) แล้วจู่ๆทรุดล้มลง คาดว่าน่าจะหัวใจล้มเหลวเสียชีวิต
- หญิงสาวกลับมาถึงห้อง พบเห็นศพชายแปลกหน้า จึงโทรศัพท์แจ้งตำรวจ (ช่วงใกล้ๆตอนจบของหนัง เหมือนได้ยินเสียงไซเรนรถตำรวจ)
ทั้งสี่เหตุการณ์ตามคำบอกเล่าของผกก. Snow ต้องการให้เป็นตัวแทนของสี่ช่วงเวลาสำคัญๆของมนุษย์ ถือกำเนิด (เริ่มต้นขนย้ายตู้เข้ามาในห้อง), ความรัก (ระหว่างสองบุคคล), ความรุนแรง (เสียงกระจกแตก ล้มลงหัวใจวาย) และความตาย (หญิงสาวพบเห็นชายแปลกหน้าเสียชีวิต)
I wanted to suggest, in a minimal and allusive way, four major human events: birth, death, love, and violence. The film is not a narrative in any traditional sense, but rather an exploration of the formal properties of cinema and the ways in which images and sounds can create meaning and emotion in the absence of a linear story.
หนังถ่ายทำยังสตูดิโอที่ Toronto ขนาดความกว้าง 25 ฟุต (7.62 เมตร) ยาว 80 ฟุต (24.38 เมตร) ด้วยกล้องฟีล์ม 16mm หยิบยืมจากเพื่อนผู้กำกับ Ken Jacobs นำมาตั้งบนขาตั้ง (Tripod) วางไว้บริเวณปลายสุดของห้อง ใช้เลนส์ซูมของ Angeniux ค่อยๆปรับไล่ระดับทีละเล็กในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อบันทึกเช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ บางครั้งก็ใช้ Color Gels (ฟิลเลอร์สี) เพื่อสร้างสัมผัสอุณหภูมิของห้อง(ในช่วงเวลาต่างๆ)
เทคนิคภาพอื่นๆที่พบเห็นก็อย่างการซ้อนภาพ (Double Explosure), Invert Color (Negative Photography), หน้าจอขาว (White Screen), รวมถึงภาพถ่ายจากภายนอก (พบเห็นรถราวิ่งบนท้องถนน) ฯ เหล่านี้เพื่อสร้างความบิดเบือน (Distortion) ราวกับโลกอีกใบ (Otherworldliness) ที่ซุกซ่อน ซ้อนทับ บางสิ่งอย่างมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
The use of the zoom was an attempt to isolate an individual in a larger context. And the rest of the distortions were attempts to create various sorts of tension or balance, or to work against the illusionary elements in the film.
I think the visual devices I used in ‘Wavelength’ were trying to produce a sense of texture, a sense of visual interaction, a sense of things coming together and falling apart.
เกร็ด: ทีแรกผมนึกว่าหนังคงถ่ายทำไปตามลำดับเหตุการณ์ (Chronological Order) แต่เพราะนักแสดงชาย Hollis Frampton (ที่ล้มลงเสียชีวิต) ไม่ว่างตามคิวนัดเลยต้องเริ่มถ่ายทำก่อนใคร นี่แสดงให้เห็นว่ารายละเอียด ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะการซูม มีการคำนวณไว้อย่างเสร็จสรรพตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่ายทำ
นักวิจารณ์บางคนตีความ Wavelength (1967) คือหนัง Feminist จากฉากแรกหญิงสาวออกคำสั่งสองชายขนย้ายตู้หนังสือ รวมถึงฉากความสัมพันธ์หญิง-หญิง และบุรุษจู่ๆทรุดล้มตกตายไป เหล่านี้แสดงให้เห็นถึง ‘สตรีเป็นใหญ่’ โลกยุคสมัยใหม่กำลังกลับตารปัตรตรงข้ามจากเคยเป็นมา … ผมว่ามันก็พอจะตีความแง่มุมนี้ได้กระมัง เพราะใจความหนังพยายามสื่อถึงสองสิ่งขั้วตรงข้าม ที่มีความเหลื่อมล้ำ ซ้อนทับ แต่ก็เป็นอันหนึ่งเดียวกัน
