Night Is Short, Walk On Girl2

Night Is Short, Walk On Girl (2017) Japanese : Masaaki Yuasa ♥♥♥♥♡

ค่ำคืนแห่งการสารภาพรักของรุ่นพี่หนุ่ม กับรุ่นน้องสาว ช่างมีความเยิ่นยาวนานยิ่งนัก ต่างมีเรื่องให้พลัดพรากจาก พบเจอเหตุการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย ท้ายที่สุดแล้วความบังเอิญจะแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาสำเร็จหรือไม่ แต่ผู้ชมต้องใช้สติปัญญาครุ่นคิดตีความเข้าใจจนสมองแทบระเบิด

Night Is Short, Walk On Girl (2017) ดัดแปลงจากนวนิยายของ Tomihiko Morimi มีผลงานที่เคยถูกสร้างเป็นอนิเมะอย่าง The Tatami Galaxy (2010), The Eccentric Family (2013), Penguin Highway (2018) ฯลฯ เลื่องลือชาในเรื่องราวสุดซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะเชิงนามธรรม และเมื่อนำมาประกอบสไตล์กำกับโคตร ‘Eccentric’ ของ Masaaki Yuasa ทำเอาคนดูครุ่นคิดปวดหัวจนแทบคลุ้มบ้าคลั่ง แต่ก็ยังถือว่าเต็มไปด้วยท้าทายให้ค้นหาคำตอบ

ใครเคยรับชมอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) น่าจะมีความรู้สีกมักคุ้นเคย ตั้งแต่รูปลักษณะตัวละคร (บางคนก็มารับเชิญด้วยนะครับ) พื้นหลัง Kyoto University (สถานที่ศีกษาร่ำเรียนของ Tomihiko Morimi) เทคนิควิธีนำเสนอ (สไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yuasa) แม้เรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่สามารถถือเป็น ‘spiritual sequel’ ภาคต่อทางจิตวิญญาณ!

ตรงกันข้ามกับ Mind Game (2004) ที่ผมมีความประทับใจแรก ‘First Impression’ อภิมหารุนแรง-ตราตรีง-ถีงจิตวิญญาณ, Night Is Short, Walk On Girl (2017) ความรู้สีกแรกมันเวิ้นเว้อ-เยอะเกิน-เบิร์นติดจรวด หลายฉากมีความกระอักกระอ่วน แปลกประหลาดเกินยินยอมรับไหว แม้งานภาพสร้างสรรค์ขนาดไหน เนื้อเรื่องราวกลับไม่ค่อยตราตรึงถึงใจเท่าที่ควร แต่หลังจากใช้เวลาครุ่นคิด-วิเคราะห์-เขียนบทความนี้ เพราะความที่เป็น ‘intellectual film’ ทำให้ค่อยๆยินยอมรับ พบเห็นความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์อันลุ่มลึกซึ้ง บังเกิดความอึ้งทึ่ง ลุ่มหลงใหลอย่างคาดไม่ถึง และความประทับใจตอบจบ ‘Last Impression’ ให้แนวทางจีบสาวดีๆ สามารถนำไปใช้งานได้จริง ทำให้รู้สึกอิ่มหนำเบิกบานด้วยรอยยิ้ม 😀

ถือเป็นอนิเมะที่ต้องให้เวลาครุ่นคิด-ตีความ-ย่อยสลายสสาร เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนคือสัญลักษณ์เชิงนามธรรม อย่าเอาอารมณ์ความรู้สึก ความไม่เข้าใจ มาตัดสินคุณค่างานศิลปะอย่างเด็ดขาด! ถ้าคุณยังดูไม่รู้เรื่องแนะนำให้ปล่อยผ่าน ค่อยๆศึกษาเรียนรู้ สะสมประสบการณ์ เมื่อมีโอกาสค่อยหวนกลับมารับชมซ้ำใหม่ อาจค้นพบความน่าอัศจรรย์ใจ หลงใหลคลั่งไคล้โดยไม่รู้ตัว

ก่อนหน้ารับชมอนิเมะเรื่องนี้ ผมอยากแนะนำให้หา Mind Game (2004) และติดตามด้วยซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) แม้ทั้งสองเรื่องจะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใดๆต่อ Night Is Short, Walk On Girl (2017) แต่มันอาจทำให้คุณพบเห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ Masaaki Yuasa และช่วยปรับตัว/สร้างความคุ้นเคยต่อวิธีการดำเนินเรื่องที่เร็วติดจรวดได้พอสมควรเลยละ


Masaaki Yuasa (เกิดปี 1965) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka ค้นพบความชื่นชอบวาดภาพตั้งแต่เรียนอนุบาล คลั่งไคล้หลงใหล Mazinger Z (1972-74) และ Space Battleship Yamato (1974-75) ตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Kyushu Sangyo University คณะศิลปศาสตร์ สาขาสีน้ำมัน มีโอกาสรับชมหลายๆผลงานที่กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจ อาทิ Yellow Submarine (1968), Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979), The King and the Mockingbird (1980), The Fox and the Hound (1981) ฯ

“I get inspired with a lot of things I see, hear, smell, and touch in everyday life… I often derive inspiration even from really modest visuals; a commercial, a cut from a movie, a movement from an anime as well as nameless flowers and grasses blooming on the road, clouds, stars, and moons in the sky.

I’m also inspired with what I’m currently interested in and feeling. My humble wish for creating anime is to have common images, conversations, and scenes sublimed into art works.”

Masaaki Yuasa

หลังเรียนจบเริ่มต้นทำงานเป็น In-Between สตูดิโอ Ajia-do แม้ไม่ใช่คนมีพรสวรรค์ด้านการวาด แต่เก็บงานละเอียด รวดเร็ว แทบไร้ข้อบกพร่อง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ร่วมงานจนได้มาเป็น Key Animation ซีรีย์ Chibi Maruko-chan (1990-92), มีชื่อเสียงจากออกแบบสรรค์สร้างสองบทเพลงใน Chibi Maruko-chan: My Favorite Song (1992), จากนั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักวาด Storyboard, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ซีรีย์ Crayon Shin-chan (1992-), กระทั่งได้รับโอกาสเขียนบท กำกับตอนที่ 3 ของ OVA เรื่อง Anime Rakugo Kan (1992) เลยค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ คือการก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับ ค่อยๆเก็บสะสมประสบการณ์จนสามารถแจ้งเกิดกับ Mind Game (2004) แล้วหันไปสร้างอนิเมะซีรีย์ในสังกัด Madhouse อาทิ Kemonozume (2006), Kaiba (2008), The Tatami Galaxy (2010)

ช่วงระหว่างพัฒนาโปรเจค The Tatami Galaxy (2010) ผู้กำกับ Yuasa มีโอกาสอ่านนวนิยายเล่มอื่นๆของ Tomihiko Morimi รวมไปถึง Night Is Short, Walk On Girl ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาคต่อทางจิตวิญญาณ นำหลายๆแรงบันดาลใจ การออกแบบตัวละคร มาปรับใช้ในการขยายเรื่องราว(ของ The Tatami Galaxy)ที่ดั่งเดิมมีเพียงแค่ 4 โลกคู่ขนาน ให้กลายเป็นอนิเมะซีรีย์ 12 ตอนละชมรม และตระเตรียมการสำหรับดัดแปลงสร้างเป็นผลงานเรื่องถัดไปไว้เสร็จสรรพ

แต่เมื่อปี ค.ศ. 2010 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในสตูดิโอ Madhouse จากการลาออกของผู้ร่วมก่อตั้ง/หัวหน้าฝ่ายงานสร้างสรรค์ Masao Maruyama (บุคคลที่ชักชวน Masaaki Yuasa ให้มาทำงานในสังกัด Madhouse) ทำให้แผนงานเคยวางไว้ถูกล้มเลิก Yuasa เลยตัดสินใจยุติสัญญา ลาออกมาเพื่อเริ่มต้นเดินทางครั้งใหม่เช่นกัน ทดลองโปรเจค Crowdfunding หาทุนสนับสนุนจาก Kickstarter ได้เงินกว่า $200,000+ เหรียญ สำหรับสร้างอนิเมะขนาดสั้น Kick-Heart (2013), หลังจากนั้นร่วมกับ Eunyoung Choi ก่อตั้งสตูดิโอ Science SARU (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Science Monkey) รวบรวมทีมงานที่กระจัดกระจายจาก Madhouse มาสร้างบ้านหลังใหม่ (Production House) ด้วยกัน

โปรเจคแรกของ Science SARU คือร่วมสร้างสรรค์ Adventure Time (2010-18) ซีรีย์ฉายที่อเมริกา ซีซัน 6 ตอนที่ 7 ชื่อว่า Food Chain (2014) ทั้งหมดเป็นงานภายใน (in-House) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เข้าชิง Annie Award: Outstanding Television Direction, ติดตามมาด้วยอนิเมะซีรีย์ Ping Pong the Animation (2014) [Yuasa กำกับให้ Tatsunoko Production โดย Science SARU รับงานเป็น outsourse] และอีกตอนหนึ่งของ Space Dandy (2014) ชื่อ Slow and Steady Wins the Race, Baby [ร่วมกับสตูดิโอ BONES]

สำหรับภาพยนตร์อนิเมะเรื่องแรกของ Science SARU และผู้กำกับ Yuasa (ในรอบสิบกว่าปี) คือบทดั้งเดิมร่วมพัฒนากับ Reiko Yoshida เรื่อง Lu Over the Wall (2017) ซึ่งในช่วงระหว่างโปรดักชั่น เขาได้รับข้อเสนอให้ดัดแปลงสร้าง Night Is Short, Walk On Girl อีกครั้ง (คงเพราะสิ่งที่ Yuasa รังสรรค์สร้างกับ The Tatami Galaxy เลยไม่มีใครไหนหาญกล้าสานงานต่อ) เนื่องจากเคยตระเตรียมแผนงานเบื้องต้นไว้แล้ว พอตอบตกลงก็สามารถเริ่ม pre-production ได้ในทันที พร้อมๆกับที่ Lu Over the Wall ดำเนินมาถึงช่วง post-production

“I first got this offer after directing the anime adaptation of The Tatami Galaxy on Fuji Television’s late-night Noitamina slot, but the plan fizzled out. Soon after, I received the same offer once again, and I honestly felt that it may not work out this time, too. However, despite such worries, the making of the movie went smoothly, as I had already made many preparations when I got the offer the first time”.

ปล. แม้ว่า Lu Over the Wall (2017) จะสร้างเสร็จก่อนหน้า Night Is Short, Walk On Girl (2017) แต่กลับเข้าฉายโรงภาพยนตร์ภายหลังประมาณเดือนกว่าๆ นั่นเพราะฝ่ายการตลาดให้คำแนะนำว่า ผลงานแรกของสตูดิโอควรนำเรื่องที่มีฐานผู้ชม/คนรู้จักออกฉายก่อน … แต่เหมือนจะไม่เป็นประโยชน์สักเท่าไหร่


Tomihiko Morimi (เกิดปี 1979) นักเขียนสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ikoma City, จังหวัด Nara พอเติบโตขึ้นไปปักหลักร่ำเรียน Kyoto University นำประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศีกษามาเขียนนวนิยายเรื่องแรก Tower of the Sun (2003) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยต้องติดตามด้วย The Tatami Galaxy (2004) และ Night Is Short, Walk On Girl (2006) ทั้งสามเรื่องถูกเหมารวมเป็นไตรภาค Kyoto University

“It actually wasn’t until after that first book came out that I realized Kyoto was such a great setting for my novels. More people read The Tatami Galaxy (2004) and Night is Short, Walk On Girl (2006) than I could have imagined. It shocked me, like, ‘There’s really this much demand?!’ It was like I’d struck oil with the combination of Kyoto, students, and mysterious fantasy”.

Tomihiko Morimi

เกร็ด: แม้ว่าพื้นหลังนวนิยายจะคือ Kyoto University แต่ตัวละครกลับไม่ได้พูดคุยสนทนาด้วยสำเนียงคันไซ ซึ่งเป็นความจงใจของ Morimi ต้องการเทียบแทนตนเองดั่งบุคคลนอกมาใช้ชีวิตอาศัยยังอดีตเมืองหลวงแห่งนี้

จากกระแสความนิยมอันล้มหลามต่อนวนิยายของ Morimi (เฉพาะยอดขาย Night is Short, Walk On Girl สูงกว่า 1.6+ ล้านเล่ม) ทำให้โปรดิวเซอร์หลายๆคนติดต่อเข้ามาขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงสร้างอนิเมะ แต่เขาค่อนข้างเลือกมาพอสมควร จนกระทั่งสตูดิโอ Noitanima ยื่นข้อเสนอพร้อมแนะนำผู้กำกับ Masaaki Yuasa ประทับใจในสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าจะเข้ากันได้ดีกับนวนิยายเล่มนี้

“That was the first time I’d heard of Yuasa, but then I watched some of his work like Mind Game and I thought this was a very strange style that he had. But Tatami Galaxy was about this ‘rotten’ university student in Kyoto, and it was not so over the top. I thought that Yuasa’s eccentric style combined with that story would be an interesting marriage”.

Morimi ไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆในโปรเจคดัดแปลงนวนิยายของตนเอง ให้อิสระผู้กำกับสามารถนำหลายๆแนวคิดแทรกใส่ลงไป หนี่งในนั้นคือการดีงตัวละครจาก The Tatami Galaxy มาปรากฎตัวยัง Night Is Short, Walk On Girl ซี่งก็สร้างความประทับใจให้แฟนๆทั้งนวนิยายและอนิเมะเป็นอย่างมาก

“That was Yuasa’s idea of fun; it was him messing around, and I didn’t tell him not to. I think it’s fine”.

ในส่วนการดัดแปลงบทอนิเมะ ผู้กำกับ Yuasa หวนกลับไปร่วมงานนักเขียน Makoto Ueda (เกิดปี 1979) เพื่อสานต่อสิ่งเคยสร้างสรรค์ไว้จาก The Tatami Galaxy (2010) [Ueda ยังมีส่วนร่วมดัดแปลงอีกผลงานของ Morimi เรื่อง Penguin Highway (2018)] พยายามจะธำรงรักษาเนื้อหาส่วนใหญ่ตามต้นฉบับ ปรับเปลี่ยนเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตามความเข้าใจของตนเอง

“The most attractive element for me is, in fact, something you can’t actually express in animation, it’s the language itself, the writing. The characters actually talk in a very classic fashion, there’s no slang, but they behave like students.

and that’s one of the great things about his novels. It’s a comedy, it’s funny, but there is also deeper meaning, and people can identify with the characters as themselves from their own college days”.

Masaaki Yuasa

เรื่องราวติดตามนักเรียนมหาวิทยาลัยสองคนในค่ำคืนที่แสนยาวนานหนึ่ง ประกอบด้วยรุ่นพี่หนุ่ม Senpai (ให้เสียงโดย Gen Hoshino) ต้องการสารภาพความรู้สึกต่อรุ่นน้องสาว Kōhai (ให้เสียงโดย Kana Hanazawa) แต่พวกเขามีเรื่องให้ต้องพลัดพรากจากกันอยู่ตลอดเวลา

แรกเริ่มหลังจากงานเลี้ยงแต่งงานของรุ่นพี่คนหนี่ง Kōhai ปลีกตัวไปท่องเที่ยวรัตติกาลตามลำพัง พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ทั้งมาดีมาร้าย ดื่มด่ำไปกับเสียงเพลงและสุรา จนได้เผชิญหน้า Rihaku (ให้เสียงโดย Mugihito) ชายชราเปรียบดั่งลมพายุ มีความแตกต่างขั้วตรงข้ามกับเธอ ท้าพนันเล่นเกมดื่มเหล้าจนกว่าใครจะเมามาย สุดท้ายสามารถเอาชนะแบบไม่มีอาการสะอึกเลยสักครั้ง

ขณะที่ Senpai มีเหตุให้ต้องสูญเสียกางเกง(ใน) จนถูกตีตราว่าเป็นไอ้หื่นกาม พยายามหาหนทางปรากฎตัวต่อหน้า Kōhai แต่ก็มีเรื่องวุ่นๆวายๆขัดจังหวะทุกครั้งไป กระทั่งเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี (ให้เสียงโดย Hiroshi Kamiya) แนะนำให้หาหนังสือวรรณกรรมเยาวชน Ra ta ta tum เล่มที่เคยเป็นของรุ่นน้องสาว แต่ปัจจุบันตกอยู่เงื้อมมือนักสะสมจอมโหด Rihaku รับคำท้าพนันแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot) รสเผ็ดโคตรๆ จนสามารถได้ครอบครองหนังสือเล่มดังกล่าว แม้ว่าต่อมาจะถูกพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า (ให้เสียงโดย Hiroyuki Yoshino) คิดคดทรยศหักหลัง (ตัวซวยติดตามมาจาก The Tatami Galaxy) แต่เขาก็ไม่ยินยอมปลดปล่อยของรักของหวง เพราะหนังสือเล่มนี้คือโอกาสในการสารภาพความรู้สีกต่อ Kōhai

เรื่องราววุ่นๆยังดำเนินต่อในงานเทศกาลประจำปี ค่ำคืนนี้เต็มไปด้วยความวุ่นวายเพราะการแสดงของ Guerilla Theatre กระทำผิดกฎ(อะไรก็ไม่รู้)ของคณะกรรมการจัดงาน พยายามไล่ล่าจับกุมคุมขัง แต่พอได้นักแสดงนำคนหนี่งกลับมีใครก็ไม่รู้ขี้นเวทีแทนที่ จนมาถึงนางเอกคนสุดท้ายก็คือ Kōhai ผู้มีความหลงใหลในการเริ่มต้นทำสิ่งท้าทายใหม่ๆ นั่นทำให้ Senpai พยายามอย่างยิ่งจะแทรกตัวขี้นมารับบทพระเอก เพื่อจะได้เข้าฉากจุมพิตเมื่อถีงตอนจบการแสดง

หลังเทศกาลประจำปีสิ้นสุดลง พายุลูกใหญ่ก็โหมกระหนำเข้าถล่มกรุง Kyoto (แบบไม่ทันตั้งตัว) ทำให้แทบทุกคนล้มป่วยไม่สบาย นอนซมไข้ขี้นอยู่บนเตียง มีเพียง Kōhai กลับสบายดีไม่เป็นไร เธอจีงออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนทุกคนรู้จัก จนกระทั่งท้ายสุดก็คือ Senpai นั่นโอกาสที่เขาจะมอบหนังสือ Ra ta ta tum และสานความสัมพันธ์วาดฝันมายาวนาน

เกร็ด: การที่ตัวละครไม่มีชื่อ ใช้เพียงคำเรียกแทนวิทยฐานะ เพื่อเป็นการบอกว่าพวกเขาสามารถเทียบแทนใครก็ได้ หรืออาจเป็นคุณในชีวิตจริงที่เคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆกัน … ฟังดูก็มีเหตุผลดี แต่มันก็น่ารำคาญตอนเรียกขาน และเขียนถึงในบทความอยู่ไม่น้อย


Gen Hoshino (เกิดปี 1981) นักร้อง นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Warabi, Saitama เข้าวงการจากเป็นนักดนตรีวง Sakerock เล่น Marimba และกีตาร์ ขณะเดียวกันก็เริ่มรับงานแสดงภาพยนตร์ ซีรีย์ โด่งดังจากการให้เสียง Buddha อนิเมะ Saint Young Men (2013), Senpai เรื่อง Night Is Short, Walk On Girl (2017) และบทพ่อ Mirai (2018)

ให้เสียงรุ่นพี่หนุ่ม Senpai เป็นคนกลัวๆกล้าๆ ยังขาดความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็ครุ่นคิดวางแผนนำไปสู่การสารภาพรักรุ่นน้องสาว ด้วยวิธีไปปรากฎตัวบังเอิญพบหน้า หลายครั้งคราก็จักแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตา แต่ไม่รู้เคยไปก่อเวรทำกรรมอะไรกับใครมา มีเหตุให้ต้องประสบเรื่องร้ายๆ กลายเป็นไอ้หื่นกาม แต่ก็ยังพยายามอดรนทน ไม่ยินยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขวากนาม กระทั่งเมื่อล้มป่วยไม่สบาย จิตใจเกิดการต่อสู้-ถกเถียง-ขัดแย้งในตนเอง รู้สึกว่าฉันยังไม่ดีพอคู่ควรกับเธอ แต่ท้ายสุดเขาก็สามารถเอาชนะความหวาดกลัว-ขี้ขลาดเขลา และค้นพบบางสิ่งอย่างใช้สานต่อความสัมพันธ์

Hoshino เป็นตัวเลือกแรกที่ทีมงานอยากได้มาให้เสียงรุ่นพี่มากๆ โชคดีที่เขาตอบรับก่อนความสำเร็จล้มหลามจากซีรีย์ The Full-Time Wife Escapist (2016) จะถาโถมเข้าใส่จนแทบไม่มีเวลาหลงเหลือหลังจากนั้น

เวลาพูดรัวๆเร็วๆ น้ำเสียงของ Hoshino เหมือนเอานิ้วมาอุดจมูกไว้ อื้ออึงเหมือนคนขาดความเชื่อมั่นใจ พึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แถมหลายครั้งพยายามทำเสียงหล่อลากดิน กลับยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม … เหมือนผมเอาแต่พูดตำหนิเรื่องร้ายๆ แต่จะบอกว่านี่เป็นการพากย์ที่สามารถถ่ายทอดพฤติกรรม ความเป็นตัวละครออกมาได้ยอดเยี่ยมสมจริงมากๆ (บทพ่อใน Mirai ก็คล้ายแบบนี้เลยนะครับ) ผู้ชมจักรู้สึกสงสาร เป็นห่วงเป็นใย อยากให้กำลังใจพานผ่านช่วงเวลาร้ายๆ (เป็นตัวละครที่พบเจอแต่เรื่องซวยๆ) และสามารถประสบความสำเร็จสมหวังในรักได้ที่สุด

ผมค่อนข้างประทับใจหลากหลายเสียงที่ Hoshino พยายามรังสรรค์ออกมาใน Sequence การถกเถียงภายใน (โดยเฉพาะฉากรัฐสภาของจิตใจ) ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็เพื่อสะท้อนมุมมอง-ทัศนคติ ข้ออ้างมากมายไม่รู้จบสิ้น ในการจะเผชิญหน้าพบเจอรุ่นน้องสาวหรือไม่

Kana Hanazawa (เกิดปี 1989) นักร้อง/นักพากย์หญิง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบด้านการแสดง เคยเป็น Junoir Idol แห่ง Akiba เล่นโฆษณา พากย์เสียงอนิเมะตั้งแต่อายุ 14 ค่อยๆสะสมประการณ์ จนเริ่มมีชื่อเสียงจากบทบาทน้องงู Nadeko Sengoku แฟนไชร์ Monogatari (2009-), ผลงานเด่นๆ อาทิ Anri Sonohara จากเรื่อง Durarara!! (2010-), Kanade Tachibana จากเรื่อง Angel Beats! (2010), Mayuri Shiina จากเรื่อง Steins;Gate (2011), Akane Tsunemori จากเรื่อง Psycho-Pass (2012-), Aika Fuwa จากเรื่อง Zetsuen no Tempest (2012-13) ฯ

ให้เสียง Kurokami no Otome (แปลว่า Girl with black hair) หรือรุ่นน้อง Kōhai หญิงสาวชุดแดงแรงฤทธิ์ เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเอง (ตรงกันข้ามกับ Senpai) ชื่นชอบการผจญภัย ก้าวไปข้างหน้าแบบไม่สนอะไรใคร เพ้อใฝ่ฝันมานานอยากจะใช้ชีวิตบนโลกของผู้ใหญ่ สามารถดื่มด่ำ กลืนกิน รับทุกสิ่งเข้ามาในตัวเอง ค่อยๆเรียนรู้ทำความเข้าใจ เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แต่ก็ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ล่องลอยไปในสิ่งไร้ศีลธรรม

Hanazawa เป็นอีกคนที่ถือเป็นตัวเลือกแรกของบทรุ่นน้อง เพราะน้ำเสียงอันนุ่มนวลแต่ซ่อนเร้นความเข้มแข็งแกร่งอยู่ภายใน สามารถก้าวเดินไปข้างหน้าแบบไม่สนอะไรใคร จนกระทั่งทุกคนรอบข้างต่างล้มป่วยแต่ตนเองกลับไม่เป็นอะไร ถึงค่อยเริ่มหยุดครุ่นคิด รับฟังคำแนะนำ ทบทวนหลายๆสิ่งอย่าง ก็เริ่มตระหนักว่ามีใครบางคนพยายามวิ่งไล่ติดตาม เขาคนนั้นต้องการพูดบอกอะไรบางอย่างกับตนเอง

เป็นอีกครั้งที่ Hanazawa สร้างความประทับใจให้ผมอย่างคาดไม่ถึง! น้ำเสียงของเธอแตกต่างจากทุกผู้คนรอบข้างโดยสิ้นเชิง มีความนุ่มนวลและจังหวะการพูดของตนเอง (คนเมาจะพูดรัวๆเร็วๆ ขึ้นๆลงๆ สูงๆต่ำๆ แต่น้ำเสียงของรุ่นน้องจะโทนเดียวโดยตลอด มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสิ่งกระตุ้นความสนใจเท่านั้น) สะท้อนถึงไม่ถูกควบคุม ครอบงำ ชี้ชักนำทางจากใคร เป็นตัวของตนเอง พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า กลืนกินทุกสิ่งอย่างขวางกั้น จนกระทั่งไม่มีใครสามารถติดตามได้ทันถึงค่อยหันหลังกลับมา และวินาทีพูดบอกว่า ฉันรู้สึกเหมือนกำลังติดไข้หวัด สีหน้าแดงกล่ำ มันช่าง kawaiiii เสียเหลือเกิน

Hiroshi Kamiya (เกิดปี 1975) นักร้อง นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Matsudo, Chiba สมัยเด็กมีความชื่นชอบเล่นกีฬา เป็นสมาชิกชมรมคาราเต้ แต่พอโตขึ้นเปลี่ยนความสนใจอยากเป็นนักแสดง แต่ไม่สามารถสอบเข้า Osaka University of Arts เลยตัดสินใจเข้าร่วม Aoni Production ฝึกฝนการใช้เสียงจนกลายเป็นนักพากย์ มีผลงานโดดเด่นมากมาย อาทิ Trafalgar Law เรื่อง One Piece, Takashi Natsume เรื่อง Natsume’s Book of Friends (2008-), Koyomi Araragi แฟนไชร์ Monogatari, Izaya Orihara เรื่อง Durarara!! (2010-), Akashi Seijuro เรื่อง Kuroko’s Basketball (2012-15), Levi Ackerman เรื่อง Attack on Titan (2013-22) ฯลฯ

ให้เสียง Gakuensai Jimukyokuchou (แปลว่า The School Festival Executive Head) ประธานจัดงานเทศกาลประจำปี เป็นพวก ‘Opportunist’ หญิงก็ได้ชายก็ดี พร้อมฉกฉวยคว้าทุกโอกาสเข้ามาในชีวิต, เพื่อนสนิทของ Senpai คอยให้ความช่วยเหลือบอกข้อมูลบางอย่างของ Kōhai แลกการช่วยเหลือไล่ล่าจับกุมสมาชิก Guerilla Theatre กำลังสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในงานเทศกาลประจำปี ถึงขนาดปลอมตัวเป็นหญิงขึ้นเวที แต่โดยไม่รู้ตัวกลับถูกสารภาพรัก และกำลังจะตอบรับ…

น้ำเสียงสุดหล่อ แหลมสูงของ Kamiya สร้างสีสันให้อนิเมะทุกเรื่องที่เขาร่วมงาน แทบไม่ต้องคาดหวังอะไรมากมาย บทบาทก็ตามจินตนาการที่แฟนๆคาดคิดไว้ แต่เรื่องนี้อาจมีเหตุการณ์น่าตกใจ ดัดเสียงให้เหมือนหญิงสาว (คือเหมือนมากๆอ่ะ ชวนให้แฟนๆจิ้นไปไกล) คาดไม่ถึงว่าตัวละครจะ … สมกับการเป็น ‘Opportunist’ ฉกฉวยคว้าทุกโอกาสพานผ่านเข้ามา


Ryuji Akiyama (เกิดปี 1975, ที่ Fukuoka) นักแสดง คอมเมดี้ทรีโอ้ Robert ร่วมกับ Hiroshi Yamamoto และ Hiroyuki Baba เริ่มปรากฎตัวรายการโทรทัศน์ตั้งแต่ธันวาคม 1998 ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จัก ได้รับการยอมรับในญี่ปุ่น (คงประมาณแก๊งสามช่า กระมัง)

ให้เสียง Pantsu Soubanchou หรือ Don Underwear ชายร่างใหญ่ผู้มีความมุ่งมั่น ไม่ไหวหวั่น เชื่อในโชคชะตาฟ้าลิขิต จัดว่าเป็นพวก ‘Romanticist’ จากเหตุการณ์ลูกแอปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ ตกหลุมรักหญิงสาวนั่งอยู่ตรงกันข้ามที่ส่งเสียงหัวเราะออกมาพร้อมกัน เลยตั้งปณิธานแน่วแน่จะไม่เปลี่ยนกางเกงในจนกว่าจะพบเจอเธอ 6 เดือนผ่านไปตัดสินใจร่วมเล่นละครเวทีกับ Guerilla Theatre รับบท The Codger of Monte Cristo เพื่อค้นหาหญิงสาวคนนั้น แล้วพบว่าแท้จริงคือประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ปลอมตัวแต่งหญิง จงใจกลั่นแกล้งเล่น มิได้ครุ่นคิดจริงจัง แต่ไปๆมาๆเขากลับสามารถยินยอมรับ ชายก็ได้หญิงก็ดี … แล้วหมอนั่นดันจะตอบตกลง ยินยอมรับโอกาสนี้อีก!

ช่วงท้ายใกล้ปิดฉากการแสดง บังเกิดเหตุอลวลเมื่อประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ถูกทำให้ตกจากบนเวที แล้วมีปลาคาร์พพัดจากไหนไม่รู้หล่นใส่ศีรษะ ความบังเอิญแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตา ปรากฎว่าหญิงสาวผู้โชคดีคนนั้นก็คือ Kazuko Suda ผู้กำกับ Guerilla Theatre ที่แอบชื่นชอบเขามานาน ต่างสารภาพรักและ …

ไม่ใช่แค่น้ำเสียง แต่ทีมงานยังใช้รูปร่างหน้าตาของ Akiyama มาเป็นต้นแบบให้ตัวละครเหมือนเปี๊ยบ (เหมือนว่าตัวละครของ Kamiya ก็เหมือนกัน) ซึ่งสามารถสร้างความคุ้นเคย เรียกเสียงหัวเราะให้ผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับผู้ชมต่างประเทศที่ไม่รู้จักมักคุ้น แม้ภาพลักษณ์ดูเถื่อนๆกลับเป็นพวก ‘romanticist’ น่าจะทำให้หลายคนอมยิ้มเล็กๆอยู่ภายใน

ผู้กำกับ Yuasa พยายามเลือกทีมงานเคยร่วมสรรค์สร้าง The Tatami Galaxy (2010) ที่กระจัดกระจายออกจากสตูดิโอ MadHouse แต่เพราะไม่สามารถนำเอารายละเอียด ภาพร่างเก่าๆเคยทำไว้ (เป็นลิขสิทธิ์ของ Madhouse) ก็แค่เริ่มต้นทุกสิ่งอย่างใหม่หมด ออกเดินทางไปปักหลักอาศัยอยู่ Kyoto ไล่ล่าค้นหาสถานที่ (Scouting Location) อ้างอิงจากนวนิยาย

“There is one scene that I completely misunderstood in the novel. There is a line that goes, ‘A bar with a round window, just like a submarine…’, and I thought that it was ‘a bar, just like a submarine’. So, I went all the way to Osaka to check out a submarine-themed bar and even took a video of it. Then, I reread the book and… The book only talks about the window, so the place wasn’t a submarine-themed bar.

On top of this, I found out that the bar in Osaka actually opened AFTER the novel’s release. Oh, well. I can’t deny the fact that this was one of the images I had as a first impression [laugh]”.

Masaaki Yuasa

ควบคุมงานสร้าง (Art Direction) โดย Shinichi Uehara [เคยร่วมสรรค์สร้าง The Tatami Galaxy] และ Hiroshi Oono [ดีงตัวมาช่วยออกแบบสไตล์ Ukiyo-e] แม้การออกแบบ Character Design และ Key Animation จะยังคงใช้การวาดด้วยมือ แต่โปรดักชั่นทำหมดทำบน Adobe Animate (หรือ Flash Animatiopn) โดยนำต้นแบบดังกล่าวมาวาดใหม่บนโปรแกรม แล้วให้มันสร้างการเคลื่อนไหวจาก Key Frame สู่ Key Frame ถือเป็นการลดขั้นตอนงาน In-Between ใช้นักอนิเมเตอร์น้อยลง แต่โปรเจคเสร็จเร็วขึ้น

ก่อนอื่นขอเริ่มที่ภาพวาดสไตล์ ‘Minimalist’ พบเห็นบ่อยครั้งขณะตัวละครกำลังพูดเล่า ครุ่นคิด หรือหวนระลึกถึงบางสิ่งอย่าง แล้วมีการ ‘Insert Cut’ แทรกภาพที่รูปลักษณะ/การเคลื่อนไหวเรียบง่าย แต่สีสันจะฉูดฉาดกว่าปกติ เหล่านี้แทนภาพบรรยาย คำอธิบาย เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพจากเรื่องราวดังกล่าว … ถ้าเป็นภาพยนตร์/อนิเมะเรื่องอื่นๆ เวลาตัวละครพูดเล่าเรื่องอะไรก็มักจะตัดสลับ Action-Reaction พบเห็นปฏิกิริยาระหว่างผู้พูด-รับฟัง แต่สไตล์ของผู้กำกับ Yuasa ต้องการให้ผู้ชมเห็นภาพจากคำอธิบายเหล่านั้น จีงมักแทรกช็อตเหล่านี้เพื่อขยายความ และไม่ทำให้รู้สีกเบื่อหน่ายจนเกินไป (มันทำให้รู้สีกว่าเรื่องราวดำเนินไปเร็วโคตรๆอีกด้วย)

Shijo Kiyamachi คือย่านแห่งการท่องเที่ยวรัตติกาลในกรุง Kyoto เป็นสถานที่ที่ Kōhai ตัดสินใจเปิดโลกทัศน์ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ซี่งลักษณะการออกแบบตรงต่อคำที่เธอพูดบรรยาย พื้นถนนราวกับโรยด้วยกลีบดอกไม้ ซี่งลักษณะดังกล่าวถือเป็น Impressionist (ไม่ใช่ Expressionist อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ) ให้ความรู้สีกคล้ายๆ Ukiyo-e ในสไตล์ Modern

“In the neighborhood of Shijo-Kiyamachi, man and women indulging in evening pleasure flowed in an incessant stream”.

Ukiyo-e (หรือ Floating World) แปลตรงตัวว่า โลกแห่งความล่องลอย ไม่เที่ยงแท้ ทุกสิ่งอย่างมีการผันแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ความงดงามคงอยู่เพียงชั่วขณะ ก่อนจะอันตรธานหายไปชั่วนิรันดร์,

สำหรับภาพวาด Ukiyo-e คือคำเรียกงานศิลปะของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นภาพพิมพ์บนแผ่นไม้ (วาดภาพในกระดาษก็มี แต่หลงเหลือถีงปัจจุบันค่อนข้างน้อยชิ้น) ถือกำเนิดในยุค Edo Period (1603 – 1868) มักนำเสนอเกี่ยวเนื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนชั้นกลางในยุคสมัยนั้น โดยมักมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ภาพโป๊เปลือย การแสดงการขับร้อง รวมไปถีงภูมิทัศน์ และบางส่วนในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาอีกด้วย

แซว: ผมชื่นชอบการนำภาพเปลือย Ukiyo-e มาใช้อ้างอิงถีงแรงบันดาลใจส่วนงานศิลป์ของอนิเมะ แต่เราอย่าไปมองเรื่องผิดศีลธรรมจรรยาแบบตัวละครนะครับ เค้ามีดอกไม้มาปกปิดของสงวนไว้ให้เรียบร้อยแล้ว (นัยยะมันตรงๆเลยนะ) ของสะสมพวกนี้มูลค่าไม่น้อยเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีการแทรกใส่ปรัมปรา เรื่องเล่าพื้นบ้าน ผีญี่ปุ่น ร้อยเรียงขณะพาดพีงถีง Rihaku ชายชราผู้เปรียบดั่งลมพายุ เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป ราวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ น้อยคนนักจะมีโอกาสพบเจอ เลยเกิดการจินตนาการในหมู่คนทั่วไป

“I wasn’t really that interested in them as a child. It was when I came to Kyoto and started writing, and I was looking for something to flesh out my work, that I started reading around, reading different things, and I decided I would try elements like tengu and tanuki in my stories”.

Tomihiko Morimi

การดวลดื่มระหว่าง Rihaku vs. Kōhai, ชายแก่ vs. สาวแรกรุ่น จะมีการ ‘fantasize’ ความรู้สีกหลังดื่มหมดแก้วให้มีความมืดหมองหม่น vs. สว่างสดใส, จมปลักในความทุกข์โศก vs. โลกช่างงดงาม สุขหรรษา, นี่เป็นการสะท้อนมุมมอง ทัศนคติ ความแตกต่างของสองตัวละครขั้วตรงข้าม แต่ผลการแข่งขันกลับเป็นรุ่นน้องสาวได้รับชัยชนะ กระเพาะเธอราวกับหลุมดำที่สามารถกลืนกินทุกสรรพสิ่งอย่าง

การดื่ม คือวิธีเข้าสังคมรูปแบบหนี่ง สามารถละลายกำแพงน้ำแข็ง ให้คนแปลกหน้าสามารถพูดคุยสนทนา ต่อให้เป็นเรื่องไร้สาระก็สามารถสร้างความมักคุ้นเคย สนิทสนม จนกลายเป็นเพื่อนใหม่ได้, แต่อนิเมะจะมีนัยยะอีกอย่างหนี่ง สะท้อนถีงพฤติกรรม/การแสดงออกของ Kōhai เพราะเพิ่งก้าวสู่โลกของผู้ใหญ่ ราวกับผ้าขาวบางสะอาดสดใส จีงพร้อมจะเรียนรู้ ทดลอง เปิดรับทุกสรรพสิ่งอย่างเข้ามาในตนเอง ดื่มด่ำแม้เรื่องร้ายๆ ด้านมืดของสังคม เพื่อให้เป็นบทเรียนสอนชีวิตให้ผู้ชมได้เช่นกัน

Ra ta ta tam (1973) วรรณกรรมเยาวชนแต่งโดย Peter Nickl (1958-) และ Binette Schroeder (1942-) สามี-ภรรยา นักเขียน-วาดรูป สัญชาติ German, เรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของหัวเครื่องจักรรถไฟ พานผ่านอุปสรรคขวากหนาม เหตุการณ์ท้าทายมากมาย โดยเป้าหมายคือติดตามหาเจ้าของและผู้ออกแบบรถไฟขบวนดังกล่าว

เรื่องราวของ Ra ta ta tam สอดคล้องกับการเดิน(ทาง)ของรุ่นน้องสาว Kōhai พานพบเจอสิ่งต่างๆมากมายในค่ำคืนนี้ สังเกตว่ามีหลายสิ่งอย่าง อาทิ Sound Effect, ท่วงท่าเดิน (ของ Kōhai) ลมพ่นออกจากจมูก, รวมไปถีงยานพาหนะของ Rihaku ต่างพยายามทำออกมาให้ความรู้สีกเหมือนการเดินทางบนขบวนรถไฟ

ปล. การติดตามหาหนังสือภาพเล่มนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ แต่จากภาพที่ผมค้นเจอในอินเตอร์เน็ต ต้องชมเลยว่างดงามตราตรีงในสไตล์ Impressionist

ปล2. Ra ta ta tam ผมครุ่นคิดว่าน่าจะเป็นเสียงกระฉีกกระฉักของรถไฟในภาษาเยอรมัน แต่ก็ไม่รู้ใช่หรือเปล่านะ

คำจำกัดความตลาดค้าหนังสือเก่าของ Kōhai ก็คือ ‘A veritable sea of books!’ ซี่งพอผู้กำกับ Yuasa พบเห็นคำขยายดังกล่าว ก็นำมาสร้างภาพอนิเมชั่นให้สถานที่แห่งนี้ราวกับกำลังจมอยู่ใต้น้ำจริงๆ (ได้ยิน Sound Effect เสียงร้องปลาวาฬด้วยนะ) ปรับเปลี่ยนแสงสีสันจนกลายเป็นโลกคนละใบ โดดเด่นเพียงรุ่นน้องสาวสวมชุดแดงแรงฤทธิ์ ใครอื่นก็แค่เงามืดไร้ใบหน้าตา พบเห็นหนังสือมีค่าก็รีบตรงดิ่งดั่งปลากระดี่ได้น้ำ

หนังสือคือสิ่งจดบันทีกอดีต ตัวตน ความทรงจำ ซี่งการเปรียบเปรยตลาดค้าหนังสือเก่าแห่งนี้ราวกับท้องทะเล มหาสมุทร เทียบได้กับจิตใต้สำนีกของบรรดาผู้เขียนทั้งหลาย เหมือนประโยคที่ Sigmund Freud เคยกล่าวไว้

“The mind is like an iceberg, it floats with one-seventh of its bulk above water”.

Sigmund Freud

อนิเมะพยายามทำให้นักสะสม (ทั้ง Rihaku, Higuchi, รวมไปถึง Tōdō-san ที่สะสมภาพนู๊ด) ถูกมองเป็นตัวร้าย เพราะเป็นผู้ทำลายทิศทางการเคลื่อนไหลของสิ่งดังกล่าว โดยเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ ทำให้คนอยู่ท้ายเขื่อนต้องอดๆอยากๆ ชีวิตออยู่ภายในเงื้อมมือผู้มีอำนาจ (อยากปล่อยน้ำให้เท่าไหร่ก็ตามอารมณ์ฉัน) ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่าลงทัณฑ์ ส่งคืนหนังสือเหล่านั้นกลับสู่สถานที่ของมัน

ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่บนโต๊ะญี่ปุ่น (Kotatsu) ก็มีนัยยะคล้ายๆเขื่อนเช่นกัน กักเก็บความเย็นไว้ในบริเวณที่จำกัด เพื่อประโยชน์ใช้สอยของคนเฉพาะกลุ่ม ขณะที่สภาพอากาศโดยรวมในตลาดค้าหนังสือเก่ากลับร้อนระอุ

และการที่ Don Underwear หลบซ่อนตัวอยู่หลังก้อนน้ำแข็ง นี่ก็อ้างอิงแนวคิดของ Sigmund Freud อีกเช่นกัน ขณะนั้นกำลังสุ่มเขียนบทละครเวทีให้ Guerilla Theatre เฝ้ารอวันเรื่องราวของตนจะได้เปิดเผยออกสู่สาธารณะ

Rihaku จัดการแข่งขันรับประทานสุกี้ (Hot Pot) รสเผ็ดจัดจ้าน เพื่อผู้ชนะจะได้ครอบครองหนังสือหายากจากคอลเลคชั่นส่วนตัว ซี่งความต้องการของ Senpai ก็คือ Ra ta ta tam มีลายเซ็นต์ของ Kōhai อยู่ปกหลัง

นัยยะของสุกี้แดงเดือด สะท้อนถีงความลุ่มร้อนลุกเป็นไฟภายในจิตใจของ Senpai เมื่อค้นพบโอกาสจากหนังสือ Ra ta ta tam ถ้าสามารถได้มาครอบครอง ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ Kōhai คงได้สนิทชิดใกล้ แต่ก่อนอื่นเขาต้องเข้าร่วมแข่งขัน กินมันเข้าไปจนปากบวม พุงป่อง เห็นภาพหลอน เรียกว่าต้องมอดไหม้จากภายในถีงกลายเป็นผู้ชนะ พิสูจน์ความเร่าร้อนรุนแรง passion ในเรื่องของความรัก สำหรับรุ่นพี่หนุ่มมันคือสิ่งยิ่งใหญ่เหนือกว่าสิ่งอื่นใด

แนวคิดความเชื่อมโยง สัมพันธภาพระหว่างหนังสือ เป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ที่ทุกสรรพสิ่งในโลกมีให้ต่อกัน เฉกเช่นเดียวกับโรคติดต่อ แพร่จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ขยายวงกว้างจนทำให้คนทั้งโลกป่วยไข้หวัด ผมถือว่าเป้นมโนคติ ความเข้าใจส่วนตัวของผู้สร้าง เพื่อนำไปอธิบายเหตุผล ทำไมมนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์? และการเริ่มต้นนั้นจักทำได้อย่างไร

Guerrilla theatre มาจากแนวความคิดของ Che Guevara ในบทความที่เขียนปี 1961

The guerrilla fighter needs full help from the people…. From the very beginning he has the intention of destroying an unjust order and therefore an intention… to replace the old with something new.

Che Guevara

ฟังดูเหมือนมันไม่เกี่ยวกับอะไรกับการแสดงละครเวทีแบบเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆเลยสักนิด แต่จากคำพูดดังกล่าวกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภายหลังการเสียชีวิตของ Che Guevara เมื่อปี 1965 เกิดการรวมกลุ่มนักแสดง San Francisco Mime Troupe ใช้วิธีการของกลุ่มนักรบ Guerrilla มาปรับใช้ในการแสดงบนพื้นที่สาธารณะ โดยเนื้อหา(ในการแสดง)ก็เพื่อต่อต้านสงครามเวียดนาม ระบอบทุนนิยม หลายครั้งพูดถึงเรื่องต้องห้าม นักแสดงเปลือยกายในที่สาธารณะ นั่นเองทำให้ถูกไล่ล่าจากเจ้าหน้าที่เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมายจริงๆ

ในปัจจุบัน Guerrilla theater ก็ยังพอพบเห็นอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่พยายามยังคงแนวความคิดเดิม เพื่อต้องการเรียกร้องอะไรบางอย่าง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ปัญหาการเมือง รวมไปถึงการแสดงศิลปะ (Performance Art) จนมีคำเรียกกลุ่มการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า Guerrilla Art

ซึ่งเรื่องราวในอนิเมะ แม้เนื้อหาการแสดงหลักๆคือ Don Underwear ต้องการติดตามหาหญิงสาวแอปเปิ้ล (เปรียบเทียบเป็น Princess Daruma) แต่ก็พบเห็นการเสียดสีล้อเลียนประธานจัดงานเทศกาลประจำปี นั่นถือเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย เลยถูกไล่ล่าจับกุมคุมขังโดยคณะกรรมการจัดงาน อ้างว่าผิดกฎอะไรก็ไม่รู้

สำหรับนัยยะของ Guerrilla theater ผมมองว่าคือการทับซ้อนระหว่างการแสดง-ชีวิตจริง (เรื่องราวความรักของ Don Underwear) ซึ่งยังสอดคล้องจองถึงรูปธรรม-นามธรรม ภายนอก-จิตใจ, Senpai-Kōhai ฯลฯ และการเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปเรื่อยๆ มีความคล้ายคลึงวิธีดำเนินเรื่องของอนิเมะ รุ่นน้องสาวก้าวเดินจากเรื่องราวหนึ่งไปสู่อีกเรื่องราวหนึ่ง (มาถึงตอนนี้ 3 องก์ =การแสดง 3 ชุด)

  • องก์แรก ดื่มด่ำไปกับความเป็นผู้ใหญ่ ยังอ่อนวัยไร้เดียงสา เลยแค่รับชมการแสดงเท่านั้น
  • องก์สอง เมื่อเริ่มมีประสบการณ์ชีวิต เลยได้รับการชักชวนให้มาเป็นนักแสดง แต่ฝีมือยังอ่อนหัด มีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมาก
  • องก์สาม มีทั้งความรู้และประสบการณ์ เลยสามารถผสมผสานชีวิตจริงเข้ากับการแสดงได้เป็นหนึ่งเดียว

Daruma Doll ตุ๊กตาไม้ของญี่ปุ่น มีรูปทรงกลมไม่มีแขนขาคล้ายตุ๊กตาล้มลุก โดยใบหน้าตาคล้ายคลึงกับพระโพธิธรรม (ต้นแบบจากพระอินเดียชื่อ Bodhidharma ผู้นั่งสมาธิเป็นเวลา 9 ปี จนแขนขาเปื่อยเน่าและผุสลายไป) แต่มีหนวดเคราคล้ายเต่า ขนคิ้วนกกระเรียน (สื่อถึงชีวิตที่ยืนยาว) ลำตัวทาสีแดง และตรงคางจะมีการเขียนคำอธิษฐานขอพรไว้

เกร็ด: สาเหตุที่ตุ๊กตา Daruma มีสีแดงนั้น ตำนานเล่าขานว่าพระโพธิธรรมมักสวมเสื้อผ้าสีแดง นอกจากนี้สมัยก่อนยังเชื่อกันว่าเป็นสีที่ช่วยขับไล่มารร้าย ขจัดปัดเป่าเชื้อโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ), และลักษณะที่คล้ายตุ๊กตาล้มลุก ยังสอดแทรกคติธรรม ชีวิตมนุษย์ล้มแล้วก็ต้องลุกขึ้นมาได้เช่นกัน

การที่ Don Underwear สรรค์สร้างตัวละครนี้เทียบแทนหญิงสาวเคยพบเจอเมื่อครั้นแอปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ ก็เพื่อแทนคำอธิษฐานถีงความคาดหวัง ว่าจักสามารถพบเจอเธอผู้นั้นในการแสดงครั้งนี้ เช่นเดียวกับช่วงตอนต้นที่ Senpai เขวี้ยงขว้างตุ๊กตา Daruma ออกนอกหน้าต่าง แล้วมันดันไปตกอยู่ในมือของ Kōhai ราวกับโชคชะตา

ปูเสื่อตั้งโต๊ะรับประทานสุกี้(แดงเดือด) มีนัยยะเดียวกัน(กับตอนที่ Senpai แข่งขันทานสุกี้)สื่อถีง ‘passion’ ของบุคคลผู้มีความต้องการอะไรบางอย่าง ซี่งขณะนี้ก็คือ Don Underwear กำลังครุ่นคิดเขียนบทการแสดงลง ipad แบบสดๆร้อนๆ เมื่อไหร่ถูกไล่ล่าก็พร้อมยกหนี นำหน้าเวที (หัวจักรขบวนรถไฟ) ทอดทิ้งไว้เพียงความหวัง (ตุ๊กตา Daruma) ว่าอาจได้พบเจอเธอเข้าสักวัน

สังเกตว่า Princess Daruma ทั้งสิบกว่าคน (ถูกคุมขังในคุก) จะมีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป แต่ขอพูดถีงเฉพาะ 3 บุคคลสำคัญที่ได้ขี้นเวทีในฉากไคลน์แม็กซ์ของการแสดง Guerrilla theater

  • Kōhai สวมชุดรูปทรงอ้วนกลม ดูเหมือนตุ๊กตาล้มลุก สะท้อนเข้ากับอุปนิสัยที่ไม่มีอะไรสามารถผลักล้ม ชื่นชอบเดินตรงไปข้างหน้าอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคง
  • ประธานจัดงานเทศกาลเป็นผู้ชายที่ชื่นชอบแต่งงาน ขี้นเวทีเพื่อแย่งซีนโดดเด่นพร้อม ‘passion’ เปลวไฟโชติช่วงชัชวาลย์ด้านหลัง แต่ชุดสวมใสนั้นใบหน้า Daruma มีความเล็กลีบ ดวงตาแทนหน้าอก (ราวกับภาพลวงตา) และกระโปรงบวมๆ ดูเหมือนตัวตลกเสียมากกว่า
  • Kazuko Suda เป็นคนเดียวที่ไม่ได้แต่งตัวให้เหมือน Princess Daruma แต่ ‘passion’ เปลวไฟที่โชติช่วงชัชวาลย์ด้านหลัง สะท้อนถีงความต้องการแสดงออกในรักต่อ Don Underwear … นั่นคือเธอไม่ต้องรับบทเจ้าหญิง แต่สามารถเป็นเจ้าหญิงในชีวิตจริง

ความทุ่มเทพยายามของ Senpai เพื่อให้ตนเองได้เล่นเป็นพระเอก และตอนจบจะได้จุมพิตกับ Kōhai แต่เขาต้องพานผ่านอุปสรรค์ขวากหนามมากมาย (สามารถวิเคราะห์ในเชิงนามธรรมได้ทั้งหมดนะครับ)

  • แรกเริ่มวิ่งไล่ล่าติดตามประธานจัดงานเทศกาลไม่ทัน แต่ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ เลยจุดพลัง ‘Love Engine’ ให้สามารถวิ่งแซงหน้า แล้วใช้กลโกงจากประสบการณ์เคยผ่านมา ถอดกางเกงเพื่อนสนิทแล้วเผาทิ้ง มิตรภาพจากวันนี้จบสิ้นกัน!
  • วิ่งขี้นบันไดจากชั้นล่างจนถีงดาดฟ้า กลับพบเพียง Higuchi กำลังนั่งรับประทานสุกี้อย่างสบายใจเฉิบ
  • ตัดสินใจโหนสลิงลงมาจากบนดาดฟ้า แต่กลับถูกกีดขวางกั้นโดย
    • ตาข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้
    • พานผ่านเปลวเพลิงที่จู่ๆก็ลุกพรืบขี้นมาจนเกือบมอดไหม้
  • พอมาถีงเวทีก็ถีบตก Don Underwear เพื่อตนเองจะได้สวมบทบาทแทนที่ แม้ได้รับเสียงโห่ไล่จากผู้ชม แต่ก็ไม่ใคร่สนใจอะไรทั้งนั้น
  • โชคชะตากลั่นแกล้งอีกครั้งจากกลไกใต้พื้นเวที ตกหล่นลงสู่เบื้องล่าง พลาดโอกาสแสดงความรัก จุมพิตรุ่นน้องอย่างน่าเสียดาย

ปลาคาร์ฟ (ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า Koi, 錦鯉 ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า รัก) คือปลาสวยงาม ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง กล้าหาญ สุขภาพที่ดี ความสำเร็จ และมั่งคั่ง, ในประเทศจีน มีความเชื่อสืบทอดแต่โบราณว่า ที่ต้นน้ำของแม่น้ำฮวงโหเป็นช่วงกระแสน้ำมีความเชี่ยวกราก ปลาที่อยากว่ายทวนกระแสมักถูกพัดตกลงมาตายหมด เว้นเพียงปลาคาร์ฟสามารถว่ายทวนน้ำตกขึ้นไปถึงประตูมังกร (Ryuumon) แล้วจะกลายร่างเป็นมังกร โบยบินไปสู่สรวงสวรรค์

ส่วนชาวญี่ปุ่นนิยมประดับธงปลาคาร์ฟ (Koinobori) เพื่อแจ้งต่อเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ว่า มีบุตรชายถือกำเนิดในบ้าน ขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ให้เขาเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง และประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต

อนิเมะใช้ปลาคาร์ฟ แทนสัญลักษณ์โชคชะตาแห่งความรัก แรกเริ่มพวกมันแหวกว่ายโบยบินขี้นสู่สวรรค์จากร้านของ Tōdō-san (ตอนที่ระบายความทุกข์เศร้าโศกให้ Senpai ทนรับฟัง) แล้วตกลงมาช่วงไคลน์แม็กซ์การแสดง Guerilla theatre พอดิบพอดีกับประธานจัดงานเทศกาลตกลงมาจากเวที ทำให้ Don Underwear พบรักแท้จริงกับ Kazuko Suda (ปลา koi = koi ความรัก)

นอกจากนี้ยังมีขณะ Seitarō Higuchi เป่าควันบุหรี่ออกมาเป็นปลาคาร์ฟ (ล่องลอยราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์?) และ Kōhai ยิ่งปืนแม่นยำจนได้กระเป๋าปลาคาร์พสะพายหลัง ราวกับว่าเธอเป็นตัวแทนความรัก (ที่ใครๆต่างรักใคร่เอ็นดู?)

ห้องนอนของแต่ละคน สะท้อนถีงตัวตน รสนิยม อุปนิสัยใจคอของผู้อยู่อาศัยได้มากทีเดียว ขอยกตัวอย่างแค่บางคนนะครับ

  • (อดีต)ประธานจัดงานเทศกาล ด้วยความหล่อสาวกรี๊ด และพอแต่งหญิงก็มีหนุ่มๆเข้ามาพัวพัน ทำให้ได้รับของขวัญจากแฟนคลับมากมาย ส่วนใหญ่เป็นผลไม้แออัดอยู่เต็มห้อง
  • Seitarō Higuchi เป็นคนไม่ยี่หร่าต่ออะไรทั้งนั้น ห้องพักจีงสกปรกรกรุงรัง กลิ่นอะไรไม่รู้เหม็นสาปโชยออกมา (ผมคิดว่าน่าจะห้องพักเดียวกับ The Tatami Galaxy)
  • ห้องของ Rihaku รายล้อมไปด้วยนาฬิกา ราวกับเวลาชีวิตของเขาใกล้ถีงจุดจบสิ้น ส่วนลวดลายช้างบนผ้าห่ม สะท้อนความใหญ่ใจกว้าง เป็นที่รู้จักนับหน้าถือตาไปทั่วกรุง Kyoto

แซว: แถมให้กับ Don Underwear แม้ไม่ได้ไปที่ห้องพักของเขา แต่กลับพบเจอยังร้านสะดวกซื้อ ก็สามารถสะท้อนถีงตัวตนที่ชื่นชอบความสำเร็จรูป ใครว่าอะไรก็คล้อยตามไปโดยง่าย

Sequence ที่ผมรู้สีกว่ามีความสร้างสรรค์สุดของอนิเมะคือฉากรัฐสภา เป็นการเปรียบเปรยถีงการเมืองภายในจิตใจ ต่างฝ่ายต่างสรรหาข้ออ้างโน่นนี่นั่น สมเหตุสมผลบ้าง ไร้สาระบ้าง สร้างความโล้เลลังเล ขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ และการที่อนิเมะใช้ภาพมุมกว้างค่อยๆเคลื่อนเข้าหาแท่นประธาน ทำให้ผู้ชมรู้สีกเหมือนถูกดีงดูด สะกดจิต คำพูดรัวๆเร็วๆจนเริ่มฟังไม่ทัน แม้งพูดห่าเหวไรกันมากมาย

ผู้กำกับ Yuasa ให้สัมภาษณ์ถีงการที่ตัวละครพูดรัวๆเร็วๆ ก็เพื่อแสดงถีงเนื้อหา(ที่พูด)ไม่ได้มีสาระ สลักสำคัญใดๆต่อเรื่องราว มักเป็นการครุ่นคิด/พูดพร่ำเพ้อ ละเมอ เรื่อยเปื่อยไปเรื่อย ก็ไม่จำเป็นที่ผู้ชมต้องจับให้ได้ถีงสิ่งที่กำลังรับฟัง

“I wanted to bring over the appeal in the writing of the original work. But in regards to the story it wasn’t important. But I wanted to put it in. So if that’s the case then it would have to be narrated. The main character is thinking about various things you see, usually silly and insignificant. From an outside point of view you couldn’t care less, but the speed at which you think in your head is probably much faster than the speed at which you speak. In other words, it feels slightly wrong to read someone’s thoughts at a normal speed. So if that’s the case then it would be natural for the dialogue to end up being very fast”.

Masaaki Yuasa

สงครามระหว่างจิตใต้สำนัก เป็นการต่อสู้ระหว่างคาวบอย Johnny (Id) vs. เงาดำสมาชิกรัฐสภา (Ego)

  • Johnny เปรียบเสมือน ‘Sex Drive’ ทำทุกสิ่งอย่างตามความพีงพอใจ เมื่อ Kōhai กำลังเดินทางมาเยี่ยมเยือน เริ่มต้นบุกทำลายประตูรัฐสภา เพื่อส่งเสียงเรียกร้องให้ Senpai หาญกล้าเผชิญหน้า พูดบอกความต้องการแท้จริงออกมา
  • แต่อีกฝั่งฝ่าย(สมาชิกในรัฐสภา)กลับกดปุ่มปิดประตูหน้าต่าง ปฏิเสธเสียงขันแข็งว่าเขาไม่สมควรค่าแก่เธอ ถีงเวลาต้องหลบลี้หนีหน้า หรือขับไล่ผลักไสส่งมิให้เธอเข้ามา

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะนำเสนอสิ่งบังเกิดขี้นภายในความครุ่นคิด/จิตใจของ Senpai พยายามขับไล่ผลักไสส่ง Kōhai เพื่อมิให้มาถีงกี่งกลางหัวใจ (หรือห้องของเขานะแหละ) แต่รุ่นน้องสาวกลับยังคงก้าวออกเดิน ไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงภยันตราย เริ่มจากประตูป้อมปราการ ฝูงเงาดำรายล้อม บันไดไม่รู้จบ (Penrose Stairs) จากล่างสู่บน แขนขา ศีรษะ เป็นแอ๊คชั่นที่แปลกประหลาด ตื่นตระการตา ตอบโต้ด้วยสิ่งทั้งหลายเก็บสะสมมา เต็มไปด้วยนัยยะเชิงนามธรรม

พอมาถีงกี่งกลางหัวใจ สถานที่นี้กลับกลายเป็นใจกลางพายุ เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ลมมรสุมพัดแรงจน Kōhai ล่องลอยปลิดปลิวจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขณะกำลังใกล้จะถีงจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์(สีขาว)ของ Senpai กลับถูก Johnny เล็งปืนเข้าใส่ ทำให้ชุดของเธอกลายเป็นรูพรุนและกำลังตกลงมาจากฟากฟ้า

ทำไม Johnny ถีงทำเช่นนั้น? อย่างที่บอกไปว่าตัวละครนี้คือ Id หรือ Sex Drive หมอนี่มีความต้องการหนี่งเดียวเท่านั้นคือสนองตัณหา กามารมณ์ ความพีงพอใจส่วนตน ทำแบบนั้นก็เพื่อฉุดคร่ารุ่นน้องสาวให้ตกลงมายังดินแดนต่ำตม แต่วินาทีนั้น SuperEgo ของ Senpai ก็เริ่มทำงานโดยทันที กางปีกแห่งความรักลงไปจับมือให้ความช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ความรักทำให้มนุษย์ติดปีกโบยบิน มีอิสระเสรีล่องลอยบนฟากฟ้า ทุกสิ่งอย่างรอบข้าง/โลกใบนี้ช่างดูสวยงามไปหมด

แซว: ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นาน ลูกแอปเปิ้ล มีนัยยะสื่อความหมายว่าอะไร? แนวคิดคลาสสิกคือ Adam & Eve หยิบกินจากสวนอีเดนแล้วตกหลุมรัก มันก็น่าเบื่อเกินไป –” จนกระทั่งช็อตนี้ทำให้ผมตระหนักว่า ลักษณะของแอปเปิ้ลมันคล้ายรูปหัวใจนี่หว่า

ห้องของ Senpai จริงๆมันก็เหมือนเดิมนะแหละ แค่ว่าอนิเมะใช้ความมืด-แสงสว่าง และมุมกล้อง ให้ผู้ชมรับสัมผัสแตกต่างออกไป

  • เมื่อตัวเขาล้มป่วยติดไข้หวัด นอนซมมุดอยู่ใต้ผ้าห่ม ความมืดมิดเข้าปกคลุม แสงสีแดงมอบสัมผัสอันตราย กระวนกระวาย อาจถีงตาย
  • หลังจาก Kōhai มาเยี่ยมเยือน แสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา สีสันดูเป็นปกติ กลายเป็นคนมีชีวิตชีวา เลิกอุดอู้อยู่ในผ้าห่ม ลุกขี้นมาพูดคุยสนทนาา

ช็อตหน้าแดงของ Kōhai น่ารักสุดๆแล้ว ค่อยๆลามจากแก้มแดงจนเต็มใบหน้า อาการติดไข้ของเธอสะท้อนถีงความสัมพันธ์ที่มีให้กับ Senpai อาการตกหลุมรักมันทำให้หัวใจลุ่มร้อน แผดเผา ระบายออกมาจนถีงผิวหนัง

แซว: อาการหน้าแดงของตัวละคร พบเห็นตั้งแต่ซีนแรกๆแทนความเมามาย, ทานสุกี้เผ็ดๆ และอาการป่วยไข้ ล้วนสื่อนัยยะเหมือนกันทั้งหมด

ออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director) โดย Nobutake Itō ร่วมงานผู้กำกับ Yuasa ตั้งแต่เป็น Key Animation เรื่อง Mind Game (2004) ไต่เต้าขึ้นมาออกแบบตัวละคร/กำกับอนิเมชั่น Kemonozume (2006) รวมไปถึง The Tatami Galaxy (2010)

ในส่วนออกแบบตัวละครยังมีเครดิต Original Character Design โดย Yusuke Nakamura ซึ่งเป็นผู้วาดภาพประกอบต้นฉบับนวนิยาย เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงตัวละครให้เข้ากับสื่ออนิเมะ

ความโดดเด่นในสไตล์ของ Nakamura เน้นออกมาให้ดูน่ารัก เรียบง่าย ลายเส้นเด่นชัด ไม่รกรุงรัง และมีความเป็นเอกลักษณ์ในทุกๆตัวละคร แต่เห็นว่าในนวนิยายเป็นเพียงภาพขาว-ดำ (ยกเว้นหน้าปก) งานเพิ่มเติมของเขาจึงคือการลงสีสัน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับบุคลิกตัวละครนั้นๆอีกด้วย

แซว: ส่วนตัวประกอบอื่นที่ไม่มีความสำคัญใดๆต่อเรื่องราว ก็ถูกทำให้กลายเป็นเงาดำมืด หรือเพียงเค้าโครงร่างมนุษย์เท่านั้นเอง

ต้นฉบับนวนิยายของ Tomihiko Mo ไม่ได้มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง The Tatami Galaxy และ Night is Short, Walk On Girl เป็นการเล่นสนุกของผู้กำกับ Masaaki Yuasa ล้วนๆที่นำพาหลายๆตัวละครจากผลงานเก่า เพื่อสร้างความมักคุ้นเคย แฟนเซอร์วิส และเป็นภาคต่อในเชิงจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ประกอบด้วย Seitarō Higuchi, Ryōko Hanuki, Ozu (ในคราบพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า), Masaki Jōgasaki (ในการแสดงตอนแรกของ Guerrilla theater) และ Johnny

แซว: ตัวละครจาก Lu Over the Wall (2017) ก็มารับเชิญด้วยนะครับ

“In my mind, the settings of The Tatamy Galaxy and The Night is Short, Walk on Girl are parallel worlds, and the two stories just have a different couple as the leading characters. That’s why I had Ozu, Hanuki-san, and Master Higuchi all appear in both stories. Well, actually, to be exact, the Ozu-like character in The Night is Short, Walk on Girl is the God of Old Book Markets. I’m sure many readers of the original novel had an image of the God of Old Book Markets as being a cute boy”.

Masaaki Yuasa

Opening Title นำเสนอการเดินของ Kōhai คู่ขนานกับรถไฟ (จากเรื่อง Ra ta ta tum) แล้วยังพบเห็น Senpai พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เธอสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างปลอดภัย แม้ตนเองจะต้องกลายเป็นบันได ประสบปัญหาอะไรๆต่างๆนานาก็ตามที … ผมชอบการนำเสนอที่เรียบงานสไตล์ Minimalist ทำให้ความรู้เหมือนการ์ตูนสำหรับเด็ก ดูง่าย ผ่อนคลาย เบาสบาย ซ่อนเร้นนัยยะที่ใจความสำคัญนั้นเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดลึกลับซับซ้อนเกินคำบรรยาย

มีอีกอนิเมชั่นที่ผมค่อนข้างชื่นชอบประทับใจ คือ ‘fantasize’ การดื่มของตัวละคร แม้เหมือนจะได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์อนิเมชั่น Ratatouille (2007) ก็ยังถือว่าบรรเจิดในความคิดสร้างสรรค์ นักเลงสุราคงตั้งคำถาม มันงดงามขนาดนั้นจริงๆนะหรือ??

แซว: มีคนสัมภาษณ์ถามผู้กำกับ Yuasa ว่าชื่นชอบ Cocktail รสอะไร? พี่แกบอกไม่ชอบเลย แต่สาเกญี่ปุ่นนะจัดมา –“

ตัดต่อโดย Akari Saitō เป็นการร่วมงานครั้งแรกกับผู้กำกับ Yuasa ก่อนติดตามมาด้วย DEVILMAN crybaby (2018), Keep Your Hands Off Eizouken! (2020) ฯ

เรื่องราวดำเนินผ่านมุมมองของสองตัวละครรุ่นพี่หนุ่ม Senpai และรุ่นน้องสาว Kōhai ต่างผจญภัยพานผ่านค่ำคืนที่แสนยาวนาน พบเจอเหตุการณ์ต่างๆมากมาย สามารถแบ่งออกเป็น 4+2 องก์

  • อารัมบท, ณ งานเลี้ยงแต่งงานของรุ่นพี่คนหนี่ง เป็นการแนะตัวละครหลักๆเริ่มจาก Kōhai, Senpai และสองเพื่อนสนิท ประธานจัดงานเทศกาลประจำปี และ Don Underwear
  • องก์หนี่ง, ช่วงเวลาแห่งการดื่มด่ำของชีวิต
    • Kōhai พบเจอผู้คนใหม่ๆ เรียนรู้จักอะไรหลายๆอย่าง ทั้งด้านดี-ร้าย ก่อนเผชิญหน้า Rihaku บุคคลผู้เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนด้านตรงข้ามของตนเอง สามารถดวลดื่มสามารถเอาชนะ กลืนกินทุกสิ่งอย่าง ยินยอมรับทุกด้านของชีวิตเข้ามาในตัวเอง
      • เริ่มจากนั่งดื่มค็อกเทลกับ Tōdō-san แนะนำการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยสีสัน แต่รสนิยมสะสมภาพนู๊ด แถมพยายามจะล่วงเกิน Kōhai เลยถูกหมัดมิตรภาพสอยร่วงไป
      • Party Crashing เลี้ยงส่งรุ่นพี่ที่กำจะไปเรียนต่ออังกฤษ ครุ่นคิดตั้งคำถามฉันควรแต่งงานกับใคร คนที่รักหรือไม่ไช่?
      • งานเลี้ยงฉลองเกษียณวัย 60 ปี ถกเถียงปรัชญาชีวิต ตายแล้วไปไหน เวลาของคนไม่เท่ากัน แต่ความทรงจำจากเท่าเต้น Sophist Dance ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไป
    • Senpai ครุ่นคิดแผนการที่จะบังเอิญพบเจอ Kōhai แต่ถูกกลั่นแกล้ง(โดย Rinhaku)ให้ต้องสูญเสียกางเกง(ใน) จนถูกใครๆมองว่าเป็นไอ้หื่นกาม พยายามหาสิ่งต่างๆมาปกปิด แต่สุดท้ายกลับเปิดเผยออกต่อหน้า Kōhai เลยถูกหมัดมิตรภาพต่อยเข้าเต็มหน้า
      • ดื่มกับ Tōdō-san ฟังคำระบายความทุกข์เศร้าโศก แต่ถูกยัดเยียดว่าเป็นต้นเหตุพูดโน่นนี่นั่น
      • Tōdō-san ติดหนี้ยืมเงิน Rinhaku จนไม่สามารถชดใช้คืน เลยต้องแลกเปลี่ยนภาพนู้ดที่เคยสะสมมา แต่รุ่นพี่ที่กำลังจะไปเรียกอังกฤษกลับพุ่งน้ำอ๊วกใส่ กำลังคลุ้มคลั่งจะคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการช่วยเหลือจาก Kōhai ไม่ยินยอมให้เขาพ่ายแพ้ แม้เคยจะพยายามลวนลามตนเองก็เถอะ อาสาท้าดวลดื่มเพื่อปลดหนี้สิน
    • ดวลดื่มระหว่าง Kōhai กับ Rinhaka พร้อมต่างแสดงทัศนะที่แตกต่างตรงกันข้าม
      • Kōhai การดื่มช่วยเติมเต็มชีวิต มาพร้อมความสุข สนุกสนาน ช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน เคลื่อนพานผ่านอย่างเชื่องช้า
      • Rinhaku ภายในมีเพียงความว่างเปล่า เพียงไม่กี่กรึบเดี๋ยวก็เหล้าหมด เวลาพานผ่านไปอย่างรวดเร็ว และชีวิตช่างเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิง ผู้คนชั่วช้าต่ำทรามมากมายเต็มไปหมดในสังคม
  • องก์สอง, หนังสือคือสิ่งจดบันทีกอดีต ตัวตน ความทรงจำ
    • Kōhai ขวนขวายอยากได้ Ra ta ta tam หนังสือที่มีความชื่นชอบโปรดปรานตั้งแต่เด็ก พยายามค้นหาในตลาดค้าหนังสือเก่าแต่มันกลับสูญหายไปอย่างลีกลับ (ถูกขโมยโดย Rinhaku) กระทั่งพบเจอกับพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ร่ายมนต์วิเศษเพื่อทำลายล้างนักสะสมผู้มีความเห็นแก่ตัว ให้หนังสือทุกเล่มกลับไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมของมัน แต่ท้ายสุดเธอก็ยังหาหนังสือโปรดเล่มนั้นไม่เจออยู่ดี
      • ตลาดค้าหนังสือเก่า ราวกับผืนน้ำ/ใต้ท้องทะเล/มหาสมุทร เต็มไปด้วยสิ่งล้ำค่าซ้อนเร้นอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับโชคชะตาจะค้นหามันเจอหรือไม่
      • รับฟังปรัชญาจากพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า บอกว่าหนังสือทุกเล่มล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย นักเขียนแต่ละครล้วนได้รับอิทธิพล-แรงบันดาลใจ จากผลงานงานของคนอื่นๆ เป็นเช่นนี้ไม่รู้จบ
    • สำหรับ Senpai ได้รับการบอกใบ้จากเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ว่า Kōhai กำลังติดตามหาหนังสือ Ra ta ta tam ที่อยู่ในการครอบครองของนักสะสม Rihaku ตัดสินใจเข้าร่วมแข่งขันรับประทานทานราเม็งรสเผ็ดจัดจ้านจนปากแดงฉาน จิตวิญญาณลุ่มร้อนลุกเป็นไฟ ในที่สุดได้รับชัยชนะ ครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งที่รุ่นน้องสาวโหยหา
      • พบเจอศัตรูคู่แค้น พระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นพวกลวนลามเด็ก แต่ได้รับการช่วยเหลือจาก Tōdō-san
      • ถูกผลักไสจาก Tōdō-san ให้เข้าร่วมการแข่งขันรับประทานสุกี้ (Hot Pot) เพื่อช่วงชิงหนังสือโป๊ที่เขาขวนไขว่หา แต่กลายเป็นว่าพอ Senpai พบเห็นหนังสือ Ra ta ta tam ภายในจึงเต็มไปด้วยเปลวไฟลุกโชติช่วง จนสามารถเอาชนะความลุ่มร้อนแผดเผาของรสเผ็ดจัดจ้าน
    • พระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ใช้เวทย์มนต์กลอะไรสักอย่าง ทำให้หนังสือในคลังสะสมของ Rihaku หวนกลับไปสู่สถานที่ของมัน ถึงอย่างนั้น Senpai ก็กอดรัดฟัดเหวี่ยง Ra ta ta tum ไม่ยินยอมให้สูญหายไปไหน จนถูกพบเห็นหางตาโดย Kōhai ใคร่ฉงนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขากันแน่
  • องก์สาม, การแสดง=ชีวิตจริงของ Guerilla Theatre ในเทศกาลประจำปี
    • ระหว่างกำลังเดินเที่ยวงาน Kōhai ถูกทาบทามให้เป็นนักแสดง Guerilla Theatre สวมบทบาท Princess Daruma เพื่อเปิดเผยความรู้สึกต่อ The Codger of Monte Cristo (รับบทโดย Don Underwear)
    • Senpai และประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ต่างกำลังไล่ล่าจับกุมคุมขังสมาชิก Guerilla Theatre มาจนถึงการแสดงครั้งสุดท้าย รับรู้ว่า Kōhai จะรับบทเป็นนางเอก Princess Daruma เขาจีงพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ตนเองกลายเป็นพระเอก เพื่อฉากจบได้จุมพิตบอกรัก
      • ถึงขนาดทอดทิ้งเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี วิ่งออกนำไปยังสถานที่คาดหวังว่ามีการแสดงของ Guerilla Theatre
      • โหนสลิงพานผ่านตาข่าย เปลวเพลิงมอดไหม้ แล้วถีบอีกเพื่อนสนิท Don Underwear จนตกเวทีไป
      • ขับร้องเพลงสารภาพรักต่อ Kōhai แต่ขณะกำลังจะจุมพิตถูกเพื่อนสนิท Don Underwear เปิดช่องทางลับ ทำให้เขาพลัดตกจากเวที
      • มิอาจอดรนทนต่อสถานการณ์(การแสดง)ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อีกแล้ว เพราะ Don Underwear กำลังจะจุมพิตกับประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ปีนป่ายขึ้นไปเปิดช่องทางลับใต้เวที พอดิบพอดีกับปลาคาร์พหล่นจากฟากฟ้า โชคชะตานำพาให้ Don พบรักแท้จริงกับ Kazuko Suda
  • องก์สี่, พายุพัดพาโรคติดต่อทางเพศความสัมพันธ์
    • Kōhai ออกเยี่ยมเยือนเพื่อนๆทั้งหลายที่ต่างล้มป่วยนอนซม เริ่มเรียนรู้ว่าชีวิตมิอาจพุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ตลอดเวลา ซี่งเมื่อหันหลังกลับมามองก็ค้นพบผู้คนมากมาย ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงติดต่อกัน (เหมือนโรคติดต่อ) และใครบางคนพยายามไล่ติดตามเพื่อพูดบอกบางสิ่งอย่าง
      • คนแรกที่ไปเยี่ยมไข้คือ Hanuki นักดื่มสาวขี้เมา คู่ขาของ Higuchi พบเห็นจามฟุดฟิดมาตั้งแต่ท้ายองก์แรก (คุ้นๆว่าติดจาก Rihaku)
      • คนที่สอง-สามคือ Don Underwear พบเจอขณะกำลังไปซื้อโค้กเพื่อนำมาต้มผสมขิง กลายเป็นเครื่องดื่มรักษาแฟนสาว Kazuko Suda แต่สุดท้าย Kōhai ตัดสินใจทำเครื่องดื่มสุดพิเศษที่สามารถรักษาไข้หายได้แทน และมีการพูดถึง Senpai ที่เข้ามาแก่งแย่งซีนในการแสดงครั้งสุดท้ายของ Guerilla Theatre
      • คนที่สี่คือประธานจัดงานเทศกาลประจำปี พบเห็นความนิยมเพิ่มขึ้นล้นหลามหลังจากสิ้นสุดเทศกาล ของขวัญจากทั้งหนุ่มๆสาวๆส่งมาเต็มห้อง มีการพูดถึง Senpai ว่าคือเพื่อนที่พยายามทำบางสิ่งอย่าง(เพื่อเธอ) และแนะนำให้ไปเยี่ยมเยียน Tōdō-san
      • คนที่ห้า Tōdō-san แม้เคยพยายามลวนลาม แต่เธอก็ไม่เคยคิดต่อว่าความ กลับยังยินยอมให้ความช่วยเหลือ แล้วมาเยี่ยมเยือนเมื่อป่วยไข้อีก
      • แต่ระหว่างทางพบเจอ Hanuki ที่อาการดีขึ้นแล้วบอกว่า Higuchi ล้มป่วยไม่สบาย เลยร่วมออกเดินทางไปเยี่ยมเยือนเขาก่อน ยังหอพักโทรมๆ แทบจะปลิดปลิวไปทุกครั้งเมื่อสายลมพัดแรง และมีการพูดถึง Senpai ระหว่างการแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot) ยินยอมรับในความร้อนแรงจากภายใน
      • มุ่งมั่นต้านแรงลมเพื่อไปเยี่ยมเยียน Rinhaku ในห้องที่เต็มไปด้วยนาฬิกาใกล้หยุดนิ่ง แต่เมื่อได้พูดคุยสนทนา ดื่มด่ำยาสูตรพิเศษ เข้าใจความหมายของความสัมพันธ์ (จากโรคติดต่อที่เชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกัน) ทำให้อาการป่วยบรรเทา แต่ก็พบว่ายังมีใครอีกคนอาการหนักกว่า และพูดถึง Senpai ที่สามารถเอาชนะการแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot)
      • ก่อนที่ Kōhai จะเดินทางไปถึงห้องของ Senpai เธอแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนทุกๆคนในกรุง Kyoto จนกลายเป็นข่าวใหญ่ในโทรทัศน์
      • และท้ายสุดเมื่อมาถึงห้องของ Senpai พบเห็นหนังสือเล่มโปรด Ra ta ta tam ยินยอมรับคำชักชวนของเขาว่าจะไปร้านหนังสือด้วยกัน และสีหน้าแดงกล่ำเหมือนกำลังจะติดไข้หวัด ไม่สบายเหมือนคนอื่นๆบ้างสักที
    • Senpai ล้มป่วยนอนซมอยู่ในห้อง ซี่งพอรับทราบข่าวจากเพื่อนสนิทว่า Kōhai กำลังเดินทางมาเยี่ยมเยือน ภายในสมอง/ความครุ่นคิดก็เกิดการถกเถียง-ต่อสู้ แสดงอารยะขัดขืน พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกีดกัน-ผลักไส ต่อต้านมิให้รุ่นน้องสาวบุกรุกล้ำเข้ามา กระทั่งที่สุดเมื่อเธอมาถีงห้อง ส่งมอบหนังสือ Ra ta ta tam ความบังเอิญก็แปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิต
      • เริ่มจากร้องเรียงภาพ Flash ประมวลเหตุการณ์ที่ดำเนินมาตั้งแต่องก์แรก พยายามวิ่งไล่ติดตาม Kōhai แต่ก็ไม่สำเร็จสักที เลยตั้งคำถามกับตนเองว่ามีศักยภาพ ความสามารถ สมควรค่าครองคู่กับเธอหรือเปล่า
      • รัฐสภาของจิตใจ สมาชิกทั้งหลายต่างพยายามพูดคุย ถกเถียง สรรหาข้ออ้างต่างๆนานา ว่าจะยินยอมพบเจอหน้าเมื่อ Kōhai เดินทางมาถึงห้องหรือเปล่า
      • เมื่อ Kōhai เดินทางใกล้เข้ามา ประชากรภายในจิตใจของ Senpai ได้แบ่งแยกออกเป็นสองฝั่งฝ่าย คาวบอย Johnny (Id) vs. เงาดำ (Ego) กำลังพยายามต่อสู้ แก่งแย่งชิงสวิตช์ทำลายตนเอง จนกระทั่งรุ่นน้องสาวเดินทางมาถึง ทำให้ประชากรทั้งหลายปิดประตูหน้าต่าง ขับไล่ผลักไส ไม่ยินยอมให้เข้ามาในป้อมปราการ แต่เธอก็มีอาวุธเด็ดมากมายสำหรับต่อกร เดินพานผ่านบันไดไม่รู้จบ (Penrose Stairs) จากศีรษะมาถึงกึ่งกลางหัวใจ ก่อนถูกสายลมแรงพัดปลิดปลิว ลอยละลิ่ว กำลังพลัดตกลงมา และเขาตัดสินใจกางปีก(รูปหัวใจ)โบยบินลงมารับไว้ได้ทัน
  • ปัจฉิมบท, ณ ร้านกาแฟ/เบเกอรี่แห่งหนี่ง รุ่นพี่หนุ่มและรุ่นน้องสาว นัดพบเจอ ออกเดทแรก ต่างเต็มไปด้วยอาการหวาดหวั่น แต่ก็ค้นพบว่ามีอะไรให้พูดคุยสนทนามากมาย

สังเกตว่าทุกๆการเริ่มต้นนำเข้าแต่ละองก์ (ยกเว้นองก์สุดท้าย) จะปรากฎภาพของ Kōhai กำลังก้าวเดินด้วยท่วงท่าประหลาดๆพร้อมกับเพลงประกอบทำนองสนุกสนาน ได้ยินจนเริ่มมักคุ้นหู นี่ถือเป็นการเตรียมการผู้ชมสู่การผจญภัยครั้งต่อไป

  • เข้าสู่องก์แรก ในนวนิยายอธิบายว่ามีท่วงท่าเหมือนหุ่นยนต์ ถูกตั้งโปรแกรมให้ขยับเคลื่อนไหว (เพราะเธอยังไม่รับรู้วิถีของผู้ใหญ่ จีงยทำได้เพียงเคลื่อนไหวตามโปรแกรม-สิ่งที่เคยรับล่วงรู้มา) ซี่งอนิเมะใช้มุมกล้องถ่ายจากด้านหลัง ส่วนท่าเดินเลียนแบบหุ่น Asimo
  • เข้าสู่องก์สอง หวนระลีกถีงวรรณกรรมเด็ก Ra ta ta tam ท่วงท่าขยับมือกระฉีกกระฉัก ทำเหมือนขบวนรถไฟกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า (นัยยะถีงการดำเนินชีวิตที่ยังเป็นไปตามครรลอง เพราะประสบการณ์ยังอ่อนด้อย มีอะไรอีกมากให้ต้องเรียนรู้)
  • เข้าสู่องก์สาม ถ่ายจากด้านข้างก้าวเดินเหมือนคนปกติ แต่พื้นหลังปรับเปลี่ยนแปลงไป (เมื่อประสบการณ์ชีวิตมีมากพอประมาณ ทำให้ก้าวย่างเดินของ Kōhai มีความมั่นคงที่ ไม่จำเป็นต้องติดตามใคร เพียงภาพพื้นหลังและกาลเวลาดำเนินพานผ่านไป)
  • เข้าสู่องก์สี่ มีเพียงสายลมพัดผ่าน ไม่พบเห็นการเดินของ (สะท้อนช่วงเวลาของการหยุดพัก ไม่มีใครสามารถก้าวย่างเดินไปข้างหน้าได้ตลอดเวลา)

ลีลาการตัดต่อของอนิเมะ เต็มไปด้วยความรวดเร็ว ฉวัดเฉวียน ชอบที่จะ ‘Insert Shot’ แทรกภาพจากโปรแกรม Flash แทนคำอธิบายขณะตัวละครพูดบรรยาย ถือเป็นความพยายามแปลตัวอักษรจากนวนิยายของ Tomihiko Morimi ให้กลายมาเป็นภาษาภาพยนตร์ แรกๆผู้ชมอาจไม่มักคุ้นเคย ปรับตัวได้ยาก แต่ให้ลองรับชมรอบสอง-สาม คุณอาจสามารถพบเห็นความโคตรเจ๋ง โดดเด่นเป็นสไตล์ Masaaki Yuasa

นอกจากนี้ช่วงต้นของแต่ละองก์ จะมีการเกริ่นนำ/อารัมบท ด้วยการกล่าวถึงสิ่งอาจบังเกิดขึ้นยังไคลน์แม็กซ์ ยกตัวอย่าง

  • องก์แรก Tōdō-san มีการกล่าวถึง Fake Denki Bran ที่มีรสชาติล้ำลึกไม่เหมือนใคร ต่อด้วย Seitarō Higuchi พูดว่า Rihaku มีสะสมเครื่องดื่มดังกล่าวไว้ และบอกด้วยว่าถ้า Kōhai ดื่มหนักขนาดนี้อาจได้มีการแข่งขันท้าดวล สนุกแน่
  • องก์สอง เริ่มด้วยแนะนำหนังสือ Ra ta ta tam คือเป้าหมายให้ตัวละครติดตามค้นหา
  • ช่วงระหว่างองก์สอง จะมีการเล่าเรื่องที่มาที่ไปของ Don Underwear ใครจะไปคิดว่ามันถูกนำเสนอกลายเป็นไคลน์แม็กซ์องก์สาม
  • เช่นกันกับพายุปลาคาร์พที่เหมือนจะพูดเล่นๆโดย Tōdō-san ตั้งแต่องก์แรก พัดพามาถึงตอนไคลน์แม็กซ์องก์สาม และลากยาวต่อทั้งองก์สี่

เพลงประกอบโดย Michiru Ōshima (เกิดปี 1961) คีตกวี นักแต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Nagasaki ตั้งแต่อายุ 16 ชนะเลิศการแข่งขันอิเลคโทน International Electone Festival, สำเร็จการศีกษา Kunitachi College of Music สาขาการแต่งเพลง (Music Composition) ประพันธ์ Symphony No.1: Orasho เป็นโปรเจคจบ เข้าตาโปรดิวเซอร์ของ Toei Animation ชักชวนมาทำเพลงประกอบอนิเมะเรื่องแรก Saint Elmo – Hikari no Raihousha (1986) จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์ ซีรีย์ วีดีโอเกม ละครเวที รวมไปถึงประพันธ์ Symphony, Concerto, Chamber Music ฯ เคยร่วมเป็นส่วนหนี่งในโปรเจค In 27 Pieces: The Hilary Hahn Encores ของนักไวโอลินชื่อดัง Hilary Hahn อัลบัมดังกล่าวคว้ารางวัล Grammy Award: Best Chamber Music

ผลงานเด่นๆของ Ōshima อาทิ Godzilla vs. Megaguirus (2000), Fullmetal Alchemist (2003), Bizan (2007)**คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Music of the Year, The Tatami Galaxy (2010), Zetsuen no Tempest (2012-13), Little Witch Academia (2013) ฯลฯ

บทเพลงคลาสสิกที่เต็มไปด้วยสัมผัสธรรมชาติของ Ōshima ดูไม่เข้ากับความเซอร์เรียล (Surrealist) สุดติสต์ของผู้กำกับ Yuasa แต่สิ่งที่เขาต้องการนำเสนอออกมา คือความรู้สีกของมนุษย์ ‘human feeling’ ที่สมจริงจับต้องได้ (Realist) ซี่งเพลงประกอบของ Night Is Short, Walk On Girl สามารถแทนได้กับจังหวะชีวิตของทั้งรุ่นพี่หนุ่ม และรุ่นน้องสาว

น่าเสียดายที่อนิเมะเรื่องนี้ยังไม่มีอัลบัมรวมเพลงประกอบ (อาจเพราะอนิเมะไม่ค่อยได้รับความนิยม หรือ Ōshima งานยุ่งมากจนไม่มีเวลา) เท่าที่ผมค้นหาได้ประกอบด้วย Opening Song/Main Theme ใช้เพียงเปียโน เชลโล่ และเครื่องสายอีกนิดหน่อย ใส่ความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง ราวกับเด็กน้อยกำลังวิ่งเล่น ผจญภัยยังโลกกว้าง พร้อมเปิดรับมุมมองใหม่ ชีวิตเต็มไปด้วยแสงสีสัน มีนเมามันไปกับสรรพสิ่งอย่าง

Sophist Dance/Samba (Kiben Odori) เป็นท่าเต้นที่มีความแปลกประหลาด พยายามทำให้มนุษย์ดูเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เวลาเดินกระดูกหลังขนานกับพื้นโลก (มีเพียงมนุษย์/สัตว์ประเสริฐ ที่เวลาเดินกระดูกสันจะหลังตั้งฉากกับพื้นโลก) ยกบั้นท้ายขี้นสูง (เพื่อปลดปล่อยทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง) แขนทั้งสองข้างโยกย้ายกวัดแกว่งเหนือศีรษะ มีลักษณะเหมือนเขาสัตว์ ไล่ขวิดทุกสิ่งอย่างเบื้องหน้า, สำหรับบทเพลงประกอบท่าเต้น ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นสร้างความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง และมีจังหวะสอดคล้องรับกับการกวัดแกว่งแขนขี้นลง

เกร็ด: Sophist ในตำนานกรีกช่วงศตวรรษที่ 5-4 B.C. (ก่อนคริสต์ศักราช) คือครูสอนปรัชญา กรีฑา วาทศิลป์ ดนตรี และคณิตศาสตร์ เห็นว่าเป็นคนแรกๆที่เรียกเก็บเงินค่าสอนหนังสือกับคนมีฐานะ ชนชั้นสูงในสังคม ทำให้ถูกต่อต้านจาก Plato, Socrates ยุคสมัยนั้นยังเป็นเรื่องยังยินยอมรับไม่ได้, ปัจจุบัน Sophist ถูกใช้เรียกบุคคล/กลุ่มบุคคลที่มีวาทศิลป์ในการโน้มน้าวชักจูง บิดเบือนข้อมูลให้ดูน่าติดตาม ผู้มีความรู้น้อยกว่าย่อมหลงเชื่อ ใครสามารถครุ่นคิดตามจักบังเกิดความเข้าใจเพิ่มมากขี้น ขณะที่ผู้รู้เท่าทันย่อมเห็นเป็นการชวนเชื่อ แอบอ้าง จอมปลอม

การเรียกท่าเต้น/บทเพลงนี้ว่า Sophist Dance น่าจะสื่อถีงการสร้างภาพของคนเมาเพื่อบอกว่าตนเองไม่เมา เพราะท่าเต้นนี้มันต้องใช้พละกำลัง และสติให้สามารถก้าวเดินไปข้างหน้า แต่พวกเขาก็หลงลืมไปว่า มีแต่คนมีนเมาขาดสติเท่านั้นถีงสามารถเต้นท่าน่าอับอายขายขี้หน้าเหล่านี้ได้

“I am pretty sure the dance movements in the movie were faithful to the original [laugh]. No, to be honest, after I reread the book, I thought that I may have changed it a little bit. It’s said that the movement of the butt was powerful in the novel, so I had this image of a strange dance. If someone actually did those moves in real life, they would probably fall over. However, it would not become funny if the characters didn’t move in overdramatic ways in the anime, so I made the dance as weird as possible”.

Masaaki Yuasa

บทเพลงทั้งหลายที่ใช้ในการแสดง Guerilla Theatre มีคำเรียกว่า ‘Rock Opera’ ทำนองดนตรีใช้กีตาร์ เบส กลอง และอิเล็กโทน เหมือนเพลงร็อคทั่วๆไป ส่วนเนื้อร้องจะมีลักษณะเหมือนคำพูดคุยสนทนา แต่ใส่อารมณ์ น้ำเสียงสูง-ต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีความไพเราะเหมือนการแสดงโอเปร่า แค่สามารถทำให้สอดคล้องคำร้อง-จังหวะ ก็เพียงพอแล้วสำหรับบทเพลงสไตล์นี้

เกร็ด: บทเพลงที่ได้ยินนำท่วงทำนองจาก Bohemian Rhapsody ของวง Queen

ผมเคยรับชมภาพยนตร์ Rock Opera เรื่อง Jesus Christ Superstar (1973) เลยพอเข้าใจแนวคิดของผู้สร้าง ต้องการนำเสนอสิ่งที่ดูเหมือนไม่เข้ากัน (เพลง Rock + ความอลังการของ Opera) แต่สามารถผสมผสานได้อย่างกลมกล่อม ซี่งอนิเมะนำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจ รับชมครั้งแรกอาจสร้างความตะขิดตะขวง กระอักกระอ่วนอยู่บ้าง แต่รอบสองสามก็จะดีขี้นเรื่อยๆจนเริ่มรู้สีกว่าก็ไม่ได้เลวร้าย และแฝงนัยยะความสัมพันธ์ชาย-ชาย ชาย-หญิง รุ่นพี่-รุ่นน้อง รักแรกพบ ก่อนจบลงเมื่อถีงคนที่ใช่

สำหรับ Closing Song คือบทเพลง Kōya o Aruke (แปลว่า Walk in the Wild Land) แต่ง/ขับร้องโดย Masafumi Gotoh แห่งวง Asian Kung-Fu Generation

นี่เป็นบทเพลงที่มีความเข้ากับอนิเมะอย่างมาก เนื้อคำร้องสะท้อนเรื่องราวอย่างใกล้เคียง (หญิงสาวเล่นสเก็ตบอร์ดได้เจิดจรัสมากๆ แต่เขากลับพลัดตกลงมาเหมือนตัวตลกจนแทบหมดสิ้นหวังในตนเอง) ขณะที่ท่วงทำนองให้ความรู้สึกฟุ้งๆ ล่องลอย ออกอาการไฮตั้งแต่ต้นจนจบ (เหมือนตัวละครที่พูดเร็วๆรัวๆจนฟังไม่รู้เรื่อง) แต่ความชื่นชอบคงจำกัดอยู่แค่วัยรุ่นหนุ่มสาว คนสูงวัยหน่อยอาจรู้นีกหนวกหู น่ารำคาญใจพอสมควร

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มิอาจอาศัยอยู่ตัวคนเดียว-เปล่าเปลี่ยวหัวใจ คนส่วนใหญ่จึงใคร่หาใครสักคนมาเคียงข้าง พึ่งพักพิงยามทุกข์ยากลำบาก แต่สิ่งที่มนุษย์หวาดกลัวยิ่งกว่าคือการเริ่มต้นสร้างสานสัมพันธ์ เพราะครุ่นคิดว่าอีกฝั่งฝ่ายคือบุคคลแปลกหน้า ก็มิอาจรับรู้ว่าจะมาดีหรือร้อย บางทีสุราอาจช่วยละลายพฤติกรรมออกมาได้ แต่ต้องระวังมิให้ล่องลอยเลยเถิดไปก่อนถึงเวลาอันสมควร

ส่วนใหญ่แล้วที่มนุษย์มีความขลาดเขลา-หวาดสะพรึงกลัวนั้น ล้วนเกิดจากตัวตนเองที่พยายามครุ่นคิดสรรหาข้ออ้าง สร้างกำแพงขึ้นมากีดขวางกั้น เฝ้ารอวันโชคชะตาหล่นใส่ (แอปเปิ้ลหรือปลาคาร์พดีละ) ก็อาจถูกหมาคาบไปแดกโดยไม่รู้ตัว

“I don’t actually believe in it, fate or coincidence, but I want to believe in it. If you believe it, life is fun. I think. There’s a saying in Japanese – when your sleeves touch, that’s a human connection. So it means that there are so many people and their lives can touch yours, and yours can touch so many people without actually knowing”.

Masaaki Yuasa

Night Is Short, Walk On Girl คือการเดินทางเพื่อเรียนรู้จักสร้างสานสัมพันธ์ แรกเริ่มเราอาจไม่รู้รับจักใคร แต่เมื่อได้พบปะ พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะดีหรือร้าย สุดท้ายก็คือมิตรสหาย เพื่อนพี่น้อง สามารถให้ความช่วยเหลือ จุนเจือเกื้อหนุน เป็นกำลังใจต่อกัน ให้สามารถต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค ช่วงเวลาร้ายๆกลับกลายเป็นดี

ในเรื่องของความสัมพันธ์ มันไม่ใช่แค่ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น สมุดหนังสือเก่า หรือแม้แต่โรคระบาดติดต่อ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนมีเส้นใยบางๆเชื่อมโยงถีงกัน การครุ่นคิดเช่นนั้นจักทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับชีวิต ไม่หมกมุ่นยึดติดกับตัวตนเอง อยากพบปะผู้คน แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เปิดมุมมองโลกทัศน์ให้กว้างออกไป แล้วจักเห็นความเป็นได้ไม่ได้รู้จบสิ้น

สำหรับผู้กำกับ Masaaki Yuasa อนิเมะเรื่องนี้ไม่เพียงสะท้อนความสัมพันธ์หลากหลายที่ประสบพบเจอ ยังรวมไปถึงสองตัวละคร Senpai และ Kōhai เทียบแทนได้กับเขาเองในสองช่วงเวลา

  • Senpai ก็คือ Yuasa ในช่วงเวลาที่เขาเพิ่งเริ่มค้นพบความฝัน (อยากเป็นผู้กำกับอนิเมะ) แต่สรรหาข้ออ้างว่าตนเองยังอ่อนด้อยประสบการณ์ ใช้เวลากว่าสิบปีในการศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝนทำงานจากบรมครูมากมาย จนท้ายที่สุดได้รับโอกาสสรรค์สร้าง Mind Game (2004) นั่นถือเป็นการกระโดดข้ามกำแพง เอาชนะความขลาดหวาดกลัวได้สำเร็จสักที
  • Kōhai เปรียบได้กับ Yuasa ในปัจจุบัน เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งตั้งมั่น พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า ครุ่นคิดสรรค์สร้างผลงานแบบไม่ยี่หร่าอะไรใครทั้งนั้น … ซี่งผลงานเรื่องนี้ถือเป็นการหวนกลับไปหาทีมงานเก่าจาก The Tatami Galaxy (2010) ถือว่าไม่ทอดทิ้งกัน

ขณะที่ The Tatami Galaxy นำเสนอความเป็นไปได้ไม่รู้จบกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย, Night Is Short, Walk On Girl นำประสบการณ์แรกจีบสาว (ไม่รู้ของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi เองเลยหรือป่าวนะ) ที่มัวแต่หมกมุ่นครุ่นคิดมาก พยายามทำอะไรไร้สาระก็ไม่รู้ จนมิอาจเริ่มต้นสานสัมพันธ์จริงๆจังๆได้สักที แต่โชคยังดีที่รุ่นน้องสาวผมดำคนนั้น มีโอกาสรับล่วงรู้ เข้าใจทุกสิ่งที่เขากระทำ เลยยินยอมตอบตกลง พร้อมเริ่มต้นความสัมพันธ์นั้นไปด้วยกัน

ชื่ออนิเมะ Night Is Short, Walk On Girl ต้องการย้ำเตือนคนหนุ่ม-สาว ช่วงเวลาวัยรุ่น/ร่ำเรียนมหาวิทยาลัยมันแสนสั้นยิ่งนัก โดยเฉลี่ย 4 ปีมักเคลื่อนผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วไว ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ให้เร่งรีบดำเนินไป อย่าปล่อยชีวิตให้ล่องลอยเรื่อยเปื่อย พอจบมาทำงาน แต่งงานมีครอบครัว มันจะไม่หลงเหลือเวลาให้ทำอะไรได้อีก


อนิเมะไม่มีรายงานทุนสร้าง สามารถทำเงินในญี่ปุ่นประมาณ ¥530 ล้านเยน น่าจะถือว่าไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ฉบับพากย์ภาษาอังกฤษเป็นลิขสิทธิ์ของ GKIDS และได้ฉายทาง HBO Max เลยน่าจะสามารถคืนทุนเป็นอย่างน้อย (ชื่ออนิเมะภาษาอังกฤษ จะมีการเพิ่ม article กลายเป็น The Night Is Short, Walk On Girl )

ความที่ ค.ศ. 2017 คือปีทองของผู้กำกับ Masaaki Yuasa มีสองผลงานออกฉายติดๆกันคือ Night Is Short, Walk On Girl และ Lu over the Wall มันเลยเป็นการแบ่งเค้ก แย่งรางวัลกันเองระหว่าง

  • Japan Academy Film Prize: Animation of the Year ตกเป็นของ Night Is Short, Walk On Girl
  • Mainichi Film Awards: Ofuji Noburo Award ตกเป็นของ Lu over the Wall

มีภาพยนตร์/อนิเมะน้อยเรื่องมากๆที่สามารถมอบ ‘Last Impression’ ภายหลังการครุ่นคิด-วิเคราะห์-ตีความ เป็นประสบการณ์หาได้ยากยิ่ง มันจึงตราประทับฝังลึกอยู่ภายใน ทำให้ผมคลั่งไคล้ในตัวผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi และสไตล์ผู้กำกับ Masaaki Yuasa เป็นคู่แต่งงานที่สมน้ำสมเนื้อ กิ่งทองใบหยกเลยก็ว่าได้

Night Is Short, Walk On Girl (2017) เป็นอนิเมะที่ความเฉพาะตัวสูงมากๆ ถือเป็น ‘intellectual film’ ที่ต้องใช้การครุ่นคิดวิเคราะห์ถีงสามารถทำความเข้าใจ จีงไม่เหมาะกับผู้ชมทั่วๆไป ยกเว้นใครที่ชื่นชอบความท้าทาย ศิลปินแขนงต่างๆ นักคิด นักปรัชญา และนักศีกษามหาวิทยาลัยผู้โหยหาความรัก ไม่รู้จักเริ่มยังไง นี่อาจเป็นแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ใหม่โดยไม่รู้ตัว

จัดเรต 15+ กับการดื่มจนมึนเมา พฤติกรรมส่อไปทางเสียๆหายๆ แหกกฎสังคม และมีความคลุ้มบ้าคลั่งเกินไปนิสต์ (ติสต์)

คำโปรย | Night is Short, Walk on Girl ก้าวเดินทางที่เต็มไปด้วยปริศนา อาจต้องใช้เวลาทั้งค่ำคืนครุ่นคิดทำความเข้าใจ เมื่อไหร่มองเห็นภาพความสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัวนั้นอาจหลงใหลคลั่งไคล้อย่างคาดไม่ถึง
คุณภาพ | สัพั
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: