Wild at Heart

Wild at Heart (1990) hollywood : David Lynch ♥♥♥

Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้

“This whole world’s wild at heart and weird on top”.

Lula

ถ้าผมทันดู Wild at Heart (1990) เมื่อตอนฉายในโรงภาพยนตร์ เชื่อเลยว่าคงต้องเป็นหนึ่งในคนส่งเสียงโห่ร้องไล่ ด่าพ่อล่อแม้ง คือมรีงจะสุดโต่งไปถีงไหน เป็นหนังที่ก้าวไปไกลกว่า Surrealist จนมีสภาพ Absurdity ไม่ใช่เรื่องง่ายจักยินยอมรับ ทำความเข้าใจ ต่อให้ใช้สมองครุ่นคิดวิเคราะห์ ไม่แน่ว่าสามารถค้นพบความต้องการแท้จริงของผู้สร้าง

ทุกสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ดู Absurdity ไปเสียหมด!

  • การแสดงดูปรุงปั้นแต่ง Overacting ไม่เป็นธรรมชาติเลยสักนิด
  • การถ่ายภาพ พยายามเลือกมุมมอง ทิศทางกล้อง จัดองค์ประกอบให้มีลักษณะคล้ายภาพวาดงานศิลปะ เต็มไปด้วยสิ่งสัญลักษณ์แปลกประหลาดมากมาย
  • เพลงประกอบไล่ตั้งแต่ Classic, Jazz, Country, Folk Song, Pop Rock, Psychedelic, Heavy Metal จากขั้วสุดไปอีกสุดขั้วสไตล์เพลง
  • เริ่มต้นด้วยความรุนแรงแบบสุดโต่ง อีกฝ่ายแค่ประทุษร้าย ถูกโต้ตอบกลับด้วยการเอาศีรษะโขกพื้นจนเลือดอาบ สมองไหล ตกตายทั้งเป็น ทำเกินกว่าเหตุไปไหม?
  • ครี่งแรกของหนัง มีฉากร่วมรักระหว่าง Sailor กับ Lula แทบจะทุกสิบนาทีครั้ง แค่เปลี่ยนโรงแรม ท่วงท่า หัวข้อสนทนา ไม่รู้บุหรี่หมดไปกี่มวน
  • แม่ไม่ต้องการให้ลูกไปพบเจอชายคนรัก แต่หลังจากเธอหนีออกจากบ้าน ร้องขอให้ชู้คนแรกติดตามตัว ชู้คนที่สองติดต่อว่าจ้างนักฆ่า ส่วนตัวเธอเองก็เกือบกลายเป็นบ้า (เพราะก่อนหน้านี้ว่าจ้างชู้ฆาตกรรมสามีตนเอง)
  • (ฉากที่ถูกตัดออกไป) หนี่งในนักฆ่าเมื่อกำจัดอีกเป้าหมายเสร็จสรรพ เกิดอารมณ์ต้องการทางเพศ ร่วมรักกับลูกน้องต่อหน้าศพผู้เสียชีวิต
  • นายธนาคารถูกปืนลูกซองยิงมือขาด พยายามคืบคลานออกติดตามหา เผื่อสามารถนำมาประกอบติดใหม่ แต่ปรากฎว่ากลับถูกสุนัขตัวหนี่งคาบมือออกไป
    ฯลฯ

ที่ยกมาแค่เรียกน้ำย่อยนะครับ ล้วนคือความจงใจของ David Lynch เพื่อนำเสนอความ Absurdity ในลักษณะสะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ทุกคนต่างเพ้อฝันถีงดินแดน The Wizard of Oz (ใช้เปรียบเทียบคู่ขนาน มีการเอ่ยกล่าวถีงอยู่บ่อยครั้ง) แต่ดินแดนแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์พิศดาร ภยันตรายซุกซ่อนเร้นรอบตัว ถีงอย่างนั้นเราก็ยังสามารถเค้นหา ‘ความรักใต้ขุมนรก’ และบ้านที่แท้จริงอยู่ภายในจิตใจ

กาลเวลาไม่ได้ทำให้หนังดีขี้นสักเท่าไหร่ ยังคงดูยาก ต้องใช้ความอดทนสูงมากๆ แถมพื้นหลังสะท้อนยุคสมัยนิยม 50s – 80s ถ้าเราไม่มีความรู้จัด ‘pop culture’ ของสหรัฐอเมริกาทศวรรษดัวกล่าว อาจพบเห็นเพียงการเดินทางสู่นรก มุ่งสู่จุดลีกสุดขุมอเวจี มีแต่ทนทุกข์ทรมานระหว่างรับชม … นี่คือเหตุผลที่หนังค่อยๆถูกลืมเลือน สูญเสียคุณค่าความสำคัญ และแม้มีการประเมินราคาผลงานใหม่ กลับไม่ได้รับความสนใจสักเท่าไหร่ (ก็เพราะหนังมัน ‘weird’ เกินไป)

ผมเองก็ทำได้แค่มองหนังในมุมชาวต่างชาติ ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งอ้างอิงที่สอดแทรกอยู่สักเท่าไหร่ เลยพบเห็นเพียงความ Absurdity ของวิถีอเมริกัน ซี่งมันไม่ได้ก่อให้ประโยชน์ต่อตนเองสักเท่าไหร่ นอกจากความสงสารเห็นใจ สมเพศเวทนา


David Keith Lynch (เกิดปี 1946) ศิลปินวาดภาพ นักเขียน เล่นดนตรี visual artist กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยให้กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture) ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีเชื้อสาย Finnish-Swedish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาประมาณศตวรรษที่ 19, ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยตัดสินใจออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน

ก่อนลงหลักปักถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่างนี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) เพราะต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถขยับเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง นำเงินที่ได้มาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอต่อ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไป จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม (ทุนหลักหมื่น แต่ทำเงินหลายล้านเหรียญ!) จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา

ฤดูร้อน 1989, หลังเสร็จจากกำกับตอน pilot ของ Twin Peaks ช่วงระหว่าง Post-Production เริ่มครุ่นคิดวางแผนชุบชีวิตสองโปรเจคคั่งค้างไว้นาน Ronnie Rocket และ One Saliva Bubble แต่จู่ๆสตูดิโอของ Dino De Laurentiis ประกาศล้มละลาย ความฝันดังกล่าวเลยพลันล่มสลายทันตา

ระหว่างกำลังมองหาโปรเจคใหม่ ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Monty Montgomery ขอความช่วยเหลือให้ดัดแปลงนวนิยาย Wild at Heart: The Story of Sailor and Lula (1990) ผลงานเรื่องใหม่(ขณะนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์)ของ Barry Gifford (เกิดปี 1946, ที่ Chicago) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน, Lynch ตั้งคำถามเล่นๆกลับไปว่า ถ้าอ่านแล้วชื่นชอบจะขอกำกับเองได้หรือเปล่า?

“That’s great Monty, but what if I read it and fall in love with it and want to do it myself?”

David Lynch

Montgomery ไม่ได้ครุ่นคิดว่า Lynch จะมีความสนใจเรื่องราวของ Wild at Heart เพราะครุ่นคิดว่ามันไม่ใช่แนว ‘not kind his thing’ แต่หลังจากเจ้าตัวอ่านจบ บังเกิดความต้องการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ขี้นมาโดยทันที

“It was just exactly the right thing at the right time. The book and the violence in America merged in my mind and many different things happened.

a really modern romance in a violent world – a picture about finding love in Hell”.

หลังจากได้รับอนุญาตจากเจ้าของนวนิยาย Lynch ใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวในการพัฒนาบทร่างแรก แต่พอนำไปให้ใครๆอ่านกลับเบือนหน้านี้ เนื้อหายังขาดจุดดีงดูดน่าสนใจ ระหว่างปรับปรุงบทร่างถัดมา บังเกิดความครุ่นคิดผสมผสานหนังเรื่องโปรดสมัยเด็ก The Wizard of Oz (1939) คลุกเคล้าเข้าไป

“It was an awful tough world, and there was something about Sailor being a rebel. But a rebel with a dream of the Wizard of Oz is kinda like a beautiful thing”.

Samuel Goldwyn Jr. เป็นหนี่งในคนที่ได้อ่านบทร่างแรกๆของ Wild at Heart เกิดความชื่นชอบประทับใจ ยกเว้นแค่ตอนจบบอกให้ไปปรับแก้ไขแล้วจะให้ทุนสร้าง แม้ตัวของ Lynch จะไม่ชอบตอนจบเหมือนกัน แต่พอเปลี่ยนมา Happy Ending เลยตั้งคำถามกับตนเอง มันจะดูสูตรสำเร็จเกินไปหรือเปล่า? (แต่ก็เปลี่ยนไปแล้วเสร็จสรรพ)

“much more commercial to make a happy ending yet, if I had not changed it, so that people wouldn’t say I was trying to be commercial, I would have been untrue to what the material was saying”.


เรื่องราวของคู่รัก Sailor Ripley (รับบทโดย Nicolas Cage) หลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ ออกเดินทางท่องสหรัฐอเมริการ่วมกับแฟนสาว Lula Pace Fortune (รับบทโดย Laura Dern) เพื่อหลบหนีความเห็นแก่ตัวของแม่ Marietta Fortune (รับบทโดย Diane Ladd, แม่แท้ๆของ Laura Dern) ยินยอมรับความสัมพันธ์ทั้งคู่ไม่ได้ สั่งให้ชู้รักคนแรก/นักสืบ Johnnie Farragut (รับบทโดย Harry Dean Stanton) ออกติดตามแล้วพาตัวกลับบ้าน แต่ใช้เวลาเนิ่นนานเกินไปเธอจึงติดต่อชู้รักคนที่สอง/มาเฟีย Marcellus Santos (รับบทโดย J. E. Freeman) สนเพียงเข่นฆ่า โต้ตอบด้วยความรุนแรง ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ เมื่อตระหนักว่าตนเองพลั้งเผลอทำสัญญากับปีศาจ ก็เริ่มคลุ้มคลั่งเสียสติแตก มิอาจหลบหนีดิ้นหลุดพ้น

สำหรับหนุ่มสาวคู่รัก ออกท่องสหรัฐอเมริกาจาก Cape Fear, North Carolina มุ่งสู่ New Orleans มาจนถึง Big Tuna, Texas ได้พบเจอสิ่งต่างๆมากมาย เรียนรู้จักตัวตนกันและกัน ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น เร่าร้อนแรง กระทั่ง Lula ค้นพบว่าตนเองตั้งครรภ์ และการมาถึงของ Bobby Peru (รับบทโดย Willem Dafoe) นักฆ่าที่ได้รับการจ้างวานจาก Santos ชักชวน Sailor ให้ออกปล้นธนาคารร่วมกัน แล้วเหตุไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น


Nicolas Cage ชื่อจริง Nicolas Kim Coppola (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Long Beach, บิดาคือ August Coppola เป็นพี่ชายของ Francis Ford Coppola, วัยเด็กมีความคลั่งไคล้ James Dean เลยมุ่งมั่นอยากเป็นนักแสดง, ตอนอายุ 15 พยายามโน้มน้าวลุงให้ได้ทดสอบหน้ากล้อง (ไม่รู้หนังเรื่องอะไร) พอไม่ได้รับโอกาสเลยเปลี่ยนชื่อ Nicolas Cage (ได้แรงบันดาลใจจาก Superhero ชื่อ Luke Cage) แล้วเข้าเรียนต่อ UCLA School of Theater, Film and Television, ผลงานสร้างชื่อ อาทิ Moonstruck (1987), Raising Arizona (1987), Wild at Heart (1990), Leaving Las Vagas (1995) ** คว้า Oscar: Best Actor, Adaptation (2002), The Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (2009) ฯ

รับบท Sailor Ripley อดีตคนขับรถแก๊งมาเฟียของ Marcellus Santos หลังจากออกจากองค์กร จับพลัดจับพลูมาตกหลุมรัก Lula Pace Fortune (ในอดีต Sailor เคยขับรถไปส่ง Santos ให้เข่นฆ่ากรรมพ่อของเธอ…จากการว่าจ้างโดยแม่ของเธอ) แต่ถูกกีดกันโดยแม่ Marietta Fortune ส่งนักฆ่ามาลอบทำร้าย แต่เขาโต้ตอบกลับด้วยความรุนแรงจนอีกฝ่ายเสียชีวิต เป็นเหตุให้ถูกควบคุมขังติดคุกอยู่นานหลายปี

Sailor ชื่นชอบสวมใส่แจ็กเก็ตหนังงู (snakeskin) แล้วพูดคำโอ้อวดด้วยน้ำเสียงหล่อสไตล์ Elvis Presley ว่าคือสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวของตนเอง (ปัจเจกบุคคล) และเชื่อในอิสรภาพการแสดงออก

“This is a snakeskin jacket! And for me it’s a symbol of my individuality, and my belief in personal freedom”.

Sailor Ripley

เกร็ด: ช่วงระหว่างเตรียมงานสร้าง Cage โทรศัพท์หาผู้กำกับ Lynch ขอสวมใส่เสื้อแจ็กเก็ตหนังงูระหว่างเข้าฉาก ด้วยจุดประสงค์เคลือบแฝงบางอย่าง จนเมื่อปิดกล้องถ่ายทำเสร็จมอบเสื้อตัวนี้ให้แก่ Laura Dern แล้วเขียนโน้ตให้ว่า Marlon Brando สวมใส่แจ็กเก็ตตัวนี้ในภาพยนตร์เรื่อง The Fugitive Kind (1960) ที่ได้แรงบันดาลใจจากละครเวที Orpheus Descending ของ Tennessee Williams ว่ากันว่า Diane Ladd และ Bruce Dern พบเจอ ตกหลุมรัก และให้กำเนิด Laura Dern ในช่วงเวลานั้น

แม้ว่า Sailor จะเป็นคนหัวร้อน ชอบใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่ก็เอ็นดูทะนุถนอม Lula มอบรสรักหวานฉ่ำที่คงไม่มีใครคาดคิดถึง ทั้งยังวางมาดเท่ห์ๆ เก็กหล่อ จับไมค์ขับร้องเพลง Love Me และ Lover Me Tender แถมมีทัศนคติมองโลกในแง่ดี สามารถปล่อยวางจากอดีต พร้อมปรับปรุงตนเอง และยินยอมรับทุกสิ่งอย่างในตัวเธอ

Cage เป็นตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Lynch ซึ่งเขาก็ตอบตกลงทันทีเพราะต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ เบื่อหน่ายเทคนิค ‘method acting’ และวิธีการทำงานของหนัง บทสนทนาเพิ่งครุ่นคิดสดๆตอนเช้า/ระหว่างถ่ายทำ มันเลยไม่มีเวลาทำความเข้าใจอะไร (over analysis) แค่ท่องบทก็หมดเวลาเตรียมตัว การแสดงจึงค่อนข้างเป็นไปตามสันชาตญาณเสียส่วนใหญ่

ต้องถือว่า Wild at Heart คือจุดเปลี่ยนแนวทาง/สไตล์การแสดงของ Cage ไปโดยสิ้นเชิง! จากก่อนหน้านี้เคยเคร่งเครียดซีเรียส (method acting) กลายมาเป็นไร้รูปแบบแผน (freeform) แม้มันจะดู Overacting แต่กลับยังแทรกใส่อารมณ์อย่างสมจริงจัง

“In Cage’s hands, cartoonish moments are imbued with real emotion and real emotions become cartoons. Everything – from individual scenes down to single lines of dialogue – feel like they have been embraced as opportunities for creation. Cage is usually interesting even when his films are not. He is erratic and unpredictable; he is captivating and he is capricious. He is a performer. He is a troubadour. He is a jazz musician.”

Luke Buckmaster จากนิตยสาร The Guardian

ปล. Cage เรียกเทคนิคการแสดงดังกล่าวว่า Nouveau Shamanic (ผีเข้า?), ส่วนผู้กำกับ Lynch ให้คำนิยามว่า ‘the jazz musician of American acting’


Laura Elizabeth Dern (เกิดปี 1967) นักแสดงหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles บุตรสาวของนักแสดง Bruce Dern และ Diane Ladd หลังพ่อ-แม่แยกทาง อาศัยอยู่กับมารดา (และย่าเชื้อสาย Norwegian) ได้รับการเลี้ยงดูแบบคาทอลิก โดยมีแม่ทูนหัว Shelley Winters, เริ่มเข้าสู่วงการจากตัวประกอบ White Lightning (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), พออายุ 15 ได้รับเลือกให้เป็น Miss Golden Globe, เริ่มมีชื่อเสียงจาก Mask (1985) คือเหตุผลที่ David Lynch เลือกมาร่วมงาน Blue Velvet (1986) ตามด้วย Wild at Heart (1990) และ Inland Empire (2006) โดยไม่เคยได้ทดสอบหน้ากล้องด้วยซ้ำ

รับบท Lula Pace Fortune หญิงสาวมีความสนุกสนาน ร่าเริง สำเริงราญกับชีวิต ทั้งๆเมื่อตอนอายุ 13 เคยถูกลุงข่มขืนกระทำชำเรา แต่ไม่เคยเอามาเป็นปม Trauma ฝังอยู่ในหัวใจ (ไม่ได้มองตนเองเป็นเหยื่อผู้โชคร้าย แต่คือบุคคลรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว) เมื่อได้พบเจอตกหลุมรัก Sailor Ripley ยินยอมพร้อมติดตามเขาไปทุกหนแห่ง ต้องการหลบหนีจากแม่ Marietta Fortune พยายามกีดกัน ออกคำสั่งห้ามปราม แต่เธอยินยอมทำตามเสียที่ไหน

การเดินทางร่วมกับคนรัก ทำให้เธอได้พบเห็นความอัปลักษณ์มากมาย เปิดวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ รถยนต์ประสบอุบัติเหตุ คนตายต่อหน้าต่อตา ฯ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะยินยอมรับความจริง อดีตเลวร้าย โลกเต็มไปด้วยอันตราย ยังไงก็ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมัน และเมื่อค้นพบว่าตนเองตั้งครรภ์ นั่นคือบทพิสูจน์ความมั่นคง(ต่อชายคนรัก) และการค้นพบสรวงสวรรค์หลังสายรุ้งที่อยู่ภายในตัวเอง

Dern เป็นอีกตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Lynch แม้ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยเปลือยกาย เล่นฉาก Sex Scene แต่ก็ไร้ความหวาดกลัวใดๆ เพราะเข้าใจจุดประสงค์ ความจำเป็น ฉากเหล่านั้นได้รับการปกป้องด้วยสัมพันธภาพแห่งรัก ไม่มีอะไรให้รู้สึกน่าอับอาย

“I’d never done nudity in a movie; I’ve never sort of condoned it for myself, but David wanted it, and I was completely comfortable with it because that love story was so protected. There’s never a moment where you feel anything is exploited. I’m interested to see what the American reviewers talk about compared to the Europeans, who really didn’t question it much”.

Laura Dern

ในบรรดานักแสดงทั้งหมดของหนัง Dern เป็นคนเดียวที่ดูมีความลื่นไหล เป็นธรรมชาติ(ด้านการแสดง)มากสุด แต่ถึงอย่างนั้นอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าสภาพอากาศ (7 สีรุ้งกินน้ำ = 7 อารมณ์) ย่อมสร้างความเหนื่อยหน่ายให้ผู้ชม ปรับตัวไม่ค่อยทัน จนบังเกิดความสิ้นหวังต่อ(สหรัฐอเมริกา)โลกอาศัยอยู่

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวละคร (emotional roller-coaster) ล้วนได้รับอิทธิพลจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้างกาย พฤติกรรมเห็นแก่ตัวมารดา, เคยถูกกระชำเราเมื่อยังไร้เดียงสา, พบเห็นสิ่งชั่วร้ายต่างๆนานาระหว่างเดินทาง และที่สุดคือชายคนรัก Sailor ได้เสี้ยมสอนสิ่งทรงคุณค่าสูงสุดในชีวิต คือการยินยอมรับอดีตไม่ว่าจะเคยผิดพลาด กระทำสิ่งชั่วร้ายอะไรมา ไม่มีใดๆในโลกไม่สามารถให้อภัยกันไม่ได้ (แซว: กลับตารปัตรจาก Blue Velvet ที่ตัวละครของ Dern เป็นคนให้คำแนะนำดังกล่าวกับพระเอก)


Diane Ladd ชื่อจริง Rose Diane Ladner (เกิดปี 1935) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Laurel, Mississippi, มารดาเคยเป็นนักแสดงก่อนแต่งงานกับบิดาทำธุรกิจปศุสัตว์ ญาติห่างๆของ Tennessee Williams และ Sidney Lanier, ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการแสดง ได้รับโอกาสจากลุงเป็นตัวประกอบละครเวที แสดงซีรีย์ โด่งดังจาก Chinatown (1974), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), Wild at Heart (1990), Rumbling Rose (1991)

รับบท Marietta Fortune แม่ของ Lula เป็นคนหลงตัวเอง เอาแต่ใจ อยากได้อะไรต้องได้ ไม่พึงพอใจก็พร้อมใช้มาตรการตอบโต้ขั้นเด็ดขาด เริ่มจากอดีตสามี (ว่าจ้าง Santos ให้เข่นฆ่า) หึงหวงลูกสาวจนแปรสภาพเป็นอิจฉาริษยา บังคับให้ชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut ออกติดตามค้าหา แต่ล่าช้าจนอดรนทนไม่ไหว เลยหวนกลับไปว่าจ้าง Santos ที่แอบครุ่นคิดวางแผนจัดการทั้ง Sailor และ Farragut ยิงนกสองตัวในคราเดียวกัน

ความรู้สึกผิดของ Marietta ที่ตัดสินใจว่าจ้าง Santos ทำให้เธอเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ควบคุมตนเองไม่ได้ ใช้ลิปสติก(ของลูกสาว)ทาหน้าจนมีสภาพเหมือน The Wicked Witch of The West (แม่มดผู้ชั่วร้ายแห่งตะวันตก The Wizard of Oz) แล้วออกเดินทางไปหาชู้รัก Farragut แต่ก็มิอาจหยุดยับยั้งโศกนาฎกรรม ถึงอย่างนั้นยังโชคดีที่ว่าการลอบสังหาร Sailor ประสบความล้มเหลว ทำให้ Lula ยังยินยอมหวนกลับบ้าน รับเลี้ยงหลานก็ยังดี

เอาจริงๆการให้ Ladd มารับบทแม่ของตัวละคร Dern ไม่ได้มีนัยยะอะไรซ่อนเร้น (ชีวิตจริงทั้งคู่รักกันดีนะครับ ไม่ได้หึงหวง/เอ็นดูทะนุถนอมเกินกว่าเหตุขนาดนั้น) เป็นความบันเทิงใจล้วนๆของทั้งคู่ได้ร่วมงานผู้กำกับ Lynch มอบอิสรภาพเต็มที่ในการแสดงออก ซึ่งดูเธอจะสนุกไปกับมันอย่างบ้าคลั่งทีเดียว

แม้หนังไม่ได้เล่าถึงที่มาที่ไป ทำไมครอบครัวนี้ถึงร่ำรวยล้นฟ้า แต่นามสกุล Fortune ก็คาดเดาอะไรๆได้อยู่ นั่นคงทำให้(แม่) Marietta ได้รับการเลี้ยงดูประดุจไข่ในหิน ตามใจทุกสิ่งอย่างจนติดนิสัยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ พอเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยิ่งหลงตนเอง พร้อมใช้มาตรการโต้ตอบขั้นเด็ดขาดกับสิ่งไม่ได้ดั่งใจ … ผมครุ่นคิดว่าการกระทำของ Santos ชัดเจนว่าแอบหวังความร่ำรวย สุขสบาย หนูตกถังข้าวสาร หลังใช้ชีวิตกระทำสิ่งชั่วร้ายมาแสนยาวนาน ราวกับไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ เธอกับฉันเราคู่กัน ช่างสมน้ำสมเนื้อชะมัด


William James ‘Willem’ Dafoe (เกิดปี 1955) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Appleton, Wisconsin มีพี่น้องแปดคน, ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าเรียนสาขาการแสดง University of Wisconsin–Milwaukee แต่แค่ปีเดียวก็ออกมาเข้าร่วมคณะการแสดง Theatre X in Milwaukee พอย้ายมาปักหลัก New York City จึงได้เข้าร่วม The Performance Group, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจากบทสมทบ Heaven’s Gate (1979), พระเอกเรื่องแรก The Loveless (1981), โด่งดังจากบทตัวร้าย The Hunger (1986), ตามด้วย Platoon (1986), รับบท Jesus Christ เรื่อง The Last Temptation of Christ (1988), Mississippi Burning (1988) ฯ

รับบทนักฆ่า Bobby Peru ได้รับการว่าจ้างจาก Marcellus Santos ให้กำจัดเป้าหมาย Sailor Ripley แล้วลากพาตัว Lula Pace Fortune กลับมาอย่างปลอดภัย พบเจอทั้งคู่อาศัยอยู่ Big Tuna, Texas แรกเริ่มเข้าไปพูดคุยสนทนา รอคอยจังหวะ หาโอกาสขณะแยกกันอยู่ เข้าไปศึกษาสังเกต/ศึกษาปัญหาจาก Lula จากนั้นล่อลวง Sailor โน้มน้าวให้ร่วมออกปล้นธนาคาร (เพื่อนำเงินมาเป็นทุนตั้งต้นชีวิตใหม่) แต่แท้จริงแล้วมีความตั้งใจ…

Dafoe เคยได้รับข้อเสนอรับบท Frank Booth เรื่อง Blue Velvet (1986) แต่ตอนนั้นบอกปัดไป กระทั่งได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ และเมื่อได้พบเจอ David Lynch เลยบอกถ้ามีบทน่าสนใจติดต่อมาได้เลย

Lynch ชื่นชมการแสดงของ Dafoe เป็นประสบการณ์ร่วมงานน่าทึ่งจริงๆ ‘a terrific experience’ เล่าว่าเขาพัฒนาตัวละครขึ้นจากฟันปลอมที่สวมใส่ ค้นพบรอยยิ้ม(ที่ชวนสยอง) ลีลาการพูดที่แตกต่าง สีหน้าอารมณ์เปะมากๆ สวมบทบาทนักฆ่าอย่างไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน

“He is so controlled, so precise, there’s not a single wasted emotion … I think that the false teeth helped him with his conception of the character. From the moment he puts those teeth in, he talks a little differently, he discovers a certain kind of smile”.

David Lynch

นี่เป็นหนึ่งในตัวร้ายที่ผมหลงใหลคลั่งไคล้มากๆ มีความช่างสังเกต ชอบเล่นเกมจิตวิทยากับเหยื่อ เริ่มจาก Sandy คำพูดแค่ว่า ‘Fuck Me!’ ราวกับวลีสะกดจิต ทำให้หยุดนิ่ง มิสามารถขยับเคลื่อนไหวติง คือถ้าจะข่มขืนก็คงทำได้เลยละ แต่อาจติดสัญญาต้องส่งคืนกลับสู่อ้อมอกมารดา เขาเลยไป ‘fuck’ กับเป้าหมาย Sailor ใช้คำพูดลวงล่อจนเกิดความเคลือบแคลง สงสัย โน้มน้ามจนยินยอมพร้อมใจ แถมลีลามาถึงสถานที่นัดหมายช้ากว่ากำหนด … แหม ถ้าเล่าหมดมันก็จบสนุกพอดี เอาว่าทุกวินาทีของ Dafoe เทียบชั้น Hannibal Lecture ได้อย่างสบายๆ ไม่รู้ทำไมไม่ได้รับโอกาสลุ้นรางวัลสาขาการแสดงสักสถาบันเดียว T_T

แซว: ฉากที่ตัวละครของเข้าห้องน้ำ Dafoe จงใจดื่มน้ำเยอะๆเพื่อให้ปัสสาวะใส่โถส้วมจริงๆ แต่ภายหลังรับรู้ว่าห้องน้ำใช้งานไม่ได้ และมีทีมงานผู้โชคร้ายคนหนึ่งต้องทำความสะอาด จึงรีบเข้าไปขอโทษขอโพยโดยพลัน


ถ่ายภาพโดย Frederick Elmes (เกิดปี 1946) ตากล้องขาประจำ David Lynch และ Jim Jarmusch อาทิ Eraserhead (1977), Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990), Hulk (2003), Broken Flower (2005), The Namesake (2006) ฯ

หนังของผู้กำกับ Lynch (ที่อยู่ในวิสัยทัศน์ของเขา) วิวัฒนาการจากภายในห้องหับ (Eraserhead) มายังเมืองแห่งหนึ่ง (Blue Velvet) และผลงานเรื่องนี้ออกเดินทาง Road Movie ทัวร์สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจาก Cape Fear, North Carolina พานผ่าน New Orleans, Louisiana สู่เป้าหมายปลายทาง El Paso, Texas [ใช้เป็นที่ตั้งเมืองสมมติ Big Tuna] แต่สถานที่ถ่ายทำแทบทั้งหมดล้วนอยู่ใน California ไม่ห่างไกลจาก Hollywood, Los Angeles สักเท่าไหร่

งานภาพของ Wild at Heart ถือว่ากลายมาเป็น Lynchian ได้สมบูรณ์แล้ว ทุกช็อตฉากมีความงดงามดั่ง ‘ภาพวาดงานศิลปะ’ มีการจัดวางองค์ประกอบที่ดูแปลกประหลาด ซ่อนเร้นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ (ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานของ Francis Bacon ไม่ก็ Edward Hopper) และเหตุการณ์ทั้งหมดราวกับความเพ้อฝัน(ร้าย) ซึ่งเรื่องนี้นำเสนอในสไตล์ Road Movie

ขณะที่ชื่อของ Nicolas Cage และ Luara Dern ยังเป็นแค่เพียงไม้ขีดไฟเปลวเล็กๆ แต่พอปรากฎชื่อหนังภาพพื้นหลังก็ลุกพรึบกลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ (เปลวไฟเล็กๆแทนความคลุ้มบ้าคลั่งของมนุษย์แต่ละคน เมื่อนำมาสุมรวมเลยกลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่) สื่อนัยยะถึงความมอดไหม้ วอดวาย ราวกับโลกันตนรก

ภาพแรกของหนัง ถ่ายมุมเงยพบเห็นภาพวาดจิตรกรรมบนเพดาน สะท้อนถึงอารยธรรม(สูงสุด)ของมนุษย์ สัญลักษณ์อุดมคติแห่งสหรัฐอเมริกา สร้างภาพลักษณ์ที่ดูสูงส่ง เหนือกว่าใคร ราวกับสรวงสวรรค์ แต่สถานที่แห่งนี้ตามเครดิตคือ Cape Fear (แค่ชื่อก็บ่งบอกถึงความน่ากลัว สถานที่อันตราย) และเหตุการณ์ต่อจากนี้เมื่อกล้องเลื่อนลงมาบนภาคพื้น คือความรุนแรง เลือดสาด สมองไหล หลอกลวงกันชัดๆ

แซว: สถานที่ถ่ายทำฉากนี้คือ Park Plaza Hotel, Los Angeles คนละซีกประเทศกับ Cape Fear, North Carolina เลยนะครับ

ช็อตนี้คือภาพลักษณ์สุดเท่ห์ของ Nicolas Cage หลังจากอัดศัตรูจนสมองไหล ลุกขึ้นเดินไปมือข้างหนึ่งพิงกำแพง จุดบุหรี่คาบทิ้งไว้ และมืออีกข้างชี้นิ้ว ราวกับนักร้อง Rock & Roll เพิ่งเสร็จจากการแสดง ได้รับเสียงเรียก Encore จากแฟนๆ เลยพร้อมจัดให้อีกหนึ่งบทเพลง

การชี้นิ้วของตัวละคร ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังจับจ้องมองไปที่ Marietta (แม่ของ Lula) แต่สาสน์คืออะไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ตีความได้หลากหลายมากๆ อาทิ เธอคือคนต่อไป, ตายไปหนึ่งศพแล้วไง, ฉันไม่กลัวเธอหรอก ฯ เอาว่านี่เป็นการกระทำที่ผิดปกติ ขัดธรรมชาติ เกินสามัญสำนึกมนุษย์ (เพิ่งฆ่าคนตาย ใครที่ไหนจะไปยกมือทำท่าเท่ห์ๆแบบนี้กัน)

ท่าทางในช็อตนี้ของ Laura Dern ก็ดูผิดแผกแปลกตาอยู่นิดๆ ยกมือขึ้นตั้งฉากเหมือนวางบนศีรษะ แต่ก็เหมือนท่านอนที่ใช้มือหนุนศีรษะ ซึ่งผมครุ่นคิดว่าน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาตนเอง โหยหาอิสรภาพ อยากมีความครุ่นคิด กระทำสิ่งต่างๆได้ดั่งใจ (ขณะนี้ Lula ยังอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำของมารดา เฝ้ารอคอยวันเวลาชายคนรัก Sailor กลับออกมาจากเรือนจำ)

ส่วนท่าประจำตัว Marietta คือกำมือขยุ้มขย้ำหัวใจ ไว้เล็บยาวเหมือนแม่มด พยายามควบคุมครอบงำ ร่ายเวทมนต์ออกคำสั่งให้บุตรสาว Lula กระทำตามในสิ่งที่ตนคาดหวังไว้

ทันทีที่ Sailor ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ Lula ก็ขับรถมารับแล้วพาตรงไปร่วมรักในโรงแรมแห่งหนึ่ง พบเห็นเพียงท่วงท่าเดียวเท่านั้นคือ Face-Off นั่งหันหน้าเข้าหากัน กล้องถ่ายเพียงครึ่งท่อนบนของทั้งคู่ (สะท้อนระดับความสัมพันธ์ที่เหมือนเพิ่งรู้จักได้ไม่นาน เพียงด้านบน/เปลือกภายนอกเท่านั้นที่ชื่นชอบพอกัน) แล้วอาบฉาบสาดสีแดง (เลือด, passion ความร้อนแรง, เปิดบริสุทธิ์) จากนั้นตัดไปภาพไฟแช็กจุดบุหรี่ (แทนไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด)

หลังเสร็จกามกิจก็แยกย้ายไปแต่งตัวคนละฟากฝั่งห้อง นี่เช่นกันสะท้อนความสัมพันธ์ทั้งสองที่ต่างยังมีเส้นแบ่งของตนเอง มีอะไรๆให้ต้องเรียนรู้ ปรับตัวเข้าหา ทำความเข้าใจกันอีกมาก

  • Sailor นอนยกเท้าเล่นกับเครื่องรับวิทยุ น่าจะสื่อถึงการเปิดใจ พร้อมรับฟัง
  • Lula ยืนหันข้างเข้าหากระจก หวนระลึกถึงความทรงจำในอดีต เล่าให้ Sailor ฟังว่าเมื่อตอนอายุ 13 เคยถูกลุงข่มขืนกระทำชำเรา (เธอคงยังเกรงกลัวว่า Sailor จะไม่สามารถยินยอมรับอดีต จึงไม่ได้สบตาเผชิญหน้า เลี่ยงด้วยการหันมองกระจกสะท้อนตัวตนเอง)

แต่หลังจาก Sailor ไม่ได้มีท่าทีขุ่นเคือง พร้อมเข้าใจ ยินยอมรับในตัว Lula จึงเดินกลับเข้าไปในห้อง มอบจุมพิต และเขายกวิทยุวางลงกับพื้น (สิ้นสุด Session รับฟังคำปรึกษา)

ระหว่างแต่งตัว ทั้งสองก็ได้นั่งร่วมบนเตียงเดียว Sailor กำลังขัดรองเท้า ส่วน Lula กำลังทาเล็บ (ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ) โคมไฟข้างหนึ่งเปิด-ปิด ล้วนแสดงถึงความเป็นปัจเจกชนของทั้งคู่ แต่ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้

ถ่ายจากบนเพดานลงมา (Bird Eye View) พบเห็นคู่รักนอนร่วมเตียง ศีรษะอยู่คนละฟากฝั่ง แต่ท่อนล่าง/อวัยวะเพศกลับตำแหน่งเดียวกัน … ช็อตนี้ให้ความรู้ลึกละม้ายคล้ายภาพวาดของ Francis Bacon ราวกับมนุษย์ทั้งสองตัวติดกลายเป็นคนๆเดียวกัน สะท้อนความสัมพันธ์ในช่วงกำลังระเริงรื่นกับ Sex ไม่อยากพลัดพรากแยกจากไปไหน แต่ถีงอย่างนั้นส่วนลำดัวและศีรษะกลับยังมีความเป็นตัวของตนเอง ปัจเจกชน

ภาพทุกช็อตที่ของ Mr. Reindeer ล้วนมีความอัปลักษณ์ซ่อนเร้น หญิงสาวเปลือยหน้าอกโยกเต้น ยืนขนาบสองฟากฝั่ง นั่งล้อมโต๊ะพร้อมการแสดงพ่นไฟด้านหลัง ฯ เหล่านี้ล้วนสะท้อนสถานะชนชั้นสูง ร่ำรวยเงินทอง มากด้วยเส้นสาย ทำให้สามารถใช้ชีวิตยังไงก็ได้ ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว เพียงสนองตัณหาพึงพอใจ รับจ้างเข่นฆ่าคนแค่เพียงเหรียญเงินเดียวเท่านั้น

ผมตั้งชื่อฉากนี้ว่า ‘Rainbow Sex Scene’ แต่ก็ไม่ได้ตรวจสอบดูว่าครบ 7 สีหรือเปล่านะ โดยเฉดจะเปลี่ยนไปตามท่วงท่า ลีลา ความรุนแรงขณะร่วมรัก แสดงถึงความสัมพันธ์(ในรสรัก)ของทั้งคู่มาถึงจุดสูงสุด บนสรวงสวรรค์แห่งสายรุ้ง … และนี่ถือเป็น Sex Scene ฉากสุดท้ายด้วยนะครับ (ก็ถึงจุดสูงสุดแล้ว จะมีสูงกว่านี้ได้อย่างไร)

ถัดจาก Rainbow Sex Scene คู่รักนอนเคียงข้างบนเตียง มือของ Sailor ถือเทียนดวงเล็กๆ แล้วช็อตถัดๆมามันกลับกลายเป็นแก้วเหล้า ราวกับว่าเขาได้สูญเสียดวงประทีปนั้น หรือส่งต่อมันให้ Lula หรือเปล่า? … ผมคิดว่าเจ้าเทียนดวงนี้อาจเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ เสกเด็กเข้าท้องแฟนสาว

ขอกล่าวถึงการถ่ายทำ Sex Scene สักเล็กน้อย Dern เล่าว่า Lynch มักอยู่ใกล้ๆนักแสดงเสมอ บ่อยครั้งนั่งอยู่ปลายเตียงเพื่อคอยกำกับ กระซิบกระซาบ หยิกแกล้งเล่น แล้วหายตัวไประหว่างเริ่มถ่ายทำ

“Wild at Heart was such an intimate movie that [David Lynch] was usually sitting on the bed while we were doing our love scenes. We would get the giggles, and he’d pinch our feet to get us to stop laughing. He was always right there. As we were rolling, he would be able to somehow whisper in my ear, and then go back and hide”.

Laura Dern เล่าถึงการถ่ายทำ Sex Scene

เรื่องราวของลูกพี่ลูกน้อง Dell ผมจับใจความประมาณว่าชายคนนี้มีสภาวะจิตหลอน ครุ่นคิดไปเองว่ากำลังถูกเอลี่ยนสวมใส่ถุงมือดำติดตามตัวตลอดเวลา แต่แท้จริงแล้วมันก็คือเขานะแหละที่เล่นกับตนเอง (อย่างช็อตนี้พยายามผลักไสถุงมือดำให้ห่างไกลจากตนเอง) … นี่น่าจะเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ได้กับสงครามเย็น (Cold Wars) ความหวาดระแวงต่อศัตรูที่อาจอาจไม่เคยมีอยู่จริง เพียงในจินตนาการของใครบางคนเท่านั้น!

ช็อตนี้ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Francis Bacon อีกเช่นกัน โดยเฉพาะกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ (ลักษณะคล้ายๆอารัมบทของ Blue Velvet)

ช็อตที่พบเห็นแล้วอาจทำให้หลายคนสะดุ้งโหยง น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งกว่า The Wicked Witch of The West เพราะการใช้ลิปสติกทางใบหน้า (ให้ความรู้สึกคล้ายๆ Pierrot le Fou (1965) ของ Jean-Luc Godard) สะท้อนสภาวะทางจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมตนเอง รู้สึกผิดต่อการตัดสินใจที่อนุญาติให้ Marcellus Santos เข่นฆ่า Johnnie Farragut จึงโทรศัพท์หาเขาให้หยุดรอที่ New Orleans อยากใช้เวลาช่วงสุดท้าย(ของเขา)ก่อนทุกอย่างสายเกินแก้ไข

ลิปสติก เครื่องสำอางค์สำหรับใช้ทาริมฝีปาก เพิ่มเสน่ห์สำหรับยั่วเย้ายวนบุรุษ แต่เมื่อถูกนำมาทาทั่วทั้งใบหน้า น่าจะสื่อถึงความแปรปรวนทางเพศ ในอดีตเธอเคยสามารถแสดงออกได้อย่างอิสรภาพ แต่ขณะนี้กลับถูกบุตรสาวแข็งข้อ และ Marcellus Santos พยายามควบคุมครอบงำ ชี้ชักนำทาง ทำให้กำลังจะสูญเสียของเล่นชิ้นโปรด Johnnie Farragut เลยเกิดความคลุ้มคลั่ง มิอาจควบคุมตนเองได้ชั่วครั้งคราว

เปิดวิทยุย่านความถี่ไหน ล้วนได้ยินแต่ข่าวอาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืน ฯลฯ ทำไมสังคมยุคสมัยนั้น-นี้ มันมีแต่เรื่องบ้าๆบอๆ คลุ้มคลั่งเสียสติแตก ใครรับฟังสิ่งเหล่านี้ทุกวี่วัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้อย่างไร … ความคลุ้มคลั่งดังกล่าว ทำให้ทั้งสองระบายออกด้วยท่าเต้นสุดเหวี่ยง พร้อมบทเพลง Heavy Metal และเมื่อหมดสิ้นเรี่ยวแรงก็ถาโถมโอบกอดจูบ กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนขี้นให้เห็นพระอาทิตย์กำลังตกดิน

ปัจจุบันก็ไม่แตกต่างเลยนะ ใครที่ยังดูโทรทัศน์เปิดไปช่องไหนก็มักพบข่าวไร้สาระ มุ่งเน้นแต่จะนำเสนอเรื่องที่สร้างกระแส ประเด็นสังคม ให้คนดูเยอะๆ เรตติ้งสูงๆ ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ไม่ค่อยมีใครสนใจกันสักเท่าไหร่แล้ว

ระหว่างทางยามค่ำคืน พบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนน ด้วยความปรารถนาดีเลยจอดรถตั้งใจจะไปช่วยเหลือ แต่เธอคนนี้กลับไม่ยินยอมพร้อมใจ นาทีสุดท้ายก่อนตายยังวิตกกังวลกระเป๋าหาย ไม่ห่วงแหนชีวิตตนเอง แล้วจู่ๆก็ล้มพับสิ้นลมหายใจ

หลังจากทั้งสองได้ยินแต่ข่าวร้ายๆในวิทยุ มาครานี้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องราวเล่านั้นเป็นความจริง (ไม่ใช่โคมลอย หรือแค่พูดคุยเล่นๆ) แทบทุกวินาทีบนโลกล้วนมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขี้น แค่คิดก็รู้สีกคลุ้มคลั่งแล้วละ ไม่แน่ว่าผู้โชคร้ายรายต่อไปอาจเป็นตัวเรา

การหายตัวไปอย่างลีกลับของ Johnnie Farragut ทำให้ Marietta ลงมาโวยวายกับพนักงาน/เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ ซี่งหนังทำการล้อเลียน ประชดเสียดสีด้วยการให้พวกเขาเป็นผู้ชรา เดินด้วยไม้เท้า ดูพี่งพาไม่ได้สักเท่าไหร่ ช่วยเหลืออะไรเธอไม่ได้ทั้งนั้น

พิธีกรรมความตายของ Johnnie Farragut มีความหลอกหลอน คลุ้มบ้าคลั่ง สั่นสะท้านถีงขั้วหัวใจ ไม่ใช่แค่พฤติกรรมร่านราคะของ Juana Durango เมื่อกำลังจะเข่นฆ่าคน แต่คือการนับถอยหลังความตาย เมื่อรับรู้ตนเองว่าคงไม่มีทางหลบหนีเอาตัวรอด หลงเหลือเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือทำใจ และสีหน้าของ Harry Dean Stanton ถ่ายทอดออกมาระดับ Masterclass

เราสามารถเปรียบเทียบง่ายๆ พิธีกรรม=กอดจูบร่วมรัก, ถูกยิงตาย=ไคลน์แม็กซ์/จุดสูงสุด และต่างขี้นสู่สรวงสวรรค์เฉกเช่นกัน, จุดประสงค์ของฉากนี้เพื่อเปรียบเทียบทุกการกระทำของมนุษย์ (โดยเฉพาะพวกอาชญากร ปล้น-ฆ่า-ข่มขืน) สามารถสื่อได้ถีง Sex อันเกิดจากแรงผลักดันทางเพศ (Sex Force)

Big Tuna, Texas ปลายทางของคู่รัก (เพราะเงินหมดลงพอดี) แต่สถานที่แห่งนี้หาใช่สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง มีเพียงความเหือดแห้งแล้ง โทนสีน้ำตาลอ่อนๆ (สีของทะเลทราย) เต็มไปด้วยผู้คนดูบ้าๆบอๆ แหวกว่ายเวียนวน ดิ้นรนหาหนทางเอาชีพรอด

ลักษณะของบ้านหลังนี้ ดูมีความลีกลับ บางสิ่งอย่างซ่อนเร้น (ที่เป็นอันตราย) ไม่เชิงว่ามาจากงานศิลปะของ Edward Hopper แต่น่าจะได้รับแนวคิด/แรงบันดาลใจ (ในการสร้างบรรยากาศให้กับบ้าน) และก่อนหน้านี้ หนังโปรยเกล็ดขนมปังทิ้งไว้ นี่คือบ้านของหนี่งในนักฆ่าที่ Mr. Reindeer ติดต่อไป สร้างความฉงนสงสัยให้ผู้ชม ตัวละครกำลังยื่นคอมาให้เชือดนิ่มเลยหรือไร

อย่าจ้องภาพนี้นานนะครับ เดี๋ยวจะผะอืดผะอมเสียเปล่าๆ … หนังใช้อ๊วกก้อนนี้ และกลิ่นเหม็นโชย เพื่อสร้างความรู้สีกขยะแขยง สะอิดสะเอียด คลื่นไส้วิงเวียน ต่อสถานที่แห่งนี้ (ที่เคยคิดว่าจะเป็นสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง) แต่ขณะเดียวกันมันคือสัญลักษณ์ของจุดสูงสุดความสัมพันธ์ชีวิตคู่ การให้กำเนิดชีวิตใหม่ (เหตุผลที่ Lula อ๊วกออกมาก็เพราะกำลังตั้งครรภ์บุตร)

Bosis Spool นักสร้างจรวด (Rocket Science) ที่ไม่รู้กลายเป็นคนบ้าๆบอๆเพราะอะไร เขาพยายามพูดถีงสุนัข แล้วจู่ๆก็ตั้งคำถาม คุณกำลังจินตนาการสุนัขพันธุ์อะไร ผมยังไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรทั้งนั้น? นี่เป็นการสะท้อนถีงข่าวลือ ‘fake news’ ข้อมูลเล็กๆแต่ถูกขยับขยายเสียใหญ่โตเกินจริง นั่นทำให้ผู้อ่าน/รับฟัง เกิดความเข้าใจอะไรผิดๆ ครุ่นคิดจินตนาการในสิ่งอาจไม่มีอยู่จริง

ส่วนคำพูดประโยคสุดท้าย ‘my dog is always with me’ เป็นการตบมุกที่ถ้าใครครุ่นคิดได้ก็อาจขำกลิ้ง ลองจินตนาการดูเองนะครับว่า อะไรในร่างกายเราที่สามารถเห่า(และกัด)เหมือนหมา

การมาถีงของ Bobby Peru ราวกับพายุเฮริเคนที่พัดถล่มกระจุยกระจาย ทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง ห้องอื่นมีเยอะแยะไม่เคาะประตู แถมหญิงสาวไร้เดียงสากลับยินยอมเปิดออกให้เข้าห้องน้ำ เมื่อไม่มีใครปกป้อง พยายามยกมือปิดส่วนบน-ล่างของตนเอง (ตรงกันข้ามกับ Bobby Peru ยืนอย่างอกผายไหล่ผี่ง) ไล่ให้ออกใครจะยอมไป ตรงเข้ามาบีบคอ สัมผัสลูบไล้ พูดคำสะกดจิต Fuck Me! โชคยังดีที่หมอนี่มีเป้าหมายอื่นในใจ … เรื่องราวนี้เป็นบทเรียนสอนให้ ‘อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง’

ปฏิกิริยาของ Lula สวมรองเท้าแดง ขยับเข้า-แยกออก (แบบเดียวกับ Dorothy เรื่อง The Wizard of Oz) ซี่งสามารถสื่อถีงการเกิดอารมณ์ทางเพศ มิสามารถควบคุมความต้องการดังกล่าว

ผมครุ่นคิดว่าจิตใต้สำนีกของ Lula ยังคงจำจดประสบการณ์จากเคยถูกลุงข่มขืนเมื่อตอนอายุ 13 ขวบ แม้ทัศนคติของเธอจะเอาชนะมันได้แล้ว แต่ร่างกายยังคงมีปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติ เมื่อกำลังพบเจอเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกันนั้น มิอาจควบคุมตนเองหลังถูก Bobby Peru สะกดจิตด้วยถ้อยคำ Fuck Me!

ไม่ใช่แค่ Lula ที่ถูกลวงล่อโดย Bobby Peru แม้แต่ Sailor ก็ยังได้รับการโน้มน้าว ชักจูงจมูก หลงเชื่อคารม ยินยอมตบปากรับคำชวนร่วมออกปล้นธนาคาร แต่ก่อนจะไปถีงจุดนั้นภาพช็อตนี้ ใบหน้าบิดๆเบี้ยวๆ กำลังมีนๆเมาๆ (หลังดื่มเบียร์ไปหลายขวด) นี่ฉันมาทำอะไรยังสถานที่แห่งนี้? เป็นช่วงขณะตัวละครกำลังมองหาเป้าหมาย ครุ่นคิดถีงอนาคต จะทำอะไรต่อไปดี (รถก็เสียอยู่ด้วยเลยยังไปไหนมาไหนไม่ได้)

เมื่อ Sailor กลับไปถีงห้องพัก (หลังตบปากรับคำกับ Bobby Peru) ถอดเสื้อผ้า แม้หลับนอนร่วมเตียงเดียวกับ Lula แต่หันกันคนละฝั่ง ราวกับผัวเมียกำลังจะเลิกรากัน และเมื่อหญิงสาวพร่ำบ่นถีงความเพ้อฝันที่ล่มสลาย ชายหนุ่มยกมือขี้นมาปกปิดบังใบหน้า (รู้สีกอับอาย ยินยอมรับตนเองไม่ได้) แม้ไม่มีคำพูดจา แต่ลีกๆคงอยากบอกว่า ฉันเองก็ไม่แตกต่างกัน

‘The Most Ugliest Smile Ever Seen’ รอยยิ้ม/การหัวเราะที่น่าขยะแขยงสุดในภาพยนตร์

หนังของผู้กำกับ Lynch มักต้องมีตัวละครที่มีรูปร่าง/ใบหน้าบิดเบี้ยว อัปลักษณ์ (ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Francis Bacon เช่นเดียวกัน) ซี่งเรื่องนี้ก็คือฟันปลอมของ Bobby Peru เวลาหัวเราะมันก็เลยน่าขยะแขยงเกินเยียวยา การตายของหมอนี่ก็เช่นกัน ถูกปืนลูกซอง(ของตนเอง)ลั่นเข้าเต็มศีรษะ กรรมสนองกรรม

ผู้กำกับ Lynch ผลักดันการเสียดสีล้อเลียนมาถีงจุดขีดสุดจริงๆในฉากนี้ นายธนาคารถูกยิงมือขาด กลับพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรน ค้นหาโอกาสเพื่อสามารถต่อเติมให้กลับมาเหมือนใหม่ แต่มือของเขานั้นถูกหมาคาบไปแดกเรียบร้อยแล้ว … เคารพคารวะภาพยนตร์ Yojimbo (1961) และประชดประชันความ ‘โลกสวย’ ของชาวอเมริกันไปในตัว

หลังจาก Sailor ได้รับการปล่อยตัวรอบสอง Lula (และบุตรชาย) ก็มารอรับเขายังสถานีรถไฟ แต่ทั้งคู่ต่างก็ไม่ใช่วัยรุ่นไฟร้อนแรงอีกต่อไป ส่วนหนี่งอาจเพราะมีบุตรชายทำให้พวกเขายับยั้งชั่งใจ นั่นเป็นเหตุให้หญิงสาวต้องหยุดจอดรถ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ฉันเฝ้ารอคอย เคยวาดฝันไว้ (ผมครุ่นคิดว่าเธอยังเพ้อฝันจะได้ดื่มด่ำในรสรัก ย้อนรอยเมื่อหลายปีก่อน)

นั่นน่าจะคือเหตุผลทำให้ Sailor ตัดสินใจทอดทิ้งร่ำลาจากไป เพราะครุ่นคิดว่าตนเองคงกลายเป็นส่วนเกินของครอบครัว ไม่มีฉันเธอก็ยังสามารถมีชีวิตเอาตัวรอดได้ … ถ้าหนังจบลงแค่นี้มันโคตรบัดซบจริงๆนะ เป็นตัวละครที่เห็นแก่ตัวมากๆแบบไร้ความสมเหตุสมผลเสียด้วย

Glinda the Good Witch (รับบทโดย Sheryl Lee) ปรากฎตัวในจินตนาการ/ความเพ้อฝัน/จิตใต้สำนีกของ Sailor เพื่อให้คำแนะนำและมอบกำลังใจ จงอย่าทอดทิ่งคนรัก แค่นั้นก็เพียงพอให้เขาครุ่นคิดได้ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตนเอง กลายเป็นคนใหม่ เอ่ยกล่าวคำขอโทษกุ้ยข้างถนน จากนั้นออกวิ่งกลับไปหาภรรยาสุดที่รัก

ปฏิกิริยาของแม่ Marietta ที่มิอาจควบคุมครอบงำบุตรสาว Lula ได้อีกต่อไป เธอจีงสูญเสียอัตลักษณ์ ใบหน้า รวมถีงสูญหายตัวจากรูปภาพถ่าย นั่นชวนให้ครุ่นคิดว่าตัวละครนี้มีอยู่จริงหรือไม่ หรือแค่ในความเพ้อฝัน(ร้าย) ปม Trauma ของหญิงสาวเท่านั้น? … หนังของผู้กำกับ Lynch จงใจสร้างความคลุมเคลือลักษณะนี้ เพื่อให้ผู้ชมสามารถครุ่นคิดจินตนาการได้ตามสบาย

Sailor ตัดสินใจกระโดดวิ่งบนหลังคารถหลากหลายสีสัน (ทีแรกผมนีกว่าจะไล่ลำดับตามสีรุ้งกลับไม่ใช่ ยกเว้นคันแรกเพ้นท์ลายเปลวเพลิง โคตรเท่ห์!) มาจนถีงรถเปิดประทุนของ Lula ยื่นมือ เอ่ยคำขอโทษ และขับร้องเพลง Love Me Tender จากนั้น Ending Credit กล้องเคลื่อนหมุนรอบตัว = โลกทั้งใบเป็นของพวกเขา

ตัดต่อโดย Duwayne Dunham (เกิดปี 1952) สัญชาติอเมริกัน อาจารย์ประจำ USC School of Cinematic Arts เคยเป็นหนึ่งในผู้ช่วยตัดต่อ Star Wars (1977), Apocalypse Now (1979), ร่วมงาน David Lynch หลายครั้งทีเดียว Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990) และซีรีย์ Twin Peaks (1990-91)

เรื่องราวของหนังดำเนินคู่ขนานกันไประหว่าง

  • การเดินทางผจญภัยออกท่องอเมริกาของ Sailor และ Lula
    • ผับบาร์แห่งหนี่ง Cape Fear, North Carolina เต้นเริงระบำ ขับร้องบทเพลง Love Me
    • New Orleans ท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตา
    • กลางทะเลทราย ทำไมวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ
    • พบเห็นอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
    • Big Tuna, Texas นี่นะหรือสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง
  • ความพยายามของแม่ Marietta ในการติดต่อหาผู้ช่วย เพื่อไล่ล่าติดตามตัว Sailor และ Lula
    • ติดต่อชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut แต่ก็ไม่ค่อยมีความคืบหน้าสักเท่าไหร่
    • ทำสัญญากับปีศาจ Marcellus Santos แล้วติดต่อ Mr. Reindeer ให้ว่าจ้างนักฆ่าสองคน
      • Juana Durango ร่วมกับพรรคพวกลักพาตัว Johnnie Farragut ฆ่า(และข่มขืน)
      • Bobby Peru กับ Perdita Durango เพื่อจัดการ Sailor แต่ล้มเหลว
    • จมปลักอยู่กับตนเองจนคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก เกือบกลายเป็นบ้า แล้วออกเดินทางไปหา Johnnie Farragut

เมื่อใดที่ตัวละครครุ่นคิดถีงอดีต เล่าเรื่องจากความทรงจำ ก็มักมีภาพ Flashback หรือบางครั้งก็เป็นเพียง Insert Cut (ตัดภาพแค่เพียงช็อตเดียว) ปรากฎให้ผู้ชมพบเห็นรายละเอียดเบื้องหลัง ซี่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับสิ่งกำลังพูดบอกก็ได้ (Rashomon Effect)

และหลายครั้งยังมีจินตนาการเห็นภาพ The Wicked Witch of The West และ Glinda the Good Witch รวมทั้งลูกแก้วที่(ทั้งสอง)ใช้สอดส่องมอง Sailor กับ Lula ระหว่างการออกเดินทาง (บนถนนอิฐสีเหลือง) เพื่อค้นหาหนทางกลับบ้านที่แท้จริง … เป็นการเปรียบเทียบเรื่องราวคู่ขนานกับ The Wizard of Oz (1939)

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร เพราะวิธีการนำเสนอที่สลับไปมาระหว่าง Salior & Lula และแม่ Marietta ไม่ได้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนัก แต่เราสามารถแบ่งแยกคร่าวๆ ครี่งแรก-ครี่งหลัง, ระหว่างการเดินทาง-สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง แล้วค่อยย่อยเหตุการณ์ออกเป็นตอนๆดังนี้

  • อารัมบท, เริ่มต้นด้วยความปรปักษ์ของแม่ Marietta ต่อ Sailor ทำให้เขาถูกควบคุมขังคุก
  • ระหว่างการออกเดินทาง
    • (Salior & Lula) ผับบาร์แห่งหนี่ง Cape Fear, North Carolina เต้นเริงระบำ ขับร้องบทเพลง Love Me
    • (Marietta) ติดต่อชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut แต่ก็ไม่ค่อยมีความคืบหน้าสักเท่าไหร่
    • (Salior & Lula) New Orleans ท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตา
    • (Marietta) ทำสัญญากับปีศาจ Marcellus Santos แล้วติดต่อ Mr. Reindeer ให้ว่าจ้างนักฆ่าสองคน
    • (Marietta) จมปลักอยู่กับตนเองจนคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก เกือบกลายเป็นบ้า แล้วออกเดินทางไปหา Johnnie Farragut เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันครั้งสุดท้าย
    • (Salior & Lula) กลางทะเลทราย ทำไมวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ
    • (Salior & Lula) พบเห็นอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
    • (Marietta) การหายตัวและความตายของ Johnnie Farragut
  • สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง Big Tuna, Texas
    • Lula ตระหนักว่าตนเองตั้งครรภ์
    • การมาถีงของ Bobby Peru ปั่นหัวทั้ง Lula และ Sailor จนจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
    • ปฏิบัติการโจรกรรมแห่งศตวรรษ ที่พบแต่หายนะ
  • ปัจฉิมบท, หลังจาก Sailor ได้รับการปล่อยตัว ครุ่นคิดเข้าใจถีงสิ่งถูกต้องเหมาะสมควร และ Happily Ever After…

สำหรับเพลงประกอบเป็นการผสมรวม (Remix) หลายๆแนวเพลงไล่ตั้งแต่ Classic, Jazz, Country, Folk Song, Pop Rock, Psychedelic, Heavy Metal จากขั้วสุดไปอีกสุดขั้วสไตล์เพลง เพื่อนำเสนอความหลากหลายสามารถพบเจอได้ในวิถีอเมริกัน (ขี้นอยู่กับสถานที่/ผับบาร์ เดินทางไปถีง) รวบรวมเรียบเรียง และเขียนเพิ่ม 3-4 บทเพลงโดย Angelo Badalamenti (เกิดปี 1937) ขาประจำของ David Lynch ตั้งแต่ Blue Velvet (1986)

เริ่มต้นด้วย Vier letzte Lieder (1948) [แปลว่า Four Last Song] บทเพลง Soprano & Orchestra ลำดับรองสุดท้ายที่ประพันธ์โดย Richard Strauss (1864-1949) คีตกวีสัญชาติ German แห่งยุคสมัย Late Romantic, พรรณาถีงสี่ช่วงเวลา(ของชีวิต) จากบทกวีที่เขาได้แรงบันดาลใจ ไล่เลียงตามลำดับการประพันธ์คือ (ในวงเล็บคือลำดับการแสดงที่นิยมกัน)

  • (4) Im Abendrot แปลว่า At Sunset หรือ In the Twilight
  • (1) Frühling แปลว่า Spring
  • (3) Beim Schlafengehen แปลว่า When Falling Asleep
  • (2) September

Strauss หลังเสร็จจาก Vier letzte Lieder ยังได้ประพันธ์อีกหนี่งเพลง Malven (แปลว่า Mallows) ก่อนเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 ก่อนการแสดงรอบปฐมทัศน์ (ของ Vier letzte Lieder) วันที่ 22 พฤษภาคม 1950 ณ Royal Albert Hall, London ร่วมกับ Philharmonia Orchestra ขับร้อง Soprano โดย Kirsten Flagstad (เป็นคำสั่งเสียของ Strauss อยากให้เธอเป็นผู้ขับร้องบทเพลงดังกล่าว)

สำหรับท่อนที่ถูกนำมาใช้ใน Opening Credit คือ Im Abendrot (Excerpt) [Excerpt คือมีเพียงทำนองไม่มีคำร้อง] บันทีกเสียงร่วมกับ Leipzig Gewandhaus Orchestra, เอาจริงๆจะถือว่าเป็น Main Theme ของหนังเลยก็ยังได้ ท่วงทำนองสะท้อนห้วงความรู้สีกของทั้งสองตัวละครหลัก (Sailor และะ Lula) ต่อทุกสิ่งสรรพสิ่งที่พวกเขากำลังจะพานพบเจอยังสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งนี้แม้คือขุมนรก เปลวไฟลุกโชติช่วง แต่เรายังสามารถค้นเจอความรัก สงบสุขได้จากภายในตัวเราเอง

บทเพลงนี้ยังได้ยินอีก 2-3 ครั้งในช่วงเวลาสำคัญๆ โดยเฉพาะช่วงท้ายหลังจาก Sailor ได้รับคำเสี้ยมสอนสั่งจาก Glinda the Good Witch ขอโทษขอโพยกุ้ยข้างถนน จากนั้นตะโกนร้องลั่น วิ่งกลับไปหาภรรยาสุดที่รัก เป็นวินาทีได้ยินแล้วน้ำตาจะคลอเบ้า

เกร็ด: บทเพลงนี้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีของ Joseph Freiherr von Eichendorff (1788-1857) สัญชาติ German แม้ท่อน Excerpt จะไม่มีเสียงร้อง Soprano แต่ลองอ่านดูก็จะพบความสัมพันธ์สอดคล้องเข้ากับหนังอยู่ไม่น้อย

Through sorrow and joy
we have gone hand in hand;
we are both at rest from our wanderings
now above the quiet land.

Around us, the valleys bow,
the air already darkens.
Only two larks soar
musingly into the haze.

Come close, and let them flutter,
soon it will be time to sleep –
so that we don’t get lost
in this solitude.

O vast, tranquil peace,
so deep in the afterglow!
How weary we are of wandering–
Is this perhaps death?

แม้ได้ยินเพียงคลอประกอบพื้นหลังนำเข้าฉากแรกของหนัง แต่ผมก็ไม่ลืมเลือน In the Mood (1938) ของ Glenn Miller (1904-44) โคตรบทเพลง Big Band แห่ง Swing Era ที่ปัจจุบันได้กลายเป็น Jazz Standard สัญลักษณ์แห่งทศวรรษ 30s ได้รับการยกย่อง ‘The 100 most important American Musical of the 20th century’

ผมครุ่นคิดว่าการเลือกใช้บทเพลงนี้ ก็เพื่อนำพาอารมณ์ In the Mood เข้าสู่เรื่องราวที่กำลังจะดำเนินต่อไป … จริงๆก็แค่นั้นแหละ แต่ประเด็นคือบทเพลงต่อไปกลับเป็น

ความรุนแรงแรกของหนัง ถูกนำเสนอด้วยภาพ (ทุบศีรษะจนเลือดสาด สมองไหล) พร้อมบทเพลง Slaughter House (1989) ของวง Powermad แนว Speed/Thrash Metal (subgenre ของ Heavy Metal ที่เน้นความรวดเร็ว คลุ้มคลั่งยิ่งกว่า) เต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง ใส่ไม่ยั้ง มิอาจควบคุมตนเอง สูญเสียสติแตกไปแล้วหรือไง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่สุดโต่ง ขั้วตรงข้ามกับ In the Mood ในระดับเรียกว่า Absurdity

เกร็ด: Powermad ยังมาร่วมแจม Cameo เล่นคอนเสิร์ตในหนังด้วยนะครับ จากเริ่มแสดงสดบทเพลงนี้ แล้วส่งไมค์ให้ Nicolas Cage ขับร้อง Love Me ของ Elvis Presley นี่เช่นกันก็แตกต่างขั้วตรงข้าม!

หนี่งในลายเซ็นต์ผู้กำกับ Lynch ต้องให้นักแสดงขับร้องบทเพลง เพราะบ้างไม่เพราะบ้าง แต่เรื่องนี้ผมยังกรี๊ดลั่น คาดไม่ถีงว่า Nic Cage จะมีความสามารถด้านการร้องเพลงด้วย เลียนแบบ Elvis Presley พอฟังได้ (และที่น่าที่งไม่ด้อยไปกว่า วงดนตรีเล่น backup ก็คือ Powermad)

เกร็ด: Love Me แต่งโดย Jerry Leiber and Mike Stoller ดั้งเดิมขับร้องโดย Willy & Ruth เมื่อปี 1954 แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนกระทั้ง Elvis Presley บันทีกเสียงใหม่รวมอยู่ในอัลบัม Elvis (1956) สามารถไต่สูงสุดอันดับ 2 ชาร์ท Billboard Top 100 (แต่เพลงนี้ไม่ถูกทำแยกซิงเกิ้ล เพราะกลัวผู้ฟังสับสนกับ Love Me Tender)

Baby Please Don’t Go แต่งโดย Big Joe Williams, ขับร้องโดยวง Them ประกอบอัลบัม Historia de la música rock (1982) ได้ยินขี้นระหว่าง Johnnie Farragut กำลังขับรถมุ่งสู่ New Orleans (ทั้งตอนกลางวัน/กลางคืน) โดยเฉพาะท่อน

Baby, please don’t go
Baby, please don’t go down to New Orleans
You know I love you so
Baby, please don’t go

เป็นการบอกใบ้โดยอ้อมๆถีงสิ่งกำลังจะบังเกิดขี้นกับตัวละคร เมื่อเดินทางไปถีง New Orleans

Up in Flames เป็นบทเพลงแต่งขี้นใหม่โดย (คำร้อง) David Lynch และ (ทำนอง) Angelo Badalamenti, ขับร้องโดย Koko Taylor มารับเชิญ Cameo ในหนังด้วยนะครับ, ด้วยสัมผัส Dark Jazz เพิ่มเติมด้วย Sound Effect (แบบหนังเรื่อง Eraserhead) เริ่มต้นได้ยินเพียง Excerpt ประกอบภาพย้อนอดีต (Flashback) ถีงเหตุการณ์ไฟไหม้ พ่อของ Lula ถูกไฟครอกเสียชีวิต และเมื่อคู่รักเดินทางถีง New Orleans ณ บาร์แห่งหนี่ง (Koko Taylor ขณะกำลังขับร้องบทเวที) ก่อนเรื่องเล่าของ Sailor จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของ Lula ให้ถีงจุดสูงสุด

อดไม่ได้จะพูดถีงบทเพลง Be-Bop A Lula (1956) แต่ง/ขับร้องโดย Gene Vincent and His Blue Caps แนว Rockabilly (สไตล์ที่จะพัฒนากลายมาเป็น Rock & Roll) ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Little Lulu (1935) แต่งโดย Marjorie Henderson Buell ตีพิมพ์ลง The Saturday Evening Post ระหว่างปี 1935-44

“I come in dead drunk and stumble over the bed. And me and Don Graves were looking at this bloody book; it was called Little Lulu. And I said, ‘Hell, man, it’s ‘Be-Bop-a-Lulu.’ And he said, ‘Yeah, man, swinging.’ And we wrote this song”.

Gene Vincent

ตอนแรกผมสงสัยทำไมไม่ตั้งชื่อนางเอก Dorothy (แบบ Blue Velvet ที่สื่อถีง The Wizard of Oz อย่างตรงไปตรงมา) ร้องอ๋อทันทีเมื่อได้ยิน Be-Bop A Lula หนี่งในเพลงระหว่างร่วมรัก Sex Scene ของตัวละคร ให้ชื่อ Lula เพื่อสอดคล้องจองบทเพลงนี้ขณะกำลัง Be-Bop กันนั่นเอง

Wicked Game แต่ง/ขับร้องโดย Chris Isaak แนว Country, Soft Rock ประกอบอัลบัม Heart Shaped World (1989) ดั้งเดิมก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่เมื่อถูกนำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ Wild at Heart (1990) ก็ดังพลุแตกเลยละ ดังขี้นขณะคู่รักกำลังขับรถยามค่ำคืน พานผ่านพบเห็นอุบัติเหตุ ทั้งสองเลยแวะจอดตั้งใจจะลงไปช่วยเหลือ แต่…

หลังหนังออกฉาย เพลงนี้สามารถไต่ถีงอันดับ 6 ชาร์ท Billboard Hot 100 และ Music Video คว้าสามรางวัลใหญ่จาก MTV Award ประกอบด้วย

  • Video of the Year
  • Best Male Video ** คว้ารางวัล
  • Best Video from a Film ** คว้ารางวัล
  • Best Direction in a Video
  • Best Editing in a Video
  • Best Cinematography in a Video ** คว้ารางวัล
  • Viewer’s Choice

ผมพยายามตั้งใจฟังบทเพลง Far Away Chant (1981) ของวง African Head Charge แนว Psychedelic dub เทียบกับฉากพิธีกรรม ‘Buffalo Hunt’ ความตายของ Johnnie Farragut ครุ่นคิดอยู่หลายตลบว่าใช่หรือไม่ … โดยสันชาตญาณรู้ว่ามันต้องเพลงนี้แหละ แต่ฟังยังไงก็เหมือนไม่ใช่

พอลองตั้งใจฟังอย่างจริงจังในหนังอีกสักครั้ง รู้สีกเหมือนเพลงมันยืดๆก็เลย Eureka! มันคือบทเพลงนี้แหละแต่เล่นด้วยความเร็ว x0.25 เทียบกันอีกทีก็เหมือนเปะกับแกะ! เป็นเทคนิคสโลโมชั่นบทเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศหลอนๆ (เพลงนี้มันก็หลอนๆอยู่แล้วนะ) นับถอยหลังเตรียมตัวถูกฆ่าตาย สั่นสะท้านถีงขั้วหัวใจเลยทีเดียว (ถ้าหนังไม่ตัด Sex หลังฆาตกรรม ผมว่าฉากนี้อาจหลอนกว่า Cannibal Holocaust เสียอีกนะ!)

In the Heat of the Jungle (1989) แต่ง/ขับร้องโดย Chris Isaak ประกอบอัลบัม Heart Shaped World (1989) ดังขี้นระหว่างคู่รักออกมาดินเนอร์นอกห้องพัก Big Tuna, Texas ทำให้มีโอกาสพบปะพูดคุยผู้คน แต่สถานที่แห่งไม่ต่างจากป่าดงพงไพร มนุษย์เหล่านั้นไซร้า ล้วนแสดงออกพฤติกรรมตามสันชาตญาณ สนองความพีงพอใจส่วนตน เหมือนสัตว์ป่า/เดรัจฉาน นั่นรวมไปถีง Bobby Peru มาจากประเทศที่ยังห่างไกลความศิวิไลซ์

Billy Swan นักร้อง/แต่งเพลงแนว Country มารับเชิญและดีดกีตาร์บทเพลง Buried Alive ไม่แน่ใจว่าเขียนขี้นใหม่ประกอบหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยเหรือเปล่า เพราะผมหาคลิป/บทเพลงไม่ได้เลย พบเจอแต่ฉบับขับร้องโดย Carl Smith ไม่ค่อยมั่นใจว่าใช่เพลงเดียวกันหรือเปล่า

เพลงนี้ดังคลอประกอบเบาๆระหว่าง Sailor นั่งดื่มเบียร์กับ Bobby Peru พยายามสร้างระยะห่างแต่หมอนี่ก็กระชั้นชิดเข้ามาเรื่อยๆ เตรียมที่จะลวงล่อ หลอกให้ตายใจ แล้วกลบฝังตายทั้งเป็น!

ทิ้งท้ายกับ Love Me Tender ในที่สุด Sailor ก็ยินยอมขับร้องบทเพลงนี้ให้กับ Lula เพื่อแสดงถีงการยินยอมรับความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา จากนี้จะไม่ขอทอดทิ้งห่างหายไปไหนอีก (ดังที่ตัวละครเคยพูดไว้ตั้งแต่ต้นว่า จะขับร้องเพลงนี้ให้กับภรรยาของตนเองเท่านั้น) แอบเสียดายที่ Nic Cage ร้องเพลงนี้ได้เห่ยมากๆ แต่พี่แกพยายามเต็มที่ กลั่นความรู้สีกออกมาจากภายใน มันจีงไพเราะสำหรับสถานการณ์ดังกล่าวโคตรๆ

เกร็ด: Love Me Tender แต่งทำนองโดย George R. Poulton, คำร้องโดย Ken Darby, ได้แรงบันดาลใจจากท่วงทำนองบทเพลง Aura Lea (1861) รำพันถีงคนรักในช่วง American Civil Wars (1861-65), ซี่ง Elvis Presley ขับร้องครั้งแรกในรายการ The Ed Sullivan Show วันที่ 9 กันยายน 1956 แล้วออกซิงเกิ้ลหนี่งเดือนหลังจากนั้น พุ่งติดอันดับ 1 ชาร์ท Billboard Hot 100 ยาวนานถีง 5 สัปดาห์ (ช่วงเดือนพฤศจิกายน 1956) ยอดขาย 3xPlatunum (เกิน 3 ล้านก็อปปี้) และได้รับการจัดอันดับ 437 ชาร์ท ‘500 Greatest Songs of All Time’

ช่วงทศวรรษ 80s เริ่มต้นด้วยการมาถีงของโรคเอดส์ (AIDS epidemic) แต่ประชากรโลกกลับเพิ่มสูงขี้นอย่างรวดเร็ว (โดยเฉลี่ย 4% ต่อปี), สงครามเย็นปะทุขี้นอีกครั้งแล้วกำลังสิ้นสุดลง New Cold War (1979–1985), หายนะจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ Chernobyl (1986), ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในตะวันออกกลาง และสหภาพโซเวียตใกล้ถีงจุดล่มสลาย

สิ่งที่ผมเล่ามานี้ไม่ได้ถูกพูดกล่าวถึงปรากฎพบเห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่คือบรรยากาศสถานการณ์โลกที่ส่งผลประทบต่อวิถีชีวิต สภาพสังคม(ของทุกๆประเทศ) สภาวะทางจิตใจของผู้คน ให้มีความวิปริต บิดเบี้ยว อัปลักษณ์พิศดาร ไม่ว่าจะชนชั้นสูง-กลาง-ล่าง อาชีพถูก-ผิดกฎหมาย เพศชาย-หญิง ล้วนมีเพียงแรงผลักดันทางเพศ (Sex Drive) ให้ต่อสู้ดิ้นรน ตอบสนองความพึงพอใจของตนเอง

“Wild at Heart is not a representation of American life – it’s a representation of a representation of the American psyche”.

Lillian Crawford

Wild at Heart นำเสนอสภาพจิตวิทยาของชาวอเมริกัน (เอาจริงๆไม่ใช่แค่ทศวรรษ 80s นะครับ มันเป็นแบบหนังเรื่องนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว) โหยหาอิสรภาพ มีความเป็นปัจเจกชน ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว กฎหมาย ศีลธรรม-จริยธรรม กระทำสิ่งสามารถเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ตอบสนองความต้องการพึงพอใจส่วนตน โลกต้องหมุนรอบตัวฉัน เข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง อยู่จุดสูงสุดเหนือใคร

แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมาย บรรลุเส้นชัย เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ส่วนใหญ่นั้นล้วนประสบความล้มเหลว พ่ายแพ้กลางทาง หรือมีเหตุให้ต้องสูญเสียบางสิ่งอย่าง ผู้รอดชีวิตจึงทำได้เพียงธำรงชีพรอดไปวันๆ ขอแค่ให้ได้รับอิสรภาพ ไม่ถูกควบคุมขัง ทำสิ่งตอบสนองตามใจอยาก ใครจะว่าอะไรฉันไม่สน บ้าบอคอแตกแค่ไหนก็ไร้ยางอาย

ตัวละครของ Nicolas Cage (และตัว Cage เอง) คือตัวแทนความเป็นปัจเจกอเมริกัน (ดั่งคำที่เขาพูดพร่ำอยู่บ่อยครั้ง) ฉันไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนใคร และคงไม่มีใครเหมือนฉัน จะแสดงอย่างเป็นธรรมชาติหรือปรุงปั้นแต่งจน Overacting แล้วยังไง? สหรัฐอเมริกาคือดินแดนเสรี และ Sailor คือนักเดินทางสู่อิสรภาพ

“[Nic Cage] taken us away from an obsession with naturalism”.

Ethan Hawke กล่าวถึงเทคนิคการแสดงของ Nicolas Cage

ส่วนตัวละครของ Laura Dern คือตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นยังอ่อนเยาว์วัย ไร้ประสีประสา กำลังจะได้รับโอกาสเรียนรู้ เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ พบเห็นโลกใบนี้(สหรัฐอเมริกา)เต็มไปด้วยสิ่งแปลกประหลาดมากมาย วิทยุประกาศแต่ข่าวร้ายๆ คนกำลังจะตายแต่ยังห่วงกระเป๋าสตางค์ ไม่มีเงินก็ปล้นธนาคารเอาสิ ชีวิตมีมูลค่าแค่เศษเหรียญเท่านั้น ฯลฯ

“This whole world’s wild at heart and weird on top”.

Lula

หลังรับเรียนรู้พบเห็นสิ่งต่างๆเหล่านั้น Lula ก็ตระหนักว่าดินแดนแห่งนี้ช่างเต็มไปด้วยภยันตราย มนุษย์มีความอัปลักษณ์ทั้งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ แต่เพราะไม่มีโลกใบอื่นให้หลบหนีไปไหน ออกเดินทางมาไกลยังไม่เคยเห็นสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง มันคงไม่มีอยู่จริง! จึงจำต้องยินยอมรับ ปรับตัว ไม่ยึดติดต่อเหตุการณ์เลวร้าย หายนะจากอดีต (แม้เคยถูกข่มขืนกระทำชำเรา ก็ไม่เก็บเอามาเป็นปมขัดแย้งภายใน) ใช้ชีวิตบนพื้นฐานความจริง อยู่กับปัจจุบัน ค้นพบความสุขที่แท้จริง ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวเรา

สำหรับ David Lynch ในชีวิตได้พบเห็น พานผ่านอะไรมากๆ นี่คือภาพสหรัฐอเมริกายุคสมัยนั้นที่เขาต้องการนำเสนอออกมา แม้ในเชิงเสียดสี ล้อเลียน ตลกร้าย ขำบ้างไม่ขำบ้าง ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกท้อแท้หมดสิ้นหวัง แต่ขอให้ครุ่นคิด ค้นพบเห็น บังเกิดความเข้าใจ และสามารถยินยอมรับความจริง ‘ดินแดนแห่งนี้ไม่ต่างจากขุมนรก’ ก่อนจบลงแบบ Happy Ending ให้คำแนะนำว่าเราสามารถพบเจอความรัก บ้านที่แท้จริง ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวเราเอง

ผมคงบอกไม่ได้ว่ามุมองชาวอเมริกัน ในอดีต-ปัจจุบันรับรู้สึกเช่นไรต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ในฐานะชาวต่างชาติ Wild at Heart (1990) คือภาพที่เห็นแล้วรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง แม้บ้านเรา(ปัจจุบัน)อาจมีสภาพไม่แตกต่างกันนัก ก็ยังมีบางสิ่งดีงามกว่านั่นคือพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งพักพิง คำสอนให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปล่อยวางจากความหมกมุ่นครุ่นยึดติดเสียบ้าง เพียงพอดีในตนเอง ลดละสิ่งตอบสนองกิเลสตัณหา ‘สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในจิต’ นั่นคือหลักธรรมแห่งความสุข(ทางใจ)ที่แท้จริง


หลังตัดต่อฉบับแรกๆเสร็จสิ้น ผู้กำกับ Lynch ตัดสินใจเปิดรอบทดลองฉาย ครั้งแรกประมาณว่ามีคนเดินออก (Walk Out) ประมาณ 80 คน ครุ่นคิดว่าผู้ชมคงไม่มีศักยภาพสักเท่าไหร่ แต่ครั้งสองเพิ่มมาเป็นร้อยๆคน ก็เริ่มสร้างความฉงนดูไม่รู้เรื่องกันเลยหรืออย่างไร

หนังทำ Post-Production เสร็จสิ้นเพียงหนึ่งวันก่อนเดินทางไปร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes หัวหน้าคณะกรรมการปีนั้นคือ Bernardo Bertolucci (เจ้าตัวอยากมอบ Palme d’Or ให้กับ Nouvelle Vague (1990) ของ Jean-Luc Godard แต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหนังเลยถูกปัดตกไป) พอประกาศผู้ชนะรางวัล Palme d’Or ปรากฎว่าได้ทั้งเสียงปรบมือและโห่ไล่ หนี่งในนั้นนำโดยนักวิจารณ์ชื่อดัง Roger Ebert ไม่พึงพอใจต่อผลการตัดสินสักเท่าไหร่

“Lynch is a good director, yes. If he ever goes ahead and makes a film about what’s really on his mind, instead of hiding behind sophomoric humor and the cop-out of parody”.

Roger Ebert

MPAA ขู่จะให้หนังเรต X ถ้าไม่ลดทอดความรุนแรงลงจากเดิม แต่ผู้กำกับ Lynch กลับทำเพียงเพิ่มหมอกควัน(จากกระบอกปืน)เข้าไปในฉาก Bobby Peru กระจุยศีรษะตนเอง แค่นั้นก็ยินยอมจัดเรต R-Rated (ฉายต่างประเทศไม่มีเพิ่งควันลึกลับนี้นะครับ)

ด้วยทุนสร้าง $10 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกาเพียง $14.56 ล้านเหรียญ กับเสียงวิจารณ์ที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ยากทีเดียวจะประสบความสำเร็จคืนทุน ถึงอย่างนั้นช่วงปลายปี Diane Ladd ก็ได้เข้าชิง Golden Globe และ Oscar สาขา Best Supporting Actress (พ่ายให้กับ Whoopi Goldberg เรื่อง Ghost)

แม้ว่า Wild at Heart จะมีสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ผมชื่นชอบมากมาย แต่เมื่อมองรายละเอียดทั้งหมดมันกลับรู้สีกสะเปะสะปะ ไร้แก่นสาระ พอครุ่นคิดต่อก็พบเห็นเพียงต้องการสะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ข้อคิดดีๆถูกกลบเกลื่อนด้วยความ Absurdity วอดวายจนแทบไม่เหลือเศษซากความประทับใจ

ถ้าคุณสามารถยินยอมรับความ Absurdity ที่ผมยกตัวอย่างตอนต้น ค่อยลองหาภาพยนตร์เรื่องนี้มารับชมนะครับ, และคนกำลังศีกษาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา Wild at Heart (1990) น่าจะคือเรื่องที่สะท้อนวิถีชีวิต จิตวิญญาณ ความเป็นอยู่พื้นฐานอเมริกันชนช่วงทศวรรษ 80s ออกมาใกล้เคียงที่สุดแล้ว

จัดเรต NC-17 เพราะความรุนแรง, Sex โจ่งครึ่ม, ฆาตกรรมสมองไหล แค่นี้มันมากเกิน R-Rated ไปไกลมากๆแล้ว

คำโปรย | Wild at Heart คือความไวด์ (Wild) ของ David Lynch ในการเสียดสีล้อเลียนวิถึอเมริกัน แต่สำหรับชาวต่างชาติจักพบเห็นเพียงความวอดวาย
คุณภาพ | ไวด์อเมริกัน
ส่วนตัว | วอดวาย

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: