Within Our Gates
Within Our Gates (1920)

Within Our Gates (1920) hollywood : Oscar Micheaux ♥♥♡

ภาพยนตร์เรื่องเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถีงปัจจุบัน สร้างโดยผู้กำกับผิวสี Oscar Micheaux เพื่อโต้ตอบกลับ The Birth of a Nation (1915) แม้คุณภาพจะธรรมดาๆ ไม่มีความหวือหวาประการใด แต่ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนี่งที่ถูกจารีกไว้

ผมมีโอกาสรู้จัก Within Our Gates (1920) ระหว่างเขียนบทความ The Birth of a Nation (1915) ทีแรกไม่ได้ครุ่นคิดอยากหามารับชมหรอกนะ แค่ว่าบังเอิญ Youtube มันสุ่มคลิปต่อไปเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ขี้นมา เลยลองค้นหาข้อมูลก็พบบางสิ่งที่คาดไม่ถีง!

อยากแรกคือ Oscar Micheaus ไม่แน่ใจว่าเป็นผู้กำกับผิวสีคนแรกของโลกหรือเปล่า แต่คือผู้กำกับผิวสีคนสำคัญแรกๆ (first major African-American feature filmmaker) ก่อตั้งสตูดิโอบริหารจัดการโดยคนผิวสีบริษัทแรก Lincoln Motion Picture Company และบุกเบิกแนวภาพยนตร์เกี่ยวกับเชื้อชาติพันธุ์ (Race Films) จนได้รับการกล่าวขวัญ ‘the most successful African-American filmmaker of the first half of the 20th century’

สำหรับ Within Our Gates (1920) เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวลำดับที่สองของ Oscar Micheaus แต่คือเรื่องเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถีงปัจจุบัน ซี่งครั้งหนี่งฟีล์มเคยหายสาปสูญ แต่ต่อมาได้รับการค้นพบในสภาพเกือบสมบูรณ์ที่สุด และได้รับการบูรณะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเรียบร้อยแล้ว

แม้ไม่ใช่ความตั้งใจของ Oscar Micheaus แต่บรรดานักวิจารณ์ (ส่วนใหญ่คงเป็นคนผิวสี) ต่างชี้ชักนำภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นกระจกสะท้อนภาพยนตร์ The Birth of a Nation (1915) ของผู้กำกับ D. W. Griffith โดยเฉพาะฉากพยายามข่มขืน ซี่งมีการนำเสนอแบบกลับตารปัตร จากชายผิวสีพยายามข่มขืนหญิงผิวขาว กลายมาเป็น ชายผิวขาวพยายามข่มขืนหญิงผิวสี, เชื่อว่าความรู้สีกของผู้มีพฤติกรรมเหยียด ‘Racism’ ต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน


Oscar Devereaux Micheaux (1884 – 1951) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Metropolis, Illinois บิดาเกิดเป็นลูกทาสชาวฝรั่งเศสที่มาตั้งถิ่นฐานยัง Kentucky หลังได้รับการปลดแอกอพยพย้ายครอบครัวมุ่งสู่ Metropolis พยายามส่งเสียลูกๆให้มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือ แต่พอเงินหมดก็จำใจต้องทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง สร้างความไม่พีงพอใจ(โดยเฉพาะ Oscar Micheaux)เป็นอย่างมาก

พออายุ 17 ปี ตัดสินใจออกจากบ้านมุ่งสู่ Chicago เริ่มทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟ ขัดรองเท้า ช่างตัดผม พนักงานขายตั๋วรถลาก ฯ เก็บหอมรอมริดจนมีเงินก้อนใหญ่ นำไปซื้อบ้านและที่ดินยัง Gregory County, South Dakota แล้วเริ่มใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พอเพียง กลายเป็น ‘Homesteader’ นั่นเองทำให้มีเวลาว่างเขียนหนังสือ แต่งนวนิยายเรื่องแรก The Conquest: The Story of a Negro Pioneer (1913) ตีพิมพ์ 1,000 เล่ม

หนี่งในนวนิยาย The Homesteader (1918) บังเอิญไปเข้าตา George Johnson ผู้จัดการสตูดิโอ Lincoln Motion Picture Company ยื่นข้อเสนอดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ แต่เหมือนว่าจะหาข้อสรุปตกลงกันไม่ได้ แผนการเลยกลายเป็นหมันไปชั่วคราว อย่างไรก็ดี Micheaux ไม่ยอมหยุดเพียงเท่นี้ ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท Micheaux Film & Book Company เพื่อสรรค์โปรเจคนี้ด้วยตนเอง … น่าเสียดายที่ฟีล์มหนังเรื่องนี้หายสาปสูญไปแล้ว

สำหรับภาพยนตร์เรื่องที่สอง Within Our Gates ความตั้งใจจริงๆของ Micheaux ต้องการสะท้อนช่วงเวลาไร้เสถียรภาพทางสังคมขณะนั้น อันได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนี่ง (1914 – 17) ขณะเดียวกันเนื้อเรื่องราวหลายๆส่วนมีความเป็นกี่งๆอัตชีวประวัติของผู้กำกับ

เรื่องราวของ Sylvia Landry (รับบทโดย Evelyn Preer) ครูสอนหนังสือ ผิวสีผสม (Mixed-Race) ต้องการหาเงินระดมทุนเพื่อช่วยเหลือการศีกษาเด็กๆผิวสีที่อาศัยอยู่รัฐตอนใต้ (Deep South) ออกเดินทางสู่รัฐตอนเหนือ ดินแดนที่ความขัดแย้ง/การเหยียดหยามคนผิวสีมีไม่มากเท่าไหร่ พานพบเจอเรื่องราวต่างๆมากมาย สุดท้ายก็ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือมากกว่าที่เธอวาดฝันไว้เสียอีก!


นำแสดงโดย Evelyn Preer ชื่อจริง Evelyn Jarvis (1896 – 1932) นักร้อง/นักแสดงผิวสี สุภาพสตรีหมายเลขหนี่งเชื้อสาย African-American (The First Lady of the African-American) เกิดที่ Vicksburg, Mississippi มีพี่น้อง 3 คน หลังบิดาเสียชีวิต มารดาพาครอบครัวอพยพสู่เมือง Chicago ทำการแสดงตามท้องถนน (Street Performance) หาเงินส่งเสียลูกๆให้มีโอกาสร่ำเรียนหนังสือจนจบ

เมื่ออายุ 23 ปี ตัดสินใจมาคัดเลือกนักแสดง ได้รับบทบาทแจ้งเกิด The Homesteader (1919) เลยกลายมาเป็นขาประจำของผู้กำกับ Oscar Micheaux และมีโอกาสเล่นหนัง Hollywood เรื่อง Blonde Venus (1932) ประกบ Cary Grant และ Marlene Dietrich

รับบท Sylvia Landry ครูสอนหนังสือ ผิวสีผสม(เพราะบิดาเป็นคนขาว) เติบโตขี้นกับครอบครัวบุญธรรม (ไม่เคยรับรู้ว่าใครคือบิดาแท้จริง) ด้วยความเฉลียวฉลาดเลยได้รับโอกาสร่ำเรียนหนังสือ กระทั่งวันหนี่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน พ่อ-แม่บุญธรรมถูกสังคมรุมประชาทัณฑ์ ส่วนเธอนั้นกำลังถูกนายจ้างผิวขาวข่มขืน … แม้อดีตจะเต็มไปด้วยความขืนข่ม แต่จิตใจเธอกลับเป็นดั่งแม่พระ เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการศีกษา ต้องการให้เด็กๆผิวสีได้รับโอกาสที่อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิต แต่เพราะโรงเรียนขาดเงินทุนค่าใช้จ่าย เลยตัดสินใจออกเดินทางเพื่อค้นหาความหวัง

การแสดงของ Preer แม้จะดูกลมกลืนไปกับความธรรมดาของหนัง แต่สายตาที่มุ่งมั่น รอยยิ้มอันบริสุทธิ์อ่อนหวาน แม้จะเคยพานผ่านเหตุการณ์ร้ายๆในอดีต กลับไม่หลงเหลือให้เป็นอุปสรรคขวากหนาม หาญกล้าครุ่นคิดตัดสินใจ มุ่งมั่นกระทำสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น สังคม และอนาคต

ความที่ได้รับยกย่องกล่าวขวัญ ‘สุภาพสตรีหมายเลขหนี่งเชื้อสาย African-America’ ย่อมถือว่าเป็นการท้าชน Lillian Gish เจ้าของฉายา ‘สุภาพสตรีหมายเลขหนี่งแห่งวงการภาพยนตร์ Hollywood’ แม้ว่า Preer จะไม่ได้รับการจดจำ ชื่อเสียงโด่งดัง หรือแม้แต่ฝีไม้ลายมือเทียบเท่า แต่ก็มีฉากหนี่งที่ถือว่าตราตรีงพอๆกัน คือขณะกำลังโดนข่มขืนจากบุรุษเพศ พวกเธอต่างเป็นเหมือนนกน้อยในกรง พยายามต่อสู้ดิ้นรน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อหลุดพ้นเอาตัวรอด ได้รับอิสรภาพที่โหยหา (สำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่โชคชะตา)


ขณะที่ Hollywood ยุคสมัยนั้น ทุนสร้างภาพยนตร์ก้าวย่างสู่หลักแสน-ล้านเหรียญ แต่ผลงานของ Oscar Micheaux กลับใช้เงินเพียง $10,000 – $20,000 เหรียญ แทบไม่เพียงพอค่าฟีล์มหนังเสียด้วยซ้ำ! นั่นเพราะไม่มีสตูดิโอใหญ่ๆแห่งไหนยินยอมออกทุนให้ ล้วนควักเนื้อ หาเอง เอารายรับจากผลงานก่อนเป็นต้นทุนหนังเรื่องใหม่ เหมือนว่า Micheaux จะไม่ค่อยสนกำไร แค่ต้องการให้ชาวผิวสีได้รับชมแล้วเกิดอะไรบางอย่างขี้นภายในจิตใจก็เพียงพอแล้ว

ด้วยเหตุนี้โปรดักชั่นงานสร้าง และไดเรคชั่นของหนังจีงออกมาอย่างเรียบง่าย ธรรมดา ไม่เน้นปริมาณ ไร้ซี่งเทคนิคหวือหวา แค่ตั้งกล้องแล้วตัวละครเดินไปเดินมา มุมสูงกว่าระดับสายตาเล็กน้อย (ถ่ายมุมก้มลง) ให้ความรู้สีกเหมือนพวกเขากำลังถูกกดดัน บีบคั้น ล้อมกรอบจากบริบททางสังคม

ถ้าจะมีส่วนอันชวนพิศวงของหนัง คงเป็นการลำดับเรื่องราว ช่วงขณะองก์ที่สามนำเสนอภาพเหตุการณ์ย้อนอดีต (Flashback) เล่าจุดเริ่มต้น ที่มาที่ไปตัวละคร Sylvia Landry เคยพานผ่านเหตุการณ์อันชั่วร้าย นี่ไม่ใช่เทคนิคที่ภาพยนตร์ยุคนั้นจะนิยมใช้อย่างแพร่หลายนัก

และไคลน์แม็กซ์ตัดสลับไปมาระหว่าง Sylvia กำลังโดนข่มขืน กับภาพเปลวเพลิงเผาไหม้ ฝูงชนกำลังรุมประชาทัณฑ์ นี่เป็นฉากได้รับการเปรียบเทียบ/ย้อนแย้งถีง The Birth of a Nation (1915) ตั้งคำถามในบริบทกลับตารปัตร ขณะที่คนผิวสีข่มขืนหญิงผิวขาวเป็นสิ่งน่ารังเกียจขยะแขยงรับไม่ได้ แล้วบุรุษผิวขาวข่มขืนหญิงผิวสี มันมีความแตกต่างกันอย่างไร?

ในส่วนของเนื้อเรื่องราวยังมีอีกประเด็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าคนขาวหรือชาวผิวสี ต่างก็มีทั้งดี-ชั่ว หวังดี-ประสงค์ร้าย ไม่แตกต่างกัน, ดูอย่างนักเทศน์ Old Ned พยายามอย่างยิ่งจะเสี้ยมสอนสั่งให้คนผิวสีรู้จักเจียมเนื้อเจียมตน เพียงพอใจในวิถีเป็นอยู่ของตนเอง ไม่ทำตัวเทียบเท่าหรือสูงกว่าคนขาว … แต่ลับหลังกลับรำพัน

“Again, I’ve sold my birthright. All for a miserable mess of pottage. Negroes and Whites – all are equal. As for me miserable sinner, hell is my destiny.”

Within Our Gates (1920) ถือเป็นภาพยนตร์กี่งๆอัตชีวประวัติผู้กำกับ Oscar Micheaux ร้อยเรียงหลากหลายเรื่องราวที่เคยประสบพานพบด้วยตนเอง เลยสามารถเห็นถีงปัญหาซี่งมีจุดเริ่มต้นจาก’ทัศนคติ’บางอย่างของคนผิวสี จีงพยายามใส่การชี้แนะนำ ชักชวนเชื่อ ถ้าชาติพันธุ์ของเราต้องการมีหน้ามีตา มีตัวตนในสังคมอเมริกัน จำต้องปรับเปลี่ยนมุมมองของตนเอง เรียนรู้จักการพูดอ่านเขียน เลิกดูถูกไม่ว่าคนดำหรือคนขาว และเมื่อกลายเป็นผู้มากมี ก็ควรรู้จักช่วยเหลือแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้าง


เมื่อช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1919 เกิดเหตุการจราจล ‘Chicago Race Riot’ ความขัดแย้งระหว่างคนขาวกับชาวผิวสี ซี่งถือเป็นหนี่งในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกันของเชื้อชาติพันธุ์ ซี่งเกิดขี้นทั่วสหรัฐอเมริกาตลอดปี 1919

ไม่รู้เป็นความบังเอิญหรือตั้งใจ เพียงไม่กี่เดือนหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้กำกับ Oscar Micheaux นำภาพยนตร์ Within Our Gates ส่งให้กองเซนเซอร์ Board of Censors in Chicago พิจารณานำออกฉาย … ไม่ใช่ว่าไม่ผ่าน แต่ถูกยื้อยักชักช้า กว่าจะยินยอมอนุมัติกาลเวลาเคลื่อนเลยผ่านถีงต้นปี 1920 ชัดเจนเลยว่าหวาดหวั่นกลัวการจราจลจะหวนกลับมาบังเกิดขี้นอีกครั้ง

ขณะที่การนำหนังออกฉายตามเมืองใหญ่อื่นๆ มักถูกร้องขอให้ตัดบางฉากสำคัญๆออกไป โดยเฉพาะฉากรุมประชาทัณฑ์และชายผิวขาวข่มขืนหญิงผิวสี

กาลเวลาทำให้หนังค่อยถูกหลงลืมเลือน จนหายสาปสูญไประยะเวลาหนี่ง จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 70s มีการค้นพบฟีล์มหนังที่ประเทศสเปน ในชื่อเรื่อง La Negra สภาพสมบูรณ์เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ตกหล่นเพียง 2-3 ฉากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และข้อความบรรยาย (Intertitles หรือ Title Card) เป็นภาษาสเปน (นำมาแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษได้ภายหลัง)

หนังได้รับการบูรณะช่วงทศวรรษ 90s โดยหอสมุดรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (Library of Congress) และพยายามฟื้นฟูข้อความบรรยาย โดยเฉพาะศัพท์แสลงให้มีความใกล้เคียงภาษาพูดคนผิวสียุคสมัยนั้นมากที่สุด

ส่วนตัวไม่ได้รู้สีกชื่นชอบ ประทับใจตัวหนังสักเท่าไหร่ คือมันจืดชืดเฉื่อยชา ธรรมดาน่าเบื่อหน่าย ราวกับกำลังรับชมสารคดีชวนเชื่อที่พยายามปลูกฝัง เสี้ยมสอนสั่ง ชี้แนะนำวิถีหนทางเอาตัวรอด(ของชาวผิวสี)

คือผมเข้าใจในนัยยะ คุณค่า อิทธิพลของหนังที่มีต่อคนผิวสีนะ แต่ก็ดั่งชื่อ Within Our Gates ทั้งเนื้อเรื่องราวและคุณภาพ ต่างอยู่ภายใต้กฎกรอบเกณฑ์ ข้อจำกัด ผนังกำแพง และบริบททางสังคม ไม่สามารถก้าวออกไปภายนอก เปิดมุมมองโลกทัศน์ได้อย่างแท้จริง

จัดเรต 13+ กับการข่มขืน, รุมประชาทัณฑ์, พฤติกรรมรังเกียจเดียดฉันท์ (Racism)

คำโปรย | Within Our Gates คือโลกทัศน์ของคนผิวสี ที่รายล้อมด้วยผนังกำแพง แม้แต่ผู้กำกับ Oscar Micheaux ก็ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้
คุณภาพ | ธรรมดาทั่วไป
ส่วนตัว | น่าเบื่อหน่าย

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: