ผู้กำกับ G. W. Pabst ต้องการตีตนออกห่าง German Expressionism เลยสรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สาม The Joyless Street (1925) ริเริ่มต้นยุคสมัย New Objectivity และยังช่วยขัดเกลา Greta Garbo ก่อนออกเดินทางมุ่งสู่ Hollywood
ป้ายกำกับ: G. W. Pabst
Die weiße Hölle vom Piz Palü (1929)
Die weiße Hölle vom Piz Palü (1929) : Arnold Fanck, G. W. Pabst ♥♥♥♡
สาธารณรัฐไวมาร์ช่วงทศวรรษ 20s – 30s มีภาพยนตร์แนวหนึ่งที่ได้รับความสนใจพอๆกับ German Expressionism ในลักษณะตรงกันข้าม ชื่อเรียกว่า Mountain Film เพราะถ่ายทำยังสถานที่จริง นักแสดงเสี่ยงตาย ปีนป่ายขึ้นเทือกเขาสูง ซึ่งเรื่องโด่งดังประสบความสำเร็จสูงสุดคือ The White Hell of Pitz Palu ขนาดว่าผู้กำกับ Quentin Tarantino สอดแทรกเข้ามาใน Inglorious Basterds (2009)
Diary of a Lost Girl (1929)
Diary of a Lost Girl (1929) : G. W. Pabst ♥♥♥♥
บันทึกชีวิตของ Louise Brooks เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้ายทารุณ ถูกข่มขืนจนท้อง พ่อมีเมียใหม่เป็นคนใช้ ส่งตัวเข้าสถานพินิจ (ดัดสันดาน) ทำงานในซ่องโสเภณี เพื่อนสนิทฆ่าตัวตาย ฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Devious Path (1928) : G. W. Pabst ♥♥♥♡
มีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้นที่ Brigitte Helm สามารถเลือกเดินในชีวิตแต่งงาน ระหว่างความมั่นคงหรืออิสระเสรี สุขสบายกายหรือสำราญทางใจ แต่ก็แปลกทำไมถึงไม่ยอมมองหาจุดสมดุลกึ่งกลาง หรือใครบางคนกันแน่ที่มืดบอดมองไม่เห็น
Die Büchse der Pandora (1929)
Pandora’s Box คือกล่องที่ว่ากันว่าบรรจุความชั่วร้ายทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้ไว้ แต่ด้วยความใสซื่อไร้เดียงสาของ Louise Brooks ทำให้มิอาจอดรนทนต่อความยั่วเย้ายวนใจ ด้วยเหตุนี้ใครก็ตามที่อยู่รายล้อมเคียงข้างเธอ ต่างต้องมีอันเป็นไปอย่างคาดไม่ถึง