บางคนมองว่านี่คือลักษณะการ ‘Establishing Shot’ ของผกก. Snow สื่อถึงการ(ขนย้ายตู้หนังสือ)นำสู่เข้าเรื่องราว แต่เพราะกล้องไม่ได้ให้ความสนใจ โฟกัส ติดตาม ด้วยลักษณะของ ‘mechanical eye’ เพียงค่อยๆซูมเข้า ดำเนินไปเรื่อยๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์หาใช่พระเอกของหนัง (Protagonist) ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรใดๆ (นักวิจารณ์บางคนเรียกว่าเป็นการ ‘de-humanized’)
ห้องแห่งนี้จากเคย(เกือบ)ว่างเปล่า การขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของ ตู้หนังสือ สามารถมองว่าคือจุดกำเนิด เริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่ บางสิ่งอย่างรุกล้ำเข้ามาในร่างกาย (ทารก?) จิตวิญญาณ ให้เกิดความครุ่นคิด หมกมุ่นยึดติด (จะมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนิยม/บริโภคนิยมก็ได้เช่นกัน) และกลายเป็นองค์ประกอบ/ส่วนหนึ่งเดียวกับห้องแห่งนี้
หญิงสาวปิดวิทยุพอดิบพอดีกับคำร้อง “I’m going to Strawberry Fields”. จากนั้นไม่นานพบเห็นการกลับสีภาพ Invert Color (หรือ Negative Photography) ให้ตรงกันข้ามกับสีที่เป็นอยู่ ตามด้วยเสียงรถราภายนอก กลายมาเป็นเสียงสูง (High-Pitched Sound) ที่จะค่อยๆไต่ไล่ระดับขึ้นเรื่อยๆ … นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของหนัง เริ่มแสดงให้เห็นถึงการบิดเบือน เลือนลาง ซ้อนทับระหว่างความจริง-ภาพลวง พบเห็นสิ่งผิดแปลกแตกต่างจากสิ่งปกติทั่วไป
ภายหลังจากที่ชายแปลกหน้าทรุดล้มลง (น่าจะเสียชีวิต) ไม่นานนักจะเริ่มพบเห็นภาพซ้อน สามารถสื่อถึงความบิดเบือน (Distortion) ราวกับโลกอีกใบ (Otherworldliness) ที่ซุกซ่อน ซ้อนทับ บางสิ่งอย่างมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า … วิญญาณ(ผู้ตาย)ล่องลอยออกจากร่าง
มีขณะหนึ่งที่อาจสร้างความฉงนสงสัย/หลอกหลอนให้หลายๆคน คือเหตุการณ์เมื่อหญิงสาวเข้ามาพบศพชายในห้องพัก ยกโทรศัพท์ติดต่อตำรวจ แต่หลังจากวางหูแล้วเดินจากไป มันเหมือนมีภาพซ้อน เลือนลาง (Superimposition) พบเห็นเธอกำลังยกหูคุยโทรศัพท์อีกครั้ง?
มีนักวิจารณ์ตีความการใช้เทคนิคซ้อนทับ ‘Superimposition’ สะท้อนความสับสน กังวล ไม่รู้จะทำอะไรยังไงเมื่อพบเห็นคนตายในห้องพักของตนเอง, แต่ผมครุ่นคิดว่าซีเควนซ์นี้ ต้องการจะซ้อนทับภาพความจริง (Fact) และลวงตา (Illusion) ซึ่งพอดิบพอดีกับการพบเจอคนตาย วิญญาณล่องลอยออกจากร่าง สามารถสื่อถึงโลกหลังความตาย รูปธรรมแปรสภาพสู่นามธรรม
การเลือกใช้ภาพคลื่นทะเล ผกก. Snow ได้แรงบันดาลใจจาก Jean-Baptiste Joseph Fourier (1768-1830) นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ สัญชาติฝรั่งเศส ผู้ค้นพบสมการของคลื่นไซน์ (Sine Wave) อันนำไปสู่อนุกรมฟูรีเย (Fourier series) สำหรับอธิบายการเคลื่อนไหวของคลื่น
แซว: แต่คนส่วนใหญ่มักจดจำ Joseph Fourier จากการค้นพบปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เสียมากกว่า
The photograph of the wave that’s in Wavelength comes from Fourier’s wave theory, where you break down any sound into a series of pure tones, and any picture into a series of pure wave forms. The picture of the wave was put in as a way of stating one of the formal intentions of the film, which was to break down the action into its smallest possible components and then to put them back together again. The photograph of the wave is a way of visualizing this idea of breaking something down to its component parts.
Michael Snow อธิบายเหตุผลของการเลือกใช้ภาพคลื่นทะเล
ในส่วนตัดต่อและบันทึกเสียง เปลี่ยนมาทำที่ New York City หลายคนน่าจะตระหนักว่าหนังไม่ใช่การ ‘Slow Zoom-in’ ค่อยๆขยับเคลื่อนเข้าไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ‘Long Take’ ระยะเวลา 45 นาที แต่เต็มไปด้วยการแทรกภาพ จอขาว สลับเปลี่ยนเฉดสีสัน ฯ เพื่อให้ผู้สัมผัสถึงกาลเวลา ‘Time-lapse’ ที่ผันแปรเปลี่ยน (ในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์) และถ้าใครช่างสังเกตจะพบการวนซ้ำ ‘Repeatition’ ก่อนที่การซูมจะไปถึงรูปภาพคลื่นทะเลบนฝาผนัง
ส่วนของการออกแบบเสียง (Sound Design) ก็ยังเป็นงานของผกก. Snow (สรุปคือเหมารวมโปรดิวเซอร์, กำกับ, เขียนบท, ถ่ายภาพ, ตัดต่อ, ออกแบบเสียง) ช่วงแรกๆยังได้ยินเสียงพูดคุยสนทนา และรถราจากภายนอกห้องพัก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งๆสรรพเสียงทั้งหมดกลับกลายเป็น ‘Sound Effect’ ใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ ‘Doppler effect’ ด้วยการเปิดเครื่องเล่นเสียงสูง (High-Pitched Sound) ตั้งแต่ความถี่ต่ำสุด 30 Hz จนสูงสุด(เท่าที่เครื่องเล่นจะสามารถส่งเสียงออกมา) 1,200 Hz จากนั้นขยับไมโครโฟนเข้าใกล้-ออกห่าง เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนเสียงกำลังเคลื่อนที่พานผ่านบางสิ่งอย่าง
(ทีแรกผมนึกว่าหนังใช้เทคนิค ‘Shepard tone’ ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียงแบบเดียวกับ Dunkirk (2017) แต่เพิ่งมาค้นพบว่าเสียงลวงหูดังกล่าวเพิ่งถูกพัฒนาช่วงทศวรรษ 80s)
I was trying to create some interesting sound effects and I discovered I could get an interesting Doppler effect if I had a track that had nothing but hiss on it and then switched on a noise gate every time a sound appeared. The result was that you would hear the sound followed by the hiss going through the noise gate, and the frequency of the hiss would rise and fall in a way that suggested motion.
The sound on Wavelength is a sine wave which goes from its lowest (30 Hz) to its highest (1,200 Hz) in 40 minutes. I used a 30-cycle wave as the basic sound, which then was continuously changing pitch. And the change of pitch was effected by moving the microphone in a certain way, which gave the Doppler effect. The moving of the microphone also gave the sense of space – it wasn’t a sound that was coming from a particular point, it was moving around the room.
ลักษณะของเสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ที่มีความติดต่อเนื่อง รู้สึกเหมือนไล่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เพื่อให้สอดคล้องเทคนิคการค่อยๆซูมเข้าหา ‘Slow Zoom-in’ มอบสัมผัสนามธรรม จับต้องไม่ได้ เหมือนถูกสะกดจิต ใจจดใจจ่อ ราวกับจะนำพาผู้ชมพุ่งเข้าสู่โลกต่างมิติ ซึ่งเมื่อกล้องซูมมาถึงรูปภาพคลื่นทะเล ทุกสิ่งอย่างก็พลันเงียบสงัด แต่สามารถสื่อถึงระดับเสียงที่สูงเกินกว่าประสาทสัมผัสทางหูจะได้ยิน
I wanted the sound to be almost abstract. I wanted to make a sound that was continuous and sustained so that there would be no distractions. It has a kind of hypnotic quality, and you listen to it and it takes you into another dimension.
คำว่า Wavelength แปลตรงตัวว่า ความยาวคลื่น ระยะทางระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ถัดกัน เฟสตรงกัน ส่วนซ้ำกันของคลื่น ครบรอบ เวียนมาบรรจบ ใช้สัญลักษณ์อักษรกรีกแลมบ์ดา (λ) หน่วยเมตร (meter) มีค่าเท่ากับความเร็ว (เมตร/วินาที) หารด้วยความถี่ (Hertz) … λ = v/f
I wanted to make a summation of my nervous system, religious inklings, and aesthetic ideas. I was thinking of, planning for a time monument in which the beauty and sadness of equivalence would be celebrated, thinking of trying to make a definitive statement of pure Film space and time, a balancing of “illusion” and “fact,” all about seeing.
Michael Snow ให้คำอธิบายถึง Wavelength (1967)
นอกจากคลื่นทะเล(รูปภาพติดอยู่บนฝาผนัง)ที่ล้อกับชื่อหนัง Wavelength รายละเอียดอื่นๆอย่างคลื่นแสง คลื่นเสียง สิ่งต่างๆที่มนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ล้วนสามารถสื่อถึงคลื่นความถี่ ที่มีความติดต่อเนื่อง เชื่อมโยงใย ดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด รวมถึงวัฏจักรชีวิต เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ในหนังใช้เป็น เกิด-ตาย (ทางกายภาพ), ความรัก-ความรุนแรง (ทางจิตภาพ) ก็ได้กระมัง
I had the feeling that the length of the film would affect people. That they would get impatient, they would get tired, they would get bored, and then things would start happening again.
I thought of it as a metaphor. You know, light waves, sound waves, the wavelength of a person, the wavelength of an activity. It’s a term that can be applied to many different things, and it seemed appropriate for a film that deals with perception and communication.
I like the fact that the word ‘wavelength’ suggests something that’s continuous and unbroken. It’s a nice counterpoint to the fragmented nature of the film, which is made up of all these separate shots and sounds.
ผมมองว่า Wavelength (1967) คือความพยายามเปิดมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม (หน้าต่างเคยเปิดออก, ความตายชายแปลกหน้า(วิญญาณล่องลอยออกจากร่าง), กล้องค่อยๆซูมเข้าหาภาพมหาสมุทร ฯ) ไม่ใช่แค่การทดลองรูปแบบใหม่กับสื่อภาพยนตร์ ยังให้เกิดความตระหนักถึงสิ่งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอยู่จริง ขึ้นกับตัวเราจักสามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ มองลึกลงไปถึงระดับคลื่นความถี่ จากมหภาคสู่จุลภาค รูปธรรมสู่นามธรรม ภายนอกสู่ภายใน ร่างกายสู่จิตจิตวิญญาณ ฯลฯ พบเห็นความเชื่อมโยงถึงกันของทุกสรรพสิ่งอย่างในสากลจักรวาล
นักวิจารณ์มีคำเรียกภาพยนตร์แบบ Wavelength (1967) ให้ชื่อว่า ‘structural film’ แถมยกย่องผกก. Snow เป็นครูใหญ่ “The Dean of Structural Filmmakers”. ซึ่งลักษณะหนังโครงสร้าง(ทดลอง)มักประกอบด้วย
- ตั้งกล้องเพียงตำแหน่งเดียว ไม่มีการขยับเคลื่อนไหว (Fixed Camera Position)
- ในกรณีของ Wavelength (1967) แม้จะมีการซูมมิ่ง ทำให้ภาพเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ถือว่าตั้งกล้องตำแหน่งเดิมไม่ได้ขยับเคลื่อนย้ายใดๆ
- การจัดวางองค์ประกอบภาพเดียว (Fixed Framing)
- ฉายภาพ-เสียงวนซ้ำไปซ้ำมา (Repetition)
- ระยะเวลามักมีความยาวนาน บางครั้งถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ ไม่ค่อยเน้นการตัดต่อ (Minimal Editing)
วัตถุประสงค์ของ ‘structural film’ คือการสำรวจความเป็นไปได้ ท้าทายขีดจำกัดสื่อภาพยนตร์ ด้วยเทคนิค วิธีการแตกต่างจากเรื่องเล่าปกติทั่วไป เพราะผู้ชมสามารถตระหนักถึง’โครงสร้าง’ได้ตั้งแต่ฉากแรกๆ การรับชมจึงใช้ต้องประสาทสัมผัส ความช่างสังเกต แล้วนำมาขบครุ่นคิดวิเคราะห์ เพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร “cinema of the mind rather than the eye”.
เมื่อตอนหนังออกฉาย ได้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์อย่างดีล้นหลาม (แต่ผู้ชมส่วนใหญ่คงดูไม่รู้เรื่อง) ถึงขนาดมีคำเรียก “a landmark event in cinema”. ถูกนำมาเปรียบเทียบโคตรผลงาน Avant-Garde อย่าง Ballet Mecanique (1924), Un Chien Andalou (1929), Meshes of the Afternoon (1943), Mothlight (1963) และ Scorpio Rising (1964)
Michael Snow’s Wavelength is a landmark film. For the first time since I don’t know when, a film has been made which uses the possibilities of the medium in a radical, new way, without in any way violating the integrity of the medium.
นักวิจารณ์/ผู้สร้างภาพยนตร์ Jonas Mekas เขียนลงนิตยสาร The Village Voice
The film’s 45-minute zoom shot, which gradually reveals the contents of an empty loft, is a tour-de-force of formal innovation and conceptual complexity. It challenges us to rethink our assumptions about cinema and the ways in which we experience the world around us. Wavelength is a landmark work of art that opened up new possibilities for cinema as a medium of personal and social transformation.
It is the first post-Warhol, post-Minimal movie; one of the few films to engage those higher conceptual orders which occupy modern painting and sculpture. It has rightly been described as a triumph of contemplative cinema.
นักวิจารณ์ Gene Youngblood ในหนังสือ Expanded Cinema (1970)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการโหวตติดอันดับ “The Greatest Films of All Time” จากนิตยสาร Sight & Sound มาแล้วถึงสองครั้งด้วยกัน
- Sight & Sound: Critics’s Poll 2012 อันดับ 102 (ร่วม)
- Sight & Sound: Critics’s Poll 2022 อันดับ 196 (ร่วม)
น่าเสียดายที่คุณภาพหนังใน Youtube หรือเว็บ Archive.org ไม่ค่อยดีเลิศสักเท่าไหร่ พบเห็นเพียง DVD ยังไม่มีข่าวคราวการบูรณะ แต่เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสอยู่บ้างละ
ขณะที่หนังทดลองของ Andy Warhol เน้นความเรียบง่าย บันทึกภาพกิจวัตรประจำวันทั่วๆไป ให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิดตีความ, ผลงานของผกก. Snow มองผิวเผินเหมือนไม่มีอะไร แต่กลับโคตรๆลึกล้ำ สลับซับซ้อน ซ่อนรายละเอียด ท้าทายศักยภาพครุ่นคิดวิเคราะห์ มองหาวัตถุประสงค์/เป้าหมายแท้จริง สมควรอย่างยิ่งต่อการยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ต้องปีนป่ายบันไดสูงมากๆถึงพบเห็นสรวงสวรรค์ ศิลปะขั้นสูง (High Art)
ระยะเวลา 45 นาที มันอาจเยิ่นยาวนานเกินไปสำหรับคนรุ่นใหม่ ผกก. Snow เลยประชดประชันด้วยการตัดต่อใหม่ WVLNT: Wavelength For Those Who Don’t Have The Time (2003) เหลือความยาว 15 นาที แต่แนะนำว่าอย่าเสียเวลาหาดูเลยนะครับ มันคงสูญอรรถรสในการรับชมอย่างมากๆ
จัดเรต 13+ กับภาพและเสียงที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้า ผู้ชมทั่วไปคงดูไม่รู้เรื่อง
ไอพวกในยูทูปนี่ล้อเลียนเรื่องนี้กันใหญ่เหมือนตามๆกันมาดูเพราะ ไอช่องที่ชื่อ Cinemasscre วิจารณ์ว่าเป็น Worst Movie Ever
รสนิยมคนเราไม่เท่ากัน ตอนผมรับชมหนังเรื่องนี้ครั้งแรกก็ส่ายหัว เบือนหน้าหนี แต่ถ้าเราไม่ปิดกั้นตนเอง สะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งก็อาจจะสามารถเข้าถึง