
ในฝรั่งเศสมีพิธีกรรมชื่อว่า La Cérémonie (The Ceremony) สำหรับเตรียมตัวนักโทษก่อนถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน แต่แม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีใครถูกตัดหัว เรื่องราวทั้งหมดคือการเตรียมความพร้อมก่อนครอบครัวถูกสังหารหมู่!
ในฝรั่งเศสมีพิธีกรรมชื่อว่า La Cérémonie (The Ceremony) สำหรับเตรียมตัวนักโทษก่อนถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน แต่แม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีใครถูกตัดหัว เรื่องราวทั้งหมดคือการเตรียมความพร้อมก่อนครอบครัวถูกสังหารหมู่!
เรื่องจริงของ Marie-Louise Giraud (รับบทโดย Isabelle Huppert คว้ารางวัล Volpi Cup for Best Actress) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินในช่วง Vichy France เนื่องจากรับทำแท้งเถื่อนหญิงสาว 27 คน มันอาจดูเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ลองรับฟังเหตุผลของเธอก่อน แล้วค่อยตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว สมควรได้รับความสงสารเห็นใจหรือไม่
Violette Nozière ถูกจับกุมข้อหาวางยาพิษฆ่าบิดา ก่อนให้การว่าตนเองถูกข่มขืน (Incest) มาตั้งแต่เด็ก ถึงอย่างนั้นกลับยังถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยกิโยติน, สุดยอดการแสดงของ Isabelle Huppert (คว้ารางวัล Cannes: Best Actress) และ Stéphane Audran (คว้ารางวัล César Awards: Best Supporting Actress)
เริ่มต้นเช้าวันหนึ่ง สามีตรงเข้ามาทำร้ายร่างกายภรรยาและบุตร ฝ่ายหญิงจึงโต้ตอบด้วยการใช้กระทะทุบศีรษะ! ความรุนแรงบังเกิดขึ้นนี้คงทำให้ใครต่อใครตีตราว่าร้าย รับไม่ได้กับความรุนแรง ต้องเลิกราหย่าร้างเท่านั้น แต่เบื้องหลังความจริงเป็นไร เราคนนอกอย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจ
หนังพยายามนำเสนอร่องรอย หลักฐาน บ่งชี้ชัดว่าคนขายเนื้อ (The Butcher) คือฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) แต่ความสนใจของผู้กำกับ Claude Chabrol ไม่ได้ต้องการไล่ล่าจับกุมตัวคนร้าย ชักชวนผู้ชมร่วมค้นหาเบื้องหลัง สาเหตุผล สำรวจจิตใจคน บังเกิดแรงผลักดันอะไรถึงไม่สามารถควบคุมตนเอง?
คำว่า Biche ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากวางตัวเมีย (Doe), ขณะเดียวกันยังเป็นศัพท์แสลงของเพศหญิง (Girl, Young Woman) แต่ถ้าเขียนติดกัน Lesbiche หรือ Lesbisch จะหมายถึงเลสเบี้ยน (Lesbian), นำเสนอเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างสองสาวและชู้รักหนุ่ม ก่อนกาลมาถึงของ Mai ’68
วันๆของสี่สาว เช้าไปทำงานอย่างเอื่อยเฉื่อย คอยจับจ้องมองนาฬิกา เลิกงานเมื่อไหร่ราวกับพึ่งปลุกตื่น เต็มไปด้วยความระริกระรี้ เฮฮาปาร์ตี้ ร่วมกิจกรรมสนุกๆยามค่ำคืนมากมาย, รับชมปัจจุบันอาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ชาวฝรั่งเศสสมัยนั้นต่างสำแดงอารมณ์เกรี้ยวกราด รับไม่ได้กับอิสรภาพหญิงสาว
ญาติห่างๆของ Le Beau Serge (1958) เดินทางเข้าเมืองหลวง ลุ่มหลงระเริงไปกับแสงสีเสียง (แต่หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ) เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้ายวน พยายามต่อต้านขัดขืน กลับจบลงด้วยความขมขื่น, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
French New Wave เริ่มต้นที่ Le Beau Serge (1958) นำเสนอการหวนกลับหารากเหง้าของผู้กำกับ Claude Chabrol เติบโตขึ้นยังหมู่บ้านชนบท Sardent, France พบเจอเพื่อนเก่ามีสภาพไม่เอาถ่าน บังเกิดความมุ่งมั่น จิตวิญญาณแรงกล้า ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อให้เขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่