ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Béla Tarr นำเสนอหกวันสุดท้ายแห่งความสิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศกำลังมาถึง แต่ชีวิตยังคงเวียนวน ตื่น-กิน-นอน ดำเนินต่อไป เพียงเฝ้ารอคอยความตาย และทอดถอนหายใจ
ป้ายกำกับ: Béla Tarr
สำหรับผมแล้ว ดิจิตอลไม่ใช่ภาพยนตร์! ฟีล์มต่างหากคือสื่อที่สามารถสำแดงพลัง ถ่ายทอดตัวตน อารมณ์ ความรู้สึก ผ่านเทคนิค ภาษา ลีลาการนำเสนอ เช่นนั้นแล้วสิบเรื่องโปรดของผู้กำกับ Béla Tarr ประกอบด้วย
Werckmeister Harmóniák (2000)
การมาถึงของปลาวาฬยักษ์ สัตว์ประหลาดขนาดมหึมา (Leviathan) ทั้งๆเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กลับนำพาหายนะ ความวุ่นวาย กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าทำลายชีวิต-ทรัพย์สิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย (Natural Order vs. Social Order) เพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ สันติสุขของคนในชาติ และสมดุลแห่งจักรวาล
Sátántangó (1994)
ผู้รอดชีวิตจากขุมนรก 439 นาที น่าจะเกิดการความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน เหมือนประเทศฮังการีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งอย่างจักมีทิศทางดีขึ้นเสมอไป
Kárhozat (1988)
เมื่อไหร่ที่มีใครเห่าหอนแข่งกับสุนัข นั่นคือการละทอดทิ้งความเป็นคน (humanity) ถือเป็นจุดตกต่ำสุดแห่งมวลมนุษยชาติ โลกยุคสมัยนี้-นั้น ยุโรปตะวันออก สภาพของประเทศฮังการี ราวกับถูกสาปแช่งให้ตกนรกทั้งเป็น ภายหลังวันสิ้นโลกาวินาศ
Öszi almanach (1984)
ดำเนินเรื่องเพียงในอพาร์ทเม้นท์ที่มีสภาพเสื่อมโทรมทราม ไร้ผู้ดูแลทำความสะอาด สมาชิกทั้งห้าต่างมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ผลประโยชน์ตนเองเป็นที่ตั้ง การสนทนาเลยมักแค่สองต่อสอง แทบไม่เคยอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า และกระทำสิ่งต่างๆโดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น